ให้
LAWสินบน
นางสาวสุนิสา อ่อนพรหม
รหัสนิสิต 641081373 กลุ่ม S104
วิชาอาญา ภาคความผิด
มาตรา 144
ให้สินบนเจ้าพนักงานทั่วไป มาตรา 143
มาตรา 167 เรียกทรัพย์สินเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน
ให้สินบนเจ้าพนักงานในการยุติธรรม
มาตรา 149
เจ้าพนักงานทั่วไป เรียก รับ สินบน
มาตรา 201
เจ้าพนักงานในการยุติธรรม เรียก รับ สินบน
คำนำ
เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการ
เรียนการสอนในรายวิชาอาญา ภาคความผิด ซึ่งเป็นรายวิชาใน
หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะ
นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ เนื้อหาของเอกสารประกอบการสอน
ฉบับนี้ ประกอบด้วย การให้และรับสินบน ทั้งนี้ผู้เขียนได้อธิบาย
เนื้อหาแต่ละหัวข้อ และนำเสนอตัวอย่าง ประกอบเพื่อให้
ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ โดยในแต่ละตัวอย่างจะมีการแสดงขั้นตอน
แต่ละขั้นตอนอย่าง ละเอียด เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านสามารถที่จะ
นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและสามารถศึกษาด้วย ตนเองได้ หวัง
เป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะอำนวยประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่ มากก็
น้อย
ขอขอบพระคุณบิดา-มารดาที่ทำให้มาถึงจุดตรงนี้ ครูบา
อาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชา ความรู้แก่ข้าพเจ้า อนึ่งหากเอกสาร
ฉบับนี้มีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ โอกาส นี้ด้วย
ผู้จัดทำ
นางสาวสุนิสา อ่อนพรหม
สารบัญ หน้า
มาตรา 143
เรียกทรัพย์สินเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน
มาตรา 144
ให้สินบนเจ้าพนักงานทั่วไป
มาตรา 167
ให้สินบนเจ้าพนักงานในการยุติธรรม
มาตรา 149
เจ้าพนักงานทั่วไป เรียก รับ สินบน
มาตรา 201
เจ้าพนักงานในการยุติธรรม เรียก รับ สินบน
เรียกทรัพย์สินเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน
มาตรา 143 ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์
อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจ
หรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิก
สภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาลโดยวิธีอันทุจริตหรือผิด
กฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตนให้กระทำการ หรือไม่กระทำ
การในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ
องค์ประกอบ
• 1. เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพ
ย์สินหรือประโยชน์ เพียงเรียก
ก็ผิดสำเร็จ
• 2. สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
-ผู้อื่นจะเป็นใครก็ได้ ขณะเรียกจะตั้งใจเอาไปให้ผู้อื่นจริง
หรือไม่ไม่สำคัญ
• 3. เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐสมาชิกสภาจังหวัด
หรือสมาชิกสภาเทศบาล
• 4. โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของ
ตนเอง
• 5. ในกระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือ
เป็นโทษแก่บุคคลใด
• 6. เจตนา
• -เรียก คือ เรียกร้องให้ผู้อื่นให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ เพียง
เรียกก็ผิดสำเร็จ
• - รับ คือ รับเอาที่ผู้อื่นเสนอให้ หรือรับเอาตามที่ตนเองเรียก
• - ยอมจะรับ คือ ยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ผู้อื่นเสนอ
ให้แต่ยังไม่ได้รับ
• - ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ประโยชน์อื่นใดคือสิ่งที่ไม่ใช่
ทรัพย์สินแต่เป็น คุณแก่ผู้รับ
การจะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงานฯลฯ
จะต้องกระทำโดยวิธีที่กำหนด คือ
• 1. โดยวิธีอันทุจริต
• 2. โดยวิธีอันผิดกฎหมาย
• 3. โดยอิทธิพลของตน
-ให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือโทษแก่บุคคลใด คือ
ให้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ถูกไม่ควรหรือปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่
-ให้ไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือโทษแก่บุคคลใดคือ
จะจูงใจหรือได้จูงใจให้ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ถูกที่ควร
-ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลในการเรียกรับหรือยอมะรับ
ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
-ต้องรู้ด้วยว่าเขาได้ให้เป็นการตอบแทนการที่ตนจะจูงใจหรือได้
จูงใจเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2562
ความผิดฐานเรียก รับหรือยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์
อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะ
จูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีอันทุจริตหรือผิด
กฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 143 เป็นความผิดต่อแผ่นดิน
พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนในความผิดดังกล่าวได้เอง
โดยไม่จำต้องอาศัยคำร้องทุกข์หรือการมอบคดีจากผู้เสียหาย
แม้ผู้เสียหายจะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยก็ไม่มีอำนาจร้อง
ทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น
หามีผลกระทบต่ออำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน ซึ่ง
สามารถดำเนินการสอบสวนความผิดตามมาตรา 143 ได้โดย
ชอบไม่ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว ต่อมา
พนักงานอัยการเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความ
ผิดฐานร่วมกันเรียก รับเงิน และมีคำสั่งให้แจ้งข้อหาเพิ่มเติม
เมื่อได้มีการแจ้งข้อหาดังกล่าวแก่จำเลยทั้งสามเพิ่มเติม ถือได้
ว่าคดีในความผิดตามมาตรา 143 ได้มีการสอบสวนโดยชอบ
แล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ.
มาตรา 120
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันเรียกและรับเงิน
9,000,000 บาท ไปจากผู้เสียหายเป็นการตอบแทนในการ
ที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งอดีตประธานศาลฎีกา
และประธานศาลฎีกาโดยวิธีอันทุจริต ให้กระทำการตาม
หน้าที่โดยยกเลิกคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ตัดสินให้ จ.
เป็นฝ่ายแพ้คดี และมีคำสั่งใหม่ให้ จ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ที่ดินได้ เป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิด
ตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว ส่วนจำเลยทั้งสามจะได้ไปจูงใจ
เจ้าพนักงานในตำแหน่งอดีตประธานศาลฎีกาและประธาน
ศาลฎีกาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ จ. หรือไม่ หา
ใช่องค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 ไม่ แม้คดีดัง
กล่าวถึงที่สุดไปก่อนที่จำเลยทั้งสามจะร่วมกันเรียกและรับ
เงินจากผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยทั้งสามไม่สามารถจูงใจเจ้า
พนักงานในตำแหน่งอดีตประธานศาลฎีกาและประธาน
ศาลฎีกาให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ จ. ได้ก็ตาม ก็ไม่
ทำให้การกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดเพราะ
ขาดองค์ประกอบความผิดไปแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2554
การที่จำเลยเรียกและรับเงินไปจากผู้เสียหายเพื่อเป็นการ
ตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงาน
อัยการโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมายเพื่อให้กระทำการในหน้าที่
โดยการช่วยเหลือในทางคดีให้สั่งไม่ฟ้องในคดีที่ ร. ถูกดำเนิน
คดีอาญาแม้อัยการ ธ. จะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนในคดีนั้นและ
จำเลยยังมิได้ให้เงินกันก็ตามก็ถือว่า ธ. เป็นเจ้าพนักงานที่
จำเลยจะจูงใจให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่ ร. แล้ว
การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 143 แล้ว
ความผิดฐานเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินเพื่อให้เจ้า
พนักงานกระทำการตาม ป.อ. มาตรา 143 ไม่ใช่ความผิดต่อ
สาธารณชน แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง โจทก์ร่วมจึง
มิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย จึงไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ . ๒๗๑๔/๕๓๖
จำเลยกับพวกเรียกเงินจากผู้เสียหายโดยบอกว่าจะเอาไป
ให้ พล.ต.ท. ส. เป็นค่าตอบแทนในการที่จะให้บุตรชายของผู้
เสียหายบรรจุเข้าเป็นตำรวจ โดยไม่ต้องสอบ เงินดังกล่าวเป็น
ค่าตอบแทนอะไรผู้เสียหายไม่ทราบ เป็นเรื่องที่จำเลย นำไป
จัดการ ต่อมาบุตรชายไม่ได้เข้ารับราชการตำรวจ ดังนี้ การที่ผู้
เสียหายมอบเงิน ให้จำเลย เป็นเรื่องยังไม่แน่ชัดว่าผู้เสียหายให้
เงินไปเพื่อให้จำเลยกับพวกนำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้
กระทำการใดโดยวิธีการอันทุจริตหรือผิดกฎหมาย อันเป็นคุณ
แก่บุตรชายของผู้เสียหาย จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้ร่วมกับ
จำเลยและพวกนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงาน ผู้เสียหายยัง
เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ ดำเนินคดี
แก่จำเลยกับพวกได้
ความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงาน มาตรา 144
มาตรา 144 “ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำ
การ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบความผิด
หลักเกณฑ์หรือองค์ประกอบของความผิด
1. ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้
2. ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
3. แก่เจ้าพนักงาน
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ (สส. สว.)
- สมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) หรือ
- สมาชิกสภาเทศบาล (สท.)
4.เพื่อให้การกระทําไม่กระทำการ หรือ ประวิง
การกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย (เจตนาพิเศษ)
5. โดยเจตนา (เจตนาธรรมดา)
ให้ หมายความว่า การให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้า
พนักงาน และเจ้าพนักงานได้รับเอาไว้แล้ว
ประโยชน์อื่นโด หมายถึง ประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ลักษณะที่เป็น
ทรัพย์สิน เช่น การฝากให้ทำงาน ยกลูกสาว ให้แต่งงานด้วย
สมาชิก อบต. ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานงานความหมายในประมวล
กฎหมายอาญา เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้อย่างนี้ สมาชิก อบต.จึง
ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายของข้อที่ 2
หลักเกณฑ์ของข้อ4 (เจตนาพิเศษ)
1. เอกระทำการอบด้วยกฎหมาย
2. เคือไปกระทําการอันชอบด้วย
3. เพื่อประการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย
ประวิงการกระทำ หมายถึง การทำให้ช้าลง
โดยเจตนา หมายความว่า จ่าเลยกระทำจะต้องรู้ว่า บุคคลที่จำเลย
ให้ทรัพย์สินไปนั้น เป็นเจ้าพนักงาน หรือกลุ่ม 3 ส.
(สส.สว. + สจ. + สท.) ถ้าหากจำเลยผู้กระทำไม่รู้ ย่อมถือว่าขาด
เจตนา เมื่อขาดเจตนาแล้วย่อมไม่ผิด
เพื่อ ในกฎหมาย หมายความว่า เป็นเจตนาพิเศษ เป็นความผิด
สำเร็จเกิดขึ้น จากตัวอย่างข้างต้น จำเลยมีความผิดสำเร็จแล้ว
ตั้งแต่เมื่อจำเลย “ให้”
ขอให้ หมายถึง การเสนอจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้า
พนักงานในอนาคต
รับว่าจะให้ หมายถึง การที่เจ้าพนักงานมาเรียกร้องเอา
ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด และจำเลยผู้กระทำ ความผิดรับ
ว่าจะให้
ให้สินบนเจ้าพนักงาน ม. ๑๔๔
• การให้ทรัพย์สินมีมูลเหตุจูงใจในการให้ เพื่อทำหรืออไม่ทำใน
สิ่งที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่
• ผู้ให้สินบนอาจเป็นเจ้าพนักงานก็ได้ แต่ไม่มีหน้าที่โดยตรงใน
เรื่องนั้นๆ เช่น เป็นตำรวจโรงพักเดียวกัน แต่ไม่ได้รับผิดชอบ
คดี แล้วให้ทรัพย์สิน แก่ร้อยเวรเจ้าของคดีเพื่อกระทำไม่ชอบ
ด้วยหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2529
ข้อความในจดหมายที่จำเลยเขียนถึงบ.พนักงานสอบสวนมี
ลักษณะขอร้องให้บ.ช่วยเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาให้คดีเสร็จเด็ด
ขาดไปในชั้นสถานีตำรวจโดยไม่ต้องให้คดีถึงศาลเท่านั้น เพื่อทั้ง
ฝ่ายผู้ต้องหาและฝ่ายเจ้าพนักงานตำรวจจะได้ไม่เสียเวลาและ
เป็นการประหยัดเพราะจำเลยมีความเห็นว่าไม่ว่าจะชั้นศาลหรือชั้น
สถานีตำรวจก็ถูกลงโทษปรับเหมือนกัน จึงไม่พอแปลความหมาย
ได้ว่าจำเลยขอให้หรือรับว่าจะให้เงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
แก่บ.เพื่อจูงใจไม่ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาดังกล่าว อันจะเป็นความ
ผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 144,167
ฎีกาที่ 2221/2519
จำเลยเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทเมืองทองการก่อสร้าง
จำกัด ได้มอบเงินจำนวน 50,000 บาท แก่นายกเทศมนตรี
เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอนุญาตให้
ทำการก่อสร้างอาคารในเขตเทศบาล เพื่อจูงใจให้นายกเทศมนตรี
อนุมัติให้จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยเร็ว ทั้งที่เรื่องราวหลักฐาน
การขออนุญาตปลูกสร้างอาคารยังไม่เรียบร้อยพอที่จะอนุญาตได้
อันเป็นการมิชอบด้วยหน้าที่ จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 144
ฎีกาที่ 3096/2552
