ระบบชีวนิเวศ
หมายถึง ระบบชีวนิเวศบนโลกมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่
กับลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น
ซึ่งมีผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆ ระบบนิเวศ
ของสิ่งมีชีวิตในแต่ละพื้นที่ เรียกว่า ชีวนิเวศ หรือไบโอม
ระบบนิเวศของแต่ละพื้นที่มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. ป่าฝนเขตร้อน หรือป่าดิบชื้น เป็นป่าไม่ผลัดใบ
เขียวชอุ่มตลอดปี ปริมาณฝนและความชื้นสูง
อุณหภูมิเฉลี่ย 20-25 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุก
เฉลี่ย 2400 มม./ปี พบมากในเขตร้อนใกล้
เส้นศูนย์สูตร เช่น ป่าในเกาะบอร์เนียว ประเทศ
อินโดนีเซีย มาเลเซีย และภาคใต้ของประเทศไทย
ป่าเซลวาส บริเวณลุ่มแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้
และบริเวณลุ่มแม่น้ำคองโกในทวีปแอฟริกา
ป่ามีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูง
ทั้งพันธุ์พืช สัตว์ป่า นก และแมลง
2. ป่าไม้ผลัดใบ บริเวณป่าไม้ผลัดใบเขตร้อนจะผลัดใบ
ในฤดูแล้งและผลิใบใหม่ในฤดูฝน ส่วนบริเวณเขตอบอุ่น
จะผลัดใบในฤดูใบไม้ร่วงและผลิใบใหม่ในฤดูใบไม้ผลิ
มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 760-1,500 มม./ปี อุณหภูมิเฉลี่ย
15-30 องศาเซลเซียส ในเขตร้อนพบป่าเบญจพรรณ
หรือป่าเต็งรัง ซึ่งเป็นป่าโปร่งที่มีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจาย
หลายชนิด ในเขตอบอุ่นพบมากในทวีปยุโรป ออสเตรเลีย
และประเทศญี่ปุ่น พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น โอ๊ก เชสต์นัต
สัตว์ที่พบ เช่น สุนัขจิ้กจอก กวาง
3. ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น เป็นบริเวณที่มีทุ่งหญ้าปกคลุมทั่วไป
ในเขตละติจูด 10-30 องศาเหนือและใต้ ฝนตกเฉลี่ย
250-760 มม./ปี ฤดูร้อนอากาศร้อนมาก พบต้นไม้
น้อยชนิด ส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลหญ้า สูงตั้งแต่
50-200 ซม. ในทวีปอเมริกาเหนือ เรียกว่า ทุ่งหญ้าแพรรี
ทวีปอเมริกาใต้ เรียกว่า ทุ่งหญ้าปัมปัส และทวีปเอเชีย
บริเวณแมนจูเรีย ตอนใต้ของไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย
เรียกว่า ทุ่งหญ้าสเตปป์ มีธัญพืชต่างๆ และทุ่งหญ้า
ที่สมบูรณ์
4. ทุ่งหญ้าเขตร้อน มีฝนตกเฉลี่ย 700-1,500 มม./ปี
อุณหภูมิเฉลี่ย 20-30 องศาเซลเซียส มีฤดูแล้งยาวนาน
พบเป็นบริเวณกว้างในทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้
และทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย มีต้นหญ้ายาว
และมีไม้ต้น ไม้พุ่ม กระจัดกระจายหรือเป็นกลุ่มๆ
บางแห่งมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าปนป่าโปร่ง ในทวีปแอฟริกา
เรียกว่า ทุ่งหญ้าสะวันนา สัตว์ที่พบ เช่น ม้าลาย สิงโต
ควายป่า
5. เมดิเตอร์เรเนียน มีไม้พุ่มเตี้ยที่ทนอากาศแห้งแล้ง
ในฤดูร้อนได้ ฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่น และได้รับความชื้น
จากทะเล ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 650 มม./ปี พบ โดยรอบ
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันตกเฉียงใต้ของ
สหรัฐอเมริกา บริเวณทางตะวันออกเฉียงเหนือของเม็กซิโก
เรียกว่า ป่าชาปาร์รัล พบไม้พุ่ม เปลือกหนา ใบเล็ก
ผิวมัน เขียวชอุ่มตลอดปี เช่น โอ๊ก มะกอก ซีดาร์
สัตว์ที่พบ เช่น แพะป่า แกะป่า อาศัยอยู่ในป่าใกล้เชิงเขา
6. เทือกเขาสูง มีพื้นที่สูงกว่าพื้นที่ มีอากาศเบาบาง
แต่มีลมแรง บางครั้งมีหิมะปกคลุม เทือกเขาที่สำคัญ
ของโลก เช่น เทือกเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย เทือกเขาร็อกกี้
ในทวีปอเมริกาเหนือ เทือกเขาแอนดีสวนทวีปอเมริกาใต้
สัตว์ที่พบ ได้แก่ สัตว์เท้ากับสายพันธุ์ต่างๆ เช่น แพะภูเขา
จามรี พบพืชระดับล่างเป็นส่วนใหญ่ เพราะทนกับ
