The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ศพช.เพชรบุรี, 2023-07-12 23:17:04

การเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกร

การเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกร

Keywords: สาหร่ายล,ิสาหร่ายทะเล,ศพช.เพชรบุรี

การเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกร (Halymenia durvillei Bory de Saint-Vincent, 1828) มนทกานติ ท้ามติ้น๑* ชัชวาลี ชัยศรี๑ บุษบา ทองแดง ๑ และ สุพล ตั่นสุวรรณ๒ ๑ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้าชายฝั่งเพชรบุรี ๒ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้าชายฝั่ง บทคัดย่อ ศึกษารูปแบบการเลี้ยง และอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมต่อผลผลิตและอัตราการเจริญเติบโตของ สาหร่ายลิ้นมังกร(Halymenia durvilleiBory de Saint-Vincent, 1828)เพื่อการขยายผลเชิงพาณิชย์ โดย แบ่งออกเป็น 3 การทดลองย่อย ทั้ง 3 การทดลองวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design; CRD) มี 3 ชุดการทดลอง ชุดการทดลองละ 3 ซ้้า ทั้ง 3 การทดลองเลี้ยงสาหร่ายใน บ่อคอนกรีตขนาด 5x4x1.5 เมตร บรรจุน้้าทะเล 25 ตัน พร้อมระบบให้อากาศและมีใยพลาสติกพรางแสง 60% เป็นหลังคาคลุม เพื่อให้ได้รับแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย โดยวัดผลด้านน้้าหนักรวม (กรัม) ผลผลิต (กรัม/4 สัปดาห์) และอัตราการเจริญเติบโตจ้าเพาะ (%/วัน) อัตราการเจริญเติบโตโดย น้้าหนักที่เพิ่มขึ้น (% ของน้้าหนักเริ่มต้น) การทดลองย่อยที่ 1 ศึกษารูปแบบการเลี้ยงที่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตและผลผลิตของสาหร่ายลิ้นมังกร ประกอบด้วยชุดการทดลองที่ 1, 2 และ 3 เลี้ยงแบบแผง แนวนอน,เลี้ยงแบบลอยอิสระในกระชังตาข่ายพลาสติกและเลี้ยงแบบแขวนแนวดิ่ง ตามล้าดับ เลี้ยงสาหร่ายที่ น้้าหนักเริ่มต้น 400 กรัมต่อชุดการทดลอง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าสาหร่ายลิ้น มังกรในชุดการทดลองที่ 1 มีผลผลิตและการเจริญเติบโตมากกว่าชุดการทดลองที่ 2 และ 3 อย่างมีนัยส้าคัญ ทางสถิติ (p<0.05) โดยมีน้้าหนักรวมเท่ากับ 1127.3 กรัม คิดเป็นผลผลิต 725 กรัม/4 สัปดาห์ เช่นเดียวกับ อัตราการเจริญเติบโตจ้าเพาะที่มีค่า 3.68%/วัน และน้้าหนักที่เพิ่มขึ้น 180.33% ของน้้าหนักเริ่มต้น ส่วนชุด การทดลองที่ 2 และ 3 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) การทดลองย่อยที่ 2 ศึกษาความหนาแน่นที่ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ สาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงแบบแนวนอน ประกอบด้วยชุด การทดลองที่ 1,2 และ 3 มีอัตราความหนาแน่นสาหร่ายเท่ากับ 0.8,1.6 และ 2.4กิโลกรัม/ตารางเมตร โดย เลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรน้้าหนักเริ่มต้น 200, 400 และ 600 กรัมบนแผงตาข่ายพลาสติกขนาด 50x50เซนติเมตร ตามล้าดับ เมื่อครบ4 สัปดาห์พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติทั้งน้้าหนัก ผลผลิตและอัตรา การเจริญเติบโตของสาหร่ายลิ้นมังกรระหว่างความหนาแน่นทั้ง 3 ชุดการทดลอง (p<0.05) โดยน้้าหนักรวม ของสาหร่ายในชุดการทดลองที่ 3 และ 2 มีค่าเท่ากับ 1324.7 และ 905.4 กรัม ตามล้าดับและมากกว่าชุดการ ทดลองที่ 1 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 530.1 กรัม อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลผลิตของสาหร่ายชุดการทดลอง ที่ 3 มากกว่า 2 และ 1 และมีค่าเท่ากับ 720.6, 492.8 และ 314.4 กรัม/4 สัปดาห์ ตามล้าดับ แต่ชุดการ ทดลองที่ 1 มีอัตราการเจริญเติบโตทั้งแบบจ้าเพาะและแบบน้้าหนักที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 3.21%/วัน และ 145.69% ของน้้าหนักเริ่มต้น ตามล้าดับ(p<0.05)การทดลองย่อยที่ 3ศึกษาความหนาแน่นที่ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงแบบแนวดิ่ง ประกอบด้วยชุดการทดลองที่ 1,2 และ 3 มีอัตราความหนาแน่นสาหร่ายเท่ากับ 0.8,1.6 และ 2.4กิโลกรัม/ ตารางเมตร โดยเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรน้้าหนักเริ่มต้น 200, 400 และ 600 กรัม ตามล้าดับ บนตาข่ายอวนที่


