อารยธรรมยุคโบราณ
กรีกและโรมัน
ก
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ส33102) ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่องอารยธรรมยุคโบราณ : กรีกและโรมัน
ซึ่งรายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับแหล่งที่ตั้งอารยธรรม การเมืองการปกครอง ศาสนา การแพทย์ ปรัชญา
มหากาพย์ วิทยาศาสตร์ ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วิศวกรรม ภาษา ตลอดจนเรื่องการทำสงคราม
คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นประโยชน์จากการจัดทำรายงานครั้งนี้เป็นอันมาก ผู้จัดทำจะต้องขอขอบคุณ
ครูธเนศ ชะพินทร ผู้ให้ความรู้ และแนวทางการศึกษา เพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด
ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน
คณะผู้จัดทำ
21 ธันวาคม 2565
สารบัญ ข
คำ นำ ก
ส า ร บั ญ ข
อ า ร ย ธ ร ร ม ก รี ก 1
1
แ ห ล่ ง ที่ ตั้ ง 2
การปกครอง 3
ศาสนา 4
ก า ร แ พ ท ย์ 5
ป รั ช ญ า 6
ม ห า ก า พ ย์ 7
วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ 8
สงคราม 9
ส ถ า ปั ต ย ก ร ร ม 10
อ า ร ย ธ ร ร ม โ ร มั น 10
แ ห ล่ ง ที่ ตั้ ง 11
การปกครอง 12
ก า ร แ พ ท ย์ 13
ป ร ะ ติ ม า ก ร ร ม 14
ส ถ า ปั ต ย ก ร ร ม 15
วิ ศ ว ก ร ร ม 16
สงคราม 17
ภาษา 18
บ ร ร ณ า นุ ก ร ม
1
อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกเกิดขึ้นในบริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรบอลข่านและชายฝั่งทะเลอีเจียน ซึ่งกั้นระหว่าง
คาบสมุทรบอลข่านและเอเชียไมเนอร์ บริเวณเหล่านี้อยู่ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งรายรอบด้วยอารยธรรม
สำคัญของโลก คืออารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ใกล้กับเกาะครีตซึ่งเป็นศูนย์กลาง
ของอารยธรรมไมนวน (Minoan Civilization ประมาณปี 2000-1400 ก่อนคริสต์ศักราช) ที่เกิดจากการ
ผสมผสานอารยธรรมของดินแดนในแถบรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้ชาวกรีกสมัยโบราณมีโอกาสรับและ
แลกเปลี่ยนความเจริญด้านต่าง ๆ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์จากเกาะครีต
2
การปกครอง แบบนครรัฐของกรีกที่มีความหลากหลาย ส่งเสริมให้นครรัฐแต่ละแห่งมี
โอกาสพัฒนารูปแบบและวิธีการปกครองของตนเอง นครรัฐสำคัญที่มีบทบาทพัฒนาอารยธรรม
ด้านการปกครอง ได้แก่ สปาร์ตาและเอเธนส์
นครรัฐสปาร์ตา มีการปกครองแบบทหารนิยม
คณะผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาด พลเมือง
ชายทุกคนที่มีอายุ ตั้งแต่ 20-60 ปี ต้องถูกฝึกฝนให้
เป็นทหาร เรียนรู้วิธีการต่อสู้และเอาตัวรอดในสงคราม
แม้แต่พลเมืองหญิงก็ยังต้องฝึกให้มีสุขภาพแข็งแรง
เพื่อเตรียมเป็นมารดาของทหารที่แข็งแกร่งในอนาคต
อนึ่ง พวกสปาร์ตายังต่อต้านความมั่งคั่งฟุ่มเฟือย เพราะเกรงว่าอำนาจของเงินตราจะทำลายระเบียบวินัย
