The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สรุปผลการเสวนา &quot;กฎระเบียบ EU Deforestation Free Products: โอกาส ผลกระทบ และความพร้อมของประเทศไทย&quot;<br><br>โดย ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br><br>17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00-12.00 น.<br>ณ ห้องประชุม FORTROP ตึกวนศาสตร์ 60 ปี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Forestry Research Center, 2023-03-13 01:53:50

สรุปผลการเสวนา &quot;กฎระเบียบ EU Deforestation Free Products: โอกาส ผลกระทบ และความพร้อมของประเทศไทย&quot;

สรุปผลการเสวนา &quot;กฎระเบียบ EU Deforestation Free Products: โอกาส ผลกระทบ และความพร้อมของประเทศไทย&quot;<br><br>โดย ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br><br>17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00-12.00 น.<br>ณ ห้องประชุม FORTROP ตึกวนศาสตร์ 60 ปี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords: EUDR,กฎระเบียบ EU Deforestation Free Products

สรุปผลการเสวนา “กฎระเบียบ EU Deforestation Free Products: โอกาส ผลกระทบ และความพร้อมของประเทศไทย” 2 เมื่อวันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัด เสวนาวิชาการเรื่อง “กฎระเบียบ EU Deforestation Free Products: โอกาส ผลกระทบ และความ พร้อมของประเทศไทย” ณ ห้องประชุม FORTROP ตึกวนศาสตร์ ๖๐ ปี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ โดยมีวิทยากรร่วมเสวนาจำนวน 5 ท่าน ประกอบด้วย คุณสาโรจ ศรีใส ผู้แทนสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย คุณบุญสุธีย์จีระวงศ์พานิช ผู้แทนกรมป่าไม้ คุณจุฬาลักษณ์ เข็มทอง ผู้แทนกรมเจรจา การค้าระหว่างประเทศ คุณโกศล บุญคง ผู้แทนการยางแห่งประเทศไทย และคุณอัครินทร์ วงศ์อภิรัตน์ ผู้แทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีคุณปานจิต ตันสม อดีตที่ปรึกษาสำนักงานเลขานุการไทยอียูเฟล็กที เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาที่ห้องประชุม จำนวน 45 คน รับชมผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex จำนวน 59 คน และผ่าน Facebook Live ของศูนย์วิจัยป่าไม้ จำนวน 478 ครั้ง ผลการเสวนาสรุปได้ ดังนี้ กฎระเบียบ EU Deforestation Free Products คืออะไร และสถานภาพปัจจุบันเป็นอย่างไร ผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ได้กล่าวว่า EU Deforestation Free Products Regulation หรือเรียกสั้น ๆ ว่า EUDR เป็นกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่วางขายหรือส่งออกจาก EU ต้องไม่มาจากการ ทำลายป่า โดยได้กำหนดว่าหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2563 สินค้าที่มีการผลิตบนที่ดินที่มีการทำลายป่าจะ ต้องห้ามขายหรือส่งออกจาก EU ซึ่งขณะนี้มีสินค้าควบคุมอยู่ 7 กลุ่ม ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ ปาล์มน้ำมัน และอนุพันธ์ของน้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง กาแฟ โกโก้วัวและผลิตภัณฑ์และยางพาราและผลิตภัณฑ์ คาดว่า EUDR จะมีการประกาศใช้กลางปี 2566 และจะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศอีก 18 เดือน สำหรับ ผู้ประกอบการรายใหญ่ และอีก 24 เดือนสำหรับผู้ประกอบการ SME ทั้งนี้EU ยังไม่มีเกณฑ์ในการแบ่งขนาด SME ณ ขณะนี้ แต่อาจจะมีบทเฉพาะกาลขึ้นมาในช่วงระหว่างรอกฎหมายบังคับใช้ซึ่งคงต้องคำนึงถึงเกณฑ์ ของประเทศต้นทางเพื่อดูความเหมาะสมด้วย สำหรับเนื้อหาสำคัญของ EUDR คือ อนุญาตให้วางขายหรือส่งออกสินค้าจาก EU เฉพาะสินค้าที่ 1) ถูกกฎหมาย 