คําสาํ คญั : การพฒั นาทกั ษะคอมพวิ เตอร์ / ใชป้ ัญหาเป็นฐาน (PBL)
กฤษฎา คํามา : การพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ือง
โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ระดับชนั้ ประถมศกึ ษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีบุญเรอื งวิทยาคาร
ตําบลขม้นิ อาํ เภอเมือง จงั หวดั สกลนคร , 81 หน้า. ปี พ.ศ. 2561.
การวิจัยในคร้ังน้ี มีจุดมุ่งหมายเพ่ือแก้ไขปัญหาทักษะทางคอมพิวเตอร์ เร่ือง โปรแกรม
ไมโครซอฟต์เอ็กเซล โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยวเิ คระหแ์ ละหาผลสัมฤทธ์จิ ากการทําแบบทดสอบกอ่ น
เรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งน้ี เป็นนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
ศรีบุญเรืองวิทยาคาร ตําบลขม้ิน อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ที่เรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์ ในภาค
เรยี นที่ 1 ปกี ารศกึ ษา 2561 ซง่ึ นักเรยี นไม่สามารถเข้าใจถงึ กระบวนการทาํ งานและการนาํ ไปใช้ในเชิง
ปฏิบัติได้ เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล จึงได้ทําการวิจัยน้ีข้ึนมาเพ่ือแก้ปัญหาให้
นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ สําหรับการใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล โดยเน้นไปท่ีการ
แก้ปัญหา ในรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพ่ือพัฒนาและส่งเสริมทักษะความสามารถของ
นักเรยี น
จากการศกึ ษาผลของการพฒั นาการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเปน็ ฐาน (PBL) ในการเรยี น
การสอน ไดข้ ้อสรุปสาํ คัญของผลการศึกษา ดังน้ี
1. แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ืองการใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็ก
เซล วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.45/83.95
ซ่งึ สงู กว่าเกณฑท์ ่ีตงั้ ไว้
2. แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ืองการใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็ก
เซล วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดัชนีประสิทธิผล (EI) เท่ากับ 0.7359 หรือคิด
เป็นรอ้ ยละ 73.59
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนร้อยละ
ความก้าวหนา้ 44.74
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา
เปน็ ฐาน เรือ่ งการใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อก็ เซล วิชาคอมพิวเตอร์ ระดบั ชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 6
อยู่ในระดบั มากท่สี ดุ ( ̅= 4.62)
สารบัญ
บทคดั ยอ่ .................................................................................................................................... หน้า
สารบัญ....................................................................................................................................... ข
บทท่ี ค
AAA1.AAบทนาํ .........................................................................................................................
AAAAAAA ภมู ิหลัง.................................................................................................................. 1
1
วัตถุประสงค์.......................................................................................................... 2
สมมุติฐานงานวจิ ยั ................................................................................................. 3
กลุ่มเปา้ หมาย....................................................................................................... 3
ตวั แปรทีศ่ ึกษา...................................................................................................... 3
เน้อื หาในงานวิจยั ………......................................................................................... 3
ระยะเวลา………….................................................................................................. 3
เครือ่ งมือทใ่ี ชใ้ นการวิจัย........................................................................................ 4
นิยามศัพท์เฉพาะ.................................................................................................. 4
ประโยชน์ทีค่ าดวา่ จะได้รับ.................................................................................... 5
AAA2.AAทฤษฏีและงานวจิ ยั ที่เกยี่ วขอ้ ง.................................................................................... 6
1. หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้นั พื้นฐาน........................................................... 6
2. กลุ่มสาระการเรยี นรกู้ ารงานอาชีพและเทคโนโลยี............................................ 9
3. การพัฒนาทกั ษะกระบวนการคิด..................................................................... 11
4. รปู แบบการจัดการเรียนร้โู ดยใช้ปัญหาเปน็ ฐาน (Problem – based
12
Learning : PBL )………………………………………………………………...................... 15
5. ประสทิ ธภิ าพ และดชั นปี ระสทิ ธิผลของแผนการจัดการเรยี นรู…้ …..…………….. 17
6. ผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรียน………………..……………………………………………………….. 21
7. ความพงึ พอใจ………………………………………………………………………………..…….. 22
8. งานวจิ ัยท่เี ก่ียวข้อง……………………………..…………………………….………………….. 25
AAA3.AAวธิ กี ารศึกษาค้นคว้า.................................................................................................... 25
1. กลุ่มเป้าหมาย………………………............................................................ 25
2. เคร่อื งมือทใ่ี ช้ในงานวจิ ัย…………..………............................................................ 26
3. การสรา้ งและหาคณุ ภาพเครื่องมอื …….............................................................. 31
4. แบบแผนการวจิ ยั ………………………..….............................................................. 32
5. การเก็บรวบรวมขอ้ มูล…………………….............................................................. 32
6. การจัดกระทาํ ขอ้ มูลและการวเิ คราะห์ข้อมลู .................................................... 33
7. สถิติทใี่ ชใ้ นการวเิ คราะหข์ ้อมลู ……...................................................................
ง
AAA หน้า
AAA4.AAผลการศึกษา............................................................................................................... 35
AAAAAAAตอนที่ 1 ผลการวิเคราะหห์ าคา่ ประสทิ ธภิ าพ ของแผนการจดั การเรียนร้.ู ............... 36
AAAAAAAตอนท่ี 2 ผลการวเิ คระห์หาคา่ ประสิทธิผล (E.I.) ของแผนการจัดการเรียนรู้………… 37
AAAAAAAตอนที่ 3 ผลการวเิ คราะหเ์ พือ่ เปรียบเทยี บผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนของนกั เรยี น
38
ระหวา่ งก่อนและหลังเรยี น.................................................................................. 39
AAAAAAAตอนท่ี 4 ผลการวิเคระห์หาคา่ ความพงึ พอใจ…………………………………………………… 41
AAA5.AAสรุปและอภปิ รายผล................................................................................................... 41
AAAAAAA1. สรุปผลการวิจยั .................................................................................................... 42
AAAAAAA2. อภิปรายผล.......................................................................................................... 43
AAAAAAA3. ขอ้ เสนอแนะ........................................................................................................ 44
บรรณานกุ รม............................................................................................................................. 47
ภาคผนวก.................................................................................................................................. 48
AAA5.AAภาคผนวก ก_แผนการจัดการเรยี นร้โู ดยใช้ปญั หาเป็นฐาน………………………………….. 57
AAA5.AAภาคผนวก ก_แบบทดสอบก่อนเรยี น-หลงั เรียน……………………..………………………….. 61
AAA5.AAภาคผนวก ก_แบบสอบถามความพึงพอใจ………………………….…………………………….. 63
AAA5.AAภาคผนวก ข_แบบประเมินความเหมาะสมชองแผนการเรยี นร…ู้ ………..……………….. 65
AAA5.AAภาคผนวก ข_แบบประเมนิ คุณภาพแบบทดสอบ………………………………………………..
AAA5.AAภาคผนวก ข_แบบประเมินคุณความสอดคลอ้ งระหว่างข้อคาํ ถามกบั นิยามศพั ท์ 71
72
เฉพาะของแบบสอบถามความพงึ พอใจ…………………………………………………………….. 79
AAA5.AAภาคผนวก ข_ตารางประเมนิ ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรยี นรู้……………….. 80
AAA5.AAภาคผนวก ข_คา่ ดชั นีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบประเมนิ คุณภาพข้อสอบ…….. 81
AAA5.AAภาคผนวก ข_ค่าดชั นคี วามสอดคลอ้ ง (IOC) ของแบบประเมนิ ความพึงพอใจ………..
ประวัตยิ ่อของผูท้ ําโครงงาน....................................................................................................
บทท่ี 1
บทนาํ
ภูมิหลัง
การศึกษาเป็นปจั จัยสําคัญในการพัฒนาประเทศ และทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเปน็ ท้ัง
กระบวนการ และเนื้อหาในการพัฒนาคนให้เป็นมนุษยท์ ี่สมบูรณ์ เป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรม และ
เป็นการสรา้ งภูมิปญั ญาใหแ้ ก่สังคมดังน้ันการศึกษาจึงถือว่าเป็นรากฐาน และเคร่ืองมืออันสําคัญ ใน
การท่ีจะพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองของประเทศ การที่จะใชก้ ารศึกษาเป็น
เครื่องมือในการพัฒนาประชากร และประเทศชาติให้บรรลุเป้าหมายดังกลา่ วไดน้ ้ัน จําเป็นตอ้ ง
พัฒนาระบบการจัดการศึกษาใหม้ ีคุณภาพ มาตรฐานและมีประสิทธิภาพดีพอท่ีจะพัฒนา ประชากร
และประเทศชาติใหก้ า้ วหน้าทันต่อการเปล่ียนแปลงอยา่ งรวดเร็วในกระแสโลกาภิวัตน การที่จะ
พฒั นาประเทศให้เจรญิ กา้ วหน้าทัดเทียมนานาอารยะประเทศได้น้ัน จะต้องมีการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน
พรอ้ มกันไป ท้ังด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองและการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษา
นับเป็นรากฐานที่สําคัญในการพัฒนาประเทศชาติ เปน็ เครื่องช่วยใหเ้ กิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
และเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ, 2553)
ปัจจุบัน “ตัวคน” ถือเป็นปจั จัยสําคัญที่จะทําให้สังคมเจริญกา้ วหน้าไปด้วยดี เพราะฉะน้ัน
การจะทําใหส้ ังคมเจริญก้าวหนา้ ไปด้วยดีน้ันจะตอ้ งมีการพัฒนาที่ ตัวคนเป็นสําคัญ ตัวคนใน
สถานศึกษาได้แก่ “นักเรียน” การที่จะทําให้นักเรียนเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ ต้องมีการปลูกฝงั ใน
หลาย ๆ ด้าน ไมว่ ่าจะเปน็ พฤติกรรมทางการเรียน พฤติกรรมทางการแตง่ กาย หรือพฤติกรรมอื่น ๆ
ท่ีมีส่วนทําใหเ้ กิดการพัฒนาอยา่ งเป็นระบบ เกิดความคิดดี ทําดี โดยการเริ่มตน้ ท่ีพฤติกรรมที่ดีของ
นกั เรียน (สํานกั งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาต,ิ 2553)
โรงเรียนบ้านโพนหิน ตําบลทุ่งทอง อําเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เปิดทําการสอน
ระดับปฐมวัยและประถมศกึ ษาปีท่ี 1-6 ซ่ึงมีนกั เรียนทงั้ หมด 133 คน โดยมีสภาพการจดั การเรยี นรู้ที่
เนน้ การเรียนการสอนในห้องเรียน ควบคูไ่ ปกับการใชห้ นังสือเรียนในการศึกษาค้นคว้าเพื่อทาํ กิจกรรม
กลุ่มและใบงาน ผู้สอนจะสรุปประเด็นท่ีได้เรียนในห้องเรียนให้นักเรียนฟังและนักเรียนร่วมกันสรุป
เนื้อหา ซึ่งในรายวิชาคอมพิวเตอร์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มีนักเรียนท่ีไม่สามารถเข้าใจ
ถึงกระบวนการทํางานและการนําไปใช้ในเชิงปฏิบัติได้ เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็ก
เซล จึงได้ทําการวิจัยนี้ข้ึนมาเพ่ือแก้ปัญหาให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ สําหรับการใช้งาน
2
โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล โดยเน้นไปที่การแก้ปัญหา ในรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
เพอื่ พฒั นาและส่งเสริมทักษะความสามารถของนักเรยี น
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการ
เรียนรู้ท่ีเกิดข้ึนจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้
ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดข้ึนจริงในโลก เป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชา
ท่ีตนศึกษา ไปพร้อมกันด้วย การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทํางานที่
ตอ้ งอาศยั ความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเปน็ หลกั ซึง่ รูปแบบของการจดั การเรยี นรู้แบบใช้ปญั หาเป็น
ฐาน หรือ PBL มีดังนี้ ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered
learning) , จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีขนาดเล็ก (ประมาณ 3 – 5 คน) , ครูทําหน้าที่ เป็นผู้อํานวยความ
สะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คําแนะนํา (guide) , ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น (สิ่งเร้า)ให้เกิดการเรียนรู้