ทหาร รวมทั้งยังไม่สนับสนุนการค้าขายและการสร้างสรรค์ศิลปกรรมใด ๆ การปกครองของพวกสปาร์ตา
นับเป็นการขัดขวางสิทธิของปัจเจกชน และเป็นต้นกำเนิดของระบอบการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ
(Totalitarianism)
นครรัฐเอเธนส์ เป็นต้นกำเนิดของรัฐประชาธิปไตย
นครรัฐเอเธนส์ปกครองโดยสภาห้าร้อย ซึ่งได้รับเลือกจาก
พลเมืองเอเธนส์ที่มีสิทธิออกเสียง สภานี้มีหน้าที่ตรวจสอบ
ร่างกฎหมายและบริหารการปกครอง นอกจากนี้ยังมีสภา
ราษฎร ซึ่งเป็นที่ประชุมของพลเมืองที่มีสิทธิออกเสียงทุกคน
และทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย
การที่เอเธนส์ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ปัจเจกชน ทำให้เกิดนักคิดและนักปราชญ์ที่เรียกว่าพวกโซฟิสต์
(Sophists) สำนักต่าง ๆ ในสังคมเอเธนส์ แนวคิดและปรัชญาของนักปรัชญาคนสำคัญ ได้แก่ โซเครติส
และเพลโต ยังเป็นหลักปรัชญาของโลกตะวันตกด้วย
3
ศาสนา
ชาวกรีกโบราณไม่มีคำว่า ศาสนา อย่างในความหมายสมัยใหม่ นอกจากนี้ไม่มีนักเขียนสมัยกรีก
โบราณคนใดบรรยายการบูชาเทพหรือสิ่งเคารพว่าเป็นศาสนา ตัวอย่างเช่น เฮอรอโดทัสกล่าวว่าชาวกรีกมี
แท่นบูชาทั่วไปสำหรับเทพและการบูชายัญ และธรรมเนียมปฏิบัติที่คล้ายกัน
ศาสนาที่นับถือปฏิบัติในกรีกโบราณประกอบด้วยชุดความเชื่อ พิธีกรรมและประมวลเรื่องปรัมปรา
เป็นความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ชาวกรีกโบราณส่วนใหญ่รู้จักเทพเจ้าแห่งโอลิมปัส 12 องค์ ได้แก่ ซูส ฮีรา
โพไซดอน ดิมีเทอร์ อะธีนา แอรีส แอโฟรไดที อะพอลโล อาร์เตมิส ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส และเฮสเตียหรือไดอะ
ไนซัส แม้ว่านักปรัชญาบางกลุ่มอย่างลัทธิสโตอิกและลัทธิเพลโตจะใช้ภาษาที่สื่อถึงเทพระดับอุตรภาพองค์
เดียว การบูชาเทพโอลิมปัสและองค์อื่น ๆ พบได้ทั่วไปในอารยธรรมกรีกโบราณ โดยเทพเหล่านี้มักมีฉายาที่
พรรณนาถึงคุณลักษณะ รวมถึงสะท้อนการรับเทพท้องถิ่นเข้ามาในวัฒนธรรมของตน
ศาสนากรีกโบราณเชื่อในโลกหลังความตายที่เป็นที่อาศัยของวิญญาณ
แนวคิดแรก ๆ (ในอีเลียดและโอดิสซีย์) เชื่อว่าเมื่อเสียชีวิต วิญญาณของผู้เสียชีวิต
จะถูกส่งไปยังยมโลกโดยไม่แบ่งแยก ก่อนที่แนวคิดยุคหลัง (ปรัชญาลัทธิเพลโต) จะ
เสริมว่ามีการแยกวิญญาณผู้ทำดีและผู้ทำชั่วออกจากกัน ยมโลกเป็นพื้นที่มืดมิด
ปกครองโดยเฮดีส แตกต่างจากโลกมนุษย์ที่มีแสงอาทิตย์ และเขาโอลิมปัสที่อากาศ
สดใส นอกจากยมโลกแล้ว ยังมีทาร์ทารัสซึ่งเป็นเหวลึกสำหรับทรมานและลงโทษผู้
ทำชั่ว และอีลิเซียมซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนของวิญญาณผู้ทำดี ปรัชญากรีกโบราณ
มีแนวคิดการกลับชาติมาเกิดที่เรียกว่า เมเตมไซโคซิส (metempsychosis) ซึ่งมี
การสั่งสอนในลัทธิออร์ฟิสม์ ลัทธิพีทาโกรัส และลัทธิเพลโต
การนับถือศาสนากรีกโบราณแผ่ขยายจากกรีซแผ่นดินใหญ่ไปถึงไอโอเนีย อานาโตเลีย มังนาไกรกิอาและมาร์แซย์
ศาสนาในอิตาลีช่วงต้นอย่างศาสนาอิทรัสคันได้รับอิทธิพลจากศาสนากรีกโบราณ ซึ่งส่งอิทธิพลต่อไปยังศาสนาโรมันโบราณ
