The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

งานวิจัยในอุทยานแห่งชาติหาดวนกร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Forestry Research Center, 2021-08-21 07:53:38

งานวิจัยในอุทยานแห่งชาติหาดวนกร

งานวิจัยในอุทยานแห่งชาติหาดวนกร

งานวจิ ยั ในอุทยานแหง่ ชาตหิ าดวนกร

สถานวี ิจยั และฝกึ นสิ ิตวนศาสตร์หาดวนกร จังหวัดประจวบคีรีขนั ธ์

ศนู ยว์ ิจยั ป่าไม้
คณะวนศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

สิงหาคม พ.ศ. 2564

คำนำ

สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์หาดวนกร ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ ภูมิประเทศมีความโดดเด่นเนื่องจากมีลักษณะเป็นที่ราบริมชายฝั่งทะเลเป็นแนวยาว และมี
ทิวสนคั่นระหว่างทะเลกับบริเวณที่พัก จึงเป็นที่นิยมในการเดินทางมาพักผ่อนของนักท่องเที่ยว หรือการจัด
กิจกรรมเข้าค่าย ฝึกอบรม และสัมมนาต่างๆ นอกจากนี้สถานียังมีภารกิจกลักในการเป็นสถานที่ฝึกงานของ
นิสติ วนศาสตร์ การดำเนินงานวิจัยด้านปา่ ไม้ และการใหบ้ รกิ ารวิชาการอีกด้วย

การรวบรวมงานวจิ ยั ในพนื้ ท่ีสถานีวจิ ัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์หาดวนกรและพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาด
วนกร ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลงานวิจัยที่ผ่านมาในพื้นที่สถานีฯ และพื้นที่ใกล้เคียง
เพ่อื สนบั สนนุ การวิจยั ในอนาคต รวมถงึ เพอ่ื เปน็ ลทู่ างในการเผยแพรง่ านวิจัยในพ้ืนท่ีแกผ่ ทู้ สี่ นใจด้วย

ดร.นรินธร จำวงษ์ และ ดร.เจษฎา วงค์พรหม (ผู้รวบรวม)
ศูนยว์ จิ ยั ป่าไม้

สงิ หาคม พ.ศ. 2564



สารบญั

หนา้

คำนำ ก
สารบญั ข
การทดสอบถิ่นกำเนดิ ของไมส้ นทะเล ท่สี ถานีฝึกนิสิตวนศาสตร์ ห้วยยาง อำเภอทับสะแก 1

จงั หวดั ประจวบคีรขี นั ธ์ 3
การทดสอบความสัมฤทธ์ิผลของการใช้คู่มือสอ่ื ความหมายธรรมชาตเิ พ่อื ตอบสนอง
5
การทอ่ งเทยี่ วเชงิ นิเวศในอุทยานแหง่ ชาติหาดวนกร จังหวดั ประจวบคีรีขันธ์ 7
การออกแบบวางผังบริเวณสถานีฝึกนสิ ติ วนศาสตร์ห้วยยาง จังหวดั ประจวบครี ขี ันธ์
ความพงึ พอใจของนักท่องเท่ยี วทม่ี ีตอ่ การใหบ้ รกิ ารการท่องเท่ยี วเชิงนิเวศ 9
11
ในพืน้ ที่อุทยานแห่งชาติหาดวนกร อำเภอทับสะแก จังหวดั ประจวบครี ีขันธ์
แนวทางการพัฒนาและฟ้นื ฟูอุทยานแหง่ ชาตหิ าดวนกร จังหวดั ประจวบคีรีขันธ์ 13
ยุทธศาสตร์การพฒั นากายภาพอุทยานแห่งชาตเิ พือ่ เพิ่มศกั ยภาพในการท่องเทย่ี ว 15

ด้วยการจัดการและออกแบบสถาปตั ยกรรม 16
รูปแบบท่เี หมาะสมของการพักแรมด้วยเตน็ ท์ในอุทยานแห่งชาติ
การศกึ ษานเิ วศวทิ ยาปา่ ไม้ระยะยาวในพ้ืนที่อุทยานแหง่ ชาติ : เครอื ขา่ ยแปลง 18
19
ตัวอยา่ งถาวรในเขตร้อน ป่าชายหาด อทุ ยานแหง่ ชาติหาดวนกร 20
จงั หวดั ประจวบคีรีขนั ธ์ 21
โครงสร้างปา่ และแนวทางการฟน้ื ฟูป่าชายหาด ในอทุ ยานแหง่ ชาตหิ าดวนกร
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 23
การศึกษาเพ่อื พัฒนาการปฏิบัตทิ ี่ดีสำาหรับบ้านนกแอน่ กนิ รัง
การศกึ ษาความผันแปรของความดังเสยี งบันทึกเรยี กนกภายนอกอาคาร
ศนู ยก์ ารเรยี นรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยกี ารทำฟารม์ นกแอ่นกนิ รงั มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์
การอาบน้ำยาไม้ยางพาราตามกรรมวธิ ีจุม่ และทาโดยใช้สารคอปเปอรแ์ นปทีเนต
และสารประกอบโบรอนเพื่อปอ้ งกนั การเขา้ ทำงานของปลวก
เอกสารอา้ งอิง



การทดสอบถ่นิ กำเนดิ ของไม้สนทะเล
ทสี่ ถานีฝกึ นิสติ วนศาสตร์ ห้วยยาง อำเภอทบั สะแก จังหวัดประจวบคีรขี ันธ์
Provenance trials of Casuarina equisetifolia J.R.& G. frost at Forestry Students Field
Station, Huay Yang, Amphur Tupsakae, Changwat Prachup Khiri Khan.

ศุภสทิ ธ์ิ ชุนเชาวฤทธ์ิ (2543)
บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดให้ถิ่นกำเนิดของไม้สนทะเลเป็นสิ่งทดลอง มี 20 ถิ่นกำเนิด ประกอบด้วยไม้สน
ทะเลจากต่างประเทศ 17 ถิ่นกำเนิด และไม้สนทะเลพื้นเมืองของไทย 3 ถิ่นกำเนิด ทำการทดลองภาคสนามที่
สถานีฝึกนสิ ิตวนศาสตร์หว้ ยยาง อำเภอทบั สะแก จังหวดั ประจวบครี ีขันธ์ วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 3 ซ้ำ
โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบอัตราการรอดตาย การเจริญเติบโต และลักษณะทางสัณฐานวิทยาบาง
ประการของไม้สนทะเลต่างถิ่น

ผลการศึกษาพบว่าไมส้ นทะเลอายุ 4 ปี ซง่ึ มีระยะปลกู 3 x 3 เมตร มีอตั ราการรอดตายร้อยละ 85.93 สูง
10.39 เมตร เส้นผา่ ศูนยก์ ลางเพยี งอก 7.86 เซนตเิ มตร ปริมาตรของลำต้น 0.0275 ลกู บาศก์เมตรต่อต้น มีผลผลิต
มวลชีวภาพของลำต้น กงิ่ ใบ และมวลชวี ภาพรวมเหนือพื้นดินเท่ากบั 15.80, 4.49, 2.70 และ 23.10 กิโลกรัมต่อ
ต้น ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างถิ่นกำเนิดนั้นพบว่า เส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก ความสูง
ปริมาตรของลำต้น มวลชีวภาพของลำต้น กิ่ง ใบ และมวลชีวภาพรวมเหนือพื้นดิน ความหนาแน่นของกิ่ง ความ
ยาวและความเติบโตของใบ การออกดอก ออกผล และการถูกทำลายในบริเวณลำต้นและใบ มีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่อัตราการรอดตาย ขนาดของกิ่ง และลักษณะทางสัณฐานวทิ ยาโดยรวมมคี วามแตกต่าง
กนั อย่างไม่มนี ัยสำคัญ

จากผลดังกล่าวสามารถทำให้สรุปได้ว่า ถิ่นกำเนิดของไม้สนทะเลที่เหมาะสำหรับปลูกบนดินทราย
ชายทะเลจังหวัดประจวบคีรีขนั ธ์ ได้แก่ ถิ่นกำเนิดจากประเทศไทยทัง้ สามแหล่ง ส่วนถิ่นกำเนิดทีไ่ ม่เหมาะสมมาก
ที่สุด คอื ไม้สนทะเลจากประเทศอยี ปิ ต์และฟิจิ

1

Abstract
Provenances of Casuarina equisetifolia were considered at treatments of this investigation.