แขวนในแนวดิ่งซึ่งผูกยึดกับกรอบขนาด50x50เซนติเมตรเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ผลการทดลองพบว่ามีความ แตกต่างของน้้าหนักสาหร่ายและผลผลิตระหว่างชุดการทดลองอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (p<0.05) สาหร่ายใน ชุดการทดลองที่ 3 มีน้้าหนักรวมมากที่สุด รองลงมาเป็นชุดการทดลองที่ 2 และ 1 ตามล้าดับ (p<0.05) และมีค่าเท่ากับ 425.4, 754.7 และ 1182.3 กรัม ตามล้าดับ ในด้านของผลผลิตนั้นสาหร่ายชุดการทดลองที่ 3 มีปริมาณ ผลผลิตมากที่สุดและมีค่าเท่ากับ 578.7 กรัม/4 สัปดาห์ (p<0.05) ในขณะที่ชุดการทดลองที่ 1 และ 2 มีค่า ผลผลิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่สาหร่ายทั้ง 3 ชุดการทดลองไม่มีความแตกต่าง กันในด้านอัตราการเจริญเติบโตทั้ง 2 รายการ (p>0.05) โดยมีค่าอัตราการเจริญเติบโตจ้าเพาะและน้้าหนักที่ เพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 2.19-2.65 %ต่อวัน และ 84.81-109.89 %ของน้้าหนักเริ่มต้น ตามล้าดับ จากผลการทดลองสรุปได้ว่าการเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรแบบแผงแขวนแนวนอนโดยปลูกบนแผงตาข่าย พลาสติกขนาด 50x50 เซนติเมตร มีความเหมาะสมที่สุดเนื่องจากให้น้้าหนัก ผลผลิตและอัตราการ เจริญเติบโตดีที่สุด โดยมีผลผลิต 725 กรัมภายใน 4 สัปดาห์ และควรเลี้ยงที่อัตราความหนาแน่น 2.4 กิโลกรัม/ตารางเมตรเนื่องจากให้ผลผลิตมากที่สุด แต่อัตราความหนาแน่นที่สาหร่ายมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด เท่ากับ 0.8 กิโลกรัม/ตารางเมตร ในส่วนของการเลี้ยงแบบแนวดิ่งแบบปลูกบนแผงอวนตาข่ายพบว่า อัตรา ความหนาแน่นทั้ง 3 ระดับไม่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของสาหร่ายลิ้นมังกร ค าส าคัญ การเลี้ยงสาหร่าย สาหร่ายลิ้นมังกร ____________________________ *ผู้รับผิดชอบ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้าชายฝั่งเพชรบุรี ต.แหลมผักเบี้ย อ.บ้านแหลม จ. เพชรบุรี ๗๖๑๐๐ โทร. ๐ ๓๒๗๗ ๐๗๕๐ e-mail : [email protected]


Cultivationof Dragon’s tongue Seaweed (Halymenia durvilleiBory de Saint-Vincent, 1828) Montakan Tamtin1* Chatchawalee Chaisri1 BussabaTongdang1 and SuponTansuwan2 1 Phetchaburi Coastal Aquaculture Research and Development Center 2 Coastal Aquaculture Research and Development Division Abstract Suitable culture technique and density on total weight (grams), yield (grams/4 weeks) and specific growth rate (%/day) of dragon’ s tongue seaweed(Halymenia durvilleiBory de Saint-Vincent, 1828)were investigated for extension of commercial culture. There were 3 experiments designed as Completely Randomized Design (CRD)which each of themwas composed of 3 treatments each with 3 replications and was conducted in 5x4x1.5 metres concrete tank contained 25 ton of seawater.The experimental tank was equipped with aeration system and covered with60% sunscreen plastic sheet. In experiment 1,suitable culture techniques for growth and yield of the seaweed were studied. Seaweed were culture horizontally in plastic net, free floating culture in plastic cage and culture vertically on mesh net, namely treatment 1, 2 and3, respectively. The 400 grams initial weight of dragon’ s tongue seaweed was subjected into each experimental unit and cultured for 4 weeks.The results showed that yield and growth rate of seaweed in treatment 1 were equal to 1127.3 grams and 725 grams/4 weeks,respectively and these were significantly higher than those of treatment 2 and 3(p<0.05). Similar trend was obtained from specific growth rate and weight gainwhich were 3.68%/day and 180.33%, respectively.Treatment 2 were not significant difference from treatment 3 (p>0.05).In experiment 2, the suitable seaweed density on growth and yield of the dragon’s tongue seaweed culture horizontally were studied. Theseaweed density in treatment 1,2 and3 were0.8,1.6and 2.4kilograms/square metres, respectively.In treatment 1 to 3,the seaweed of200, 400 and600 grams initial weight were culture on 50x50 centimetres plastic net, respectively. It was found that there were significantly difference of total weight, yield and growth rate of the seaweed among treatments(p<0.05). Total weight of treatment 3 and 2 were 1324.7 and 905.4 grams and were significantly higher than that of treatment 1 which was 530.1 grams.Yield of treatment 3 was significantly higher than those of treatment 2 and 1 which were equal to 720.6, 492.8 and314.4 grams/4 weeks, respectively.On the contrary, the highest growth rate was obtained from treatment 1which were 3.21%/day and 145.69% (p<0.05). in experiment 3, study on the suitable density for growth and yield of dragon’ s tongue seaweedcultured vertically. Density of seaweed were the same as in the experiment 2 but the seaweed was


