The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ดร.ดิเรก ด้วงลอย และคณะ. (2565). การจัดการศพเพื่อลดมลภาวะ และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธ Organizing corpses to reduce pollution
and promote the environment according to Buddhism. สุโขทัย : กองทุนพระครูสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร/อาจใหญ่)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by raphind, 2022-03-29 19:44:25

Organizing corpses to reduce pollution and promote the environment according to Buddhism

ดร.ดิเรก ด้วงลอย และคณะ. (2565). การจัดการศพเพื่อลดมลภาวะ และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธ Organizing corpses to reduce pollution
and promote the environment according to Buddhism. สุโขทัย : กองทุนพระครูสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร/อาจใหญ่)

Organizing corpses to reduce pollution
and promote the environment according to Buddhism

ก า ร จั ด ก า ร ศ พ เ พื่ อ ล ด ม ล ภ า ว ะ

แ ล ะ ส่ ง เ ส ริ ม สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ต า ม แ น ว พุ ท ธ




ดร.ดิเรก ด้วงลอย I มัลลิกา ภูมะธน I พระปลัดระพิน พุ ทธิสาโร

1

การจดั การศพเพ่อื ลดมลภาวะ และส่งเสรมิ สิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธ
Organizing corpses to reduce pollution

and promote the environment according to Buddhism

ดเิ รก ดว้ งลอย Direk Duangloy
มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์

มัลลิกา ภมู ะธน Mallika Phumathon
มหาวิทยาลยั ราชภัฎนครสรรค์

พระปลัดระพนิ พทุ ธิสาโร Phrapalad Raphin Buddhisaro
คณะสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Email [email protected]

บทคัดยอ่
บทความนี้วัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนคิดต่อแนวทางการจัดการศพในสังคมไทย โดยใช้การศึกษาจาก

เอกสารและงานวจิ ัยทเ่ี กย่ี วข้อง เขียนเป็นความเรยี งสะทอ้ นคดิ เชิงวพิ ากษ์
ผลการศึกษาพบวา่ จากงานวิจัยทไ่ี ดพ้ ยายามศึกษาเสนอแนวทางทดลองผา่ นสาร ที่จะเขา้ ไปช่วยกลไก

ในการเผาศพ ซึ่งจะทำให้เกดิ การเพิ่มตน้ ทุน การไม่ยนื ยันเชิงประจักษ์ต่อผลการวิจัย รวมไปถงึ โอกาสที่จะถกู
ผลักภาระให้เป็นผลตกกระทบต่อผู้บริโภค คือประชาชนที่มาใช้บริการตอ่ การจัดการศพตามแนวทางเผา ในวัด
ทวั่ ประเทศไทย ดังน้ันในการเสนอสะทอ้ นคิดจึงเป็นการวิพากษ์ และเสนอแนวทางในการบริหารจัดการศพด้วย
ช่องทางอื่น เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม รักษารูปแบบประเพณีคตคิ วามเชื่อว่าด้วยการจัดการศพ รวมไปถงึ
สง่ ผลดตี อ่ การบริหารจดั การศพในประเทศไทยในองค์รวมดว้ ย
คำสำคญั การจดั การศพ,ลดมลภาวะ,ส่งเสรมิ ส่ิงแวดล้อมตามแนวพทุ ธ

Abstract
This article aims to reflect on the way of funeral management in Thai society. by using

studies from related documents and research Write a critical essay.
The results of the study found that From the research that has tried to study and

propose an experimental approach through the substance to help as a mechanism for cremation
which will increase the cost Non-empirical confirmation of research findings Including the
opportunity to be pushed the burden to affect consumers is the people who come to use the
services to manage the funeral according to the cremation method in temples all over Thailand
Therefore, in the presentation of reflection, it is critical. and propose guidelines for funeral
management through other channels to protect the environment Keeping the traditions and

2

beliefs with funeral arrangements It also has a positive effect on the management of funerals in
Thailand as well.
Keywords: funeral management, reducing pollution, promoting the environment according to
Buddhism

บทนำ
จากการร่วมสงั เกตการณ์ฟงั รายงานผลการวิจัย “การประยกุ ต์ใชส้ ารวมิ ุตติในการลดสารพิษไดออกซิน

ในการเผาศพ-Appication of Olivine Substance for Reduction of Dioxin in Human Corpse Cremation
”และภาพข่าวทางส่ือ “มจร.-มจพ. วิจัยพบ'สารไกอา' ลดสารก่อมะเร็งจากการเผาศพ” (ไทยรัฐ-26 มกราคม
2560) "สารวิมุตติ" ซึ่งผู้เขียนอยู่ในเหตุการณแ์ ละจะพงึ ตัง้ ข้อสังเกตและพจิ ารณาร่วมได้ในหลาย ๆ กรณี ตาม
หลกั การวพิ ากษป์ ระหน่ึงชช้ี อ่ งทางแนวทางแก้ไขในการบรหิ ารจัดการศพ อย่างเหมาะสมถกู วธิ ลี ดผลกระทบต่อ
สิง่ แวดล้อม อาจไดท้ ง้ั บุญตามหลักความเช่ือ ไดค้ ่านิยมท่ีถูกต้องและสง่ เสริมสภาพแวดล้อมทจ่ี ะพงึ เกิดข้ึน และ
คร้งั ลา่ สุด เม่ือวนั ท่ี 18 มกราคม 2565 ผ่านระบบ Zoom Online ในเรอ่ื ง การพัฒนาและยกระดับพุทธจริย
วถิ วี ดั และชุมชนเมืองตน้ แบบการฌาปนกิจศพ (ภายใต้แผนงาน พทุ ธนวตั กิ รรมและการยกระดับคุณภาพชีวิต
ด้วยเตาเผาศพอัจฉริยะ เพื่อลดปริมาณสารก่อมะเร็ง) จากผลการวิจัยคร้ังแรก เมื่อหลายปีก่อน กับผลการวิจยั
คร้งั ลา่ สุดที่ผู้เขยี นมีสว่ นรว่ มในการรับฟัง ผลจะมีความใกลเ้ คยี งกนั มีนัยยะ 3 มติ ิ ซง่ึ ทำใหส้ ะทอ้ นคิดได้วา่

(1) ตามผลการวิจัยวัดกลายเปน็ แหล่งแพรม่ ลพิษทางอากาศท่สี ำคัญแหลง่ หนง่ึ ของประเทศไทย ท้ังที่ใน
ขอ้ เท็จจริงคณะนกั วจิ ยั ยงั ไม่ไดม้ ขี ้อมูลเชงิ ประจักษท์ ี่เกิดจากการประเมินวัดอย่างเปน็ ระบบ หรอื การวิจัยยืนยัน
ผลได้เชงิ ประจักษ์ต่อผลกระทบจากการเผาศพ การผลติ สารก่อให้เกิดมะเร็งตามคำกล่าวอา้ ง

(2) และกรณีท่ี 2 ผลกระทบท่ีเกดิ จากกลไกการควบคุม แม้มาตรว่าเกิดการรณรงค์บังคับใหใ้ ชส้ ารท่ีเกิด
จากผลการวิจัยนี้ในการควบคุมผลการปล่อยสารพิษสู่เรือนอากาศ รวมไปถึงการลดการปล่อยสารพิษให้เกิด
ขึ้นกับสารพิษที่จะพึงเกิดขึ้นยังไม่มีข้อมูลยืนยันเชิงประจักษ์ต่อผล กระทบจากเตาเผาของวัดทั่วประเทศเป็น
อย่างไร ? กรณีทส่ี ร้างทางเลอื กเฉพาะใหม้ ีการใชส้ ารไกอาร์ (ผสมรวมเตาเผาไร้กลนิ่ ควนั ) จะกลายเปน็ การผลัก
ภาระให้กบั วัดท่ตี ้องจัดซ้อื หามา และผู้ใช้บรกิ ารท่ีต้องเพ่มิ คา่ ใชจ้ า่ ยผ่านการบรจิ าคหรอื เรยี กเก็บเปน็ รายศพ จะ
สง่ ผลกระทบตอ่ การบรหิ ารจดั การศพเพม่ิ ขึน้

(3) กรณตี อ่ เนอ่ื งจะเกิดการผลักภาระค่าใช้จา่ ยแก่ญาตผิ ตู้ ายหรือผู้ใช้บรกิ าร ในทางกลับกันถ้ามีวิธีการ
เสนอทางแก้ไขโดยให้การสร้างทางเลือก ปรับวิธีคดิ รณรงค์ปรับค่านิยมและความเชื่อต่อการเผาศพ แทนการ
ผลักภาระผ่านสารไกอาร์ หรือเตาเผาในลักษณะเฉพาะ ไปเป็นการควบคมุ รณรงค์ผ่านการปฏิบัตสิ ่งเสริมรกั ษา
สิ่งแวดล้อมแทน เช่น การเผาแบบไม่ใส่วัตถุใด ๆ การสร้างทางเลือกผ่านการฝัง การบริจาคร่างกายเพื่อเปน็
อาจารย์ใหญ่ น่าจะเปน็ การสรา้ งวธิ ีการแกป้ ัญหาดงั กล่าวได้ ท้งั นา่ จะเป็นประโยชน์กว่าหรอื ไม่ ?