There were 20 treatments consisting of 17 exotics and 3 natives. Field experiment was carried out
at Huay Yang Forestry Students Field Station having 3 replications of RCBD. The main objective
was to compare survival rates, growth, and some morphological characteristics between
provenances.

The results showed that the 4-year-old Casuarina equisetifolia planted at 3 x 3 m spacing
had 85.93 % survival, 10.39 m height, 7.86 cm dbh leading to 0.0275 m3 stem volume. Biomass
of stem, branch, leaf and total aboveground were found to be 15.80, 4.49, 2.70, and 23.10 kg/tree,
respectively. The statistical analysis revealed that dbh, height, stem volume, stem biomass,
branch biomass, leaf biomass, total aboveground biomass, branch density, foliage length, foliage
thickness, flowering, fruiting, stem damage and foliage damage were highly, and branch angle
were significant; while survival rate, branch thickness and overall morphological characteristic
were found to be non-significant.

Based on such results, the findings suggested that three provenances from Thailand were
suitable for this planting site, but Casuarina equisetifolia provenances from Egypt and Fiji were
not recommended due to their poor performances.

2

การทดสอบความสัมฤทธผ์ิ ลของการใชค้ ู่มือส่ือความหมายธรรมชาตเิ พือ่ ตอบสนองการทอ่ งเที่ยวเชิงนเิ วศ
ในอุทยานแห่งชาติหาดวนกร จังหวดั ประจวบคีรขี ันธ์

Achievement test to the nature interpretation guidebook for responding ecotourism in
Had Wanakorn National Park, Prachuap Khiri Khan Province.
สกุ จิ รัตนวิบลู ย์ (2546)

บทคดั ย่อ
วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาครั้งนี้คือ การทดสอบความสัมฤทธิ์ผลของการใช้คู่มือสื่อความหมาย

ธรรมชาติที่ผ่านการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอุทยานแห่งชาติหาดวนกร จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบความรู้ด้านธรรมชาติวิทยา
ชายหาด สัมภาษณ์และทดสอบความรู้นักท่องเที่ยวตัวอย่าง จำนวน 50 ราย ซึ่งประกอบด้วยนักเรียนช้ัน
มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย นักศึกษา ปวช. ปวส. และผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและ
สูงกว่า เท่ากับ 9, 9, 9, 18 และ 5 ราย ตามลำดับ การทดสอบความสัมฤทธิ์ผลของการใช้คู่มือสื่อความหมาย
ธรรมชาติ ทำได้โดยการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบก่อนและหลังการใชค้ ู่มือฯของนักท่องเที่ยว
ตัวอย่างในแต่ละกลุ่มระดับการศึกษาและนักท่องเที่ยวกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด การทดสอบเพื่อหาความแตกต่าง
ระหวา่ งคะแนนเฉลี่ยดังกลา่ วใชว้ ิธี t-test

ผลการศึกษาชี้ใหเ้ ห็นว่า คะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบความรู้หลังการใช้คู่มอื ฯ สูงกว่าคะแนนเฉลีย่ ท่ี
ได้ก่อนการใช้คู่มือฯ ในทุกกลุ่มระดับการศึกษา และทุกกลุ่มการศึกษารวมกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
นักท่องเที่ยวมีความเห็นว่า คู่มือสื่อความหมายธรรมชาติมีคุณภาพอยู่ในระดับที่พอใจ และได้ให้ข้อเสนอแนะใน
การปรับปรุงคู่มือสือ่ ให้มีคุณภาพดียิ่งขึน้ ว่า ควรเพิ่มเนื้อหาและรูปภาพประกอบทางด้านสมุทรศาสตร์ ป่าไม้ สัตว์
บก และสัตวืนำ้ ทีพ่ บในอุทยานแหง่ ชาตหิ าดวนกร

3

Abstract
The principal objective of this study was to examine the achievement of the peer

interpretative guidebook for ecotourism in Had Wanakorn National Park, Prachuap Khiri Khan
Province. The using data was gathered by employing the designed questionnaires and examination
paper in natured science of Wanakorn Beach interviewed and tested 50 sampled tourists which
included students who studying in secondary school, pre-university school, vocational school and
high vocational school, and ones who ones who graduated bachelor’s degree and higher of 9, 9,
9, 18 and 5 respectively. The achievement of the interpretative guidebook for ecotourism was
tested by comparison between the average score obtained before and after using the guidebook
of each group of educational level and all.

Results of the study indicated that the average score obtained after using the guidebook
of every mentional group was significantly higher than the former one with the statistical
significance level of 0.01. Moreover, the respondents recognized that the guidebook was qualified.
In addition, they provided the suggestion for improving the guidebook that the text and pictures
about oceanology, forest tree, sea and in land animals found in Wanakorn National Park should
be increased.

4

การออกแบบวางผังบริเวณสถานีฝกึ นิสติ วนศาสตรห์ ว้ ยยาง จงั หวดั ประจวบคีรีขนั ธ์

Site planning and design for Huayyang Forestry Student Training Station,
Prachuap Khiri Khan Province.

สุรพงศ์ โอวรารนิ ท์ (2546)

บทคดั ย่อ

สถานฝี กึ นิสติ วนศาสตร์ห้วยยาง เปน็ สถานฝี กึ งานสำหรับนิสติ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ท่ีก่อตัง้ มาต้ังแตป่ ี พ.ศ. 2535 ต้ังอยูท่ ่ี อำเภอทบั สะแก จังหวดั ประจวบคีรขี นั ธ์ มีพน้ื ท่ี 351 ไร่ ภายในพ้นื ทย่ี ังไม่ได้
รับการออกแบบวางผังบริเวณเพื่อจัดระบบการใช้พื้นท่ีให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนขาดการ
ออกแบบสภาพภูมิทัศน์ของพื้นที่ให้สวยงาม กลมกลืนกับธรรมชาติและสอดคล้องกับกิจกรรมการใช้ประโยชน์
ต่างๆ สถานีฝึกนิสิตวนศาสตร์ห้วยยางมีพื้นที่ด้านแคบติดกับทะเล มีป่าสนปลูกเรียงขนานไปตามแนวชายหาด
สภาพพื้นที่โดยรวมเป็นพื้นที่ราบ เดิมมีนิสิตเข้ามาใช้พื้นที่เป็นจำนวน 170 คนต่อปี สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ฝึกอบรม
ของนสิ ิตและเป็นสถานท่ีพักผ่อนหยอ่ นใจ

ในการศึกษาครง้ั นี้ ไดท้ ำการออกแบบวางผังบริเวณโดยมีแนวคิดในการออกแบบเพื่อเนน้ การอนุรักษ์พื้นที่
แบ่งเขตการใช้พื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนที่พักอาศัย ประกอบด้วย บ้านพักรวม 6 หลัง บ้านพัก
เจา้ หนา้ ที่ 3 หลงั บ้านพกั นักท่องเท่ียว 4 หลงั ได้แยกส่วนทพ่ี ักสำหรับผู้เขา้ ฝกึ อบรมกับนักท่องเทยี่ วให้เป็นสัดส่วน
ชัดเจน สามารถรองรับนสิ ติ ฝึกงานได้ 200 คน มบี า้ นพักสำหรับรองรบั นักท่องเท่ยี วได้ 28 คนตอ่ วัน ส่วนท่ี 2 ส่วน
ฝึกอบรม ประกอบดว้ ย อาคารเรยี น 1 หลงั สว่ นท่ี 3 สว่ นพักผอ่ นและนันทนาการ ประกอบดว้ ย บริเวณปิกนิก จุด
กางเต็นท์ สนามกีฬา จุดต้งั แคม้ ป์ไฟ สวนรุกขชาติ และสว่ นที่ 4 สว่ นบริการ ประกอบดว้ ย อาคารอำนวยการ โรง
อาหาร ร้านขายของ ที่จอดรถ และส่วนบำรุงรักษา โดยไม่อนุญาตให้รถยนต์ของนักท่องเที่ยวเข้ามาในส่วน
ธรรมชาติคอื บรเิ วณชายหาดและสว่ นท่พี ักอาศัย เพือ่ ความสงบและเป็นการอนุรักษ์พื้นที่