4
การแพทย์
ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) เป็นแพทย์ชาวกรีกที่มีชื่อเสียง และค้นพบว่าโรคร้าย
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากธรรมชาติไม่ใช่การลงโทษลงพระเจ้า เขาเชื่อว่าวิธีการรักษา
ที่ดีที่สุดคือการควบคุมด้านโภชนาการและการพักผ่อน นอกจากนี้ ฮิปโปเครตีสยังเป็นผู้
ริเริ่มวิธีการรักษาโรคด้วยการผ่าตัด และกำหนดหลักจรรยาแพทย์ที่ถือปฏิบัติต่อมาจนถึง
ปัจจุบัน
ฮิโปรเครติส ได้จัดหมวดหมู่การเจ็บป่วยออกเป็นหลาย
ประเภท ได้แก่ เฉียบพลัน, เรื้อรัง, โรคประจำถิ่น และการแพร่
ระบาด รวมถึงการใช้คำศัพท์ต่าง ๆ เช่น กำเริบ, เป็นซ้ำ, หายแล้ว,
วิกฤติ, เป็น ๆ หาย ๆ, อาการสูงสุด, ระยะฟักตัว ซึ่งเรื่องเช่นนี้เมื่อ
2,000 ปีก่อนถือเป็นเรื่องล้ำสมัยมาก เขายังเป็นแพทย์คนแรกที่ทำ
ระเบียนบันทึกอาการและประวัติของคนไข้ วางกฎเกณฑ์วิธีการ
ปฏิบัติของแพทย์ต่อคนไข้ ซึ่งยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ถึงปัจจุบัน ฯลฯ
“บิดาแห่งการแพทย์-Father of Medicine”
ฮิปโปรเครติสก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ที่เกาะคอส (Kos) ประเทศกรีซ นักเรียนใหม่ที่จะเข้ามา
เรียนในโรงเรียนของเขาจะต้องกล่าIวคำปฏิญาณ ที่เรียกว่า “คำปฏิญาณฮิปโปเครติส”
(Hippocrates oath) ต่อหน้าผู้เป็นครู และเพื่อนร่วมวิชาชีพของเขา คำปฏิญาณนี้เป็นการกำหนด
มาตรฐานของมารยาทและการปฏิบัติวิชาชีพแพทย์
5
ปรัชญา
ความเจริญด้านปรัชญาได้รับการยกย่องว่าเป็นความเจริญสูงสุดของภูมิปัญญากรีกเช่นเดียวกับ
ความเจริญด้านศิลปกรรม นักปรัชญากรีกที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ได้แก่ โซเครติส เพลโต และอริสโตเติล
แอริสตอเติลเป็นผู้เขียน Prior Analytics ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น
งานศึกษาตรรกศาสตร์รูปนัยที่มีอายุมากที่สุด และมโนทัศน์ตรรกศาสตร์
ของเขาเป็นตรรกศาสตร์ตะวันตกรูปที่ครอบงำจนมีความก้าวหน้าในคณิต
ตรรกศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
อริสโตเติล
สิ่งที่ปัจจุบันเรียก ตรรกศาสตร์แบบแอริสตอเติลและตรรกบทประเภทต่าง ๆ (วิธีการให้เหตุผลเชิง
ตรรกะ) แอริสตอเติลเองเรียกว่า ศาสตร์การวิเคราะห์ (analytics) คำว่า "logic" นั้นเขาสงวนไว้หมายถึง
วิภาษวิธี งานส่วนใหญ่ของแอริสตอเติลอาจไม่อยู่ในรูปดั้งเดิม เพราะน่าจะมีการแก้ไขโดยนักเรียนและผู้สอนใน
ภายหลัง งานเชิงตรรกะของแอริสตอเติลมีการรวบรวมเป็นหนังสือหกเล่มชื่อ ออร์กานอน เมื่อประมาณ 40 ปี
ก่อนคริสต์ศักราช
การวิเคราะห์งานเขียนของแอริสตอเติลเริ่มจากพื้นฐาน คือ การวิเคราะห์พจน์อย่างง่าย, การวิเคราะห์
ประพจน์และความสัมพันธ์มูลฐาน, การศึกษาตรรกบทและวิภาษวิธี
อภิปรัชญาของเพลโต เพลโต
ผลงานที่เป็นที่จดจำที่สุด หรืออาจเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเพลโต ก็คือ
