The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

1.เอกสารLegal aid - Copy

1.เอกสารLegal aid - Copy

LEGAL AID

ระบบการใหค้ วามชว่ ยเหลือ
ทางกฎหมาย

จดั ทำโดย กล่มุ งานพฒั นาระบบพทิ กั ษส์ ทิ ธแิ ละเสรีภาพ
กองพิทักษ์สิทธแิ ละเสรภี าพ

บทนำ

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยได้แพร่ขยายออกเป็นวงกว้าง และเพิ่มข้ึน
เป็นจำนวนมาก อย่างที่เห็นได้ชัด คือ ปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และการช่วยเหลือทางกฎหมาย ยังคง
เป็นปัญหาที่หน่วยงานภาครัฐพยายามแก้ไขอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ปัญหาเหล่าน้ีส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการที่
ประชาชนไม่รู้กฎหมาย หรือการไม่สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้ เมื่อประชาชนกลุ่มนี้ ตกเป็นผู้เสียหาย
เหยื่ออาชญากรรม ผู้ต้องหา หรือผู้ถูกละเมิดสิทธิต่าง ๆ จึงไม่รู้ว่าจะหาสถานที่ขอรับบริการคำปรึกษาทางกฎหมาย
คำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ขั้นตอนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และการช่วยเหลือในด้านอื่น ๆ รวมถึงมี
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเป็นการเฉพาะได้จากที่ใด ซึ่งแท้จริงแล้ว การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และการ
ช่วยเหลือทางกฎหมาย เป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนที่ถูกรับรองไว้ใน หลักการและแนวปฏิบัติแห่งสหประชาชาติ
ว่าด้วยการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในระบบยุติธรรมทางอาญา ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
กฎหมายหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายรฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย โดยรฐั มหี นา้ ที่ประการสำคัญท่ีต้อง
ดำเนินการจัดหาและช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่เท่าเทียม ทั่วถึง เป็นธรรม และไม่คิด
ค่าใชจ้ า่ ย อกี ทั้ง หน่วยงานของรฐั ต้องสร้างหลักประกันการคุม้ ครองสิทธิและเสรีภาพให้กบั ประชาชนอย่างเสมอภาค
ดังนั้น การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และการช่วยเหลือทางกฎหมาย จึงเป็นภารกิจสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐต้อง
กำหนดและดำเนินการวางระบบ มาตรการ กลไกในการช่วยเหลือทางกฎหมาย และช่องทางการช่วยเหลือประชาชน
ทางกฎหมาย ให้เกดิ เป็นรปู ธรรม เพ่ือมุ่งเน้นการลดปัญหาความเหล่อื มล้ำของสงั คมไทยได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ

คณะผู้จัดทำจึงได้รวบรวมระบบการช่วยเหลือทางกฎหมาย และช่องทางการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
ตามภารกิจของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์
กรมคุมประพฤติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมบังคับคดี กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมคุ้มครองสิทธิ
และเสรีภาพ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โดยจำแนกประเภทของระบบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
พร้อมช่องทางการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตามภารกิจของหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นแนวทาง
ในการให้บรกิ ารประชาชนได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การชว่ ยเหลือทางกฎหมายอย่างมีประสิทธภิ าพ มีมาตรการ
ช่วยเหลอื ประชาชนใหเ้ กดิ เป็นรปู ธรรม และเกิดประสิทธิผลมากยิง่ ขึน้

กลุ่มงานพฒั นาระบบพทิ ักษส์ ิทธิและเสรภี าพ
กองพทิ ักษส์ ิทธแิ ละเสรภี าพ
กันยายน 2565

สารบัญ

ระบบการใหค้ วามช่วยเหลือทางกฎหมาย (Legal aid) ...............................................................................................................๑
1. หลักการและแนวปฏบิ ตั ิแหง่ สหประชาชาตวิ า่ ดว้ ยการเข้าถึงความช่วยเหลอื ทางกฎหมาย ในระบบยตุ ิธรรมทางอาญา ......๑
2. ปฏญิ ญาสากลว่าดว้ ยสิทธิมนุษยชน....................................................................................................................................๖
3. กตกิ าระหวา่ งประเทศว่าด้วยสิทธพิ ลเมืองและสทิ ธทิ างการเมอื ง ........................................................................................๗
4. ตราสารกฎหมายระดบั ภูมภิ าค........................................................................................................................... ๘

กฎหมายไทย................................................................................................................................................................................๘
เปรยี บเทียบการชว่ ยเหลือทางด้านกฎหมายระดบั สากลและในประเทศไทย..............................................................................๑๐
ตารางสรปุ การเปรียบเทียบความแตกตา่ งระหว่างการชว่ ยเหลอื ทางดา้ นกฎหมายระดับสากลและในประเทศไทย...................๑๑
ประเภทการใหค้ วามช่วยเหลอื ทางกฎหมาย (Legal aid).........................................................................................................๑๒
การให้ความช่วยเหลอื ประชาชนทางกฎหมายภายใต้สังกัดกระทรวงยตุ ิธรรม ...........................................................................๑๓

1.1 กรมคุ้มครองสทิ ธแิ ละเสรภี าพ .......................................................................................................................................๑๔
1.2 สำนกั งานปลัดกระทรวงยุตธิ รรม ...................................................................................................................................๑๖
1.3 กรมสอบสวนคดีพิเศษ...................................................................................................................................................๑๘
1.4 สถาบนั นิตวิ ทิ ยาศาสตร์ .................................................................................................................................................๑๙
1.5 กรมบงั คบั คดี.................................................................................................................................................................๒๐
1.6 กรมราชทัณฑ์................................................................................................................................................................๒๑
1.7 กรมคมุ ประพฤติ ............................................................................................................................................................๒๒
1.8 กรมพนิ จิ และค้มุ ครองเด็กและเยาวชน ..........................................................................................................................๒๓
ตารางสรุปภารกจิ การชว่ ยเหลือประชาชนทางกฎหมายของหนว่ ยงาน ภายใตก้ ระทรวงยตุ ิธรรม..............................................๒๔
บทสรุป .....................................................................................................................................................................................๒๕



ระบบการใหค้ วามช่วยเหลือทางกฎหมาย (Legal aid)

ปัจจุบันวิวัฒนาการด้านการปกครองของนานาประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยอดีตเป็นอย่างมาก
หลาย ๆ รัฐเริ่มให้ความสำคัญกับประชาชนในประเทศมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะจำนวนประชากรสามารถ
บ่งบอกถึงความเป็นมหาอำนาจได้ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีนท่ีมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน หรือบางกรณี
มหาอำนาจอาจมีจำนวนประชากรน้อย แต่กลับมีคุณภาพสูง สาเหตุหลักอาจมาจากการวางกฎเกณฑ์ที่แน่นอน
ของรัฐนั้น ๆ ซึ่งรัฐในฐานะผู้ปกครองของประเทศจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์ วิธีการ หลักประกัน พร้อมทั้งมาตรการ
ที่สำคัญ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นคงต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน สวัสดิการ ตลอดจนการให้สิทธิ เสรีภาพ
และความเสมอภาค ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตย เช่น รัฐธรรมนูญได้รับรองหลักความเสมอภาค
ในทางกฎหมายและห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นสิทธิและเสรีภาพ
ในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพในเคหสถาน เสรีภาพในการเดินทาง เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร
สทิ ธิในครอบครวั เกียรตยิ ศชื่อเสยี ง ตลอดจนความเปน็ อยู่ส่วนตวั เสรีภาพในการสอ่ื สาร เสรภี าพในการนับถือศาสนา
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน สิทธิในการได้รับการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน สิทธิในกระบวนการ
ยตุ ิธรรม เปน็ ต้น ทงั้ นเี้ พื่อให้รัฐแต่ละรัฐเกิดความทดั เทียมกนั และมีมาตรฐานตามหลกั สากล ซง่ึ อาจหมายความได้ว่า
“ถ้าประชาชนของรัฐนั้น ๆ มีสิทธิเสรีภาพมาก ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศนั้นก็มีมาก หากสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชนถูกจำกดั หรอื ถกู ลิดรอนลงไป ประชาธิปไตยก็ไมอ่ าจมไี ด้”

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ถือเป็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
ขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ควรได้รับ โดยรัฐต้องช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม
มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งปัจจัยสำคัญของกระบวนการนี้ คือ รัฐจะทำ
อย่างไรให้ประชาชนสามารถเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของรัฐได้ เพราะการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่างมีปัญหา
และอุปสรรคที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทบุคคลหรือแต่ละสถานท่ี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้
คนไร้ที่พึ่ง ผู้ประสบปัญหาทางสังคมที่ไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ด้วยตนเอง รัฐจึงต้องมีการกำหนด
มาตรการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการ
ดังกล่าว โดยสิทธิที่ได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายของประชาชน ได้ปรากฏและถูกรับรองไว้ในตราสารระหว่าง
ประเทศและอนุสัญญาระหว่างประเทศมากมาย โดยตราสารกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการให้ความ
ชว่ ยเหลอื ทางกฎหมาย อาทิ

1. หลักการและแนวปฏิบัติแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในระบบยุติธรรม
ทางอาญา (United Nations Principles and Guidelines on Access to Legal Aid in Criminal Justice
Systems)1 มเี นอ้ื หาโดยสงั เขป ดังน้ี

ก. อารมั ภบท
การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบยุติธรรมทางอาญาที่มีความเป็นธรรม
มีมนุษยธรรมและมีประสิทธิภาพ โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักนิติธรรม การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเป็นพื้นฐาน
การเข้าถึงสิทธิอย่างอื่น รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม อีกทั้งระบบการให้ความช่วยเหลือ
ทางกฎหมายนั้นยังช่วยลดจำนวนนกั โทษในเรือนจำ ลดโอกาสที่จะกระทำผิดซ้ำ หรือโอกาสทีจ่ ะตกเปน็ ผู้เสยี หายซำ้
และยงั ช่วยสนบั สนุนการปอ้ งกันอาชญากรรม โดยทำใหป้ ระชาชนตระหนักรู้ถงึ กฎหมายมากข้ึนอกี ดว้ ย

1 รายงานสรปุ สำหรบั ผ้บู รหิ าร การประชุมปรกึ ษาหารอื การต้ังคณะกรรมการจรยิ ธรรมการวจิ ยั ในคนประจำสถาบัน ณ หอ้ งประชมุ ดร.สง่า สรรพศรี ชั้น 1
อาคาร วช.1 วันที่ 5 สิงหาคม 2558. ร่างคำแปลอย่างไม่เป็นทางการ หลักการและแนวปฏิบัติแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเข้าถึงความช่วยเหลือทาง
กฎหมาย ในระบบยตุ ิธรรมทางอาญา (United Nations Principles and Guidelines on Access to Legal Aid in Criminal Justice Systems)



หลักการและแนวปฏิบัติแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในระบบยุติธรรม
ทางอาญา ก. อารัมภบท ข้อ 8 ให้ความหมายของการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย (Legal aid) คือ “การให้
คำปรึกษา การให้ความช่วยเหลือ และการเป็นตัวแทนทางกฎหมายแก่บุคคลที่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือตาม
กฎหมายโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือมีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย” นอกจากนี้ การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
ยังครอบคลุมไปถึงบริการประเภทอื่นด้วย เช่น การให้ความรู้กฎหมาย การเข้าถึงข้อมูลกฎหมาย การไกล่ เกลี่ย
ข้อพิพาท และ ก. อารัมภบท ข้อ 11 หลักการแนะแนวปฏิบัติฉบับน้ียังมีพื้นฐานจากการยอมรับว่ารัฐควรดำเนิน
มาตรการแม้มาตรการนัน้ จะไม่เกี่ยวขอ้ งอย่างชดั เจนกับความชว่ ยเหลือทางกฎหมาย แต่สามารถขยายผลในเชงิ บวก
ของการกำหนดหรือการสนับสนุนระบบความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบ
ยุติธรรมทางอาญาและการเข้าถงึ ความยุตธิ รรมทเี่ หมาะสม

ข. หลกั การ
หลักการที่ 1 สทิ ธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย
ความช่วยเหลือทางกฎหมายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบยุติธรรมทางอาญา โดยมีพื้นฐานอยู่บน
“หลักนิติธรรม” ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบรรลุสิทธิด้านอื่น รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับ “การพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม”
และเป็นหลักประกันสำคัญที่คุ้มครองประชาชนให้เกิดความเปน็ ธรรมขั้นพื้นฐาน อีกทั้งรัฐควรประกันสิทธิท่ีจะได้รับ
ความช่วยเหลือทางกฎหมายใหม้ ากท่สี ุดเท่าที่เปน็ ไปได้ ท้งั นใ้ี ห้หมายความรวมถงึ กฎหมายระดบั รัฐธรรมนญู ดว้ ย