มีพื้นที่กางเต็นท์ได้ 13 เต็นท์ การออกแบบอาคารให้มีความกลมกลืนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอาคาร
เดิม การปลูกต้นไม้ ออกแบบให้ปลูกเฉพาะบริเวณที่มีการพัฒนาใหม่เกิดขึ้น ส่วนพื้นที่ริมทะเลและพื้นที่ป่าสน
สมบูรณ์ไม่มีการนำต้นไม้ใหม่เขา้ ไปปลกู มีการก่อสร้างสวนรุกขชาติ เลือกปลูกพันธ์ุทอ้ งถิ่นในเขตภาคใต้ เพื่อเป็น
สถานที่ศกึ ษาหาความรู้ของนิสติ และบุคคลภายนอกทเ่ี ขา้ มาใช้พืน้ ที่

5

Abstract
Huayyang Forestry Student Training Station is a training station for students from Faculty

of Forestry, Kasetsart University. It was founded in 1992, to use the area efficiently located in
Tapsakae district, Prachup Khiri Khan. It encompasses 351 rais. No planning, neither non landscape
design has been done to accommodate activities. The Huayyang Forestry Student Training Station
has its narrow side faces the sea with rows of pine trees along the seaside. The overall area is flat
with slightly-slope towards the beach. There are 170 students visit the station each year for
trainings and recreations.

In this study, an area planning has been aiming to conserve the area and the environment.
In this design, land use zoning comprise of four distinctively zones. 1. Residential zone such as six
dormitories, three staff houses and four tourist residential. Residential quarters for training
students and tourists are separated. The training station can accommodate 200 students and 28
tourists/day. 2. Training zone such as training center. 3. Recreation zone such as picnic area,
camping site, sport field, camp fire and arboretum. 4. Service zone such as information center,
cafeteria, a store, parking and maintenance store. Tourists’ vehicles are not allowed on the beach
and into the residential zone.

There is also an area for pitching up 13 tourists’ tents in the campground. New buildings
have been designed to blend in with existing ones. Trees will be planted only in newly developed
zone. No new plants are allowed on the beach and in the piney. An arboretum of indigenous
plants of the south has been created for the students and the public’s education.

6

ความพงึ พอใจของนกั ท่องเที่ยวท่ีมตี ่อการให้บรกิ ารการท่องเท่ียวเชิงนเิ วศในพ้ืนท่อี ุทยานแห่งชาติหาดวนกร
อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์

Tourist’s satisfaction on ecotourism services at Had Wanakorn National Park,
Amphoe Thap Sakae, Changwat Prachuap Khiri Khan
สนั ติ สุขเยน็ (2546)

บทคดั ยอ่
การวิจยั น้มี ีวตั ถุประสงคเ์ พ่ือศึกษาปจั จัยทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของนักท่องเท่ียวท่ีใช้บริการ

เชิงนิเวศในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดวนกร การทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการบริการต่างๆ ความพึง
พอใจที่มีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนเิ วศและบริการต่างๆ รวมทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะ โดยใช้แบบสอบถาม
รวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดวนกร จำนวน 399 คน และทำการ
วเิ คราะห์ทางสถิตเิ พ่ือหาค่ารอ้ ยละ คา่ มชั ฌิมเลขคณิต และคา่ t

ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวที่ได้ทำการศึกษาเป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.2 มีอานุเฉลี่ย 29.59 ปี มี
การศกึ ษาระดับปรญิ ญาตรี รอ้ ยละ 50.9 เปน็ โสด ร้อยละ 60.7 เปน็ นักเรียน/นักศกึ ษา ร้อยละ 30.8 มีรายไดเ้ ฉล่ีย
เดือนละ 13,046.17 บาทต่อคน มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครร้อยละ 59.1 เป็นผู้มีประสบการณ์การท่องเที่ยว
ร้อยละ 52.1 นักท่องเที่ยวร้อยละ 76.2 เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวร้อยละ 95.2 มาท่องเที่ยวเป็นกลุ่ม พักค้างใน
พื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดวนกร ร้อยละ 93.0 โดยกางเต็นท์ ร้อยละ 72.5 สำหรับค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเชิง
นิเวศในพื้นที่อุทยานฯ แห่งนี้เฉลี่ย 1,516.24 บาทต่อคน สำหรับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวปรากฏว่า
นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจมากในกิจกรรมเพียง 1 กิจกรรม คือ การกางเต็นท์พักแรม ส่วนความพึงพอใจใน
บริการอ่ืนๆ มีความพงึ พอใจปานกลางทุกรายการ

จากสมมตฐิ านพบวา่ เพศ อายุ ระดบั การศึกษา และรายไดข้ องนกั ท่องเทยี่ วสมคี วามเกยี่ วข้องกับความพึง
พอใจในกจิ กรรมการท่องเทยี่ วเชิงนเิ วศและบริการต่างๆ บางประเดน็

7

Abstract
The objectives of this research were to study some socio-economic factors of the tourists

using the ecotouring services in Had Wanakorn National Park, their ecotouring activities and using
services, the satisfaction on the ecotouring activities and using services, including their problems
and suggestions. The data were collected from 399 touristis having ecotouring activities in Had
Wanakorn National Park, by using constructed questionnaire, and statistically analyzed for
percentage, arithmetic mean and t-test.

The results revealed that 64.2% of the studied tourists were female with their average of
29.59 years, 50.9% got Bachelor’s degree, 60.7% single, 30.8% were student/undergraduate,
having average monthly income of 13,046.17 baths per person, 59.1% living in Bangkok, and 52.1%
having ecotouring experience. The amount of 76.2% of the tourists coming to the Had Wanakorn
National Park, by their personal automobile, 95.2% coming with the group, 93.0% stayed in the
Had Wanakorn National Park, was 1,516.24 baths per person as their averages figure. For the
satisfaction of the tourists, it was found that they most satisfied with only 1 activity which was
camping and the other services were moderately satisfied.

The hypotheses were proved that their gender, age, education, occupation and income
concerned with their satisfaction of some ecotouring activities and some servicing items.

8

แนวทางการพัฒนาและฟ้ืนฟอู ุทยานแห่งชาตหิ าดวนกร จงั หวัดประจวบคีรีขันธ์
Development and rehabilitation guidelines for Had Wanakorn National Park,

Prachuap Khiri Khan Province
เกีย้ วมนัส น่วมบญุ ลอื (2548)

บทคัดยอ่
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดวนกรด้านกายภาพและการท่องเที่ยว โดยศึกษา