อภิปรัชญาแบบทวิภาค ที่มักเรียกกันว่า (ในอภิปรัชญา) ลัทธิเพลโต หรือ สัจนิยม
อภิปรัชญาของเพลโตได้แบ่งโลกออกเป็นสองมุม คือ โลกของรูปแบบ (form) และโลกที่
รับรู้ได้ เขามองว่าโลกที่รับรู้ได้ รวมถึงสิ่งของต่าง ๆ ในนั้น คือ สำเนาที่ไม่สมบูรณ์แบบ
จาก รูปแบบ ที่คิดคำนึงได้ หรือ แนวความคิด โดยที่รูปแบบเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนแปลง และ
อยู่ในสภาวะสมบูรณ์แบบเสมอ การทำความเข้าใจกับรูปแบบเหล่านี้จะต้องใช้สติปัญญา
หรือความเข้าใจเท่านั้น อย่างไรก็ตามแนวคิดของการแบ่งแยกนี้ได้มีการค้นพบมาก่อน
หน้าเพลโนในปรัชญาของโซโรแอสเตอร์ โดยเรียกว่าโลกมินู (ปัญญา) และ โลกกีติ
(สัมผัส) รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับรัฐอุดมคติ ที่โซโรแอสเตอร์เรียกว่า ชาห์ริวาร์ (เมือง
อุดมคติ)
6
มหากาพย์
วรรณกรรมกรีกโบราณ คือ วรรณคดีที่เขียนด้วยภาษากรีกโบราณ ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีการจารึกเป็นภาษากรีก
ต่อมาจนถึงสมัยจักรวรรดิไบเซนไทน์ งานวรรณคดีภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือตกทอดมา คือ มหากาพย์
สองเรื่องที่กวีโฮเมอร์รจนาขึ้นในยุคอาร์เคอิก หรือประมาณศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ได้แก่ อีเลียด และโอดิสซี ซึ่ง
เล่าเหตุการที่เกิดขึ้นในยุคขุนศึกของอารยธรรมไมซีนี มหากาพย์สองเรื่องนี้กับงานเขียนร้อยกรองในยุคเดียวกัน
ได้แก่ เพลงสวดโฮเมอริค (Homeric Hymns) และบทกวีอีกสองเรื่องของเฮสิโอด คือ ธีออโกนี (Theogony) และ
งานและวัน (works and days) ถือได้ว่าเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและรากฐานของธรรมเนียมทางวรรณกรรมของชาวกรีก
สืบต่อไปถึงยุคคลาสสิค, สมัยอารยธรรมเฮเลนิสติก และยังเป็นรากฐานให้กับวรรณคดีของชาวโรมันอีกด้วย
อีเลียด
7
วิทยาศาสตร์
เจริญรุ่งเรืองมากตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกค้นพบทฤษฎีทางเรขาคณิตและ
พีชคณิต ซึ่งเป็นพื้นฐานของการคำนวณและประมวลผลขั้นสูง นอกจากนี้กรีกยังมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์
โดยมีอริสโตเติลเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาวิชาพฤกษศาสตร์ สัตวแพทย์ และกายวิภาค
ความก้าวหน้าด้านคณิตศาสตร์ช่วยให้นักดาราศาสตร์ชาวกรีกคำนวณตำแหน่งของดวงดาวและระบบสุริยะ
จักรวาล นักดาราศาสตร์กรีกบางคนเชื่อว่าโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นหมุนรอบดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่
สามารถโน้มน้าวให้ชาวกรีกยอมรับการค้นพบนี้ อนึ่ง นักภูมิศาสตร์กรีกยังเชื่อว่าโลกกลมซึ่งทำให้สามารถเดินเรือจาก
กรีกไปถึงอินเดียได้ รวมทั้งยังค้นพบว่าการขึ้นลงของกระแสน้ำเกิดจากอิทธิพลของดวงจันทร์
8
สงคราม
สงครามกรีก-เปอร์เซีย
ประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล จักรวรรดิเปอร์เซีย
มีอาณาเขตกว้างขวาง ยึดครองอาณาจักรต่าง ๆ ไว้ได้
