The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แบบนำเสนอผลงานด้านการจัดการเรียนรู้ พร้อมภาคผนวก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 6081107014, 2022-04-15 08:01:05

แบบนำเสนอผลงานด้านการจัดการเรียนรู้ พร้อมภาคผนวก

แบบนำเสนอผลงานด้านการจัดการเรียนรู้ พร้อมภาคผนวก

แบบนาเสนอผลงานดา้ นการจัดการเรียนรู้
ชื่อเรื่อง : การจดั การเรียนรูต้ ามแนวสะเตม็ ศกึ ษาในระบบออนไลน์
ช่อื เจา้ ของผลงาน : นางสาวปัทมา จันทร์สง่ แสง
โรงเรยี นฝึกประสบการณ์ : โรงเรียนทงุ่ สง

๑. บทสรปุ
การจัดการเรียนรู้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ของ

นักเรยี นชน้ั มธั ยมศึกษาปที ี่ ๖/๗ เรือ่ ง แรงพยุง ก่อนและหลงั ได้รบั การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาใน
รูปแบบออนไลน์ ๒) เพอื่ เปรียบเทยี บผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นฟสิ กิ ส์ของนกั เรยี นชนั้ มัธยมศกึ ษาปที ่ี ๖/๗ เร่ือง
แรงพยุง หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษากับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๖๐ และ ๓) เพื่อ
ศึกษาเจตคติทางวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ในรูปแบบออนไลน์ของ
นกั เรยี นชนั้ มัธยมศึกษาปีที่ ๖/๗ โรงเรยี นโรงเรยี นทงุ่ สง ซง่ึ ผลการจดั การเรยี นร้ตู ามแนวทางสะเต็มศึกษาเป็น
ดังน้ี

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๗ สูงกว่าก่อนการจัดการ
เรยี นรู้อยา่ งมีนัยสาคญั ทางสถิติทร่ี ะดับ ๐.๐๑

2. ผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนวิชาฟสิ กิ สข์ องนักเรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี ๖/๗ หลงั ได้รบั การจัดการเรยี นรู้
ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในรูปแบบออนไลน์กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๖๐ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติท่ี
ระดับ ๐.๐๑

3. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี ๖/๗ หลังได้รับการจัดการ
เรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในรูปแบบออนไลน์มีค่าเฉลี่ยเป็น ๔.๓๓ และค่าเบ่ียงเบนมาตรฐานเป็น
๐.๐๗๗ ซึ่งอยู่ในระดับมาก
๒. ที่มาของการพัฒนาสื่อนวัตกรรม

ในยุคปัจจุบันวิทยาศาสตร์มีบทบาทความสาคัญอย่างย่ิงกับทุกคน วิชาวิทยาศาสตร์จึงเป็น วิชาที่
มงุ่ เนน้ พฒั นาทกั ษะและทัศนคติ ทักษะการคดิ ทักษะการแก้ปญั หานวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการ
สื่อสาร และคา่ นยิ มทางเทคโนโลยี ความเชือ่ ม่ันในตนเอง ความยืดหยนุ่ การจงู ใจตนเอง และความตระหนักใน
สภาพแวดลอ้ ม โดยแนวทางการจดั การศกึ ษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 มาตรา 22
ระบุว่าการจัดการศกึ ษาต้องยดึ หลักวา่ ผเู้ รยี นทกุ คนมีความสามารถเรียนรแู้ ละพัฒนาตนเองได้และถอื ว่าผเู้ รียน
มีความสาคญั ทสี่ ุดซ่งึ การพฒั นาหลักสตู ร สสวท. เน้นการใชก้ ระบวนการสืบเสาะหาความรู้แต่กาหนดแนวใน
การทากิจกรรมค่อนข้างมาก นักเรียนได้มีโอกาสฝึกคิดตามลงมือปฏิบัติออกแบบบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์
ข้อมลู เอง ดังนน้ั ทุกคนจึงจาเปน็ ต้องเน้นกระบวนการจัดการเรียนรทู้ ี่พฒั นานกั คิด นักแก้ปัญหา และกาหนด
สิ่งท่ตี ้องเรียนรู้เก่ียวกับวทิ ยาศาสตรไ์ ว้ คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยีมงุ่ หวังใหผ้ ูเ้ รียนได้
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ท่ีเน้นการเช่ือมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสาคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์

ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาท่ีหลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ
เรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทากิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลาก หลาย เหมาะสมกับระดับช้ัน
(สานกั งานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2560) แต่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ นั้น
ตามท่ผี ูบ้ รหิ ารระดบั สูงของกระทรวงศึกษาธกิ ารได้ร่วมประชุมหารือเร่ืองการเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา
๒๕๖๔ เน่ืองจากสถานการณโ์ ดยรวมการแพร่ระบาดของโรคตดิ เชอ้ื ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ อาจจะมคี วามรุนแรง
มากขน้ึ และจะกระทบต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จากสถานการณ์ท่ีกล่าวมาข้างต้นทาให้ผู้เรียน
จะตอ้ งเข้าเรียนในรูปแบบของการจดั การเรยี นการสอนแบบออนไลน์

จากสภาพการจดั การเรยี นรวู้ ิชาวิทยาศาสตร์ในรูปแบบออนไลน์ของนักเรียนไม่ประสบความสาเร็จ
เทา่ ทคี่ วร ดงั ผลการประเมินตามสภาพจริงของครพู บวา่ นักเรยี นมีความรคู้ วามเข้าใจในรายวิชาฟิสิกส์ แต่ขาด
ความสนใจในการเรียนการสอนและอีกท่ังผูเ้ รยี นยังขาดการลงมอื ปฏิบัตกิ จิ กรรมต่างๆในการเรียน ส่งผลให้มี
ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นตา่ ซึ่งเป็นตัวบง่ ช้ีว่านกั เรียนขาดความรู้ ความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์ และจากการ
สัมภาษณ์นักเรียนโรงเรียนทุ่งสง สายเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ที่เรียนในรายวิชาฟิสิกส์ พบว่า เมื่อ
นักเรยี นไดเ้ รยี นในรูปแบบการจดั การเรยี นการสอนแบบออนไลนใ์ นรายวิชาฟิสกิ สน์ ั้นเปน็ เรื่องไกลตวั มองเปน็
วิชาท่ยี ากต่อการทาความเข้าใจและคิดว่าไม่สามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ ทาให้ขาดแรงบันดาลใจใน
การเรียน เมื่อความสนใจลดลงส่งผลต่อความรู้สึกท่ีต้องการแสวงหาความรูทางวิทยาวิทยาศาสตร์และ
พฤติกรรมท่เี กิดขึ้นจากการแกปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ซ่ึงเจตคตทิ างวิทยาศาสตรข์ องนกั เรียน อาจเปน็ เหตุผล
หน่ึงทที่ าใหน้ กั เรียนมีผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นตา่

สาเหตทุ ี่ผู้เรยี นมผี ลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นวิชาวทิ ยาศาสตรต์ า่ อาจมีสาเหตุมาจากหลายประการ เช่น
สาเหตุจากครู ได้แก่ การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูยังคงเน้นการถ่ายทอดเน้ือหาตามตาราเรียน โดยยึด
ครูผู้สอนเป็นหลัก สอนไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียน ไม่มีเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย ขาดการ
พัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีท่ีทันสมัย ไม่มีการส่งเสริมให้นักเรียนขวนขวายหาความรู้ด้วย
กระบวนการแสวงหาความร้ดู ว้ ยตนเอง (สานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2, 2560)
สว่ นสาเหตจุ ากผู้เรียนคอื นกั เรยี นขาดเป้าหมายในการเรียนรู้ ขาดการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ขาด
การลงมอื ปฏบิ ตั กิ ิจกรรม ขาดแรงบันดาลใจในการเรียน ขาดความคดิ สรา้ งสรรค์ ขาดความสามารถในการนา
ความรูไ้ ปใช้ในชีวติ ประจาวันและยังขาดความเข้าใจในวิชานัน้ อย่างแท้จริง อาศัยการท่องจาในการทาข้อสอบ
อย่างไรกต็ ามสาเหตหุ ลักท่มี ีผลต่อผลสมั ฤทธ์ิ คือ รปู แบบการจัดการเรียนรขู้ องครผู ู้สอน