หลักการที่ 2 ความรบั ผิดของรัฐ
รัฐควรตระหนักว่า การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเป็น “หน้าที่และความรับผิดชอบ” ของรัฐ เพราะเหตุนี้
รัฐควรพิจารณา “ออกกฎและระเบียบเป็นการเฉพาะ” และ “ประกันให้มีระบบความช่วยเหลือทางกฎหมาย
ทคี่ รอบคลุม สามารถเขา้ ถึงได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ ยั่งยนื น่าเชอ่ื ถอื ” และควรจัดสรรทรัพยากรบุคคล งบประมาณ
ที่จำเป็น นอกจากนี้รัฐไม่ควรแทรกแซงการทำงานของหน่วยงานที่คุ้มครองผู้ได้รับประโยชน์จากความช่วยเหลือ
ดา้ นกฎหมาย และรฐั ควรส่งเสรมิ ภาคประชาชนให้มีความรู้เก่ียวกับสิทธิและพันธกรณตี ามกฎหมาย ส่งเสริมให้ชุมชน
มีความรู้เกี่ยวกับระบบยตุ ิธรรมและหน้าทีท่ ี่เกี่ยวข้อง วิธีการฟ้องคดีตอ่ ศาล และกลไกระงับข้อพิพาททางเลือกอื่น ๆ
รวมท้ังการนำมาตรการท่ีเหมาะสมมาใช้ให้ประชาชนทราบเกีย่ วกับการกระทำความผดิ ทางอาญา ซ่ึงรวมถึงผู้ท่ีอยู่ใน
เขตอำนาจศาลในระบบอ่ืน ซ่ึงมีประเภทและการฟ้องคดีอาญาท่แี ตกตา่ งไป

หลกั การที่ 3 ความช่วยเหลือทางกฎหมายสำหรบั บุคคลผ้ตู อ้ งสงสยั หรือถูกแจ้งข้อหาทางอาญา
รัฐควรประกันว่าบุคคลดังกล่าวจะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่าง “มีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน
ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะมีช่องทางการเข้าถึงหรือไม่ เพื่อประโยชน์แห่งความ
ยุติธรรม เช่น คดีที่มีความเร่งด่วน หรือซับซ้อน หรือคดีที่มีอัตราโทษรุนแรง นอกจากนี้เด็กควรได้รับความช่วยเหลือ
ทางกฎหมายภายใต้เงอ่ื นไขเดียวกัน หรอื ภายใตเ้ ง่อื นไขท่ีนอ้ ยกว่าผใู้ หญ่

หลักการท่ี 6 การไมเ่ ลือกปฏิบตั ิ
รฐั ควรประกนั ให้บุคคลได้รับความชว่ ยเหลือทางกฎหมาย ไมว่ า่ บคุ คลดังกล่าวจะมี อายุ เช้อื ชาติ สีผิว เพศสภาพ
ภาษา ศาสนาหรือความเชื่อ ความเห็นทางการเมือง แหล่งกำเนิด ฐานะทางเศรษฐกิจ สัญชาติ ถิ่นที่อยู่ การศึกษา
สถานะทางสงั คมหรอื สถานะอ่นื ใด

หลกั การที่ 8 สิทธทิ จ่ี ะได้รับการแจง้ ขอ้ มูล
รัฐควรประกันว่าก่อนจะมีการสอบปากคำ หรือกรณีอยู่ระหว่างการควบคุมตัว บุคคลดังกล่าวต้องได้รับการ
“แจ้งถึงสทิ ธิทีจ่ ะได้รับความชว่ ยเหลือทางกฎหมาย” และขั้นตอนการปฏบิ ตั อิ ืน่ รวมทง้ั ผลกระทบท่อี าจเกิดขึ้นจาก
การงดเว้นไม่ใช้สิทธิดังกล่าวโดยสมัครใจ นอกจากน้ีรัฐควรเผยแพร่ “ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม



ทางอาญา” และ “ข้อมูลเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย” เพื่อให้ประชาชนใช้บริการได้โดยเสรี
และสามารถเขา้ ถงึ ได้

หลกั การที่ 10 ความเทา่ เทียมในการเข้าถงึ กระบวนการยุติธรรม
รัฐควร “กำหนดมาตรการพิเศษ” เพื่อประกันให้มีการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายเป็นการเฉพาะ
สำหรับสตรี เด็ก ผู้สูงอายุ ชนกลุ่มน้อย ผู้พิการ ผู้มีอาการทางจิต ผู้ติดเชื้อ กลุ่มคนพื้นเมือง ผู้ไร้รัฐ ผู้แสวงหาที่พักพิง
คนต่างด้าว ผู้อพยพ แรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในประเทศ โดย “กำหนดให้เป็นมาตรการท่ีมีความ
ออ่ นไหวและใหม้ คี วามเหมาะสม”

หลักการท่ี 12 ความเปน็ อิสระและความคุม้ ครองผูใ้ ห้ความช่วยเหลอื ด้านกฎหมาย
รัฐควรประกันว่าผู้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ “มีอิสระโดย
ไม่ถูกคุกคาม ขัดขวาง ข่มขู่ หรือถูกแทรกแซงอย่างไม่เหมาะสม” สามารถเดินทางไปให้คำปรึกษาได้อย่างอิสระ
และไดร้ ับการปกปดิ ความลับอยา่ งสมบูรณ์ ทงั้ ภายในและนอกประเทศ รวมท้งั สามารถเข้าถึงสำนวนแฟม้ และสำนวน
คดีที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตลอดจนต้องมิได้รับผลกระทบจากการถูกข่มขู่ว่า จะถูกฟ้องร้องหรือดำเนินคดีอื่นใด ต่อการ
ปฏบิ ัติหน้าท่ีดงั กล่าว

หลักการท่ี 13 ความสามารถและการตรวจสอบได้ของผูใ้ หบ้ รกิ ารความช่วยเหลือดา้ นกฎหมาย
รัฐควรกำหนดกลไกเพื่อประกันว่า ผู้ให้บริการความช่วยเหลือทางกฎหมาย “มีการศึกษา ผ่านการอบรม
มีทักษะและประสบการณ์ที่เหมาะสม” หรือในกรณีที่มีการร้องเรียนทางวินัยต่อผู้ให้บริการดังกล่าว ต้องมีการ
สอบสวนและตัดสินโดยพลัน ตามหลักจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ และให้หน่วยงานที่เป็นอิสระเป็น
ผู้พิจารณา พรอ้ มทง้ั เปดิ โอกาสใหม้ ีการอุทธรณค์ ดตี ่อศาล

หลกั การที่ 14 ความรว่ มมอื
รฐั ควรสนับสนุนและส่งเสรมิ บทบาทของสมาคมทนายความ มหาวิทยาลยั ภาคประชาสงั คมและกลุ่มสถาบัน
ที่ให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ รวมไปถึงการกำหนดความร่วมมือร่วมกับเอกชน หรือความร่วมมือรูปแบบอื่น
เพ่อื ส่งเสรมิ ขอบเขตของบริการชว่ ยเหลอื ดา้ นกฎหมาย

ค. แนวปฏิบัติ
แนวปฏบิ ตั ิที่ 1 การให้ความช่วยเหลอื ทางกฎหมาย
การประเมินคุณสมบัติหลักเกณฑ์ด้านฐานะการเงินของผู้ที่ควรได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย
รัฐ “ไมค่ วรกีดกนั บคุ คลท่ีมีความสามารถทางการเงนิ สูงกว่าเกณฑ์การประเมนิ รายได้” ในกรณที ไ่ี ม่สามารถเข้าถึง
ทนายความในสถานการณ์ที่ควรได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย หรือกรณีสำหรับเด็กควรได้รับการยกเว้นการ
ตรวจสอบคุณสมบัติหลักเกณฑ์ดังกล่าวเสมอ “บุคคลดังกล่าวควรได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมายในเบื้องต้น
ระหวา่ งท่ีมกี ารตรวจสอบสถานะทางการเงนิ ” ทงั้ นี้หากถูกปฏิเสธความช่วยเหลอื ทางกฎหมายอันเป็นผลมาจากการ
ตรวจสอบคุณสมบัติ “ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัย” อย่างไรก็ดีการตรวจสอบคุณสมบัติรายได้ครัวเรือน
หากเกิดความขัดแย้งกันหรือไม่สามารถเข้าถึงรายได้ของครอบครัวได้อย่างเท่าเทียม ให้นำเฉพาะรายได้ของบุคคลที่
รอ้ งขอความชว่ ยเหลือมาพิจารณา

แนวปฏบิ ัติท่ี 2 สิทธิทจ่ี ะได้รบั แจง้ ขอ้ มลู เก่ียวกับความชว่ ยเหลือทางกฎหมาย
รัฐควรประกันสิทธิของบุคคลให้ไดร้ บั ทราบถึงข้อมูลความช่วยเหลือทางกฎหมาย เช่น ต้องมีการเผยแพร่ข้อมูล
การให้บริการทางกฎหมาย วิธีการเข้าถึงบริการและข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย รวมถึงให้มีการแจ้งสิทธิที่จะได้รับความ
ช่วยเหลอื ทางกฎหมายและหลกั ประกันในกระบวนการยตุ ิธรรมทางอาญาแก่บุคคลทราบ



แนวปฏิบัติที่ 3 สิทธิอื่น ๆ ของบุคคลที่ถูกคุมตัว ถูกจับกุม ตกเป็นผู้ต้องสงสัย หรือถูกกล่าวหา หรือถูก
แจง้ ข้อหาท่เี ปน็ ความผดิ ทางอาญา

รัฐควรนำมาตรการมาบังคับใช้ เช่น การแจ้งให้ผู้ถูกคุมตัวทราบถึงสิทธิที่จะปรึกษากับทนายความ
สิทธิที่สามารถติดต่อกับญาติหรือบุคคลที่เหมาะสมตามความต้องการโดยทันที การจัดให้มีบริการล่ามแปลภาษา
แก่ผู้ตอ้ งหาและแจง้ ใหผ้ ้ตู ้องหาทเี่ ปน็ คนตา่ งชาติทราบถึงสทิ ธิทค่ี วรได้รบั หรือสทิ ธิที่จะติดตอ่ สถานกงสลุ โดยไม่ชกั ชา้

แนวปฏิบตั ิท่ี 4 ความช่วยเหลอื ทางกฎหมายในระหว่างรอการพจิ ารณาคดีของศาล
รัฐควรกำหนดมาตรการเพ่ือประกนั ว่าบุคคลท่ีถกู ควบคุมตวั สามารถเข้าถึงความชว่ ยเหลือทางกฎหมายอย่าง
รวดเร็ว เช่น เจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่จำกัดสิทธิในการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายของบุคคลที่ถูกควบคุมตัว
ถูกจับกุม ตกเป็นผู้ต้องสงสัย หรือถูกกล่าวหาทางอาญาโดยพลการ บุคคลที่รอการพิจารณาคดีควรได้รับการควบคุม
ตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย มีการปฏิบตั ิตามขั้นตอนของคดีในกรอบเวลาท่ีเหมาะสม และแจ้งให้บุคคลดังกล่าวท่ีอย่ใู น
ขั้นตอนที่ถูกส่งตัวเข้าสถานควบคุมตัวได้ทราบถึงสิทธิตามกฎหมาย ระเบียบในสถานที่ควบคุมตัว และขั้นตอน
เบ้ืองตน้ ในระหวา่ งรอการพจิ ารณาคดจี ากศาล

แนวปฏิบัติที่ 5 ความช่วยเหลอื ทางกฎหมายในกระบวนการศาล
รัฐควรกำหนดมาตรการเพื่อประกันว่าบุคคลทุกคนที่ถูกแจ้งข้อหาที่เป็นความผิดทางอาญาซึ่งมีโทษจำคุก
หรือโทษประหารชีวิต สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายต่อกระบวนการในชั้นศาลทุกขั้นตอน รวมทั้งการ
อทุ ธรณ์คดแี ละข้ันตอนท่ีเกี่ยวข้อง เช่น จัดให้มตี วั แทนทางกฎหมายในทุกข้ันตอนของศาลโดยไม่คดิ คา่ ใช้จา่ ย จัดให้มี
การใหค้ ำปรกึ ษาจากทนายความเพ่ือประกนั สิทธทิ ่ีจะได้รับการพิจารณาคดีอยา่ งเป็นธรรม

แนวปฏบิ ตั ิที่ 6 ความช่วยเหลือทางกฎหมายในชว่ งหลังพจิ ารณาคดี
รัฐควรประกันว่าบุคคลที่ถูกคุมขังหรือเด็กที่ถูกคุมตัวสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย เช่น
การแจ้งให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบของสถานที่คุมขัง สิทธิของตนตามกฎหมาย สิทธิที่จะได้รับคำปรึกษา
สิทธทิ ี่จะไดท้ ราบถึงช่องทางทจี่ ะอุทธรณ์คดี ขั้นตอนการย่ืนคำรอ้ ง คำอุทธรณ์ การขอปล่อยตวั ในเบ้ืองต้น การขออภัยโทษ
และการขอลดหย่อนโทษ รวมถึงการขอความร่วมมือจากสภาทนายความจัดทำบัญชีรายชื่อทนายความและผู้ช่วย
ทนายความ เพ่อื เข้าพบผตู้ อ้ งขงั ในเรอื นจำในการให้คำปรึกษาและช่วยเหลอื ทางกฎหมายโดยไมม่ ีค่าใช้จา่ ย

แนวปฏบิ ัติท่ี 7 ความช่วยเหลือทางกฎหมายสำหรบั ผู้เสียหาย
เพอื่ ใหเ้ ปน็ การปฏิบตั ิอย่างเท่าเทยี มและไมเ่ ปน็ การละเมิดสิทธิของจำเลย รัฐควรใชม้ าตรการที่เหมาะสม เช่น
ใหค้ ำแนะนำ ชว่ ยเหลือดูแล อำนวยความสะดวกในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ผ้เู สยี หายที่เป็นเด็กควรได้รับความ
ช่วยเหลือทางกฎหมายทเ่ี ป็นการเฉพาะ โดยสอดคล้องกับแนวปฏิบัติด้านความยุติธรรมสำหรับผ้เู สียหายและพยานที่
เป็นเด็กในคดีอาญา ทั้งน้ีผู้เสียหายควรได้รับการแจ้งสิทธิโดยพลันจากหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับข้อมูล
สิทธิทจ่ี ะได้รบั ความช่วยเหลือตามกฎหมาย และมีระบบการสง่ ต่อระหว่างหนว่ ยงานท่ีให้ความช่วยเหลอื ทางกฎหมาย
กับผู้ปฏบิ ัติวิชาชพี อ่ืน ๆ เชน่ การรกั ษาพยาบาล การบริการดา้ นสงั คม