cultured on mesh net fixed on the 50x50centimeters frame. The results showed that there were significantly difference of total weight and yield of seaweed among treatments (p<0.05). Treatment 3 had the highest total weight, the second order was treatment 2 and 1(p<0.05) which were 425.4, 754.7 and1182.3 grams, respectively. Seaweed yield of treatment 3 was the highest and equal to578.7 grams/4 weeks(p<0.05). Never the less, all treatments were not significantly difference in both growth rate (p>0.05) and the specific growth rate and weight gain were in the range of 2.19-2.65 %/day and84.81-109.89%of initial weight, respectively. It can be concluded that the most suitable culture technique of dragon’ tongue seaweed was the horizontal culture where the seaweed was planted on 50x50 centimetres plastic net which the highest total weight, growth rate and 725 grams of yield were obtained within 4 weeks. The density of 2.4 kilograms/square meter resulted in the highest yield but 0.8 kilograms/square meter resulted in the highest growth rate. However, difference densities in vertical culture were not affect to dragon’s tongue seaweed growth rate. Key wordsSeaweed culture, Dragon’s tongue,Halymeniadurvillei ____________________ *Corresponding author : Phetchaburi Coastal Aquaculture Research and Development Center, Laem Pakbia Sub-district, Ban Laem District, Phetchaburi Province 76100 Tel. 032 770 750. Email: [email protected]