การจัดกจิ กรรมการเรียนรู้สะเตม็ ศึกษาในรูปแบบออนไลน์ เปน็ การจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้
ใน ๔ สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนาความรู้ไปใช้
แก้ปญั หาในชวี ติ จริง รวมทัง้ การพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิตและ
การทางาน สร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฎเหล่าน้ันผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่ (สถาบันการสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ๒๕๖๐) ซ่ึงกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ ๖
ข้ันตอนของศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ (ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ) ดังนี้ ๑) ระบุปัญหา (Problem
Identification) เป็นการทาความเข้าใจปัญหา วิเคราะห์เง่ือนไขหรือข้อจากัดของสถานการณ์ปัญหาเพ่ือ

กาหนดขอบเขตของปญั หา ซ่ึงจะนาไปสู่การสร้างช้ินงานหรือวิธีการในการแก้ปัญหา ๒) รวบรวมข้อมูลและ
แนวคิดท่ีเกี่ยวข้องกับปัญหา (Related Information Search) เป็นการรวบรวมข้อมูลและแนวคิดทาง
วิทยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ และเทคโนโลยีท่ีเกยี่ วข้องกบั แนวทางการแก้ปญั หาและประเมินความเปน็ ไปไดข้ อ้ ดี
และข้อจากัด ๓) ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design) เป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลและแนวคิดท่ี
เกี่ยวข้องเพ่ือการออกแบบช้ินงานหรอื วิธกี ารในการแก้ปญั หาโดยคานงึ ถึงทรัพยากร ขอ้ จากัดและเงื่อนไขตาม
สถานการณ์ที่กาหนด ๔) วางแผนและดาเนนิ การแก้ปัญหา (Planning and Development) เป็นการกาหนด
ลาดับข้นั ตอนของการสร้างช้นิ งานหรือวิธีการ แล้วลงมอื สรา้ งช้นิ งานหรอื พฒั นาวธิ ีการเพ่อื ใช้ในการแก้ปัญหา
๕) ทดสอบ ประเมนิ ผล และปรับปรุงแก้ไข วธิ กี ารแกป้ ัญหาหรือช้ินงาน (Testing, Evaluation and Design
Improvement) เป็นการทดสอบและประเมนิ การใชง้ านของชนิ้ งานหรือวิธีการ โดยผลทไ่ี ด้อาจนามาใช้ในการ
ปรับปรุงและพัฒนาใหม้ ปี ระสิทธภิ าพอย่างเหมาะสมทส่ี ดุ ๖) นาเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือ
ช้ินงาน (Presentation) เป็นการนาเสนอแนวคิดและขั้นตอนการแก้ปัญหาของการสร้างช้ินงานหรือการ
พัฒนาวธิ กี ารใหผ้ อู้ น่ื เข้าใจและได้ข้อเสนอแนะเพอื่ การพัฒนาตอ่ ไป

