The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จุลสาร คร. สัมพันธ์ ต.ค-พ.ย 63

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Satjakun Bunchoo, 2020-12-08 10:03:23

จุลสาร คร. สัมพันธ์ ต.ค-พ.ย 63

จุลสาร คร. สัมพันธ์ ต.ค-พ.ย 63

คร.สมั พนั ธ์

กรมควบคุมโรค

ปที ี่ 8 ฉบับที่ 1 ตลุ าคม - พฤศจกิ ายน 2563

แนวทางการดำเนนิ งาน
ป้องกัน ควบคุมโรค และภยั สุขภาพ

รางวัลนักการสาธารณสุขดีเด่น

พทุ ธศักราช 2562
จาก

มูลนิธิสมเด็จพระเจา้ บรมวงศเ์ ธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร

เมอื่ วนั ที่ 29 ตลุ าคม 2563 ทผี่ า่ นมา ณ พระทนี่ ง่ั อมั พรสถาน พระราชวงั ดสุ ติ เขตดสุ ติ กรงุ เทพมหานคร พระบาทสมเดจ็ -
พระปรเมนทรรามาธิบดีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศ-
ราชวโรดมบรมนาถบพติ รพระวชริ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั (รชั กาลที่ 10) และสมเดจ็ พระนางเจา้ สทุ ดิ า พชั รสธุ าพมิ ลลกั ษณ พระบรมราชนิ ี
ทรงโปรดเกล้าพระราชทานรางวัลนักการสาธารณสุขดีเด่นประเภทบริการ พุทธศักราช 2562 แก่ นายปฏิคม วิวัฒน์นานนท์
นักวิชาการสาธารณสขุ ชำนาญการพเิ ศษ กองด่านควบคมุ โรคตดิ ต่อระหวา่ งประเทศ กรมควบคมุ โรค โดยกระทรวงสาธารณสุข
ไดร้ บั มอบหมายจากมลู นธิ สิ มเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอกรมพระยาชยั นาทนเรนทรใหด้ ำเนนิ การโครงการคดั เลอื กบคุ ลากรเสนอชอ่ื
รับรางวัลชัยนาทนเรนทร เพื่อสร้างคุณค่า อัตลักษณ์ และความภาคภูมิใจสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในทุกระดับ
รวมทง้ั เป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาชยั นาทนเรนทร

2

จลุ สาร คร.สัมพนั ธ์

ประกาศกรมควบคมุ โรค

เร่อื ง นโยบายการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภยั สุขภาพ กรมควบคมุ โรค
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ยดึ มนั่
ด้วยหลักการ 4T

Trust
Tสeรา้aงคmวามwเชือ่ oถือrkและค&วามเชTอ่ื มa่นั lใeหส้ nังคtมs

การทำงานเปน็ ทีมแบบมอื อาชีพ

พTร้อeมสc่งเhสรnิมผo้มู lีคoวาgมสieามsารถ
ใชเ้ ทTคโaนโลrยgแี ลeะนวtัตsกรรม

ทำงานแบบมีเป้าหมาย

ในการขบั เคลอื่ นการดำเนนิ งานปอ้ งกนั ควบคมุ โรคและภยั สขุ ภาพ กรมควบคมุ โรค ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 อธบิ ดี
กรมควบคมุ โรค ไดม้ หี ลกั ในการทำงาน โดยขอใหท้ า่ นรองอธบิ ดี ผทู้ รงคณุ วฒุ ิ ผอู้ ำนวยการ และบคุ ลากรกรมควบคมุ โรค ยดึ มน่ั
ด้วยหลกั การ 4T ประกอบด้วย สรา้ งความน่าเช่อื ถอื และความเชื่อมั่นใหส้ งั คม (Trust) ด้วยการทำงานเป็นทมี แบบมืออาชีพ
พร้อมสง่ เสริมผู้มคี วามสามารถ (Teamworks & Talent) โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technologies) และทำงานแบบมี
เป้าหมาย (Targets) ทง้ั นี้ ไดก้ ำหนดจุดมงุ่ เน้นทีส่ ำคัญในการดำเนนิ การให้เกดิ ผลประโยชนส์ ูงสดุ ต่อประชาชน ดงั นี้

3

จุลสาร คร.สัมพันธ์

1. ให้ความสำคญั สูงสดุ ต่อการพฒั นางานสาธารณสขุ ตามแนวพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกยี รติ รวมทั้ง
โครงการที่เก่ียวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนโครงการถวายเป็นพระราชกุศล เพ่ือเทิดพระเกียรติ
พระบรมวงศานวุ งศท์ กุ พระองค์

2. ใหค้ วามสำคญั กบั การดำเนนิ งานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสขุ 9ประเดน็ สำคญั เพอ่ื นำไปสกู่ ารปฏบิ ตั ิ
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นในประเด็นการเพิ่มศักยภาพความมั่นคงทางสุขภาพในการจัดการกับ
โรคติดเช้อื ไวรสั โคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) และใชเ้ ป็นโอกาสในการจดั การกับโรคอบุ ัตใิ หม่อบุ ตั ซิ ำ้ ทอี่ าจ
เกดิ ขน้ึ ในอนาคต