สภาพพื้นที่ทั้งจากแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหารร่วมกับข้อมูลเอกสารอื่นๆ การสัมภาษณ์
และการสํารวจพื้นที่ จากนั้นจำแนกข้อมูลเพื่อบันทึกลงในแผนที่แล้วนำแผนที่แต่ละข้อมูลมาซ้อนทับกันเพ่ือ
พิจารณาปัญหานำไปสู่การเสนอแนวทางแก้ไขต่อไป จากการศึกษาพบวา่ สง่ิ ทเ่ี ป็นอุปสรรคตอ่ การเจรญิ เติบโตและ
ฟ้นื ฟูระบบนิเวศมากท่ีสดุ คือคุณสมบัตขิ องดินซึง่ ไมส่ ามารถกักเกบ็ น้ำไว้ได้นาน และภัยทีม่ ีแนวโนม้ จะคุกคามพื้นที่
ได้ในอนาคตคือการขยายตัวของชุมชนใกล้เคียง นอกจากนี้การมุ่งเน้นการพัฒนาพ้ืนทีเ่ พื่อรองรบั การท่องเที่ยวยัง
สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศได้เช่นกัน จึงเสนอแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูอุทยานแห่งชาติ
หาดวนกรโดยเนน้ การอนุรกั ษท์ รัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศชายฝง่ั และแบ่งเขตการใชท้ ่ดี นิ เปน็ 4 เขต ได้แก่
1) เขตกิจกรรมพิเศษ 2) เขตพื้นที่อนุรักษ์ 3) เขตพื้นที่ฟื้นฟูธรรมชาติ 4) เขตพัฒนาและเพื่อให้แผนการพัฒนา
และฟื้นฟูเป็นส่วนหนึ่งในการลดและหรือขจัดปัญหาที่เกิดขึ้น จึงแบ่งช่วงระยะเวลาสำหรับแผนการใช้ที่ดินเพ่ือ
พัฒนาและฟื้นฟูเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อรักษาธรรมชาติให้อยู่ในสภาพสมดุล
บรรเทาปญั หาท่ีเกิดขึ้นในปัจจุบนั ลดโอกาสการเกดิ ความเสยี หายในอนาคต

9

Abstract
To identify problems and propose viable solutions, the thesis relies on materials such as

aerial photos and information comprising of informal interviews and surveys. In addition, the study
focuses on the physical environments, the coastal ecosystems and the current state of tourism
in the area. The thesis shows that the poor quality of soil, the expanding urban development,
and the growing tourist industry become major threats to the park's ecological system. The thesis
proposes that the main emphasis of the rehabilitation plan and the development plan of the
national park should be oriented toward ecological preservations. Land-use planning can be
organized into four zones: special use zone; strict nature reserved zone; natural recovering zone;
and intensive used zone.

10

ยทุ ธศาสตร์การพฒั นากายภาพอุทยานแหง่ ชาตเิ พือ่ เพ่ิมศกั ยภาพในการท่องเท่ยี ว
ด้วยการจัดการและออกแบบสถาปัตยกรรม

สดุ าลกั ษณ์ (2549)

บทคัดย่อ

ผู้วิจัยเลือกศึกษาพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติหาดวนกร อุทยาน
แห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เนื่องจากอุทยานแห่งชาติทั้ง 3 แห่ง มี
ลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน แต่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวอยู่ในระดับที่สูงเช่นเดียวกัน งานวิจัยนี้มี
วัตถปุ ระสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) ศกึ ษาองค์ประกอบของการท่องเท่ียวในอุทยานแห่งชาติ ได้แก่ ศักยภาพในการ
ท่องเที่ยว รูปแบบสถาปัตยกรรม รูปแบบการจัดการ และพฤติกรรมนักท่องเที่ยว 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ
องค์ประกอบในการท่องเท่ียวของอุทยานแห่งชาติ 3) กำหนดแนวทางการจัดการ และการออกแบบสถาปัตยกรรม
เพอ่ื นำไปสู่การวางยทุ ธศาสตร์การพฒั นากายภาพในอุทยานแหง่ ชาติ โดยเกบ็ รวบรวมข้อมูลจากขอ้ มลู พ้ืนฐานแผน
แมบ่ ท และเอกสารทางวชิ าการท่เี ก่ยี วข้องกับอุทยานแห่งชาติ พรอ้ มทัง้ ดำเนินการสํารวจพื้นที่ สอบถามเจ้าหน้าท่ี
ทีเ่ กีย่ วขอ้ ง สอบถามประชาชนในพื้นที่ รวมทง้ั สอบถามนักทอ่ งเท่ยี วชาวไทยและชาวตา่ งประเทศ จำนวน 400 คน
ซ่ึงได้มาจากการสมุ่ ตัวอยา่ งอยา่ งง่าย

ผลการวิจัยพบว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนากายภาพที่สามารถเพิ่มศักยภาพในการท่องเที่ยวให้กับอุทยาน
แห่งชาติได้ต้องเริ่มจากยุทธศาสตร์ที่ 1 การเตรียมสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อรองรับและสนับ สนุนกิจกรรมการ
ท่องเที่ยว เช่น การคมนาคม และการสื่อสาร จากนั้นจึงดำเนินการในยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและปรับปรุง
กายภาพของพื้นที่เพื่อสร้างทัศนคติใหม่ให้กับนักท่องเที่ยวด้วยการเปลี่ยนแปลงกายภาพของอาคารสถานที่ให้
สวยงาม โดยเริ่มจากการพัฒนาพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวก่อน พร้อมกับการเปลี่ยนเส้นทาง
การสัญจรของนักท่องเที่ยว เพื่อเตรียมการสำหรับการพัฒนาพื้นที่ที่ถูกใช้งานมากในปัจจุบัน โดยกระทบต่อ
กิจกรรมการท่องเที่ยวน้อยที่สุดตามลำดับ เมื่อพัฒนากายภาพของพื้นที่จนสามารถเปิดพื้นที่ทุกส่วนให้
นักท่องเทย่ี วเขา้ ใช้งานได้พร้อมกนั แลว้ จำเปน็ ต้องอาศัยยุทธศาสตรท์ ่ี 3 การบังคับใชก้ ฎเกณฑใ์ นการใช้พื้นที่อย่าง
เหมาะสม ซึ่งยุทธศาสตร์นี้เริ่มดำเนินการควบคู่ไปกับการเปิดพื้นที่ใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อสั่งสมพฤติกรรม
การท่องเที่ยวที่เหมาะสมให้กับนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวควรที่จะมีการพัฒนาอย่าง
ต่อเนื่องตามยุทธศาสตรท์ ี่ 4 การตลาดในการยกระดบั เศรษฐกจิ สังคม เพื่อนำรายได้มาพัฒนาอุทยานแห่งชาติให้
ยัง่ ยืนตอ่ ไป

11

Abstract

The research entitled “Physical Development Strategy of National Park for Traveling
Potential Promotion by Integrating Management in Architectural Design” investigates 3 case
studies of Thailand marine national parks in the Central region: Had Wanakon National Park,
Khao Laem Ya - Mu Koh Samet National Park, and Koh Chang National Park. Although geographical
characters of these 3 sites are different, their traveling potentials are ranked at the same high-
level. The research is comprised with 3 objectives: first, study factors of traveling in a national
park, which could be listed as followed: traveling potential, architectural aspects, management,
and behavior of the travelers; second, analyze the interrelationship among of previous listed
factors; and third, propose management and architectural design guidelines, by which physical
development strategy of a national park will be an outcome of the research. Research data are
derived from following sources: first, a master plan and academic documents; second, surveying
the areas; third, interviewing staff and local people, as well as Thais and Foreigners travelers for
total of 400 cases by simple random sampling.

The study found that in order to increase traveling potential of a national park, four
following strategies must be implemented respectively. First; public utilities, which are basic
infrastructures, and transportations, to support and promote traveling activities, must be well
prepared. Second; traveling sites are needed to be developed and improved in order to create
travelers' positive attitudes towards the areas. Such tasks could be executed as followed: beautify
buildings and surroundings, by which less popular sites will get improved; and followed by those
more popular ones. This technique helps to alter travelers' destinations in order to minimize
undesirable effects to site activities. When all sites are opened up for service, there is necessity
for the third strategy, which gradually introduced rules and regulations along with opening up of
new areas. Through this strategy, travelers' familiarity of traveling rules and regulations will be
improved from time to time. Finally, there should be a continuity of traveling sites' development
of strategy, which is marketing for enhancing sites' economics and social in order to generate
income to maintain sites' growth and development.