ดังนั้นในการเขียนบทความนี้จะได้สะท้อนคิดในประเด็นของแนวทางการบริหารจัดการศพในครั้ง
พุทธกาล และของมนษุ ยป์ ระชาชาติอน่ื ๆ รวมไปถึงวิพากษต์ ่อประเดน็ ผลการวจิ ัยในท้งั 2 คร้ังของคณะนักวินัย
รวมไปถึงเสนอแนวคิดในเชิงแนวปฏิบัติว่าในการจัดการศพมีแนวทางหรือวิธีการอื่น ๆ นอกเหนือจาก การใช้

3

สารเคมีและเครื่องมือที่ถูกทำให้เชื่อหรือพยายามทำให้เชื่อว่าจะมีผลต่อองค์ความรู้เชิงพาณิชย์จริง ซึ่งจะได้
ทำการศกึ ษาและนำเสนอตอ่ ไป

ภาพท่ี 1 เหตกุ ารณเ์ สนอผลการวิจัย เมื่อ 26 มกราคม 2560 และการนำไปใชน้ ำรอ่ งของวดั สทุ ธวิ รา
ราม กทม. (สบื ค้นเมอ่ื 15 พฤศจกิ ายน 2564 จาก https://www.thairath.co.th/content/844514)

วธิ กี ารจดั การศพในครัง้ พุทธกาล
การจัดการศพนบั แตค่ รัง้ พทุ ธกาล ซ่ึงเปน็ ทีย่ อมรบั กันวา่ พระพุทธศาสนาไดร้ ับอทิ ธิพลในเร่ืองพิธีกรรม

จากศาสนาฮินดูที่มีมาก่อนพระพุทธศาสนา จึงทำให้พิธีกรรมในหลายพิธีกรรมเนื่องกันและรับอิทธิพลและ
ค่านิยมดั้งเดิมมาด้วย (สมทบ พาจรทิศ และคณะ,2559;รัตนะ ปัญญาภา และคณะ,2562) ดังกรณีการจัดงาน
พระบรมศพของพระพุทธเจ้านั้นปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร (ปรินิพพานสูตร) เป็นเหตุการณ์หลังจากที่
พระพุทธเจ้าเสด็จดบั ขนั ธปรินิพพานแล้วพระอานนท์ได้ไปแจ้งข่าวแก่ กษัตรยิ ์มัลละทราบ ตามที่พระพุทธเจ้า
ตรัสกับพระอานนนท์วา่ หน้าที่ปฏิบัติต่อพระสรีระ ไม่ใช่หน้าที่ของภิกษุ แต่เป็นหน้าที่ของพระราชา ฆราวาส
และพราหมณ์ผู้ศรัทธาในเราจักทําเอง โดยเจ้ามัลลกษัตริย์ได้ประกอบพิธีดังเช่นพระบรมศพของพระเจ้า
จักรพรรดิ ตามคําแนะนําของพระอานนท์ที่ได้กราบทูลถามพระพุทธองค์กอ่ นที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ดัง
ปรากฏใน พระไตรปิฎก ดังนี้ ทรงใหผ้ ้าใหม่ห่อพระสรีระของพระพทุ ธเจา้ เสรจ็ แล้วหอ่ ด้วยสาํ ลบี ริสุทธ์ิ แล้วจึง
ห่อ ด้วยผ้าใหม่อีกชั้นหนึ่ง ทําโดยวิธีนี้จนห่อพระสรีระของพระพุทธเจ้าด้วยผ้า และสําลีได้ 1,000 ชั้น แล้ว
อัญเชิญพระสรีระลงในรางเหลก็ เตมิ ดว้ ยนา้ํ มันเตม็ แลว้ ใชร้ างเหลก็ อกี อันหนึ่งครอบแล้วทาํ จิตกาธานดว้ ยไมห้ อม
ลว้ น แล้วยกพระสรรี ะของพระพุทธเจ้าข้ึนสจู่ ติ กาธาน ในการอัญเชญิ พระสรีระของพระพุทธเจ้าส่จู ิตกาธานนั้น
ไดเ้ คลือ่ นขบวนพระบรมศพ ตามความประสงค์ของเทวดา ว่าเราจะสกั การะพระบรมศพของพระผ้มู ีพระภาคด้วย
การฟอ้ นรํา ขบั ร้อง ประโคมดนตรี ระเบียบดอกไม้และของหอมอันเปน็ ทิพย์จะอนั เชิญพระสรรี ะไปทางทศิ เหนอื
ของเมอื ง แลว้ อญั เชิญเข้าส่เู มอื งทางทศิ เหนอื อันเชิญผ่านใจกลางเมืองแล้วออกสู่ประตูดา้ นทิศ ตะวนั ออก เสร็จ
แล้วจงึ ถวายพระเพลงิ พระสรรี ะของพระพุทธเจา้ ทมี่ กุฎพันธเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศตะวนั ออกของเมือง
เสร็จแล้วประมุข เจ้ามัลละ 4 องค์ทรงสนานพระเศยี ร และทรง พระภษู าใหม่ แลว้ ทําการถวายพระเพลิงแต่ไม่
อาจจุดไฟใหต้ ิดได้ เพราะเปน็ ความประสงค์ของ เทวดาทีต่ ้องการให้พระมหากัสสปะได้มาสักการะพระบรมศพ
เมอ่ื พระมหากัสปะและภิกษุ 500 รปู เขา้ ไปยงั มกฎุ พนั ธเจดยี ข์ องเจ้ามลั ละในกรงุ กุสนิ าราถึงจิตกาธานแล้ว ห่ม
จีวรเฉวียงบ่า ประนม มือกระทำประทกั ษิณจติ กาธาน 3 รอบ เปดิ ผา้ คลมุ พระบาทของพระผมู้ พี ระภาคเจ้าออก

4

ถวาย อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า เมื่อพระมหากัสปะและภิกษุ 500 รูป ถวาย
อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าเสร็จจิตกาธานพระเพลงิ ได้ไหม้พระสรีระของพระพทุ ธเจ้าเองโดยไม่มี ใครติด เมื่อ
พระเพลิงไดไ้ หมพ้ ระอวัยวะไมเ่ หลือแม้แตเ่ ถ้าหรือเขมา่ คงเหลอื แตพ่ ระบรม สารีรกิ ธาตแุ ละผ้าห่มหุ้มพระบรม
ศพในจํานวนท้ังหมด 500 คู่ ถูกเผาไฟไหมเ้ พยี ง 2 ผืนเท่านั้น คือผืนในสดุ และนอกสุด หลังจากพระเพลิงได้
ไหมพ้ ระบรมศพแล้ว ความมหศั จรรยไ์ ด้เกดิ ขน้ึ คอื ท่อน้ําไดห้ ลัง่ ไหลมาจากอากาศ และนา้ํ ได้พุ่งขึ้นจากไม้สาละ
ดบั จิตกาธาน หลงั จากนั้น เจ้ามลั ละ จงึ ไดน้ าํ น้ําหอมลว้ นๆมาดบั จติ กาธาน หลังจากนั้นไดเ้ กบ็ และแบ่งพระบรม
สารรี กิ ธาตุไวเ้ พอื่ เก็บ ไว้ก่อเจดียส์ ักการะ สรปุ การจัดพธิ ีพระบรมศพของพระพทุ ธเจา้ ไดด้ งั น้ีคือ 1.จดั เตรียมผ้า
ใหม่ และสําลบี รสิ ทุ ธิ์ 2.หอ่ พระบรมศพด้วยผา้ ใหม่และสาํ ลี 500 คู่ 3.อญั เชิญพระสรีระใสใ่ นรางเหลก็ แล้วเติม
น้ํามนั หอมแล้วปิดรางเหล็ก 4.จดั เตรียมจิตกาธานด้วยไมห้ อม 5.อัญเชิญพระบรมศพออกนอกพระนครไปทางทศิ
เหนอื ของเมอื ง แล้วอัญเชญิ เข้าสู่ เมืองทางทิศเหนอื อันเชญิ ผา่ นใจกลางเมอื งแล้วออกสปู่ ระตูด้านทศิ ตะวันออก
แลว้ ประดิษฐานพระ บรมศพ ณ มกุฎพันธนเจดยี ์ เพอื่ รอการถวายพระเพลงิ 6.ทำประทักษณิ รอบจติ กาธาน 7.
พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ 8.พิธีดับจิตกาธาน 8.พิธีเก็บและแบง่ พระบรมสารรี ิกธาตุ 9.สร้างสถูปเจดีย์ไว้
สกั การะ (สนุ ทร สทุ รพั ย์ทวผี ล,2562;รัตนะ ปญั ญาภา และคณะ, 2562)