3. การเตรยี มความพร้อมรับมือตอ่ การแพร่ระบาดของโรคโควดิ 19 ระลอกใหม่ เปา้ หมายทส่ี ำคัญ คือ สร้าง
ความสมดุลระหว่างมิติด้านสาธารณสุขกับมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง จิตวิทยา รวมถึงลดความ
ตน่ื ตระหนก และคืนวถิ ีชวี ติ ทเ่ี ปน็ ปกตใิ ห้แก่ประชาชนโดยเร็วท่สี ุด โดยมีสาระสำคญั ดงั นี้
3.1 ใชก้ ลไกของศนู ยป์ ฏบิ ตั กิ ารภาวะฉกุ เฉนิ ทางสาธารณสขุ กรมควบคมุ โรค(EOCกรมควบคมุ โรค)เปน็ จดุ ประสาน
การทำงานทีเ่ ชื่อมโยงและสอดคลอ้ งกับศนู ยป์ ฏิบตั ิการ ศูนยบ์ ริหารสถานการณ์โควดิ - 19 (ศปก. ศบค.) และ
ศนู ยป์ ฏบิ ตั กิ ารฉกุ เฉนิ ดา้ นการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ กรณโี รคตดิ เชอื้ โควดิ -19(ศปก.สธ.)พรอ้ มนำสกู่ ารปฏบิ ตั ิ
ในระดับพนื้ ที่อยา่ งเปน็ รปู ธรรม โดยมีสำนกั งานป้องกนั ควบคมุ โรค ดำเนินการร่วมกบั ผตู้ รวจราชการกระทรวง
สาธารณสขุ ในการบรหิ ารจดั การโรงพยาบาลให้มีศกั ยภาพเตรียมความพรอ้ มรบั มอื การระบาดระลอกใหม่
3.2 เตรยี มความพรอ้ มกลไกการขบั เคลอื่ นการดำเนนิ งานทส่ี ำคญั ไดแ้ ก่ การพฒั นาและปรบั ปรงุ กฎหมายโรคตดิ ตอ่
การจัดทำและซอ้ มแผนเตรยี มความพร้อมรับมือ
3.3 เสริมสร้างความเข้มแข็งของกำลังคนในการบริหารจัดการโรคโควิด 19 ได้แก่ การพัฒนาหน่วยปฏิบัติการ
ควบคุมโรคตดิ ตอ่ (CDCU) ทีมเฝา้ ระวงั สอบสวนเคล่ือนที่เร็ว (SRRT) ทมี ตระหนักรสู้ ถานการณ์ (SAT) รวมถงึ
การพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ให้มีศักยภาพสามารถดำเนินการเฝ้าระวัง และป้องกันควบคุมโรค
ได้อย่างมีประสิทธภิ าพ
3.4 พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการทำงานควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เช่น
การพัฒนานักระบาดวิทยาภาคสนาม (FETP) การใช้เทคโนโลยีติดตามผู้สัมผัส (Contact Tracing) การหา
ทางเลอื กกกั ตวั (Quarantine) ในจำนวนวันทเี่ หมาะสม รวมถงึ การใชป้ ระโยชน์จากหลักพนั ธุศาสตร์ (Genetic)
เพ่อื เพม่ิ ประสทิ ธิภาพการทำงานป้องกันควบคมุ โรคโควดิ 19

4. เรง่ รดั การทำงานตามขอ้ กำหนดหรอื พนั ธสญั ญาระหวา่ งประเทศ ดว้ ยแผนงานลดโรคและภยั สขุ ภาพทสี่ ำคญั
ไดแ้ ก่ การยตุ ิปัญหาวณั โรค การปอ้ งกนั การบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน การตอ่ สกู้ บั โรคไมต่ ิดตอ่  และ
การขบั เคลื่อนงานโรคจากการประกอบอาชีพและส่ิงแวดล้อม
ประกาศ ณ วนั ท่ี 28 ตลุ าคม พ.ศ. 2563

(นายโอภาส การยก์ วนิ พงศ์)
อธิบดีกรมวทิ ยาศาสตร์การแพทย์
รักษาราชการแทนอธิบดกี รมควบคมุ โรค

4

จลุ สาร คร.สัมพนั ธ์

“ขนุ ประเมนิ วิมลเวชช”์

เหรยี ญเชดิ ชูเกยี รตบิ ุคคลทอี่ ทุ ิศตน

เพอื่ การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคของประเทศ

เหรยี ญเชดิ ชูเกียรติ “ขุนประเมนิ วิมลเวชช”์ ได้จัดทำขึ้นโดยกรมควบคมุ โรคเพือ่ ยกยอ่ งและเชิดชเู กยี รติให้แก่ผทู้ อี่ ุทิศตน และเป็นตวั อย่างท่ดี ขี อง
ผทู้ ที่ ำงานดา้ นการปอ้ งกนั ควบคมุ โรคและภยั สขุ ภาพมาอยา่ งตอ่ เนอื่ งและยาวนาน รวมทงั้ เปน็ การสง่ เสรมิ และเผยแพรช่ อ่ื เสยี ง เกยี รตคิ ณุ ผอู้ ทุ ศิ ตน
ด้านงานป้องกันควบคุมโรค ท่ีสามารถใช้ความรู้ความสามารถประกอบวิชาชีพด้านการสาธารณสุขให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ
ใหแ้ กบ่ คุ คลทป่ี ฏบิ ตั งิ านดา้ นสาธารณสขุ หรอื สนบั สนนุ งานดา้ นสาธารณสขุ โดยเฉพาะการปอ้ งกนั ควบคมุ โรคทงั้ ในและนอกสงั กดั กระทรวงสาธารณสขุ
ที่มีประวัติการทำงานท้ังด้านบริหาร บริการ วิชาการการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ และมีผลงานดีเด่นที่ส่งผลต่อการพัฒนางานป้องกัน
ควบคมุ โรคและภยั สขุ ภาพโดยม่งุ เน้นท่ปี ระชากรทง้ั มวลในระดบั ชาติ และมผี ลงานทส่ี ง่ ผลต่อการมคี ณุ ภาพชวี ิตท่ดี ีข้ึนของประชาชน