12

รปู แบบที่เหมาะสมของการพักแรมด้วยเต็นทใ์ นอทุ ยานแหง่ ชาติ

Appropriate pattern of tent camping in National Parks

ศิวาภรณ์ สวสั ดชิ ยั (2555)

บทคัดยอ่

การศกึ ษาครง้ั นี้มีวัตถปุ ระสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและลักษณะการพัฒนาทางกายภาพ
บริเวณพื้นที่พักแรมด้วยเต็นท์ในอุทยานแห่งชาติ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการประกอบกิจกรรมพักแรมด้วยเต็นท์
ประสบการณ์ที่ได้รับจากการประกอบกิจกรรมพักแรมดว้ ยเต็นท์ ความชอบที่มีต่อลักษณะพื้นที่พักแรมด้วยเต็นท์
และพฤติกรรมนันทนาการของผู้มาเยือน และเพื่อนาเสนอรูปแบบที่เหมาะสมของการพักแรมดว้ ยเต็นท์ในอุทยาน
แห่งชาติ โดยใช้แบบประเมนิ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและลกั ษณะการพฒั นาทางกายภาพบรเิ วณพ้ืนท่ีพักแรม
ด้วยเต็นท์ในการเก็บข้อมูลศักยภาพพื้นที่ และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลผู้มาเยือน จานวน 415 คน ใน
อุทยานแห่งชาติตัวแทนภูมิภาคต่าง ๆ จานวน 4 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี อุทยาน
แห่งชาติหาดวนกร จังหวัดประจวบครี ีขันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลพ้ืนที่เพื่อประเมนิ ความเหมาะสมของพื้นที่พักแรมด้วย
เต็นท์ โดยใช้สมการถ่วงน้าหนักอย่างง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลผู้มาเยือนโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา การวิเคราะห์
ปจั จยั การทดสอบความแตกตา่ งระหวา่ งคา่ เฉลีย่ ประชากรแบบจับคู่ และการวเิ คราะหส์ หสมั พันธ์

ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่พักแรมดว้ ยเต็นท์ท่ีเปน็ ตวั แทนพื้นที่ศึกษาทัง้ 4 แห่ง มีความเหมาะสมของพื้นท่ี
อยู่ในระดับปานกลางและระดับสูง ผู้มาเยือนส่วนใหญ่มีเหตุผลที่เลือกพักแรมด้วยเต็นท์ในอุทยานแห่งชาตเิ พราะ
ชื่นชอบบรรยากาศของการพกั แรมดว้ ยเต็นท์ โดยเลอื กกางเต็นทบ์ รเิ วณท่ีสะดวกต่อการสัญจรและเขา้ ถงึ สิ่งอานวย
ความสะดวกต่าง ๆ แต่ละกลุ่มนาเต็นท์มา 1-2 หลัง ใช้เวลาพักแรม 1-2 คืน กิจกรรมนันทนาการที่คาดหวังและ
ประกอบจริงในพื้นที่มากที่สดุ คือ กิจกรรมชมทิวทัศน์/ทัศนียภาพ และพักผ่อนในบรรยากาศทีส่ งบ แรงจูงใจและ
ประสบการณ์นันทนาการที่ได้รับสูงสุด คือ การได้รับอากาศที่ดี ผู้มาเยือนชอบพื้นที่พักแรมด้วยเต็นท์ที่สามารถ
มองเห็นวิวทิวทศั น์สวยงาม และรูปแบบที่เหมาะสมของการพักแรมดว้ ยเต็นทใ์ นอทุ ยานแห่งชาตดิ ้านลักษณะพื้นที่
ควรเป็นพื้นทีท่ ี่สามารถมองเหน็ วิวทิวทัศน์ที่สวยงามและคงสภาพธรรมชาติดั้งเดิม ด้านลักษณะกิจกรรมพื้นฐานที่
ควรมีในพ้ืนท่ีพักแรมด้วยเต็นท์ คือ กิจกรรมนันทนาการท่ใี ชพ้ ละกาลงั น้อย เช่น การเดนิ ชมววิ ทวิ ทศั น์ การผกั ผ่อน
ในบรรยากาศท่ีสงบ ปคิ นคิ เปน็ ตน้

13

Abstract
The objectives of this research were to study on natural environment and physical

development characteristics of campsites in national parks, to study camping motivation, the
experiences campers obtained from tent camping, camper’s preferences on campsite settings,
and their recreation behavior, and to recommend appropriate pattern of tent camping in national
parks. Site assessment form was used to evaluate natural environment and physical development
characteristics at the study campsites. Questionnaire was used to collect data from 415 campers
in 4 national parks. The appropriateness of campsites was evaluated by simple weighting score
equation while visitor data were analyzed by descriptive statistics, factor analysis, paired-sample
t-test, and correlation analysis.

The study found that the 4 study campsites had moderate to high appropriateness on
natural environment and physical development characteristics. Most campers were motivated by
camping atmosphere. They preferred the campsites with easy access to necessary support
facilities. The majority of camping groups had 1-2 tents and spent 1-2 nights at each campsite.
Viewing scenery and relaxing were most favorite activities among campers. The highest level of
experience gained from camping was touching nice weather. The study recommended that the
appropriate campsites in national parks should have outstanding scenic beauty of landscape and
highly maintained natural environment. The appropriate recreation activities for campers should
be passive recreation activities such as walking for pleasure, viewing scenery, relaxing, picnicking
etc.

14

การศึกษานิเวศวทิ ยาปา่ ไม้ระยะยาวในพืน้ ท่ีอทุ ยานแห่งชาติ:
เครอื ข่ายแปลงตัวอย่างถาวรในเขตรอ้ น ปา่ ชายหาด อุทยานแห่งชาติหาดวนกร จังหวดั ประจวบคีรีขนั ธ์

ชัยณรงค์ เรอื งทอง, พเิ ชฐ ห่อแก้ว, เผา่ พันธ์ คณะนา, ซ้อน คงบวั เลก็ และวันวสิ าข์ เอยี ดประพาล (2556)
บทคดั ย่อ

การศึกษานิเวศวิทยาป่าไม้ระยะยาวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ : เครือข่ายแปลงตัวอย่างถาวรในเขตร้อน
ป่าชายเลน อุทยานแห่งชาติหาดวนกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานภาพความ
หลากหลายด้านพรรณพืช รวมถึงติดตามการเปลี่ยนแปลงของ growth and yield และศึกษาโครงสร้างป่าและ
การกระจายของพรรณพืชที่เป็นตวั แทนของสังคมพืช โดยใชว้ ธิ กี ารวางแปลงตัวอย่างถาวรขนาด 120 x 120 เมตร
โดยวางแปลงขนาด 10 x 10 เมตร เพื่อสํารวจพันธุ์ไม้ที่เป็นไม้ใหญ่ (tree) และวางแปลงขนาด 4 x 4 เมตร และ
1 x 1 เมตร เพื่อเก็บข้อมูลไม้หนุ่ม (Saplings) ลูกไม้หรือกล้าไม้ (Seedlings) และศึกษาการจําแนกช้ัน
(strafication) โดยพิจารณาจากโครงสร้างป่าด้านตั้ง (profile diagram) และการปกคลุมของเรือนยอด (Crown
Cover diagram) และการปกคลุมของเรือนยอด (Crown Cover diagram) ทำการวิเคราะห์หาค่าดัชนี
ความสำคญั ของพันธ์ุไม้ (IV) และวิเคราะห์ดชั นีความหลากชนดิ (Shannon-Wiener index)

จากผลการสํารวจดังกล่าวพบพันธุ์ไม้ป่าชายเลนทั้งหมด 1,790 ต้น จําแนกออกได้เป็น 73 ชนิด 22 วงศ์
และจากการวิเคราะหข์ ้อมูลดัชนีความสำคัญของพันธ์ุไม้พบว่า ไม้จำพวก มะคา่ แต้ (Sindora siamensis Teijsm.
Ex Miq.) มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) ตับเต่าต้น (Diospyros ehratioides Wall. ex G.Don) มีค่า
ดัชนีความสำคัญพันธุ์ไม้เท่ากับ 96.302, 78.443 และ 59.545 ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์ค่าดัชนีความ
หลากหลายมคี ่าเทา่ กับ 3.108 นั้น แสดงว่าพนั ธุไ์ ม้มีความหลากหลายมาก และจากการศกึ ษาลกั ษณะโครงสร้างป่า
และ การจําแนกชั้น (strafication) พบว่ามีการทดแทนของพันธุ์ไม้ โดยศึกษาจากการการแบ่งชั้นเรือนยอดของ
พนั ธไ์ุ มซ้ ึ่งพบว่ามีการแบง่ ชั้นเรอื นยอดออกเป็น 3 ชัน้ เรอื นยอดและพบการกระจายของพันธ์ไุ ม้อยูท่ ว่ั ทงั้ แปลง

15

โครงสร้างป่าและแนวทางการฟ้ืนฟูป่าชายหาด ในอุทยานแห่งชาตหิ าดวนกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Forest structure and restoration trends of beach forest at Had Wanakorn National Park,
Prachup Khiri Khan Province.