แนวปฏิบตั ิท่ี 8 ความชว่ ยเหลือทางกฎหมาย
รัฐควรดำเนินมาตรการอย่างเหมาะสมแก่พยาน เช่น แจ้งให้พยานทราบถึงสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือ
ทางกฎหมาย การใหค้ ำแนะนำ การดูแล การอำนวยความสะดวก รวมถงึ การสนับสนนุ และคุ้มครองอย่างอ่ืนให้เหมาะสม
ต่อพยานตลอดทกุ ขน้ั ตอนของกระบวนการยตุ ธิ รรมทางอาญา

แนวปฏบิ ตั ิท่ี 9 การปฏิบตั ิตามสิทธขิ องผู้หญิงในการเขา้ ถงึ ความชว่ ยเหลือทางกฎหมาย
รัฐควรกำหนดมาตรการเพื่อประกันสิทธิของผูห้ ญงิ ในการเขา้ ถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย เช่น ควรจัดให้
มีทนายความหญิงสำหรับจำเลยและผู้เสียหายที่เป็นผู้หญิงในการให้ความช่วยเหลือ การปรึกษาทางกฎหมายและ



บริการสนับสนุนด้านกระบวนการในชั้นศาลทุกข้ันตอน เพ่อื ประกันใหส้ ามารถเข้าถึงความยตุ ิธรรมและหลีกเล่ียงท่ีจะตก
เปน็ ผเู้ สยี หายซำ้

แนวปฏิบัติที่ 10 มาตรการพเิ ศษสำหรับเดก็
รัฐควรประกันให้มีมาตรการพิเศษสำหรับเด็กเพื่อสนับสนุนให้เด็กเข้าถึงความยุติธรรมทางอาญา เช่น
มีที่ปรึกษาทางกฎหมายในการดำเนินขั้นตอนที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง การพิจารณาคดีโดยมีบิดามารดาหรือ
ผู้อนุบาลอยู่ร่วมด้วย เว้นแต่เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก รวมถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายของเด็ก
ให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะ โดยเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย มีการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก
ไม่ว่าจะเป็นการเปดิ เผยขอ้ มูล เผยแพร่ภาพถา่ ย วดี โี อ หรือรายละเอยี ดที่เกี่ยวข้องกบั เด็กอนื่ ใด

แนวปฏิบัติที่ 11 ระบบความชว่ ยเหลอื ทางกฎหมายในระดบั ชาติ
รัฐควรปฏิบัติตามมาตรการให้เหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบความช่วยเหลือทางกฎหมายระดับชาติ
อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การสนับสนุนสภาหรือสมาคมทนายความในรูปแบบต่าง ๆ โดย “การกำหนดมาตรการ
เพื่อจูงใจให้ทนายความ” ทำงานในพื้นที่ชนบทและพื้นท่ีเสียเปรียบด้านสังคมและเศรษฐกิจ เช่น การยกเว้นภาษี
การให้ทุนสนับสนุน และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง นอกจากนี้ควรจัดให้มี “การกำหนดมาตรการที่คำนึงถึงความ
อ่อนไหวทางด้านสภาพจิตใจของเด็ก” โดยหาจดุ สมดุลท่ีเหมาะสมระหวา่ งประโยชนส์ ูงสุดของเด็กและสิทธิของเด็ก
ที่จะให้ปากคำในขั้นตอนการพิจารณาคดี รวมทั้งกลไกเฉพาะเพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือทางกฎหมายพิเศษสำหรับ
เด็ก อีกท้ัง รัฐควร “จัดตั้งหน่วยงานใหค้ วามช่วยเหลือทางกฎหมาย โดยจดั ให้มีการบรหิ ารงาน ประสานงานและ
ติดตามการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย” โดยปราศจากการแทรกแซงที่ไม่เหมาะสมทางการเมืองหรือศาล
เพ่ือให้ตัดสนิ ใจไดอ้ ย่างเปน็ อสิ ระจากรฐั บาล และไมค่ วรอยภู่ ายใตก้ ารส่งั การ ควบคมุ หรือการคกุ คามทางดา้ นการเงิน
ของบุคคลหรือหน่วยงานใดอันส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำงาน ไม่ว่าจะมีโครงสร้างการบริหารงานเป็น
อย่างไร ในกรณีที่จำเป็น “อาจกำหนดหลักเกณฑ์ การรับรองผู้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และจัดต้ัง
หน่วยงานอิสระเพื่อรับข้อร้องเรียน” เกี่ยวกับผู้ให้บริการและการประเมินความช่วยเหลือทางกฎหมายระดับชาติ
รวมไปถงึ “อำนาจทจ่ี ะจัดทำงบประมาณดว้ ยตนเอง”

แนวปฏิบตั ิที่ 12 งบประมาณสำหรับระบบความชว่ ยเหลือทางกฎหมายระดบั ประเทศ
“รัฐควรจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ” เพื่อสนับสนุนระบบความช่วยเหลือทางกฎหมายระดับชาติ เช่น
การจัดตั้งกองทุน โครงการทนายขอแรง การสนับสนุนคลินิกกฎหมายของมหาวิทยาลัย การให้ทุนหน่วยงาน
ภาคเอกชน หน่วยงานอื่น รวมทั้งหน่วยงานผูช้ ว่ ยทนาย ให้มีบริการช่วยเหลือทางกฎหมายท่ัวประเทศ โดยเฉพาะใน
พื้นที่ชนบทและพื้นที่เสียเปรียบด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมี “การกระจายงบประมาณอย่างเป็นธรรมและ
มีสัดส่วนเหมาะสมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องคดีและหน่วยงานให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย ”
นอกจากนรี้ ัฐควรจดั สรรงบประมาณให้คลอบคลุมบริการทุกประเภทท่ีให้กบั บุคคลทถี่ ูกควบคุมตวั ถูกจบั กมุ ตกเป็นผู้
ต้องสงสัย ถูกกล่าวหา ถูกแจ้งข้อหาที่เป็นความผิดทางอาญา และผู้เสียหาย เช่น การช่วยเหลือด้านค่าใช้จา่ ยในการ
จัดทำสำเนาแฟ้มเอกสาร การรวบรวมพยานหลักฐาน ค่าใชจ้ ่ายเกีย่ วกบั พยานผ้เู ช่ียวชาญ พยานด้านนิติวิทยาศาสตร์
และนกั สงั คมสงเคราะห์ และค่าใชจ้ า่ ยในการเดินทาง

แนวปฏิบตั ิที่ 13 ทรพั ยากรบคุ คล
รัฐควรจัดใหม้ ีอัตรากำลงั ทนายความอย่างเพียงพอ โดยกำหนดคุณสมบัติหรอื หลักเกณฑ์ทีต่ ้องผ่านหลักสูตร
การฝึกอบรมท่ีเหมาะสม เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือทางกฎหมายระดับประเทศ “กรณีที่ขาดแคลนทนายความ”
อาจกำหนดคุณสมบัติหรือหลักเกณฑ์เป็นบุคลากรอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทนายความ “หรือผู้ช่วยทนาย” เพื่อส่งเสริมการ
พัฒนาของวิชาชพี ทางกฎหมาย



แนวปฏบิ ัติท่ี 15 ระเบยี บและการกำกับดูแลผใู้ หค้ วามชว่ ยเหลือทางกฎหมาย
รัฐควรกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก การกำกับดูแล เพื่อ “รับรองผู้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายต้องปฏิบัติ
หน้าที่ตามหลักจริยธรรม” และ “กำหนดบทลงโทษอย่างเหมาะสมกรณีเกิดการละเมิด” เว้นแต่กฎหมาย
จะอนุญาตให้ทำเช่นนั้น และควรประกัน “ให้มีหน่วยงานที่เป็นอิสระเป็นผู้รับเรื่องและพิจารณาข้อร้องเรียน”
ทางวนิ ยั ต่อผูใ้ หค้ วามช่วยเหลือทางกฎหมาย

แนวปฏบิ ัติท่ี 16 ความเปน็ ภาคกี บั ผู้ให้บริการทางกฎหมายทีไ่ มใ่ ชร่ ัฐและสถาบันอุดมศกึ ษา
รัฐควร “สนับสนุนการสร้างภาคีกับผู้ให้บริการทางกฎหมาย” ที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานยุติธรรม
และสมาคมวิชาชีพ เป็นการสนองความต้องการของประชาชน เพื่อ “ขยายพื้นที่ให้บริการ” ในการเข้าถึงความ
ช่วยเหลือทางกฎหมายในทุกภาคของประเทศและในทุกชุมชน รวมทั้งในพื้นที่ชนบทและพื้นที่เสียเปรียบด้าน
เศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งยงั เปน็ การพัฒนาความหลากหลายของผู้ให้บริการทางกฎหมาย โดยใช้แนวทางการทำงาน
ที่เป็นองค์กรรวม เช่น ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การทำบันทึกข้อตกลงกับสภา
ทนายความและสมาคมทนายความ คลินิกกฎหมายในมหาวทิ ยาลยั องคก์ รเอกชน

แนวปฏบิ ัติที่ 17 งานวิจัยและข้อมลู
รัฐควรประกันให้มีกลไกเพื่อ “ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินความช่วยเหลือทางกฎหมาย” และควร
สนับสนุนการปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างต่อเนื่อง เช่น จัดให้มีการทำวิจัยและเก็บข้อมูลอย่าง
สม่ำเสมอ โดยจำแนกตามเพศสภาพ อายุ สถานภาพด้านสังคม เศรษฐกิจ การกระจายเชิงภูมิศาสตร์ ของผู้รับความ
ช่วยเหลือทางกฎหมาย เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย จัดให้มีการแลกเปลี่ยนในแง่แนวปฏิบัติที่ดีในการให้ความช่วยเหลือ
ทางกฎหมาย ให้เหมาะสมกับวัยสำหรับผู้ให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย และการพัฒนาการสื่อสาร การประสาน
ความรว่ มมือระหวา่ งหนว่ ยงานยุตธิ รรม เพ่อื ใหค้ วามเห็นชอบตอ่ การปรับปรุงการให้ความชว่ ยเหลือทางกฎหมาย

2. ปฏญิ ญาสากลวา่ ด้วยสทิ ธมิ นษุ ยชน (Universal Declarations of Human Rights : UDHR)

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นรากฐานสำคัญของการเขียนสนธิสัญญาทางสิทธิมนุษยชนที่มีการ
บังคับใช้อีกมากกมาย และเป็นมาตรฐานกลางที่นานาประเทศใช้เปน็ กรอบแนวทางในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ของประชาชนทั้งในระดับสากล ภูมิภาค และภายในประเทศ ซึ่งบัญญัติหลักการข้อ 7 “ทุกคนเสมอภาคกันตาม
กฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด อันเป็นการ
ล่วงละเมิดปฏิญญานี้และจากการยุยงให้มีการเลือกปฏิบัติดังกล่าว”2 ข้อ 8 “สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตาม
กฎหมาย” ซึ่งกำหนดให้ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอันมีประสิทธิผลจากศาลที่มีอำนาจแห่งรัฐต่อการกระทำ
อนั ล่วงละเมดิ สิทธขิ ้นั พน้ื ฐาน3 ขอ้ 10 “การได้รับการพิจารณาอยา่ งเป็นธรรม” บัญญตั วิ ่า ทุกคนย่อมมีสทิ ธิในความ
เสมอภาคอย่างเต็มที่ในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมและเปิดเผยจากศาลที่อิสระและไม่ลำเอียงในการ
พิจารณากำหนดสิทธิและหน้าที่ของตนและข้อกล่าวหาอาญาใดต่อตน4 อกี ทงั้ หลักขอ้ 12 “บคุ คลใดจะถูกแทรกแซง
ตามอำเภอใจ ในความเปน็ ส่วนตวั ครอบครัว ท่อี ยอู่ าศยั หรือการส่ือสาร หรอื จะถกู ลบหลู่เกยี รติยศและชอ่ื เสียงไม่ได้
ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายต่อการแทรกแซงสิทธิหรือการลบหลู่ดังกล่าวนั้น”5 โดยหลักการ
ทง้ั หมดเปน็ รากฐานทส่ี ำคัญในการพัฒนาสทิ ธิในการใหค้ วามช่วยเหลอื ทางกฎหมายในเวลาต่อมา

2 ข้อ 7 ปฏิญญาสากลวา่ ดว้ ยสิทธมิ นษุ ยชน
3 ข้อ 8 ปฏิญญาสากลว่าดว้ ยสิทธิมนษุ ยชน
4 ขอ้ 10 ปฏิญญาสากลวา่ ดว้ ยสทิ ธมิ นุษยชน
5 ข้อ 12 ปฏญิ ญาสากลวา่ ดว้ ยสทิ ธิมนษุ ยชน



3. กตกิ าระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and
Political Rights : ICCPR)

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มุ่งคุ้มครองสิทธิของบุคคลในฐานะที่เป็น
พลเมอื งและมสี ิทธิในทางการเมือง โดยกำหนดให้รฐั เคารพและประกนั สิทธิของบุคคล โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
และกำหนดหน้าท่ขี องรฐั ทจี่ ะตอ้ งให้ความชว่ ยเหลือด้านกฎหมายแกป่ ระชาชน เพื่อให้ประชาชนเขา้ ถึงสิทธิที่จะได้รับ
ความค้มุ ครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกนั อาทิ