พธิ กี ารมอบเหรยี ญเชดิ ชเู กยี รติ “ขนุ ประเมนิ วมิ ลเวชช”์ ครง้ั แรกไดจ้ ดั ทำขนึ้ ในงานสถาปนากรมควบคมุ โรคปที ่ี 42 ในวนั ท่ี 19 กนั ยายน พ.ศ. 2559
ซงึ่ กรมควบคมุ โรคไดพ้ จิ ารณาคดั เลอื กผอู้ ทุ ศิ ตนดา้ นงานปอ้ งกนั ควบคมุ โรคจากการเสนอชอ่ื จากหนว่ ยงานตา่ งๆทวั่ ประเทศโดยมเี กณฑก์ ารคดั เลอื ก
ดังตอ่ ไปน้ี
 เป็นผทู้ อี่ ทุ ศิ ตน และเปน็ ตัวอย่างที่ดขี องผูท้ ที่ ำงานด้านการปอ้ งกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
 เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ท้ังในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ท่ีปฏิบัติงานในด้านบริหาร บริการ
วิชาการป้องกนั ควบคุมโรคและภัยสขุ ภาพโดยมงุ่ เน้นท่ีประชากรทงั้ มวลในระดบั ชาติ และมีผลงานที่สง่ ผลตอ่ การมีคุณภาพชวี ติ ที่ดีขึน้ ของประชาชน
 มีผลงานและระยะเวลาในการทำงานท่ีส่งผลต่อพัฒนาการสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างย่ิงด้านงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพอย่างต่อเน่ือง
ยาวนาน และจรงิ จงั มีผลงานดีเดน่ เปน็ ที่ประจักษ์ และเป็นประโยชน์ต่อการป้องกนั ควบคมุ โรคและภยั สขุ ภาพในระดบั ชาติ
 เป็นผู้ท่ีมีความประพฤติดี มีคณุ ธรรม จริยธรรม ปฏิบตั ิตัวเปน็ แบบอยา่ งท่ีดีในการครองตน ครองคน และครองงาน สมควรไดร้ ับการยกยอ่ งเชิดชู

สำหรบั การมอบเหรยี ญเชิดชเู กยี รตแิ กผ่ ู้อทุ ิศตนดา้ นงานป้องกันควบคุมโรค “ขนุ ประเมินวิมลเวชช์”ทีผ่ ่านมา มีจำนวน 4 ท่าน ดังนี้
ปี พ.ศ. 2559 นายแพทย์สุชาติ เจตนเสน ทา่ นได้ทมุ่ เท เสียสละ ใหก้ ับการทำงานระบาดวทิ ยา

มาโดยตลอด โดยเร่ิมทำงานระบาดวิทยาอย่างจรงิ จังหลงั จบการศึกษาจากตา่ งประเทศในปี พ.ศ. 2498
เป็นผู้จัดต้ังระบบเฝ้าระวังโรคและบุกเบิกงานระบาดวิทยาภาคสนามของประเทศไทย และปัจจุบัน
ท่านยังคงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งท่ีปรึกษาอาวุโสโครงการฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนาม (FETP)
สำนักระบาดวิทยา และจนถึงปัจจุบันนี้ ท่านยังคงมีความกระตือรือร้นในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษา
ในงานระบาดวิทยาและการป้องกันควบคุมโรคของประเทศอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งผลงานของท่านในช่วงเวลา
ท่ีผ่านมามีมากมายเหลอื ทจ่ี ะพรรณนาได้
ปี พ.ศ. 2560 ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระ รามสูต ตลอดช่วงระยะเวลาของการรับราชการ
ในกระทรวงสาธารณสุข รวม 35 ปี ท่านได้เสียสละและอุทิศตนในการทำงานในการป้องกันควบคุมโรค
อยา่ งตอ่ เนอื่ งโดยผลงานเดน่ ดา้ นการดำเนนิ งานปอ้ งกนั ควบคมุ โรคของทา่ นคอื อทุ ศิ ตนทำงานดา้ นโรคเรอ้ื น
เพอ่ื สนองพระราชดำริและพระราชดำรสั ของพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช-
บรมนาถบพติ รการปอ้ งกนั ควบคมุ โรคเอดสร์ ะยะแรกทโี่ รคเอดสเ์ รมิ่ ระบาดสปู่ ระเทศไทยครงั้ แรกปีพ.ศ.2527
การปอ้ งกันควบคุมโรคพษิ สุนัขบ้าที่งานป้องกันใหม้ ีความชัดเจนโดยการควบคมุ โรค และการแก้ไขปญั หา
สูค่ วามสำเร็จของการท่ีเดก็ ไทยได้รบั การสร้างเสรมิ ภมู ิคุม้ กันโรคถ้วนหน้า

5

จุลสาร คร.สัมพันธ์

ปีพ.ศ.2561ศาสตราจารยเ์ กยี รตคิ ณุ นายแพทยป์ ระเสรฐิ ทองเจรญิ ซงึ่ ทา่ นไดด้ ำรงตำแหนง่ ทปี่ รกึ ษาคณะแพทยศาสตรศ์ ริ ริ าชพยาบาล มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล
ทปี่ รกึ ษากรมควบคมุ โรคและทปี่ รกึ ษากรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสขุ ถอื เปน็ บคุ คลทมี่ คี วามสามารถและมสี ว่ นสำคญั ในการพฒั นางานดา้ นสาธารณสขุ หลายดา้ น
โดยเฉพาะการพฒั นาศกั ยภาพทางดา้ นหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารไวรสั วทิ ยาสง่ ผลใหง้ านการปอ้ งกนั ควบคมุ โรคตดิ เชอื้ ไวรสั
ต่างๆ มีความก้าวหน้า ครอบคลุมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรม ผลงานและการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมาก ท้ังใน
การพฒั นาการปอ้ งกนั ควบคมุ โรคพษิ สนุ ขั บา้ ทงั้ ในมนษุ ยแ์ ละสตั วโ์ รคหดั เยอรมนั หรอื โรครเู บลลาโรคเยอ่ื บตุ าอกั เสบ
จากเชอื้ ไวรสั โรคเอดส์โรคไขห้ วดั นกและโรคไขห้ วดั ใหญ่รวมถงึ โรคตดิ เชอ้ื อบุ ตั ใิ หมอ่ กี หลายโรคทา่ นเปน็ ประธาน
คณะกรรมการด้านวิชาการตามพระราชบัญญัติโรคติดตอ่ พ.ศ. 2558 รวมท้งั ยังมบี ทบาทสำคญั ในการให้คำแนะนำ
ปรึกษางานป้องกันควบคุมโรคอีกจำนวนมาก ผลงานของท่านมีมากมายเป็นที่ประจักษ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
จนทำให้สามารถลดอตั ราปว่ ย อตั ราตายของโรคต่างๆ ทีเ่ ปน็ ปัญหาสาธารณสขุ ที่สำคญั ได้