วันวิสาข์ เอียดประพาล (2558)

บทคัดย่อ

การศึกษาโครงสร้างป่าและแนวทางการฟื้นฟูป่าชายหาด ในอุทยานแห่งชาติหาดวนกร จังหวัด
ประจวบคีรขี นั ธ์ มีวัตถุประสงค์เพือ่ ศึกษาโครงสรา้ งปา่ และองค์ประกอบพรรณพืชของชนดิ ป่าท่ีพบภายในอุทยานฯ
และแนวทางการทดแทนของป่าชายหาดฟื้นฟู โดยใช้การวางแปลงตัวอย่างแบบเจาะจง เพื่อสำรวจชนิดพันธุ์พืช
การปกคลุมเรือนยอดและปริมาณซากพืชภายในป่าผสมผลดั ใบ ป่าดิบแล้ง ป่าชายหาด และป่าชายหาดฟื้นฟู เร่ิม
ทำการศึกษาระหวา่ งเดือน เมษายน-มิถุนายน 2555

ผลการศึกษา พบชนิดพรรณไม้ทั้งหมด 90 ชนิด 44 สกุล 63 วงศ์ พรรณไม้เด่น ได้แก่ ขันทองพยาบาท
(Suregada multriflorum) ตับเต่าต้น (Diospyros ehretioides) ตะแบกนา (Lagerstroemia floribunda)
พลองใบใหญ่ (Memecylon ovatum) พลับพลา (Microco tomentosa) มะคา่ แต้ (Sindora siamensis) เสลา
(Lagerstroemia tomentosa) และประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) เป็นต้น ความหลากหลายของ
พรรณพชื เมื่อพิจารณาจากดชั นคี วามหลากหลายของ Shannon-Weiner (H') พบว่าพื้นทปี่ ่าผสมผลดั ใบธรรมชาติ
มีความหลากหลายของพรรณพืชมากที่สุด (H' = 3.07) รองลงมา คือ ป่าดิบแล้ง ป่าชายหาด ป่าฟื้นฟูแบบปลูก
ผสม และป่าฟ้นื ฟดู ว้ ยสนทะเล มคี า่ เทา่ กบั 2.57, 2.59, 1.98 และ 0.00 ตามลำดบั รูปแบบการกระจายของต้นไม้
ตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกภายในแต่ละสังคมป่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบการเพิ่มกำลังเชิงลบ (negative
exponential growth form) แสดงให้เหน็ ถึงความสมดลุ ในการรักษาโครงสรา้ งป่า ยกเวน้ ภายในป่าชายหาดฟื้นฟู
ด้วยสนทะเลที่เป็นแบบระฆังคว่ำ แนวการทดแทนของป่าชายหาดฟื้นฟูเข้าสู่ป่าธรรมชาติ เมื่อพิจารณาจากดัชนี
ความคล้ายคลึง พบว่าการฟื้นฟูป่าชายหาดแบบผสมผสานส่งผลให้แนวทางการทดแทนของสังคมพืชในระดับไม้
ใหญ่ใกล้กับป่าชายหาดธรรมชาติมากที่สุด (22.22 %) รองลงมาคือ ป่าผสมผลัดใบ (21.74 %) และป่าดิบแล้ง
(6.45 %) ตามลำดับ ในขณะที่การฟื้นฟูด้วยสนทะเลชนิดเดียวนั้น ไม่พบการสืบต่อพันธุ์ของพันธุ์ไม้ชนิดอื่นใน
ระดับไม้ใหญ่ แสดงให้เห็นว่า การปลูกป่าฟื้นฟูป่าชายหาดแบบผสมผสานช่วยให้การทดแทนเข้าสู่ปา่ ธรรมชาติได้
ดกี วา่ การปลูกพืชเชงิ เดย่ี ว

16

Abstract

A study of successional trends of rehabilitated beach forest in Had Wanakorn National
Park, Prachuap Khiri Khan Province aimed to investigate forest structures and species composition
for all forest types in Had Wanakorn National Park, and to clarify the successional trends of beach
forest after restoration. Purposive sampling method was used for determine species composition,
canopy gaps and amount of litter production in various sites including the mixed deciduous forest,
dry evergreen forest, beach forest and rehabilitated beach forest. The study was carried out during
April to June 2012.

The results showed that there were 90 plant species with 44 genera in 63 families. The
dominance species were Suregada multriflorum, Diospyros ehretioides, Lagerstroemia floribunda,
Memecylon ovatum, Microco tomentosa, Sindora siamensis, Lagerstroemia tomentosa and
Pterocarpus macrocarpus. Species diversity assesses by Shannon-Weiner index (H') revealed that
naturally mixed deciduous forest had highest species diversity (H' = 3.07) followed by the dry
evergreen forest (H' = 2.57), beach forest (H' = 2.59), enrichment plantation (H' = 1.98) and
Casuarina equisetifolia-rehabilitated forest (H' = 0.00). The distribution of trees based on diameter
class showed that the negative exponential pattern had been detected in almost every forest
types except suggesting continuous recruitment, Casuarina equisetifolia for site which had
showed normal distribution pattern. Furthermore, enrichment plantation had the most similar in
term of stand to beach forest especially trees which had highest similar by index (22.22%)
followed by the mixed deciduous forest (21.74%), and the dry evergreen forest (6.45%). However,
in Casuarina equisetifolia rehabilitated forest it had no detected to similar to the natural forest
for tree stage. Indications the forest rehabilitation by integrated enrichment plantation showed
positively successional trend similar to natural forest, and reduced the successional time more
than monoculture plantation.

17

การศึกษาเพ่อื พัฒนาการปฏิบตั ิท่ดี ีสำหรบั บ้านนกแอ่นกินรัง
นันทชยั พงศ์พัฒนานุรักษ์, แสงสรรค์ ภมู สิ ถาน, วัชรพงษ์ สขุ ดี, ดวงดาว รกั ษากลุ ,
จิรชั ญา ตอ้ ยติ่ง, เจษฎา วงพรหม และ วนทั พมุ่ พวง (2560)

ข้อมูลงานวิจัยโดยสรปุ
โครงการวิจัยนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อกำาหนดแนวทางปฏิบัติมาตรฐานการจัดการบ้านนกแอ่นกินรังตาม

ข้อกำหนดของมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับนกแอ่นกินรังภายในสถานที่ส่วนบุคคล โดยพัฒนาร่วมกับ
กรมปศุสัตว์สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มก.อช.) และตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงนก
แอ่นกินรัง เพื่อกำหนดมาตรฐานการจัดการบา้ นนกเพื่อการส่งออก เกษตรกร ผู้ประกอบการ หน่วยงานราชการที่
เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อกำหนดและแนวทางการปฏบิ ัตติ ามมาตรฐานการปฏบิ ัติทีด่ ีสำหรับบ้านนกแอ่นกินรังท่ไี ด้
จากงานวจิ ัยนี้ไปปรับปรงุ พัฒนามาตรฐานการปฏิบตั ิท่ีดสี ำหรับบ้านนกแอน่ กินรงั ให้ไดม้ าตรฐานสามารถส่งออกได้
การนำไปใช้ประโยชน์