เป็นจำนวนมาก โดยมีเขตแดนดังนี้ ทางทิศเหนือจดทะเลดำ
เทือกเขาคอเคซัส ทะเลสาปแคสเปียน ทิศใต้จดอ่าวเปอร์เซีย
ทะเลอาระเบียน ทิศตะวันออกจดแม่น้ำสินธุ เทือกเขาฮินดูกูด
ทิศตะวันตกจดทะเลเอเจียน และข้ามแม่น้ำไนล์เข้าไปในอียิปต์
9
สงครามเพโลพอนนีเซียน
เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างสองนครรัฐ
มหาอำนาจของดินแดนกรีซโบราณ คือ นครรัฐเอเธนส์ และ
นครรัฐสปาร์ต โดยในช่วงเวลาดังกล่าว นครรัฐเอเธนส์มี
กองทัพเรือที่เข้มแข็งที่สุด และถือว่าเป็นมหาอำนาจทางทะเล
ในขณะที่นครรัฐสปาร์ตานั้น มีกองทัพบกที่เกรียงไกรยิ่งกว่า
นครรัฐใด ๆ เมื่อครั้งที่พระเจ้าเซอร์เซสของเปอร์เชียยกทัพ
เข้ารุกรานดินแดนกรีซ เอเธนส์และนครรัฐอื่น ๆ อีกหลาย
นครได้รวมตัวกันเป็นสมาพันธ์เดลอส (Confederacy of
Delos)โดยมีเอเธนส์เป็นผู้นำ ซึ่งหลังจากสงครามครั้งนั้นสิ้น
สุดลงโดยเปอร์เชียล่าถอยกลับไปแล้ว สมาพันธ์ดังกล่าวก็ยัง
ดำรงอยู่ โดยสมาชิกต้องส่งเงินบำรุงสมาพันธ์ไปยังเอเธนส์
ซึ่งเอเธนส์จะมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการใช้จ่ายเงินดังกล่าว
การได้เป็นผู้นำสมาพันธ์เดลอส ทำให้อำนาจของเอเธนส์ในดินแดนกรีซเพิ่มขึ้น ประกอบกับเอเธนส์
ประสบความสำเร็จในการค้าทางทะลจนเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่ง ในขณะเดียวกัน สปาร์ตาซึ่งมีบทบาทสำคัญใน
สงครามกับเปอร์เชีย ก็จับตามองเอเธนส์อย่างไม่ไว้วางใจ ทั้งนี้นครทั้งสองมีการแข่งขันกันมาเป็นเวลานาน
แล้ว โดยเอเธนส์เป็นนครที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งให้เสรีภาพกับประชาชนมากกว่าสปาร์ตาที่
ปกครองแบบเผด็จการทหาร ซึ่งหลังจากสงครามเปอร์เซียสิ้นสุดลง เอเธนส์ได้เผยแพร่แนวคิดประชาธิปไตย
ไปยังรัฐอื่น ๆ สร้างความไม่พอใจให้กับสปาร์ตาและนครรัฐที่ปกครองแบบเผด็จการอีกหลายนคร อีกทั้ง
ความรุ่งเรืองของเอเธนส์ยังทำให้นครรัฐเหล่านี้เกิดความริษยา
เพื่อคานอำนาจกับเอเธนส์ ทางสปาร์ตาจึงได้ตั้งสมาพันธ์เพโลพอนนีเซียน (Confederacy of
Peloponnesian) ขึ้น โดยมีตนเองเป็นผู้นำ และด้วยเหตุนี้ สปาร์ตาจึงกลายเป็นมหาอำนาจทางบก ส่วน
เอเธนส์กลายเป็นมหาอำนาจทางทะเลและการแข่งขันระหว่างสองฝ่ายก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
10
สถาปัตยกรรม
ชาวเอเธนส์ได้สร้างสรรค์งานด้าน
สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นให้แก่ชาวโลกจำนวนมาก
ส่วนใหญ่ เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรม
สาธารณะ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร
ความโดดเด่นของงานสถาปัตยกรรมไม่ได้ขึ้น อยู่กับ
ความใหญ่โตของสิ่งก่อสร้าง แต่เป็นความงดงาม
ของสัดส่วนที่สมบูรณ์แบบ เช่น วิหารพาร์เทนอน
(Parthenon) ที่ ตั้งอยู่บนเนินเขาอะโครโพลิส
(Acropolis) เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีสัดส่วนงดงามทั้ง
ความยาว ความกว้างและความสูง จัดว่าเป็นผลงาน