ปี พ.ศ. 2562 ศาสตราจารย์คลนิ ิกพเิ ศษแพทย์หญิงสจุ ติ รา นมิ มานนิตย์ ทา่ นเป็นท่ปี รกึ ษาดา้ นการเฝ้าระวัง
โรคติดต่อท่ีป้องกันได้ด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค และตลอดช่วงระยะเวลาของการรับราชการมากกว่า 60 ปี
ท่านได้เสียสละและอุทิศตนในการทำงานในการป้องกันควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง ผลงานเด่นที่ผ่านมาท่านได้รับ
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการแพทย์ จากผลงานการวิจัยโรคไข้เลือดออก โดยท่านได้วางหลักในการจำแนก
ความรุนแรงของโรค ค้นคว้าหาวิธีตรวจวินิจฉัยความรุนแรงของโรค ด้วยวิธีการท่ีปฏิบัติได้ในประเทศไทยและ
ประเทศใกลเ้ คยี งและเปน็ ผเู้ ผยแพรว่ ธิ กี ารรกั ษาทถี่ กู ตอ้ งตามหลกั วชิ าตอ่ วงการแพทยน์ านาชาติทงั้ ในทวปี เอเชยี และ
อเมริกาใต้ ส่งผลให้อัตราการตายจากโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.5 ของผู้ป่วย
ท่ีเขา้ รบั การรกั ษาเมอื่ 25 ปีกอ่ น และอัตราการตายจากโรคไขเ้ ลือดออกลดลงประมาณ รอ้ ยละ 2 - 3 ในประเทศใกลเ้ คียง ผลงานด้านการกวาดล้างโปลโิ อ ทา่ นทำงาน
เป็นที่ปรึกษากรมควบคุมโรคในโครงการกวาดล้างโรคโปลิโอ ตามนโยบายองค์การอนามัยโลก เนื่องด้วยเคยมีประสบการณ์เมื่อโรคโปลิโอระบาดในปี พ.ศ. 2502
ดงั นนั้ เมอ่ื มโี อกาสออกนเิ ทศงานตามจงั หวงั ตา่ งๆทว่ั ประเทศกจ็ ะนเิ ทศงานโรคไขเ้ ลอื ดออกและการกวาดลา้ งโปลโิ อควบคกู่ นั ไปสง่ ผลใหป้ ระเทศไทยสามารถกวาดลา้ งโรคโปลโิ อ
ให้หมดไปได้ในปี พ.ศ. 2540 ก่อนกำหนด 3 ปี
ในปี พ.ศ. 2563 กรมควบคุมโรคได้มอบเหรยี ญเชดิ ชูเกียรติ “ขุนประเมินวิมลเวชช์” แด่ ศาสตราจารย์
เกียรติยศนายแพทย์สงคราม ทรัพย์เจริญ ซ่ึงท่านเป็นอาจารย์แพทย์ผู้อุทิศตน เป็นผู้บริหารที่มีคุณธรรม
คู่ปัญญาและเป็นแบบอย่างของการเรียนรูแ้ ละพฒั นาตนอยา่ งต่อเน่ือง เป็นผ้รู ิเริม่ บุกเบิก สร้างระบบเพื่อรองรบั
ความเปล่ียนแปลงของยุคสมัยให้แก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขมาโดยตลอด ท่านเคยดำรงตำแหน่ง
ผอู้ ำนวยการโรงพยาบาลชลประทาน(ศนู ยก์ ารแพทยป์ ญั ญานนั ทภกิ ขุ-ชลประทานมหาวทิ ยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ)
และผอู้ ำนวยการโรงพยาบาลโรคปอดกรงุ เทพทา่ นไดร้ บั พระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯใหด้ ำรงตำแหนง่ นายแพทยพ์ เิ ศษ
ทางอายุรศาสตร์ ซึ่งเป็นตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการพลเรือนช้ันพิเศษเป็นคนแรก และในงานของผู้เช่ียวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคทรวงอก ท่านเป็น
ผู้พบโรคปอดอักเสบจากเชื้อมัยโคพลาสมาเป็นรายแรกในประเทศไทยและในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถในการรักษา
ป้องกัน ควบคุมวัณโรคมาอย่างต่อเน่ืองตลอด 60 ปี ริเริ่มงานสัมมนาวิชาการระดับชาติเพ่ือพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ เป็นผู้นำในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
ในทุกระดับ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ต้ังแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติ และท่านยังเป็นแพทย์คนแรกที่ปลุกให้สาธารณะชนตระหนักถึงพิษภัยของ
บุหร่ีและร่วมผลักดันให้เกิดกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบท่ีเข้มแข็ง มีบทลงโทษผู้ที่สูบบุหร่ีท้ังในโรงภาพยนตร์ และรถประจำทาง จนรัฐบาลบังคับให้มีคำเตือน
“สูบบุหร่ีเปน็ อันตรายตอ่ สขุ ภาพ” บนซองบุหรี่ จากการที่ได้ดำเนนิ การรณรงคเ์ รอื่ งอนั ตรายจากการสบู บหุ ร่โี ดยตลอด ทำให้ไดร้ บั รางวัลเกียรติคุณ Gold Medal,
Tobacco Free Worldจากองคก์ ารอนามยั โลกและไดเ้ คยดำรงตำแหนง่ รองประธานคณะผเู้ ชย่ี วชาญดา้ นอนั ตรายของการสบู บหุ รี่กระทรวงสาธารณสขุ รวมทง้ั ทา่ นยงั เปน็
ผรู้ เิ รมิ่ และวางรากฐานระบบการรบั รองและพฒั นาคณุ ภาพโรงพยาบาลจนเปน็ ทยี่ อมรบั เปน็ ประธานจดั การประชมุ วชิ าการระดบั นานาชาตแิ ละระดบั โลกทส่ี รา้ งชอ่ื เสยี ง
ใหแ้ กป่ ระเทศ และเป็นพระมหากรุณาธิคณุ อย่างหาทสี่ ดุ มิได้คอื การได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกลา้ ฯ ใหด้ ำรงตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2535
ซึง่ ทา่ นได้ทำหนา้ ทีด่ ้วยความรบั ผิดชอบอย่างสงู สดุ สมเกยี รติสมฐานะแพทยไ์ ดอ้ ย่างเต็มภาคภมู ิ
จากคณุ ปู การอยา่ งใหญห่ ลวงทมี่ ตี อ่ การพฒั นาและเสยี สละตนในงานปอ้ งกนั ควบคมุ โรคของศาสตราจารยเ์ กยี รตยิ ศนายแพทยส์ งครามทรพั ยเ์ จรญิ รวมทง้ั การทท่ี า่ นเปน็
ผทู้ อ่ี ทุ ศิ ตนและเปน็ ตน้ แบบใหแ้ กผ่ ทู้ ท่ี ำงานดา้ นการปอ้ งกนั ควบคมุ โรค โดยมงุ่ เนน้ ทป่ี ระชากรทงั้ มวลในระดบั ชาตแิ ละนานาชาติ มผี ลงานดเี ดน่ เปน็ ทป่ี ระจกั ษท์ ส่ี ง่ ผลตอ่ การมี
คณุ ภาพชวี ิตทด่ี ขี นึ้ ของประชาชน ส่งผลต่อพัฒนาการสาธารณสขุ โดยเฉพาะอย่างย่งิ ดา้ นงานป้องกันควบคมุ โรคอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง ยาวนาน และจริงจัง เปน็ ผ้ทู ี่มีความประพฤติดี
มีคณุ ธรรม จรยิ ธรรม ปฏิบตั ติ วั เปน็ แบบอย่างทด่ี ีในการครองตน ครองคน และครองงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจงึ ขอมอบเหรยี ญ “ขนุ ประเมนิ วมิ ลเวชช”์
เพอื่ ยกยอ่ งและเชดิ ชเู กยี รตแิ ก่ศาสตราจารยเ์ กยี รตยิ ศนายแพทยส์ งครามทรพั ยเ์ จรญิ และขอเผยแพรช่ อื่ เสยี งเกยี รตคิ ณุ ของทา่ นซงึ่ ผลงานของทา่ นไดแ้ สดง
อย่างชดั เจนถงึ การเปน็ ผู้อทุ ิศตนดา้ นงานปอ้ งกันควบคุมโรคท่ีได้ใช้ความรู้ความสามารถในวิชาชพี ดา้ นสาธารณสขุ ใหเ้ กิดประโยชนแ์ ก่สงั คมและประเทศชาติ