สภาพอากาศหนาวเย็นได้ และพบไม้พุ่มขนาดเล็ก
7. ทะเลทราย มีปริมาณฝนน้อยมาก เฉลี่ยน้อยกว่า 250 มม./ปี
กลางวันมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส ส่วนกลางคืน
มีอากาศหนาวเย็น ทะเลทรายที่สำคัญ เช่น ทะเลทรายสะฮารา
ในทวีปแอฟริกา ทะเลทรายอาหรับในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
ทะเลทรายโกบีบริเวณประเทศจีนและมองโกเลีย พืชพรรณที่พบ
เช่น พืชใบเล็ก รากแตกกระจาย ขึ้นห่างๆ กัน สัตว์ที่พบต้องทน
ความแห้งแล้งได้ เช่น อูฐ จิ้งจองทะเลทราย บางบริเวณเป็น
พื้นที่โอเอซิส ที่มีน้ำใต้ดินอยู่ตื้น จึงมีน้ำเพียงพอต่อการปลูกพืช
บางชนิด เช่น ปาล์ม อินทผลัม
8. ป่าสน หรือไทกา เป็นป่าในแถบซีกโลกเหนือที่มีสภาพ
อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิเย็นจัดถึง -40 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000 มม./ปี มีฤดูหนาวยาวนาน
และอากาศอบอุ่น ในช่วงเวลาสั้นๆ พบมากในทวีปเอเชีย
บริเวณที่ราบไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย ทวีปยุโรปตอนเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือในประเทศแคนาดา พบพืชตระกูลสน
สัตว์ที่พบ เช่น กวางมูส กวางเรนเดียร์
9. ทุนดรา เป็นทุ่งหิมะอยู่เหนือเส้นละติจูดที่ 60 องศาเหนือ
ไปจนถึงบริเวณขั้วโลก มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี อุณหภูมิ
เฉลี่ย -5 ถึง -40 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย
250 มม./ปี พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ช่วงฤดูร้อน
ฝนตกน้อย ในฤดูหนาวมีช่วงเวลากลางคืนที่ยาวนาน
พบสิ่งมีชีวิตไม่กี่ชนิด เช่น หมีขั้วโลก หมาป่าหิมะ
กวางเรนเดียร์ พืชที่พบ ไลเคน มอสส์
ความหลากหลาย
ทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ คือ การมีชนิดพันธุ์ฃอง
สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่ง
หรือระบบนิเวศใดนิเวศหนึ่ง ซึ่งมีมากมายและแตกต่าง
กันทั่วโลก
1. ความหลากหลายในชนิดของสิ่งมีชีวิต
ระบบนิเวศในธรรมชาติแต่ละแห่งประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตต่างๆ มากมายอาศัยอยู่ร่วมกัน
และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยสามารถพิจารณาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใน
ระบบนิเวศ ได้ 2 ลักษณะ คือ
1.1 จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ หมายถึง จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต
ที่อาศัยอยู่ต่อหน่วยพื้นที่ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดอาจจะมีจำนวนที่แตกต่างกันได้
1.2 สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ หมายถึง สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่พบ
และเป็นตัวแทนในระบบนิเวศ เป็นดัชนีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใน
ระบบนิเวศ บ่งบอกถึงคุณภาพของสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันไป
ตามกลไกของการเกิดระบบนิเวศ ในบางระบบนิเวศมีสัดส่วนของสิ่งมีชีวิต
ที่ไม่สมดุลและมีความแตกต่างกันมาก
2. ความหลากหลายทางชีวนิเวศวิทยา
สามารถจำแนกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
2.1 ความหลากหลายของถิ่นที่อยู่ เป็นความแตกต่างของถิ่นกำเนิด
ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
2.2 ความหลากหลายของการแทนที่ เป็นการเปลี่ยนแปลงทาง
ความหลากหลายที่เกิดจากระบบนิเวศเดิมถูกทำลายลงด้วยวิธีการต่างๆ
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งผลต่อ
ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งผลต่อภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
และทรัพยากรธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งผลต่อภูมิประเทศ
1. ภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของน้ำและแม่น้ำ ตะกอนที่เกิดจากการผุผังอยุ่กับที่และการกร่อน
จะถูกธารน้ำไหลพัดพาไปทับถมบนพื้นที่ต่างๆ ส่งผลทำให้เกิดภูมิประเทศได้หลายลักษณะ ดังนี้
1.1 ภูมิประเทศจากการกร่อนโดยน้ำ 1.2 ภูมิประเทศจากการทับถมโดยน้ำ
และแม่น้ำ และแม่น้ำ
- ร่องธาร - ที่ราบน้ำท่วมถึง
- แก่ง - คันดินธรรมชาติ
- น้ำตก - เนินตะกอนรูปพัด
- โกรกธาร - ดินดอนสามเหลี่ยม
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งผลต่อภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
และทรัพยากรธรรมชาติ
2.ภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง 3.ภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของลม
2.1 ภูมิประเทศที่เกิดจากการกร่อนโดย 3.1 ภูมิประเทศที่เกิดจากการกร่อนโดยลม
ธารน้ำแข็ง - ลาดเชิงเขา
- ยอดเขารูปพีระมิด - แอ่งลมหอบ
- หุบเขาลอย - ดาดหินทะเลทราย
2.2 ภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถมโดย 3.2 ภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถมโดยลม
ธารน้ำแข็ง - เนินทราย
- กองตะกอนธารน้ำแข็ง
- หลุมธารน้ำแข็ง
- ที่ราบเศษหินธารน้ำแข็ง
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งผลต่อภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
และทรัพยากรธรรมชาติ
4.ภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของน้ำใต้ดิน 5. ภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของคลื่นและ
4.1 ภูมิประเทศที่เกิดจากการกร่อนโดย กระแสน้ำชายฝั่ ง
น้ำใต้ดิน 5.1 ภูมิประเทศที่เกิดจากการกร่อนโดย
- หลุมยุบ คลื่นและกระแสน้ำชายฝั่ ง
- ถ้ำ - ซุ้มหินชายฝั่ ง
- ป่าช้าหินปูนหรือสุสานหิน - แหลม
4.2 ภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถมของ - หน้าผาชันชายฝั่ ง
น้ำใต้ดิน 5.2 ภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถมโดย
- ที่ราบคาสต์ คลื่นและกระแสน้ำชายฝั่ ง
- หินงอก - สันดอน
- หาด
- ลากูน
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ 1. วงโคจรของโลก 2. แกนเอียงของ 3. แกนหมุนของ
ที่ส่งผลต่อภูมิอากาศ รอบดวงอาทิตย์ โลกจะมีการ โลกจะส่ายเป็น
จะมีความรีลดลง แปรปรวนอยู่ วงคล้ายลูกข่าง
1. สาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เกิดในวัฏจักร จากการที่โลก
ที่ส่งผลต่อภูมิอากาศ ที่สำคัญเกิดจาก ประมาณ 1 แสนปี ระหว่าง 22.5 -
24.5 องศา เกิดใน หมุนช้าลง
1.1 การผันแปรวงโคจรของโลก วัฏจักรประมาณ มีวัฏจักร ประมาณ
ตามวัฏจักรมิลานโควิทช์ จะเกิด
การผันแปรวงโคจรของโลก 41,000 ปี 21,000 ปี
ใน 3 ลักษณะ ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
ที่ส่งผลต่อภูมิอากาศ
1.2 การผันแปรของรังสีจากดวงอาทิตย์ จากการเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์ ทำให้มีอุณหภูมิต่ำ
กว่าบริเวณโดยรอบ ส่งผลต่อการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์มายังโลก ทำให้อุณหภูมิบนโลกลดลง
เกิดขึ้นในวัฏจักรประมาณ 11 ปี ส่งผลต่อภูมิอากาศบนโลก
1.3 การเปลี่ยนแปลงของแก๊สเรือนกระจก จากการปะทุของภูเขาไฟที่รุนแรงทำให้เกิดแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ส่งผลทำให้เกิดยุคน้ำแข็งและยุคน้ำแข็งละลาย
หรือการเปลี่ยนแปลงภมิอากาศ
ประเภทของภูมิอากาศ
1. เขตภูมิอากาศตามค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของอากาศ การแบ่งตามขั้นพื้นฐานจากลักษณะอุณหภูมิ
ของอากาศ แบ่งได้ 5 พื้นที่ 3 เขตภูมิอากาศ ดังนี้
1. เขตภูมิอากาศที่มีฤดูหนาวสั้น
หรือเขตร้อน
2. ลักษณะภูมิอากาศแบบละติจูด
กลาง หรือเขตอบอุ่น
3. เขตภูมิอากาศที่มีฤดูร้อนสั้น
หรือเขตขั้วโลก
ประเภทของภูมิอากาศ
2. เขตภูมิอากาศตามค่าเฉลี่ยปริมาณฝน การแบ่งตามขั้นพื้นฐานจากปริมาณฝน แบ่งได้ 7
