The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สื่อความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับกฎหมายอาญา ลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน มาตรา 136 ถึง มาตรา 146

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Tidaporn Tongduang, 2022-09-05 09:59:37

ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

สื่อความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับกฎหมายอาญา ลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน มาตรา 136 ถึง มาตรา 146

ลักษณะ ๒

ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

หมวด ๑

ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

นางสาวธิดาพร ทองด้วง
641087020

คำนำ

สื่อ ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายอาญา

โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่องความ

ผิดต่อเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ ในสื่อนี้มีเนื้อหาประกอบด้วยความ

รู้เกี่ยวกับมาตราที่เกี่ยวข้องและฎีกาที่น่าสนใจ ตลอดจนการ

ประยุกต์ใช้ในการเรียน

ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำ เนื่องมาจาก

เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณอาจารย์ ผู้ให้

ความรู้ และแนวทางการศึกษา หวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้

ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน หากมีข้อ

เสนอแนะประการใด ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความ

ขอบพระคุณยิ่ง

ธิดาพร ทองด้วง
ผู้จัดทำ

1

มาตรา 136 ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการ

ตามหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือ

ทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบ มาตรา 136
1. ดูหมิ่น
2. เจ้าพนักงาน
3. ซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่
4. โดยเจตนา

2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8422/2558
การที่จำเลยที่ 1 พูดจาให้ร้ายผู้เสียหายขณะปฏิบัติ


หน้าที่เข้าตรวจค้นร้านโดยใช้คำว่า "ปลัดส้นตีน" ซึ่งเป็นคำดู

หมิ่นเหยียดหยาม เป็นการกระทำความผิดฐานดูหมิ่นเจ้า

พนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ตาม ป.อ. มาตรา 136 สำเร็จ

แล้วกระทงหนึ่ง ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำให้ผู้

เสียหายเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญขณะที่ผู้

เสียหายเข้าตรวจภายในร้าน โดยจำเลยที่ 1 พูดขึ้นว่า ไปเอา

ปืนมายิงให้ตาย อย่าให้ออกไปได้ แล้วจำเลยที่ 2 วิ่งไปหยิบ

ไม้เบสบอลมาตีผู้เสียหาย 1 ที จำเลยที่ 1 เอาไม้กวาดไล่ตีผู้

เสียหาย เป็นการกระทำต่อเนื่องกันไป โดยมีเจตนาเดียวกัน

คือทำร้ายผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับการร่วมกัน

ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่

กายหรือจิตใจ

3

มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้า

พนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบ มาตรา 137
1.แจ้งข้อความ
2.อันเป็นเท็จ
3.แก่เจ้าพนักงาน
4.ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย
5.โดยเจตนา

4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2543
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่จำเลย


มอบให้โจทก์เป็นประกันตามสัญญากู้ยืม โจทก์มีสิทธิจะยึดถือ

ไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสียก่อน และหนังสือรับรองการทำ

ประโยชน์ (น.ส.3) แม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียว ตาม

สภาพเป็นวัตถุมีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ จึงเป็นทั้ง

ทรัพย์และทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 137,138 ฉะนั้น ถ้าหากจำเลยโดยทุจริตหลอกลวง

โจทก์และการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ก็เป็น

ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ได้

เพราะความผิดฐานนี้ ไม่ได้จำกัดว่าผู้ที่ถูกหลอกลวงจะต้องเป็น

เจ้าของทรัพย์แม้จะเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้

ใครหลอกลวงให้เขาส่งทรัพย์นั้นก็อาจมีความผิดตามมาตรานี้

ได้

5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2561
การที่จำเลยรู้ว่ามิได้เกิดเหตุลักทรัพย์รถกระบะ แต่


กลับแจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายลักทรัพย์รถกระบะที่

จำเลยเช่าซื้อไป เพื่อจะนำเงินที่ได้รับจากบริษัทผู้รับประกัน

ภัยไปชำระค่างวดแก่ธนาคาร ก. ผู้ให้เช่าซื้อ การกระทำของ

จำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 อันเป็นบทบัญญัติ

เฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็น

บทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน

ทั่ว ๆ ไปอีก และเมื่อไม่เกิดมีความผิดอาญาฐานลักทรัพย์เกิด

ขึ้นในคดีนี้ จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172

6

มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือ

ผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตาม

หน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสอง

หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลัง

ประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้อง

ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบ มาตรา 138
1.ต่อสู้หรือขัดขวาง
2.เจ้าพนักงาน หรือ ผู้ช่วยเจ้าพนักงาน
3.โดยเจตนา

ตามมาตรา 138 วรรคสอง ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้

กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง

ประทุษร้าย โทษจะสูงขึ้น

7

มาตรา 139 ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติ

การอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตาม

หน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง

ประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกิน

แปดหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบ มาตรา 139
1.ข่มขืนใจ
2.เจ้าพนักงาน
3.ให้ปฏิบัติการอันมิชอบ หรือ ให้ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่
4.โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือ ขู่เข็ญ
5.โดยเจตนา

8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2537
การที่จำเลยพูดขู่เข็ญจะฆ่าผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้า


พนักงานป่าไม้หากไม่ปล่อยไม้ที่ยึด เป็นการข่มขืนใจผู้เสีย

หายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือ

ให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นการลงมือกระทำความ

ผิดครบองค์ประกอบความผิดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล

เพราะผู้เสียหายไม่เกรงกลัวไม่ยินยอมปล่อยไม้ที่ยึด ผู้เสีย

หายจึงไม่ได้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยกฎหมายหรือละเว้นการ

ปฏิบัติการตามหน้าที่ที่จำเลยข่มขืนใจ จำเลยจึง มีความผิดขั้น
พยายามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 ประกอบ

มาตรา 80

9

มาตรา 140 ถ้าความผิดตามมาตรา ๑๓๘ วรรคสอง

หรือมาตรา ๑๓๙ ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธ หรือโดยร่วม

กระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้ง

จำทั้งปรับ

ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่

หรือซ่องโจรนั้นจะมีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก

ตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธ

ปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่

กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง

เหตุเพิ่มโทษ ตามมาตรา138
1.การกระทำความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง หรือ มาตรา
139 วรรคสอง ดดยมีหรือใช้อาวุธ หรือ ร่วมกระทำความผิด
ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
2.การกระทำผิดโดยอ้างอำนาจอั้งยี่ หรือ ซ่องโจร
3.การกระทำการโดยใช้อาวุธปืน หรือ ระเบิด
4.โดยเจตนา

10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2561
ป.อ. มาตรา 140 วรรคสาม บัญญัติให้ผู้กระทำความ


ผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย โดย

มีอาวุธปืนต้องได้รับโทษหนักกว่าโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ

ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง ก็เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของเจ้า

พนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้อาวุธปืนที่ยึดได้จากรถคัน

เกิดเหตุจะถูกซุกซ่อนอยู่ใต้ที่นั่งด้านหน้าข้างคนขับ จำเลยที่ 1

ไม่ได้พกติดตัวหรือวางในลักษณะพร้อมหยิบฉวยได้ทันที

ก็ตาม แต่อาวุธปืนมีกระสุนปืนบรรจุอยู่ในรังเพลิงพร้อมใช้

งานได้ทันที นับเป็นอันตรายต่อเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติตาม

หน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง

ประกอบมาตรา 140 วรรคสาม

11

มาตรา 141 ผู้ใดถอน ทำให้เสียหาย ทำลายหรือ

ทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้

ประทับหรือหมายไว้ที่สิ่งใด ๆ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่

เพื่อเป็นหลักฐานในการยึด อายัดหรือรักษาสิ่งนั้น ๆ ต้อง

ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบ มาตรา 141
1.การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ ถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย

หรือ ทำให้ไร้ประโยชน์
2.ซึ่งตรา หรือ เครื่องหมาย
3.อันเจ้าพนักงาได้ประทับหรือหมายไว้ที่สิ่งใดๆ
4.เพื่อเป็นหลักฐานในการ ยึด อายัด หรือรักษาสิ่งต่างๆ
5.โดยเจตนา