ขอ้ 2 กลา่ ววา่ รัฐตอ้ งประกนั วา่ บคุ คลที่อยู่ในประเทศหรอื อยภู่ ายใต้อำนาจการดูแลของตนจะต้องได้รับการ
รับรองตามกติกานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยก อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง
หรือความคดิ เหน็ อ่ืนใด ทรัพย์สิน แหลง่ กำเนดิ หรอื สถานะอนื่ ๆ หากบคุ คลถกู ละเมิดจะต้องไดร้ บั การเยยี วยาอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องคำนึงว่าการละเมิดนั้นจะกระทำโดยบุคคลผู้ปฏิบัติตามหน้าที่หรือไม่ อีกทั้งต้องประกันว่า
บุคคลที่เรียกร้องการเยียวยามีสิทธิได้รับการพิจารณาจากฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติที่มีอำนาจ
หรอื จากหนว่ ยงานอ่ืนทกี่ ฎหมายไดใ้ ห้อำนาจไว้

ข้อ 6 กล่าวว่า มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตตั้งแต่กำเนิด ต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และต้องไม่
ถูกทำให้เสียชีวิตตามอำเภอใจ กรณีประเทศที่ยังไม่ได้ยกเลิกการประหารชีวิต การลงโทษเช่นว่านั้นจะกระทำได้
เฉพาะกรณีอกุ ฉกรรจ์ท่ีสดุ ตามกฎหมายท่ีใชบ้ งั คับขณะกระทำผดิ และตอ้ งไม่ขัดต่อบทบัญญตั ิแหง่ กติกานี้

ข้อ 9 กล่าวว่า บุคคลทุกคนมีสิทธิเสรีภาพและความปลอดภัยในร่างกาย จะถูกจับกุมหรือควบคุม
ตามอำเภอใจมไิ ด้ เวน้ แต่ท่ีบัญญตั ิไว้ในกฎหมาย ในกรณมี ีการจับกุมตอ้ งได้รบั การแจ้งถึงเหตุผลในการจบั กุมและต้อง
ไดร้ ับแจง้ ถึงข้อหาทีถ่ ูกจบั กุมโดยไมช่ ักช้า อกี ทง้ั มีสิทธไิ ดร้ บั การพจิ ารณาคดีหรือการปล่อยตวั ภายในเวลาอันสมควร
นอกจากนก้ี รณีการควบคุมตัวไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันควร บุคคลย่อมมสี ิทธิท่จี ะไดร้ ับค่าสินไหมทดแทน
จากการถกู ลิดรอนเสรีภาพดงั กล่าว

ข้อ 10 กล่าววา่ การถกู ลิดรอนสิทธิต้องได้รบั การปฏิบัตดิ ว้ ยความมีมนุษยธรรม และความเคารพในศักดิ์ศรี
แต่กำเนิดแห่งความเป็นมนุษย์ สำหรับกรณีผู้ต้องหาจะต้องได้รับการจำแนกออกจากผู้ต้องโทษ และต้องปฏิบัติให้
เหมาะสมกับสถานะที่ไม่ใช่ผู้ต้องโทษ กรณีผู้ต้องหาที่เป็นเด็กและเยาวชน ให้แยกออกจากผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่
และต้องนำตัวขึ้นพิจารณาคดีให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมไปถึงระบบราชทัณฑ์ต้องมีจุดมุ่งหมายสำคัญ
ให้นักโทษกลบั ตัวและฟนื้ ฟทู างสงั คม และตอ้ งปฏิบัตใิ หเ้ หมาะสมกับวฒุ ภิ าวะและสถานะทางกฎหมาย

ข้อ 14 กล่าวว่า บุคคลย่อมเสมอภาคในการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม กรณีบุคคลทุกคน
ซ่ึงต้องหาวา่ กระทำผิดอาญา มีสิทธไิ ด้รบั การสันนิษฐานว่าเปน็ ผ้บู ริสุทธิ์จนกว่าจะพิสจู น์ทางกฎหมายได้ว่ามีความผิด
ในการพิจารณาคดีอาญา และมีสิทธิได้รับแจ้งเกี่ยวกับสภาพและเหตุแห่งการถูกกล่าวหา สิทธิในการได้รับความ
สะดวกที่เพียงพอในการต่อสู้คดีและตดิ ต่อทนายความที่ตนเลือดได้ สิทธิที่จะต่อสู้คดีด้วยตนเองหรือโดยผ่านตวั แทน
ทางกฎหมาย สิทธิที่จะได้รับแต่งตั้งตัวแทนทางกฎหมายโดยไม่ต้องเสยี ค่าใชจ้ ่าย สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจาก
ล่ามโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากไม่สามารถเข้าใจหรือพูดภาษาที่ใช้ในศาลได้ สิทธิในการอุทธรณ์คดี รวมไปถึงสิทธิในการ
ไดร้ ับการชดเชยตามกฎหมาย สำหรบั กรณตี อ้ งคำพพิ ากษาถึงทีส่ ุดใหล้ งโทษในความผดิ อาญา และภายหลังมกี ารกลับ
คำพพิ ากษา โดยมีขอ้ เท็จจรงิ ใหม่หรือพบเหตอุ ันเช่อื ได้วา่ การดำเนินกระบวนการยุติธรรมมชิ อบด้วยกฎหมาย

ข้อ 17 กล่าวว่า บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย กรณีการถูกแทรกแซงความเป็น
สว่ นตวั ครอบครัว เคหสถาน หรือการตดิ ตอ่ สอื่ สาร เกยี รตแิ ละชือ่ เสยี ง



ข้อ 23 กล่าวว่า ครอบครัวเป็นหน่วยงานของสังคมซึ่งเป็นพื้นฐานและเป็นธรรมชาติ และย่อมมีสิทธิได้รับ
ความคุ้มครองจากสังคมและรัฐ และรัฐต้องประกันเพื่อความเสมอภาคแห่งสิทธิและความรับผิดชอบของคู่สมรสใน
ระหว่างการสมรส และเม่ือการสมรสสิ้นสดุ ลง จะตอ้ งมบี ทบญั ญตั ิเพือ่ การคุ้มครองทีจ่ ำเปน็ แกบ่ ตุ ร

ข้อ 26 กล่าวว่า บุคคลย่อมเสมอกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกัน
ตามกฎหมาย โดยปราศจากการเลือกปฏบิ ัติ เปน็ ต้น

4. ตราสารกฎหมายระดับภูมิภาค อาทิ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Human Rights
Declaration : AHRD)

ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงการสร้างกรอบความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภา ค
อาเซียน โดยได้ระบุหลักการทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นด้านสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค การมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
ทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการแบ่งแยกและไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งการเยียวยาให้แก่บคุ คลอย่างมี
ประสทิ ธภิ าพ อันเนื่องจากสาเหตุของการถกู ละเมิดหรือกระทำการใดที่กฎหมายกำหนดไว้วา่ เป็นความผิด นอกจากน้ี
การใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานต้องสมดุลกับการปฏิบัติหน้าท่ีที่สอดคล้องกัน เพราะบุคคลทุกคนมีความ
รับผิดชอบต่อทุกปัจเจกบุคคลอื่นๆ ต่อชุมชน และสังคมที่ตนอาศัยอยู่ ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบหลักในการส่งเสริม
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของรัฐนั้น ๆ อีกทั้งปฏิญญาฉบับนี้ยังรับรองหลักการด้าน
สิทธิมนุษยชนที่มีความเป็นหลักสากล ไม่อาจแบ่งแยกได้ เชื่อมโยงและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยได้รับการปฏิบัติ
อย่าง เป็นธรรม เสมอภาค อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน เท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกัน การบรรลุสิทธิมนุษยชนต้องได้รับ
การพิจารณาในบริบทของภูมิภาคและของประเทศโดยคำนึงถึง ความแตกต่างของภูมิหลังทางการเมืองเศรษฐกิจ
กฎหมาย สงั คม วฒั นธรรม ประวตั ศิ าสตร์และศาสนาอกี ดว้ ย

นอกจากนี้ ยงั ปรากฏหลักการสทิ ธพิ ลเมืองและสทิ ธิทางการเมอื งดา้ นกฎหมายไว้หลายประการ อาทิ ข้อ 12
กล่าวว่า “บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัย ส่วนบุคคล บุคคลใดจะถูกจับกุม ค้น กักขัง ลักพาตัว
หรือถูกพราก อิสรภาพในรูปแบบอื่นใดโดยอำเภอใจมิได้” ข้อ 14 กล่าวว่า “บุคคลใดจะถูกกระทำทรมาน หรือ
ถูกปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดรา้ ย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยศี ักดิ์ศรีมิได้” และข้อ 20 กล่าวว่า บุคคลทุกคนที่ถูกกล่าวหา
ว่าได้กระทำความผดิ ทางอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนวา่ เป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิด บุคคลจะได้รับ
การลงโทษที่หนักกว่าที่ระบุในกฎหมายขณะที่กระทำความผิดมิได้ และบุคคลจะถูกไต่สวนหรือลงโทษซ้ำ สำหรับ
ความผิดทีไ่ ดต้ ดั สินให้พ้นผิดไปแล้วน้ันมไิ ด้”

กฎหมายไทย

ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แนวโน้มการบัญญัติ
กฎหมายโดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักนิติธรรมเพื่อรับรองหลักการด้านสิทธิมนุษยชน การประกันให้มีระบบความ
ช่วยเหลือทางกฎหมายที่ครอบคลุม สามารถเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน น่าเชื่อถือ ของกฎหมายไทยเริ่มมี
ความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือที่เป็นการเฉพาะสำหรบั ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย
ชนกลุ่มน้อย กลุ่มศาสนา ผู้เคลื่อนไหวทางการเมือง สื่อมวลชน การทารุณและใช้แรงงานเด็ก การทารุณต่อนักโทษ
ความแออัดในเรือนจำ ตลอดจนการขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกให้นักโทษ เป็นต้น ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทยในสมัยอดีต ได้กล่าวถึงหลักการด้านสิทธิมนุษยชนและหลักการด้านอื่นไว้เพียงบางส่วนเท่าน้ัน
จนกระทั่งได้พัฒนาบทบัญญัติดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์และประกาศไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560 โดยวางหลกั การเรื่องสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 25 ไว้วา่ “สทิ ธแิ ละเสรีภาพของปวง
ชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ใน
รัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทำการนั้นได้ และได้รับความคุ้มครองตาม



รฐั ธรรมนญู ตราบเท่าท่ีการใชส้ ิทธิหรือเสรีภาพเช่นวา่ นนั้ ไมก่ ระทบ กระเทอื นหรอื เปน็ อันตรายต่อความมนั่ คงของรัฐ
ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น บุคคลซึ่งได้รับ
ความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือจากการกระทำความผิดอาญาของบุคคลอื่น ย่อมมีสิทธิท่ี จะ
ได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ” และ มาตรา 27 วางหลักไว้ว่า “บุคคลย่อมเสมอกัน
ในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ
ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา
การศึกษาอบรม หรอื ความคดิ เหน็ ทางการเมอื งอนั ไม่ขัดตอ่ บทบัญญัติแห่งรฐั ธรรมนูญ หรอื เหตอุ ืน่ ใด จะกระทำมิได้”

นอกจากหลักการด้านสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค การจัดระบบการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐ
ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐ ที่ต้องออกกฎและระเบียบเป็นการเฉพาะ
โดยได้กำหนดไว้ตามมาตรา 68 บัญญัติว่า “รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มี
ประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบตั ิ และใหป้ ระชาชนเขา้ ถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และ
ไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร รัฐพึงมีมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมให้สามารถปฏิบัติ
หน้าที่ได้โดยเคร่งครัดปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงำใด ๆ รัฐพึงให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จำเป็นและ
เหมาะสมแก่ผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมตลอดถึงการจัดหาทนายความให้”
และมาตรา 258 บัญญัติไว้ใน (1) “ให้มีการกำหนด ระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม
ที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า และมีกลไกช่วยเหลือประชาชน ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ รวมตลอดทั้งการสร้างกลไกเพื่อให้มีการบังคับการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม” มาตราเหล่านี้จึงเป็นการรับรองหลักการให้ความช่วยเหลือทาง
กฎหมายในรัฐธรรมนูญ อีกทั้ง มาตรา 29 ยังได้กล่าวเพิ่มเติมในการดำเนินคดีอาญาไว้ว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
ผู้ต้องหาหรือจำเลย ไม่มีความผิด และจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดไม่ได้ และการควบคุมหรือ
คุมขังผตู้ ้องหาหรอื จำเลยใหก้ ระทำไดเ้ พียงเทา่ ท่จี ำเปน็ เพ่อื ปอ้ งกนั มิให้มกี ารหลบหนีเท่าน้ัน

แสดงให้เห็นว่า การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2560 มีความสอดคล้องกับ หลักการและแนวทางปฏิบัติแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเข้าถึงความช่วยเหลือ
ทางกฎหมายในระบบยุติธรรมทางอาญา ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสากล กติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง ในฐานะเป็นแม่บทกฎหมายให้กับนานาประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถงึ มาตรฐานขั้นต่ำที่จำเปน็
สำหรับประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ในฐานะประชาชนคนหนึ่งได้อย่างเต็มที่ ในการประกันสิทธิ
ความเสมอภาคและความปลอดภัย ทั้งนี้ คณะผู้จัดทำมีความเห็นว่า เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจในเนื้อหาและ
หลักการที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ในการทำงาน จึงขอสรุป
หลกั การสำคญั ดังนี้

๑๐

เปรียบเทียบการชว่ ยเหลือทางดา้ นกฎหมายระดบั สากลและในประเทศไทย

การช่วยเหลือทางกฎหมายในระดับสากล ไม่ว่าจะเป็น หลักการและแนวปฏิบัติแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการ
เขา้ ถงึ ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในระบบยตุ ิธรรมทางอาญา ปฏิญญาสากลวา่ ดว้ ยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และตราสารกฎหมายระดับภูมิภาค เช่น ปฏิญญาอาเซียนวา่ ด้วยสิทธิมนุษยชน
ต่างเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มนานาประเทศ ภายใต้ความร่วมมือและข้อตกลงระหว่างกัน โดยได้กำหนดหลักการ
สำคัญอย่างกว้าง ๆ เพื่อให้ประเทศสมาชิกภาคีถือปฏิบัติและนำไปปรับใช้ในรัฐนั้น ๆ ลงรายละเอียดด้านสิทธิขั้นพื้นฐาน
เสรีภาพมูลฐานของปัจเจก และยืนยันลักษณะสากลของสิทธิเสรีภาพเหล่านี้ว่าเป็นสิทธิติดตัวมาแต่กำเนิด ไม่อาจโอน
ให้แก่กันได้ และใช้กับมนุษย์ทุกคน ผูกมัดประชาชาติให้รับรองมนุษย์ทุกคนว่าเกิดมามีอิสระและมีศักดิ์ศรีและสิทธิเท่า
เทยี มกัน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ถ่นิ พำนัก เพศ ชาตหิ รอื ชาติพันธุ์กำเนิด สีผิว ศาสนา ภาษาหรือสถานภาพอ่ืน รวมไปถึง
การระบุถึงสิทธิที่จะไดร้ ับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเท่าเทียม เปน็ ธรรม และมปี ระสิทธิภาพ อกี ท้ังทุกรัฐที่เข้าร่วม
เป็นภาคีภายใต้ความร่วมมือและข้อตกลงระหว่างกันจะต้องรายงานผล โดยมีกำหนดระยะเวลารายงานผลการดำเนินการ
และปฏิบัติตามหลักการของแต่ละรัฐภาคี เพื่อให้ทราบว่าแต่ละรัฐได้ปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวอย่างแท้จริง อย่างไร
ก็ตามในทางปฏิบัตินั้น การให้ความชว่ ยเหลืออย่างเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายในการดำเนินตามหลักการ หรอื กรณีท่ีเกี่ยวข้องกับ
คดีอาญาของรัฐภาคี ไม่สามารถดำเนินการได้ตามหลักการท่ีควรจะเป็นเสมอไป เพราะแมว้ า่ รัฐจะไดร้ ับรองถึงสิทธิในการท่ี
จะต่อสู้คดีอย่างเท่าเทียม แต่ในความเป็นจริงกลับมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุปสรรคหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความ
อ่อนไหวทางด้านเพศสภาพ วุฒิภาวะหรือความรู้ผิดชอบชั่วดี ความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ ผู้ไร้รัฐไร้สัญชาติ
เป็นต้น ด้วยเหตุน้ีเอง รัฐจึงต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลอื ทางกฎหมาย ตามศักยภาพ เพื่อคงไว้ซ่ึงความเป็นธรรมและ
ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา นอกจากนี้ แม้หลักการดังกล่าวจะไม่มีผลผูกพันตาม
กฎหมาย เพราะไม่มีการกำหนดบทลงโทษ แต่ถือได้ว่ามีผลผูกพันเป็นกฎหมายระหว่างประเทศในด้านจารีตประเพณี
และได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางกฎหมาย การเมืองและสังคมทั้งในระดับโลกและประเทศ และมีความสำคัญมากกว่า
เอกสารใด ๆ ในประวตั ิศาสตร์

สำหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่ง
ราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ โดยมีผลผูกพันทางกฎหมาย และรับรองสิทธิ
เสรีภาพของประชาชน การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และการเสริมสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพให้กับรัฐบาล
รวมถึงกำหนดให้ประชาชนในประเทศถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และนำไปสู่การบัญญัติกฎหมายลำดับรอง
ไม่ว่าจะเป็น ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎระเบียบข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกฎกระทรวง
ประกาศกระทรวง ทหี่ น่วยงานของรัฐมหี น้าท่ีต้องประกันสิทธใิ ห้แก่ประชาชนตามกรอบและแนวทางของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับความเสมอภาคทางด้านกฎหมาย ได้รับการชดเชย
ความเสียหายจากภาครัฐ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
ไดอ้ ย่างรวดเร็ว และเปน็ ธรรม เช่น

1. ประมวลกฎหมายอาญา ได้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับความผิดทางอาญาและโทษทางอาญา
ถ้ากระทำหรืองดเว้นการกระทำตามกฎหมายอาจถือว่าเป็นความผิด และมีบทลงโทษเป็นการเฉพาะสำหรับฐาน
ความผิดนน้ั ๆ

2. ประมวลกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา ได้กำหนดบทบัญญัติด้านการจัดหาทนายความให้แก่
ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา โดยพนักงานสอบสวน หรือศาลจะจัดทนายความ ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ไม่มี
ทนายความในความผิดท่ีมีโทษประหารชีวติ หรือ คดที ่ีเด็กอายไุ ม่เกิน 18 ปี บริบูรณ์ อีกทัง้ กรณที ่ผี ตู้ ้องหาหรอื จำเลย
ไม่สามารถพดู หรือเข้าใจภาษาไทยได้ หน่วยงานของรัฐต้องจัดหาลา่ มแปลให้เป็นภาษาท่ีบคุ คลดังกล่าวเข้าใจโดยไม่ชักช้า

๑๑

3. พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 ได้กำหนดบทบัญญัติด้านการให้ความช่วยเหลือประชาชน
ในการดำเนินคดี การปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลย การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงการ
สนับสนนุ โครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

4. พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544
และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ได้กำหนดบทบัญญัติการชดเชยค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายและจำเลย เช่น
คา่ รกั ษาพยาบาล คา่ ฟนื้ ฟูสมรรถภาพ ค่าขาดประโยชนท์ ำมาหาได้ ค่าตอบแทนความเสยี หายอนื่ ๆ เป็นต้น

จากตวั อย่างข้างต้น จะเหน็ ได้วา่ กฎหมายลำดับรองของประเทศไทย นำหลักการอย่างกว้างๆ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาพัฒนาและปรับใช้เพื่อช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายในด้านต่าง ๆ
โดยหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ต้องมีการรายงานผลการดำเนินงาน เช่น สถิติด้านการ
ช่วยเหลอื สภาพปญั หาของประชาชน ขอ้ เสนอแนะท่ีเกย่ี วข้อง รวมถึงแนวทางการแกไ้ ขปัญหา เพือ่ พัฒนาระบบการ
ให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ มีความยั่งยืน และเชื่อถือได้ อีกทั้งเป็นแนวทางในการ
พฒั นากฎหมายระดับประเทศในอนาคตต่อไป

ตารางสรุปการเปรยี บเทยี บความแตกต่างระหวา่ งการช่วยเหลือ
ทางด้านกฎหมายระดับสากลและในประเทศไทย

ท่ี ระดับสากล ประเทศไทย

1. เปน็ การกำหนดหลักการสำคัญอย่างกว้างๆ นำหลักการสำคญั มาพัฒนาเป็นบทบัญญตั ิกฎหมาย

นำไปสู่การพัฒนากฎหมายของรัฐนานาประเทศ ภายในประเทศไทย

2. ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่เป็นหลักการถือ มผี ลผูกพันทางกฎหมาย ใชบ้ ังคบั ภายในประเทศไทย

ปฏิบัตแิ ละยอมรับร่วมกันของรฐั ภาคี เท่าน้ัน

3. เป็นกฎหมายระหวา่ งประเทศในด้านจารีต เปน็ กฎหมายสูงสุดของประเทศไทย

ประเพณี

4. มกี ำหนดระยะเวลารายงานผลการดำเนินการและ ไม่มีการรายงานผลการดำเนนิ งานระดบั รฐั ธรรมนญู

ปฏบิ ตั ติ ามหลักการของแต่ละรัฐภาคี แต่มกี ารรายงานผลของกฎหมายลำดับรองของแต่ละ

หนว่ ยงานท่ีเกีย่ วข้องกับกฎหมายน้นั ๆ

5. กำหนดให้รัฐภาคีถือเป็นแนวทางปฏิบตั ิ ซ่ึงอาจ กฎหมายกำหนดใหบ้ ุคคลภายในประเทศถือปฏิบตั ิ

จะมีการเปล่ยี นแปลงตามสภาพแวดล้อม หรือ ถา้ กระทำหรืองดเว้นการกระทำจะถือว่าเปน็ ความผดิ

ตามศักยภาพของรัฐนนั้ ๆ ก็ได้ และไม่ถือว่าเป็น

ความผิด

6. ไม่มีการกำหนดบทลงโทษ มีการกำหนดบทลงโทษ

๑๒

ประเภทการใหค้ วามช่วยเหลือทางกฎหมาย (Legal aid)

ในปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน
ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ ฯลฯ ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีรูปแบบในการช่วยเหลือทางกฎหมายหลากหลาย
รูปแบบ หากแต่ว่าประเทศไทยยังไม่ได้มีการจำแนกประเภทการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายออกเป็นหมวดหมู่
ท่ีชัดเจน ในการนี้ คณะผู้จัดทำจึงเห็นว่าเพื่อเป็นแนวทางการศึกษาประเภทของระบบการให้ความช่วยเหลือทาง
กฎหมายว่าเป็นอย่างไร และให้ผู้อ่านได้ทราบถึงภารกิจของหน่วยงาน พร้อมทั้งให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน ดังนั้น
คณะผู้จัดทำจึงจำแนกประเภทการใหค้ วามช่วยเหลือทางกฎหมายตามหลักการและแนวปฏิบัติแห่งสหประชาชาตวิ า่
ด้วยการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในระบบยุติธรรมทางอาญา ( United Nations Principles and
Guidelines on Access to Legal Aid in Criminal Justice Systems) ก. อารัมภบท ข้อ 8 ไว้ดังน้ี

1. การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย (Legal advice)
การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย คือ การให้คำปรึกษาและคำแนะนำทางกฎหมายแก่ประชาชนที่มาขอรับ

บริการ ผู้ให้คำปรึกษาอาจเป็นนักกฎหมาย ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชน หรือผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะด้าน เป็นต้น โดยมีการให้คำปรึกษาและคำแนะนำทางกฎหมาย เช่น การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับคดีแพ่งและ
คดีอาญา รวมทั้งการให้บริการปรึกษาทางกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งรูปแบบการให้คำปรึกษาและคำแนะนำทางกฎหมาย
ประชาชนสามารถขอรับคำปรึกษาโดยสามารถติดตอ่ หนว่ ยงานได้โดยตรง หรอื ตดิ ต่อผ่านช่องทางอ่ืน ๆ เช่น โทรศัพท์
อินเตอรเ์ นต็ แอปพลเิ คชัน ฯลฯ

2. การใหค้ วามช่วยเหลอื (Legal assistance)
การให้ความช่วยเหลือ คือ การจัดให้มีการความช่วยเหลือ การสนับสนุน การอำนวยความสะดวก

แก่ประชาชนด้านกฎหมาย เพื่อให้เข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมในทุกขั้นตอน ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของหลัก
ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งหรืออาญา การให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย เช่น การรับเรื่องราวร้องทุกข์
การลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือเยียวยา การชดเชยค่าเสียหายโดยรัฐ การช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทางคดี การคุ้มครองพยาน
ในคดอี าญา ฯลฯ

3. การเป็นตวั แทนทางกฎหมาย (Legal representation)
ตัวแทนทางกฎหมาย คือ ทนายความซึ่งเป็นตัวแทนทางกฎหมายที่ให้ความช่วยเหลือในการต่อสู้คดี

ทง้ั ทางแพง่ และอาญา หรอื ช่วยเหลือดา้ นการตกลง เจรจา การประนปี ระนอมยอมความในคดีต่าง ๆ ผา่ นหน่วยงานท่ี
เก่ยี วข้อ หรอื การเปน็ ตวั แทนชว่ ยรา่ งหรือจัดทำเอกสารทางกฎหมาย เชน่ พนิ ัยกรรม ข้อตกลง สญั ญาตา่ ง ๆ

นอกจากนี้การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่ครอบคลุมทั้งระบบอาจรวมถึงการบริการด้านกฎหมาย
ประเภทอ่ืน ๆ เชน่

1. การใหค้ วามร้กู ฎหมาย (Legal education)
การให้ความรู้ทางกฎหมาย คือ การเผยแพร่หรือการอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการ

ยุติธรรมแก่ประชาชนเพื่อเสริมสร้างการเข้าถึงกฎหมาย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการป้องกันอาชญากรรม การคุ้มครอง
สทิ ธแิ ละเสรีภาพ และการเข้าถึงกระบวนการยตุ ิธรรม อาจมลี กั ษณะในรูปแบบการจัดสัมมนา การจัดอบรม รายการ
โทรทศั น์ วดิ ีโอ สอื่ ประชาสัมพนั ธ์ Infographics หนงั สือกฎหมาย ฯลฯ