เกษตรกร ผ้ปู ระกอบการ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อกำาหนดและแนวทางการปฏิบตั ิ
ตามมาตรฐานการปฏิบตั ิทีด่ ีสำหรบั บ้านนกแอ่นกินรงั ทไ่ี ด้จากงานวิจยั นีไ้ ปปรับปรุงพฒั นามาตรฐานการปฏิบัติที่ดี
สำหรับบา้ นนกแอ่นกินรังให้ได้มาตรฐานสามารถส่งออกได้

18

การศึกษาความผันแปรของความดงั เสียงบนั ทึกเรียกนกภายนอกอาคาร
นนั ทชัย พงศ์พฒั นานรุ กั ษ์, วจิ กั ษ์ ฉินโฉม, แสงสรรค์ ภูมสิ ถาน, เจษฎา วงพรหม และ วนัท พมุ่ พวง (2560)

ขอ้ มูลงานวจิ ัยโดยสรปุ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เสียงรบกวนของมนุษย์จากการเปิดเสียงบันทึกเรียกนก

ภายนอกอาคารตามระดบั ความดังและระยะทางจากแหล่งกำเนิดเสียงท่ีแตกต่างกัน โดยผลการศึกษาที่ได้จะนำไป
กำหนดข้อเสนอแนะ “ข้อควรปฏิบัติในการเปิดเสียงบันทึกเรียกนกของบ้านนกแอ่นกิ นรัง” เกษตรกร
ผปู้ ระกอบการ สามารถนำข้อควรปฏิบัตใิ นการเปิดเสยี งบันทึกเรยี กนกของบ้านนกแอ่นกินรังที่ได้จากงานวิจัยน้ีไป
ประยุกต์ใช้ในการเปิดเสียงเรียกนกที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้านข้างเคียง และลดเสียงรบกวนในชุมชน
หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง สามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปกำหนดระเบียบ ข้อควรปฏิบัติในการเปิดเสียงเรียก
นก เพือ่ ลดผลกระทบทางเสียงในชุมชน
การนำไปใชป้ ระโยชน์

• เกษตรกรผู้ประกอบการสามารถนำข้อควรปฏิบตั ิในการเปิดเสียงบนั ทึกเรียกนกของบา้ นนกแอ่น
กนิ รังท่ไี ด้จากงานวจิ ัยนี้ไปประยกุ ต์ใช้ในการเปดิ เสียงเรียกนกที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเพ่ือนบา้ นข้างเคยี ง และลดเสียง
รบกวนในชมุ ชน

• หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง สามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปกำหนดระเบียบ ข้อควรปฏิบัติใน
การเปิดเสียงเรียกนก เพอ่ื ลดผลกระทบทางเสียงในชมุ ชน

19

ศนู ย์การเรียนรู้และถา่ ยทอดเทคโนโลยกี ารทำฟารม์ นกแอน่ กนิ รงั มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นันทชัย พงศ์พฒั นานุรักษ์, แสงสรรค์ ภมู สิ ถาน, วิจักษ์ ฉนิ โฉม,
ประทีป ดว้ งแค, วนัท พุ่มพวง และ เจษฎา วงพรหม (2560)

ขอ้ มูลงานวจิ ัยโดยสรปุ
ศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำฟาร์มนกแอ่นกินรัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่

ณ สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์หาดวนกร อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขัน์ โดย มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ได้สนับสนุนงบประมาณ ในการก่อสร้างอาคารศูนย์ฯ เพื่อให้เป็นที่สำหรับการทำการศึกษาวิจยั การ
ทำฟาร์มนกแอ่นกินรังและพัฒนาเป็นอาคารต้นแบบในการจัดการการทำฟาร์มนกแอ่นกินรังภายใต้แนวทางการ
ปฏบิ ัตทิ ีด่ พี ร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้ไปยังเกษตรกรผปู้ ระกอบการและผู้สนใจโดยทั่วไป รวมถึง
หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์คือ เป็นศูนย์กลางทางด้านข้อมูลการเพาะเลี้ยงนกแอ่นกินรังแนวใหม่ใน
ประเทศไทย ที่เกษตรกรผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาดูงาน รวมถึงหน่วยงานราชการ ท่ี
เกยี่ วขอ้ งสามารถใชพ้ ้ืนทเ่ี ป็นทศี่ กึ ษาดงู านและทำวจิ ยั ร่วมกนั ในอนาคต
การนำไปใช้ประโยชน์

เป็นศูนย์กลางทางด้านข้อมูลการเพาะเลี้ยงนกแอ่นกินรังแนวใหม่ในประเทศไทย ที่เกษตรกร
ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาดูงาน รวมถึงหน่วยงานราชการที่เก่ียวข้องสามารถใช้พื้นที่เปน็ ที่
ศึกษาดงู านและทำวิจยั รว่ มกนั ในอนาคต

20

การอาบนำ้ ยาไมย้ างพาราตามกรรมวิธีจุ่มและทาโดยใช้สารคอปเปอร์แนปทเี นตและสารประกอบโบรอน
เพอ่ื ปอ้ งกนั การเข้าทำงานของปลวก

Rubberwood lumber preservation by dipping and brushing treatments with
copper naphthenate and boron compounds for protection against termites

ธติ ิ วานชิ ดลิ กรตั น์, ทรงกลด จารุสมบัติ และ ธรี ะ วีณนิ (2561)
บทคัดย่อ

งานวจิ ยั นีเ้ พือ่ ศึกษาการอาบน้ำยาไม้ยางพาราตามกรรมวิธีจมุ่ และทาโดยใช้สารคอปเปอร์แนปทีเนต และ
สารประกอบโบรอนเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของปลวก ซึ่งทำการทดลองที่สถานีฝึกนิสิตวนศาสตร์ หาดวนกร
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยแผนการทดลองเป็นแฟคทอเรียล 1+2x2x4 จำนวน 20 ซ้ำ ซึ่งใช้การจัดทรีทเมนต์
แบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) โดยมีปัจจัยควบคุม คือ ไม้ยางพาราท่ีไม่ผ่านการอาบน้ำยา และมีปัจจัยในการทดลอง 3
ปัจจัย คือ 1. การใช้สารประกอบโบรอน ได้แก่ การอาบน้ำยาโบรอน 10% ด้วยวิธีการจุ่ม และไม่มีการอาบน้ำยา
โบรอน 2. กรรมวิธีการอาบน้ำยาด้วยสารคอปเปอร์แนปทีเนต ได้แก่ การทาและการจุ่ม 3. ประเภทของการ
อาบน้ำยาด้วยสารคอปเปอร์แนปทีเนต ได้แก่ สารคอปเปอร์แนปทีเนต 1% ประเภทละลายน้ำ สารคอปเปอร์
แนปทีเนต 2% ประเภทละลายน้ำ สารคอปเปอรแ์ นปทีเนต 1% ประเภทละลายน้ำมัน และสารคอปเปอร์แนปที-
เนต 2% ประเภทละลายน้ำมัน จากนั้นนำไม้ยางพาราทั้งหมดไปทำการทดสอบแบบปักดินในแปลงทดลอง
กลางแจง้ และประเมินผลเม่อื ครบระยะ เวลา 3 เดือน 6 เดือน และ 9 เดือน

ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลา 3 เดอื น 6 เดือน และ 9 เดือน ปัจจัยของไม้ยางพาราท่ีไม่มีการเข้าทำลาย
ของปลวก คือ การอาบน้ำยาด้วยสารประกอบโบรอน 10% กับสารคอปเปอร์แนปทีเนต 2% ประเภทละลาย
น้ำมันด้วยวิธีการจุ่ม ส่วนปัจจัยที่มีการเข้าทำลายของปลวกมากที่สุดในระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน และ 9 เดือน
คอื ปจั จัยที่ไมม่ กี ารอาบน้ำยา ซ่งึ มกี ารเข้าทำลายของปลวกเฉลย่ี ร้อยละ 4.15 21.45 และ 42.70 ตามลำดับ และ
ปลวกที่เข้าทำลายไม้ยางพาราเปน็ ปลวก Microcerotermes crassus Snyder วงศ์ Termitidae อันดับ Isoptera