ภูมิภาค จากค่าปริมาณฝนรายปี โดยมีเส้นน้ำฝนเท่า แสดงในแผนที่ซึ่งมีค่าช่วงปริมาณฝน ดังนี้
เขตภูมิอากาศแถบเส้นศูนย์สูตร
เขตภูมิอากาศชายฝั่ งที่ได้รับลมค้า
เขตภูมิอากาศทะเลทราย
เขตภูมิอากาศกึ่งทะเลทราย
เขตภูมิอากาศแถบชื้นกึ่งร้อน
เขตภูมิอากาศชายฝั่ งตะวันตกเขตละติฉูดกลาง
เขตภูมิอากาศแถบอาร์กติกและแอนตาร์กติกา
ประเภทของภูมิอากาศ
3. การจำแนกประเภทภูมิอากาศแบบเคิปเปน ดร.วลาดิมีร์ เคิปเปน นักอุตุนิยมวิทยาชาวเยอรมัน
ได้จำแนกภูมิอากาศจากการรวมกันของลักษณะและค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิของอากาศกับหยาดน้ำฟ้า
ที่ปรากฎตามพื้นที่ โดยใช้อักษรโรมันตัวใหญ่อธิบายอุณหภูมิเป็น 5 เขตหลัก
A หมายถึง ภูมิอากาศเขตร้อน
B หมายถึง ภูมิอากาศเขตแห้งแล้ง
C หมายถึง ภูมิอากาศเขตอบอุ่น
D หมายถึง ภูมิอากาศเขตหนาว
E หมายถึง ภูมิอากาศเขตขั้วโลก
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งผลต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติ
1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งผลต่อทรัพยากรน้ำ
อุณหภูมิผิวโลกที่สูงขึ้นทำให้แผ่นน้ำแข็งและธารน้ำแข็ง
ทั่วโลกละลายลงอย่างรวดเร็ว มีการคาดการณ์ว่าระดับน้ำ
ทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 90 เซนติเมตรในอีกไม่ถึงร้อยปี และ
หากอุณหภูมิยังคงเพิ่มสูงขึ้น แผ่นน้ำแข็งที่กรีนแลนด์และ
แอนตาร์กติกาจะละลายจนหมด และจะทำให้ระดับน้ำทะเล
เพิ่มสูงขึ้นหลายเมตร
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งผลต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติ
2. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งผลต่อทรัพยากรดิน
ดินเกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวของหินและแร่
และการสลายตัวของสารอินทรีย์ วัตถุต้นกำเนิดดินสลายตัว
จากหินและแร่ ส่วนสารอินทรีย์สลายตัวได้ฮิวมัส จากนั้นวัตถุ
ต้นกำเนิดดินผสมกับฮิวมัส โดยมีพืชและสัตว์ช่วยให้กลายเป็น
ดิน ขั้นตอนของกระบวนการสร้างดินมี 2 ขั้นตอน คือ
กระบวนการสลายตัว และกระบวนการสร้างดิน
ดินเกิดขึ้ นได้ขึ้ นอยู่กับปั จจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการ
กำเนิด ได้แก่ วัตถุต้นกำเนิดดิน ลักษณะภูมิประเทศ เวลา
ลักษณะภูมิอากาศ และปัจจัยด้านชีววิทยา
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งผลต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติ
3. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งผลต่อทรัพยากรพืชพรรณ
มีสาเหตุสำคัญพอสรุปได้ 4 ประการ ได้แก่
1. ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา
2. ปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอย่างรุนแรง
3. ปัจจัยจากการกระทำของมนุษย์
4. ปฏิกิริยาของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อแหล่งที่อยู่อาศัย
การแทนที่ของสิ่งมีชีวิต
การแทนที่ของสิ่งมีชีวิต เป็นการเปลี่ยนแปลงของชนิดหรือชุมชนในระบบนิเวศตามกาลเวลา
การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ คือ การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในพื้นที่ที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
มาก่อนเลย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
การแทนที่บนพื้นที่ว่างเปล่าบนบก การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในแหล่งน้ำ
การแทนที่ของสิ่งมีชีวิต
2. การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นทุติยภูมิ เป็นการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่เคยมีสิ่งมีชีวิตอยู่ก่อนแล้ว
แต่ถูกทำลายหรือรบกวนถิ่นที่อยู่ เช่น ในพื้นที่ที่พืชถูกกำจัดและการถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติ
เช่น ไฟป่า