, ลกั ษณะของปัญหาท่ีนาํ มาใช้ต้องมีลักษณะคลมุ เครือ ไม่ชดั เจน มีวธิ ีแก้ไขปัญหาได้อย่างหลากหลาย
อาจมีคําตอบได้หลายคําตอบ , ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-
directed learning) , การประเมินผลใช้การประเมินผลจากสถานการณ์ จริง (authentic
assessment) ดูจากความสามารถในการปฏิบัติ ของผู้เรียน (รศ.มัณฑรา ธรรมบุศย์. 2545 : 11-
17)
ด้วยสาเหตุข้างตน้ ผูว้ ิจัยจึงสนใจที่จะทําการศึกษาถึงกระบวนการจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน โดยไดม้ ีการเก็บการศกึ ษาคน้ คว้าขอ้ มลู เพ่อื พฒั นางานวจิ ยั เพ่ือใหผ้ ู้เรยี นมีผลสัมฤทธ์ิที่ดขี ้นึ
วัตถปุ ระสงค์
1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ืองโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็ก
เซล วิชาคอมพวิ เตอร์ ระดับช้ันประถมศกึ ษาปีที่ 6 ใหม้ ปี ระสิทธภิ าพตามเกณฑม์ าตรฐาน 80/80
2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องโปรแกรม
ไมโครซอฟตเ์ อก็ เซล วิชาคอมพวิ เตอร์ ระดบั ชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 6
3. เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน โดยใช้
แบบทดสอบพัฒนาทักษะคอมพวิ เตอร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล วิชา
คอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประถมศกึ ษาปที ี่ 6
4. เพ่ือศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการพฒั นาทักษะคอมพิวเตอร์ โดยใช้ปัญหาเปน็ ฐาน
เร่อื งโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อก็ เซล วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6
3
สมมุตฐิ านงานวจิ ัย
ผเู้ รยี นที่ไดร้ ับการเรียนดว้ ยแผนการจดั การเรียนรู้ โดยใชป้ ัญหาเปน็ ฐาน มผี ลสมั ฤทธิท์ างการ
เรยี นทีส่ งู ขนึ้
ขอบเขตงานวิจยั ประกอบด้วย
กลุ่มเปา้ หมาย
กลุ่มเป้าหมายท่ีใช้ในการวิจัยคร้ังน้ี ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนศรีบุญเรือง
วิทยาคาร ต.ขมิ้น อ.เมือง จ.สกลนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จํานวน 1 ห้อง จํานวน
นักเรียน 19 คน
ตัวแปรทศี่ กึ ษา
ในการวิจัยในครั้งน้ี ตัวแปรท่ศี ึกษาประกอบด้วย
1. ตวั แปรอสิ ระ ไดแ้ ก่ แผนการจดั การเรยี นรูโ้ ดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
2. ตวั แปรตาม ได้แก่ ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี น ระหวา่ งก่อนเรียนและหลังเรียน
เนอื้ หาในงานวิจัย
การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบ่งรายละเอียด
เน้ือหา ได้ดงั นี้
- โปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อ็กเซล
- การพิมพ์ขอ้ ความหรอื ข้อมลู ที่เป็นตัวเลขและการแทรกภาพ
- การแทรก การลบคอลมั นแ์ ละแถว
- การผสานเซลลแ์ ละจัดรปู แบบเซลล์
- การตกแต่งตาราง
- การคํานวณเบ้ืองต้นโดยใชต้ ารางการทาํ งานเอ็กเซล
- การสร้างแผนภูมิเพอื่ การนาํ เสนอขอ้ มลู
ระยะเวลา
ภาคเรยี นท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2561
4
เครอ่ื งมือที่ใชใ้ นการวิจัย
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จํานวน 7 ชั่วโมง และ 7 แผนการเรียนรู้
เรอื่ งโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อก็ เซล วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับช้ันประถมศกึ ษาปที ี่ 6
2. แบบทดสอบจํานวน 20 ข้อ เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียน
และหลังเรียน เพ่ือพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ืองโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็ก
เซล วิชาคอมพวิ เตอร์ ระดบั ชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 6
3. แบบสอบถามเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้เครื่องมือแบบมาตรประมาณ
ค่า (Rating Scale) จํานวน 10 ข้อ เพื่อพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ือง
โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล วิชาคอมพวิ เตอร์ ระดบั ชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 6
นิยามศัพทเ์ ฉพาะ
1. รูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หมายถึง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสําคัญ ซ่ึงการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นรูปแบบการเรียนรู้ท่ีเกิดขึ้นตามแนวคิดทฤษฎี
การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากสถานการณ์ที่เป็น
ปญั หาให้เป็นเครอ่ื งกระตนุ้ ให้ผ้เู รียนใฝ่หาความรู้เพ่ือแก้ปัญหา และผู้เรียนรจู้ ักทาํ งานร่วมกันเปน็ กลุ่ม
ประกอบด้วย 6 ข้ันตอน คือ
ข้นั ตอนท่ี 1 ขั้นการกาํ หนดปัญหา
ขั้นตอนที่ 2 ขัน้ ทาํ ความเข้าใจกบั ปญั หา
ขั้นตอนท่ี 3 ขน้ั ดําเนนิ การศกึ ษาคน้ คว้า
ขั้นตอนที่ 4 ข้ันสงั เคราะห์ความรู้
ขนั้ ตอนที่ 5 ขั้นสรุปและประเมินค่าของคําตอบ
ขั้นตอนท่ี 6 ขัน้ นําเสนอและประเมินผลงาน
2. ผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนคอมพิวเตอร์ หมายถึง ความสามารถในการเรยี นรู้ทักษะ
คอมพวิ เตอร์ เร่อื ง การใชง้ านโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อ็กเซล ของนักเรียนช้นั ประถมศกึ ษาปที ี่ 6
โรงเรียนบา้ นโพนหนิ ต.ทุ่งทอง อ.เกษตรวิสยั จ.ร้อยเอด็
3. ประสิทธภิ าพ หมายถงึ คณุ ภาพในดา้ นประสิทธภิ าพของกระบวนการ และประสทิ ธิภาพ
ของผลลัพธท์ ่เี กดิ จากการจดั การเรยี นรูโ้ ดยปญั หาเปน็ ฐาน ทีม่ ีประสทิ ธิภาพ (E1/E2) กําหนดเกณฑ์
80/80 โดย
80 ตวั แรกคือ (E1) ประสทิ ธิภาพของกระบวนการ หมายถงึ ร้อยละของคะแนนเฉลี่ย
ของนักเรยี นทัง้ หมดโดยวัดจากการจัดกิจกรรมระหวา่ งเรยี น ได้แก่ การตรวจผลงานของนกั เรียน ซ่งึ
ไดค้ ะแนนเฉลยี่ ไม่ต่าํ กวา่ ร้อยละ 80
5
80 ตวั หลงั คอื (E2) ประสทิ ธิภาพของผลลพั ธ์ หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของ
นกั เรียนทง้ั หมดโดยวัดจากการทดสอบหลังเรียน ซงึ่ ไดค้ ะแนนเฉลี่ยไม่ตา่ํ กวา่ รอ้ ยละ 80
4. ดัชนีประสิทธิผล หมายถงึ ค่าท่แี สดงความกา้ วหน้าทางการเรียนของนกั เรยี นที่เรยี นเรอ่ื ง
การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อ็กเซล โดยใช้แผนการจัดการเรียนรโู้ ดยใชป้ ญั หาเป็นฐาน ของ
นกั เรยี นช้ันประถมศกึ ษาปที ่ี 6 โดยแปลผลมาจากคะแนนการตอบแบบสอบถามความพงึ พอใจแบบ
มาตราสว่ นประเมนิ ค่าทม่ี ีการพฒั นาข้ึน
5. ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่ดีหรือทัศนคติในทางที่ดีของนักเรียน ที่เรียนด้วย
แผนการจดั การเรยี นร้พู ัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ โดยใชป้ ัญหาเปน็ ฐาน เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อ็ก
เซล วิชาคอมพิวเตอร์ วัดได้ด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้
การวเิ คราะหห์ าคุณภาพข้อสอบรายข้อ รายวิชาคอมพวิ เตอร์ ระดบั ชนั้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 6
ประโยชน์ของการวจิ ัย
1. นักเรียนมคี วามรู้-ความเขา้ ใจ ในเร่อื งโปรแกรมไมโครซอฟต์เอก็ เซลไดด้ ขี ้ึน
2. นักเรียนสามารถพัฒนาทกั ษะทางด้านโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อก็ เซลได้
3. นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการทํางานร่วมกับโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซลได้ดี
ย่งิ ข้ึน
บทท่ี 2
ทฤษฎแี ละงานวิจัยท่ีเก่ียวขอ้ ง
งานวิจัย การพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ โดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน เรอื่ งโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อ็ก
เซล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร ตําบลขมิ้น อําเภอเมือง จังหวัด
สกลนคร ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เก่ียวข้องเพ่ือเป็นพ้ืนฐานสําหรับดําเนินการวิจัย โดย
แยกตามหัวขอ้ ต่อไปนี้
1. หลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน พทุ ธศักราช 2551
2. กลุ่มสาระการเรยี นรูก้ ารงานอาชีพและเทคโนโลยี
3. การพฒั นาทักษะกระบวนการคดิ
4. รปู แบบการจดั การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเปน็ ฐาน (Problem – based Learning : PBL)
5. ประสิทธภิ าพ และดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรยี นรู้
6. ผลสัมฤทธิท์ างการเรียน
7. ความพึงพอใจ
8. งานวจิ ยั ทเ่ี กีย่ วขอ้ ง
1. หลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน พทุ ธศักราช 2551
กระทรวงศกึ ษาธกิ ารไดป้ ระกาศใช้หลกั สตู รการศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๔๔ ใหเ้ ปน็
หลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกําหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและ
กรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีด
ความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๔) พร้อมกันนี้ได้ปรับ
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ท่ีมุ่งเน้นการกระจายอํานาจทาง
การศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้
สอดคลอ้ งกับสภาพ และความต้องการของทอ้ งถ่ิน (สาํ นักนายกรัฐมนตร,ี ๒๕๔๒)
การจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประสบความสําเร็จตามเป้าหมายท่ีคาดหวังได้ ทุก
ฝา่ ยท่ีเก่ียวข้องท้ังระดบั ชาติ ชุมชน ครอบครัว และบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ โดยรว่ มกันทํางานอย่าง
เป็นระบบ และต่อเน่ือง ในการวางแผน ดําเนินการ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุง
แกไ้ ขเพื่อพฒั นาเยาวชนของชาติไปสู่คณุ ภาพตามมาตรฐานการเรยี นรู้ทีก่ ําหนดไว้
ผวู้ จิ ัยไดศ้ กึ ษาเอกสารเก่ียวกบั หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่ง
มีรายละเอียดเก่ียวกับ จุดหมาย สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมี
รายละเอยี ดดังตอ่ ไปน้ี
7
จุดหมาย
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข
มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกําหนดเป็นจุดหมายเพ่ือให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบ
การศึกษาข้ันพ้นื ฐาน ดังนี้ (กระทรวงศกึ ษาธิการ , 2551 : 3)
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติ
ตนตามหลักธรรมของพระพทุ ธศาสนา หรือศาสนาทต่ี นนบั ถอื ยึดหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
2. มีความรู้ ความสามารถในการส่ือสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมี
ทกั ษะชวี ติ
3 .มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตทีด่ ี มีสขุ นิสัย และรักการออกกําลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสํานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการ
ปกครองตามระบอบประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษตั รยิ ์ทรงเป็นประมขุ
5. มีจิตสํานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนา
ส่งิ แวดล้อม มีจิตสาธารณะท่ีมงุ่ ทาํ ประโยชน์และสร้างส่ิงท่ีดีงามในสังคม และอยู่รว่ มกันในสงั คมอย่าง
มีความสขุ
สมรรถนะสําคัญของผเู้ รยี น และคุณลกั ษณะอันพึงประสงค์
ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มี
คุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสําคัญและคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ ดงั นี้ (กระทรวงศกึ ษาธกิ าร , 2551 : 4)
สมรรถนะสาํ คัญของผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสําคัญ 5 ประการ ดังน้ี
(กระทรวงศกึ ษาธกิ าร , 2551 : 4)
1. ความสามารถในการส่ือสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการ
ใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพ่ือแลกเปลี่ยนข้อมูล
ขา่ วสารและประสบการณ์อนั จะเป็นประโยชนต์ อ่ การพฒั นาตนเองและสงั คม รวมท้ังการเจรจาต่อรอง
เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและ
ความถกู ตอ้ ง ตลอดจนการเลอื กใชว้ ธิ ีการส่ือสาร ท่มี ปี ระสิทธิภาพโดยคํานึงถงึ ผลกระทบท่ีมตี ่อตนเอง
และสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด
อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพ่ือนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้
หรอื สารสนเทศเพอ่ื การตัดสินใจเกย่ี วกบั ตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
8
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่
เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพ้ืนฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ
ความสัมพันธ์และการเปล่ียนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มา
ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจท่ีมีประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
ต่อตนเอง สังคมและส่งิ แวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนํากระบวนการต่างๆ ไปใช้ใน
การดําเนินชีวิตประจําวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเน่ือง การทํางานและการอยู่
ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้ง
ต่างๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการ
รูจ้ กั หลีกเลยี่ งพฤติกรรมไมพ่ งึ ประสงค์ทส่ี ง่ ผลกระทบต่อตนเองและผูอ้ ่ืน
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือกและใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง
ๆ และมที กั ษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพอ่ื การพฒั นาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การส่ือสาร