12

มาตรา 142 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น

เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สิน

หรือเอกสารใด ๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้ หรือสั่งให้

ส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐาน หรือเพื่อบังคับการให้เป็นไปตาม

กฎหมาย ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษาทรัพย์หรือเอกสารนั้นไว้

เอง หรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่น ส่งหรือรักษาไว้ก็ตาม ต้องระวาง

โทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้ง

จำทั้งปรับ

องค์ประกอบ มาตรา 142
1.การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ทำให้เสียหาย ทำลาย

ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำสูญหาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์
2.ซึ่งทรัพย์สิน หรือ เอกสาร
3.อันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้ หรือ สั่งให้ส่ง
4.ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษาทรัพย์หรือเอกสารนั้นไว้เอง
5.โดยเจคนา

13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7504/2561
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 142 เป็นกรณีที่ผู้ใด


ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้

สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สิน หรือเอกสารใด ๆ อัน

เจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้หรือสั่งให้ส่งเพื่อเป็นพยานหลัก

ฐาน... ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษาทรัพย์หรือเอกสารนั้นไว้

เอง... ต้องระวางโทษจำคุก... เป็นการกระทำความผิดต่อเจ้า

พนักงานและรัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย กฎหมายมิได้บัญญัติ

ถึงองค์ประกอบความผิดในส่วนที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย

ต่อผู้อื่นหรือประชาชนไว้ ดังนั้น บุคคลทั่วไปหรือประชาชนจึง

ไม่อาจเป็นผู้เสียหายในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 142 ได้

14

มาตรา 143 ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน

หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการ

ตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิก

สภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภา

เทศบาลโดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของ

ตนให้กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือ

เป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ

ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบ มาตรา 143
1.กระทำการต่างๆ ดังต่อไปนี้ เรียก รับ หรือ จะยอมรับ
2.ทีัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
3.สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
4.เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจ เจ้า

พนักงาน สมาชิกสภา สมาชิกเทศบาล
5.โดยเจตนา

15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2554
การที่จำเลยเรียกและรับเงินไปจากผู้เสียหายเพื่อ


เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่ง

พนักงานอัยการโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมายเพื่อให้กระทำการ

ในหน้าที่โดยการช่วยเหลือในทางคดีให้สั่งไม่ฟ้องในคดีที่ ร.

ถูกดำเนินคดีอาญาแม้อัยการ ธ. จะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนใน

คดีนั้นและจำเลยยังมิได้ให้เงินกันก็ตามก็ถือว่า ธ. เป็นเจ้า

พนักงานที่จำเลยจะจูงใจให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่

ร. แล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบแห่งความผิด

ตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว
ความผิดฐานเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินเพื่อให้เจ้า

พนักงานกระทำการตาม ป.อ. มาตรา 143 ไม่ใช่ความผิดต่อ

สาธารณชน แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง โจทก์ร่วมจึง

มิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย จึงไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้

16

มาตรา 144 ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้

ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภา

นิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล

เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำ
อันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ

ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบ มาตรา 144
1.กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งคือ ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้
2.ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
3.โดยเจตนา

17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2547
การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมผู้กระทำผิดมีหน้าที่


ต้องเบิกความต่อศาลตามความสัจจริงในระหว่างเป็นพยานใน

คดีที่ผู้กระทำความผิดถูกฟ้อง เป็นหน้าที่อย่างเดียวกับ

ประชาชนทั่วไปหาใช่เป็นหน้าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจากที่
เป็นเจ้าพนักงานผู้จับกุมผู้กระทำความผิดไม่ หน้าที่ที่ต้องเบิก

ความตามความสัจจริงจึงไม่เป็นการกระทำการในหน้าที่ของเจ้า

พนักงานโดยเฉพาะ แม้จำเลยจะให้และรับว่าจะให้เงินแก่

ร้อยตำรวจโท ท. กับพวก เพื่อจูงใจเจ้าพนักงานดังกล่าวเบิก

ความผิดไปจากความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวล

กฎหมายอาญา มาตรา 144

18

มาตรา 145 ผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และ

กระทำการเป็นเจ้าพนักงาน โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงาน

ที่มีอำนาจกระทำการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี

หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เจ้าพนักงานผู้ใดได้รับคำสั่งมิให้ปฏิบัติการตาม

ตำแหน่งหน้าที่ต่อไปแล้ว ยังฝ่าฝืนกระทำการใด ๆ ใน

ตำแหน่งหน้าที่นั้น ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในวรรค

แรกดุจกัน

องค์ประกอบ มาตรา 145
1.แสดงตนเป็เจ้าพนักงาน
2.กระทำการเป็นเจ้าพนักงาน
3.โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงาน
4.โดยเจตนา

19

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2527
จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แต่แต่งกายดัง


ที่เจ้าพนักงานตำรวจนอกเครื่องแบบแต่งกันตามปกติ โดยนุ่ง

กางเกงสีกากี สวมเสื้อคอกลมขาว คาดเข็มขัดหนังยืนให้

สัญญาณรถยนต์บรรทุกที่ผ่านไปมาให้หยุดรถเพื่อตรวจตรง

จุดที่รถยนต์ตำรวจทางหลวงจอดอยู่เป็นประจำ อันทำให้บุคคล

ทั่วไปอาจเข้าใจได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ในการ

เรียกตรวจรถแต่ละครั้งจำเลยแสดงให้เป็นที่เข้าใจได้ว่าได้

รับเงินจากพวกคนขับรถยนต์บรรทุกพฤติการณ์ของจำเลย

ฟังได้ว่า จำเลยแสดงตนและกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน

ตำรวจทางหลวงจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 145

20

มาตรา 146 ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือ

ประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติ
แห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล หรือไม่มี

สิทธิใช้ยศ ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือสิ่งที่หมายถึง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ กระทำการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อ

ว่าตนมีสิทธิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่

เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบ มาตรา 146
1.ไม่มีสิทธิกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ สวมเครื่อง

แบบหรือเครื่องประดับของเจ้าพนักงาน
2.กระทำการเช่นนั้
3.โดยเจตนา

21

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8621/2553
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "...จำเลย...ไม่มีสิทธิใช้คำนำ


หน้านามของตนเองว่าคุณหญิง ได้บังอาจแสดงตัวอวดอ้าง...

ว่าตนเองเป็นคุณหญิงได้รับพระราชทานเครื่อง

รา=อิสริยาภรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลอื่นหลงเชื่อ..." เป็นการ

บรรยายให้เห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธิใช้คำนำหน้าชื่อตนเองว่า

คุณหญิงซึ่งเป็นสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และกระทำ

การเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าตนมีสิทธิ ครบองค์

ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 146 แล้ว จำเลยแต่งกาย

ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งตนไม่มีสิทธิแล้วถ่ายรูปไว้

ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ไม่มีสิทธิใช้เครื่องราชอิสริยาภรณ์กระทำ

เช่นนั้นแล้ว ส่วนเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิหรือไม่

เป็นเจตนาภายในจิตใจของจำเลย การที่จำเลยถ่ายรูปขนาด

20 นิ้ว คูณ 24 นิ้ว ติดไว้ในห้องรับแขกซึ่งไม่ใช่ที่ลับ แสดง

ว่าประสงค์ให้ผู้อื่นมาเห็นและต้องการให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีสิทธิใช้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามรูปถ่ายดังกล่าวจึงเป็นความผิดตาม

มาตรา 146

บรรณานุกรม

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ.2565.ประมวลกฎหมายอาญา.พิมพ์ครั้ง
ที่46.กรุงเทพ.วิญญูชน

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ,รณกรณ์ บุญมี.2565.คำอธิบายกฎหมาย
อาญาภาคความผิดและลหุโทษ.พิมพ์ครั้ง
ที่19.กรุงเทพ.วิญญูชน


Click to View FlipBook Version