ชิ้นเอกของโลก
11
อารยธรรมโรมัน
แหล่งที่ตั้ง
อารยธรรมโรมันกำเนิดที่คาบสมุทรอิตาลี ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ
ทวีปยุโรป โดยมีลักษณะเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะ
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา และเนินเขา ได้แก่ เทือกเขาแอลป์ทางทิศเหนือ
ซึ่งกั้นคาบสมุทรอิตาลีออกจากดินแดนส่วนอื่นของทวีปยุโรป และเทือกเขา
แอเพนไนน์ซึ่งเป็นแกนกลางของคาบสมุทร
12
การปกครอง
ชาวโรมันได้สถาปนาการปกครองระบอบสาธารณรัฐขึ้นหลังจากรวมอำนาจ
ในแหลมอิตาลีได้ ระบอบสาธารณรัฐสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ชาวโรมัน
เพราะเป็นระบอบที่เปิดโอกาสให้พลเมืองโรมันทุกคนทั้งชนชั้นสูง สามัญชน และ
ทหารมีส่วนร่วมในการปกครองด้วยการเลือกตั้งตัวแทนของกลุ่มตนเข้าไปบริหาร
ออกกฎหมายกำหนดนโยบายต่างประเทศ
13
การแพทย์
ชาวโรมันมีความสามารถทางด้านการแพทย์ โดยเฉพาะด้าน
การศัลยกรรมหรือการผ่าตัด สาธารณสุข มีการประดิษฐ์คีมและปากคีบ
เพื่อช่วยในการศัลยกรรมผ่าตัด สามารถผ่าตัดท่อนทอนซิล คอพอก นิ่ว
และผ่าตัดทำคลอดหน้าท้อง เชื่อกันว่าจูเลียต ซีซ่าร์ เป็นทารกคนแรกที่
คลอดวิธีนี้จึงเรียกการผ่าตัดแบบนี้ว่า “การผ่าแบบซีซ่าร์”
14
ประติมากรรม
ประติมากรรมของโรมัน รับอิทธิพลมากจากชาวอีทรัสกันและกรีกยุคเฮเลนิสติก
แสดงถึงลักษณะที่ถูกต้องทางกายภาพ เป็นแบบอุดมคติที่เรียบง่าย แต่ดูเข้มแข็ง
ประติมากรรมอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมคือ ประติมากรรมรูปนูนเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
มีรายละเอียดของเรื่องราว เหตุการณ์ถูกต้อง ชัดเจน ประติมากรรมโรมันในยุคหลัง ๆ
เริ่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนามากเป็นพิเศษ วัสดุที่ใช้สร้างประติมากรรม
ของโรมันมักสร้างขึ้นจาก ขี้ผึ้ง ดินเผา หิน และสำริด
Mars AVGVSTVS
15
สถาปัตยกรรม โรมัน (อังกฤษ: Architecture of ancient Rome) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรม
ของโรมันโบราณที่ประยุกต์มาจากสถาปัตยกรรมกรีกตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราชมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของ
ตนเอง ลักษณะสถาปัตยกรรมทั้งสองถือว่าเป็น “สถาปัตยกรรมคลาสสิก”
สถาปัตยกรรมโรมัน ได้แก่อาคารต่าง ๆ ส่วนมากเป็นรูปทรงพื้นฐาน วัสดุที่ใช้สร้างอาคารได้แก่ ไม้ อิฐ ดินเผา หิน ปูน และ
คอนกรีต ซึ่งชาวโรมันเป็นชาติแรกที่ใช้คอนกรีตอย่างกว้างขวาง และพัฒนารูปแบบออกจากระบบเสาและคาน ไปสู่ระบบโครงสร้าง
วงโค้ง หลังคาทรงโค้ง หลังคาทรงกลม และหลังคาทรงโค้งกากบาท มีการนำสถาปัตยกรรมที่สำคัญของกรีกทั้ง 3 แบบ
มาเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงให้วิจิตรบรรจงขึ้นชาวกรีกใช้เสาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง แต่ชาวโรมันมักจะเพิ่มการตกแต่งลง