การจัดศพตามคตคิ วามเชอื่ ของคนอินเดียในสมัยนน้ั ซง่ึ พิธกี ารจดั ศพมเี พียงการ การทง้ิ ศพ สว่ นการฝงั มี
นอ้ ย ดงั กรณศี พบตุ รของนางกสิ าโคตมีตาย นางอมุ้ ร่างบตุ รที่ตายแล้วไป เทยี่ วถามหายาเพือ่ รักษาบตุ รของนางท่ี
ตาย บรุ ุษคนหนง่ึ แนะนำให้ไปทลู ถามพระพุทธเจา้ พระพทุ ธเจา้ ไดท้ รงแนะนําให้นางไปหาเมลด็ พันธ์ุผักกาดจาก
เรอื นของคนท่ีไมเ่ คยมีคนตาย นางเทย่ี วตระเวนถามหาเมล็ดผกั กาดนั้น ผลที่สุดนางกห็ าไมไ่ ด้ดังใจปรารถนา นาง
มาพิจารณาเหน็ ว่า ไม่ไดม้ เี ฉพาะแตบ่ ุตรของนางที่ตาย นางไดส้ ติจงึ ท้ิงศพของบตุ รนางไว้ในป่า แลว้ จึงเข้าไปเฝ้า
พระพุทธเจ้า และตอนที่นางสิริมาน้องสาวของหมอชีวกถึงแก่กรรมก็ไม่ได้กล่าวถึงพิธีกรรมที่ทําเกี่ยวกับศพ
นอกจากทรงสอนให้พจิ ารณาถึงอสุภกรรมฐานเท่านั้น แลว้ กท็ ้งิ ศพไว้ทป่ี า่ ช้า สว่ นเร่ืองการฝงั น้ันปรากฏในเร่ือง
ของนางวิสาขามหาอบุ าสิกา (ปรียาภรณ์ ฤทธาพรม,พระมหามิตร ฐติ ปญโฺ ญ,2563) หรือกรณีของพระพาหยิ ะถูก
ววั ขวดิ เสียชวี ิต พระศาสดาเสด็จออกจากกรงุ สาวตั ถี ทอดพระเนตรเห็นพาหิยะลม้ อยทู่ ก่ี องขยะระหวา่ งทาง ตรัส
บอกเหล่าภกิ ษวุ ่า ดกู อ่ นภิกษทุ ั้งหลาย พวกเธอจงช่วยกันยกรา่ งพาหยิ ะ แลว้ ใหน้ ำไปทำฌาปนกจิ โปรดให้สร้าง
เจดยี ์ไว้ ณ ทางใหญ่ 4 แพร่ง จากน้ัน เกดิ พดู กันกลางสงฆ์ว่า พระตถาคต รบั สงั่ ให้ภกิ ษสุ งฆท์ ำฌาปนกิจร่างของ
พาหยิ ะ เกบ็ ธาตุมาแลว้ โปรดใหส้ ร้างเจดยี ไ์ ว้

ชีวิตของบคุ คลผู้ทีม่ าในโลกนี้ ล้วนมีความตายเป็นทสี่ ุดด้วยกันทั้งน้ัน ไม่วา่ จะเป็นใครก็ตาม เม่ือจุติจิต
เกิดขึ้นทำกิจเคล่ือนจากความเป็นบุคคลนใ้ี นภพน้ี เกิดเปน็ บุคคลในภพใหม่ชาตใิ หม่ต่อไป (ตราบใดท่ียังมีกิเลส)
ไม่สามารถกลับมาเป็นบุคคลนี้ได้อีก ผู้ที่เป็นญาติหรือบุคคลรอบข้างก็นำศพอันปราศจากจิต ไปเผา หรือทำ
ฌาปนกจิ (ทำกจิ คือการเผา) คำวา่ ฌาปนกจิ น้ี มีในพระไตรปฎิ ก ซึ่งก็เป็นการเผาศพธรรมดา

พระสตุ ตนั ตปฎิ ก ขุททกนกิ าย คาถาธรรมบท เลม่ 1 ภาค 2 ตอน 1 - หน้า 43 หรือปรากฏในพราหมณ์
ทำฌาปนกิจสรีระมาณพนั้นแลว้ ได้มีแตก่ ารร้องใหเ้ ป็นเบื้องหนา้ , ไปที่ปา่ ช้า ทุกวัน ๆ ร้องให้พลางบ่นพลางว่า
"เจา้ ลูกคนเดียวของพอ่ อยูท่ ่ไี หน ? เจ้าลูกคนเดียวของพอ่ อยูท่ ่ไี หน ?"

5

ดังนั้นหลักฐานในครัง้ พุทธกาลต่อการจัดการศพได้รับค่านิยมแบบแผนจากศาสนาเดิม คือ พราหมณ์
ฮินดู ที่ใช้คติและค่านิยมโดยการเผา และพระพุทธศาสนาก็รับอิทธิผลแนวคิดดังกล่าวมาใช้ด้วย ดังปรากฏใน
ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ศรีลังกา ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา หรือกลุ่มประเทศที่นับถือ
พระพุทธศาสนาเถรวาทแตเ่ ป็นชนกลมุ่ นอ้ ย เชน่ (ไทยพุทธเถรวาทในมาเลเซีย/เขมรเถรวาทในเวียดนาม/ไทยล้อื
เถรวาทในประเทศจีนฯ)กร็ บั คา่ นิยมดังกล่าวไปเปน็ ส่วนหนง่ึ ของการจดั การศพในมิตทิ างพระพทุ ธศาสนาด้วย

วิธีการจดั การศพในโลกสากล
การจัดการศพหลัก ๆ มี 2 วิธี คือ (1) การฝัง ปล่อยใหเ้ น่าสลายตามธรรมชาติ กับ (2) ใช้กลไกการเผา

ซึ่งก็คงคล้าย ๆ กนั ในภาพกวา้ ง แต่อาจมแี ปลกบ้าง อาทิ มกี ารชำแหละ การทำให้เหลอื แตซ่ ากและไปกองซ้อน
กันไว้จนผพุ ังไปในทีส่ ดุ หรือการชำแหละใหเ้ ป็นอาหารของสัตว์ในแบบธเิ บต เปน็ ตน้ แต่หลักใหญข่ องการบรหิ าร
จัดการศพ ขึ้นอยู่กบั ความเชื่อและการแสดงออกต่อความเชื่ออย่างเหมาะสมต่อพื้นที่และประเทศน้ัน ๆ (ผุสดี
รอดเจรญิ ,2551) อาทิ

(ก) ตากศพใหแ้ หง้ แบบอบอริจิน (Aboriginal Body Exposure) วธิ กี ารทำศพใหแ้ ห้ง โดยการเอาใบ้ไม้
กับพุม่ ไมม้ าทับ เมอ่ื แห้งจนเหลือแต่กระดกู นำกระดูกมาทาสีแดง และเก็บไว้ในถ้ำ จนกระทัง่ ผพุ ังเปน็ ฝนุ่ ผงไปใน
ท่สี ดุ

(ข) การนำศพไปแขวนไวต้ ้นไม้ (Tree-Bound) คือการนำผเู้ สยี ชีวิตไปผกู ไว้กับต้นไมโ้ บราณในหมู่บ้านท่ี
ผู้ตายอาศัยอยู่ พิธีกรรมนี้ปฏบิ ัติโดยผู้ทีเ่ ชือ่ ในพระเจ้า เพื่อให้แน่ใจว่าคนที่ตายไปแล้วจะอยู่ในหัวใจของผูค้ นที่
เหลือ และเพ่อื เปน็ การเตือนให้คนอื่น ๆ ไดเ้ ตรยี มพรอ้ มสำหรับความตาย และการมชี ีวติ หลังจากนัน้

(ค) การนำศพมาแต่งแตง่ ตวั และฝังไปใหม่ (Famadihana) โดยจะนำศพมาใสเ่ สือ้ ผา้ ใหมเ่ อ่ียมกอ่ นจะฝงั
ศพลงในหลุม ระหว่างนั้นจะมีการเต้นรำไปรอบ ๆ พร้อมดนตรีแสดงประกอบ เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้ตาย
นอกจากนี้ผู้คนจะนำบางสว่ นของคนตายมาห่อไวแ้ ล้วแบกพวกเขาไปรอบ ๆ หมบู่ ้านกอ่ นทำการฝัง

(ง) การนำไปแขวนเพอื่ ขน้ึ สู่สรา้ งสวรรค์ (Hanging of Coffins) โดยจะนำศพไปแขวนไวบ้ นหน้าผา เป็น
พิธีกรรมท่ีปฏิบตั ิในราชวงศ์จนี โบราณ เพราะพวกเขาเช่ือว่า โลงศพจะตอ้ งอยใู่ นท่ีสงู ใกลก้ ับท้องฝา้ เพื่อให้ผู้ตาย
ใกลช้ ิดกบั สวรรค์

(จ) การให้สัตว์แทะกิน (Mass Scavenging) โดยจะนำศพคนตายไปไปรวมไว้ที่หลุมในป่า เพื่อให้
กลายเป็นอาหารของสตั วป์ า่ เป็นความเชื่อวา่ เป็นการสง่ วิญญาณของผู้ตายไปสปู่ รโลก เปน็ พธิ ีกรรมโบราณของ
กลุ่มชนในตะวนั ออกเฉยี งเหนือของชายฝั่งแปซฟิ กิ บนทวีปอเมรกิ าเหนือ

(ฉ) การทิ้งให้บนหอคอยให้แล้งกิน (Exposing Dead to Vultures) เป็นพิธีกรรมของศาสนาโซโรอัส
เตอร์ ชนเผ่าเปอร์ซยี ในมมุ ไบ เมือ่ มคี นตายจะนำศพไปอาบน้ำ และทงิ้ ไวบ้ นหอคอยสงู เพื่อให้แร้งมากนิ โดยเชื่อ
วา่ รา่ งกายของคนตายจะถูกกำจดั เพือ่ เป็นวิญญาณต่อไป