การทํางาน การแก้ปญั หาอย่างสรา้ งสรรค์ ถกู ต้อง เหมาะสม และมคี ุณธรรม
คุณลักษณะอันพงึ ประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
(กระทรวงศกึ ษาธิการ , 2551 : 5)
1. รักชาตศิ าสน์ กษตั รยิ ์
2. ซ่อื สัตย์สุจริต
3. มีวินยั
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยูอ่ ย่างพอเพยี ง
6. มุง่ มน่ั ในการทาํ งาน
7. รกั ความเป็นไทย
8. มจี ติ สาธารณะ
นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกําหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพ่ิมเติมให้สอดคล้องตาม
บริบทและจุดเนน้ ของตนเอง
จากการศึกษาเอกสารเก่ียวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551
สรปุ ได้วา่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน พทุ ธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรท่ีมุ่งเนน้ ความเป็น
เอกภาพของชาติ ที่มุ่งพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพ้ืนฐานของ
ความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล ประชาชนทกุ คนมีโอกาสได้รับการศกึ ษาอย่างเสมอภาคและมี
คุณภาพยึดหลักการกระจายอํานาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาใหส้ อดคล้องกับสภาพและ
ความต้องการของท้องถนิ่ มีโครงสร้างยืดหยุ่นทัง้ ด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจดั การเรียนรู้ เน้น
9
ผู้เรียนเป็นสําคัญ และจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุก
กลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์มุ่งหวังให้นักเรียนเป็นพลเมืองดีของ
โลก
2. กลุ่มสาระการเรยี นร้กู ารงานอาชพี และเทคโนโลยี
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเป็นกลุ่มสาระท่ีช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมี
ความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพ้ืนฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถ
นําความรู้เก่ียวกับการดํารงชีวิต การอาชีพ และเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในการทํางานอย่างมี
ความคิดสร้างสรรค์ และแข่งขันในสังคมไทยและสากล เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพรักการ
ทํางาน และมีเจตคติท่ีดีต่อการทํางาน สามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียงและมีความสุข
(กระทรวงศึกษาธิการ , 2551 : 180)
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมเพ่ือให้มี
ความรู้ความสามารถ มีทักษะในการทํางาน เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อได้
อย่างมปี ระสิทธิภาพ โดยมสี าระสําคญั ดังนี้
- การดํารงชีวิตและครอบครัว เป็นสาระเก่ียวกับการทํางานในชีวิตประจําวันการช่วยเหลือ
ตนเอง ครอบครัว และสังคมได้ในสภาพเศรษฐกิจที่พอเพียง ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อมเน้นการปฏิบัติจริง
จนเกิดความมั่นใจและภูมิใจในผลสําเร็จของงาน เพ่ือให้ค้นพบความสามารถความถนัด และความ
สนใจของตนเอง
- การออกแบบและเทคโนโลยี เป็นสาระเก่ียวกับการพัฒนาความสามารถของมนุษย์อย่าง
สร้างสรรค์ โดยนําความรู้มาใช้กับกระบวนการเทคโนโลยี สร้างส่ิงของเครื่องใช้ วิธีการ หรือเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการดาํ รงชวี ติ
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสาระเกี่ยวกับกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การติดต่อสื่อสาร การค้นหาข้อมูล การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การแก้ปัญหาหรือการสร้างงาน
คุณค่าและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร
- การอาชีพ เป็นสาระเก่ียวกับทักษะท่ีจําเป็นต่ออาชีพ เห็นความสําคัญของคุณธรรม
จริยธรรม และเจตคติท่ีดีต่ออาชีพ ใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสม เห็นคุณค่าของอาชีพสุจริตและเห็น
แนวทางในการประกอบอาชพี
สาระและมาตรฐานการเรยี นรู้
สาระและมาตรฐานการเรยี นรใู้ นหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน พุทธศกั ราช 2551
ประกอบด้วย 4 สาระ 4 มาตรฐาน โดยมีรายละเอยี ดดงั ต่อไปนี้ ( กระทรวงศึกษาธิการ , 2551 : 184
- 189 )
10
สาระที่ 1 การดํารงชีวิตและครอบครวั
มาตรฐาน ง ๑.๑ เข้าใจการทํางาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทํางาน ทักษะ
การจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทํางานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มี
คุณธรรม และลกั ษณะนิสยั ในการทํางาน มจี ิตสาํ นกึ ในการใช้พลงั งานทรัพยากร และสงิ่ แวดล้อม เพื่อ
การดํารงชวี ติ และครอบครวั
สาระท่ี 2 การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง ๒.๑ เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของ
เคร่ืองใช้ หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์เลือกใช้เทคโนโลยีในทาง
สรา้ งสรรคต์ ่อชวี ิต สังคม สงิ่ แวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีทย่ี ่ังยืน
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สาร
มาตรฐาน ง ๓.๑ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น
ข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทํางานและอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
และมีคณุ ธรรม
สาระที่ 4 การอาชีพ
มาตรฐาน ง ๔.๑ เข้าใจ มีทักษะท่ีจําเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้
เทคโนโลยีเพือ่ พัฒนาอาชพี มคี ณุ ธรรม และมเี จตคติทดี่ ีตอ่ อาชีพ
11
โครงสรา้ งรายวชิ าคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง16201
กลุ่มสาระการงานอาชพี และเทคโนโลยี ระดบั ชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 6
ภาคเรียนที่ 1 จาํ นวน 0.5 หนว่ ยกติ เวลา 27 ช่วั โมง
ตารางท่ี 2-1 โครงสร้างรายวิชาคอมพวิ เตอร์ รหสั วชิ า ง16201
ลําดับ ช่ือหน่วยการเรยี นรู้ มาตรฐานการ สาระสาํ คญั เวลา นา้ํ หนัก
ท่ี เรยี นรู้ / ตวั ชวี้ ดั (ชวั่ โมง) คะแนน
1 ขอ้ มูลและสารสนเทศ ง 3.1 ป6/1. การใช้กระบวนการแกป้ ัญหาอยา่ งเปน็ 6 20
และกระบวนการ ขนั้ ตอนช่วยใหป้ ระสบผลสาํ เร็จในการ
แกป้ ญั หา แกป้ ญั หา
2 การคน้ หาและจัดการ ง 3.1 ป6/2. เมอ่ื ใช้คอมพวิ เตอรค์ ้นหาขอ้ มูลเสร็จแลว้ 7 20
ขอ้ มูล ป6/3. จะตอ้ งเกบ็ รกั ษาข้อมูลที่เปน็ ประโยชนใ์ น
รปู แบบตา่ งๆ
3 การสรรค์สรา้ งชน้ิ งาน ง 3.1 ป6/5. การสรรคส์ ร้างชิน้ งานจะตอ้ งใช้คอมพวิ เตอร์ 7 20
ช่วยสรา้ งชิ้นงานจากจนิ ตนาการหรอื งานที่
ทาํ ในชีวิตประจําวันอยา่ งมีจิตสาํ นกึ และ
ความรับผิดชอบ
4 การนําเสนอข้อมูล ง 3.1 ป6/4. การใชง้ านโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อก็ เซลเพอ่ื 7 20
ประยุกตน์ ําเสนอขอ้ มลู ในรูปแบบท่ี
เหมาะสม
คะแนนสอบปลายภาค 20
รวม 27 100
3. การพัฒนาทักษะกระบวนการคิด
การจัดการเรียนการสอนเพื่อนพัฒนากระบวนการคิด เป็นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้น
กระบวนการมากกว่าเน้ือหาสาระวิชา ทั้งน้ีเนื่องจากการจัดการเรียนการสอนเพ่ือพัฒนากระบวนการ
คดิ ประกอบดว้ ยองคค์ วามรู้ท่ีกอ่ ให้เกิดผลสมั ฤทธ์ิแกผ่ ู้เรียน 3 ดา้ นคอื
1. ดา้ นความรู้ (Knowledge : K) แบ่งออกเปน็ 2 ประเภทคือ
1.1 เนื้อหาสาระของวิชานักคิด คือ สาระวิชาที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ ประกอบด้วย
เครอื่ งมอื ช่วยคดิ กระบวนการคิด ทักษะการคดิ
12
1.2 ความรู้บูรณาการ คือ สาระเรื่องราวต่าง ๆ ท่ีเป็นสภาพการณ์ที่กําหนด
สภาพแวดลอ้ มรอบตัว ปญั หาในชวี ิตประจาํ วัน ท่ีถกู นาํ มาคิด ซ่ึงเนือ้ หาจะเปน็ สาระของวิชา
2. ด้านกระบวนการ(Process : P) คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา
กระบวนการคิดที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริง ได้สร้างผู้เรียนให้เกิดทักษะชีวิตพ้ืนฐาน 7 ประการ
ได้แก่
(1) ทกั ษะการรจู้ กั ตนเอง
(2) ทักษะการคิด การตดั สินใจและการแกป้ ัญหา
(3) ทักษะการแสวงหาขอ้ มลู ขา่ วสาร ความรู้
(4) ทักษะการปรบั ตัว
(5) ทกั ษะการส่อื สารและสรา้ งสมั พนั ธภาพ
(6) ทักษะการวางแผน และการจัดการ
(7) ทักษะการทํางานเป็นทีม
3. เจตคติ (Attitude : A) คือ คุณลักษณะที่ปลูกฝังของรายวชิ า ได้แก่ ใจกว้าง ขยัน ใฝ่เรยี น
ใฝ่รู้ กระตือรือร้นช่างคดิ ผสมผสาน ขยัน ต่อสู้ อดทน เป็นธรรม มั่นใจในตนเอง ช่างวิเคราะห์ กล้าคิด
กล้าเสยี่ ง มนี ้ําใจ น่ารกั นา่ คบ
จากองค์ความรู้ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดดังกล่าว ได้เป็น
แนวทางให้ ครผู ้สู อนดําเนินการจดั การเรียนการสอน โดยการจัดประสบการณ์ สภาพการณ์หรอื ส่ิงเร้า
มากระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการคิดตามองค์ประกอบของความคิดอันประกอบด้วย เคร่ืองมือช่วยคิด
ทักษะการคิด คุณสมบัติท่ีเอ้ือต่อการคิดเพ่ือให้ผู้เรียนมีด้านความรู้ (Knowledge : K) กระบวนการ
(Process : P) และเจตคติ (Attitude : A) มีการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพ มีการ
ตัดสินใจอย่างไตร่ตรอง รอบคอบ และพร้อมในการปรับตัวเพ่ือเข้าสู่โลกอนาคตซ่ึงเป็นเป้าหมายของ
หลกั สตู ร (อ้างใน ศูนย์สนบั สนนุ และพฒั นาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรงั สติ )
4. รูปแบบการจัดการเรียนรูโ้ ดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning : PBL)
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) ได้พัฒนามาจากความคิดของ John Dewey นัก
การศึกษาของอเมริกัน John Dewey ให้คําแนะนําว่านักศึกษาควรจะนําเสนอปัญหาในชีวิตจริงและ
ช่วยในการค้นหาค าตอบโดยการค้นพบข้อมูลในการแก้ปัญหาของนักศึกษาเอง และเริ่มมีการใช้ใหม่
อกี ครั้งในปี ค.ศ.1960 ในรูปแบบของการสอนแบบใฝ่รู้ในวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากผลงาน
ของ Bruner และ Piaget วธิ กี ารเรยี นรู้ทใี่ ช้ปัญหาเปน็ หลักเป็นการเรยี นที่ให้ผู้เรยี นเป็นศูนย์กลางการ
เรียน ใช้เทคนิคกระบวนการแก้ปัญหาแบบกลุ่มและการเรียนเป็นรายบุคคล และในปี ค.ศ.1971
Haward Barrow เป็นผู้นําการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักมาใช้กับนักศึกษาแพทย์เป็นคร้ังแรกท่ี
มหาวิทยาลัย Mc Master ประเทศแคนนาดา เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้รับความรู้แบบบูรณาการ
สามารถพฒั นาและประยกุ ตใ์ ชท้ กั ษะการแกป้ ญั หาเกยี่ วกบั ผูป้ ่วย
สําหรับประเทศไทยได้มีการนําแนวคิดของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักมาใช้คร้ังแรกใน
หลักสูตรแพทยศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2531 และมีการนําไปประยุกต์ใช้ใน
13
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ และพยาบาลศาสตร์ ของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอื่นๆ
(อาภรณ์ แสงรัศมี, 2543 : 12) ท้ังนี้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักยังสอดคล้องกับ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษามาตรา 24 ท่ีกล่าวถึง
กระบวนการเรียนรู้ โดยให้มีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่ให้การฝึกทักษะ กระบวนการคิด การ
จัดการ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์
จริง ฝึกการปฏบิ ัติ ผสมผสานสาระความร้ตู า่ งๆ อยา่ งได้สดั สว่ นสมดุลกนั
ความหมายของการเรียนรโู้ ดยใช้ปัญหาเปน็ หลัก การเรยี นรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักนั้นได้มีผใู้ ห้
ความหมายไวด้ งั รายละเอยี ดต่อไปนี้
เฉลมิ วราวทิ ย์ (2531 อา้ งใน อุดม รัตนอมั พรโสภณ, 2544 : 35) ใหค้ วามหมายวา่ การเรยี น
แบบการใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น ให้ผู้เรียนเกิดความต้องการท่ีจะ
ใฝห่ าความรเู้ พ่ือแก้ปญั หา โดยเน้นให้ผ้เู รยี นเปน็ ผู้ตดั สินใจในสง่ิ ท่ีตอ้ งการแสวงหาและรู้จกั การทํางาน
ร่วมกันเป็นทมี ภายในกลุ่มผูเ้ รียน โดยผู้สอนมสี ่วนร่วมเกยี่ วข้องน้อยทสี่ ดุ
ไพลิน นุกูลกิจ (2539 อ้างใน วิภาภรณ์ บุญทา, 2541 : 32) ให้ความหมายว่า การเรียนการ
สอนท่ีใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการท่ีใช้ปัญหา/สถานการณ์ เป็นจุดเริ่มต้นในการระบุความต้องการ
(need) การเรียนรู้ ผลจากการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก จะมาจากกระบวนการทํางานเป็นกลุ่ม ซึ่ง
ชว่ ยใหผ้ เู้ รียนมีความเขา้ ใจในสถานการณ์และสามารถแกป้ ัญหาได้
Barrow (1980) ให้ความหมายว่า การเรียนแบบการใช้ปัญหาเป็นหลักเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ใช้
คําถามกระตุ้นให้นักเรียนได้คิด วิเคราะห์ แสวงหาและบูรณาการความรู้ใหม่ให้เหมาะกับสภาพจริง
โดยไม่จาํ เปน็ ตอ้ งมีพ้นื ฐานความร้ใู นเร่อื งน้นั มาก่อน
Allen and Duch (1998 อ้างใน อาภรณ์ แสงรัศมี, 2543 : 14) ให้ความหมายว่า การเรียน
แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ การเรียนท่ีเร่ิมต้นด้วยปัญหาการสอบถาม หรือปริศนาที่ผู้เรียนต้องการ
แก้ปัญหา เพ่ือกระตุ้นให้ผู้เรียนระบุและค้นคว้า มโนทัศน์และหลักการที่พวกเขาต้องการรู้เพ่ือ
ความก้าวหน้าโดยผ่านปัญหา ผู้เรียนทํางานเป็นทีม การเรียนเล็กๆ ซ่ึงเป็นการเรียนที่ได้ทักษะต่างๆ
เช่น การติดต่อส่ือสารและการบูรณาการความรู้ และเป็นกระบวนการที่คล้ายกับการสืบเสาะหา
ความรูท้ างวทิ ยาศาสตร์
Howard (1999 อ้างใน อาภรณ์ แสงรัศมี, 2543 : 14) ให้ความหมายว่า การเรียนแบบใช้
ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการทางการศึกษาท่ีนําเสนอผู้เรียนด้วยปัญหา ท่ีมีรูปแบบของโครงสร้างท่ี
ซับซอ้ นในระยะเรมิ่ แรกของประสบการณ์การเรยี น ขอ้ มูลที่ไดใ้ นระยะเร่มิ แรกไมเ่ พียงพอใหแ้ ก้ปญั หา