2. การเข้าถึงขอ้ มลู กฎหมาย (Access to legal information)
การเข้าถึงข้อมูลกฎหมาย คือ การท่ปี ระชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลทางกฎหมายผ่านสื่อและช่องทางต่าง ๆ

เช่น ประกาศ ห้องสมุด ข่าว สื่อประชาสัมพันธ์ Website Infographics ที่หน่วยงานรัฐหรือเอกชนได้รวบรวม

๑๓

เผยแพร่ข้อมูลทางกฎหมายไว้เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลทางกฎหมาย และมีส่วนร่วมในการ
ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายของ
ประเทศ

3. การไกลเ่ กล่ยี ขอ้ พพิ าท (Dispute resolution)
พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ได้บัญญัติความหมายของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้

ในมาตรา 3 ซึ่งบัญญัติว่า “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” หมายความว่า การดำเนินการเพื่อให้คู่กรณีมีโอกาสเจรจาตกลงกัน
ระงับข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญาโดยสันติวิธีและปราศจากการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการ
ไกล่เกลยี่ ขอ้ พพิ าทที่ดำเนินการในชน้ั ศาลและในชัน้ การบังคับคดี

การใหค้ วามชว่ ยเหลือประชาชนทางกฎหมายภายใต้สงั กดั กระทรวงยตุ ธิ รรม

กระทรวงยตุ ิธรรม
กระทรวงยุติธรรม มีภารกิจหลักในการอำนวยความยุติธรรมตามนโยบายของรัฐบาล โดยยึดประโยชน์

ของประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาและอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ให้สามารถเข้าถึง
กระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง เป็นธรรม ประหยัด และสามารถใช้สิทธใิ นกระบวนการยุติธรรม
ได้อย่างเท่าเทียม เน้นการทำงานแบบเครือข่าย และบูรณาการอย่างเป็นระบบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมนำ
นวตั กรรมมาใช้ในการทำงานและใช้ ระบบสารสนเทศเชื่อมโยงขอ้ มลู ในกระบวนการยุติธรรมอยา่ งตอ่ เน่ือง นอกจากนี้
มีภารกิจสำคัญทั้งด้านการพัฒนากฎหมายควบคู่กับการป้องกันและบังคับใช้กฎหมายให้ความคุ้มครอง ช่วยเหลือ
ประชาชน ตลอดจนการปราบปรามอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมด้วยการดำเนินคดีพิเศษ
การปราบปรามยาเสพติด ทำลายขบวนการค้ายารายใหญ่และการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้สามารถคืนสู่สังคมได้
อย่างยั่งยืน และที่สำคัญกระทรวงยุตธิ รรมมุ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคประชาสงั คมผ่านการ
ทำงานแบบเครือข่ายในการอำนวยความยุติธรรมในชุมชนพัฒนาระบบความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศและ
เชื่อมโยงระบบการอำนวยความยุติธรรมกับนานาชาติเพื่อยกระดับการอำนวยความยุติธรรมเข้ าสู่มาตรฐานสากล
ครอบคลุมทุกด้าน6 โดยหน่วยงานภายใต้กระทรวงยุติธรรมที่มีภารกิจเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือประชาชนทาง
กฎหมาย มีดังนี้

6 รายงานผลการดำเนนิ งานของรฐั ตอ่ สาธารณะรายปี กระทรวงยตุ ิธรรม ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 บทสรุปผู้บรหิ าร. หน้า 5.

๑๔

1.1 กรมคุ้มครองสิทธแิ ละเสรีภาพ
กรมคุ้มครองสทิ ธแิ ละเสรีภาพ มีภารกิจในการสง่ เสรมิ ค้มุ ครอง และสร้างหลกั ประกันสทิ ธิและเสรีภาพ

ตามหลักสิทธิมนุษยชน และให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย โดยประชาชนสามารถขอรับความ
ช่วยเหลือจากกรมคุ้มครองสิทธิฯ ในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงการจัดวางระบบส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการ
คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนการดำเนินการให้ผู้ต้องหา พยาน ผู้เสียหาย และจำเลยในคดีอาญา ได้รับการ
ค้มุ ครอง ช่วยเหลือเยียวยาในเบ้อื งตน้ เพ่อื ใหป้ ระชาชนได้รับการคุ้มครองและดูแลจากรฐั อยา่ งทัว่ ถึงและเทา่ เทียมกัน

ภารกจิ การชว่ ยเหลือประชาชนทางกฎหมายของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

ประเภทการใหค้ วามชว่ ยเหลอื การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของกรมคุม้ ครองสทิ ธแิ ละเสรีภาพ
ทางกฎหมาย

การให้คำปรกึ ษาทางกฎหมาย • คลินกิ ยุติธรรม
การใหค้ วามชว่ ยเหลือ - จัดให้มีที่ปรึกษากฎหมายประจำคลินิกยุติธรรม เพื่อให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำทางกฎหมาย
และสิทธิต่าง ๆ แก่ประชาชน ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
การเปน็ ตัวแทนทางกฎหมาย และทวั่ ถึง โดยมชี อ่ งทางการให้บริการหลากหลาย ปจั จุบนั มคี ลนิ ิกยตุ ิธรรมทว่ั ประเทศจำนวน 83 แหง่

• การจัดการเร่ืองราวรอ้ งทกุ ข์
- ดำเนนิ การรับเร่ืองราวรอ้ งทุกข์ เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณก์ ารละเมิดสิทธิ และประสานให้ความ
ช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม รวมทั้งมีการประสานงานสง่ ต่อไปยังหน่วยงานอื่นท่ี
เกย่ี วขอ้ ง

• การค้มุ ครองสิทธแิ ละเสรภี าพเชงิ รุก (ยตุ ธิ รรมสรา้ งสขุ ยตุ ิธรรมเชงิ รุก สรา้ งสขุ ใหป้ ระชาชน)
- การลงพื้นที่ปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือ แจ้งสิทธิ ให้คำแนะนำทางกฎหมาย และประสานการ
ชว่ ยเหลือสง่ ต่อความร่วมมอื กบั หนว่ ยงานอ่ืนทเี่ กย่ี วข้อง

• การส่งเสริมสิทธิผตู้ ้องหาในชัน้ สอบสวนคดีอาญา
- จัดให้มีทนายความเข้าร่วมรับฟังการสอบสวนและให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาการสอบสวน
ตามประมวลกฎหมายวธิ ีพิจารณาความอาญามาตรา 134/1

• การพัฒนาศกั ยภาพลา่ มในกระบวนการยตุ ิธรรมในช้ันสอบสวน
- จัดหาล่ามในชั้นสอบสวนท่ีขึ้นบญั ชีกบั กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา
จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้ จำนวน 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ
ภาษาจีน ภาษาเมียนมา

• การค้มุ ครองพยานในคดีอาญา
- การคุ้มครองความปลอดภัยของพยานในคดีอาญาทั้งมาตรการทั่วไปและมาตรการพิเศษ
ตามพระราชบญั ญัตคิ มุ้ ครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546

• การช่วยเหลอื ประชาชนทตี่ กเปน็ ผเู้ สียหายและจำเลยในคดีอาญา
- การขอรับเงินเยียวยาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่
จำเลยในคดอี าญา พ.ศ. 2544 และแกไ้ ขเพมิ่ เติม (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2559

-

การใหค้ วามรกู้ ฎหมาย • การส่งเสรมิ สทิ ธแิ ละเสรีภาพในรปู แบบตา่ ง ๆ
- เผยแพรค่ วามร้เู กยี่ วกบั สทิ ธิ เสรีภาพ สิทธิมนษุ ยชน รวมท้ังสนับสนนุ และสร้างการรบั รแู้ ก่ประชาชน
ในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยการจัดอบรม

๑๕

ประเภทการใหค้ วามช่วยเหลือ การชว่ ยเหลอื ประชาชนทางกฎหมายของกรมคุ้มครองสิทธแิ ละเสรภี าพ
ทางกฎหมาย

ให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน รวมถึงการให้ความรู้ทางกฎหมายผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ
วดิ ีโอ สมดุ ภาพอนิ โฟกราฟิกส์

การเข้าถงึ ข้อมลู กฎหมาย • การรวบรวมและเผยแพรข่ ้อมูลขา่ วสารทางกฎหมายในสื่อรปู แบบตา่ ง ๆ
- Website : www.rlpd.go.th , Facebook Page : กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
YouTube : กรมคุม้ ครองสิทธิ และเสรภี าพ

การไกล่เกลย่ี ขอ้ พิพาท - การรับคำร้องขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 เป็นทางเลือกหรือช่องทางการแก้ไข
ให้ประชาชนคู่พิพาทสามารถตกลงระงับข้อพิพาท แก้ไขความขัดแย้งโดยไม่มีภาระค่าใช้จ่ายในการ
จ้างทนายความ และเป็นการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล รวมถึงการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สิน
ครวั เรอื น

๑๖

1.2 สำนักงานปลัดกระทรวงยตุ ิธรรม

มีภารกิจในการดำเนินการด้านการพฒั นายทุ ธศาสตร์ ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำขอ้ มลู เพอ่ื ใช้ในการกำหนด
นโยบายเป้าหมายและผลสมั ฤทธิ์ของกระทรวง แปลงนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของรฐั มนตรีเป็นแนวทางและ
แผนปฏิบัติการของกระทรวง กำกับ เร่งรัด ติดตามประเมินผล รวมทั้งประสานการปฏิบัติราชการของหน่ วยงาน
ในสังกัดกระทรวง และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการของหน่วยงาน
ดูแลงานประชาสัมพันธ์การตา่ งประเทศ พฒั นากฎหมายทเี่ กี่ยวข้องและเผยแพร่กิจกรรมขา่ วของกระทรวง สนับสนุน
การพัฒนาบุคลากร จัดสรรและบริหารทรัพยากรให้เกิดการประหยัดและคุ้มค่า ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วย
กองทุนยุติธรรมและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการ
ทจุ ริตและการส่งเสริมคุ้มครองจรยิ ธรรมในกระทรวง

ภารกิจการชว่ ยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสำนักงานปลดั กระทรวงยตุ ิธรรม

ประเภทการใหค้ วามชว่ ยเหลอื การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสำนกั งานปลดั กระทรวงยตุ ิธรรม
ทางกฎหมาย

การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย • ศูนย์บรกิ ารรว่ มกระทรวงยตุ ธิ รรม
การให้ความช่วยเหลอื - สายด่วนยุติธรรม 1111 กด 77 , Application : Justice care : ยุติธรรมใส่ใจ , Website :
https://mind.moj.go.th
การเป็นตวั แทนทางกฎหมาย
การใหค้ วามรู้กฎหมาย • ศนู ยช์ ว่ ยเหลือลกู หน้แี ละประชาชนท่ีไมไ่ ด้รบั ความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม
- รบั ใหค้ ำปรึกษาด้านกฎหมายเก่ยี วกบั เร่อื งหนส้ี นิ ภาคประชาชนทไ่ี ม่ไดร้ บั ความเป็นธรรม

• สำนักงานกองทุนยุติธรรม
- Application line ให้คำปรึกษากฎหมายด้านต่าง ๆ และปรึกษาการให้ความช่วยเหลือในการ
ดำเนินคดี เช่น ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล ปรึกษาการยื่นคำขอการประกันตัวผู้ต้องหาหรือ
จำเลย ปรกึ ษาเรอื่ งการไกล่เกลยี่ คดคี วาม

• ศนู ย์บริการร่วมกระทรวงยตุ ธิ รรม
- รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ หรือแจ้งเบาะแส ของประชาชน เพื่อส่งต่อไปยังส่วนราชการในสังกัด
กระทรวงยุติธรรมพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ รวมทั้งมีการประสานงานส่งต่อไปยัง
หนว่ ยงานอน่ื ทเี่ กยี่ วข้อง

• ศนู ย์ชว่ ยเหลือลกู หนแี้ ละประชาชนทไี่ มไ่ ดร้ บั ความเปน็ ธรรม กระทรวงยตุ ธิ รรม
- แกไ้ ขปญั หาหนี้นอกระบบ ช่วยเหลอื ลกู หน้ีและประชาชนทเี่ กยี่ วกับเร่ืองหนส้ี ินภาคประชาชนท่ีไม่ได้
รบั ความเปน็ ธรรม

• สำนกั งานกองทนุ ยุติธรรม
- ชว่ ยเหลอื ขอปล่อยตัวช่ัวคราวผ้ตู อ้ งหาหรอื จำเลย ช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี เช่น ค่าจ้าง
ทนายความ ค่าที่ปรึกษากฎหมาย ค่าธรรมเนียมศาล ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิ
มนษุ ยชนหรือไดร้ ับผลกระทบจากการละเมิดสทิ ธมิ นุษยชน

• สำนกั งานกองทุนยตุ ธิ รรม
- แตง่ ต้ังทนายความที่ขนึ้ บัญชีกับกองทุนยุตธิ รรมเพ่ือใหค้ วามช่วยเหลือผู้ขอรบั บริการ ด้านคดีอาญา
คดีแพง่ คดปี กครอง คดีเยาวชนและครอบครัว คดีศาลชำนญั พเิ ศษ และคดีอื่น รวมถงึ การบังคบั คดี

• เผยแพร่ความรทู้ างกฎหมาย
- Application : Justice care

• การจัดอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

๑๗

ประเภทการใหค้ วามชว่ ยเหลือ การช่วยเหลอื ประชาชนทางกฎหมายของสำนกั งานปลัดกระทรวงยุตธิ รรม
ทางกฎหมาย
- การจดั โครงการอบรมให้ความรทู้ างกฎหมายแก่ประชาชน , การให้ความรทู้ างกฎหมายผา่ นส่ือต่าง ๆ
เชน่ แผ่นพับ วดิ โี อ Infographics

