The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2553). การจัดการ – ดูแล ผู้สูงอายุตามแนวพุทธ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by raphind, 2023-11-09 09:52:00

พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2553). การจัดการ – ดูแล ผู้สูงอายุตามแนวพุทธ

พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2553). การจัดการ – ดูแล ผู้สูงอายุตามแนวพุทธ

การจัดการดูแล ผู้สูงอายุ ตามแนวพุทธ พระปลัดระพิน พิ พุทธิส ธิ าโร เขีย ขี น


หน้า 1 การจัดการ – ดูแล ผู้สูงอายุตามแนวพุทธ พระปลัดระพิน พุทธิสาโร (2553) มีข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงต่อคนชรา และผู้สูงอายุจากศูนย์ประชาบดี กระทรวงพัฒนาสังคม ฯ พบว่า คนแก่ จำนวน 50,058 คนที่ได้สำรวจ 37 % ถูกลูกหลานตัวเองทำร้ายร่างกาย อีก 30 % ถูกลูกหลานของตัวเองทำร้ายร่างกาย อีก 13 % ถูกญาติคนอื่นทำร้าย รวมทั้งหมด 80 % ของคนแก่เป็นกระสอบทรายประจำครอบครัว ส่วนการทำร้ายทางจิตใจ ก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนกว่ากันมากนัก คู่สมรสของลูกหลานเป็นคนทำเสีย 36 % ญาติคนอื่นอีก 25 % และเจ้าหน้าที่ของรัฐทำเสีย อีก 3 % (นิธิ เอียวศรีวงศ์, คนแก่ มติชนสุดสัปดาห์ 27 พ.ย. – 3 ธ.ค.2553) นอกจากนี้ศูนย์ประชาบดียังตั้งสายด่วน 2548 เพื่อให้ประชาชนโทรมาขอความช่วยเหลือได้ ปรากฏว่าบรรดา ปัญหาต่าง ๆ ที่ประชาชนโทรเข้ามา 8 หมื่นเรื่อง เป็นเรื่องของผู้สูงอายุ 7 พันเรื่อง ผู้สูงอายุโทรมาเอง 90 % ในจำนวน ผู้สูงอายุที่ถูกทำร้าย และศูนย์รับข้อมูลไว้ รวมทั้งเพื่อนบ้านที่พบเห็นเหตุการณ์แล้วทนไม่ไหวโทรเข้ามาแจ้ง ในอดีตคนแก่อาจถูกอธิบายด้วยคำว่าเป็น “ร่มโพธิ์ ร่มไทร” ของลูกหลาน เป็นเสาหลักของบ้าน เป็นสิ่งเคารพใน บ้าน มีข้อมูลของผู้สูงอายุในประเทศไทย ในอีก 15 ข้างหน้าประชากรกลุ่มผู้มีอายุเกิน 70 ปีจะมีสัดส่วนมากที่สุดเมื่อเทียบ กับประชากรวัยอื่น (มติชนสุดสัปดาห์ :11-17 มิ.