จากเหตผุ ลดงั กล่าวผวู้ ิจยั จึงสนใจพัฒนาผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนวชิ าฟิสิกส์ของนักเรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษา
ปีที่ ๖/๗ โรงเรียนทุ่งสง หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการ
เรียนรู้ตามแนวทางสะเตม็ ศกึ ษาหรอื ไม่อยา่ งไร ผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนวชิ าฟสิ กิ สข์ องนกั เรียนของนักเรยี นช้นั
มธั ยมศึกษาปีท่ี ๖/๗ โรงเรยี นทงุ่ สง หลังไดร้ บั การจดั การเรียนรตู้ ามแนวทางสะเตม็ ศกึ ษาสูงกว่าคะแนนเฉล่ีย
รอ้ ยละ ๖๐ หรอื ไม่อย่างไร เจตคตทิ างวทิ ยาศาสตรข์ องนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๗ โรงเรียนทุ่งสง หลัง
ได้รับการจัดการเรยี นรู้ตามแนวสะเตม็ ศึกษามมี ากนอ้ ยเพียงใด อันจะเป็นแนวทางในการยกระดับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาฟสิ กิ ส์
๓. วตั ถปุ ระสงค์ของการพฒั นาสือ่ นวัตกรรม

๑) เพอ่ื เปรยี บเทยี บผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นฟิสกิ สข์ องนกั เรยี นชั้นมธั ยมศึกษาปีท่ี ๖/๗ เร่อื ง แรงพยงุ

กอ่ นและหลงั ได้รบั การจัดการเรยี นรตู้ ามแนวสะเต็มศึกษาในรปู แบบออนไลน์

๒) เพื่อเปรยี บเทียบผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนฟิสกิ ส์ของนกั เรยี นชั้นมัธยมศึกษาปที ่ี ๖/๗ เร่ือง แรงพยงุ

หลงั ไดร้ ับการจัดการเรยี นรู้ตามแนวสะเต็มศกึ ษาในรปู แบบออนไลน์กบั เกณฑ์คะแนนเฉล่ียรอ้ ยละ ๖๐

๓) เพือ่ ศกึ ษาเจตคติทางวทิ ยาศาสตร์หลงั ไดร้ ับการจัดการเรยี นรู้ตามแนวสะเตม็ ศกึ ษาในรปู แบบ

ออนไลน์ของนกั เรยี นชั้นมัธยมศกึ ษาปีท่ี ๖/๗

๔. ลกั ษณะ/องค์ประกอบของสือ่ นวตั กรรม
นวัตกรรมเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ท่ี ๔ ของไหล เร่ือง แรงพยุง จานวน ๑

แผน เวลา ๕ ชั่วโมง ลักษณะของนวัตกรรมเป็นการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในรูปแบบออนไลน์
ประกอบด้วยข้ันการเรียนรู้ ๓ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) สนใจใคร่รู้ ๒) ค้นดูเร่งเสาะหา และ ๓) แก้ปัญหาอย่าง
วิศวกรรม

๕. การนานวัตกรรมไปใชเ้ พ่อื ปรับปรงุ การเรียนรูข้ องผู้เรียน โดยใช้กระบวนการวิชาชีพและกระบวนการ
E-PLC และผลทไี่ ดร้ บั

๑. การสร้างทีมโดยมีสมาชกิ ในทมี ดงั นี้
Model teacher: นางสาวรัตตยิ าพนั ธ์ พธุ สุข
Buddy ๑ : นายธนศกั ดิ์ ขวญั สขุ
Mentor : นายอาทิตย์ รกั ขาว
School Admin : นายนราวุธ สุจิตะพนั ธ์ุ
Expert : ผศ.ดร.พนั ธศุ์ ักด์ิ เกิดทองมี

๒. กาหนดปัญหา
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควดิ -๑๙ นักเรยี นจาเป็นจะตอ้ งเรยี นออนไลน์ ซึ่งผลที่

ไดม้ าจากการเรียนออนไลน์นั้นทาให้นักเรียนขาดความเข้าใจในเน้ือหา ไม่สามารถที่จะนาความรู้ท่ี
เรยี นไปใช้แกป้ ัญหาในชีวิตประจาวนั ได้ อีกทงั้ ผูเ้ รียนขาดแรงบนั ดาลใจในการเรียน เนื่องจากมองว่า
วชิ าฟิสิกสเ์ ปน็ วชิ าทยี่ ากจึงสง่ ผลใหเ้ กดิ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ทีไ่ มด่ ตี ่อการเรยี นวทิ ยาศาสตร์และทา
ใหผ้ ลสัมฤทธ์ทิ างการเรียนวชิ าฟสิ กิ สต์ ่าไปดว้ ย
๓. วางแผนแกไ้ ขปญั หา