คาํ ถามตา่ งๆ ท่ีเกยี่ วกับปญั หาจะผลักดนั ใหไ้ ปทาํ การสบื เสาะหาความรู้
จากคําจํากัดความดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ท่ีใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ การใช้ปัญหาเป็น
ตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ไขปัญหา ได้คิดเป็น ทําเป็น มีการตัดสินใจท่ีดี และสามารถ
14
เรยี นรกู้ ารทาํ งานเป็นทมี โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรูด้ ้วยตนเอง และสามารถนําทักษะจากการ
เรียนมาชว่ ยแกป้ ญั หาในชวี ิตประจาํ วนั ได้
ดังน้ันจึงสรุปได้ว่าการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือ
สถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นของการแสวงหาความรู้ ซึ่งเป็นการเรียนที่พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา
การเรียนรู้ดว้ ยตนเอง และการทํางานรว่ มกนั เป็นทมี
ลักษณะเด่นของการเรียนรโู้ ดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
1. ใช้ปญั หาแทจ้ รงิ เปน็ ตวั กระตุ้นการแก้ปญั หาและเป็นจดุ เรม่ิ ต้นในการแสวงหาความรู้
2. ยืดถือนกั เรยี นเป็นศูนยก์ ลางการเรียนรู้
3. เนน้ ทักษะการคิด
4. เรยี นโดยแบง่ เป็นกลุ่มย่อย
5. มบี ูรณาการของเน้อื หาความรู้
6. การเรยี นโดยการกาํ กับตนเอง (Self – directed learning)
ทักษะการเรียนรโู้ ดยการกาํ กบั ตนเอง
1. ประเมนิ ตนเองและบ่งชี้ความตอ้ งการได้
2. จัดระบบประเดน็ การเรียนรู้ได้อยา่ งเทีย่ งตรง
3. รู้จักเลอื กและใชแ้ หลง่ เรยี นรูท้ เ่ี หมาะสม
4. เลือกกจิ กรรมการศกึ ษาท่ีตรงประเด็นไดอ้ ย่างมีประสิทธิภาพ
5. บ่งช้ีข้อมลู ทไ่ี ม่เกยี่ วข้องได้ และคดั ทงิ้ ไดอ้ ยา่ งรวดเร็ว
6. ประยกุ ต์ใชค้ วามรใู้ หมเ่ ชงิ วเิ คราะห์ได้
7. รจู้ กั ขน้ั ตอนการประเมิน
แรกพบผู้เรียนในการเรยี นรูโ้ ดยใชป้ ญั หาเป็นหลัก
1. สรา้ งความเขา้ ใจการสอนแบบการเรียนโดยใชป้ ัญหาเป็นหลกั
2. จัดกลุ่มยอ่ ย – ตงั้ ชือ่ กลุ่ม แนะนําเพ่อื น
3. ระดมสมอง ตัง้ กฎกติกาในการเรียนรู้รว่ มกนั เพอื่ ใหเ้ กดิ ประสิทธภิ าพสูงสดุ
4. หมุนเวยี นสับเปลี่ยนหน้าท่ี
5. ต้งั เกณฑ์การประเมิน
6. อธบิ ายบทบาทหน้าท่ขี องนกั เรยี นและผสู้ อน
15
ขน้ั ตอนของการเรยี นโดยใช้ปญั หาเปน็ ฐาน
ขั้นตอนที่ 1 ข้ันการกําหนดปัญหา อธิบายคําศัพท์หรือข้อความที่ไม่เข้าใจ ทําความเข้าใจ
กับศัพท์หรือความหมายต่างๆ ของคําจากปัญหาท่ีให้ นักเรียนต้องพยายามหาคําตอบให้ชัดเจนโดย
อาศัยความรู้พื้นฐานของสมาชิกในกลุ่ม หรือจากเอกสารตําราต่างๆ จากนั้นครูให้นักเรียนทํา
แบบทดสอบก่อนเรยี น
ขั้นตอนท่ี 2 ขั้นทําความเข้าใจกับปัญหา อธิบายว่าเป็นปัญหาอะไร จับประเด็นข้อมูลที่
สําคญั หรอื ปัญหาใหถ้ กู ต้อง
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นดําเนินการศึกษาค้นคว้า โดยพยายามศึกษาค้นคว้าหาคําตอบหรือสาเหตุ
ทม่ี าของปัญหาท่ีอธิบายไวใ้ น ขนั้ ตอนท่ี 2 ให้มากทส่ี ุดเทา่ ที่จะมากได้
ข้ันตอนท่ี 4 ข้ันสังเคราะห์ความรู้ พยายามหาเหตุผลที่จะอธิบายปัญหาหรือข้อมูลที่พบ
พร้อมกับต้ังสมมติฐานท่ีเป็นไปได้ ในการอธิบายหรือหาสาเหตุท่ีมาของปัญหาน้ันๆ โดยลองพยายาม
ใช้ความรู้เดิมที่นักเรียนมีอยู่หรือเคยเรียนมาแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล จัดลําดับความสําคัญ
ของสมมติฐาน
ข้ันตอนที่ 5 ขั้นสรุปและประเมินค่าของคําตอบ ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปประเด็นที่ได้
ศกึ ษาคน้ ควา้ หาความรู้ของข้อมลู ทอี่ ธิบายหรือพิสูจน์สมมติฐานทต่ี ้งั ไว้
ขั้นตอนที่ 6 ข้ันนําเสนอและประเมินผลงาน นําความรู้ท่ีได้มาวิเคราะห์ อธิบายแก้ไข
สมมติฐานที่ตั้งไว้ สรุปเป็นข้อสรุปและหลักการท่ีได้จากการศึกษาปัญหา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน
กลมุ่ ยอ่ ย
5. ประสทิ ธิภาพ และดชั นีประสิทธผิ ลของแผนการจัดการเรยี นรู้
พจนานุกรม ศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2555 : 187) ได้ให้ความหมาย
ของประสิทธิภาพว่า หมายถึง ลักษณะของการปฏิบัติงานที่ทําให้เกิดประสิทธิผลด้วยวิธีการที่ใช้เวลา
พลังงาน บคุ ลากร และการลงทุน น้อยทส่ี ุด หรอื ด้วยวธิ ีการทปี่ ระหยดั ท่ีสุด
ประสิทธิภาพของสือ่ การสอนหรอื นวัตกรรมทางการศึกษา (E1/E2)
การหาประสทิ ธภิ าพของสือ่ (E1/E2) เปน็ ขนั้ ตอนทาํ การทดลองจรงิ กบั กลมุ่ ตวั อยา่ ง ที
กําหนดไวแ้ ลว้ สรปุ ได้ดังน้ี (บญุ ชม ศรสี ะอาด และคณะ : 2558,125-126)
ประสทิ ธิภาพของกระบวนการ (E1)
เป็นค่าที่บ่งบอกว่าแผนการจัดการเรียนรู้น้ันสามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่าง
ต่อเน่ืองหรือไม่ภายใต้สถานการณ์และกิจกรรมที่กําหนดให้ โดยมีการเก็บข้อมูลของผลการเรียนรู้ ซ่ึง
สามารถสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการและความงอกงามของผู้เรียนได้ โดยท่ัวไปมักจะคํานวณจาก
คะแนนสองส่วน คอื สว่ นท่ีได้จากการทาํ แบบทดสอบย่อย และสว่ นที่เกิดจากพฤตกิ รรมการเรียนหรือ
จากกิจกรรมเข้ากลุ่ม ซึ่งเป็นหัวใจสําคัญของการใช้นวัตกรรมท่ีผู้วิจัยระบุเป็นต้น ในระหว่างที่ผู้เรียน
กาํ ลงั เรียนตามแผนการจดั การเรยี นรู้ ซึ่งคํานวณได้จากสตู ร
16
x
E1 N 100
A
เมือ่ E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ
x แทน คะแนนรวมของการทดสอบระหวา่ งเรียน
N แทน จํานวนนกั เรียนทงั้ หมด
A แทน คะแนนเต็มของทงั้ หมด
ประสทิ ธภิ าพของผลลพั ธ์ (E2)
เป็นค่าที่บ่งบอกว่าแผนการจัดการเรียนรู้นั้น สามารถส่งผลให้ผู้เรียนเกิดสัมฤทธ์ิผลได้
หรือไม่ บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป็นไปตามท่ีกําหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด ซึ่ง
คํานวณจากคะแนนท่ีได้จากการทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ทดสอบหลังเรียน) ของ
ผเู้ รยี นทกุ คน ซ่ึงคํานวณได้จากสตู ร
เมอ่ื E2 แทน ประสทิ ธิภาพของผลลัพธ์
x แทน คะแนนรวมของการทดสอบหลงั เรยี น
N แทน จาํ นวนนกั เรียนท้ังหมด
B แทน คะแนนเตม็ ของกาทดสอบหลงั เรยี น
จากที่กล่าวมาสามารถคํานวณได้ค่าตัวเลขที่บอกถึงประสิทธิภาพของส่ือหรือแผนการ
จัดการเรียนรู้ แต่การที่จะสรุปว่าสื่อหรือแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นน้ันมีประสิทธิภาพหรือไม่
จะต้องมีการกําหนดเกณฑ์เพื่อใช้ในการพิจารณา โดยเกณฑ์ดังกล่าวนิยมใช้หลักการเรียนแบบรอบรู้
(Mastering Learning) คือต้ังเกณฑ์ไว้ที่ร้อยละ 60 – 80 และยอมรับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ คือ
ไม่เกินร้อยละ 2.5 ดังนั้นต้องมีประสิทธิภาพไม่ตํ่ากว่า 80 – 2.5 = 77.5 ส่วนการกําหนดเกณฑ์ความ
ผิดพลาดทยี่ อมรับได้ คือไม่ควรเกนิ รอ้ ยละ 5
ดัชนี หรือ ดรรชนี มีความหมายดังต่อไปนี้ (พจนานุกรม ศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับ
ราชบณั ฑิตยสถาน, 2555 : 276)
1. รายการข้อมูลในเรื่องที่ระบุไว้เพื่อนการสืบค้นหรือค้นหา ปรกติจะเรียงลําดับตาม
ตัวอักษร
2. ค่าร้อยละแสดงการเปรียบเทียบปริมาณสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยใช้ปริมาณปีใดปีหนึ่งเป็นฐาน
เช่น การเปรียบเทียบปริมาณจํานวนนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยปีการศึกษา 2550 เทียบกับปี
17
การศึกษา 2549 เป็นร้อยละ 110 แสดงว่ามหาวิทยาลัยแห่งน้ีมีนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2550
เพมิ่ รอ้ ยละ 10
3. อัตราส่วนระหว่างปริมาณ 2 จํานวน เช่น อัตราส่วนครูต่อนักเรียนเป็น 1 : 25
หมายความวา่ ครู 1 คน ดูแลรบั ผิดชอบนกั เรียน 25 คน
พจนานุกรม ศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2555 : 287) ได้ให้ความหมาย
ของประสิทธิผลว่า หมายถึง ผลท่ีเกิดจากการจัดการเชิงระบบและเชิงคุณภาพท่ีมุ่งถึงการบรรลุ
เป้าหมาย และผลน้นั สอดคลอ้ งกบั เปา้ หมายทีก่ ําหนดไว้
ดัชนปี ระสทิ ธผิ ลของสอ่ื การสอนหรือนวัตกรรมทางการศึกษา (E.I.)
นอกจากจะคํานวณหาประสิทธิภาพของสื่อการสอนหรือนวัตกรรมทางการศึกษาแล้วควร
จะตรวจหาค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) ของสื่อหรือนวัตกรรมทางการศึกษา
ด้วยจะเป็นค่าที่แสดงอัตราการเรียนรู้ท่ี ก้าวหน้าขึ้นจากพื้นฐานความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว หลังจากท่ี
ผู้เรียนได้เรียนจากสื่อหรือนวัตกรรมหรือแผนการจัดการเรียนรู้นั้นๆ ซึ่งคํานวณได้หลายสูตร แต่นิยม
ใช้เป็นวิธีการหาค่า E.I. ด้วยวิธการของกูดแมน (Goodman) เฟรสเซอร์ (Fletchers) และสไนเดอร์
(Schneider) ดังน้ี (บุญชม ศรสี ะอาด และคณะ : 2558,129)
ดชั นปี ระสิทธิผล = คะแนนรวมจากแบบทดสอบหลงั เรยี น คะแนนรวมจากแบบทดสอบกอ่ นเรยี น
ผลคณู ของคะแนนเตม็ กับจาํ นวนคน คะแนนรวมจากแบบทดสอบกอ่ นเรยี น
สามารถสรุปได้ว่าดัชนีประสทิ ธิผลของนวัตกรรม หมายถงึ ส่ิงประดิษฐ์ท่ีสรา้ งข้ึนหรอื จัดทํา
ข้ึนเพ่ือใช้ในการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ได้อย่างมี
ประสทิ ธิภาพ
พจนานุกรม ศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2555 : 187) ได้ให้ความหมาย
ของนวัตกรรมว่า หมายถึง สิ่งท่ีทําขึ้นใหม่หรือพัฒนาข้ึน ซ่ึงอาจอยู่ในรูปแบบของความคิด วิธีการ
การกรําทํา หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ โดยสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน และอาจ
ใหม่ในบริบทใดบริบทหน่ึง หรือในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยท่ัวไปนวัตกรรมเป็นส่ิงใหม่ที่กําลังอยู่ใน
กระบวนการพิสูจน์ทดสอบ หรือได้รับการยอมรับนําไปใช้บ้างแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายหรือเป็นส่วน
หนึง่ ของระบบปกติ
6. ผลสัมฤทธทิ์ างการเรียน
พจนานุกรม ศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2555 : 9) ได้ให้ความหมายของ
ผลสัมฤทธิ์ว่า หมายถึง การเรียนรู้ที่วัดหรอื เทียบจากเกณฑ์ท่ีกําหนดโดยใช้แบบทดสอบหรือเครื่องมือ
อืน่ ทเ่ี หมาะสมประเมนิ ผลสัมฤทธทิ์ างการเรยี น
18
ศิริชัย กาญจนวาสี (2584 : 162) ได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธ์ิ (Achievement)
หมายถึง เป็นผลการเรียนรู้ตามแผนที่กําหนดไว้ล่วงหน้า อันเกิดจากกระบวนการเรียนการสอน
ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งท่ีผ่านมา
แบบสอบผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนรู้
เคร่ืองมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย มีดังนี้ (ชวลิต ชูกําแพง, 2550: 94 -
100)
1. ข้อสอบอัตนัย จะเขียนคําถามโดยกําหนดเป็นสถานการณ์หรือปัญหาในรูปใดรูปหน่ึง
เพื่อให้ผู้ตอบได้แสดงความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ได้อย่างไม่จํากัด คําตอบของข้อสอบอัตนัยมี
ลักษณะและปรมิ าณไมแ่ น่นอน
1.1 ประเภทของข้อสอบอัตนัย
1. แบบไม่จํากัดคําตอบ หรือแบบขยายความ โดยให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นอย่าง
อิสระ สามารถวัดสมรรถภาพด้านความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ ทัศนคติ การประเมินค่าได้อย่างกว้างขวาง
การกําหนดเวลาให้เขียนตอบจึงต้องกําหนดให้เหมาะสม ข้อสอบแบบนี้ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการ
รวบรวมความคดิ ต่าง ๆ และการใช้วิธีการตา่ ง ๆ ในการทาํ ข้อสอบ
2. แบบจํากัดคําตอบ ข้อสอบแบบนี้จะถามแบบจําเพาะเจาะจงและต้องการคําตอบ
เฉพาะเรื่อง ซึ่งผู้ตอบต้องจัดเรียงความคิดให้เป็นระเบียบ เพื่อให้ตรงประเด็นของคําถามเพียงส้ัน ๆ
ดงั นนั้ จงึ ต้องระมดั ระวังเรื่องคําสัง่ ของโจทย์ ขอบเขตของเนอ้ื หา เวลาที่ใหน้ ักรเยนเขียนตอบ
1.2 ชนดิ คาํ ถามของข้อสอบอตั นยั
ข้อสอบอาจเขียนคําถามได้หลากหลายแต่ต่างกันดังนี้ (ชวลิต ชูกําแพง, 2550: 94 -
100)
1. ถามให้เปรยี บเทยี บความคล้ายคลงึ และความแตกต่าง
2. ถามให้ตัดสินใจสนับสนนุ และคัดคา้ น
3. ถามให้ประยกุ ตก์ ฎความจรงิ หรือหลกั การไปสสู่ ถานการณ์ใหม่
4. ถามใหจ้ ดั ประเภท
5. ถามหาความสมั พันธ์ที่เกีย่ วข้องกับสาเหตแุ ละผลลพั ธ์
6. ถามให้ยกตวั อย่างหรอื อธบิ ายโดยใช้ภาพประกอบ
7. ถามให้สังเกต
1.3 วิธีการตรวจให้คะแนน การตรวจให้คะแนนข้อสอบอัตนัยซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
แล้วมอี ยู่ 2 วธิ คี ือ
1.3.1 วิธีกําหนดค่าคะแนน ประกอบด้วย เฉลยคําตอบไว้ล่วงหน้า อ่านคําตอบข้อ
เดยี วกนั ของนักเรยี นทุกคนใหห้ มด รวมคะแนนท้ังหมดทุกขอ้ ของแต่ละคนแล้วประเมิน
1.3.2 วิธีการตรวจให้คะแนนแบบแบ่งกลุ่ม เป็นวิธีการท่ีทําได้ง่ายกว่าวิธีกําหนดค่า
คะแนน และเปน็ วิธีท่ีมีประสทิ ธิภาพสูงให้ผลลพั ธ์ทีด่ มี าก ซ่ึงประกอบดว้ ยขั้นตอนทส่ี ําคญั สองขั้นตอน
คือ
19
อ่านคําตอบท้ังหมดให้ทะลุปรุโปร่งโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทําได้ แล้วแบ่งกระดาษคําตอบ
ออกเป็นประเภท ๆ พร้อมท้ังกําหนดเกรดให้เป็นกอง ๆ ในแต่ละกระดาษคําตอบในระหว่างการอ่าน
กระดาษคําตอบครงั้ แรกอาจจะตอ้ งตดั สนิ ใจไมไ่ ดว้ า่ ควรอยปู่ ระเภทใดกใ็ ห้ใส่เครอ่ื งหมายไมแ่ นใ่ จไว้
อ่านคําตอบทั้งหมดซํ้าใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดาษคําตอบท่ีมีเคร่ืองหมาย
ไม่แน่ใจ ในการอ่านครั้งที่สองนี้กระดาษคําตอบอาจมีการเปลี่ยนกองกัน ในการอ่านซ้ําสองนี้บางครั้ง
ไม่จาํ เป็นตอ้ งอา่ นซาํ้ ทั้งหมดทุกคนกไ็ ด้
2. ข้อสอบตอบสน้ั ๆ และข้อสอบเตมิ คํา
2.1 ข้อสอบตอบส้ัน ๆ ลักษณะข้อสอบจะเขียนคําถามให้ผู้ตอบได้แสดงความสามารถ
ในการแก้ปัญหานั้น ๆ โดยการเขียนตอบเป็นคําคําเดียว หรือประโยคส้ัน ๆ การตรวจให้คะแนน
ผู้ตรวจจะอา่ นเพยี งเลก็ นอ้ ย แลว้ พิจารณาว่าคาํ ตอบนัน้ ถกู ต้องหรือใกลเ้ คียงกับคําตอบท่ถี กู เพยี งใด
2.2 ข้อสอบเติมคํา ลักษณะข้อสอบจะเขียนประโยคหรือข้อความเป็นตอนนําไว้แล้ว