ย.2553 : น.18) ซึ่งหมายความว่าพลเมืองผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจะมีผลต่อ ปรากฏการณ์ทางสังคมขึ้นด้วย สถานการณ์การรีบรัดตัวทางสังคม เศรษฐกิจ ในยุคอุตสาหกรรมเฟื่องฟู สภาพสังคม เปลี่ยนไป ชุดคำอธิบายต่อคนแก่เปลี่ยนก็เปลี่ยนไปด้วย ผู้สูงอายุถูกสร้างคำอธิบายใหม่ว่าเป็นแรงงานตาย ไม่ก่อให้เกิด มูลค่าเพิ่มในเชิงเศรษฐกิจ เป็นภาระเป็นส่วนเกิน และส่งผลเป็นความรุนแรงดังสถิติที่ปรากฏในที่สุด (มองตามเหตุผลในเชิง “ผลประโยชน์นิยม”) ที่ครั้งหนึ่งเคยเกิดขึ้นในประเทศกัมพูชาสมัยเขมรแดง (พ.ศ.2518-2522) คนแก่ถูกตีความว่าเป็น แรงงานตาย ไม่ก่อให้เกิดผลในการผลิตในระบบคอมมูน จึงพบว่าผู้สูงอายุเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ตกเป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรง ดังนั้นในฐานะที่สังคมไทยเป็นสังคมของชาวพุทธโดยสถิติ และมีหลักการที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความไม่รุนแรงใน หลาย ๆ กรณี รวมทั้งมีวัดกว่า 3 หมื่นแห่งทั่วประเทศ ซึ่งจะสามารถนำมาปรับเป็นแผนรองรับแก้ปัญหาความรุนแรงต่อ ผู้สูงอายุได้ ซึ่งในทัศนะผู้เขียนมองว่า วัดนอกเหนือจากเป็นที่ประกอบพิธีกรรม ทำบุญ แล้วยังจะเป็น “ศูนย์กลาง” ต้นแบบในการยุติความรุนแรงต่อกลุ่มผู้สูงอายุได้ อาทิ ส่งเสริมให้ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันในวัด พร้อมทั้งออกแบบให้มีความ หลากหลาย และตอบรับชุมชนผู้สูงอายุได้จำนวนมาก และครอบคลุม ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม หากผู้สูงอายุรู้สึกว่าวัดเป็นที่ พึง เป็นศูนย์กลาง มีคุณค่า ตอบสนองความพึงใจ เป็นบุญกุศล ทำให้จิตใจดีงาม คนแก่ก็จะเข้าไปทำกิจกรรมหลายอย่าง วัดก็ทำหน้าที่บริการสังคมได้มากขึ้น เป็นสถานที่บำบัดได้มากขึ้น