ไป โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ทางโครงสร้างเท่าไรนัก ลำเสาของกรีกจะเป็นท่อน ๆ นำมาวางซ้อนต่อกันขึ้นไป แต่เสาของโรมันจะ
เป็นเสาหินท่อนเดียวตลอด รูปแบบอนุสาวรีย์ที่พบมากของโรมัน คือ ประตูชัย เป็นสิ่งก่อสร้างตั้งอิสระประดับตกแต่งด้วยคำจารึก
และรูปนูนบรรยายเหตุการณ์ที่เป็นอนุสรณ์ สถาปัตยกรรมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโรมัน คือ สะพานส่งน้ำ ซึ่งใช้เป็นทางส่งน้ำ
จากภูเขามาสู่เมืองต่าง ๆ ของชาวโรมันเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิศวกรรมของโรมันอย่างเห็นได้ชัด
Nnnnnสถาปัตยกรรมโรมัน ในช่วง พ.ศ. 600 - 873 ได้สะท้อนให้เห็นความมั่งคั่งและ
อำนาจของจักรวรรดิโรมัน อาคารสถาปัตยกรรมมีขนาดกว้างใหญ่ และมีการตกแต่ง
อย่างฟุ่มเฟือย มีการควบคุมทำเลที่ตั้ง การจัดภูมิทัศน์อย่างพิถีพิถัน มีการสร้าง
ลานชุมนุมชาวเมือง โรงมหรสพหรือสนามกีฬา โรงอาบน้ำสาธารณะ และอาคารที่พัก
อาศัยต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ภายในอาคารมักประดับด้วยหินอ่อน หินสี และ
ประติมากรรมแกะสลักตกแต่งอย่างสวยงาม
16
วิศวกรรม Pont du gard
โรมันโบราณมีชื่อเสียงสำหรับขั้นสูงด้าน
วิศวกรรมความสำเร็จ เทคโนโลยีในการนำน้ำไหลเข้าสู่
เมืองได้รับการพัฒนาในภาคตะวันออก แต่ชาวโรมัน
เปลี่ยนไปเป็นเทคโนโลยีที่นึกไม่ถึงในกรีซ สถาปัตยกรรม
ที่ใช้ในโรมได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแหล่งที่มาของ
กรีกและอีทรัสคัน
ถนนเป็นเรื่องธรรมดาในเวลานั้น แต่ชาวโรมันได้
ปรับปรุงการออกแบบและปรับปรุงการก่อสร้างให้
สมบูรณ์แบบเท่าที่ถนนหลายสายยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน
ความสำเร็จของพวกเขาค้นพบอารยธรรมอื่น ๆ เวลา
ส่วนใหญ่ของพวกเขาและหลังจากเวลาของพวกเขา
และอีกหลายแห่งโครงสร้างของพวกเขามีความคงตัว
การทดสอบของเวลาที่จะสร้างแรงบันดาลใจคนอื่น ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
ยิ่งไปกว่านั้รการมีส่วนร่วมของพวกเขาได้รับ
การอธิบายในรายละเอียดโดยผู้เขียนเช่น Pliny the
Elder ดังนั้นจึงมีการพิมพ์บันทึกเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์
และความสำเร็จมากมายของพวกเขา
17
สงคราม
มหาสงครามกลางเมืองโรมัน (49–45 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ
เรียก สงครามกลางเมืองซีซาร์ (อังกฤษ: Caesar's Civil War)
เป็นความขัดแย้งทางการเมือง-การทหารหนึ่งในสาธารณรัฐโรมัน
ก่อนการสถาปนาจักรวรรดิโรมัน สงครามนี้เริ่มจากการเผชิญหน้า
ทั้งทางการเมืองและการทหารหลายครั้งระหว่างจูเลียส ซีซาร์
ผู้สนับสนุนทางการเมืองของเขา และลีเจียน กับ Optimate (หรือ
Boni) กลุ่มแยกอนุรักษนิยมทางการเมืองและประเพณีนิยมทาง
สังคมของวุฒิสภาโรมัน ผู้ได้รับการสนับสนุนโดยปอมปีย์กับลีเจียน
ของเขา
หลังการต่อสู้ทางการเมือง-การทหารนานสี่ปี ซึ่งสู้รบกันในอิตาลี อัลเบเนีย กรีซ อียิปต์ แอฟริกา และ