เว้นช่องว่างระหว่างข้อความหรือท้ายข้อความ สําหรับให้เติมคําหรือข้อความ เพ่ือให้ข้อมูลนั้นถูกต้อง
สมบูรณก์ ารเว้นช่องวา่ งอาจะเว้นทว่ี ่างใหเ้ ติมมากกวา่ หน่ึงแห่ง
3. ข้อสอบเลือกตอบหลายตัวเลือก ข้อสอบเลือกตอบประกอบด้วยส่วนท่ีเป็นคําถามและ
ส่วนท่ีเป็นคําตอบ ส่วนคําถามท่ีเป็นข้อความปัญหา เขียนเป็นประโยคคําถาม ส่วนคําตอบให้เลือก
เป็นตัวเลือกหลายตัวเลือก มีทั้งคําตอบถูกและคําตอบผิด เรียกว่าตัวลวง ข้อสอบเลือกตอบจึงเป็น
ข้อสอบชนิดท่ีมีคําตอบกําหนดไว้ให้ก่อน แล้วผู้ตอบต้องเลือกตอบตัวเลือกใดตัวเลือกหน่ึง หรือหลาย
ตัวเลอื กแลว้ แตเ่ งอ่ื นไขคําถาม ผตู้ อบไม่มีอสิ ระในการตอบความคดิ เห็นของตน
4. ข้อสอบแบบถูกผดิ รปู แบบคําถาม ข้อสอบถูกผิดสามารถจําแนกรปู แบบคําถามเป็นสาม
แบบ ดงั น้ี
4.1 แบบคําถามเดี่ยว แบบน้ีจะเขียนข้อความท่ีเป็นปัญหาเป็นข้อ ๆ แล้วให้พิจารณาว่า
ถกู หรอื ผดิ ใช่หรือไม่ใช่ แล้วแตจ่ ะจัดแบบให้สอดคลอ้ งกบั เนือ้ หา
4.2 แบบคําถามขยาย แบบน้ีจะกําหนดเน้ือหาเป็นตอนนําแล้วเขียนข้อความที่อยู่ใน
ขอบเขตเนื้อหาน้ัน เพ่ือขยายรายละเอียดของข้อความตอนนํา แล้วให้พิจารณาว่าข้อความท่ีขยายนั้น
ถกู หรือผิด
4.3 แบบคําตอบผสม แบบน้ีจะกําหนดคําตอบไว้คงท่ีหลายอย่างผสมกัน แล้วให้
พิจารณาข้อความในแตล่ ะขอ้ วา่ จะสอดคล้องกับคาํ ตอบแบบผสมแบบใด
5. ข้อสอบแบบจับคู่ ลักษณะข้อสอบประกอบด้วยคําถาม เขียนเป็นตัวยืนไว้ในสดมภ์
ซ้ายมอื โดยมีทีว่ า่ งเวน้ ไวห้ น้าข้อเพ่อื ใหผ้ ูต้ อบเลอื กหาคาํ ตอบทเี่ ขียนไวใ้ นสดมภ์ขวามือรูปแบบคําถาม
ประเภทของแบบสอบผลสมั ฤทธิ์
แบบสอบผลสัมฤทธิ์เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งสําหรับการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการ
เรยี นรู้ของผู้เรยี นตามเป้าหมายท่ีกําหนดไว้ ทําให้ผู้สอนทราบวา่ ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ
20
ถึงระดับมาตรฐานท่ีผู้สอนกําหนดไว้หรือยัง หรือมีความรู้ความสามารถถึงระดับใด หรือมีความรู้
ความสามารถดีเพียงไร เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนๆที่เรียนด้วนกัน โดยเราสามารถแบ่งประเภทของ
แบบสอบผลสัมฤทธ์ิได้หลายลักษณะข้ึนอยู่กับเกณฑ์ท่ีใช้ในการจําแนกโดยมีการจําแนกตามเกณฑ์
ดงั ตอ่ ไปนี้ (ศิรชิ ัย กาญจนวาสี ,2584 : 163 - 165)
1. จําแนกตามผู้สรา้ ง
1.1 แบบสอบมาตรฐาน (Standardized Test) เป็นแบบทดสอบท่ีสร้างขึ้นด้วย
กระบวนการมาตรฐานโดยสํานักทดสอบ หรือบริษัทสร้างแบบสอบซ่ึงมักออกแบบให้ครอบคลุม
เนอื้ หาสาระอย่างกวา้ งๆทส่ี อนในหลักสตู รต่างๆเพื่อใหส้ ามารถใช้ไดก้ บั สถาบันการศกึ ษาทั่วไป
1.2 แบบทดสอบท่ีผู้สอนสร้าง (Teacher – made Tests) เป็นแบบสอบท่ีผู้สอนเป็น
คนสร้างขน้ึ มาใช้เอง ครอบคลมุ เนื้อหาเฉพาะตามหลักสูตรของสถาบันใดสถาบันหน่งึ
2. จําแนกตามเนื้อหาวชิ า
แบบสอบผลสัมฤทธส์ิ ามารถใช้กับวิชาตา่ งๆได้จึงอาจจาํ แนกแบบทดสอบตามช่ือเนอ้ื หาวิชา
3. จําแนกตามการใช้
3.1 แบบสอบความพร้อม (Readiness Test) เป็นแบบสอบท่ีมุ่งวัดทักษะพื้นฐานท่ี
จําเป็นสําหรับการเรียนรู้วิชา/บทเรียน/หน่วยการเรียน เพ่ือพิจารณาว่าผู้เรียนมีพ้ืนฐานเพียงพอ
หรอื ไม่
3.2 แบบสอบวินิจฉัย (Diagnosis Test) เป็นแบบสอบท่ีมุ่งวัดจุดเด่นจุดด้อยของทักษะ
การเรียนรู้ท่ีสําคัญอันเป็นปัญหาของผู้เรียน แบบสอบมุ่งตรวจสอบกลไก องค์ประกอบย่อยๆ ท่ี
ครอบคลุมกระบวนการสาํ คญั ของทักษะเพอ่ื ระบวุ ่าผเู้ รียนมปี ญั หาของการเรียนรตู้ รงจุดไหน
3.3 แบบสอบสมรรถภาพ (Proficiency Test) เป็นแบบสอบที่ใช้วัดว่าผู้สอบมี
สมรรถนะ ถึงระดับที่เหมาะสมหรือยัง เพื่อใช้เป็นเคร่ืองบ่งชี้ถึงระดับความสามารถสําหรับการ
คดั เลือกหรือใชส้ ิทธบิ างประการ
3.4 แบบเชิงสํารวจ (Survey Test) เป็นแบบสอบท่ีใช้สํารวจวัดระดับความรู้เชิงสรุป
ทั่วไปของนักเรียนหรือนิสิตนักศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ แบบสอบจึงควรครอบคลุมเนื้อหาท่ัวไปท่ีสุ่ม
ได้จากมวลเนอื้ หาอย่างกว้างขวางเพ่อื ทดสอบผลการเรียนรทู้ วั่ ไป
4.จําแนกตามการแปลผล
4.1 แบบสอบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced Tests) เป็นแบบสอบที่มุ่งวัดผลการ
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความรู้ความสามารถของผู้สอบ ข้อสอบอิงกลุ่มจึงถูกสร้างและ
เลือกมาใช้เพื่อทําหน้าท่ีจําแนกระดับความสามารถของผู้สอบที่แตกต่างกันคะแนนสอบจึงได้นําไปใช้
แปลความหมายโดยการเปรียบเทียบความรู้ ความสามรถระหว่างกลมุ่ ผู้สอบด้วยกนั เอง
4.2 แบบสอบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Tests) เป็นการสอบที่มุ่งวัดระดับการ
เรียนรู้ของผเู้ รียนว่ามีความรู้ ความสามรถอะไรบ้าง ข้อสอบอิงเกณฑ์ถูกสร้างให้ครอบคลุมความรู้หรือ
ทักษะสําคัญของการเรียนรู้ท่ีต้องการให้เกิดขึ้น คะแนนสอบจึงได้แปลผลโดยการเปรียบเทียบเกณฑ์
หรือมาตรฐานทกี่ าํ หนดไว้
5. จาํ แนกตามรปู แบบการตอบ
5.1 แบบสอบประเภทเสนอคาํ ตอบ (Supply Type)
21
- แบบสอบความเรียง (Essay Tests)
แบบสอบความเรยี งแบบไมจ่ ํากัดคาํ ตอบ (Essay-Extended)
แบบสอบความเรียงแบบจํากัดคาํ ตอบ (Essay-Restricted)
-แบบสอบแบบตอบสัน้ (Short Answer)
- แบบสอบแบบเตมิ คาํ (Completion)
5.2 แบบสอบประเภทเลือกคาํ ตอบ (Selection Type)
- แบบสอบแบบถูก-ผดิ (True-False)
- แบบสอบแบบจับคู่ (Matching)
- แบบสอบแบบหลายตัวเลอื ก (Multiple-Choice)
7. ความพึงพอใจ
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2554 : 840) ได้ให้ความหมายของ พึงพอใจว่า รัก
ชอบใจ
ชนวิชทร์ (2552 : 8) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจว่า เป็นความรู้สึกที่ดีต่อ ส่ิงใดส่ิง
หน่ึงอารมณร์ ูส้ ึกรัก ชอบ ประทับใจ และอยากได้รับกจิ กรรมและอยากได้รับกิจกรรมและสิ่งน้นั ๆตาม
ต้องการตลอดเวลาอยา่ งต่อเน่อื ง
สมพจน์ ทันที (2555 : 20) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจว่า ความพึงพอใจที่
เก่ียวข้องต่อสิ่งที่ปฏิบัติตอ้ งรับผิดชอบน้ันด้วนความสนใจกระตือรอื ร้น และมีความสุขกับการปฏิบัติมี
ความภูมิใจในความสําเร็จท่ีตนทํา หรือความรู้สึกที่ผู้ให้บริการ หรือผู้รับบริการมีต่อการให้บริการ
และเป็นระดับความพึงพอใจท่ีเป็นจริงอยู่ในขณะนั้น เป็นเกณฑ์ความพึงพอใจในการรับบริการท่ีจะ
บอกใหท้ ราบถงึ ทศั นคตใิ นทางบวก หรือทางลบทีม่ ีในการรับบรกิ าร
กล่าวโดยสรุปความพึงพอใจหมายถึง ความพอใจ ความชอบต่อส่ิงท่ีปฏิบัติมาแล้ว
พฤตกิ รรมท่ีแสดงออกถงึ ความพอใจ และสง่ ผงให้เกิดพฤตกิ รรมอยา่ งต่อเน่ือง
22
8. งานวิจัยทเ่ี กี่ยวขอ้ ง
ฐิตารีย์ วงศ์มังกร [2551]. ได้ทําการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ วิชา
รายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน โดยใช้ปญั หาเป็นฐาน เพอื่ หาค่าดัชนีประสิทธิผลของ
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชา รายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน ของนักศึกษาท่ีเรียนด้วยวิธีการ
สอนแบบปัญหาเป็นฐาน ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อ
พัฒนาการเรียนการสอน วิชา รายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน โดยใช้ปัฐหาเป็นฐาน
(PBL) ของนักศึกษาสาขาวิชาบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มี
ประสิทธิภาพ 84.42/80.85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการ
เรียนรู้ เร่ือง มาครฐานการรายงานทางการเงิน ในรายวิชา รายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบ
การเงิน มีค่าเท่ากับ 0.6033 หรือคิดเป็นร้อยละ 60.33 และมีคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนใน
รายวิชา รายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน มีคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางงการเรียนแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.01 โดยมีคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อน
เรียน
พวงลักษ์ จันต๊ะวัน , วาสนา ตันมา และ สิริพร กลุวงศ์ [2551]. ได้ทําการศึกษาวิจัยเพื่อ
สร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ือง ระบบนิเวศกว๊าน
พะเยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 3 ผลการศึกษา พบว่า
แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เร่ืองระบบนิเวศกว๊านพะเยา กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ สําหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.78/81.67 ซึ่งเป็นไป
ตามเกณฑ์ที่ต้ังไว้ , ผลการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เร่ือง ระบบ
นิเวศกว๊านพะเยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมี
ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลงั เรียนสูงเรียนสูงกวา่ กอ่ นเรียนอย่างมีนัยสําคญั ทางสถิติท่ีระดับ 0.01 และ
นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อยู่ใน
ระดบั พึงพอใจมาก
ทิวาวรรณ จิตตะภาค [2552]. ได้ทําการศึกษาวิจัยเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
ทักษะการส่ือสารด้วยการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผลการศึกษา พบว่า
นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน
วชิ าวิทยาศาสตร์หลังเรยี นสูงกวา่ กอ่ นเรียนอย่างมีนยั สําคญั ทางสถติ ิ ทีร่ ะดับ 0.05
ศุภิสรา โททอง [2552]. ได้ทําการศึกษาวิจัยเก่ียวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปการ
สอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน ระหว่าง การเรียนโดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน กับ การเรียนการสอนตามคู่มือของ สสวท. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิศาสตร์ เรื่องการวัด
23
ความยาว ในระดับช้ันประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนท่ีได้รับการสอนโดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน (PBL) มีผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เร่ือง การวัดความยาว สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอน
ตามคู่มือของ สสวท. อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนท่ีได้รับการสอนโดยใช้
ปญั หาเปน็ ฐาน (PBL) มีความพงึ พอใจอยู่ในระดับมาก
กนกวรรณ แก้วชารุณ [2553]. ได้ทําการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้
รปู การสอนโดยใช้ปญั หาเปน็ ฐาน เพ่อื ส่งเสรมิ และสนับสนุนให้นําการจัดกิจกรรมการเรียนรู้น้ี ไปใชใ้ น
การจัดการเรียนการสอนกับกลุ่มนักเรียนในระดับอ่ืนๆต่อไป ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนท่ีได้รับการ
สอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เร่อื งการใชโ้ ปรแกรมคาํ นวณ มีคา่ ประสิทธิภาพ 80.03/83.75 ซึง่ สูง
กว่าเกณฑ์ และดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.6547 หรือคิดเป็นร้อยละ
65.47
ดอกอ้อ รังโคตร [2553]. ได้ทําการศึกษาวิจัยเพ่ือให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด มุ่งเน้น
ให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบด้วยตนเองมากที่สุด ครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้อง ส่งเสริมสนับสนุน
ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงฝึกปฏิบัติให้ทํา
ได้ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ผลการศึกษา พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้
ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เร่ือง ปรากฏการณ์เก่ียวกับอากาศในชีวิตประจําวัน ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี
ประสิทธิภาพ 77.87/76.13 ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้
ปัญหาเป็นฐาน(PBL) เรื่อง ปรากฏการณ์เก่ียวกับอากาศในชีวิตประจําวัน ช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 มีค่า
เท่ากับ 0.5936 นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ท่ีได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดย
ใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง ปรากฏการณ์เก่ียวกับอากาศในชีวิตประจําวัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติท่ี
ระดับ 0.01 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เร่ือง ปรากฏการณ์เกี่ยวกับอากาศในชีวิตประจําวัน
อยใู่ นระดับมาก
เวียงสด วงศ์ชัย [2553]. ได้ทําการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปการ
สอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาชีววิทยา และพัฒนา
ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาชีววิทยา เร่ือง การปกปักรักษาธรรมชาติ ผลการศึกษา พบว่า นักเรียน
ร้อยละ 72.50 มีความสามารถในการแก้ปัญหา ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 ซ่ึงสูงกว่าเกณฑ์
เป้าหมายท่ีกําหนด และนักเรียนร้อยละ 75.50 มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ
70 ซงึ่ สูงกวา่ เกณฑท์ ่ีกาํ หนด
สรุพล บุญลือ , สุรชัย สิกขาบัณฑิต , ชาญวิทย์ เทียมบุญประเสริฐ และ ฤทธิชัย อ่อนม่ิง
[2553]. ได้ทําการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
24
เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาท่ีเรียนจากห้องเรียนปกติ กับนักเรียนท่ีเรียน
จากห้องเรียนเสมือนจริงโดยรูปแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผลการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรยี นของนักศึกษาท่ีเรียนจากห้องเรียนเสมือนจริงแบบใชป้ ัญหาเป็นฐาน พบว่ามีผลการเรยี นท่ีสูงกว่า
นักเรียนท่ีเรียนจากห้องเรียนปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนักเรียนที่เรียนผ่าน
