The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nurhuda Uma, 2023-03-10 10:01:31

การศึกษาพิเศษ

การศึกษาพิเศษ

การศึกษาพิเศษ D I S A B L E D C H I L D Thompson olivia PREPARED FOR


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำ หรับคน พิการ พ.ศ. 2551 ได้กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ ทางการ ศึกษาสำ หรับคนพิการไว้ว่า คนพิการมี สิทธิได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่ แรกเกิดหรือพบความ พิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำ นวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทาง การ ศึกษา และมีสิทธิเลือกบริการทางการศึกษา สถาน ศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำ นึงถึง ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และความ ต้องการจำ เป็นของบุคคลนั้น รวมถึงได้รับการ ศึกษาที่มี มาตรฐานและประกันคุณภาพการ ศึกษา การศึกษาพิเศษ


ความหมายของการศึกษาพิเศษ สำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ( 2535,15) ได้ กล่าวถึง การศึกษาพิเศษว่าเป็นการศึกษา ที่มุ่งให้ผู้เรียนที่มี ความบกพร่องทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ ได้เรียนรู้ อย่างเหมาะสมกับสภาพ ร่างกาย จิตใจ และความสามารถ และเป็นการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ หรือมีปัญญา เลิศ ได้พัฒนาความถนัดและอัจฉริยภาพของ ตนได้อย่างเต็มที่ การจัดการศึกษาพิเศษนี้อาจเป็นสถานศึกษา เฉพาะ หรือจัดในสถานศึกษาปกติตั้งแต่ระดับก่อนประถม ศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา สรุปได้ว่า การศึกษาพิเศษ หมายถึง การจัดการศึกษาส ำ หรับเด็กที่มี ความต้องการพิเศษทางการศึกษาทุกประเภท อันได้แก่ เด็กที่มีความ บกพร่อง ทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เด็กที่มี ความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เด็กที่มีความ บกพร่องทางการ พูดและภาษา เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและ อารมณ์ เด็กที่มี ความบกพร่องทาง สติปัญญา เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เด็กออ ทิ สติก และเด็กพิการซ้อน รวมถึงเด็กที่มีความสามารถพิเศษ หรือเด็ก อัจฉริยะ ซึ่งการจัดการศึกษาแบบปกติไม่สามารถพัฒนาให้เด็กพิเศษ เกิดการเรียนรู้เต็มศักยภาพได้ จึงต้องมีการจัดการศึกษาพิเศษ โดย การจัดหลักสูตร รูปแบบ วิธีการสอน จุดประสงค์การเรียนรู้ เทคนิค การ สอน เทคโนโลยี สื่อ อุปกรณ์สิ่งอ ำ นวยความสะดวก สภาพ แวดล้อม การวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจ ำ เป็นที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล


ปรัชญาการศึกษาพิเศษในปัจจุบัน การจัดการศึกษาพิเศษในต่างประเทศไม่ว่าประเทศใดย่อมตั้งอยู่บนรากฐานของ ความเชื่อเกี่ยวกับการ จัดการศึกษาว่า 1 ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการที่จะได้รับบริการทางการศึกษา มีสิทธิเท่า เทียม ในการที่จะได้รับการศึกษาไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนพิการหรือปกติก็ตาม 2 ในสังคมมนุษย์ เราไม่สามารถแยกคนพิการออกจากสังคมได้ เพราะคนพิการ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม 3 ควรมุ่งเน้นที่ความสามารถ ความสำ เร็จ ความดีเด่นของเด็กพิเศษมากกว่าที่จะเพ่ง เล็งไปที่ความพิการของเด็ก 4 เด็กพิเศษควรได้รับการศึกษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเป็นการ ป้องกันมิ ให้ความบกพร่องนั้นเลวร้ายไปกว่าเดิม 5 การศึกษาพิเศษควรจัดให้สนองความต้องการของเด็กพิเศษแต่ละคน เนื่องจาก ความพิการมีมากน้อยไม่เหมือนกันจึงเป็นการศึกษาลักษณะเฉพาะบุคคล (Individualization) 6 การศึกษาพิเศษควรมุ่งให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง ยอมรับตนเอง มีความเชื่อมั่นใน ตนเอง 7 การจัดการศึกษาพิเศษ ควรมุ่งการฝึกอาชีพด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เด็กพิเศษสามารถ ออกไปประกอบสัมมาอาชีพ และหาเลี้ยงตนได้ ปรัชญาและแนวคิดทางการศึกษาพิเศษ


เด็กพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้ 1.เด็กที่มีความสามารถพิเศษ 2.เด็กที่มีความบกพร่อง 3.เด็กยากจนและด้อยโอกาส การจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทย


1. ศูนย์การศึกษาพิเศษ เป็นศูนย์บริการช่วยเหลือระยะ แรกเริ่ม ( Early Intervention) ฟื้นฟูเตรียมความพร้อม เด็กพิการทุกประเภทเพื่อการส่งต่อไปยังโรงเรียนหรือสถาน บริการที่เหมาะสมกับเด็ก 2. โรงเรียนศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ เป็นโรงเรียน สำ หรับบริการแก่เด็กพิการค่อนข้างรุนแรงไม่สามารถไป เรียนกับเด็กทั่วไปได้ 3. โรงเรียนจัดการเรียนร่วม เป็นโรงเรียนปกติทั่วไปใน ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทย


การจัดการโรงเรียนร่วมมีดังต่อไปนี้ 1) เรียนร่วมชั้นเดียวกันกับเด็กปกติ ซึ่งอาจทำ ได้ 2 ลักษณะ คือ (1.1) เรียนร่วมชั้นเดียวกับเด็กปกติเต็มเวลา ดังนี้ (1.2) เรียนร่วมชั้นเดียวกับเด็กปกติในบางวิชา บางเวลา 2) เรียนร่วมโรงเรียนเดียวกับเด็กปกติ อาจทำ ได้ดังนี้ (1) จัดชั้นพิเศษในโรงเรียนปก (2) จัดอาคารเฉพาะสำ หรับเด็กพิการ (3) การศึกษานอกระบบเพื่อคนพิการ (4) การอาชีวะศึกษา (6)การอุดมศึกษา


กระทรวงศึกษาธิการได้กำ หนดวัตถุประสงค์ของการจัดการ ศึกษาพิเศษสำ หรับเด็กพิเศษในประเทศไทย ดังนี้ 1.เพื่อให้เด็กได้รับการศึกษาตามสิทธิมนุษยชนว่าด้วยสิทธิที่ จะได้รับการศึกษาตามควรแก่อัตภาพ 2.เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถที่จะประกอบอาชีพได้ เพื่อมิ ให้เป็นภาระแก่สังคม 3.เพื่อให้สามารถทำ งานร่วมกับผู้อื่นได้ และดำ รงชีวิตอยู่ใน สังคมปกติอย่างมีความสุข 4.มีความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองดีของประเทศ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทย


สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กล่าวถึง ลักษณะ ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือผิดปกติทางร่างกาย สติปัญญา และทางจิตใจ แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ9 ประเภทคือ 1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น 4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 6. เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ 7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ 8. เด็กพิการซ้อน 9. เด็กออทิสติก ประเภทของการศึกษาพิเศษในประเทศไทย


1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน 2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำ คัญ 3. ยึดพัฒนาการ และการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย 4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำ รงชีวิต และสามารถปฏิบัติตนตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจ 5. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็กระหว่าง สถานศึกษากับพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน หลักสูตรการศึกษาพิเศษ หลักสูตรสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัย สำ หรับเด็กที่มีความต้องการจำ เป็น พิเศษของศูนย์การศึกษา พุทธศักราช ๒๕๖๔ 1. 2. หลักสูตรการศึกษาพิเศษเฉพาะ หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย


วิสัยทัศน์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำ หรับเด็กที่มีความต้องการจำ เป็นพิเศษ มุ่ง พัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการ พัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา และทักษะที่จำ เป็นสำ หรับเด็กพิการ แต่ละประเภท อย่าง มีคุณภาพและต่อเนื่อง ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่าง มีความสุข และเหมาะสมตามศักยภาพ สภาพที่พึงประสงค์ สภาพที่พึงประสงค์เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถตามวัยที่ คาดหวังให้เด็กเกิดบนพื้นฐานพัฒนาการ ตามวัยหรือความ สามารถตามธรรมชาติในแต่ละระดับอายุ เพื่อนำ ไปใช้ในการ กำ หนดสาระการเรียนรู้ในการจัด ประสบการณ์และประเมิน พัฒนาการเด็กโดยมีรายละเอียดของมาตรฐาน คุณลักษณะ


จัดทำ โดย 1. นางสาวนิอัฟรัดคางา 632445020 2. นางสาวนูรฮูดา อุมา 632445024 3. นางสาวฟิรดาวส์ ซัยฟุลอิสลาม 632445032 4. นางสาวรุสดา แวฮามะ 632445038 5. นางสาวสุไฮดา หลีวัง 632445045 เสนอ ผศ.ดร. มัฮซูม สะตีแม รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา TE2406-201 การจัดการ หลักสูตรการศึกษาทางเลือกในศตวรรคที่ 21 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาการสอนภาษอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี


Click to View FlipBook Version