การเขา้ ถงึ ขอ้ มลู กฎหมาย • การรวบรวมและเผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารทางกฎหมายในสอื่ รปู แบบตา่ ง ๆ

- Website : www.moj.go.th , https://jfo.moj.go.th , Facebook Page : กระทรวงยุติธรรม
Ministry of Justice, Thailand , YouTube : กระทรวงยุติธรรม Ministry of Justice, Thailand
Application : Justice care : ยุติธรรมใสใ่ จ

การไกล่เกลย่ี ขอ้ พพิ าท -

๑๘

1.3 กรมสอบสวนคดีพเิ ศษ

กรมสอบสวนคดีพิเศษ มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม สืบสวน และสอบสวน
คดีพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคดีพิเศษประกาศกำหนด
หรือตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษ ตลอดจนปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ
กฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาที่เป็นคดีพิเศษ การจัดให้มีการศึกษา อบรม และพัฒนาระบบงาน
การสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษการพัฒนาความรู้และการประเมินสมรรถภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ
พนักงานราชการและลูกจ้างของกรมและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือ
เจ้าหน้าที่คดีพิเศษหรือไม่ รวมไปถึงการดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ
กรมและงานอ่ืนทเ่ี ก่ียวขอ้ ง

ภารกิจการชว่ ยเหลือประชาชนทางกฎหมายของกรมสอบสวนคดพี เิ ศษ

ประเภทการให้ความชว่ ยเหลอื การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของกรมสอบสวนคดพี ิเศษ
ทางกฎหมาย

การให้คำปรกึ ษาทางกฎหมาย - การติดตอ่ ด้วยตนเองท่ีกรมสอบสวนคดพี เิ ศษ , การติดต่อผา่ นเบอรโ์ ทรศพั ท์ 1202 การติดต่อผ่าน

DSI Application ฯลฯ

การใหค้ วามชว่ ยเหลอื - รับเร่ืองราวร้องทกุ ข์ และประสานกับหน่วยงานอ่ืนทีใ่ หก้ ารช่วยเหลือทางกฎหมาย รวมถึงการส่งต่อ
เรอื่ งไปยงั หนว่ ยงานท่ีเก่ยี วข้อง เพือ่ ให้การช่วยเหลือประชาชน

- ปฏิบัติงานเชิงรุกในการช่วยเหลือหรือคุ้มครองผู้เสียหายในกรณีเร่งด่วน ด้านการป้องกันและ
ปราบปรามการกระทำความผดิ ฐานคา้ มนษุ ย์

- การให้ความช่วยเหลือประชาชนท่ไี มไ่ ดร้ ับความเป็นธรรมในเรอ่ื งเกี่ยวกบั การแก้ไขปัญหาหนนี้ อกระบบ
- การช่วยเหลอื ประชาชน กรณกี ารหลอกลวงใหล้ งทุนซ้ือสลากกนิ แบง่ รัฐบาล (แชรล์ อตเตอร)ี่
- ป้องกนั ปราบปราม สืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษทีม่ ีความสำคญั และส่งผลกระทบต่อประชาชน

การเป็นตวั แทนทางกฎหมาย -

การให้ความรู้กฎหมาย - การจัดอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายแกป่ ระชาชน
- จัดทำวิดีโอ , เพลง , Infographics , การรณรงค์และเผยแพร่ข้อมูลในการป้องกันภัยคุกคามจาก

แก๊ง call center ให้กับประชาชน เปน็ ตน้

การเขา้ ถึงขอ้ มลู กฎหมาย • การรวบรวมและเผยแพรข่ อ้ มูลขา่ วสารทางกฎหมายในสอื่ รปู แบบต่าง ๆ
- Website : https://www.dsi.go.th , Facebook Page : DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษ , YouTube
: DSI กรมสอบสวนคดพี ิเศษ , Application : DSI (กรมสอบสวนคดพี ิเศษ)

การไกลเ่ กลย่ี ขอ้ พิพาท -

๑๙

1.4 สถาบนั นติ วิ ทิ ยาศาสตร์

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ มีภารกิจในการให้บริการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ให้ทราบ
ความจริง การตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลเพื่อการติดตามบุคคลสูญหายและศพนิรนาม จัดเก็บรวบรวมข้อมูล
สารพันธุกรรม พยานหลักฐาน เพื่อการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำผิดในด้านต่าง ๆ โดยนำหลัก
วิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ และการแพทย์มาใช้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกระบวนการยุติธรรม หรือเพื่อประโยชน์
ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง และสนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ช่วยเหลือสังคมและคุ้มครองสิทธิมนษุ ยชน สนับสนุนการข่าวเพื่อความมั่นคงของชาติ ศึกษา วิจัย สนับสนุน
การศึกษาวจิ ัยทางด้านนิตวิ ิทยาศาสตรร์ ่วมกับสว่ นราชการหนว่ ยงานของรัฐหรือองค์กรอื่น เผยแพร่ความรู้ ฝึกอบรม
และพัฒนาบุคลากรด้านนิติวิทยาศาสตร์ สร้างเครือข่ายในการจัดทำมาตรฐานและพัฒนางานด้านนิติวิทยาศาสตร์
ท้งั ในประเทศและต่างประเทศ

ภารกิจการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสถาบนั นติ ิวทิ ยาศาสตร์

ประเภทการให้ความช่วยเหลือ การช่วยเหลอื ประชาชนทางกฎหมายของสถาบนั นติ ิวทิ ยาศาสตร์
ทางกฎหมาย

การใหค้ ำปรึกษาทางกฎหมาย -

การให้ความช่วยเหลือ • การรับเรื่องราวร้องทุกขด์ ้านนิติวิทยาศาสตร์ของประชาชน โดยเรื่องร้องทุกข์นั้นอยู่ในอำนาจหนา้ ท่ี
ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ที่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งผู้ร้องทุกข์ ได้แก่ ผู้เสยี หาย ญาติสายตรงหรือ
การเป็นตัวแทนทางกฎหมาย ทายาทโดยธรรม สามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายของผู้เสียหายหรือผู้เสียชีวิต
การให้ความร้กู ฎหมาย ท่ดี ำเนินการเข้าแจ้งเร่อื งราวร้องทกุ ข์ต่อสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ หรอื แจ้งเรอ่ื งราวรอ้ งทกุ ข์ ผ่านระบบ
การเขา้ ถงึ ข้อมลู กฎหมาย E-one stop service หรอื แอปพลเิ คชนั CIFS e-Service
การไกล่เกลี่ยข้อพพิ าท
• ใหบ้ รกิ ารตรวจพสิ จู น์สารพันธกุ รรมแก่ราษฎรไรส้ ถานะและประสบปัญหาสถานะทางทะเบยี นราษฎร
เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิสูจน์สถานะบุคคล ให้เป็นบุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรหรือ
การมีสัญชาติไทยหรอื การแก้ไขปัญหาสถานะทางทะเบยี นราษฎร

• ให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์สำหรับภาคเอกชนและประชาชน เป็นการให้บริการที่ประชาชน
สามารถเข้าถงึ บริการภาครฐั ในการตรวจพสิ จู น์ดา้ นนิตวิ ิทยาศาสตร์ เชน่ การตรวจพิสจู นท์ างชีววทิ ยา
DNA การตรวจวเิ คราะหส์ ารเสพตดิ ในเส้นผม การตรวจพิสจู น์พยานเอกสาร ฯลฯ

-

- การจดั อบรมให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
- จดั ทำวิดโี อ , infographics

• การรวบรวมและเผยแพรข่ ้อมลู ขา่ วสารทางกฎหมายในสอ่ื รูปแบบตา่ ง ๆ
- Website : www.cifs.go.th , Facebook Page : สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
YouTube : PR CIFS

-

๒๐

1.5 กรมบังคับคดี

กรมบังคับคดี มีภารกิจในการดำเนินการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย และการฟื้นฟูกิจการของลูกหน้ี
ตามคำสั่งศาล ดำเนินการตรวจสอบสิทธิทางบัญชขี องผู้มีส่วนได้เสียเพือ่ รับส่วนแบ่งจากคดี ตรวจสอบค่าใช้จ่ายและ
เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการบังคับคดี ชำระบัญชีห้างหุ้นสว่ น บริษัทหรือนิติบคุ คล ในฐานะผู้ชำระบัญชีตามคำสั่งศาล
รับวางทรัพย์จากลูกหนี้หรือผู้มีสิทธิวางทรัพย์ ดำเนินการประเมินราคาทรัพย์ ดำเนินการเกี่ยวกับการเดินหมาย
คำคู่ความหนังสือหรือประกาศของศาลหรือหน่วยงานในสังกัด พัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการ รวมทั้งดำเนินการ
เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี บริหารจัดการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการบังคับคดี
และด้านอ่ืน ๆ ในความรบั ผดิ ชอบของกรม

ภารกิจการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของกรมบงั คับคดี

ประเภทการให้ความชว่ ยเหลือ การช่วยเหลอื ประชาชนทางกฎหมายของกรมบงั คบั คดี
ทางกฎหมาย

การใหค้ ำปรกึ ษาทางกฎหมาย • ให้บริการให้คำปรึกษาด้านการบังคับคดียุค New Normal ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สายด่วน
การให้ความช่วยเหลือ กรมบังคับคดี 1111 กด 79

การเป็นตวั แทนทางกฎหมาย • ใหบ้ รกิ ารรับเร่ืองราวรอ้ งทกุ ข์ ผา่ นระบบรับเรอ่ื งร้องเรียน (E-Petition)
การใหค้ วามรูก้ ฎหมาย • ดำเนินการบังคับคดีแพ่งและการบังคับคดลี ้มละลายตามคำสั่งศาล การรวบรวมทรัพย์สินของลกู หนี้

การเข้าถงึ ข้อมลู กฎหมาย โดยดำเนินการยึด อายัด ทรัพย์สินของลูกหนี้ นำออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งจ่ายคืนให้แก่
การไกลเ่ กล่ียขอ้ พพิ าท บรรดาเจ้าหนแี้ ละผู้มีส่วนไดเ้ สยี ในคดี

•-

• จัดอบรมเสริมสร้างการรับรู้ความเข้าใจกฎหมายด้านการบังคับคดีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับชีวิตประจำวนั เช่น การกูย้ มื เงิน การค้ำประกนั จำนำ จำนอง ขายฝาก วางทรัพยใ์ ห้กับประชาชน
ทัว่ ประเทศ

• รวมถึงการเผยแพร่ความรทู้ างกฎหมายในสอื่ รปู แบบต่าง ๆ เชน่ หนงั สอื อิเล็กทรอนกิ ส์ Infographics
วิดีโอ

• การรวบรวมและเผยแพรข่ ้อมลู ขา่ วสารทางกฎหมายในสอ่ื รปู แบบต่าง ๆ
- Website : www.led.go.th , Facebook Page : กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม , Application
line : กรมบงั คบั คดี LED , YouTube : กรมบงั คบั คดี กระทรวงยตุ ธิ รรม

- ดำเนินการไกล่เกลีย่ ขอ้ พิพาทชน้ั บงั คบั คดี ซึง่ ผเู้ ขา้ ร่วมการไกล่เกลีย่ ไมต่ ้องเสยี ค่าใชจ้ ่ายใด ๆ ท้ังส้ิน
สามารถเข้าถึงการบริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด ลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยแก้ไขปัญหา
ความเดอื ดร้อนให้กบั ประชาชน เปน็ การลดปรมิ าณคดที ี่เข้าสกู่ ระบวนการบังคับคดี โดยกรมบังคบั คดี
ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันการเงิน และกองทุนเงินให้กู้ยืม
เพอ่ื การศกึ ษา จดั งานมหกรรมไกลเ่ กล่ยี หนี้สินครวั เรอื น รวมถงึ มบี ริการย่นื คำร้องไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ทางอิเล็กทรอนกิ ส์

๒๑

1.6 กรมราชทณั ฑ์

กรมราชทณั ฑ์ มภี ารกิจเก่ยี วกับการดำเนนิ การปฏบิ ัตติ อ่ ผูก้ ระทำผดิ ให้เปน็ ไปตามคำพิพากษาหรือคำส่ัง
ตามกฎหมาย โดยดำเนินการตามกฎหมาย การควบคุมและแก้ไขพฤตินิสัยผู้ต้องขัง และบุคคลที่อยู่ในความควบคุม
หรือดูแลตามหน้าที่และอำนาจของกรม กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้สอดคล้องกับกฎหมายระเบียบ
ข้อบังคับ นโยบายของกระทรวง หลักอาชญาวิทยาและหลักทัณฑวิทยา ตลอดจนข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับ
ปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง และข้อเสนอแนะในเรื่องที่เกี่ยวข้องขององค์การสหประชาชาติดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการและ
การสงเคราะห์แก่ผู้ต้องขัง โดยมุ่งพัฒนาองค์กร พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อแก้ไขหรือฟื้นฟูผู้ต้องขังและบุคคล
ที่อยู่ในความควบคุมหรือดูแลตามหน้าที่ และอำนาจของกรม ให้กลับตนเป็นพลเมืองดี มีสุขภาพกายและจิตที่ดี
ไม่หวนกลบั มากระทำผิดซ้ำ ได้รับการพัฒนาทกั ษะฝีมือในการประกอบอาชพี ที่สจุ ริต และสามารถดำรงชีวิตในสังคม
ภายนอกได้อย่างปกติโดยสังคมให้การยอมรบั