2) ปลอดจากการทำลายป่า และ 3) ผ่านกระบวนการ Due Diligence (DD) หรือการ ตรวจสอบความถูกต้องตลอดห่วงโซ่การผลิต (supply chain) โดยก่อนวางขายหรือส่งออกจาก EU ผู้ประกอบการจะต้องรวบรวมข้อมูล/เอกสาร ย้อนกลับไปจนถึงแหล่งกำเนิด เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้านั้นไม่ได้ผลิต จากพื้นที่ที่มีการทำลายป่าและเป็นสินค้าถูกกฎหมาย นอกจากนี้ จะมีการจัดทำ Country benchmarking ซึ่ง เป็นการจัดระดับความเสี่ยงการทำลายป่าของประเทศต่างๆ (ต่ำ-ปานกลาง-สูง) โดยระดับความเข้มงวดใน กระบวนการ DD จะเป็นไปตามระดับความเสี่ยง ซึ่งขณะนี้ EU อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อกำหนด Country benchmarking โอกาสของประเทศไทยกับ EUDR การที่ EUDR จะมีการประกาศใช้เร็วๆ นี้ถือว่าเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยในหลายเรื่อง ดังนี้ 1) ช่วยสนับสนุนการป้องกันและหยุดยั้งการทำลายป่าของประเทศจากกิจกรรมการผลิตสินค้าที่ถูก ควบคุม 7 กลุ่ม (หรือในอนาคตอาจมีกลุ่มสินค้ามากกว่านี้)


สรุปผลการเสวนา “กฎระเบียบ EU Deforestation Free Products: โอกาส ผลกระทบ และความพร้อมของประเทศไทย” 3 2) ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรและไม้ที่เป็นสินค้าควบคุม ต้องเร่ง บูรณาการข้อมูลให้มีความถูกต้องและชัดเจนอย่างเป็นระบบที่สร้างการยอมรับระดับสากล 3) ช่วยสร้างความตระหนักให้กับการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจที่ไม่ควรส่งผลให้เกิดการทำลายป่าหรือ ทำให้ป่าเสื่อมโทรม 4) ช่วยกระตุ้นให้เกษตรกร และผู้ประกอบการในการผลิตวัตถุดิบหรือสินค้า มีความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อมของประเทศและโลกมากยิ่งขึ้น ผลกระทบจาก EUDR ต่อประเทศไทย สำหรับสินค้าส่งออก 7 กลุ่ม ที่อาจได้รับผลกระทบ จากตัวเลขที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ นำเสนอในเวทีเสวนา พบว่า ในปี 2565 ไทยส่งออกสินค้าตามรายการที่ครอบคลุมใน EUDR ประมาณ 1,850.45 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยยางพาราและผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกไป EU ประมาณ 1,732.83 ล้าน เหรียญสหรัฐ รองลงมาเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ ปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์ วัวและผลิตภัณฑ์ โกโก้และผลิตภัณฑ์ กาแฟ และถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ มีมูลค่าการส่งออกไป EU ประมาณ 70.23, 19.14, 4.29, 2.89, 0.32 และ 0.002 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ โดยกลุ่มสินค้าที่ส่งออกไปยุโรปเมื่อเทียบกับส่งไปตลาดโลกมีสัดส่วน ค่อนข้างสูง ได้แก่ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ กาแฟ โกโก้และผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 11.45, 9.01 และ 4.30 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ส่งออกไปยุโรปเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดโลกมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย ได้แก่ ไม้และ ผลิตภัณฑ์ ปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์ วัวและผลิตภัณฑ์ และถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์คิดเป็นร้อยละ 1.36, 1.30, 0.66 และ 0.00078 ตามลำดับ เห็นได้ว่า หากกลุ่มสินค้าดังกล่าวของไทยผลิตบนที่ดินที่มีการทำลายป่าหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ก็จะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกไป EU ค่อนข้างสูง ทั้งยางพาราและ ผลิตภัณฑ์ กาแฟ และโกโก้และผลิตภัณฑ์ซึ่งส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรและผู้ประกอบการ รวมถึง ผู้ประกอบการที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อผลิตสินค้าส่งออกไป EU หากแหล่งวัตถุดิบมาจากการ ทำลายป่าของประเทศต้นทาง ก็จะได้รับผลกระทบด้วยเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยอาจต้อง เปลี่ยนแหล่งวัตถุดิบใหม่หรือเปลี่ยนประเทศคู่ค้ารายใหม่ที่ไม่ใช่ประเทศในกลุ่ม EU สถานการณ์และความพร้อมของประเทศไทยต่อ EUDR ผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ทางสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยได้ ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาผลกระทบของ EUDR กับสินค้า 7 กลุ่มของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ ระหว่างการดำเนินการของทีมที่ปรึกษา เมื่อได้ข้อมูลแล้วจะมีการเปิดเวทีรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วน เสียอีกครั้ง ก่อนจะนำเสนอเป็นข้อมูลรายงานการวิเคราะห์เชิงลึกให้กับทาง EU ได้รับทราบถึงผลกระทบของ EUDR ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย รวมถึงข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าผลการศึกษาจะ แล้วเสร็จภายในกลางปี 2566 ผู้แทนกรมป่าไม้กล่าวว่า กรมป่าไม้มีการเตรียมตัวในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกไม้ไป EU มา เป็นเวลา 10 ปี โดย มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 ได้รับความเห็นชอบต่อกรอบการเจรจา การทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (Voluntary Partnership Agreement: VPA) ในการบังคับใช้


สรุปผลการเสวนา “กฎระเบียบ EU Deforestation Free Products: โอกาส ผลกระทบ และความพร้อมของประเทศไทย” 4 กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (Forest Law Enforcement, Governance and Trade : FLEGT) ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป (European Union : EU) ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 และคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ได้พิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิตของไม้ทั้งหมด ที่ผ่านมา กรมป่าไม้ได้มีการพัฒนากระบวนการรับรองไม้ที่เรียกว่า RFD regality certificate มีทั้งกระบวนการ ตรวจสอบพื้นที่ปลูก การแปรรูป การขนส่ง และการส่งออกของไม้นอกจากนี้ยังได้ผลักดันให้มีการรับรองไม้ ด้วยตนเอง (Self Declaration: SD) ซึ่งช่วยในเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งวัตถุดิบไม้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ในส่วนของกฎหมายและกระบวนการทำงานเกี่ยวกับสินค้าไม้ถือว่ามีความพร้อมระดับหนึ่งแล้ว อย่างไร ก็ดี เมื่อ EU ได้เปลี่ยนจาก EUTR (EU Timber Regulation) ที่เริ่มทำกันมาประมาณ 10 ปี มาใช้EUDR แทน ซึ่งได้เพิ่มเรื่องสินค้าต้องไม่ผลิตบนที่ดินที่มีการทำลายป่า ก็อาจสร้างความยุ่งยากมากขึ้นในการตรวจสอบ ย้อนกลับ แต่สำหรับพื้นที่เอกชนโดยเฉพาะกับไม้ที่ปลูกนอกเขตป่า (Tree outside Forest) ไม่น่าจะมีปัญหา ในประเด็นนี้ในส่วนของนิยามคำว่า ป่า ตามกฎหมายป่าไม้ของไทยที่ไม่ตรงกับ EU ที่ยึดตามนิยามของ FAO นั้น ประเทศไทยคงต้องพูดคุยกับทาง EU ยืนยันว่านิยามป่าของไทยเป็นแบบนี้จะดำเนินการอย่างไร สำหรับ ประเด็นการจัดกลุ่มเสี่ยงของประเทศต่าง ๆ นั้น ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกันทำงาน จนทำให้ EU เข้าใจระบบการผลิตไม้ของประเทศไทยว่ามีความถูกต้องในระดับหนึ่ง แต่อาจยังมีบางส่วนที่ยังทำไม่ได้ สมบูรณ์ คือ การควบคุมและตรวจสอบการนำเข้าวัตถุดิบไม้เพื่อนำมาผลิตผลิตภัณฑ์ส่งออกไปยัง EU อย่างไร ก็ดี