(ช) การย่างศพเปน็ อาหาร (Cannibalism) โดยเม่ือมีคนตายจะมีพิธจี ดั การศพโดยใชน้ ำมาย่างไฟนำมา
กินเป็นอาหาร โดยพิธีศพแบบนี้เกิดขึ้นในแถบกลุ่มชนในปาปัวนิวกีนีที่อาจเนื่องด้วยขาดแคลนอาหารและ
ทุรกันดาร เป็นต้น

6

(ฌ) การเผาตัวบูชา หรือพิธีสตี (Sati) เป็นพิธีกรรมความเชื่อต่อความตายของชาวฮินดู ในประเทศ
อินเดีย ทเี่ ปน็ ข้อกำหนดใหส้ ตรีหมา้ ยทีส่ ามตี ายจะต้องฆ่าตวั ตายโดยการยอมรับการเผาท้งั เป็น เพื่อแสดงความ
จงรกั ภักดีต่อ สามผี ูต้ าย

(ฌ) พิธีศพบนฟา้ (Sky Burial) เป็นพิธกี รรมของชาวทิเบต ในมณฑลชิงไห่ และมองโกเลีย ด้วยการนำ
ศพขนึ้ ไปบนยอดเขาสูง ๆ เปรยี บเสมือนเป็นการฝงั ศพไวบ้ นท้องฟ้า จากนัน้ ชำแหละเปน็ ช้นิ เลก็ ๆ เพื่อให้ดวง
วญิ ญาณรบั รถู้ งึ ความว่างเปลา่ และเศษศพเหล่าน้ันจะเปน็ อาหารของนกแร้งในเวลาต่อมา

จากข้อสรุปของการจัดการศพของมนุษย์ทั่วโลกนบั แต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน การจัดการและบริหาร
พื้นที่ศพ วิญญาณและความตายผสมกันเป็นความเชื่อ แสดงออกต่อความตายแตกต่างกันไป แต่หลักใหญ่
ใจความกจ็ ะเป็นการยังคงรักษาศพไวด้ ว้ ยการเผา ชำแหละ หรอื การทิ้งใหส้ ัตวก์ นิ ลว้ นเนื่องดว้ ยความเช่อื ต่อสภา
พืน้ ถ่ินนัน้ หรอื การเผาเพ่ือให้หายไป แต่ใจความสำคัญเปน็ การจัดการศพทเี่ น่ืองด้วยวิธีการอื่น ๆ แตผ่ ลจากการ
จดั การศพท้ังสองวิธยี อ่ มมคี วามแตกต่างกนั ไปตามแตค่ วามเช่อื และสภาพพ้นื ถนิ่ นัน้ ๆ

วธิ กี ารจัดการศพในประเทศพระพทุ ธศาสนา
หากศึกษาในประเทศต่าง ๆ ที่นับถือพระพทุ ธศาสนาซึ่งมีฐานคิดจากพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกันทั้ง

ประเทศไทย ลาว เขมร พม่า เวียดนาม หรือประเทศที่มีชาวพทุ ธอยู่ อาจจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ (ก) การฝัง
การเผา ดังท่ีเราเห็นไดท้ ว่ั ไปในประเทศลาว ไทย พมา่ เวยี ดนาม จนี เปน็ ตน้ (ข) และการสละร่างกายใหเ้ ปน็ ทาน
ตามคตินิยมตามแนวพระโพธิสัตว์หรือความเชื่อพิเศษ ดังกรณีในทิเบต (1) พิธีศพบนท้องฟ้า (Tibetan
Buddhist Sky Burial) ศพจะถูกตดั เป็นชนิ้ เล็ก บนเทอื กเขาสูงให้เป็นเหยื่อของนกแร้ง ชาวทเิ บตเรยี กพธิ ีกรรมน้ี
ว่า “ย่าทอร์” ซึ่งหมายถงึ การเสียสละและใหท้ านแก่นก ทำให้นกแร้งไม่ต้องไปจับสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหารไปได้
หลายวัน ทำให้ช่วยสตั วเ์ ล็ก ๆ ไวไ้ ดอ้ ีกหลายชวี ติ เมอ่ื แรง้ กนิ ทุกอย่างหมดกเ็ ปน็ อนั ส้นิ สดุ ญาตพิ น่ี ้องจะช่วยกัน
เผาส่งิ ทเี่ หลอื คือเสอ้ื ผา้ ชุดทีผ่ ตู้ ายสวมใส่ หนงั ศรีษะตดิ ผม ไม่ต้องเกบ็ รา่ งผตู้ ายไว้ ชาวทิเบตมองว่าศพเปน็ เปลอื ก
ที่ว่างเปล่า วิญญาณได้ออกจากร่างไปเกิดใหม่แล้ว ศพเป็นอาหารของนกแร้ง โดยนกแร้งมีฐานะเทียบเท่า
เทพบุตร เทพธดิ า ที่จะนำวิญญาณของผูต้ ายไปสสู่ รวงสวรรค์ ซ่ึงนา่ จะดว้ ยเหตผุ ลในเรื่องของภูมิศาสตร์ท่ีอยู่บน
ท่สี งู และยากแก่การเผาทำลาย รวมไปถึงคา่ นยิ มความเช่อื ในเรื่อง “ทาน” ของการสละเลือดเนื้อ อนั เป็นเสน้ ทาง
วิธีของพระโพธิสัตว์ หรือในประเทศญี่ปุ่น (2) พิธีกรรมทำศพให้เป็นมัมมี่ (Buddhist Self Mummification-
Sokushinbutsu) เป็นพิธีกรรมเก่าแก่อันหนึ่งของนักบวชในนิกาย “ชิงอน- Shingon” ในประเทศญี่ปุ่น
(Jeremiah, Ken,2010) ทถ่ี ือว่าเป็นวิถขี องนักบวช การบำเพญ็ เพยี รท่ดี ำเนนิ การในช่วง เกดิ ขนึ้ ในช่วงประมาณ
ศตวรรษที่ 11-19 โดยไม่ถือว่าแตกต่างกับการฆ่าตัวตายตรงที่เป้าหมายเพ่ือ “บรรลุธรรม” (Jeremiah, Ken,
2010) โดยใชเ้ วลากว่า 2000 วนั เพ่ือเตรยี มพรอ้ มใหเ้ ปน็ มัมมี่ตงั้ แตค่ วบคมุ อาหาร กินแต่เมล็ดถ่ัวและธัญญพืช
กินเปลือกไม้ รากไม้ และแยกตวั อยูใ่ นหอ้ งหินแตเ่ พียงลำพัง จนกระทง่ั ขนั้ สุดทา้ ยดื่มชาพเิ ศษ ทำจากต้นอรุ ชุ ิ (ยา
พิษ) และกระทง่ั เสียชีวิต ในประวตั ศิ าสตร์มพี ระ นักบวชหลายร้อยรูปใชว้ ธิ กี ารบำเพ็ญเพยี รขั้นอกุ ฤษแบบน้ี แต่ก็
มีเพียง 24 รูป เท่านั้นที่สำเร็จจนกระทัง่ ได้เป็นมัมมี่ ที่เชื่อว่าการตรสั รู้ต้องแยกตัวออกจากโลกแห่งวัตถุโดย
สิ้นเชิงและตอ้ งการกลับมาเกิดใหม่เป็นหนึ่งเดียวกับพระพุทธเจ้า ในสวนการจัดการศพในปัจจุบันในประเทศ

7

พุทธศาสนาโดยเฉพาะพุทธเถรวาท เช่น ไทย พม่า ลาว กัมพูชา ล้วนใช้กระบวนการเผาศพตามคตินิยมที่มา
พร้อมกับพระพทุ ธศาสนาจากอินเดีย ในส่วนของมหายานเกาหลี เวียดนาม จีน มองโกเลีย ทิเบต ก็ฝังและเผา
หรือการใหส้ ัตวเ์ ป็นทาน ซึ่งหลกั ใหญ่เป็นเร่อื งค่านิยมความศรทั ธาความเช่อื ต่อศาสนาเป็นสำคญั จึงนำไปสู่การ
แสดงออกต่อความเชอ่ื นนั้

การจัดการศพถ้าต้องใช้สารไกอาร์และผลกระทบ

เมื่อจำเพาะไปที่วิธีการในการฌาปนกิจศพและการทดลองของกลุ่มนักวิจัย ซึ่งผู้เขียนได้ร่วมฟังและ

สังเกตการณ์ทัง้ 2 คร้งั (ครัง้ แรกเมือ่ 26 มกราคม 2560 และคร้ังท่ี 2 เมื่อ 18 มกราคม 2565) ในทัศนะสว่ นตัว

มองวา่ เป็นองคค์ วามร้นู า่ สนใจ แต่ในเวลาเดียวกันกจ็ ะเป็นผลตกกระทบต่อสังคมในวงกวา้ งหากไม่ศึกษาให้รอบ