จำเลยทั้งสองไปติดต่อกับดาบตำรวจ ช. เพื่อขอให้ช่วยเหลือ พ.
กับพวก โดยเปลี่ยนข้อหาจากเดิมข้อหาร่วมกันมีแมทแอมเฟตามีน
ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเป็นข้อหาร่วมกันมีเมท
แอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเสนอให้เงิน
70,000 บาท ย่อมเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ขอให้ทรัพย์สินเพื่อ
จูงใจให้ดาบตำรวจ ช. ไปดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชากระทำการ
อันมิชอบด้วยหน้าที่ เมื่อพันตำรวจตรี ต. ผู้บังคับบัญชาของดาบ
ตำรวจ ช. ทราบความประสงค์ของจำเลยทั้งสองจากดาบตำรวจ
ช.และวางแผนจับกุมโดยตอบตกลงและนัดหมายให้นำเงินมอบให้
และจับกุมได้พร้อมเงินของกลาง จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ขอให้
ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. และพันตำรวจตรี ต. เพื่อจูงใจให้กระทำ
การอันมิชอบด้วยหน้าที่อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144โจทก์
ฟ้องว่า ดาบตำรวจ ช. ได้จับกุม พ. กับพวก ในความผิดฐานร่วมกัน
จำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และควบคุมตัวส่งพนักงาน
สอบสวน จำเลยทั้งสองให้ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. ซึ่งเป็นเจ้า
พนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการปล่อยตัว พ. กับพวกซึ่งเป็นการ
กระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่
แต่ในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสองกระทำการเพื่อจูงใจให้
ดาบตำรวจ ช. ดำเนินการช่วยเหลือพ.กับพวกโดยเปลี่ยนข้อหาให้
เบาลง ก็มิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ทั้งนี้เพราะไม่ว่าจะเป็นการ
ให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ปล่อยตัวหรือเปลี่ยนข้อหาก็ล้วนแต่
เป็นการจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเป็นความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 144 เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมมี
อำนาจที่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่พิจารณาได้ความนั้นได้
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2547
การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมผู้กระทำผิดมีหน้าที่ต้องเบิก
ความต่อศาลตามความสัจจริงในระหว่างเป็นพยานในคดีที่ผู้
กระทำความผิดถูกฟ้อง เป็นหน้าที่อย่างเดียวกับประชาชนทั่วไป
หาใช่เป็นหน้าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจากที่เป็นเจ้าพนักงานผู้
จับกุมผู้กระทำความผิดไม่ หน้าที่ที่ต้องเบิกความตามความสัจ
จริงจึงไม่เป็นการกระทำการในหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดย
เฉพาะ แม้จำเลยจะให้และรับว่าจะให้เงินแก่ร้อยตำรวจโท ท. กับ
พวก เพื่อจูงใจเจ้าพนักงานดังกล่าวเบิกความผิดไปจากความ
จริง ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144
ให้สินบนเจ้าพนักงานในการยุติธรรม
มาตรา 167 ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์
อื่นใด แก่เจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ ผู้ว่า
คดีหรือพนักงานสอบสวน เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ
หรือประวิงการกระทำใดอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำ
คุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
หลักเกณฑ์หรือองค์ประกอบของความผิด
1. ให้ ขอให้ หรือ รับว่าจะให้
2. ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
3. แก่เจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี
หรือพนักงานสอบสวน
4. เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือ ประวิงการกระทำ
ใดอันมิชอบด้วยกฎหมาย
5. โดยเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2529
ข้อความในจดหมายที่จำเลยเขียนถึง บ.พนักงานสอบสวน
มีลักษณะขอร้องให้ บ.ช่วยเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาให้คดี
เสร็จเด็ดขาดไปในชั้นสถานีตำรวจโดยไม่ต้องให้คดีถึงศาล
เท่านั้น เพื่อทั้งฝ่ายผู้ต้องหาและฝ่ายเจ้าพนักงานตำรวจจะได้
ไม่เสียเวลาและเป็นการประหยัด เพราะจำเลยมีความเห็นว่า
ไม่ว่าจะชั้นศาลหรือชั้นสถานีตำรวจก็ถูกลงโทษปรับเหมือน
กันจึงไม่พอแปลความหมายได้ว่าจำเลยขอให้หรือรับว่าจะให้
เงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ บ. เพื่อจูงใจไม่ให้ดำเนิน
คดีแก่ผู้ต้องหาดังกล่าวอันจะเป็นความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 144, 167
เจ้าพนักงานเรียก รับสินบน
มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่ง
รัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือ
ยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
โดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดใน
ตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวาง
โทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับ
ตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต
หลักเกณฑ์หรือองค์ประกอบของความผิด
1. เป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา
จังหวัด หรือ สมาชิกสภาเทศบาล
2. เรียก รับ หรือ ยอมจะรับ ทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อื่นใด
สำหรับตนเอง หรือผู้อื่น โดยมิชอบ
3. เพื่อกระทำการ หรือ ไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง
ไม่ว่าการนั้นจะชอบ หรือไม่ชอบด้วยหน้าที่ (เจตนาพิเศษ)
4. โดยเจตนา (เจตนาธรรมดา)
เรียก หมายถึง การที่เจ้าพนักงานแสดงเจตนาให้ผู้เสียหาย ส่ง
ทรัพย์สิน หรือท่าประโยชน์อื่นใดให้ แต่เจ้า พนักงานยังไม่ได้รับ
รับ หมายถึง การที่ผู้เสียหายให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่
เจ้าพนักงาน และเจ้าพนักงานได้รับ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ไว้
แล้ว
การกระทำของเจ้าพนักงานสรรพสามิต มีความผิดตาม
มาตรา 149 ลักษณะการกระทำ “เรียก” จากหลักเกณฑ์ข้อที่ 3
(เจตนาพิเศษ) มี 2 ประการคือ
1. เพื่อกระทำการ ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยหน้าที่ ก็มี
ความผิด
2. ไม่กระทำการ ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยหน้าที่ ก็มี
ความผิด
ยอมจะรับ หมายความว่า การที่ผู้เสียหายเสนอจะให้ทรัพย์สิน
หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน และเจ้า พนักงานตกลง
ยอมจะรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2561
กฎหมายวิธีสบัญญัติ เมื่อมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย
แล้วผูกพันใช้บังคับแก่คู่ความทันที ดังนั้น แม้ขณะเกิดเหตุ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่อาจทำการไต่สวน แต่ขณะที่ผู้เสีย
หายกล่าวหาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ดำเนินการ
สอบสวนเอาผิดแก่จำเลย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า
ด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มีผล
ใช้บังคับแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. ย่อมมีอำนาจไต่สวน
ตามมาตรา 19 (4) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานรับเงิน 3,000,000บาท จาก ป.