จากข้อมูลสารสนเทศทำให้เห็นว่า พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ค่อนข้างไม่ได้ถูกทำลาย ดังนั้น ประเทศไทยจึงน่าจะอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงน้อย ซึ่งก็ถือว่าเป็นผลดีจากการมีคณะทำงาน EU FLEGT VPA ที่มีการดำเนินงานมากว่า 10 ปีแล้ว ทั้งนี้ต้องยืนยันกับ EU ว่าสินค้าไม้ได้ดำเนินการตามกฎหมายและ ระเบียบขั้นตอนต่าง ๆ ของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการยอมรับมากยิ่งขึ้น ผู้แทนการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ได้กำหนดว่าให้สวนยางพาราที่ขอรับการส่งเสริมจาก กยท. ต้องอยู่บนที่ดินของตนเองมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งปัจจุบัน กยท. ได้ให้ทุนสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางประมาณ 1.8 ล้านไร่ และอีกส่วนเป็นการรับขึ้นทะเบียนกรณีที่เจ้าของสวนยางพาราปลูกก่อนโดยไม่ได้รับทุนหรือเคยได้ทุน มาหลายปีแล้ว อีกประมาณ 1.47 ล้านราย เนื้อที่ประมาณ 19.7 ล้านไร่ อย่างไรก็ดี สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร ได้มีการสำมะโนพื้นที่ปลูกยางพาราของประเทศไทย พบว่า มีอยู่ประมาณ 25 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่ส่วน ที่เกินมาอาจอยู่ในหลายพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่รับผิดชอบของกรมป่าไม้หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช เป็นต้น ปัจจุบัน กยท. มีการส่งเสริมปลูกยางพาราประมาณปีละ 2 แสนไร่ เป็นการปลูกแทนด้วยยาง พันธุ์ดีประมาณ 1 แสนไร่ ปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นเศรษฐกิจประมาณ 5 หมื่นไร่ และปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นแบบ ผสมผสาน และปลูกแทนแบบสวนยางยั่งยืน อีกอย่างละ 2.5 หมื่นไร่ สำหรับการเตรียมความพร้อมของ กยท. ปัจจุบันมีการนำแอปพลิเคชั่น gis-old.raot.co.th มาใช้ สำหรับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางพารา ซึ่งช่วยในการตรวจสอบพิกัดที่ตั้งของแปลงสวนยางพารา แต่ก็ยังมีข้อกังวลเรื่องเกี่ยวกับที่ดินตามมติคณะรัฐมนตรีในปีพ.ศ. 2541 และ พ.ศ. 2561 ที่ผ่อนผันให้กับ เกษตรกรชาวสวนยางพารารายย่อย แต่ปัจจุบันที่ดินดังกล่าวบางส่วนกลายเป็นของนายทุนซึ่งอาจผิดข้อ กฎหมาย นอกจากนี้กยท. ยังมีการส่งเสริมให้สวนยางพาราได้รับมาตฐานสวนป่ายั่งยืนทั้ง 3 มาตรฐาน ได้แก่


สรุปผลการเสวนา “กฎระเบียบ EU Deforestation Free Products: โอกาส ผลกระทบ และความพร้อมของประเทศไทย” 5 มอก.14601 (มาตรฐานการจัดการสวนไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน) FSC และ PEFC ซึ่งได้ดำเนินการมาประมาณ 3-4 ปีแล้ว แต่ยังทำได้น้อย โดยที่ผ่านมามีสวนยางพาราที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ได้รับการรับรองแล้วประมาณ 18,000 ไร่ อยู่ระหว่างตรวจสอบเพื่อขอการรับรองประมาณ 23,000 ไร่ และอยู่ระหว่างพัฒนาขอการรับรอง อีกประมาณ 100,000 ไร่ รวมถึง กยท. ยังเริ่มส่งเสริมให้สวนยางพาราได้ขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตเพิ่มมาก ขึ้น สำหรับเรื่องการตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบยางพารา หากเป็นสถาบันเกษตรกร ซึ่ง กยท. สามารถ ควบคุมได้จะมีการจัดตั้งตลาดกลาง และให้มีการขึ้นทะเบียนทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้สามารถตรวจสอบ แหล่งที่มาของวัตถุดิบได้แต่หากซื้อขายผ่านพ่อค้าคนกลางโดยตรง ก็เป็นหน้าที่ของโรงงานต้องตรวจสอบ ความถูกต้องเอง ซึ่งที่ผ่านมาผลผลิตที่ผ่านตลาดที่ กยท. กำกับยังไม่ถึงร้อยละ 30 จึงเป็นข้อกังวลเช่นเดียวกัน ผู้แทนกรมเจราจาการค้าระหว่างประเทศ ได้กล่างถึงข้อกังวลต่อ EUDR โดยเฉพาะประเด็นเงื่อนไขที่ สินค้าต้องไม่มีการผลิตบนที่ดินที่มีการทำลายป่าซึ่งไม่ทราบว่า EU จะใช้วิธีการตรวจสอบอย่างไร รวมถึงความ กังวลในเรื่องความสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ WTO เช่น 1) การจัดกลุ่มประเทศตามระดับความเสี่ยง จะทำให้ สินค้าที่มาจากประเทศที่ถูกจัดว่ามีความเสี่ยงสูงถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดและนำมาซึ่งภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น สำหรับผู้ประกอบการทุกรายในประเทศดังกล่าว ทั้งที่ผู้ประกอบการบางรายอาจมีระบบ due diligence และ การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ดีและสินค้าของตนไม่มีความเสี่ยงใดๆ เลยก็ตาม 2) การปฏิบัติในลักษณะนี้ อาจมีความเสี่ยงที่จะเข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติตามอำเภอใจหรืออย่างไม่เป็นธรรม ทั้งนี้มีการหารือและหยิบ ยกข้อกังวลในเวทีการประชุมต่าง ๆ ภายใต้ WTO เช่น Council for Trade in Goods, Committee on Agriculture และ Committee and Trade and Environment ซึ่งหลายประเทศย้ำว่า การดำเนินการด้าน สิ่งแวดล้อมควรต้องสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ WTO, เป้าหมาย SDGs และหลักการความรับผิดชอบร่วมกันหรือ CBDR-RC รวมถึงพิจารณาผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนา โดยเอกอัครราชทูตประจำ EU ของประเทศต่าง ๆ จำนวน 14 ประเทศ (อินโดนีเซีย บราซิล ไนจีเรีย อาร์เจนตินา โคลอมเบีย กานา กัวเตมาลา โกตดิวัวร์ ปรากวัย เปรู ฮอนดูรัส โบลิเวีย มาเลเซีย และเอกวาดอร์) ได้มีหนังสือถึง EU เพื่อขอให้พิจารณามาตรการ ดังกล่าวอีกครั้งและให้มีการหารือกับประเทศที่ได้รับผลกระทบก่อนดำเนินการมาตรการดังกล่าว สำหรับ ประเทศไทยก็มีช่องทางการหารือกับสหภาพยุโรปหลายช่องทาง เช่น การประชุมคณะทำงานด้านการค้าและ การลงทุนไทย-EU (Working Group on Trade and Investment : WGTI) คณะกรรมการว่าด้วยการค้า และการพัฒนาที่ยั่งยืน (Committee on Trade and Sustainable Development : TSD Committee) และการหารือกับคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (EU Delegation) สำหรับการเตรียมการและการดำเนินการต่อไปของกรมเจราจาการค้าระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 1) ติดตามพัฒนาการกฎหมาย Deforestation-free products รายละเอียดกฎหมายลูกและรายการ สินค้าภายใต้มาตรการ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและความคืบหน้า และเตรียมความพร้อมด้านองค์ความรู้และ โครงสร้างพื้นฐาน 2) ศึกษารายละเอียดของมาตรการและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมและการปรับตัว 3) ผลักดันความร่วมมือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรการและกฎหมาย Deforestation-free products เช่น การให้มี knowledge sharing โดยผู้เชี่ยวชาญของ EU เพื่อสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทาง/ระเบียบ วิธีที่เกี่ยวข้อง การผลักดันความร่วมมือในเรื่องการพัฒนาระบบตรวจสอบ การรับรองสินค้า ระบบการจัดการ