ห้องเรยี นเสมอื นจริง โดยใชป้ ญั หาเปน็ ฐาน มีความพึงพอใจอยใู่ นระดบั มาก
นันท์ชนก นันทะไชย , อินทิรา ลิจันทร์พร [2554]. ได้ทําการศึกษาวิจัยเพ่ือหาผลสัมฤทธิ์
ของการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ช้ันปีที่ 3 สาขา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ธัญบุรี โดยศึกษาจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร จํานวน 99 คน
ทําการเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนจากผลการทดสอบก่อนและหลังการเรียนการสอน โดย
การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน และค่า t-test และร้อยละการพัฒนาการของผู้เรียน ผล
การศึกษาพบว่า วิธีการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ืองการทดสอบผู้บริโภคและการ
ทดสอบอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ ทําให้คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนมีค่าสูงกว่า
คะแนนเฉล่ียของการทดสอบกอ่ นเรยี น
ฐิติวัฒน์ นงนุช [2556]. ได้ทําการศึกษาวิจัยถึงผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็น
ฐานท่ีมีต่อการเรียนการสอนทางสภาปัตยกรรม โดยกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาช้ันปีที่ 4 คณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ จํานวน 22 คน ประจําภาคเรียนที่ 2/2556 โดยข้อมูลการวิจัยที่ได้จาก
แบบสอบถาม แบบทดสอบ Pre-Test , Post-Test และกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ซึ่งสถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าคะแนนพัฒนาการ (Growth Score) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย
กึ่งกลาง (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาท่ีมีต่อ
การจดั การเรียนการสอนแบบใชป้ ญั หาเป็นฐานอย่ใู นระดบั มากทส่ี ุด
บทที่ 3
วธิ กี ารศกึ ษาคน้ ควา้
ในงานวจิ ยั นีใ้ ช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใชป้ ัญหาเปน็ ฐาน เพ่ือพัฒนาทกั ษะคอมพวิ เตอร์
เร่ือง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรบี ุญเรืองวิทยา
คาร ต.ขม้ิน อ.เมือง จ.สกลนคร จึงได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลและเขียนเป็นกระบวนการข้ันตอนใน
การทํางาน ดงั น้ี
1. กล่มุ เปา้ หมาย
2. เครอ่ื งมอื ทใี่ ช้ในการศึกษาคน้ ควา้
3. การสร้างและการหาคุณภาพของเครอ่ื งมือ
4. แบบแผนการวิจัย
5. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล
6. การจัดกระทําข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
7. สถิติทใ่ี ช้ในการวิเคราะหข์ ้อมูล
1. กล่มุ เปา้ หมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งน้ี ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 โรงเรียนศรีบุญ
เรืองวิทยาคาร ต.ขมิ้น อ.เมือง จ.สกลนคร ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2561 จํานวน 1 ห้อง มี
จาํ นวนนักเรยี น 19 คน
2. เคร่อื งมอื ที่ใช้ในการวจิ ัย
1 แผนการจัดการเรยี นรู้โดยใช้ปญั หาเปน็ ฐาน จํานวน 7 ช่ัวโมง และ 7 แผนการเรียนรู้ เรื่อง
โปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อ็กเซล วชิ าคอมพิวเตอร์ ระดบั ช้นั ประถมศกึ ษาปที ่ี 6
แผนการจัดการเรยี นรู้ที่ 1 โปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อ็กเซล 1 ช่วั โมง
แผนการจัดการเรียนรู้ท่ี 2 การพิมพข์ อ้ ความ หรอื ข้อมลู ทเ่ี ป็นตัวเลขและการแทรกภาพ 1 ชัว่ โมง
แผนการจัดการเรียนรทู้ ่ี 3 การแทรก การลบคอลัมนแ์ ละแถว 1 ชว่ั โมง
แผนการจัดการเรยี นร้ทู ่ี 4 การผสานเซลล์ และจดั รปู แบบเซลล์ 1 ชว่ั โมง
แผนการจัดการเรียนรทู้ ี่ 5 การตกแตง่ ตาราง 1 ชัว่ โมง
แผนการจดั การเรียนรทู้ ่ี 6 การคํานวณเบอ้ื งตน้ โดยใชต้ ารางการทํางานเอ็กเซล 1 ชัว่ โมง
แผนการจดั การเรียนร้ทู ่ี 7 การสร้างแผนภูมิเพื่อการนําเสนอขอ้ มูล 1 ช่ัวโมง
2 แบบทดสอบจํานวน 20 ข้อ เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียน
และหลังเรียน เพื่อพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ืองโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็ก
เซล วิชาคอมพิวเตอร์ ระดบั ช้ันประถมศกึ ษาปีที่ 6
26
3 แบบสอบถามเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้เครื่องมือแบบมาตรประมาณค่า
(Rating Scale) จํานวน 10 ข้อ เพ่ือพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องโปรแกรม
ไมโครซอฟต์เอก็ เซล วิชาคอมพิวเตอร์ ระดบั ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 6
3. การสรา้ งและการหาคณุ ภาพของเครอื่ งมอื
1. แผนการจดั การเรยี นรูโ้ ดยใชก้ ารจดั กจิ กรรมการเรยี นรโู้ ดยใชป้ ัญหาเปน็ ฐาน เพื่อ
พัฒนาทักษะคอมพวิ เตอร์ เรอื่ ง การใชง้ านโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อ็กเซล
ในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ผ้วู ิจยั ดาํ เนินการสรา้ งตามข้ันตอน ดงั นี้
1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 สาระมาตรฐานการ
เรียนรู้และตัวช้ีวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อ
นํามาเป็นแนวทางในทําแผนการสอน
1.2 ศึกษาการจดั กจิ กรรมการเรียนรโู้ ดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จากเอกสารทเี่ กย่ี วข้อง
1.3 ศึกษาวิเคราะห์เนื้อหา สาระการเรียนรู้ที่จะนําใช้ในการวิจัย เร่ือง การใช้งานโปรแกรม
ไมโครซอฟต์เอ็กเซล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อนํามาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
สาระการเรยี นรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้
1.4 จัดทําแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
เร่ือง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 7 แผนการจัดการ
เรียนรู้
1.5 สร้างแบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยประเมิน
เกี่ยวกับความเหมาะสมและความสอดคล้องของเนื้อหา จุดประสงค์ กระบวนการจัดกิจกรรมส่ือการ
เรียน และการวัดและประเมนิ ผล ซึ่งใช้เกณฑ์การประเมนิ แบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เป็น
5 ระดบั
1.6 นําแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ือง
การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญพิจารณา เพื่อ
ตรวจสอบความถูกต้องและประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ตามแบบประเมินท่ี
สร้างขึน้ ซ่ึงใชเ้ กณฑก์ ารประเมินแบบมาตรประมาณคา่ (Rating Scale) เปน็ 5 ระดบั
27
1.7 นําแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ือง
การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 ที่ประเมินจากผู้เช่ียวชาญ มาหา
คา่ เฉลี่ยเทยี บกับเกณฑ์ทต่ี ง้ั ไว้ ดงั น้ี
คะแนนเฉลยี่ ระดับความเหมาะสม
4.51 – 5.00 มากทสี่ ุด
3.51 – 4.50 มาก
2.51 – 3.50 ปานกลาง
1.51 – 2.50 น้อย
1.00 – 1.50 นอ้ ยทส่ี ดุ
ผลการประมาณแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า
แผนการจัดการเรยี นรทู้ ี่ 1 เรอ่ื งโปรแกรมไมโครซอฟต์เอก็ เซล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ
เหมาะสมมากทส่ี ุด ( X = 4.75)
แผนการจดั การเรียนรูท้ ี่ 2 การพิมพ์ขอ้ ความ หรือข้อมลู ทเี่ ป็นตวั เลขและการแทรกภาพ มี
ความเหมาะสมอย่ใู นระดบั เหมาะสมมาก ( X = 4.49)
แผนการจดั การเรียนรู้ที่ 3 การแทรก การลบคอลมั นแ์ ละแถว มคี วามเหมาะสมอยใู่ นระดบั
เหมาะสมมากทส่ี ดุ ( X = 4.65)
แผนการจัดการเรยี นรูท้ ่ี 4 การผสานเซลล์ และจัดรูปแบบเซลล์ มีความเหมาะสมอยใู่ น
ระดบั เหมาะสมมากทสี่ ดุ ( X = 4.57)
แผนการจดั การเรยี นร้ทู ่ี 5 การตกแตง่ ตาราง มีความเหมาะสมอยูใ่ นระดบั เหมาะสมมาก
( X = 4.47)
แผนการจดั การเรียนรทู้ ี่ 6 การคํานวณเบื้องต้นโดยใชต้ ารางการทาํ งานเอ็กเซล มีความ
เหมาะสมอยู่ในระดบั เหมาะสมมาก ( X = 4.47)
แผนการจัดการเรยี นรู้ท่ี 7 การสร้างแผนภมู ิเพือ่ การนําเสนอข้อมลู มคี วามเหมาะสมอย่ใู น
ระดบั เหมาะสมมากทีส่ ดุ ( X = 4.67)
1.8 นาํ แผนการจัดกจิ กรรมการเรียนรมู้ าปรับปรงุ แก้ไข และจดั พมิ พ์เพือ่ นาํ ไปใช้จรงิ กับ
นักเรียนกล่มุ เปา้ หมายตอ่ ไป
2. แบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี น
ผ้วู ิจัยไดส้ รา้ งแบบทดสอบผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนคอมพิวเตอร์ เรอ่ื ง การใช้งานโปรแกรม
ไมโครซอฟตเ์ อก็ เซล มขี ัน้ ตอนการการสรา้ งดังนี้
2.1 ศกึ ษาหลักสตู ร จดุ มุ่งหมายของหลักสตู ร มาตรฐานการเรียนร้ชู ว่ งช้ัน สาระการเรียนรู้
รายปีขอบข่ายเน้อื หาและเวลา กลมุ่ สาระการเรียนรกู้ ารงานอาชพี และเทคโนโลยี ช่วงช้ันที่ 2ระดับชัน้
ประถมศกึ ษาปที ่ี 6 ตามหลกั สูตรการศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551
2.2 ศึกษาทฤษฎีและวิธกี ารสรา้ งแบบทดสอบผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นคอมพิวเตอร์ จาก
เอกสาร ตํารา ทเี่ ก่ียวขอ้ ง
28
2.3 วเิ คราะหค์ วามสมั พันธร์ ะหวา่ งเน้อื หา สาระการเรยี นรู้ และจดุ ประสงค์การเรยี นรู้ เพือ่
ใชเ้ ปน็ แนวทางในการสรา้ งแบบทดสอบ
2.4 สรา้ งแบบทดสอบตามระดบั พฤติกรรมใหค้ รอบคลมุ พฤตกิ รรมท้งั 6 ด้านของผเู้ รียนดัง
ตารางต่อไปน้ี
ตารางที่ 3-1 ตารางวเิ คราะหก์ ารออกข้อสอบตามระดับพฤตกิ รรม
จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ พฤติกรรมด้านที่ตอ้ งการวดั (จาํ นวนขอ้ สอบ)
เรอื่ ง/เนือ้ หา ความ ความ นำไปใช้ วิเคราะห์ สงั ประเมนิ รวม
จำ เข้าใจ เคราะห์ คา่
1. โปรแกรม 1) เพอื่ อธบิ ายหลักการทํางานเบื้องตน้
ไมโครซอฟต์ ของโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อ็กเซล ได้
เอก็ เซล อยา่ งถกู ต้อง (K)
2) เพือ่ เปิดโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็ก 2 1 - - - 1 4
เซล ได้อยา่ งถูกตอ้ ง (P)
3) เพื่อเกดิ ทกั ษะทางความคดิ ในการ
แก้ปัญหา (A)
2. การพิมพ์ 1) เพ่ือเขา้ ใจการใช้งานโปรแกรม
ข้อความหรอื ไมโครซอฟต์เอก็ เซล ในการพมิ พ์
ข้อมูลทีเ่ ปน็
ตวั เลข และ ขอ้ ความได้ (K) 1 1 2 - - -4
2) เพอื่ พมิ พข์ อ้ ความหรือข้อมูลที่เปน็
การแทรกภาพ ตวั เลขและแทรกภาพได้ (P)
3) เพื่อเกิดทกั ษะทางความคิดในการ
แกป้ ญั หา (A)
3. การแทรก 1) เพอ่ื เขา้ ใจการใชง้ านโปรแกรม
การลบคอลมั น์ ไมโครซอฟต์เอ็กเซล แทรก ลบคอลัมน์
และแถว และแถวได้ (K) -1 2 - 1 - 4
2) เพือ่ แทรก ลบคอลัมนแ์ ละแถวได้ (P)
3) เพอื่ เกิดทกั ษะทางความคดิ ในการ
แกป้ ัญหา (A)
4. การผสาน 1) เพ่อื เขา้ ใจการใช้งานโปรแกรม
เซลล์และ ไมโครซอฟต์เอ็กเซล ผสานเซลล์และ
จดั รูปแบบเซลล์ได้ (K)
จดั รปู แบบ 2) เพอื่ ผสานเซลล์และจดั รูปแบบเซลล์ - - 2 1 1 -4
เซลล์
ได้ (P)
3) เพ่ือเกดิ ทักษะทางความคดิ ในการ
แก้ปัญหา (A)
29
ตารางท่ี 3-1 ตารางวิเคราะห์การออกขอ้ สอบตามระดบั พฤตกิ รรม (ต่อ)
จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้ พฤตกิ รรมด้านท่ตี อ้ งการวดั (จาํ นวนขอ้ สอบ)
เร่ือง/เนื้อหา ความ ความ นำไปใช้ วเิ คราะห์ สงั ประเมนิ รวม
จำ เข้าใจ เคราะห์ คา่
5. การตกแต่ง 1) เพอ่ื เข้าใจการใช้งานโปรแกรม
ตาราง ไมโครซอฟตเ์ อ็กเซล ตกแตง่ ตารางได้
(K)
2) เพ่ือตกแต่งตารางได้ (P) -1 2 - 1 - 4
3) เพอ่ื เกิดทกั ษะทางความคิดในการ
แกป้ ัญหา (A)
6. การคํานวณ 1) เพอ่ื เข้าใจหลักการคํานวณเบื้องตน้
เบื้องตน้ โดยใช้ โดยใชต้ ารางการทาํ งานเอ็กเซล (K)
ตารางการ 2) เพื่อคํานวณเบือ้ งต้นโดยใช้ตารางการ - 1 1 2 - 1 5
ทาํ งานเอ็กเซลได้ (P)
ทํางานเอ็กเซล 3) เพือ่ เกิดทักษะทางความคดิ ในการ
แกป้ ญั หา (A)
7. การสร้าง 1) เพื่อเขา้ ใจขน้ั ตอนการสร้างแผนภูมิ
แผนภมู ิเพื่อ เพ่อื การนําเสนอขอ้ มูลได้ (K)
การนําเสนอ 2) เพ่ือสรา้ งแผนภูมเิ พ่อื การนาํ เสนอ
ข้อมลู ได้ (P) 11 2 - - 15
ข้อมลู 3) เพ่ือเกดิ ทกั ษะทางความคดิ ในการ
แกป้ ัญหา (A)
รวม 30
2.5 สร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนคอมพิวเตอร์ โดยมีโครงสร้าง ดังนี้
ตารางที่ 3-2 ตารางกําหนดข้อสอบวัดผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนคอมพวิ เตอร์
เร่อื ง/เนื้อหา ผลการเรียนรู้ที่ จํานวนขอ้ สอบ จาํ นวนขอ้ สอบ
คาดหวัง (ตัวช้ีวัด) ท้ังหมด ทต่ี อ้ งการ
1. โปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อก็ เซล ง 3.1 , ป.6/4 4 2
2. การพิมพข์ อ้ ความหรือขอ้ มูลที่เปน็ ตวั เลข ง 3.1 , ป.6/4 4 2
และการแทรกภาพ
3. การแทรก การลบคอลมั น์และแถว ง 3.1 , ป.6/4 4 3
4. การผสานเซลลแ์ ละจดั รูปแบบเซลล์ ง 3.1 , ป.6/4 4 3
5. การตกแต่งตาราง ง 3.1 , ป.6/4 4 3
30
ตารางท่ี 3-2 ตารางกาํ หนดข้อสอบวัดผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นคอมพิวเตอร์ (ตอ่ )
เรื่อง/เน้ือหา ผลการเรียนรทู้ ี่ จํานวนขอ้ สอบ จํานวนขอ้ สอบ
คาดหวงั (ตวั ชี้วัด) ทง้ั หมด ท่ีต้องการ
6. การคํานวณเบอื้ งต้นโดยใช้ตารางการ ง 3.1 , ป.6/4 5 4
ทํางานเอก็ เซล
7. การสร้างแผนภมู เิ พื่อการนําเสนอข้อมูล ง 3.1 , ป.6/4 5 3
รวม 30 20
2.6 นําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนคอมพิวเตอร์ท่ีสร้างข้ึน ไปให้ผู้เช่ียวชาญ
ทางการสอนคอมพิวเตอร์และผู้เช่ียวชาญทางด้านการวัดผลจํานวน 3 ท่าน ตรวจสอบลักษณะของ
คําถาม ตัวเลือก ความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับพฤติกรรมท่ีต้องการวัด ความถูกต้องทางด้าน
ภาษา แล้วนํามาปรับปรุงแก้ไขด้านความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์และพฤติกรรมที่ต้องการวัด
รวมถึงการใช้ภาษา คําถามและตัวเลือกคัดเลือกข้อสอบที่มีความเทย่ี งตรงตามเนื้อหา โดยนํามาหาค่า
ดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ IOC (Index of Item Objectives Congruence) โดยกําหนด