แก้ไขปัญหาด้วยวิธีการออกแบบเป็นฐาน (Design-based Learning) โดยใช้การจัดการ
เรยี นรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในระบบออนไลน์
๔. ลงมือปฏิบัตติ ามแผน

๔.๑ จดั การเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แรงพยุง โดยใช้รูปแบบการสอน
แบบสบื เสาะหาความรู้ 5E โดยมีขัน้ ตอนการสอนดังน้ี

๔.๑.๑ ขน้ั กระตุ้นความสนใจ
๔.๑.๒ ขั้นสารวจคน้ หา
๔.๑.๓ ขั้นอธิบายและลงขอ้ สรุป
๔.๑.๔ ขั้นขยายความเขา้ ใจ
๔.๑.๕ ขั้นประเมนิ ผล
๔.๒ นักเรยี นออกแบบและสร้างส่งิ ประดิษฐ์แพลอยน้าจาลอง โดยใช้กระบวนการออกแบบ
เชิงวิศวกรรม ๖ ข้นั ตอน ดังน้ี
๔.๒.๑ ขั้นระบปุ ัญหา
๔.๒.๒ ขั้นรวบรวมขอ้ มลู และแนวคดิ ที่เกย่ี วข้องกับปญั หา
๔.๒.๓ ขน้ั ออกแบบวธิ กี ารแก้ปัญหา
๔.๒.๔ ขั้นวางแผนและดาเนนิ การแกป้ ญั หา
๔.๒.๕ ข้นั ทดสอบ ประเมินผล และปรบั ปรงุ แกไ้ ข วิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน
๔.๒.๖ ขั้นนาเสนอวิธีการแก้ปญั หา ผลการแก้ปัญหาหรอื ชิน้ งาน

๔.๔ นักเรยี นสะทอ้ นการเรยี นรูส้ ่กู ารพฒั นาโดยใชก้ ิจกรรม Exit ticket
๕. สะท้อนผลหลังการปฏิบัติ

Mentor : การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในระบบออนไลน์ทาให้นักเรียน
สามารถนาความรู้ทางทฤษฎีทเี่ รียนไปใชแ้ ก้ปญั หาได้จริง ทาให้ผู้เรียนได้สรุปองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้วย
ตนเองผ่านการลงมือปฏิบัติ มีการค้นคว้าหาความรู้อย่างมีระบบ นาความรู้ท้ังทางวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี วศิ วกรรม และคณิตศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหาทเ่ี กดิ ในชีวติ ประจาวัน อกี ท้ังนักเรยี นเกิด
ความสุข สนุกสนานในการเรยี นรูแ้ ละทากจิ กรรมจึงเป็นการจัดการเรียนรู้ท่ีสามารถสร้างเจตคติที่ดี
ทางวิทยาศาสตร์ใหแ้ กผ่ เู้ รยี นไดอ้ ีกดว้ ย