ด้านพอเพยี งจนถึงการอม่ิ ตัวของข้อมูลเสียก่อนแล้ว ดังนนั้ จากข้อมลู ที่พบพษิ ของสารประกอบไดออกซนิ และฟิว

แรนที่เกิดจากการฌาปนกิจศพในปัจจุบัน ผลของการศึกษาลองของหน่วยงานของภาครัฐต่าง ๆ ไม่ว่าจะเปน็

สำนักงานพระพุทธศาสนาแหง่ ชาติ มหาวิทยาลัยของรฐั ซึ่งมีข้อค้นพบว่าสารประกอบไดออกชินและฟิวแรนท่ี

เกดิ ขน้ึ จะส่งผลกระทบตอ่ ส่งิ แวดล้อม และสขุ ภาพอนามยั ของพระสงฆ์และผทู้ เี่ ข้ามามีกิจกรรมภายในวัดรวมถงึ

ประชาชนในชุมชนบรเิ วณรอบ ๆ วัด การทดลองใช้สารไกอาร์ (สารวิมุต)ิ หรือผลิตภัณฑ์จากแร่โอลิวีนในรูปผง

ละเอียดกบั ศพ จำนวน 4 ศพ พบว่า คา่ การปลดปล่อยสารพษิ ไดออกซนิ และฟิวแรนจากการฌาปนกิจศพให้ค่า

ต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่ส่วนราชการกำหนดไว้และพบว่าสารวิมุตติหรือผลิตภัณฑ์จากแร่โอลิวีนที่ใช้ในการศึกษา

ดังกล่าวมีผลในการยับยั้งการเกิดของสารพิษหรือสารประกอบไดออกซินและฟิวแรนและสามารถลดค่าการ

ปลดปล่อยสารพิษดังกล่าว ให้ต่ำกว่ามาตรฐานได้จริง แต่ค่าใช้จ่ายจากการประยุกต์ปรับใช้ สารวิ มุติหรือ

ผลติ ภัณฑจ์ ากแรโ่ อลิวีนดังกลา่ วจะสูงขึ้นเล็กน้อย เมือ่ รว่ มกบั ค่าใช้จา่ ยจากสว่ นอ่นื ๆ ของวัดในการฌาปนกิจศพ

ตามผลเปรยี บเทยี บในตาราง

ผลการทดลอง

สารวิมตุ ตหิ รอื ผลิตภัณฑ์จากแร่โอลวิ ีนมผี ลในการยับย้งั การเกิดของสารพิษหรือสารประกอบได

ออกซิน (Dioxin) และฟิวแรน และสามารถลดค่าการปลอดปล่อยสารพิษดังกล่าวให้ต่ำกว่า

มาตรฐานได้จรงิ

รายการ สารวิมตุ ติ ผลการทดลอง ค่ามาตรฐานที่กฏหมายกำหนด (0.5 ng

ศพท่ี 1 เพศชาย ไมใ่ ส่สารวิมุตติ TEQ/Nm3)

1.07 เกินค่ามาตรฐาน

ศพท่ี 2 เพศหญงิ ใสส่ ารวมิ ตุ ติกล่องทอง 0.301 ตำ่ กว่าคา่ มาตรฐาน

ศพท่ี 3 เพศชาย ใส่สารวิมตุ ติในรปู ผ้าหม่ 0.0745 ตำ่ กวา่ คา่ มาตรฐาน

ศพท่ี 4 เพศชาย ใสส่ ารวิมตุ ตใิ นรูปผ้าหม่ 0.0582 ตำ่ กว่าคา่ มาตรฐาน

ตารางที่ 1 ผลการทดลองต่อสารไกอาร์ (สารวิมุต)ิ ตามการเสนอของผลการวิจยั เม่ือ 26 ม.ค.2560

8

ข้อสังเกต 1 : ต่องานวิจัย "สารวิมุตติ" การที่นักวิชาการ/นักการศาสนา ถูกทำให้เป็นเครื่องมือของ
ระบบทุน ซึ่งมีหน้าทีเ่ พยี งแคท่ ำอย่างไรกไ็ ด้ใหผ้ ลทดลองออกมาเปน็ บวกตอ่ การทดลองเผาศพ ซง่ึ บริษัทผู้ให้ทุน
ไดท้ ดลองกับเตาเผาขยะ และใชก้ บั การเผาขยะ ดังนน้ั พจิ ารณาแล้วหากพจิ ารณาจะพบว่าเปา้ หมายของผลวิจัย
ทำใหผ้ ู้เขียนเห็นว่า ผลการวิจยั ออกมาในลักษณะวา่ ทำอยา่ งไรกไ็ ด้ใหข้ ายสารนีไ้ ด้ จงึ ใชท้ ดลองกบั การเผาศพ ทีม่ ี
วัดอยทู่ ่วั ประเทศ 4 หม่นื วัด เฉลี่ยวดั ละ 1 ศพ เทา่ กับ 4 หม่นื ศพ ใชส้ าร "วมิ ตุ ิ" มคี ่าใชจ้ ่ายเพ่ิมศพละ 2500 พัน
บาท [ทีม่ าของข้อมลู https://www.thairath.co.th/content/844514] ถ้าเหตุการณ์เปน็ ดังน้ีชาวพทุ ธจะเสีย
ค่าใช้จ่ายต่อการจัดการศพ วันละ 100 ล้านบาททั่วประเทศ เดือนละ 3000 ล้านบาท ปีละ 36,000 ล้านบาท
[ถ้าเฉลี่ยปีละครึ่งหนึ่ง 2 หมื่นศพต่อวัน ก็มหาศาล] ถ้าสารนี้ถูกบังคบั ให้ใช้ (เปน็ กฎหมาย-กรมควบคุมมลพิษ
กระทรวงอุตสาหกรรม) ภาระจะตกกบั วดั และประชาชนญาติผูเ้ สยี ชีวิต อยา่ งหลีกเล่ยี งไม่ได่ ้ ผลสรุปญ่ีปุ่นขาย
สารประดษิ ฐใ์ นเชงิ พาณิชยไ์ ด้ ปลี ะหลายหม่นื ลา้ น นักวจิ ยั ไดช้ อื่ – ได้เงินคา่ วจิ ยั ขอ้ เสียคนไทยแบกรับภาระผ่าน
พธิ กี รรมศพ และสถานะของพิธกี รรมหลังความตายมีค่าเท่ากบั ขยะทสี่ ารนี้ทดลองใช้หรือไม่ ? ไมแ่ ตกตา่ งจากยา
ฝรั่ง ที่รับรองโดยหมอไทย ประชาชนคนไทยต้องแบกรักภาระค่ายาปีละหลายแสนล้าน ผ่านกลไกของรัฐ
โรงพยาบาล และระบบสาธารณสขุ ทว่ั ประเทศ กนิ ยาไทยผดิ สมุนไพรไทย ไม่ถูกสขุ ภาวะ การสรา้ งความเช่ือต่อ
บคุ คลท่นี ่าเชือ่ ถอื เปน็ วธิ กี ารเชงิ พาณชิ ย์ว่าด้วยความเชอื่

ข้อสงั เกต 2 : ผลกระทบในเชิงมลภาวะเน่ืองต่อ กลา่ วคอื การท่ีผลการวิจัยให้ผลเพียงว่าสามารถลด
ค่าไดออกซิน ที่เกิดจากการเผาใหม้ในศพ ที่ถูกทำใหเ้ ชื่อว่าจะเปน็ สารก่อมะเรง็ ซึ่งผลการวิจัยอาจสามารถลด
สาร Dioxin ได้ [ท่มี า : https://greennews.agency/?p=549 - ล้อมคอก ‘กจิ กรรมศาสนา’ ทำลาย สวล. เปดิ
ผลวจิ ัยลด ‘ไดออกซิน’ จากพธิ ีเผาศพ] แตไ่ มไ่ ดม้ ผี ล หรือสรปุ ออกมาว่า เมื่อสาร GAIA ดงั กล่าวไปทำปฏิกิริยา
กนั แลว้ จะก่อใหเ้ กดิ สารพษิ ตัวใหม่ ทส่ี ่งผลกระทบรุนแรงกว่า หรอื เบาว่า ก็แปลว่าผลการทดลอง ยงั ไม่ควรเป็น
บทสรปุ หรอื ผลการทดลองสรปุ ได้อยา่ งน้ันด้วยเหตผุ ลว่า คา่ ความ “เสถียร” ของผลการทดลองยงั ไม่มผี ลปรากฏ
แน่ชัด ดงนั้นการจะชื่อว่าสารดีหรือไม่ดี ยังไม่ควรเกิดขึ้นอย่างนั้นหรือไม่ ? ซึ่งในวันแถลงผลการวิจัย 26
มกราคม 2560 ในฐานะผอู้ ยู่ในเหตุการณด์ ้วยก็ไม่ไดม้ ีคำตอบจากนักวิจัยทงั้ ฝ่ายไทย หรือฝ่ายผู้ให้ทุนยืนยันผล
คำตอบในผลกระทบเนื่องตอ่ จากสารดังกลา่ วแต่อย่างใด เมอื่ มผี เู้ ข้ารว่ มสมั มนาชักถามต่อผลของการวจิ ัยนัน้