เกณฑก์ ารพิจารณา คอื
เหน็ วา่ สอดคลอ้ ง ใหค้ ะแนน +1
ไม่แน่ใจ ให้คะแนน 0
เห็นวา่ ไมส่ อดคล้อง ให้คะแนน -1
2.7 นําแบบทดสอบท่ีผูเ้ ช่ียวชาญพจิ ารณา มาวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่างข้อ
คําถามกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Index of Objective Congruence : IOC) โดยคัดเลือก
ข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์ 0.50 ขึ้นไป หากไม่ผ่านเกณฑ์จะดําเนินการปรับปรุงหรือสร้างข้อสอบข้อน้ันๆ
ใหม่ ผลปรากฏว่า ข้อสอบที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 ข้ึนไป ซ่ึงสามารถนําไปใช้งานได้ จํานวน 22 ข้อ
และมีข้อสอบที่ไม่สามารถนําไปใช้งานได้ จํานวน 8 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยคัดเหลือ 20 ข้อ ตามโครงสร้างที่
กําหนดไว้
2.8 จัดพิมพ์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับจริง เพื่อนําไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
ต่อไป
3. แบบสอบถามความพงึ พอใจของนักเรยี นท่ีได้รบั การจดั การเรียนร้โู ดยปญั หาเปน็ ฐาน
ผู้วิจัยได้กําหนดการให้มีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating
Scale) 5 ระดับ โดยสอบถามความพงึ พอใจ จาํ นวน 1 ฉบบั มขี ้ันตอนการสรา้ งดังน้ี
3.1 ศึกษาหลักการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจจากเอกสาร ตํารา และงานวิจัยท่ี
เกยี่ วข้อง
3.2 สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5
ระดับ ข้อคําถามจํานวน 10 ข้อ ต้องการจริงจํานวน 7 ข้อ โดยกําหนดค่าระดับความพึงพอใจแต่ละ
ชว่ งคะแนนและความหมาย ดงั นี้
5 หมายถงึ มคี วามพอใจมากที่สดุ
31
4 หมายถึง มคี วามพอใจมาก
3 หมายถงึ มีความพอใจปานกลาง
2 หมายถงึ มคี วามพอใจน้อย
1 หมายถึง มคี วามพอใจน้อยท่สี ดุ
สําหรับการให้ความหมายของค่าที่วัดได้ ผู้วิจัยได้กําหนดเกณฑ์ท่ีใช้ในการให้ความหมาย
โดยการให้คา่ เฉลีย่ เปน็ รายดา้ นและรายข้อ ดังนี้
คา่ เฉลยี่ ต้งั แต่ 4.50 – 5.00 หมายถึง พงึ พอใจมากทีส่ ดุ
ค่าเฉล่ยี ต้งั แต่ 3.50 – 4.49 หมายถงึ พึงพอใจมาก
ค่าเฉลย่ี ตง้ั แต่ 2.50 – 3.49 หมายถึง พึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ยตง้ั แต่ 1.50 – 2.49 หมายถึง พึงพอใจน้อย
คา่ เฉล่ียตง้ั แต่ 1.00 – 1.49 หมายถึง พึงพอใจน้อยทส่ี ดุ
นําแบบสอบถามความคิดเห็นให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ซึ่งเป็นชุดเดิมกับที่ตรวจแผนการ
จัดการเรียนรู้ ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความเท่ียงตรงของเน้ือหา (Content Validity)
ภาษาท่ีใช้ การประเมินท่ีถูกต้อง ท้ังนี้ ให้ผู้เช่ียวชาญพิจารณาความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับ
นิยามศัพท์เฉพาะ และนํามาหาค่าดัชนีความสอดคล้องของเคร่ืองมือ IOC (Index of Item
Objectives Congruence) โดยกําหนดเกณฑก์ ารพจิ ารณา คอื เหน็ วา่
สอดคล้อง ให้คะแนน +1
ไมแ่ น่ใจ ใหค้ ะแนน 0
เหน็ ว่าไม่สอดคล้อง ให้คะแนน -1
การวิเคราะห์ข้อมูลความเหมาะสมสอดคล้องของแบบสอบถามความคิดเห็นโดยใช้ดัชนี
ความสอดคลอ้ ง (IOC)
3.3 นําข้อมูลท่ีรวบรวมจากความคิดเห็นของผู้เช่ียวชาญมาคํานวณหาค่า IOC โดยใช้ดัชนี
ความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence) ของผู้เช่ียวชาญ มาคํานวณค่าดัชนี
ความสอดคล้อง แล้วเลือกค่าดัชนีความสอดคล้องต้ังแต่ 0.5 ข้ึนไป หากไม่ผ่านเกณฑ์จะดําเนินการ
ปรับปรุงหรือสร้างข้อคําถามข้อน้ันๆ ใหม่ ผลปรากฏว่ามีคุณภาพตามเกณฑ์ 7 ข้อ และไม่ผ่านเกณฑ์
3 ขอ้
4. แบบแผนการวจิ ยั
ในการวิจัยครั้งน้ี ผู้วิจัยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองเบ้ืองต้น (Pre-experimental
Design) รูปแบบที่ 2 กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว, วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The single group ,
pretest – posttest Design) (รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ , ดร.วราพร เอราวรรณ.์ 2558 : 61)
ผังการทดลอง
Ex T1 X T2
32
รูปแบบ 2 กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว, วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The single group ,
pretest – posttest Design) ประกอบด้วย กลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว มีการวัดผลก่อนการ
ทดลอง (T1) หลงั จากการจัดกระทาํ ตามโปรแกรม (X) แลว้ มีการวดั ผลหลงั การทดลอง (T2)
5. การเกบ็ รวบรวมข้อมลู
ผู้ดําเนินการวิจัย ได้ศึกษาค้นคว้าการทดลองด้วยตนเอง ใช้เวลาในการดําเนินการทดลอง
สอน 7 ช่ัวโมง ทั้งน้ีไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลงั เรียน ระยะเวลาในการทดลอง ภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2558 มลี าํ ดับขัน้ ตอนดงั น้ี
1. ทาํ การทดสอบก่อนเรยี นด้วยแบบทดสอบผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นคอมพวิ เตอร์ทส่ี ร้างขน้ึ
2. ดําเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยทําการสอนจํานวน 7
สปั ดาห์ ๆ ละ 1 ชวั่ โมง ๆ ละ 1 แผน รวม 7 ชัว่ โมง
ตารางที่ 3-3 ตารางการเก็บรวบรวมขอ้ มูลกับกลุม่ เปา้ หมาย
แผนการจัดการเรยี นรู้ วัน เดอื น ปี จํานวนชั่วโมง
1
1. โปรแกรมไมโครซอฟต์เอก็ เซล 5 มกราคม 2559 1
2. การพมิ พข์ อ้ ความหรือข้อมูลทเ่ี ป็น 12 มกราคม 2559 1
ตัวเลข และการแทรกภาพ 1
1
3. การแทรก การลบคอลมั นแ์ ละแถว 19 มกราคม 2559 1
4. การผสานเซลลแ์ ละจัดรปู แบบเซลล์ 26 มกราคม 2559 1
7
5. การตกแต่งตาราง 2 กุมภาพนั ธ์ 2559
6. การคาํ นวณเบื้องตน้ โดยใช้ตารางการ 9 กมุ ภาพันธ์ 2559
ทํางานเอ็กเซล
7. การสร้างแผนภูมิเพือ่ การนําเสนอข้อมลู 16 กมุ ภาพนั ธ์ 2559
รวม
3. หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครบทุกเนื้อหาแล้ว ให้นักเรียนทํา
แบบสอบถามความพึงพอใจตอ่ การเรยี น
4. ใหน้ ักเรียนทําการทดสอบหลงั เรียนดว้ ยแบบทดสอบผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นคอมพวิ เตอร์
6. การจัดกระทําขอ้ มูลและการวเิ คราะหข์ อ้ มลู
1. วิเคราะหห์ าประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรยี นรูโ้ ดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ือง
การใชง้ านโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ชั้นประถมศกึ ษาปที ี่ 6
2. วิเคราะห์หาดัชนปี ระสทิ ธิผลของแผนการจัดกจิ กรรมการเรียนรโู้ ดยใชป้ ัญหาเปน็ ฐาน
เร่ือง การใชง้ านโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อ็กเซล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
33
3. เปรียบเทยี บผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนกอ่ นเรียนและหลงั เรียน โดยการหารอ้ ยละ
ความกา้ วหนา้ ของคะแนนก่อนเรยี นและหลงั เรียน
4. วเิ คราะห์หาคา่ เฉล่ยี และสว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจต่อการเรียน
โดยการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้โดยใช้ปญั หาเปน็ ฐาน แลว้ นาํ ค่าเฉลยี่ มาเทยี บกับเกณฑ์ ดังน้ี
5 นกั เรียนพึงพอใจมากที่สุด
4 นกั เรียนพงึ พอใจมาก
3 นกั เรยี นพึงพอใจปานกลาง
2 นักเรียนพงึ พอใจนอ้ ย
1 นักเรยี นพงึ พอใจน้อยทสี่ ดุ
การวิเคราะห์ข้อมูลเก่ียวกับความพึงพอใจของนักเรียนท่ีมีต่อการเรียนการสอน ซึ่งสถิติท่ีใช้
เป็นค่าเฉลย่ี เลขคณติ (Mean) โดยแบง่ ระดบั ความพึงพอใจเปน็ 5 ระดับ ดงั นี้
1.00-1.50 นกั เรยี นมีความพงึ พอใจตอ่ การเรียนการสอนอยู่ในระดับน้อยทสี่ ดุ
1.51-2.50 นักเรียนมคี วามพงึ พอใจต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับน้อย
2.51-3.50 นกั เรยี นมคี วามพงึ พอใจตอ่ การเรียนการสอนอยู่ในระดบั ปานกลาง
3.51-4.50 นกั เรยี นมีความพงึ พอใจต่อการเรียนการสอนอย่ใู นระดับมาก
4.51-5.00 นกั เรยี นมคี วามพึงพอใจต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดบั มากทีส่ ดุ
7. สถติ ทิ ใ่ี ชใ้ นการวเิ คราะหข์ อ้ มลู
1. สถติ ิพน้ื ฐาน
1.1 ค่าเฉลยี่ เลขคณิต (Mean) โดยคาํ นวณจากสูตร (พรรณี ลีกจิ วฒั นะ. 2554 : 244-
245)
X=∑
เม่ือ X แทน คา่ เฉลย่ี ของคะแนน
แทน ผลรวมของคะแนนทัง้ หมด
∑ แทน จาํ นวนนกั เรียนทั้งหมด
1.2 การหาค่าเบ่ยี งเบนมาตรฐาน โดยคาํ นวณจากสตู ร (พรรณี ลีกจิ วัฒนะ. 2554 :
246-248)
. . ∑ ∑
1
เม่อื . . แทน ค่าเบ่ยี งเบนมาตรฐาน
แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
∑
34
∑ แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตวั ยกกาํ ลงั สอง
แทน จาํ นวนนกั เรยี นกลุม่ เป้าหมาย
2. สถติ ิท่ีใชใ้ นการวิเคราะหข์ ้อมูล
2.1 การหาค่าความเทยี่ งตรงเชงิ เน้อื หา โดยใชส้ ตู รดัชนีความสอดคลอ้ ง (IOC : Index
of Item Objective Congruence) (พรรณี ลกี ิจวัฒนะ. 2554 : 195)
IOC R
N
เม่ือ IOC แทน ดัชนคี วามสอดคลอ้ งระหวา่ ขอ้ สอบ
กับผลการเรยี นร้ทู ีค่ าดหวัง
R แทน ผลรวมของคะแนนความคิดเหน็ ของผเู้ ช่ียวชาญทง้ั หมด
N แทน จาํ นวนผู้เช่ยี วชาญท้ังหมด
2.2 การหาประสทิ ธิภาพของแผนการจัดการเรยี นร้ทู ่มี ีประสทิ ธภิ าพตามเกณฑ์ 80/80
ดําเนินการคํานวณหาประสทิ ธภิ าพ (E1/E2)
การหาคา่ ประสิทธภิ าพของกระบวนการ (E1) (บญุ ชม ศรสี ะอาด และคณะ. 2558:125-
126)
∑
สตู ร
เมือ่ แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ
∑ แทน ผลรวมของคะแนนนักเรียนทไ่ี ดจ้ ากการวัดระหว่างเรียน
แทน คะแนนเตม็ ของแบบวดั ระหวา่ งเรยี น
แทน จาํ นวนนักเรยี น
การหาคา่ ประสทิ ธภิ าพของผลลพั ธ์ (E2) ∑
สูตร
เมอ่ื แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากคะแนนเฉลี่ยของการทํา
แบบทดสอบหลังเรยี นของนกั เรียนท้งั หมด
∑ แทน คะแนนรวมของผลลพั ธห์ ลังเรยี น
แทน คะแนนเตม็ ของการสอบหลังเรยี น
แทน จํานวนนกั เรยี น
35
2.3 การหาดัชนปี ระสิทธิผล (E.I.)
สูตร . .
เมอื่ แทน ผลรวมของคะแนนก่อนเรยี นของนักเรียนทุกคน
แทน ผลรวมของคะแนนหลงั เรยี นของนกั เรยี นทุกคน
แทน ผลรวมของจาํ นวนนกั เรียนกบั คะแนนเตม็
บทที่ 4
ผลการศกึ ษา
การนําเสนอผลการศึกษางานวิจยั เพื่อวัดจุดประสงค์การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
เพื่อพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ เร่ืองการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล
ระดับช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร ต.ขม้ิน อ.เมือง จ.สกลนคร ผู้วิจัยได้
วเิ คราะห์ข้อมูลและนําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของตารางประกอบการบรรยาย โดยแบ่งการ
นําเสนอออกเปน็ 4 ตอน ดงั น้ี
ตอนที่ 1 ผลการวิเคระห์หาค่าประสิทธิภาพ ของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ใหม้ ปี ระสทิ ธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
ตอนท่ี 2 ผลการวิเคระหห์ าค่าประสทิ ธผิ ล ของแผนการจดั การเรียนรโู้ ดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ตอนท่ี 3 ผลการวิเคราะห์เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อน
และหลงั เรยี น
ตอนที่ 4 ผลการวิเคระห์หาค่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ รูปแบบการเรียนการสอน
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
36
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพ ของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ให้มี
ประสิทธภิ าพตามเกณฑม์ าตรฐาน 80/80
ตารางที่ 4-1 ตารางแสดงข้อมูลคะแนนนักเรียนในระดับชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6
นกั เรยี น คะแนน แผนท่ี 1 ผลการทดสอบระหวา่ งเรียน คะแนนชนิ้ งาน / ภาระงาน รวม คะแนน
คนท่ี แบบทดสอบ (เตม็ 5) (35) แบบทดสอบ
กอ่ นเรยี น แผนท่ี 2 แผนที่ 3 แผนที่ 4 แผนที่ 5 แผนที่ 6 แผนที่ 7 หลังเรยี น
(เต็ม 5) (เตม็ 5) (เตม็ 5) (เต็ม 5) (เตม็ 5) (เตม็ 5)
(20) (20)
1 7 4 4 3 4 4 3 4 26 15
2 9 5 5 4 5 4 3 5 31 17
3 8 4 3 3 4 5 5 4 28 16
4 9 5 4 5 3 3 3 4 27 16
5 9 3 4 4 5 5 4 5 30 18
6 8 5 5 4 3 3 5 3 28 17
7 7 4 5 4 5 3 3 5 29 17
8 7 4 3 5 4 5 3 3 27 17
9 8 5 3 3 4 4 5 5 29 18
10 8 4 5 5 5 4 4 3 30 17
11 7 4 5 3 3 5 5 4 29 16
12 7 3 4 4 4 4 4 4 27 17
13 8 5 3 5 4 4 3 3 27 16
14 7 3 3 3 4 5 4 5 27 17
15 10 4 5 5 3 4 4 3 28 18
16 7 5 4 3 4 4 5 3 28 17
17 8 3 3 4 5 4 3 5 27 16
18 8 4 5 3 4 4 5 3 28 17
19 7 3 4 4 5 5 4 4 29 17
รวม 149 77 77 74 78 79 75 75 535 319
̅ 7.84 4.05 4.05 3.89 4.11 4.16 3.95 3.95 28.16 16.79
S.D. 0.90 0.78 0.85 0.81 0.74 0.69 0.85 0.85 1.30 0.79
ร้อยละ 39.21 81.05 81.05 77.89 82.11 83.16 78.95 78.95 80.45 83.95
37
จากตารางท่ี 4-1 นํามาวเิ คราะหห์ าคา่ ประสทิ ธภิ าพ ของแผนการจัดการเรยี นรู้ ดังน้ี
∑ 100 ∑ 100
535 100 319 100
19 19
20
35
2,815.79 1,678.95
35 20
80.45 83.95
ดงั นน้ั แผนการจดั การเรยี นร้ทู ่สี ร้างขึน้ จงึ มีประสทิ ธิภาพ (E1/E2) เท่ากบั 80.45/83.95
ซ่งึ สูงกว่าเกณฑท์ ตี่ ้งั ไว้
ตอนท่ี 2 ผลการวิเคระห์หาค่าประสทิ ธผิ ล (E.I.) ของแผนการจดั การเรียนรู้โดยใช้ปญั หาเป็นฐาน
ตารางที่ 4-2 แสดงคะแนนของแบบทดสอบกอ่ นเรยี นและหลังเรียน
นักเรียนคนที่ คะแนนแบบทดสอบก่อนเรยี น คะแนนแบบทดสอบหลงั เรียน
(20) (20)
17 15
29 17
38 16
49 16
59 18
68 17
77 17
87 17
98 18
10 8 17
11 7 16
12 7 17
13 8 16
14 7 17
38
ตารางที่ 4-2 แสดงคะแนนของแบบทดสอบกอ่ นเรียนและหลงั เรยี น (ตอ่ )
นักเรียนคนท่ี คะแนนแบบทดสอบกอ่ นเรียน คะแนนแบบทดสอบหลงั เรียน
(20) (20)
15 10 18
16 7 17
17 8 16
18 8 17
19 7 17
รวม 149 319
จากตารางท่ี 4-2 นาํ มาแทนค่าในสตู ร
. .