6

รอบร้ัว คร. จลุ สาร คร.สมั พนั ธ์

สถาบันราชประชาสมาสัย :
สถาบนั ราชประชาสมาสยั จดั ประชมุ รบั ฟงั ปญั หาของผปู้ ว่ ยโรคเรอื้ นโดยมนี ายแพทย์
โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รักษาราชการแทนอธิบดี
กรมควบคมุ โรค เปน็ ประธานพรอ้ มดว้ ยนายแพทยก์ ฤษฎา หาญบรรเจดิ ผอู้ ำนวยการ
สถาบันประชาราชสมาสัย และทีมงาน ร่วมรับฟังปัญหาของผู้ป่วยโรคเรื้อน พร้อม
เย่ียมให้กำลังใจญาติในชุมชนเพ่ือหาทางแก้ไขต่อไป ณ สถาบันราชประชาสมาสัย
พระประแดง (2 ตุลาคม 2563)

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง :
กองโรคตดิ ตอ่ นำโดยแมลงจดั โครงการประชมุ เชงิ ปฏบิ ตั กิ ารเรอ่ื งการพฒั นาศกั ยภาพ
บคุ ลากรในการใชง้ านระบบ Mobile Health สำหรบั การกำจัดโรคไขม้ าลาเรีย โดยมี
แพทย์หญิงชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์ ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อนำโดยแมลง
เปน็ ผเู้ ปิดงาน ณ อิมแพ็ค เมอื งทองธานี จังหวัดนนทบุรี (8 - 9 ตุลาคม 2563)

สถาบนั ปอ้ งกันควบคุมโรคเขตเมอื ง :
สถาบนั ปอ้ งกนั ควบคมุ โรคเขตเมอื ง กรมควบคมุ โรคจดั ระบบบรกิ ารPublicHealthLab
เคลอื่ นที่เพอ่ื ตรวจจบั การระบาดของโรคโควดิ 19 ในงานพธิ พี ระราชทานปรญิ ญาบตั ร
เขตภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื และสำนกั งานปอ้ งกนั ควบคมุ โรคที่8 รว่ มกบั หนว่ ยงาน
สาธารณสขุ จงั หวดั สกลนครและฝา่ ยปกครองเครอื ขา่ ยนกั เทคนคิ การแพทยฯ์ จติ อาสา
คดั กรองคน้ หาเชงิ รกุ ผตู้ ดิ เชอ้ื โควดิ 19ใหก้ บั บณั ฑติ ทเี่ ขา้ รบั พระราชทานปรญิ ญาบตั ร
บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงญาติท่ีมาคอยให้กำลังใจบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัย
ราชภฏั สกลนคร และมหาวิทยาลยั ราชภฏั นครราชสมี า (15 - 20 ตลุ าคม 2563)
กองงานคณะกรรมการควบคมุ ผลติ ภณั ฑย์ าสูบ :
กองงานคณะกรรมการควบคมุ ผลติ ภัณฑ์ยาสบู จัดการประชุมเชงิ ปฏิบตั ิการพัฒนา
ศกั ยภาพการดำเนินงานคดั กรองผูส้ บู บุหร่ี เพอ่ื การเลกิ สบู บุหรใี่ นสถานประกอบการ
รนุ่ ท่ี1โดยไดร้ บั เกยี รตจิ ากนายแพทยข์ จรศกั ดิ์แกว้ จรสั รองอธบิ ดกี รมควบคมุ โรคเปน็
ประธานเปิดการประขุมและบรรยายพิเศษ ในประเด็นสถานการณ์ ผลกระทบจาก
การสบู บุหร่ี ณ โรงแรมเอวัน เดอะรอยัล ครสู พัทยา จงั หวัดชลบรุ ี (21 - 22 ตุลาคม 2563)