ข้อสังเกต 3 : ผลกระทบในเชิงพาณิชยห์ ากในเชิงปฏบิ ตั มิ ีผลเปน็ การรบั ลกู กนั หน่วยงานทเ่ี กี่ยวข้อง 3-
4 หน่วยงานคือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ดูแลกลไกการบริหารกิจการพระพุทธศาสนาทั้งระบบ
มหาวิทยาลัยสงฆ์ ในฐานะเป็นสถาบันทางวิชาการที่ผสานความเชื่อและองค์ความรู้ทางศาสนา กรมควบคุม
มลพิษ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีหน้าที่ควบคุม หรือสร้างกฎหมายเพือ่ การควบคุม หากหน่วยงานทีเ่ ก่ยี วข้อง
เชน่ กรมควบคมุ สำนกั พทุ ธ ฯ ออกมาบังคับใหว้ ดั ทวั่ ประเทศ ทำตามบรษิ ทั ผู้เปน็ เจา้ ของผลติ ภัณฑ์ โดยมองไป
เร่อื งการลดสารก่อให้เกิดมะเร็งที่กล่าวอา้ ง (ซ่งึ ผลการวจิ ยั กย็ งั ไม่มีการสำรวจออกมาวา่ พระ ฆราวาส สัปเหร่อ
เปน็ มะเรง็ จากสารดงั กล่าวจรงิ /หรือมีการสำรวจว่า จากเตาเผาศพทว่ั ประเทศทำใหเ้ กดิ มะเรง็ จรงิ มีเพียงขอ้ มูล
วา่ สารน้ีทำใหเ้ กดิ มะเรง็ แต่ไมเ่ คยสำรวจตอ่ ไปว่า วดั ปลอ่ ยเท่าไหร่/ โรงงานปลอ่ ยเทา่ ไหร่ เปน็ ตน้ ) บังคับให้วัด
ซื้อเตาไร้กลิ่นไร้ควัน (ซึ่งดัดแปลงจากเตาเผาขยะ) มูลค่าเตาละ 2 ล้าน (ราคา เตา เผาพร้อมการติดต้ัง
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9470000018406 ) โดยมีข้อมูลการวิจัยว่า

9

ใช้ได้ดีกับเตาแบบไร้กลิ่นไร้ควนั ก็จะทำให้เกิดการรณรงคผ์ ่านความเชือ่ กฎหมาย และกลไกทางการตลาดเชิง
พาณิชย์ ถ้าผลเปน็ อย่างนั้นจริง ก็แปลว่าวัดทั่วประเทศจะต้องแบกรับภาระในการสร้างเตา แบบไร้กลิ่นไร้ควัน
เพื่อรองรบั สารดังกลา่ ว ซึ่งปัจจบุ ันเปน็ ไปตามความสมคั รใจของทางวัด เจ้าอาวาส และชมุ ชนน้นั ๆ แตต่ ่อไปเกิด
มกี ารควบคุม “ล้อมคอก” อยา่ งทีส่ อ่ื พยายามนำเสนอ กห็ มายความไดว้ ่าวัดอาจต้องซื้อเตาเผาราคาสองล้าน ทุก
วดั 4 หม่ืนวัด x 2 ล้านบาท+ รวมวดั ทว่ั ประเทศจากจะพึงจา่ ยกบั เตาเผาแบบที่ทดลอง 80,000,000,000 (ออก
เสยี งว่า แปดหม่นื ลา้ นบาท) บวกกับสาร GAIA อีกศพละ 2.5 พนั บาท รวมทงั้ ตลอดทั้งปี 3.6 หมื่นบาทต่อปี ก็
แปลวา่ ภาระมหาศาลเหล่าน้ีจะตกกบั วดั และประชาชนท้งั ประเทศในองคร์ วมทันทีในรูปของพิธีกรรม ความเชื่อ
บญุ บาป จำนวนมาก

ข้อสังเกตที่ 4 : ผลการวิจัยในครั้งนั้น (เสนอ 26 มกราคม 2560
https://www.thairath.co.th/content/844514) และการนำเสนอผลการวิจัยอีกครั้งเมื่อ เมื่อ 18 มกราคม
2565 ผลที่ไดเ้ ทา่ กบั ยนื ยันวา่ การจดั การศพแบบวดั เป็นผู้กอ่ ใหเ้ กิดสารกอ่ มะเรง็ ท่ัวประเทศ จากจำนวน 4 หม่ืน
วดั ในทนั ที รวมท้งั วดั ได้รบั ผลกระทบวา่ กลายเป็นสถานที่ปลอ่ ยสารไดออกซิน (Dioxin) สารฟิวแรน (furans) สู่
อากาศ ซึ่งจะไปสัมพันธ์กับค่านิยมและการยอมรับในเชิงสังคม ซึ่งจากการฟังการเสนอของงานวิจัยทั้ง 2
เหตุการณ์ ไม่พบว่าในข้อเทจ็ จรงิ งานวจิ ัยไดศ้ ึกษาผลของวัดทั่วประเทศว่าปล่อยสารออกไปเท่าไหร่ ? (มีเพียง
สถิติของกรมควบคุมมลพิษ ระหว่าง พ.ศ.2562-2564) ที่มีร้องเรียน 9 กรณี ในเขตกรุงเทพ และนนทบุรี
ประเด็นข้อร้องเรียนเป็นผลกระทบของฝุ่นละออง และกลิ่นเหม็น ผลกระทบเป็น ความเดือดร้อน รำคาญ
(เตาเผาศพเป็นแหล่งควบคุมมลพิษที่ต้องได้รับการควบคุม การควบคุม การปล่อยสารทึบแสง – คือค่าความ
หนาแนน่ ของควัน ขอ้ มูลโดยผูอ้ ำนวยการกรมควบคมุ มลพิษ 19 มกราคม 2565) เม่ือเทยี บกบั หน่วยองค์กรอื่น
ๆ ท่ีมีสถานะของการปลอ่ ยสาร เชน่ โรงงานอตุ สาหกรรม เตาเผาขยะพิษของโรงพยาบาล หรือหนว่ ยงานอืน่ ๆ
ที่เนื่องด้วยการมีเตาเผาที่ก่อให้เกิดการเผา ทั่วประเทศ แล้วเปรียบเทยี บจำนวนค่าความแตกต่างให้ชัดเจน ซ่ึง
ยอ่ มจะเป็นผลเชงิ ประจกั ษณ์อย่างชัดเจนกวา่ การสร้างสมมตฐิ านความเช่อื ทไี่ ม่มหี ลักฐานเชิงประจักษย์ นื ยันต่อ
ผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ ท่ีดูท้ังไมเ่ ป็นธรรมและสง่ ผลใหเ้ กดิ ความเช่ือตอ่ สังคมว่า “วัด” กลายเปน็ ที่ปลอ่ ยสาร
มะเรง็ ให้กับสงั คม

ขอ้ สงั เกตที่ 5 : การนำช่ือ “วมิ ุติ” ทน่ี ยั ยะอุดมคติและเป้าหมายสงู สุดในทางศาสนามาเปน็ “คำศัพท์”
ต่อวตั ถสุ ่ิงใช้ ซงึ่ ต่อไปจะกลายเปน็ สินคา้ หากสารดงั กลา่ วได้รับการรบั รอง จะเท่ากบั ว่าเป็นการสร้างความเช่ือที่
คลาดเคล่ือนโดยคนในองค์กรศาสนา และนักวชิ าการศาสนาทท่ี ำทา่ เหมอื น โดยใหเ้ กดิ ความเช่ือต่อสารดังกลา่ วที่
ไม่สอดคล้องกับความจริง เพราะไม่มีผลการรายงานว่า เมื่อสารดังกล่าวเผาแล้ว ไปท ำปฏิกิริยาอื่น กับ
ผลข้างเคยี งหรือไมป่ ระการใด ไม่ปรากฏผลการศึกษายนื ยันต่อหลักฐานและข้อเท็จจริงนั้น ดังนั้นการนำหลกั
คิดอุดมคตสิ ูงสดุ มารองรับผลติ ภณั ฑท์ ยี่ ังหาบทสรุปเชงิ ประจักษ์ไม่ได้ ยอ่ มเป็นเรอื่ งท่ีไม่ถกู ต้อง และบกพร่อง
ทางจรยิ ธรรมความเปน็ นักวิชาการ และเปน็ การ “หลู่แคลนดอ้ ยค่า” ตอ่ หลกั คำสอนซึ่งเปน็ อดุ มคตสิ ูงสุดในทาง
พระพุทธศาสนาด้วย เพราะในความหมายของ “วิมุตติ” ย่อมเป็นหนทาง และช่องทางไปสู่ปลายทางสูงสุดคอื
นพิ พาน ถ้าคนในสงั คมน้ถี ูกทำให้เชื่อว่าอุดมคติท่เี คยเชือ่ มาตลอดกว่า 2000 ปี เป็นเพียง “ผลิตภัณฑ์” สำหรับ
เผาศพ จะโดยจงใจ รเู้ ท่าไมถ่ ึงการ ถอื ว่าเป็นเร่อื งไม่ถูกต้อง