หน้า 2 มีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาว่าพระเถระในครั้งพุทธกาล อาทิพระมหากัสสปะ(120) พระโมคคัลลา นะ(120) พระสารีบุตร (120) เป็นผู้มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาไม่น้อย รวมทั้งยังมีคำยกย่องผู้สูงอายุว่า “ผู้รู้ราตรีนาน” (รตฺตญฺญู) ซึ่งอาจหมายความว่าเป็นผู้เกิดมานาน ประสบการณ์เยอะ และสร้างคุณประโยชน์จำนวนมาก ไม่ได้หมายความว่า เกิดมานานแต่ผลาญข้าวสุกอย่างเดียว ดังมีวจนะพุทธที่ว่า “ผู้ทำความเพียร ตั้งมั่น ไม่เกียจคร้านในการทำความดีมีประโยชน์ แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ย่อมมีคุณค่ากว่าผู้ที่เกิดมาแล้วไม่ทำอะไรเลย แต่มีอายุตั้ง ๑๐๐ ปี” นอกจากนี้ ก็มีหลักปฏิบัติก็ มีการเคารพกันตามตามอายุพรรษา ในทัศนะผู้เขียนมองว่าพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ และในเวลาเดียวกัน ก็มีการจัดการคนชราอย่างสมศักยภาพ(ในการปฏิบัติธรรมรู้ธรรม) และภาวะที่ในอันที่จะพัฒนาได้ จึงเป็นเหตุผลที่น่าสนใจ ว่าถ้าเราจะนำมาเป็นรูปแบบเชิงพุทธในอดีต มาเป็นต้นแบบในการจัดการกับสังคมไทย ที่ระบบวัฒนธรรมเปลี่ยนผ่านคนชรา ให้กลายเป็นต้นแบบและปูชนียบุคคล ที่ควรค่าแก่การยกย่องนั้นได้อย่างไร ? พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยวัด ศาสนา และพลัง กลุ่มน่าจะเป็นทางออก และเป็นการยุติปัญหาความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ และคนชราได้ โดยมีวิธีการเป็นหลักการและหลัก ปฏิบัติได้ คือ ก.อธิบายด้วยหลักการ ๑) อธิบายหลักการเชิงพุทธให้ปรากฏต่อสาธารณะ คือ การนำหลักธรรมทางมาอธิบายเพื่อให้ความหมายและ คุณค่าผู้สูงอายุ เช่น หลักตอบแทนผู้มีคุณ(กตัญญู) หลักเคารพนบนอบ (คารวตา) หลักเอื้ออาทร-เกื้อกูล (เมตตา) หลักหน้าที่อันพึงกระทำของสมาชิกในครอบครัว (หลักทิศ ๖) ที่แสดงบทบาทของบุตร หลาน หรือ สมาชิกในครอบครัวพึงปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นหลักที่ปรากฏในคำสอน ทางพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว เพียงแต่ เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญและเข้าใจความหมาย และนำไปสู่การปฏิบัติจริง ซึ่งคาดหวังว่าจะมีผลต่อการลดความ รุนแรงต่อผู้สูงอายุได้ ๒) ใช้หลักศาสนาเป็นตัวเพิ่มคุณภาพชีวิต ถ้ามองว่าบุญเป็นนัยยะของชาวพุทธ ก็ต้องสร้างคำอธิบายที่ หลากหลายและครอบคลุมต่อวิธีการทำบุญให้มากขึ้น หลักการใด ๆ ที่ปรากฏในสังคมเชิงพุทธ ควรให้ คำอธิบายใหม่ เช่น บุญมิใช่การนำเงินไปบริจาคแล้วได้บุญแต่ประการเดียว ควรอธิบายให้ครอบคลุมถึงกิจกรรม อันใดที่ก่อให้เกิด ความเอื้ออาทร เมตตาไมตรี ในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ควรเป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกมาเป็น ต้นแบบ และแบบอย่างในการกระทำตาม รวมไปถึงการรณรงค์ผ่านสื่อให้เห็นถึงความชัดเจนว่าคุณค่าของความ เอื้ออาทร ควรเป็นแบบอย่างต่อสาธารณะ ไม่ใช่ความน่ารังเกียจ หรือน่าอายแต่ประการใด รูปแบบในการให้หลักการกับสังคม ผู้เขียนเชื่อว่าพระสงฆ์ทำคำอธิบายนี้อย่างแข็งขันในสังคมไทย ผ่านการเทศนา “กตัญญู” ผ่านวรรณกรรมทางศาสนา โลกทัศน์ ความเชื่อ จนชนิดที่ว่าสังคมไทยเป็นสังคมความเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุเสีย


หน้า 3 ทั้งหมด แต่ปรากฏเป็นสถิติของความรุนแรงต่อผู้สูงอายุเป็นเครื่องยืนยันเทียบเคียง โลกทัศน์ความกตัญญู ความเอื้ออาทร เมตตา ต่อผู้สูงอายุก็ยังมีผลไม่ครอบคลุมเสียทีเดียว จนนำไปสู่การปฏิบัติที่มีผลตรงข้ามกับคำว่า “รุนแรง” ต่อผู้สูงอายุ ข. ปฏิบัติการให้เป็นแบบ ๑. รับกลุ่มผู้สูงอายุชาย-หญิง เข้ามาบวช (หลวงตา-แม่ชี) ตามสภาพของความสมัครใจ โดยอาศัยวัดในชุมชน เป็นฐานรองรับ สร้างเกณฑ์คัดสรรค์อย่างเหมาะสม ตามความพร้อมของชุมชน และวัดนั้น ๆ ที่จะรองรับ ผู้สูงอายุ เพื่อเข้าสู่การพักฟื้นทางร่างกาย และพัฒนาจิตวิญญาณให้เข้าสู่เป้าหมายสูงสุดตามหลักทางศาสนา รับเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุ (หลวงตา) และแม่ชี (หลวงยาย) เพื่อให้การดูแลตามความเหมาะสมกับแก่วัย จัด กิจกรรมรองรับให้เพียงพอต่อผู้เข้ามาบวช ทำวัดให้เป็นศูนย์กลางกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่แค่ทำบุญ แต่ให้กำหนดเป็นนโยบาย และยุทธศาสตร์ต่อองค์กรโดยรวมในการทำกิจกรรมเชิงพุทธร่วมกัน ให้สอดคล้องกับ สภาพความเป็นจริงและวัยของเข้ามาบวชเป็นภิกษุ-แม่ชี ครั้งหนึ่งผู้เขียนเคยเดินทางไปยังวัดพุทธศาสนามหายาน เช่น วัดโปกักซี สิงคโปร์ ฮ่องกง และอินโดนีเซีย ทุกที่ล้วนจะมีที่พักคล้ายบ้านพักคนชราอยู่ในวัด ในกำกับดูแลของวัด หรือพุทธสมาคมโดยตรง มีเจ้าหน้าที่บุคลากร ที่มีทักษะชำนาญเฉพาะด้านในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งสะท้อนให้เห็นบทบาทของวัดกับการทำงานบริการสังคม โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ นอกเหนือจากการรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะกลุ่มสตรีมาบวชเป็นชี ภิกษุณีในวัดนั้น ๆ ซึ่งใน ประเทศไทยอาจยังไม่มีบริการนี้โดยตรงเสียทีเดียว และโดยตรงแต่ถ้าวัดมีความพร้อมก็จะสามารถที่จะทำได้ก็จะ เป็นประโยชน์และเป็นสิ่งที่ให้บริการสังคมในเชิงกว้าง และสอดคล้องกับชีวิตมากขึ้น ๒ ให้วัดเป็นศูนย์กลางกิจกรรมกลุ่ม คือ การจัดตั้ง ส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อรองรับ ชุมชนที่วัดนั้น ๆ ตั้งอยู่ ซึ่งโดยปกติก็อาจมีกิจกรรมทางศาสนาอยู่แล้ว แต่ในทัศนะผู้เขียนมองว่ายังไม่เพียงพอ ทำอย่างไรให้วัดมีกิจกรรมที่หลากหลายสัมพันธ์กับชีวิต อาชีพ และการเป็นอยู่ ออกแบบหรือเพิ่มกิจกรรมให้ หลากหลายมากขึ้น เช่น กลุ่มงานอาชีพ ผลิตหัตถกรรม ดอกไม้จันทน์ กระดาษสา ยาแผนโบราณ อาหารไทย นวดแผนโบราณ เป็นต้น เมื่อเสร็จงานเสริมอาชีพ ก็พบปะสนทนา ฟังเทศน์ สวดมนต์ เป็นต้น ซึ่งในความเป็น จริงงานอาชีพอาจเป็นเพียงผลพลอยได้ แต่ในเชิงหลักการจะเป็นการทำกิจกรรมกลุ่ม และสร้างเครือข่ายชาว พุทธให้มีความเข้มแข็งขึ้น รวมทั้งเป็นการสร้างต้นแบบให้กับชุมชน ให้เด็กเห็นว่าผู้สูงอายุมาทำอะไร เด็ก ลูกหลาน อาจตามมาวัดมาซึมซับเรียนรู้การดำรงชีวิตอยู่ เกิดสัมพันธภาพระหว่างครอบครัว ระหว่างชุมชน วัด และบ้านอย่างแท้จริง วัด 3 หมื่นกว่าวัดทั่วประเทศ จะทำงานรองรับกลุ่มผู้สูงอายุได้ไม่น้อยกว่า 15-30 ล้าน คนทั่วประเทศ (วัดทั่วประเทศ x ผู้สูงอายุ = วัดกับการดูแลผู้สูงอายุทั่วประเทศ)