บทน า สาหร่ายทะเล (marine macroalgae หรือ seaweed) จัดเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายพืช ไม่มีราก ล้าต้น ใบ ที่แท้จริง ขยายพันธุ์และเจริญเติบโตด้วยการสร้างสปอร์และแบ่งตัวสามารถสังเคราะห์แสงได้จึงมีการใช้ รงควัตถุ อาหารสะสมและการจัดเรียงของ photosynthetic membranes เป็นต้น ในการจ้าแนกชนิดโดยมีการ จ้าแนกสาหร่ายออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามสีของสาหร่าย คือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้้าเงิน (blue-green algae) Phylum Cyanophyta (1500 ชนิด)สาหร่ายสีเขียว (green algae) Phylum Chlorophyta(1200 ชนิด) สาหร่าย สีแดง (red algae) Phylum Rhodophyta (6000 ชนิด)และสาหร่ายสีน้้าตาล (brown algae) Phylum Ochrophyta (1750 ชนิด) โดยสาหร่าย สีแดงมีจ้านวนชนิดมากที่สุด (Kiling et al., 2013) แต่ทั่วโลกมีการใช้ประโยชน์จากสาหร่ายทะเลเพียงแค่ 221 ชนิด (Pereira, 2001) ทั้งนี้สาหร่ายทะเลมี คุณประโยชน์มากมายทั้งต่อระบบนิเวศน์ในทะเลและมนุษย์ มนุษย์รู้จักการบริโภคสาหร่ายทะเลมาเป็น เวลานานกว่า 4000 ปีโดยพบว่าประเทศญี่ปุ่นมีการน้าสาหร่ายมาบริโภคตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 4 และประเทศจีน ในศตวรรษที่ 6 ก่อนแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่น จีนและเกาหลีเป็นชนชาติที่บริโภค สาหร่ายทะเลมากที่สุด ต่อมาในศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มมีการศึกษาวิจัยสารสกัดจากสาหร่ายทะเลไปใช้ประโยชน์ ในด้านอุตสาหกรรม ทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร เวชส้าอางค์ และเวชภัณฑ์ยาหลายชนิด ประมาณการณ์ว่า อุตสาหกรรมสาหร่ายทะเลมีมูลค่าสูงถึง 5.5-6 พันล้านเหรียญต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมูลค่าจากผลิตภัณฑ์ อาหารนอกเหนือจากนั้นเป็นการน้าไปเป็นปุ๋ยและอาหารสัตว์ คาดว่าปริมาณสาหร่ายที่น้ามาใช้ใน อุตสาหกรรมดังกล่าวสูงถึง 7.5-8 ล้านตันต่อปี โดยมีแหล่งที่มาจากทั้งที่เก็บเกี่ยวจากธรรมชาติและจากการ เลี้ยง ซึ่งมากกว่า 90% เป็นผลผลิตสาหร่ายทะเลจากการเพาะเลี้ยงที่นับวันมีการขยายตัวมากขึ้นเพื่อรองรับ ความต้องการสาหร่ายที่มากเกินกว่าก้าลังผลิตจากธรรมชาติ (McHugh, 2003) ในปี ค.ศ. 2012 ผลผลิต สาหร่ายทะเลทั่วโลกมีประมาณ 19 ล้านตันน้้าหนักแห้ง เป็นสาหร่ายทะเลสีแดงมากที่สุด 11 ล้านตันน้้าหนัก แห้ง ซึ่งผลผลิตสาหร่ายทะเลส่วนใหญ่มาจากประเทศในแถบเอเชีย(ระพีพร,2560) สาหร่ายทะเลที่เพาะเลี้ยงในประเทศไทยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ สาหร่ายทะเลกลุ่มสีเขียวและสีแดง ชนิดที่มีการเพาะเลี้ยงและน้ามาใช้ประโยชน์ ได้แก่ สกุล CaulerpaUlva และ Gracilaria (ระพีพร,2560) กรมประมงได้ริเริ่มโครงการเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลเพื่อการขยายผลเชิงพาณิชย์ในช่วงปลายปี2556 โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรีในขณะนั้นได้พัฒนาเทคนิคการเลี้ยงและกระบวนการจัดการหลัง การเก็บเกี่ยวจนได้สาหร่ายที่คุณภาพดีและมีปริมาณมาก(คมน์และคณะ, มปป; มนทกานติ 2556) จนสามารถ ส่งเสริมเป็นอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและมีการบริโภคแพร่หลายขึ้น ตลอดจนขยายผลไปสู่การวิจัย เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องส้าอางค์ส่งผลให้ปัจจุบันมีการตื่นตัวในเรื่องการศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงและการ ใช้ประโยชน์จากสาหร่ายทะเลกว้างขวางยิ่งขึ้น ส้าหรับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้้าชายฝั่ง เพชรบุรี เป็นหนึ่งในหน่วยงานของกรมประมงที่มีการศึกษาวิจัยด้านสาหร่ายทะเล ทั้งในด้านการเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์สาหร่ายทะเลที่มีศักยภาพชนิดใหม่ การน้าไปใช้ประโยชน์ทั้งในด้านเป็นอาหารมนุษย์ อาหารสัตว์ เป็นต้น สาหร่ายที่น้ามาศึกษาในครั้งนี้ คือ สาหร่ายลิ้นมังกร(Halymenia durvillei) ผู้วิจัยได้น้าสาหร่ายชนิด นี้มาเพาะขยายพันธุ์ในบ่อปูนตั้งแต่ปี 2545 โดยพบว่าสามารถเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้ง่าย มีความทนทาน แต่ข้อมูลด้านเทคนิคการเลี้ยงยังมีน้อยการสืบค้นข้อมูลด้านการศึกษาวิจัยในต่างประเทศเพิ่งเริ่มปรากฏว่ามี การเริ่มต้นศึกษาในช่วงไม่กี่ปีมานี้(Tan et al. 2015) สาหร่ายลิ้นมังกรจัดอยู่ในกลุ่มสาหร่ายสีแดง ครอบครัว Halymeniaceae สกุล Halymenia มีทัลลัสแผ่เป็นแผ่นกว้าง รากยึดเกาะขนาดเล็ก แตกแขนงได้หลายครั้งในระนาบเดียวกัน การแตกแขนงครั้ง แรกเป็นแบบนิ้วมือ การแตกแขนงครั้งที่ 2 เป็นแบบสลับที่ไม่ค่อยเป็นระเบียบ แขนงยอดหรือส่วนปลาย จะลด