10

ข้อสังเกตที่ 6 การทีน่ ักวิจัยท้ังหมดเป็นกลุ่มบุคคลที่อยู่ในองค์กรทางศาสนา (วัดในพระพทุ ธศาสนา/
ชาวพุทธ) รวมทั้งศึกษาวิจัยผลกระทบจากการเผาศพ พร้อมชี้ช่องเป็นกลไกทางการตลาดให้เกิดการขาย
ผลิตภัณฑ์ เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งไม่ต่างกับระบบพุทธพาณิชย์อื่น ซึ่งในความเป็นจริงควรศึกษาผลกระทบจาก
วธิ ีการดังกล่าว แลว้ หาทางออกจากค่านยิ มทพ่ี รอ่ งพลาด เชน่ การไมใ่ สว่ ตั ถุท่ีกอ่ ให้เกิดสารอ่ืน ๆ เช่น รณรงค์ให้
วัดทั่วประเทศไม่ใส่ดอกไม้จันทร์ ไม่ใส่วัตถุที่ยากแก่การเผาไหม้ เสื้อผ้า ไม่ใส่สิ่งใช้ ไม่ใส่โลงศพ หรือวัตถุท่ี
กอ่ ใหเ้ กดิ ปฏิกริ ิยาจากการเผาไหม้ รณรงค์ให้ใช้วัตถดุ บิ ในการเผา เช่นนำ้ มนั ถ่านไฟ หรือวัตถุแทนที่ ซ่งึ จะทำให้
ไม่ก่อใหเ้ กิดสารดงั กลา่ ว

ภาพท่ี 2 การจดั สมั มนาเสนอผลการวจิ ยั การพฒั นาและยกระดับพทุ ธอริยะวถิ วี ัดและชมุ ชนเมืองตน้ แบบการ
ฌาปนกจิ ศพ ผ่านระบบ Zoom Online เม่ือ 18 มกราคม 2564 (ภาพ คณะนักวิจยั )

แนวทางการจัดการศพเพ่อื ลดมลภาวะทางอากาศในประเทศไทย
เม่ือประมวลแนวคดิ ออกมาสกู่ ลไกของการจดั การศพใหส้ อดคล้องกบั ค่านยิ มศาสนาความเชื่อ หรือไปสู่

การรณรงค์ใหเ้ กิดการใช้ประโยชนจ์ ากความตาย การจัดงานศพมาเป็นค่านิยมท่ีถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้อง
กับสภาพความเปน็ จรงิ ซงึ่ แนวคดิ ทีเ่ น่อื งด้วยวธิ ีการจัดการศพ ถ้าในกรณมี ีรายงานการวิจยั ที่จะยืนยันวา่ การเผา
ศพ เป็นมลภาวะและก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศในองค์รวม เหมือนกับโรงงานอุตสาหกรรมต้องปล่อย
ควนั พษิ จากการเผาในโรงงานอตุ สาหกรรม ดงั น้ันในฐานะพวกเราเปน็ ชาวพทุ ธ จึงควรมวี ธิ กี ารในการจัดการศพ
ในหลากหลายวธิ ที ี่ไดผ้ ลในเชงิ ของความเช่ือ ในเชงิ ของการแสดงออกตามหลักศาสนา ตามหลกั บุญวธิ รี ะเบียบวธิ ี

11

รวมไปถงึ การสร้างกลไกเพอื่ ส่งเสรมิ ใหเ้ กิดการดำเนินวิถีกจิ กรรมทางศาสนาด้วย (นงนภัส เดชะองอาจ,พระครู
ปลัดอดศิ กั ดิ์ วชิรปญฺโญ,2564)

1. การรณรงคด์ ้วยวธิ ีการปกติ สรา้ งคา่ นยิ มทเี่ ข้าใจและถูกต้อง เชน่ ลดการเผาดว้ ยการผสมกับวัตถุ
อน่ื จนกระทั่งเผาแตศ่ พเปล่า ๆ เชน่ ธูป ดอกไม้จนั ทร์ ทน่ี อน รองเทา้ ทน่ี อน รวมไปถงึ ศพไม่มีการฉีดสารกัน
เน่า (คลอลนี ในศพ) เพือ่ ลดการทำปฏิกริยาเคมใี นร่างกายของคนใหเ้ กดิ การควบแน่นในเชงิ ปฏกิ ริ ิยาต่อเน่ืองอัน
ส่งผลต่อการเพิ่มค่าไดออกซินในการเผาศพ จนกลายเป็นมลภาวะส่งให้เกิดสารก่อมะเร็งในคา่ อากาศองค์รวม
ดังปรากฏในงานของ รัตนะ ปัญญาภา และคณะ (2562) ในเรื่อง รูปแบบการจัดงานศพเชิงสรา้ งสรรค์ของชาว
พทุ ธในชุมชนชนบทตามทศั นะของผ้นู ำชมุ ชนในจงั หวัดอบุ ลราชธานี ผลการวิจัยพบวา่

...งานศพควรเรยี บงา่ ย ถูกธรรมเนยี มและมีคณุ คา่ ทางจิตใจ...งานศพปลอดอบายมุข และการใช้
อาหารมังสวริ ัติหรอื อาหารทไ่ี ม่สนับสนนุ ใหเ้ กิดการทำปาณาตบิ าต 3) ด้านการดำเนินการในวันเผาศพ
ส่วนใหญ่เน้นดำเนินการให้กระชับ...4) ด้านการดำเนนิ การหลังวนั เผาศพ การทำบุญอุทิศส่วนกศุ ลให้
ผู้ตายสามารถทำได้หลังวนั เผาศพ และเน้นความประหยัด มีคุณค่าและเป็นกุศลกรรมทั้งต่อญาติและ
ผตู้ าย ควรทำบุญให้ครบทง้ั ทานมยั สีลมยั และภาวนามยั
2.การรณรงคเ์ พื่อการบรจิ าคร่างกายเป็นสิง่ สนับสนุนการเรียนรูท้ างการแพทย์ หมายถึง หน่วยทาง
ศาสนาอนั หมายถึงวดั พระสงฆ์ ไดเ้ ขา้ ไปรณรงค์สง่ เสรมิ และสร้างค่านิยมและความเข้าใจท่ถี ูกตอ้ ง เกี่ยวกับการ
จดั การศพ ใหเ้ ปน็ สาธารณะกศุ ล เป็นเสน้ ทางของพระโพธสิ ัตว์ ในการทำเพ็ญทานบารมี บรจิ าคร่างกายให้กับ
หนว่ ยทางการแพทย์ เพื่อใหเ้ ปน็ การศกึ ษาหาความรู้ และใช้เปน็ เคร่อื งสำหรับแพทยฝ์ กึ หดั จากน้ันจงึ นำไปสู่การ
ฌาปนกิจรวมหรือ อื่นใด ให้เป็นตามเงื่อนไขของช่วงเวลา ดังนั้นสิ่งทีพ่ ระสงฆ์ วัด และชาวพุทธทำได้ คือการ
สร้างค่านิยมให้เห็นว่าการบริจาคเป็นเส้นทางของการบำเพ็ญบุญเพื่อไปสู้เส้นทางของพระโพธิสัตว์ โดย
ขอ้ เท็จจริงในสังคมไทยการบริจาครา่ งกายเพ่ือสนับสนุนการเรยี นรู้ทางการแพทย์ยงั ไม่เพยี งพอสำหรับนักศึกษา
แพทย์ (พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต),2542;พระครูประภัสจริยาภรณ์ และคณะ,2016,8-13;ขวัญประภัสสร
จันทรบ์ ลู วชั ร์,2560,55-64)
3.การรณรงคเ์ รื่องการฝัง หมายถงึ ในศาสนาแบบชาวคริสต์ อิสลาม และในแบบชาวจนี ก็ใช้วธิ ีการฝัง
เปน็ เครือ่ งมอื หนงึ่ ในการบรหิ ารจัดการศพ และในประเทศไทยทุกจงั หวัด กจ็ ะมีสุสานของชาวจีนทีเ่ น่อื งด้วยการ
จัดการศพจากการฝัง (ผุสดี รอดเจริญ,2551,145-167;อรอุมา ตั้งสมสขุ ,2563,137-149) ดังนั้นการฝังจึงยอ่ ม
เปน็ วธิ ีการหนึง่ บางท่านอาจบอกวา่ คติของคนไทย (ที่รบั อทิ ธิพลจากอินเดีย) ใชว้ ธิ ีการเผาไม่เผาจะเป็นการผิด
จากประเพณี ทเี่ คยปฏบิ ตั ิมาแต่ก่อนกเ็ ปน็ ไปได้ ซงึ่ หากมองในขอ้ เท็จจรงิ การฝังเปน็ วธิ ีการหนึ่งทเ่ี กิดข้ึนและลด
มลภาวะ ก็รณรงค์สง่ เสรมิ ให้เกดิ การปฏิบัติจนกลายเปน็ ประเพณีวถิ ีนิยมจะดกี ว่าหรือไม่ ?
4. การรณรงค์สร้างทางเลือกด้วยการฝัง/หรือเผา หมายถึง นอกเหนือจากการเผา หรือหน่วยทาง
ศาสนาสามารถสร้างทางเลือกให้เกิดขึ้น นอกเหนือกจาการเผาที่มีผลการวิจัยออกมาแล้วว่า การฝังช่วยลด
มลภาวะอยา่ งไร ? ซ่งึ จะเป็นประโยชน์ตอ่ การบรหิ ารกิจการการเผาศพหรอื การจดั การศพเพ่ือลดปรมิ าณมลภาวะ
ในสังคมในองคร์ วมไดอ้ ย่างแท้จรงิ (พระศรธี ีรพงศ์ และคณะ,2564;รัตนะ ปญั ญาภา และคณะ,2562) หมายถึง