. . 319 149
19 20 149
. . 170
231
. . 0.7359
ดงั น้นั ดชั นีประสิทธิผลของการเรียนดว้ ยแผนการจัดการเรยี นรู้ มีคา่ เท่ากับ 0.7359
หรือคิดเปน็ ร้อยละ 73.59
ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลัง
เรยี น
ตารางที่ 4-3 แสดงรอ้ ยละความก้าวหน้าของแบบทดสอบก่อนเรยี นและหลังเรียน
นักเรยี นคนที่ คะแนนแบบทดสอบ คะแนนแบบทดสอบ ร้อยละความกา้ วหนา้
กอ่ นเรียน (20) หลังเรยี น (20)
17 15 40.00
29 17 40.00
38 16 40.00
49 16 35.00
39
ตารางที่ 4-3 แสดงร้อยละความก้าวหน้าของแบบทดสอบกอ่ นเรยี นและหลังเรยี น (ต่อ)
นกั เรยี นคนที่ คะแนนแบบทดสอบ คะแนนแบบทดสอบ ร้อยละความกา้ วหน้า
กอ่ นเรยี น (20) หลงั เรียน (20)
59 18 45.00
68 17 45.00
77 17 50.00
87 17 50.00
98 18 50.00
10 8 17 45.00
11 7 16 45.00
12 7 17 50.00
13 8 16 40.00
14 7 17 50.00
15 10 18 40.00
16 7 17 50.00
17 8 16 40.00
18 8 17 45.00
19 7 17 50.00
รวม 149 319 ̅ = 44.74
จากตารางที่ 4-3 พบวา่ คะแนนรวมทไ่ี ด้จากการทดสอบหลังเรียนมคี า่ มากกว่าคะแนน
ทดสอบกอ่ นเรียน โดยมคี า่ เฉล่ยี ของรอ้ ยละความกา้ วหน้าอยทู่ ่ี 44.74
ตอนที่ 4 ผลการวิเคระห์หาค่าความพึงพอใจของนักเรียนท่ีมีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้
ปญั หาเป็นฐาน
ตารางท่ี 4-4 แสดงระดับความพงึ พอใจต่อการเรียนการสอน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
โดยการหาค่าเฉลยี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ข้อ รายการประเมนิ ระดับความพึงพอใจ 1 คา่ เฉลีย่ S.D. แปลผล
5432
1 การจัดการเรยี นรู้มีความเหมาะสมกับเนื้อหา 16 3 0 0 0 4.84 0.37 มากที่สดุ
2 การจัดการเรยี นรู้ส่งเสรมิ ใหน้ ักเรียนไดแ้ ลกเปลีย่ นความรู้ 17 2 0 0 0 4.89 0.32 มากทีส่ ุด
ความคิด
3 การจดั การเรยี นรู้สง่ เสรมิ การคิดและตัดสนิ ใจ 15 2 2 0 0 4.68 0.67 มากที่สุด
4 การจดั การเรียนรทู้ าํ ให้นักเรยี นมีโอกาสแสดงความ 14 4 1 0 0 4.68 0.58 มากท่ีสุด
คดิ เหน็
40
ตารางท่ี 4-4 แสดงระดับความพึงพอใจตอ่ การเรยี นการสอน โดยใช้ปญั หาเปน็ ฐาน
โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบ่ยี งเบนมาตรฐาน (ต่อ)
ขอ้ รายการประเมิน ระดับความพึงพอใจ 1 คา่ เฉลยี่ S.D. แปลผล
5432
5 การจัดการเรยี นรสู้ ง่ เสรมิ การเรียนรู้ร่วมกนั 14 2 2 1 0 4.53 0.90 มากที่สุด
6 การจัดการเรียนรทู้ ําให้นกั เรียนนําวิธกี ารเรยี นรไู้ ปใชใ้ น 13 2 3 1 0 4.42 0.96 มาก
วชิ าอนื่ ๆ
7 การจดั การเรยี นรทู้ ําใหน้ ักเรียนสามารถนาํ ไปใชใ้ น 13 2 1 2 1 4.26 1.28 มาก
ชีวิตประจาํ วนั ได้
รวม 4.62 0.73 มากท่ีสุด
จากตารางที่ 4-4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ แผนการจัดกิจกรรมการ
เรียนรูโ้ ดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน ชนั้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 6 อยูใ่ นระดับมากท่ีสดุ ( ̅= 4.62)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทสี่ ุด จาํ นวน 5 ข้อ และอยู่ใน
ระดับมาก จํานวน 2 ข้อ โดยมีค่าเฉลี่ย สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ข้อ 2 การจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้
นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิด ( ̅= 4.89) มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ข้อ
1 การจัดการเรียนรมู้ ีความเหมาะสมกบั เนอ้ื หา ( ̅= 4.84) และขอ้ 3 การจดั การเรียนรู้ส่งเสริมการ
คิดและตดั สินใจ ( ̅= 4.68) ตามลาํ ดับ
บทที่ 5
สรปุ และอภิปรายผล
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเปน็ ฐาน เร่อื งโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ระดับชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี 6 โรงเรียน
ศรีบุญเรืองวทิ ยาคาร ต.ขมิ้น อ.เมือง จ.สกลนคร ซ่งึ สรปุ ผลตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพ่ือพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็ก
เซล วชิ าคอมพวิ เตอร์ ระดับชัน้ ประถมศึกษาปที ่ี 6 ให้มปี ระสทิ ธภิ าพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ืองโปรแกรม
ไมโครซอฟต์เอก็ เซล วชิ าคอมพวิ เตอร์ ระดบั ชนั้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 6
3. เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน โดยใช้
แบบทดสอบพัฒนาทักษะคอมพวิ เตอร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล วิชา
คอมพิวเตอร์ ระดบั ชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 6
4. เพ่ือศึกษาความพึงพอใจต่อการเรยี นการพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ โดยใช้ปัญหาเปน็ ฐาน
เรอ่ื งโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อ็กเซล วชิ าคอมพิวเตอร์ ระดับชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 6
1. สรปุ ผลการวิจัย
จากการศึกษาผลของการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ในการ
เรียนการสอน ไดข้ ้อสรปุ สาํ คัญของผลการศกึ ษา ดงั น้ี
1. แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องการใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็ก
เซล วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.45/83.95 ซึ่ง
สูงกว่าเกณฑท์ ่ีตง้ั ไว้
2. แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องการใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็ก
เซล วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 มีดัชนีประสิทธิผล (EI) เท่ากับ 0.7359 หรือคิด
เปน็ ร้อยละ 73.59
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนร้อยละ
ความก้าวหน้า 44.74
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน เรอื่ งการใชง้ านโปรแกรมไมโครซอฟต์เอก็ เซล วิชาคอมพวิ เตอร์ ระดับช้ันประถมศึกษาปที ่ี 6
อยูใ่ นระดบั มากท่ีสุด ( ̅= 4.62)
42
2. อภิปรายผล
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การใช้งาน
โปรแกรมไมโครซอฟต์เอก็ เซล ของนักเรยี นระดบั ชั้นประถมศึกษาปที ่ี 6 โรงเรียนศรบี ญุ เรืองวิทยาคาร
ต.ขมิ้น อ.เมือง จ.สกลนคร โดยผู้เชี่ยวชาญ ในภาพรวมอยู่ในคุณภาพเหมาะสมระดับมาก คือมี
องค์ประกอบครบถ้วนและสัมพันธ์กัน เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ พัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม
วัตถุประสงค์ ท้ังน้ีอาจเป็นเพราะผู้เช่ียวชาญเห็นว่าแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็น
ฐาน เร่ือง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล มีประสิทธิภาพในภาพรวมร้อยละ 80.45/83.95
ซ่ึง สูงกว่าเกณฑ์ที่ต้ังไว้ ซ่ึงสอดคฎล้องกับผลการวิจัยของ ฐิตารีย์ วงศ์มังกร [2551]. ได้ศึกษา
ผลการวิจัยเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ วิชา รายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน วิชา
รายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน โดยใช้ปัฐหาเป็นฐาน (PBL) ของนักศึกษาสาขาวิชา
บัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีประสิทธิภาพ 84.42/80.85 ซึ่งสูง
กว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ กนกวรรณ แก้วชารุณ. (2553). ได้ศึกษา
ผลการเรียนรู้และการคิดวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เร่ือง การใช้
โปรแกรมคาํ นวณ ช้นั มัธยมศกึ ษาปที ่ี 3 มีคา่ ประสิทธภิ าพ 80.03/83.75 ซึง่ สงู กวา่ เกณฑ์
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การใช้
งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ของนกั เรียนระดบั ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี 6 โรงเรียนศรบี ญุ เรอื งวิทยา
คาร ต.ขม้ิน อ.เมือง จ.สกลนคร มีค่าเท่ากับ 0.7359 คิดเป็นร้อยละ 73.59 ซึ่งสอดคล้องกับ
ผลการวจิ ยั ของ ฐิตารีย์ วงศ์มังกร. (2551). ไดท้ าํ การศึกษาการพฒั นาการเรียนการสอนวิชา รายงาน
ทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน โดยวิธีการสอนแบบปัญหาเป็นฐาน (PBL) ของนักศึกษา
สาขาวิชาบญั ชี คณะวทิ ยาการจัดการ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏมหาสารคาม มีค่าดัชนีประสทิ ธิผล เทา่ กับ
0.6033 หรือคิดเป็นร้อยละ 60.33 และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ กนกวรรณ แก้วชารุณ.
(2553). ได้ศึกษาผลการเรียนรู้และการคิดวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)
เรือ่ ง การใช้โปรแกรมคํานวณ ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3 มคี ่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจดั การเรียนรู้มี
ค่าเท่ากบั 0.6547 หรือคิดเปน็ ร้อยละ 65.47
3. ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เร่ือง
การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ของนักเรียนระดับช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีบุญ
เรืองวิทยาคาร ต.ขมิ้น อ.เมือง จ.สกลนคร มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนร้อย
ละความก้าวหน้า 44.74 ซ่ึงสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ฐิตารีย์ วงศ์มังกร [2551]. ได้ศึกษา
ผลการวิจัยเพ่ือพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ วิชา รายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ
สอดคล้องกับผลการวิจัยของ ทิวาวรรณ จิตตะภาค [2552]. ได้ทําการศึกษาวิจัยเพื่อศึกษา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการส่ือสารด้วยการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบใช้ปัญหาเป็น
ฐาน โดยมผี ลสมั ฤทธ์ทิ างการเรียนวชิ าวิทยาศาสตร์หลงั เรียนสูงกว่าก่อนเรยี น
4. ความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากท่ีได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็น
ฐาน เรอื่ ง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟตเ์ อก็ เซล ของนักเรยี นระดับช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 6 โรงเรียน
43
ศรีบุญเรืองวิทยาคาร ต.ขม้ิน อ.เมือง จ.สกลนคร มีค่าเฉลี่ย และส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐานต่อการเรียน
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล ของนักเรียนระดับช้ัน
ประถมศึกษาปีท่ี 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับมากท่ีสุด ( ̅= 4.89) ซ่ึงสอดคล้องกับ ผลการวิจัยของ ดอกอ้อ รัง
โคตร. (2553). ไดท้ ําการศึกษาผลการจัดกจิ กรรมการเรยี นรวู้ ทิ ยาศาสตร์ โดยใชป้ ัญหาเปน็ ฐาน (PBL)
เรื่อง ปรากฏการณ์เก่ียวกับอากาศในชีวิตประจําวัน ช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 แล้วพบว่า ความพึงพอใจ
ต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง
ปรากฏการณ์เก่ียวกับอากาศในชีวิตประจําวันอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ
ฐิติวัฒน์ นงนุช [2556]. ได้ทําการศึกษาวิจัยถึงผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อ
การเรียนการสอนทางสภาปัตยกรรม ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยความ
พึงพอใจของนักศึกษาท่มี ตี อ่ การจัดการเรยี นการสอนแบบใชป้ ัญหาเป็นฐานอย่ใู นระดับมากที่สดุ
3. ขอ้ เสนอแนะ
3.1 ข้อเสนอแนะในการนาํ งานวิจยั ไปใช้
1. ควรศกึ ษาแนวทางพฒั นาทกั ษะทางคอมพวิ เตอร์ เพ่อื นําไปใช้ในการพฒั นาทกั ษะ
ทางคอมพิวเตอรข์ องนักเรยี นใหม้ ีทกั ษะคอมพวิ เตอรท์ ่ีดีขน้ึ
2. ควรศึกษาเทคนิควิธกี ารการเรยี นรูต้ ่างๆทสี่ ามารถส่งผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนทาง
คอมพิวเตอร์ให้มผี ลสัมฤทธท์ิ ด่ี ขี ึน้
3.2 ขอ้ เสนอแนะครง้ั ต่อไป
1. รูปแบบการเรยี นการสอนโดยใชป้ ญั หาเปน็ ฐาน (PBL) เหมาะกบั การเรยี นการสอนท่ี
ครูกําหนดปญั หา เพ่ือให้นักเรยี นเกดิ การกระตุน้ การเรียนรู้
2. รูปแบบการเรยี นการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เหมาะกับการเรยี นการสอนท่ี
ครสู ามารถแบง่ นกั เรียนเพื่อทํางานเปน็ กล่มุ และมีนักเรียนเปน็ ศนู ยก์ ลางของการเรยี นรู้
บรรณานกุ รม