กองควบคมุ โรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน :
กองควบคมุ โรคและภยั สขุ ภาพในภาวะฉกุ เฉนิ จดั การประชมุ เชงิ ปฏบิ ตั กิ ารการพฒั นา
ศักยภาพบุคลากรด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคติดเช้ือ
ไวรสั โคโรนา2019 ภายใตก้ ารสนบั สนนุ งบประมาณจากศนู ยค์ วามรว่ มมอื ไทย-สหรฐั
(TUC) ณ โรงแรมราชาบรุ ะ จงั หวดั ราชบุรี (28 - 30 ตุลาคม 2563)

7

จุลสาร คร.สมั พนั ธ์

การเปล่ียนแปลงสภาพแวดล้อมของโลก
กับการปอ้ งกบั ควบคุมโรคเลปโตสไปโรสิส

ในประเทศไทย

ปจั จบุ นั การเปลยี่ นแปลงสภาพแวดลอ้ มของโลกนบั วนั ยง่ิ ทวคี วามรนุ แรงและสง่ ผลกระทบ
ต่อคณุ ภาพชีวติ ของประชากร ซ่งึ การเปลี่ยนแปลงนอี้ าจเกดิ จากปัจจยั ทางธรรมชาติ เชน่
ปรากฏการณ์ต่างๆ จากภาวะโลกร้อน ทำใหเ้ กดิ ฝนตกหนกั น้ำท่วม กระแสน้ำพดั พาส่ิงสกปรก
เชอ้ื โรค จากพน้ื ดนิ ลงสแู่ หลง่ นำ้ เกดิ มลพษิ ทางนำ้ การเกดิ ไฟไหมป้ า่ ทำใหเ้ กดิ มลพษิ ทางอากาศ เปน็ ตน้ ซง่ึ มนษุ ยเ์ องกถ็ อื เปน็ ปจั จยั สำคญั
ท่ีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางส่ิงแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศโลก การเพ่ิมจำนวนประชากร ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
มากขึ้น เช่น การตดั ไมท้ ำลายป่าเพอื่ เปน็ ท่อี ยอู่ าศัยหรอื ทำกนิ การอพยพยา้ ยถ่นิ ฐานเขา้ สเู่ ขตเมอื งทำใหเ้ กดิ ปัญหาชมุ ชนแออดั เมือ่ เกิด
การสูญเสียสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ มีการเปล่ียนแปลงส่ิงแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ ทำให้พบปัญหาโรคและ
ภยั สขุ ภาพมากข้ึน เชน่ โรคไข้เลือดออก โรคไขม้ าลาเรีย โรคติดเชอ้ื อบุ ัติใหม่และอบุ ัตซิ ำ้ รวมท้งั โรคเลปโตสไปโรสสิ ด้วย

โรคเลปโตสไปโรสสิ

โรคเลปโตสไปโรสิส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขท่ัวโลก รวมทั้ง
ประเทศไทย พบมากในประเทศแถบเขตร้อนช้ืน เกิดจากการติดเช้ือแบคทีเรียสไปโรขีตขนาดเล็ก
ช่ือว่า “Leptospira” สายพันธุ์ก่อโรค สัตว์เล้ียงลูกด้วยนมส่วนใหญ่เป็นพาหะนำโรค ได้แก่
หนู โค กระบอื สกุ ร สนุ ขั แพะ แกะ เป็นต้น การตดิ ต่อของโรคอาจเกิดจากการสัมผัสกบั สัตวท์ ่ีตดิ เชื้อ
โดยตรง แตท่ พี่ บมาก คอื การสมั ผสั ดนิ ทช่ี น้ื แฉะหรอื แหลง่ นำ้ ทป่ี นเปอื้ นเชอ้ื บางประเทศพบการเกดิ
โรคในพ้ืนที่ชุมชนแออัด มีการจัดการระบบน้ำและขยะที่ไม่ดี อีกทั้งการแพร่ระบาดของโรค
มกั เกิดพร้อมกับภาวะอทุ กภัย หรือการเปล่ยี นแปลงส่ิงแวดลอ้ ม การเปลย่ี นแปลงสภาพภูมิอากาศ
อยา่ งรนุ แรง โดยคาดการณ์ว่าแต่ละปพี บผู้ป่วยทัว่ โลกไม่ตำ่ กวา่ 5 แสนราย

สำหรับประเทศไทยเกิดการระบาดครั้งใหญ่เม่ือปี 2543 พบผู้ป่วย 14,285 ราย เสียชีวิต
362 ราย โดยเกดิ การระบาดใหญ่ 2 ครงั้ คอื ทจี่ งั หวดั อบุ ลราชธานี และจงั หวดั สงขลา ซงึ่ เกดิ นำ้ ทว่ ม
ครัง้ ใหญ่ หลงั จากนน้ั จำนวนผู้ปว่ ยมีแนวโน้มลดลงจนปี 2558 พบจำนวนผ้ปู ่วยต่ำสุด 2,151 ราย
เสียชีวิต 51 ราย ซ่ึงปีนั้นเป็นปีที่ประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนเฉล่ียต่อปีน้อยที่สุดในรอบ 30 ปี
ที่ผา่ นมา และปจั จุบนั พบผปู้ ่วยเฉล่ยี 2,000 - 3,000 ราย เสยี ชวี ติ ไม่เกนิ 60 ราย อตั ราปว่ ยตาย
ประมาณ1-2%สาเหตสุ ว่ นใหญเ่ กดิ จากการทผี่ ปู้ ว่ ยไปพบแพทยช์ า้ ซอ้ื ยามาทานเองหรอื ระยะแรก
แพทยว์ ินิจฉัยเป็นโรคอ่นื ก่อน
โรคเลปโตสไปโรสิสมักเกิดการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะพบผู้ป่วยสูงช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน
ส่วนภาคใต้จะพบผู้ป่วยสูงช่วงเดือนพฤศจิกายน - มกราคม ซึ่งภาคใต้เป็นภาคท่ีพบอัตราป่วยสูงสุด รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยจังหวดั ท่พี บอตั ราป่วยสูงสุด อยู่ในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื 7 จงั หวดั ได้แก่ ศรีสะเกษ กาฬสนิ ธุ์ เลย สรุ ินทร์ มหาสารคาม ยโสธร นครราชสมี า
ภาคใต้ 8 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา นครศรีธรรมราช ตรัง ยะลา พัทลุง กระบี่ สงขลา และภาคเหนือ ได้แก่ น่าน ซ่ึงจังหวัดเหล่านี้มีอัตราป่วย
มากกว่าอัตราป่วยของประเทศ 4 - 5 เท่า