ฮิสปาเนีย ซีซาร์พิชิต Optimate กลุ่มสุดท้ายในยุทธการที่มุนดา และกลายเป็นผู้เผด็จการตลอดชีพ
(Dictator perpetuo) แห่งโรม การเปลี่ยนแปลงการปกครองโรมันที่เกิดขึ้นพร้อมกับสงครามส่วนใหญ่
กำจัดประเพณีทางการเมืองของสาธารณรัฐโรมัน และนำไปสู่จักรวรรดิโรมันในที่สุด
18
ภาษา
ละติน ชาวโรมันได้พัฒนาภาษาละติน
จากตัวพยัญชนะในภาษากรีกที่พวกอีทรัสคันนำมาใช้ใน
แหลมอิตาลี ภาษาละตินมีพยัญชนะ 23 ตัว ใช้กันแพร่
หลายในมหาวิทยาลัยของยุโรปสมัยกลาง และเป็นภาษา
ทางราชการของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมา
จนถึงศตวรรษ 1960 นอกจากนี้ภาษาละตินยังเป็นภาษา
กฎหมายของประเทศในยุโรปตะวันตกนานหลายร้อยปี และ
เป็นรากของภาษาในยุโรป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส
สเปน โปรตุเกส และโรมาเนีย ภาษาละตินยังถูกนำไปใช้เป็น
ชื่อทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับภาษากรีกด้วย
19
บรรณานุกรม
1. หทัยณัฐ แก้วบัวดี. อารยธรรมกรีก. https://sites.google.com. 2558. แหล่งที่มา:
https://sites.google.com/site/historyinter123/xarythrrm-tawan-tk-smay-boran/xarythrrm-krik.
สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565
2. จันทรา ฤกษ์ยานีย์ และ แววพลอย เกิดเพชร. ตามรอย อารยธรรมกรีก-โรมัน. https://wordpress.com.
แหล่งที่มา: https://citly.me/p0APu.
สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565
3. ณัฐวรรณ เลาคำ. อารยธรรมกรีก-โรมัน. https://sites.google.com. 2560. แหล่งที่มา:
https://sites.google.com/site/prawatisastrthiy12/xarythrrm-krik-roman
สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565
4. นิรนาม. อารยธรรมโรมัน. https://www.trueplookpanya.com. 2555. แหล่งที่มา:
https://www.trueplookpanya.com/blogdiary/26568
สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565
5. หทัยณัฐ แก้วบัวดี. อารยธรรมโรมัน. https://sites.google.com. 2558. แหล่งที่มา:
https://sites.google.com/site/historyinter123/xarythrrm-tawan-tk-smay-boran/xarythrrm-
roman
สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565
6. สุมินตรา เยนา. อารยธรรมโรมัน. https://sites.google.com. 2557. แหล่งที่มา:
https://sites.google.com/site/xarythrrmromanror/
สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2565
7. นิรนาม. สงครามครั้งสุดท้ายของสาธารณรัฐโรมัน. https://th.m.wikipedia.org/wiki/. 2561. แหล่งที่มา:
https://th.wikipedia.org/wiki/สงครามครั้งสุดท้ายของสาธารณรัฐโรมัน
สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2565
สมาชิก
นางสาวดวงกมล
เลขที่ 13
เลขที่ 34
ชื่นเอี่ยม เลขที่ 37
เลขที่ 38
นางสาวสุพิชชา แก้วศรีงาม
นางสาวแพรพันธุ์ทิพย์ นิยม
นางสาวละอองดาว เพ็ชรัตน์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/8