หน้า 4 ๓) สร้างชุมชนสัมพันธ์จัดทำกิจกรรมระหว่างกลุ่ม คือ การส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมกลุ่ม และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่ม เช่น การนำผู้สูงอายุไปทอดกฐิน ทอดผ้าป่า หรือทำกิจกรรมเชิงพุทธอื่นใดของแต่ละวัดแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างกลุ่ม (วัดทั่วประเทศคงทำกันอยู่แล้ว) สร้างสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกัน แลกเปลี่ยน แต่ให้ทำเป็นโครงการสัมพันธ์ ซึ่งเมื่อเกิดการเดินทางไปมาหาสู่ การค้าเชิงชุมชนที่ผลิตได้จากข้อ ๒ ก็จะเป็นช่องทางในการระบายสินค้า รายได้เกิดกับผู้สูงอายุ ทั้งจะยังเป็นการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้กับ ผู้สูงอายุได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มอันจะเป็นผลได้จากผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งเสริมให้เกิด ความสัมพันธ์เชิงชุมชน และความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยมุ่งไปที่กลุ่มผู้สูงอายุโดยตรง ๔) จัดสร้างเครือข่ายของผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยน และพบปะกันตามโอกาสอันสมควร เช่น พระ (หลวงตา-หลวงยาย) โครงการเยี่ยมบ้านระหว่างแม่ชี พระผู้สูงอายุ หรือพระสงฆ์ ออกเยี่ยมเยียนบ้านผู้ที่มี คนชรา สนทนา พบปะกันธรรมดา ทราบปัญหา และแนวทางในการยุติความรุนแรงต่อผู้สูงอายุซึ่งน่าจะเป็นไป ได้ และก่อให้เกิดความยั่งยืนในสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มและศาสนาได้ด้วย ๕) จัดออกแบบหลักสูตร-กิจกรรม สำหรับผู้สูงอายุให้มีกิจกรรมเชิงกลุ่มที่เหมาะสมกับวัย เช่น กลุ่มผลิตงาน อาชีพของวัดสวนแก้ว (นนทบุรี) ถ้าเน้นและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน รายได้อาจเป็นเพียง เหตุผลหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญเลยก็คือการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุด้วยกัน รวมทั้งสร้างเสริม คุณภาพชีวิต และคุณภาพความคิดให้มีผลเป็นการขับเคลื่อนอย่างสูงสุด ๖) ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลายเป็นศูนย์กลางความรู้ชุมชน หมายถึง การส่งเสริมภูมิปัญหาท้องถิ่น ที่อยู่ในผู้สูงอายุ ในชุมชนนั้น ๆ กะเทาะองค์ความรู้เดิมของผู้สูงอายุ เช่น การทำอาหาร ดนตรี นิทานพื้นบ้าน การจักสาน หรือองค์ความรู้อื่นใด ที่จะสามารถเล่าเรื่องในอดีตได้ แล้วนำมาสร้างคุณค่าในฐานะเป็นแหล่งความรู้ หากนำไป พัฒนาเป็นมูลค่า(กลุ่มอาหาร กลุ่มสินค้าพื้นบ้าน)ได้ด้วยก็จะเป็นการดีอย่างแท้จริง อาทิ ชาวไอนุ แต่เดิมเป็น เพียงชนพื้นเมืองดั้งเดิมของญี่ปุ่น แต่มีเมื่อกระแสการท่องเที่ยวเข้าไปก็ทำให้เกิดพื้นที่สำหรับชนเผ่าดั้งเดิม หรือ กระเหรี่ยงคอยาว (แม่ฮ่องสอน) มุมหนึ่งเหมือนถูกทำให้เป็นสินค้า แต่ในทางตรงกันข้ามอาจมองได้ว่าเป็นการ ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สำหรับชนเผ่าเอง ในการให้คนอื่นมาคนหาและศึกษา อันจะเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่ง ผู้สูงอายุถ้าถูกทำให้มีพื้นที่ และให้คำอธิบายต่อเขาเหล่านั้นอย่างมีความหมาย ในฐานะ ผู้ทรงความรู้ ผู้รักษา มรดกท้องถิ่น ปราชญ์ หรืออื่นใดในการให้ค่าสมแก่ค่าก็หมายความว่า ๗) ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ เป็นบุคลากรทางสังคม ที่มีคุณค่าในตัวเอง ครั้งหนึ่งเคยดูรายการทีวี ที่มีการนำกลุ่มผู้ชรา ที่มีทักษะทางดนตรี พื้นบ้านมาขับร้องต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่มาเยี่ยมชมหมู่บ้าน หากสามารถคัดเอาศักยภาพ