ขนาดลงตามล้าดับ แขนงยอดสุดท้ายปลายแหลม ทัลลัสสีแดงเข้ม และมีเมือกลื่นมือ ขึ้นบนก้อนหินต่้ากว่า ระดับน้้าลงต่้าสุด (Lewmanomont and Ogawa, 1995) สาหร่ายในสกุลนี้พบแพร่กระจายในแถบร้อน (tropical) และอบอุ่น (subtropical) (Gargiuloet al., 1986; Kawaguchi and Lewmanomont, 1999) และจัดว่าเป็นสกุลที่ ใหญ่ที่สุดในครอบครัว Halymeniaceaeมีหลายชนิดและที่ค้นพบมีมากถึง 69 ชนิด(De Smedtet al. 2001; Guiry and Guiry, 2014) แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเนื่องจากข้อมูลที่มีจ้ากัด (Tan et al., 2015) อย่างไรก็ ตาม กาญจนภาชน์ (2521) รายงานว่าสาหร่ายชนิดนี้มีการรับประทานในประเทศฟิลิปปินส์และฮาวาย สาหร่ายชนิดนี้จึงมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ประเทศฟิลิปปินส์ได้เริ่มวิจัยศึกษาเทคนิคการเพาะเลี้ยงสาหร่าย ชนิดนี้เนื่องจากปริมาณในธรรมชาติที่ลดลงในปี ค.ศ. 2015 สาหร่ายทะเลโดยทั่วไป รวมทั้งสาหร่ายสีแดงนอกจากจะเป็นแหล่งของรงควัตถุ อุดมด้วยวิตามิน เอ อี ซี และไนอะซินแล้ว ยังมีคาร์โบไฮเดรตในรูป polysaccharide ในปริมาณที่สูง ซึ่งสารสกัดเช่น วุ้น (agar) และคาราจีแนน (carrageenan) น้ามาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องส้าอาง ยา และสิ่งทอ (กาญจนภาชน์ และคณะ, 2550) ทั้งนี้ปริมาณและองค์ประกอบทางเคมีของสาหร่ายอาจมีความผันแปรตาม สภาพแวดล้อมและหลายปัจจัย (Marinho-Soriano etal., 2006)การศึกษาปัจจัยแวดล้อมในการเพาะเลี้ยง สาหร่ายลิ้นมังกร เช่น รูปแบบและความหนาแน่นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต เพื่อให้สามารถเลี้ยงสาหร่าย ลิ้นมังกรได้อย่างเต็มศักยภาพและพัฒนาวิธีการเลี้ยงเป็นเชิงพาณิชย์ จึงเป็นสิ่งจ้าเป็นส้าหรับการน้าสาหร่าย ลิ้นมังกรไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อทราบรูปแบบการเลี้ยง และความหนาแน่นที่เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ สาหร่ายลิ้นมังกร วิธีด าเนินการ 1. แบบแผนการทดลอง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design,CRD)แบ่งออกเป็น 3 การทดลองย่อยดังนี้ การทดลองย่อยที่ 1ศึกษารูปแบบการเลี้ยงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสาหร่ายลิ้น มังกรเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ประกอบด้วย 3 ชุดการทดลอง ชุดการทดลองละ 3 ซ้้า ดังนี้ ชุดการทดลองที่ 1 เลี้ยงแบบแผงแนวนอน ปลูกสาหร่ายบนแผงตาข่ายพลาสติกขนาด 50x50 เซนติเมตร ชุดการทดลองที่ 2 เลี้ยงแบบลอยในกระชัง ปลูกสาหร่ายแบบลอยอิสระในกระชังพลาสติกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ชุดการทดลองที่ 3 เลี้ยงแบบแขวนแนวดิ่ง ปลูกสาหร่ายกับแผงเชือกในแนวดิ่งที่ยึดติดกับโครงขนาด 50x50เซนติเมตร