8

จุลสาร คร.สัมพันธ์

สำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง พบว่า ร้อยละ 70 ของผปู้ ่วยทงั้ หมดเป็นกล่มุ วัยทำงาน อายรุ ะหว่าง 25 - 65 ปี ได้แก่ ชาวนา ชาวสวน คนหาปลา
ในแหล่งน้ำทม่ี เี ช้อื ปนเปอ้ื น คนเล้ยี งสัตว์ ผทู้ ี่ประสบอทุ กภยั หรอื อาศัยอยใู่ นพนื้ ท่ีนำ้ ทว่ มขัง นกั ทอ่ งเทย่ี วทเ่ี ดินลยุ /ว่ายนำ้ ในจดุ เส่ยี ง

จะเหน็ ว่า โรคนมี้ กี ารเปลย่ี นแปลงตามฤดูกาลและเกยี่ วขอ้ งกบั คน สัตว์ และสิ่งแวดลอ้ ม ความทา้ ทายของการปอ้ งกนั ควบคมุ โรค
ท่วั โลกรวมท้งั ประเทศไทย เกิดจากขอ้ จำกดั หลายประการ ได้แก่

 ความหลากหลายของเช้ือก่อโรค  การเปลยี่ นแปลงสภาพภมู อิ ากาศ  ความตระหนกั เกี่ยวกับโรค เนอื่ งจากสตั ว์
เชอื้ เลปโตสไปราสายพนั ธก์ุ อ่ โรคมมี ากกวา่ (ภาวะโลกรอ้ นปรากฏการณล์ านญี า) ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการป่วยหรือแสดง
300 ซีโรวาร์ โฮสต์หนึ่งชนิดสามารถติด และการเปล่ียนแปลงระบบนิเวศน์ อาการเพยี งเลก็ นอ้ ยการวนิ จิ ฉยั ทงั้ ทางคลนิ กิ
เชอื้ ไดม้ ากกวา่ 1ซโี รวาร์ขณะเดยี วกนั เชอ้ื (การขยายทีด่ ินทำกิน การขยายเมือง และทางห้องปฏิบัติการทำได้ค่อนข้างยาก
1ซโี รวาร์สามารถกอ่ โรคไดใ้ นโฮสตห์ ลาย การทำลายป่า) สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิด เนอื่ งจากอาการคล้ายกบั โรคติดเช้อื อน่ื ๆ เชน่
ชนิด ปัจจุบันยังพบว่า การเปล่ียนแปลง ภาวะอุทกภัย ซ่ึงน้ำจะเป็นตัวพาให้ โรคไข้หวัด ไข้เลือดออก ตับอักเสบ เม่ือถูก
สภาพแวดล้อมท่ีมีความซับซ้อนมากขึ้น เชอ้ื มาสคู่ นไดง้ า่ ยขน้ึ เกดิ การกระจาย วนิ จิ ฉยั วา่ เปน็ โรคอนื่ กท็ ำใหเ้ กดิ การรายงานโรค
ทำให้เช้ือแต่ละซีโรวาร์พยายามปรับตัว เช้ือหลากหลายซีโรวาร์ ซีโรวาร์ ตำ่ กวา่ ความเปน็ จรงิ เมอื่ การรายงานโรคตำ่ กวา่
เพื่อเข้าสู่โฮสต์ได้หลายชนิดมากขึ้น เกิด ท่ีแตกต่างกันทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ความเป็นจริงก็ทำให้คนขาดความตระหนัก
การเปลี่ยนแปลงการกระจายของโรค ทางคลินกิ แตกตา่ งกันด้วย เมื่อขาดความตระหนักก็กลายเป็นโรคท่ี
และเพ่ิมโอกาสเส่ียงต่อการติดเชื้อในคน ถกู มองข้าม (neglected disease) เปน็ วงจร
มากขึน้ ต่อเนื่อง