ในตำแหน่งโดยมิชอบด้วยหน้าที่ เพื่อช่วยเหลือให้ ป. ไม่ต้อง
ถูกย้ายออกจากจังหวัดขอนแก่นการกระทำของจำเลยจึง
ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149 แม้ภาย
หลังจำเลยจะไม่กระทำอย่างใดในตำแหน่งเพื่อช่วยเหลือ ป.
หรือไม่ก็ตาม ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ขณะที่จำเลย
รับเงินดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13650/2558
แม้ก่อนบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าทำงานในเทศบาล
ตำบลหนองปล่อง จำเลยจะมิได้เกี่ยวข้องหรือมีอำนาจหน้าที่
ในการสอบคัดเลือก ควบคุมการสอบ การตรวจข้อสอบ และ
การให้คะแนนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีอำนาจออกคำสั่งเกี่ยวกับ
การบรรจุและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลหรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับ
การบริหารงานบุคคลของเทศบาล ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ระเบียบ
บริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 23 วรรคท้าย
ประกอบมาตรา 15 การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นส่วน
หนึ่งของการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลซึ่งเป็นอำนาจ
หน้าที่ของจำเลย เมื่อจำเลยเรียกเงินและรับเงินจำนวน
330,000 บาท จาก ป. เพื่อช่วยเหลือให้ น. บุตร ป. เข้าทำงาน
เป็นพนักงานเทศบาลตำบลหนองปล่อง จำเลยจึงเป็นเจ้า
พนักงานผู้มีหน้าที่ออกคำสั่งเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้ง
พนักงานเทศบาลตำบลหนองปล่องเรียกและรับทรัพย์สิน
สำหรับตนเองโดยมิชอบแล้วกระทำการในตำแหน่งเพื่อช่วย
เหลือ น. ให้เข้าทำงานเป็นพนักงานเทศบาลตำบลหนองปล่อง
อันเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ครบองค์ประกอบของ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149 แล้ว
เจ้าพนักงานในการยุติธรรม เรียก รับ ทรัพย์สิน
มาตรา 201 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ
พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน เรียก รับ หรือ
ยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
โดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง
ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่ง
แสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต
หลักเกณฑ์หรือองค์ประกอบของความผิด
1. เป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี
หรือพนักงานสอบสวน
2. เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด สำหรับ
ตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
3. เพื่อกระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง
ไม่ว่าการนั้นจะชอบ หรือไม่ชอบด้วยด้วยหน้าที่
4. โดยเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2532
จำเลยบอกให้ ล. ลงลายมือชื่อแทน ท. ได้ ล. จึงปลอม
ลายมือชื่อ ท. ลงในคำร้องขอประกัน แล้วจำเลยร่วมกับ ล.ขอ
ประกันตัว อ.ผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยใช้โฉนดที่ดินของท.เป็น
หลักทรัพย์ เสนอต่อพันตำรวจตรี ช.จนพันตำรวจตรีช.อนุญาต
ให้ประกันตัว อ. ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐาน
ร่วมกันทำเอกสารปลอมกระทงหนึ่ง และฐานใช้เอกสารปลอมอีก
กระทงหนึ่งและการที่จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนมีหน้าที่เสนอ
ความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกัน อ. ทั้ง
ๆ ที่รู้ว่าล. ปลอมลายมือชื่อ ท. ผู้ขอประกัน จำเลยก็ยังเสนอความ
เห็นว่าควรให้ประกัน อ. ทั้งจำเลยยังรับทรัพย์สินสำหรับตนเอง
โดยมิชอบเพื่อกระทำการให้ อ. ได้รับประกันตัวไป การกระทำ
ของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
157 และ มาตรา 201 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2532
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนมีหน้าที่เสนอความเห็นต่อผู้
บังคับบัญชาเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกัน อ. ทั้งๆ ที่รู้ว่าล.
ปลอมลายมือชื่อ ท. ผู้ขอประกัน จำเลยก็ยังเสนอความเห็นว่า
ควรให้ประกัน อ. ดังนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยรับทรัพย์สินสำหรับตนเองเพื่อกระทำให้ อ. ได้รับ
ประกันตัวไป ดังนี้เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 201ด้วย.