การทดลองย่อยที่ 2 ศึกษาความหนาแน่นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสาหร่ายลิ้น มังกรที่เลี้ยงแบบแนวนอน บนแผงตาข่ายพลาสติกขนาด 50x50 เซนติเมตรเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ประกอบด้วย 3 ชุดการทดลอง ชุดการทดลองละ 3 ซ้้าดังนี้ ชุดการทดลองที่ 1 ความหนาแน่นเริ่มต้น0.8กิโลกรัม/ตารางเมตร ชุดการทดลองที่ 2 ความหนาแน่นเริ่มต้น1.6กิโลกรัม/ตารางเมตร ชุดการทดลองที่ 3 ความหนาแน่นเริ่มต้น2.4กิโลกรัม/ตารางเมตร การทดลองย่อยที่ 3 ศึกษาความหนาแน่นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสาหร่ายลิ้น มังกรที่เลี้ยงแบบแนวดิ่ง บนตาข่ายอวนที่แขวนในแนวดิ่งผูกยึดกับกรอบขนาด50x50เซนติเมตรเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ประกอบด้วย 3 ชุดการทดลอง ชุดการทดลองละ 3 ซ้้า ดังนี้ ชุดการทดลองที่ 1 ความหนาแน่นเริ่มต้น 0.8กิโลกรัม/ตารางเมตร ชุดการทดลองที่ 2 ความหนาแน่นเริ่มต้น 1.6กิโลกรัม/ตารางเมตร ชุดการทดลองที่ 3 ความหนาแน่นเริ่มต้น 2.4กิโลกรัม/ตารางเมตร 2. การเตรียมระบบทดลอง สูบน้้าทะเลความเค็ม 30 ส่วนในพันจากบ่อพักน้้าชีวภาพที่มีการตกตะกอนของน้้าทะเล ธรรมชาติในเบื้องต้น มาใส่ในบ่อคอนกรีตขนาด 5x4x1.5 เมตร บรรจุน้้าทะเล 25 ตัน ซึ่งมีการให้อากาศ ต่อเนื่อง พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์การให้อากาศแบบยกน้้า (airlift) โดยใช้ท่อพีวีซีเพื่อให้มีการเคลื่อนที่ของน้้าใน บ่อมีพลาสติกพรางแสง 60% เป็นหลังคาคลุม เพื่อให้ได้รับแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย 3. การจัดการและด าเนินการทดลอง การทดลองย่อยที่ 1ศึกษารูปแบบการเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรที่เหมาะสม ชุดการทดลองที่ 1เลี้ยงแบบแนวนอน ใช้ท่อร้อยสายไฟขนาด 3 หุน ท้าเป็นกรอบสี่เหลี่ยมขนาด50x50 เซนติเมตร และเย็บตาข่าย พลาสติกขนาดตา 1 เซนติเมตรจากนั้นชั่งสาหร่ายลิ้นมังกรแล้วน้าไปผูกในแผงจ้านวน 5 จุดต่อแผง แผงละ 400 กรัมหรือความหนาแน่นเริ่มต้น 1.6 กิโลกรัม/ตารางเมตร จ้านวน 3 แผง(ภาพที่1) ชุดการทดลองที่ 2 เลี้ยงในกระชัง ใช้ท่อร้อยสายไฟขนาด 3 หุน ท้าเป็นกรอบสี่เหลี่ยมขนาด50x50 เซนติเมตร และเย็บตาข่าย พลาสติกขนาดตา 1 เซนติเมตร ท้าเป็นกระชังสี่เหลี่ยมขนาด 50x50x50 เซนติเมตรจากนั้นชั่งสาหร่ายลิ้น มังกร ลงทดลองในกระชัง กระชังละ 400 กรัม จ้านวน 3 กระชัง (ภาพที่ 2) ชุดการทดลองที่ 3 เลี้ยงแบบแนวดิ่ง ใช้ท่อร้อยสายไฟขนาด 3 หุน ท้าเป็นกรอบสี่เหลี่ยมขนาด 50x50 เซนติเมตร และน้าตาข่ายอวน ขนาดตา 1 นิ้ว ความกว้าง 8 ซม.ความยาว 50 ซม. มาผูกติดกับกรอบสี่เหลี่ยมทั้งหมด 5 เส้นจากนั้นชั่ง สาหร่ายลิ้นมังกรจ้านวน 400 กรัม แล้วน้าไปผูกที่อวนตาข่าย โดยแต่ละเส้นจะผูกสาหร่ายเส้นละ 2 จุด จุด แรกห่างจากกรอบด้านบน 15 ซม. จุดที่ 2 ห่างจากจุดแรก 15 ซม. (ภาพที่ 3)


ภาพที่ 1 แผงพลาสติก ขนาด 50x50 เซนติเมตร ภาพที่ 2 กระชังพลาสติก ขนาด 50x50x50เซนติเมตร ภาพที่ 3 กรอบขนาด 50x50 เซนติเมตร ส้าหรับผูกยึดสาหร่ายกับตาข่ายในแนวดิ่ง (long line) การทดลองย่อยที่ 2 ศึกษาความหนาแน่นที่เหมาะสมของสาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงแบบแนวนอนบนแผงตาข่าย พลาสติก