Buddy : เปน็ การจดั การเรียนรู้ท่สี นุกสนาน ผเู้ รยี นมีความสนใจในการลงมือปฏิบัติมากกว่า
การเรยี นแบบบรรยายและคานวณ ผู้เรียนตน่ื เต้นและกระตือรือร้นมากกวา่ เดิม และแสดงออกถึงเจต
คตทิ างวทิ ยาศาสตรท์ ด่ี ขี น้ึ อยา่ งเห็นไดช้ ัด
๖. ผลทไี่ ด้จากการใช้ส่ือนวัตกรรมทพ่ี ฒั นาขน้ึ
๑. นักเรยี นมีผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรยี นวชิ าฟสิ ิกส์ เรื่อง แรงพยงุ หลังไดร้ บั การจัดการเรยี นรูต้ ามแนวสะ
เตม็ ศกึ ษาในรปู แบบออนไลน์ศกึ ษาสงู กว่ากอ่ นการจัดการเรียนรู้อย่างมนี ัยสาคัญทางสถติ ทิ ีร่ ะดับ ๐.๐๑
๒. นกั เรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นวชิ าฟสิ กิ ส์ เร่ือง แรงพยุง หลงั ไดร้ บั การจดั การเรยี นรูต้ ามแนวสะ
เตม็ ศึกษาในรูปแบบออนไลน์สูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๖๐ อย่างมีนัยสาคญั ทางสถิตทิ ่รี ะดับ ๐.๐๑
๓. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี ๖/๗ หลังได้รับการจัดการ
เรยี นรู้ตามแนวสะเต็มศกึ ษาในรูปแบบออนไลน์มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๓ และค่าเบ่ียงเบนมาตรฐาน ๐.๐๗๗ ซ่ึงอยู่ใน
ระดบั มาก
๗. ปัจจัยความสาคัญ/ปัญหา/อปุ สรรคการพฒั นาและการใช้นวตั กรรม
๗.๑ นกั เรยี นใหค้ วามร่วมมอื ความสนใจ ตัง้ ใจใฝ่รู้ และกระตือรือรน้
๗.๒ ผูส้ อนมคี วามรูค้ วามเข้าใจ ต้ังใจ และเสยี สละเวลาส่วนตัว
๗.๓ ครูพเ่ี ล้ียงใหค้ าแนะนา ชแี้ นวทาง สนับสนุนในการทางาน
๗.๔ ความพรอ้ มของอปุ กรณ์เทคโนโลยี
๗.๕ เวลาที่ใช้ในการจดั การเรียนรู้
8. แนวทางการพฒั นาในอนาคต
8.1 ผู้สอนสามารถนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในรูปแบบออนไลน์บูรณาการกับ
รายวชิ าอน่ื ๆ ได้
8.2 ผู้สอนสามารถศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้กับตัวแปรอื่น เช่น ทักษะกระบวนการทาง
วทิ ยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เปน็ ตน้
8.3 ผ้สู อนสามารถนาการจดั การเรียนรตู้ ามแนวทางสะเตม็ ศกึ ษาในรูปแบบออนไลน์สอดแทรกรว่ มกบั
การจดั การเรยี นรู้แบบสบื เสาะหาความรู้ 5E ท่ใี ช้ในการสอนในแตล่ ะคาบได้

9.ภาคผนวก
9.1 ชิน้ งานแพลอยน้าจาลอง

9.2. ภาพกิจกรรมการพฒั นาสื่อและการใช้นวตั กรรม
นักเรียนระบุปญั หาจากสถานการณท์ ่กี าหนดให้

นักเรยี นรวบรวมขอ้ มลู และแนวคิดท่ีเกย่ี วข้องกับปัญหา
นกั เรยี นออกแบบวิธกี ารแก้ปญั หา/วางแผนและดาเนินการแกป้ ัญหา โดยใหน้ กั เรยี นทาชิ้นงานแล้วมานาเสนอ

นกั เรียนทดสอบ ประเมนิ ผล และปรับปรงุ แก้ไขวิธีการแก้ปญั หาหรอื ชิ้นงาน

นักเรยี นนาเสนอวิธกี ารแกป้ ญั หา ผลการแก้ปญั หาหรอื ชิน้ งาน
นกั เรยี นสะทอ้ นการเรยี นรสู้ ู่การพฒั นาโดยใช้กิจกรรม Exit ticket โดยใชแ้ อป Mentimeter

9.3 แผนการจัดการเรยี นรู้หนว่ ยท่ี 4 เร่อื ง เลนส์








































Click to View FlipBook Version