ภารกจิ การชว่ ยเหลือประชาชนทางกฎหมายของกรมราชทัณฑ์

ประเภทการให้ความชว่ ยเหลือ การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของกรมราชทัณฑ์
ทางกฎหมาย

การให้คำปรกึ ษาทางกฎหมาย -

การให้ความช่วยเหลอื • ศนู ย์บริการร่วมราชทัณฑ์
- บริการประชาชนผู้มาติดต่อราชการกับกรมราชทัณฑ์ให้ได้รับบริการในด้านต่าง ๆ อย่างสะดวก
การเป็นตัวแทนทางกฎหมาย รวดเร็ว พงึ พอใจ และรับเรือ่ งราวร้องเรยี น ร้องทุกข์ หรือรับแจ้งขอ้ มูลเบาะแส
การให้ความรู้กฎหมาย - บริการระบบเยี่ยมญาติทางไกลแบบเห็นหน้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้ญาติผู้ต้องขังสามารถ
ติดตอ่ สื่อสารกนั ได้ โดยใชร้ ะบบวดิ ีโอคอลผา่ นไลน์
การเขา้ ถึงขอ้ มลู กฎหมาย
การไกลเ่ กลยี่ ขอ้ พพิ าท -

• จัดกิจกรรมอบรมใหค้ วามรทู้ างกฎหมาย
- การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและบทลงโทษในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ จัดอบรมให้
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ รวมถึงการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายในสื่อ
รปู แบบต่าง ๆ เชน่ วารสาร , E - book , วดิ ีโอ

• การรวบรวมและเผยแพรข่ ้อมูลขา่ วสารทางกฎหมายในสื่อรปู แบบตา่ ง ๆ
- Website : www.correct.go.th , , Facebook Page : ประชาสัมพันธ์ กรมราชทัณฑ์ , Application
line : @thaidoc , YouTube : ประชาสมั พนั ธ์ กรมราชทณั ฑ์

-

๒๒

1.7 กรมคุมประพฤติ

กรมคุมประพฤติ มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินการสืบเสาะและพินิจ ควบคุมและสอดส่อง แก้ไข ฟื้นฟู
และสงเคราะห์ผู้กระทำผิดในชั้นก่อนฟ้อง ชั้นพิจารณาคดีของศาล และภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาตามที่กฎหมาย
กำหนด ดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ส่งเสริมสนับสนุนเกี่ยวกับการแก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์ผู้กระทำ
ผดิ ในชมุ ชน จดั ทำและประสานแผนงานของกรมใหส้ อดคล้องกับนโยบายและแผนแม่บทของกระทรวง รวมทั้งเร่งรัด
ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัด เสริมสร้าง สนับสนุนและประสานงาน ให้ภาค
ประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นเครือข่ายในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด รวมถึงปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมาย
กำหนดใหเ้ ปน็ อำนาจหน้าทข่ี องกรมหรือตามท่ีกระทรวงหรือคณะรฐั มนตรมี อบหมาย

ภารกิจการชว่ ยเหลือประชาชนทางกฎหมายของกรมคุมประพฤติ

ประเภทการให้ความช่วยเหลือ การชว่ ยเหลือประชาชนทางกฎหมายของกรมคุมประพฤติ
ทางกฎหมาย

การใหค้ ำปรกึ ษาทางกฎหมาย - การให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่ผู้รับบริการที่มาติดต่อศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำนักงานคุมประพฤติ เช่น
ให้คำแนะนำสำหรับผู้รับบริการ กรณีเป็นจำเลย/พยาน/ผู้เสียหาย/ผู้ถูกคุมความประพฤติ
การใหค้ วามชว่ ยเหลือ ให้คำแนะนำสำหรับผู้ได้รับการพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษจำคุก ให้คำแนะนำสำหรับงาน
การเปน็ ตัวแทนทางกฎหมาย คุมประพฤติเด็กและเยาวชน ให้คำแนะนำสำหรับผู้ต้องการทำงานบริการสังคมแทน ให้คำแนะนำ
การให้ความรู้กฎหมาย แก่ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์/ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกรณีขอปล่อยตัวชั่วคราว
ในระหวา่ งการตรวจพสิ จู น์
การเข้าถึงข้อมลู กฎหมาย
การไกล่เกล่ยี ขอ้ พพิ าท - บริการสายดว่ นกรมคุมประพฤติรบั เรื่องรอ้ งเรียน ร้องทุกข์ โทร. 1111 กด 78
- การสงเคราะห์ผกู้ ระทำผิด การชว่ ยเหลอื แนะนำ แก้ไขฟน้ื ฟสู มรรถภาพผู้ตดิ ยาเสพติด พัฒนาหรือ
การดำเนนิ การแกผ่ ูก้ ระทำผดิ เพอื่ ใหผ้ ู้กระทำผิดสามารถดำรงชีวิตอย่ใู นสังคมได้

-

• จดั กจิ กรรมอบรมใหค้ วามรทู้ างกฎหมาย
- การบรรยาย การอภิปรายความเข้าใจกฎหมายด้านยาเสพติด กฎหมายทั่วไป กฎจราจร รวมถึง
การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายในสื่อรูปแบบต่าง ๆ เช่น วิดีโอ , E - book , E - learning ,
Infographics

• การรวบรวมและเผยแพรข่ อ้ มูลข่าวสารทางกฎหมายในสอื่ รูปแบบต่าง ๆ
- Website : www.probation.go.th , Facebook Page : กรมคุมประพฤติ Department of
Probation , YouTube : ประชาสัมพนั ธ์ กรมคมุ ประพฤติ , Application : กรมคมุ ประพฤติ

-

๒๓

1.8 กรมพนิ จิ และค้มุ ครองเดก็ และเยาวชน

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีภารกิจเกี่ยวกับดำเนินการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิเด็กและ
เยาวชนที่กระทำความผิด ส่งเสรมิ ความม่นั คงของสถาบันครอบครวั และชุมชน ดำเนินการดา้ นคดีอาญา คดีครอบครัว
กำกับการปกครอง บำบัด แก้ไขฟื้นฟู ป้องกัน พัฒนาและสงเคราะห์ ตลอดจนติดตามประเมินผลเด็กและเยาวชน
ประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายชมุ ชนองค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ ศึกษาวิเคราะห์
และพัฒนากฎหมายการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน รวมทั้งระบบรูปแบบวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับงานคดี
และการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนพัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้เข้าสู่มาตรฐานการบ ริหารจัดการ
ภาครัฐ

ภารกิจการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของกรมพนิ ิจและคุ้มครองเดก็ และเยาวชน

ประเภทการใหค้ วามช่วยเหลือ การชว่ ยเหลอื ประชาชนทางกฎหมายของกรมพนิ จิ และคมุ้ ครองเด็กและเยาวชน
ทางกฎหมาย

การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย • คลินกิ ใหค้ ำปรึกษาเด็กและครอบครวั อบอนุ่
- ให้บริการคำปรึกษาแก่ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไปทีม่ ปี ญั หาเก่ียวกับพฤติกรรมของเดก็ และเยาวชน
การให้ความช่วยเหลอื ปัญหาครอบครัว โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยนักวิชาชีพของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ที่มีประสบการณ์และทกั ษะในการดูแลฟื้นฟู ปัญหาพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนโดยตรง ซึ่งพร้อม
การเปน็ ตัวแทนทางกฎหมาย ให้คำปรึกษาและการให้บริการทางกฎหมาย และสง่ ตอ่ ไปยังเครือข่ายท่ีเก่ยี วข้อง
การใหค้ วามรู้กฎหมาย
การเขา้ ถงึ ขอ้ มลู กฎหมาย - การรับเรื่องราวร้องทุกข์ และประสานกับหน่วยงานอื่นที่ให้การช่วยเหลือทางกฎหมาย รวมถึงการ
การไกลเ่ กล่ยี ขอ้ พิพาท สง่ ต่อเรื่องไปยังหนว่ ยงานท่เี กี่ยวขอ้ ง เพื่อใหก้ ารช่วยเหลือประชาชน
- การใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาดำเนินการตามมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติศาล
เยาวชนและครอบครัวและวธิ พี ิจารณาคดีเยาวชนและครอบครวั พ.ศ.2553 และกระบวนการหนั เหคดี
ถูกใช้เป็นแนวทางในการส่งเดก็ และเยาวชนเข้าสู่กระบวนการของมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดี
อาญา หรือการใช้วิธีการสำหรบั เดก็ และเยาวชน ในการส่งเสรมิ ใหก้ ระบวนการยุติธรรมเชงิ สมานฉันท์
มาเป็นกลไกหลักในการขบั เคลื่อนการดำเนินงานเพือ่ ลดปญั หาการกระทำผิดซำ้ ของเดก็ และเยาวชน

-

• รายการ “สถานีกฎหมาย” By กรมพนิ จิ ฯ
- สร้างความเขา้ ใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายของเด็กและเยาวชน หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัว
ผ่านชอ่ งทาง Social Media รวมถงึ การเผยแพรค่ วามรู้ทางกฎหมายในสอื่ รปู แบบตา่ ง ๆ เชน่ วารสาร
วีดีโอ , E - learning , Infographics

• การรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางกฎหมายในสอื่ รูปแบบต่าง ๆ
- Website : www.djop.go.th , Facebook Page : กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ,
YouTube : PRDJOP

-

๒๔

ตารางสรุปภารกิจการชว่ ยเหลือประชาชนทางกฎหมายของหนว่ ยงาน
ภายใต้กระทรวงยุตธิ รรม

ประเภทการให้ความ กรม ุ้คมครองสิทธิและ
ช่วยเหลอื ทางกฎหมาย เส ีรภาพ

สำ ันกงานปลัด
กระทรวงยุติธรรม
กรมสอบสวนคดี ิพเศษ
สถาบัน ินติวิทยาศาสต ์ร

กรมบัง ัคบค ีด
กรมราช ัทณฑ์
กรม ุคมประพฤติ
กรมพินิจและ ุ้คมครองเด็ก
และเยาวชน

การใหค้ ำปรึกษาทางกฎหมาย    -  -  

การใหค้ วามชว่ ยเหลือ 

การเปน็ ตวั แทนทางกฎหมาย -  - - - - - -

การให้ความร้กู ฎหมาย 

การเข้าถงึ ข้อมลู กฎหมาย 

การไกล่เกล่ยี ข้อพิพาท - - -- - -

๒๕

บทสรปุ

จะเห็นได้ว่า หลักการและแนวปฏิบัติแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายในระบบ
ยุติธรรมทางอาญา ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ปฏญิ ญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย และกฎหมายทเี่ กี่ยวขอ้ ง มีการบัญญัติหน้าที่
ของรัฐเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ถือเป็นเรื่องสำคัญและเป็นอีกหนึ่งข้อท้าทายของรัฐที่ต้อง
ให้บริการแก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ยากไร้ ขาดความรู้ทางกฎหมายและอยู่ห่างไกลจากสถานท่ี
การให้บริการทางกฎหมาย รัฐต้องให้การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึง
กระบวนการยุติธรรม อยู่บนพื้นฐานความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ กระทรวงยุติธรรม ถือเป็นอีกหนึ่งหน่วยงาน
ของรัฐที่ให้ความช่วยเหลือและมีการพัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย รวมถึงการแก้ไข
ปรับปรุงกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงการให้ความช่วยเหลือได้อย่าง
ทว่ั ถงึ และเปน็ ไปอย่างมีประสทิ ธภิ าพ

แต่อย่างไรก็ตามปัญหาการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของหน่วยงานภายใ ต้สังกัดกระทรวง
ยุติธรรม ยังคงมีอยู่ หลายหน่วยงานพยายามปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการ
ขาดแคลนบุคลากร อันเนื่องมาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ทนายความอาสา
(ตัวแทนทางกฎหมาย) เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเหตุให้เกิดความล่าช้าในการช่วยเหลือประชาชน ทั้งในด้านการอำนวย
ความสะดวก และการให้บริการต่าง ๆ นอกจากนป้ี ัญหาดา้ นงบประมาณก็เปน็ อีกหน่ึงสาเหตุสำคัญและตอ้ งได้รับการ
แก้ไข เชน่ งบประมาณการเบิกค่าตอบแทนและคา่ ใชจ้ ่ายทนายความอาสาทยี่ ังไม่เพียงพอ รัฐควรจดั สรรงบประมาณ
อย่างเพยี งพอให้แกห่ นว่ ยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งการสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยงานอ่ืน ๆ ทไ่ี ม่ใช่หน่วยงานของรัฐ
ไม่ว่าจะเป็นองค์กรวิชาชีพทางกฎหมาย หรือสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องด้านกฎหมายในเชิงบูรณาการร่วมกัน
เพ่อื ใหค้ วามชว่ ยเหลือประชาชนตามกฎหมายได้ครอบคลุมและทั่วถึงมากขึน้ และอีกหนึ่งปัญหาทค่ี วรได้รับการแก้ไข
คือ ปัญหาการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชาวต่างชาติ แรงงานต่างด้าว ผู้พลัดถิ่น ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ไม่สามารถสื่อสารหรือเข้าใจภาษาไทยได้ ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ
ประเทศไทย หรือบางกรณีบุคคลดังกล่าวอาจอยู่ห่างไกลจากสถานท่ีให้บริการทางกฎหมาย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่ง
ข้อท้าทายของกระทรวงยุติธรรมในการพัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนทุกคน
ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติ ให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความยั่งยืน
และเชื่อถือได้


Click to View FlipBook Version