สรุปผลการเสวนา “กฎระเบียบ EU Deforestation Free Products: โอกาส ผลกระทบ และความพร้อมของประเทศไทย” 6 หรือมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถปฏิบัติตามกฎหมาย Deforestation-free products ได้การ ขอรับการสนับสนุนจาก EU ผ่านการจัดทำกรอบความร่วมมือด้านป่าไม้(Forest Partnership) ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงในบริบทของอุตสาหกรรมไม้ยางพารา ซึ่งในปี 2565 มีการส่งออกไม้ไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.35 แสนล้านบาท เป็นสินค้ากลุ่มไม้แปรรูป ปาร์ติเกิลบอร์ด MDF ฯลฯ ประมาณ 1 แสนกว่าล้านบาท ส่วนสินค้าอื่น ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้มีการส่งออกไปตลาดโลกมี มูลค่าประมาณ 16,000 ล้านบาท และชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้ประมาณ 15,000 ล้านบาท ทั้งนี้เฟอร์นิเจอร์ไม้มี การส่งออกไปยุโรปมากพอสมควรน่าจะมากกว่า 10 % ของปริมาณการส่งออกไปตลาดโลกทั้งหมด สำหรับ ผลกระทบของ EUDR ต่ออุตสาหกรรมไม้ยางพารานั้น แต่เนื่องจากไม้ยางพาราที่เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ปลูกกันมาก่อน 31 ธันวาคม 2563 อยู่แล้ว และทาง กยท. มีระบบตรวจสอบที่ชัดเจน จึงไม่น่ากังวลถึง ผลกระทบจาก EUDR เท่าไรนัก แต่คงต้องดูรายละเอียดเนื้อหาสาระสำคัญต่อไปว่าเป็นอย่างไร เรื่องสำคัญ คือ เมื่อมีการประเมินระดับความเสี่ยงของประเทศแล้ว จะมีการตรวจสอบย้อนกลับอย่างไรที่จะทำให้ผู้นำเข้า สินค้ามีความเชื่อถือสินค้าปัจจุบัน EU ซื้อไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยอยู่แล้ว ซึ่งก็มี กระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง การประเมินความเสี่ยงและตรวจสอบโรงงานมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ดังนั้น หากมาตรการของ EUDR สอดคล้องกับมาตรการที่ทำกันอยู่แล้ว ก็ไม่น่าเป็นห่วงเรื่องผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมไม้ยางพารา จากข้อมูลการเสวนาดังกล่าวข้างต้นทั้งหมด เห็นได้ว่า ประเทศไทยโดยหน่วยงานภาครัฐ รวมถึง ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องร่วมกันเร่งสร้างความพร้อมเพื่อรับมือกับ EUDR ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศใช้กลางปี 2566 และจะมีผลบังคับใช้หลังประกาศอีกประมาณ 18-24 เดือน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสินค้าควบคุมทั้ง 7 กลุ่ม ทั้งนี้เวทีเสวนา ได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐและภาคส่วนที่ เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อม จำนวน 6 ข้อ ดังนี้ 1) ควรเร่งบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสินค้าควบคุมทั้ง 7 กลุ่ม เพื่อให้เกิดความ ถูกต้องและชัดเจนในหลายประเด็น เช่น แผนที่การใช้ที่ดินในพื้นที่ป่า ข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูก การยืนยัน แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิต ฯลฯ โดยควรมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ผู้ประสานงานหลัก เพื่อให้การดำเนินงานมีความก้าวหน้าและรวดเร็วมากขึ้น 2) ควรมีการรวบรวมกระบวนการ ข้อกฎหมาย และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีความพร้อมใน รูปแบบเอกสารเพื่อใช้ในการเจรจากับ EU ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด 3) เพิ่มช่องทางการสื่อสารกับทาง EU ให้มากขึ้นและต่อเนื่อง 4) เร่งสื่อสารและประชาสัมพันธ์เรื่อง EUDR ผ่านช่องท่างต่าง ๆ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาค ส่วนได้รับทราบข้อมูลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ต่อเนื่อง และเข้าถึงได้ง่าย 5) การสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรที่จะให้ดำเนินการต่าง ๆ ตามนโยบายของภาครัฐ จำเป็นต้อง อาศัยการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 6) ควรมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาให้กับผู้ผลิตสินค้าชนิดสำคัญอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมได้ทันท่วงทีหาก EU มีการขยายประเภทสินค้าควบคุมในระยะต่อไป


Click to View FlipBook Version