เมอื่ โรคเลปโตสไปโรสสิ กลายเปน็ โรคทถี่ กู มองขา้ มสวนทางกบั การเปลย่ี นแปลงสภาพแวดลอ้ มทเี่ กดิ ขนึ้ อยา่ งตอ่ เนอื่ งอกี ทงั้ การดำเนนิ งานปอ้ งกนั
ควบคุมโรคของประเทศไทยในปัจจุบนั พบว่า การระบแุ หลง่ รงั โรคหรอื สาเหตุที่ทำให้เกดิ โรคอยา่ งชดั เจนเป็นไปไดย้ ากเน่อื งจากผ้ปู ่วยมักทำกิจกรรม
ท่ีหลากหลาย การป้องกันโรคเน้นการส่ือสารความเสี่ยงตามฤดูกาลมากกว่าการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวัง การพยากรณ์โรค
หรือการป้องกันโรคแบบเชิงรุก ปัจจัยเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดปัญหากับการรับมือการระบาดและการลดจำนวนผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตในพื้นที่ ดังน้ัน
หากจะมงุ่ สเู่ ปา้ หมาย “ลดโรค ลดตาย” จากโรคเลปโตสไปโรสสิ หนว่ ยงานทเี่ กยี่ วขอ้ งตอ้ งทำงานรว่ มกนั แบบบรู ณาการทง้ั คน สตั ว์ และสงิ่ แวดลอ้ ม
โดยยดึ หลัก 1) เฝ้าระวงั และชี้เปา้ เตือนภยั พน้ื ทเ่ี สย่ี ง 2) ส่ือสารความเสย่ี งเชิงรุก 3) จดั การสขุ าภิบาลและสง่ิ แวดลอ้ มในชุมชนที่ดี 4) รู้เรว็ วินจิ ฉยั เร็ว
ป้องกนั ผเู้ สยี ชีวิตจากโรคเลปโตสไปโรสิส 5) เร่งรดั การควบคมุ โรคในพน้ื ที่ระบาด
สดุ ทา้ ยนี้ การสรา้ ง “ความตระหนกั ” เกยี่ วกบั โรค ปจั จยั เสยี่ ง และการปอ้ งกนั ควบคมุ โรคเลปโตสไปโรสสิ ใหแ้ กป่ ระชาชนกลมุ่ เสยี่ ง แพทย์
และชมุ ชนจะเปน็ จดุ เรมิ่ ตน้ และเปน็ แรงผลกั ดนั สำคญั ทท่ี ำใหเ้ กดิ ระบบการเฝา้ ระวงั ปอ้ งกนั ควบคมุ โรคไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพพรอ้ มรบั มอื
กับการเปลีย่ นแปลงสภาพแวดล้อมของโลกที่จะส่งผลกระทบต่อการระบาดของโรคเลปโตสไปโรสสิ ในประเทศไทยในอนาคต

9

จุลสาร คร.สัมพนั ธ์

ปฏิทินกิจกรรมระหวา่ ง เดือนธันวาคม 2563 - มกราคม 2564

ธันวาคม 2563 มกราคม 2564

1 ธนั วาคม วนั เอดสโ์ ลก (World AIDS Day) 1 มกราคม วนั ขน้ึ ปีใหม่
5 ธนั วาคม วันคลา้ ยวนั เฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทร 9 มกราคม วนั เดก็ แห่งชาติ
มหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพิตร 16 มกราคม กจิ กรรมรณรงคส์ ัปดาห์
10 ธันวาคม วนั รฐั ธรรมนูญ (วนั พระราชทานรัฐธรรมนญู ) ราชประชาสมาสยั
31 ธนั วาคม วนั ส้ินปี

เกมสค์ ำถามรว่ มสนกุ ประจำฉบบั ที่ 1 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2563

ขอเชญิ พี่นอ้ งชาว คร. ร่วมเลน่ เกมสล์ ้นุ ของรางวลั เราเตรียมของรางวลั ไว้ใหเ้ พือ่ น ๆ รว่ มสนุกมากมาย

คำถามประจำฉบบั น้ี คือ หลกั การ 4T ประกอบด้วยอะไรบา้ ง ?

ใครทราบคำตอบแลว้ รีบส่งคำตอบกนั มาไดท้ ี่ e-mail : [email protected]
หรอื ไปรษณยี ม์ าท่ี กลมุ่ ประชาสัมพนั ธแ์ ละขา่ ว สำนักงานเลขานกุ ารกรม กรมควบคุมโรค
ถนนติวานนท์ อำเภอเมอื ง จงั หวดั นนทบุรี

โดยวงเล็บมมุ ซองวา่ “เจ้าแห่ง คร.” ด้วยนะคะ แลว้ อย่าลมื เขียนคำตอบ ชื่อทอี่ ยู่ หน่วยงานที่สงั กัด
เราจะไดส้ ่งรางวัลไปใหถ้ กู คะ่ รีบ ๆ ส่งคำตอบกันมานะคะ ภายในวนั ที่ 31 มกราคม 2564
เฉลยคำถาม คบเดก็ สร้างบา้ น” มีวตั ถปุ ระสงคเ์ พอ่ื อะไร ?
ตอบ สนับสนุนใหม้ กี ารรวมกลุ่มของบุคลากรรนุ่ ใหม่ สร้างผลงานดๆี
ทำให้บคุ ลากรผูกพันต่อการปฏิบัตหิ น้าที่ไดอ้ ยา่ งเตม็ ทีต่ ามภารกิจที่ไดร้ ับมอบหมาย

ศนู ยข์ ้อมูลขา่ วสารของราชการ กรมควบคุมโรค

“เปิดเผยเปน็ หลกั ปกปิดเป็นขอ้ ยกเวน้ ” http://ddccenter.ddc.moph.go.th/infoc

ศนู ย์รับเรือ่ งรอ้ งเรียน รอ้ งทกุ ข์ กรมควบคุมโรค

“รวดเรว็ ฉับไว ใส่ใจประชาชน” http://old.ddc.moph.go.th/complaint
ชอ่ งทางการติดตอ่

อาคาร 1 ช้นั 1 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ 88/21 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบรุ ี 11000
โทรศพั ท์ 0 2590 3269 โทรสาร 0 2591 8397

เจ้าของ : สำนักงานเลขานุการกรม กรมควบคุมโรค กองบรรณาธิการ : นายเกรียงศักด์ิ เพาะโภชน์, นางสาวอรุณรุ่ง ศรีรัตนารัตน์,
นายประเสริฐ เหลืองเจริญกลุ , นางสาวเสริมศริ ิ แสงสว่าง, นายกมลพัฒน์ คำยา, นางสาววรรณี หมอเอก, นายยุทธพงษ์ วรี ะชาลี
สถานที่ติดต่อ : กลุ่มประชาสัมพันธ์และข่าว สำนักงานเลขานุการกรม กรมควบคุมโรค 88/21 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ
อำเภอเมือง จังหวัดนนทบรุ ี 11000 โทรศัพท์ : 0 2590 3026-7 E-Mail : [email protected] Facebook : กลมุ่ ประชาสัมพนั ธ์
และข่าว สลก. กรมควบคุมโรค

10


Click to View FlipBook Version