21

Abstract
The aim of this research is to study on rubberwood lumber preservation by dipping and

brushing treatments with copper naphthenate and boron compounds for protection against
termites at Hat Wannakon Student Training Station, Prachuap Khiri Khan province. The
experimental design was used with 1+2×2×4 factorials with the completely randomized treatment
and 20 replicates. Control is rubberwood without treat. The first factor was boron compounds:
dipping boron compound 10% treatment and not dipping. The second was preservative methods:
dipping and brushing treatments. The third was copper naphthenate types: copper naphthenate
with waterborne preservative 1%, copper naphthenate with waterborne preservative 2%, copper
naphthenate with oil solvent 1% and copper naphthenate with oil solvent 2%. After treatments,
the rubberwood samples were placed at the outdoor climate by graveyard testing method and
evaluated damage area destroyed by termites on each samples during 3, 6 and 9 months.

The results revealed that the percentage of rubberwood damage area destroyed by
termites from graveyard test in 3, 6 and 9 months. Boron compounds 10% and copper
naphthenate 2% oil solvent preservative by dipping treatment had not any trace of destruction
by termites. The most destroyed rubberwood was control condition which had damage areas of
4.15%, 21.45% and 42.70% on wood at three duration, respectively. The type of subterranean
termites in this research was Microcerotermes crassus Snyder (Isoptera: Termitidae).

22

เอกสารอ้างองิ

เกีย้ วมนัส นว่ มบุญลือ. 2548. แนวทางการพัฒนาและฟน้ื ฟูอทุ ยานแห่งชาติหาดวนกร
จงั หวดั ประจวบคีรีขนั ธ์. วทิ ยานิพนธ์ปริญญาโท, จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.

ชัยณรงค์ เรืองทอง, พิเชฐ หอ่ แก้ว, เผา่ พันธ์ คณะนา, ซ้อน คงบัวเล็ก และ วนั วิสาข์ เอยี ดประพาล. 2556.
การศกึ ษานเิ วศวิทยาป่าไม้ระยะยาวในพื้นท่ีอุทยานแห่งชาติ : เครอื ข่ายแปลง ตวั อย่างถาวรใน
เขตร้อน ปา่ ชายหาด อทุ ยานแหง่ ชาติหาดวนกร จังหวดั ประจวบคีรีขนั ธ์. ใน การประชุมวชิ าการและ
นําเสนอผลงานวชิ าการเครอื ข่ายงานวจิ ัยนิเวศวิทยาป่าไมป้ ระเทศไทย คร้งั ท่ี 2.
24-26 มกราคม พ.ศ. 2556. มหาวิทยาลยั แม่โจ้, เชยี งใหม่

ธิติ วานชิ ดิลกรตั น์, ทรงกลด จารุสมบตั ิ และ ธรี ะ วณี ิน. 2561. การอาบน้ำยาไม้ยางพาราตามกรรมวธิ ีจุ่มและทา
โดยใชส้ ารคอปเปอร์แนปทเี นตและสารประกอบโบรอนเพื่อป้องกันการเขา้ ทำงานของปลวก.
วารสารวนศาสตร์ 37 (2) : 130-137

นนั ทชัย พงศ์พฒั นานรุ ักษ์, วิจักษ์ ฉินโฉม, แสงสรรค์ ภมู สิ ถาน, เจษฎา วงพรหม และ วนัท พุ่มพวง. 2560.
การศึกษาความผันแปรของความดงั เสยี งบนั ทกึ เรยี กนกภายนอกอาคาร, น. 90 ใน งานนิทรรศการดา้ น
วิจัย “บนเสน้ ทางสู่เกษตร 4.0” งานเกษตรกำแพงแสน 2560, มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์,
นครปฐม.

___________________, แสงสรรค์ ภูมสิ ถาน, วัชรพงษ์ สขุ ดี, ดวงดาว รกั ษากลุ , จิรชั ญา ตอ้ ยตง่ิ ,
เจษฎา วงพรหม และ วนทั พุ่มพวง. 2560. การศึกษาเพ่ือพฒั นาการปฏบิ ัติที่ดีสำาหรบั บา้ น
นกแอน่ กินรัง, น. 89 ใน งานนทิ รรศการดา้ นวิจยั “บนเส้นทางสเู่ กษตร 4.0” งานเกษตรกำแพงแสน
2560, มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์, นครปฐม.

___________________, แสงสรรค์ ภูมิสถาน, วจิ ักษ์ ฉนิ โฉม, ประทปี ดว้ งแค, วนัท พุ่มพวง และ
เจษฎา วงพรหม. 2560. ศูนย์การเรยี นรู้และถา่ ยทอดเทคโนโลยกี ารทำฟาร์มนกแอ่นกนิ รัง
มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์, น. 101 ใน งานนิทรรศการดา้ นวจิ ัย “บนเสน้ ทางสเู่ กษตร 4.0”
งานเกษตรกำแพงแสน 2560, มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์, นครปฐม.

วนั วสิ าข์ เอยี ดประพาล. 2558. โครงสร้างปา่ และแนวทางการฟ้นื ฟปู ่าชายหาด ในอุทยานแหง่ ชาติหาดวนกร
จงั หวัดประจวบคีรขี ันธ.์ วิทยานพิ นธป์ รญิ ญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

23

ศิวาภรณ์ สวสั ดชิ ยั . 2555. รปู แบบที่เหมาะสมของการพักแรมดว้ ยเต็นทใ์ นอุทยานแห่งชาติ. วทิ ยานพิ นธ์
ปรญิ ญาโท, มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศภุ สิทธิ์ ชนุ เชาวฤทธิ.์ 2543. การทดสอบถิน่ กำเนดิ ของไม้สนทะเล ที่สถานีฝึกนิสติ วนศาสตรห์ ว้ ยยาง อำเภอ
ทับสะแก จังหวดั ประจวบครี ีขนั ธ์. วิทยานพิ นธ์ปริญญาโท, มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

สนั ติ สขุ เย็น. 2546. ความพึงพอใจของนักทอ่ งเทยี่ วท่ีมีต่อการใหบ้ รกิ ารการทอ่ งเท่ียวเชงิ นิเวศในพ้ืนทอ่ี ทุ ยาน
แหง่ ชาตหิ าดวนกร อำเภอทับสะแก จงั หวัดประจวบคีรีขันธ์. วทิ ยานิพนธป์ ริญญาโท,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุกจิ รัตนวิบูลย.์ 2546. การทดสอบความสัมฤทธผ์ิ ลของการใช้คู่มอื ส่ือความหมายธรรมชาติเพื่อตอบสนอง
การท่องเท่ียวเชิงนเิ วศในอุทยานแห่งชาตหิ าดวนกร จังหวัดประจวบครี ขี ันธ.์ วทิ ยานิพนธป์ ริญญาโท,
มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์.

สดุ าลกั ษณ์ พงศว์ ศิน. 2549. ยุทธศาสตร์การพฒั นากายภาพอทุ ยานแหง่ ชาตเิ พือ่ เพ่ิมศักยภาพในการ
ทอ่ งเที่ยวด้วยการจดั การและออกแบบสถาปตั ยกรรม. วทิ ยานิพนธ์ปรญิ ญาโท,
มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร.์

สุรพงศ์ โอวรารินท์. 2546. การออกแบบวางผังบรเิ วณสถานีฝึกนิสติ วนศาสตร์หว้ ยยาง จงั หวัด
ประจวบคีรีขนั ธ์. วทิ ยานิพนธป์ ริญญาโท, มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์.

24


Click to View FlipBook Version