หน้า 5 เหล่านี้มาเป็นการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในกระแสการท่องเที่ยวแบบนี้มาแรง ก็จะเป็นคุณทั้งในส่วนของภูมิ ปัญญา ผู้ชรา ท้องถิ่น และการท่องเที่ยว การสงเคราะห์ผู้สูงวัยด้วยการบวช หลวงตา แม่ชีที่ปรากฏในสังคม ในสภาพของการรับรู้ จึงอาจเป็นการจัดการ ต่อผู้สูงอายุเชิงพุทธ เท่ากับเป็นกลยุทธที่อิงอาศัยอยู่กับศาสนาในการรับผู้สูงอายุเข้ามาสู่กระบวนการทางศาสนา อาจมองว่า เป็นที่พึ่งสุดท้าย (ก่อนสิ้นอายุ) แต่ทำอย่างไรให้วัด องค์กร หรือสถาบันทางศาสนาให้มีความหลากหลายต่อการห้บริการ และ ส่งเสริม ผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ และเป็นยุทธศาสตร์เชิงพุทธ ซึ่งก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการยุติความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ ที่นับวัน กำลังถูกให้ค่าด้วยความไม่มีมูลค่า(ทางเศรษฐกิจ) ตามหลักการและพื้นที่ของชาวพุทธได้ อาจมีผู้แย้งว่า ทำไมจะต้องสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ? ก็อาจให้คำตอบเสริมไปว่า กิจกรรมนั้นออกแบบให้หลากหลาย และตอบสนองต่อกลุ่มมากที่สุด ไม่ใช่เฉพาะคนแก่ แต่ให้ครอบคลุม “ชีวิต” ในบริบทสังคม เด็ก สตรี คนชรา ผู้พิการ กลุ่ม เพศวิถี โดยมีเป้าหมายให้เขาเหล่านั้นเกาะเกี่ยวอยู่กับศาสนาอย่างมีนัยยะ เกาะเกี่ยวกับกลุ่มทางศาสนาอย่างเป็น ระบบ สอดคล้องกับสภาพ เพศ วัย พระพุทธเจ้าถามว่า ลุงราธะ ท่านนี้เคยมีบุญคุณกับใครบ้าง...? สงฆ์สาวกในที่ประชุมนิ่งเงียบ พระสารีบุตร...อยู่ในที่ประชุมตอบอย่างระลึกรู้ ..ตรัสตอบว่า “ลุง(ราธะ)ท่านนี้เคยใส่บาตรข้าพเจ้าทัพพีหนึ่ง” ข้าพเจ้ารับเป็นธุระดูแลลุง(ราธะ)ท่านนี้ ให้เธอบวช” ต่อจากนั้นลุงก็เปลี่ยนไปเป็น “พระราธะ” ที่ใส่ใจต่อการศึกษา หาความรู้และการปฏิบัติธรรม พัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธ จนพัฒนาคุณภาพจิตของตัวเอง จนไปสู่เป้าหมายสูงสุด ในทางศาสนา ลุงราธะ พระราธะ จึงได้ชื่อว่าเป็นพระหลวงตาที่อ่อนน้อม ว่าง่าย และใส่ใจต่อการศึกษา จนเป็นนิยามของหพระหลวงตา และ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า “เป็นผู้อ่อนน้อม” เราในนามคณะสงฆ์ไทย ฉันข้าวของพระชาวบ้านมาคงจะ หลายเกวียน ถ้านับพรรษาและอายุการบวช ก็คงจะมากโข ยิ่งใคร พรรษามากก็ฉันมากกระมัง แล้วเราจะไม่ปฏิบัติตามรุ่นครูอาจารย์ที่ ท่านพระสารีบุตรกระทำ ด้วยการแบ่งเบาภาระสังคม เป็นต้นบุญ นำบุญชาวพุทธผู้ชราภาพให้เขาได้ตายอย่างสงบ ในปัจฉิมวัยกัน หน่อยดีไหม ลองคิดโครงการดี ๆ ออกมารองรับให้มีความ หลากหลายต่อชีวิตมนุษย์ ซึ่งน่าจะดีกว่าจะไปสร้างพระใหญ่ที่สุดใน ้ า า นา น ้ า า น า น า ห


หน้า 6 โลก สร้างพระพิฆเณศ ปลัดขิก ธูปยักษ์ พร้อมโปรยสรรพคุณและคำกล่าวอ้างที่เกินจริง หรืออีกสารพัดที่ปรากฏเป็น ภาพลักษณ์ “ปลอม” ปนอยู่กับพระพุทธศาสนาไทยในปัจจุบัน แต่ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม รวมไปทั้งชีวิตน้อยกว่า ความเป็นจริง ลองคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อสังคมที่รอบด้านและการให้คุณค่าของชีวิตเพื่อเข้าสู่เป้าหมายสูงสุดทาง พระพุทธศาสนากันหน่อยดีไหม ลองช่วยกันคิดดูนะพระคุณท่าน...พระพุทธศาสนาในแบบไทย ๆ น่าจะประโยชน์มากกว่าที่เป็นอยู่ไหม... (WB000253)


การจัดการดูแล ผู้สูงอายุ ตามแนวพุทธ พระปลัดระพิน พิ พุทธิส ธิ าโร เขีย ขี น


Click to View FlipBook Version