12

รณรงคแ์ ละส่งเสริมค่านิยมใหม่ให้เกิดความเขา้ ใจที่ถูกต้องและนำไปสู่การบริหารจดั การศพอย่างเป็นแบบแผน
และนำไปสกู่ ารส่งเสริมการลดมลภาวะสรา้ งทางเลือกให้กบั สงั คมในการบริหารจดั การศพได้ดว้ ย

ดังนั้นการเผาศพเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อ และในความเชื่อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ใน
กระบวนการเผาศพ ซึ่งเป็นโลกทัศน์ที่ผสมรวมมาพร้อมกับวัฒนธรรมอินเดียที่พระพุทธเจ้าและสาวกในครงั้
พทุ ธกาลไดป้ ฏิบัตติ ามในโลกทศั นแ์ ละวิถีประเพณเี ดิม และนอกจากน้กี ็ไม่มีข้อความใดท่ยี นื ยนั ว่าการเผาศพ ทำ
ให้อานิสงค์แห่งบุญตามหลักพุทธศาสนาลดน้อยหรือเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ? ทั้งหมดเป็นเพียงคติความเชื่อและ
คา่ นยิ มท่ปี ระดิษฐส์ ร้างขึน้ มา ในความหมายคอื ทกุ อย่างสามารถปรบั แกแ้ ละพัฒนาใหส้ อดคลอ้ งกับสภาพความ
เป็นจรงิ ในการดำเนนิ ชีวติ ได้

บทสรุป
การลดมลภาวะ ด้วยการสง่ เสรมิ ให้สารเคมี หรือสารประดษิ ฐ์ท่ีไม่สอดคล้องกับวิถีทางศาสนาโดยตรง

แล้ว องค์กรศาสนาควรรณรงค์ผ่านความเชื่อทางศาสนา ไม่ใช่เป็นกลไกของระบบทุน และการตลาดอย่างที่
เปน็ อยู่ อาทิ การรณรงคผ์ ่านความเชอื่ สรา้ งทางเลือกในการบรหิ ารจัดการศพ ตามความเช่อื ทางศาสนาที่ได้ทั้ง
บุญ และรักษาสิ่งแวดล้อมผสมรวมไปพร้อม ๆ กัน เช่น (1) การบริจาคร่างกายให้เป็นการสร้างความรู้ด้าน
การแพทย์ ซ่งึ มขี อ้ มลู วา่ ศพเพือ่ การศกึ ษาขาดแคลน (2) การฝงั ศพ ตามรูปแบบเดมิ ในอดีต (3) การสร้างกลไก
อื่นที่เน้นประหยัด ถูกหลักศาสนา และเป็นค่านยิ มที่สง่ เสริมการรักษาส่ิงแวดล้อม เป็นตน้ หรือช่องทางอ่ืน ท่ี
เป็นไปได้ โดยเน้นถูกหลักศาสนาและความเชือ่ รักษาสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง
มิใช่แค่การใช้สารเคมีหรือสารประกอบอื่นใดสารใด สารหนึ่ง เท่านั้น ที่จะส่งผลเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมได้
เพราะทั้งหมดเป็นค่านิยมที่สามารถปรับแก้และพัฒนาเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมได้ด้วยเช่นกัน จ ากการเขียน
บทความน้พี ร้อมขอเสนอทั้งหมดเป็นเพียงทศั นะที่ม่งุ หมายจะส่งเสรมิ ให้เกดิ มมุ คดิ และการแสดงออกต่อประเด็น
ผลงานการศกึ ษาวิจยั ทั้ง 2 เรอ่ื ง ทีม่ ลี ักษณะใกลเ้ คยี งกัน ในสองประเด็นแม้ตา่ งเวลากัน แต่ไมไ่ ด้แปลว่าท้ังหมด
ผดิ หรือสง่ิ ใดถูกไปเสยี ทั้งหมด แต่ทั้งหมดทั้งมวลมีเปา้ หมายเพอ่ื การบริหารจดั การให้เกดิ ประโยชนอ์ ยา่ งสงู สดุ ใน
การบรหิ ารและการจดั การเก่ยี วกับงานศพเท่าน้ัน แต่เป้าหมายหรือวธิ กี ารต้องชดั ไปสกู่ ารแสวงหาทางออกเพื่อ
ประโยชน์ หรือหาทางออกที่เหมาะสมต่อสังคมในองค์รวม เนื่องด้วยสงั คมไทยเสียโอกาส ความเจรญิ ก้าวหน้า
รวมทั้งเสยี มูลค่าจากความไม่รู้ หรือไม่เข้าใจอย่างรอบดา้ นนั้นอยา่ งเพียงพอมาตลอดระยะเวลาท่ียาวนานแลว้
การเสนอประเด็นของการสร้างทางเลือกเพื่อการบริหารจัดการศพจงึ ย่อมเป็นทางเลือกสำหรับคนในสังคมและ
ประเทศชาติน้ดี ้วยเชน่ กนั

เอกสารอ้างอิง
ขวญั ประภัสสร จันทรบ์ ลู วชั ร์. (2560). ความรู้ทัศนคติและความเช่ือเก่ียวกบั การบรจิ าคอวยั วะของบุคลากรใน

โรงพยาบาล. วารสารวจิ ัยสาธารณสขุ ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภฏั อุบลราชธานี. 6 (2),55-64.

13

ไทยรฐั ออนไลน์. (2560). มจร.-มจพ. วจิ ยั พบ'สารไกอา' ลดสารกอ่ มะเรง็ จากการเผาศพ
https://www.thairath.co.th/content/844514

นงนภัส เดชะองอาจ,พระครูปลัดอดิศักด์ิ วชิรปญโฺ ญ.(2564). กระบวนการเผาศพเพื่อรักษาส่ิงแวดล้อมใน
สังคมไทยปัจจุบัน ตามหลักพุทธสันติวิธี กรณีศึกษาวัดบริบูรณ์ ชุมชนบ้านข้ีเหล็กใหญ่ ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ.วารสารสันตศิ ึกษาปริทรรศน์ มจร. 9 (7),2734-2746.

ปรยี าภรณ์ ฤทธาพรม,พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2563). บทบาทนางวสิ าขาผูอ้ ุทศิ ตนเพ่ือพระพทุ ธศาสนา.
วารสารบัณฑิตศกึ ษามหาจฬุ าขอนแก่น. 7 (4),101-112.

ผุสดี รอดเจรญิ . (2551). พิธีกรรมการฝังศพในสมัยก่อนประวัติศาสตร์: ความเช่ือและสถานภาพทางสังคม
. วารสารดำรงวิชาการ. 7 (1),145-167.

พระศรีธีรพงศ์ สารบรรณ และคณะ. (2564).ประเพณีงานศพ : การศึกษารูปแบบท่ีเหมาะสมทางสังคม
วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ในการจัดพิธีกรรมของชาวพุทธ เขตราษฎร์บรู ณะ กรงุ เทพมหานคร.
วารสารบณั ฑติ ศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกฏุ ราชวิทยาลยั . 19 (2),79-93.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโฺ ต). (2542). พระพทุ ธศาสนากบั การบรจิ าคอวยั วะ. นครปฐม: วัดญาณเวศ.
พระครปู ระภัสจริยาภรณ์ และคณะ. (2016). การบรจิ าคอวยั วะในทัศนะของพุทธศาสนาเถรวาท.วารสารวนมั

ฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน.์ 3 (1),8-13.
รัตนะ ปัญญาภา และคณะ. (2562). รปู แบบการจัดการงานศพทีป่ รากฏในพระไตรปฎิ ก.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย

พชิ ญทรรศน์. 14(3),115-125.
รัตนะ ปญั ญาภา และคณะ. (2562). รูปแบบการจดั งานศพเชิงสร้างสรรคข์ องชาวพุทธในชุมชนชนบท

ตามทัศนะของผนู้ ำชุมชนในจังหวดั อบุ ลราชธานี. วารสารสนั ตศิ ึกษาปริทรรศน์ มจร. 7 (2),288-301.
สมทบ พาจรทศิ และคณะ. (2559). แนวคิดการจัดการศพในพุทธศาสนาเถรวาท.พิฆเนศวรส์ าร.

12 (2),115-124.
สนุ ทร สทุ รพั ยท์ วผี ล. (2562). การศึกษาวิธีจัดงานศพทีป่ รากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑติ ศกึ ษา

ปริทรรศน์วิทยาลัยสงฆน์ ครสวรรค์. 7 (2),287-296.
Jeremiah, Ken.(2010). Living Buddhas: The Self-mummified Monks of Yamagata, Japan.

McFarland,
Winnews.(2562). วัดสทุ ธวิ รารามใชส้ าร “ไกอา”เผาศพ ลดสารก่อมะเรง็ วัดแรกในไทย.

สืบค้นเมือ่ 15 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.winnews.tv/news/25614


Click to View FlipBook Version