เตรียมแผงเลี้ยงเช่นเดียวกับชุดการทดลองที่ 1 ในการทดลองย่อยที่ 1 เป็นแผงพลาสติกขนาด 50x50เซนติเมตร น้าสาหร่ายลิ้นมังกรไปปลูกเลี้ยงที่อัตราความหนาแน่นเริ่มต้นต่างกัน3 ระดับเท่ากับ0.8, 1.6 และ 2.4 กิโลกรัมต่อตารางเมตรโดยชั่งสาหร่ายลิ้นมังกรแล้วน้าไปผูกบนแผงจ้านวน 5 จุดต่อแผง ชุดการ ทดลองละ 3 แผง โดยมีน้้าหนักรวมต่อแผงเท่ากับ 200, 400 และ 600 กรัมในชุดการทดลองที่ 1, 2 และ 3 ตามล้าดับ การทดลองย่อยที่ 3 ศึกษาความหนาแน่นที่เหมาะสมของสาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงแบบแนวดิ่งบนอวนตาข่าย เตรียมวัสดุเลี้ยงแบบ long line แต่ละชุดท้าด้วยอวนตาข่ายจ้านวน 5 เส้น ผูกยึดกับโครงท่อ พลาสติกขนาด 50x50เซนติเมตรโดยชั่งน้้าหนักสาหร่ายให้มีน้้าหนักรวมต่อชุดเท่ากับ 200, 400 และ 600 กรัมในชุดการทดลองที่ 1, 2 และ 3 ตามล้าดับ แบ่งสาหร่ายแต่ละชุดไปปลูกบนเส้นอวนตาข่ายทั้ง 5 เส้น เส้น ละ 2 จุด จุดแรกห่างจากกรอบด้านบน 15 ซม. จุดที่ 2 ห่างจากจุดแรก 15 ซม. มีน้้าหนักสาหร่ายรวมต่อเส้น เส้นเท่ากับ 40, 80 และ 120 กรัม ในชุดการทดลองที่ 1, 2 และ 3 ตามล้าดับ 4. การเก็บข้อมูล 1) เก็บและวิเคราะห์คุณภาพน้้าระหว่างการเลี้ยงสาหร่ายทุกสัปดาห์ เวลา 8.00 – 9.00 น. โดย ค่าที่ตรวจวัดได้แก่ ความเค็ม พีเอช ความเป็นกรดด่าง ความเป็นด่าง แอมโมเนียรวม ไนไตรท์ ฟอสเฟต และ ความเข้มแสง 2)ชั่งน้้าหนักสาหร่าย เพื่อหาผลการเจริญเติบโตของสาหร่ายทุกสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์โดยเก็บเกี่ยวสาหร่ายครั้งเดียวเมื่อสิ้นสุดการทดลอง 5. การวิเคราะห์ข้อมูล น้าค่าต่างๆ ได้แก่ ผลผลิตโดยน้้าหนักสด อัตราการเจริญเติบโตโดยน้้าหนักที่เพิ่มขึ้น (%) อัตราการ เจริญเติบโตรายวัน (กรัมต่อวัน) (average daily growth rate; ADG) และอัตราการเจริญเติบโตรายเดือน (กรัมต่อเดือน) วิเคราะห์ทางสถิติโดยวิเคราะห์หาค่าความแปรปรวนแบบแบบทางเดียว (One Way Analysis of Variance; One Way ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างแต่ละชุดการทดลองด้วยวิธี Tukey’s Test (Sokal and Rohlf, 1981) ผลการทดลอง การทดลองย่อยที่ 1รูปแบบการเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรที่เหมาะสม ผลการทดลองเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกร 3 รูปแบบเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าเริ่มมีความแตกต่างของ น้้าหนักรวมสาหร่ายระหว่างชุดการทดลองตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 เป็นต้นไป (p<0.05) และเมื่อเลี้ยงครบ 4 สัปดาห์ พบว่าสาหร่ายในชุดการทดลองที่ 1 มีผลผลิตและการเจริญเติบโตมากกว่าการเลี้ยงแบบชุดการทดลองที่ 2 และ3 อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีน้้าหนักรวมเท่ากับ 1127.3 กรัม คิดเป็นผลผลิต 725 กรัม/4 สัปดาห์ เช่นเดียวกับอัตราการเจริญเติบโตจ้าเพาะที่มีค่า 3.68%/วัน และน้้าหนักที่เพิ่มขึ้น 180.33% ของ น้้าหนักเริ่มต้น ส่วนการเลี้ยงแบบชุดการทดลองที่ 2 และ 3 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ผลการ ทดลองแสดงในตารางที่ 1, 2 และภาพที่ 4 ตารางที่ 1 น้้าหนักของสาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงด้วยรูปแบบต่างๆ กัน นาน 4 สัปดาห์


ชุดทดลอง น้้าหนัก (กรัม) สัปดาห์ที่ เริ่มต้น 1 2 3 4 1 เลี้ยงแบบแนวนอน 402.1±2.7a 462.9±9.7a 615.7±24.8a 829.9±24.9a 1127.3±43.8a 2 เลี้ยงแบบในกระชัง 405.5±2.6a 445.5±26.0a 526.1±18.2b 588.8±33.8c 726.5±101.3b 3 เลี้ยงแบบแนวดิ่ง 408.1±2.2a 492.9±22.2a 574.2±34.1ab 692.5±37.6b 870.6±96.1b หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในคอลัมภ์เดียวกันแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยส้าคัญทางสถิติ (p>0.05) ตารางที่ 2 ผลผลิตและอัตราการเจริญเติบโตของสาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงด้วยรูปแบบต่างๆ กัน นาน 4 สัปดาห์ ชุดทดลอง ผลผลิต อัตราการเจริญเติบโต จ้าเพาะ อัตราการเจริญเติบโตโดย น้้าหนักที่เพิ่มขึ้น กรัมต่อเดือน (%ต่อวัน) (%) 1 เลี้ยงแบบแนวนอน 725.2±41.3a 3.68±0.12a 180.33±9.14a 2 เลี้ยงแบบในกระชัง 321.0±101.0b 2.06±0.48b 79.16±24.88b 3 เลี้ยงแบบแนวดิ่ง 462.5±97.6b 2.69±0.40b 113.40±24.44b หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในคอลัมภ์เดียวกันแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยส้าคัญทางสถิติ (p>0.05) การทดลองย่อยที่ 2 ความหนาแน่นที่เหมาะสมของสาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงแบบแนวนอนบนแผงตาข่าย พลาสติก 0 200 400 600 800 1000 1200 1400 เริ่มต้น 1 2 3 4 น้้าหนักสาหร่าย (กรัม) อายุการเลี้ยง (สัปดาห์ที่) เลี้ยงบนแผงแนวนอน เลี้ยงลอยอิสระในกระชัง เลี้ยงบนอวนตาข่ายแนวดิ่ง ภาพที่ 4 น้้าหนักของสาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงด้วยรูปแบบต่างๆ กัน นาน 4 สัปดาห์


ทดลองเปรียบเทียบการเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรแบบปลูกบนแผงตาข่ายแขวนในแนวนอนที่อัตราความ หนาแน่นต่างกัน 3 ระดับ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติทั้งน้้าหนัก ผลผลิตและอัตราการ เจริญเติบโตของสาหร่ายลิ้นมังกรระหว่างความหนาแน่นทั้ง 3 ชุดการทดลอง (p<0.05) ทั้งนี้น้้าหนักรวมของ สาหร่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอัตราความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้น และพบว่าเมื่อสิ้นสุดการทดลองผลผลิตของ สาหร่ายชุดการทดลองที่ 3 มากกว่า 2 และ 1 โดยมีค่าเท่ากับ 720.6, 492.8 และ 314.4 กรัม ตามล้าดับ แต่ เมื่อพิจารณาอัตราการเจริญเติบโต พบว่าสาหร่ายในชุดการทดลองที่ 1 มีอัตราการเจริญเติบโตทั้งแบบจ้าเพาะ และแบบน้้าหนักที่เพิ่มขึ้นสูงสุด (p<0.05) โดยโตเร็วกว่าสาหร่ายในชุดการทดลองที่ 2 และ 3 ผลการทดลอง แสดงในตารางที่ 3, 4 และภาพที่ 5 ตารางที่ 3 น้้าหนักของสาหร่ายลิ้นมังกรเลี้ยงแบบแผงแนวนอนที่อัตราความหนาแน่นต่างๆ กัน 3 ระดับ นาน 4 สัปดาห์ ชุดทดลอง อัตราความหนาแน่น (กิโลกรัมต่อตารางเมตร) น้้าหนัก (กรัม) สัปดาห์ที่ เริ่มต้น 1 2 3 4 1 0.8 215.7±2.9c 238.2±7.5b 274.8±12.3b 387.2±19.5b 530.1±17.3b 2 1.6 412.7±3.0b 459.6±2.9a 542.7±3.4a 674.7±0.3a 905.4±11.6a 3 3.2 604.1±6.9a 666.0±10.2a 783.9±14.6a 980.3±8.1a 1324.7±12.3a หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในคอลัมภ์เดียวกันแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยส้าคัญทางสถิติ (p>0.05) ตารางที่ 4 ผลผลิตและอัตราการเจริญเติบโตของสาหร่ายลิ้นมังกรเลี้ยงแบบแผงแนวนอน ที่อัตราความหนาแน่นต่างๆ กัน 3 ระดับ นาน 4 สัปดาห์ ชุดทดลอง อัตราความหนาแน่น (กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ผลผลิต อัตราการเจริญเติบโต จ้าเพาะ อัตราการเจริญเติบโตโดย น้้าหนักที่เพิ่มขึ้น กรัมต่อเดือน (%ต่อวัน) (%) 1 0.8 314.4±15.2c 3.21±0.09a 145.69±5.88a 2 1.6 492.8±8.8b 2.82±0.00b 120.08±0.19b 3 3.2 720.6±5.9a 2.80±0.01b 119.08±0.54b หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในคอลัมภ์เดียวกันแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยส้าคัญทางสถิติ (p>0.05)


การทดลองย่อยที่ 3 ความหนาแน่นที่เหมาะสมของสาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงแบบแนวดิ่งบนอวนตาข่าย ผลการทดลองเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรแบบแขวนแผงอวนตาข่ายในแนวดิ่งพบว่า มีความแตกต่างของ น้้าหนักสาหร่ายและผลผลิตระหว่างชุดการทดลองอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยน้้าหนักรวมมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอัตราความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้นชุดการทดลองที่ 3 มีน้้าหนักรวมรายสัปดาห์มากที่สุด รองลงมาเป็นชุดการทดลองที่ 2 และ 1 ตามล้าดับ (p<0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลองชุดการทดลองที่ 1-3 มี น้้าหนักรวมสาหร่ายเท่ากับ 425.4, 754.7 และ 1182.3 กรัม ตามล้าดับและชุดการทดลองที่ 3 มีปริมาณ ผลผลิตมากที่สุดเท่ากับ 578.7 กรัม/4 สัปดาห์ (p<0.05) ในขณะที่ชุดการทดลองที่ 1 และ 2 มีผลผลิตสาหร่ายไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่สาหร่ายทั้ง 3 ชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันในด้านอัตราการเจริญเติบโตทั้ง 2 รายการ (p>0.05) โดยมีค่าอัตราการเจริญเติบโตจ้าเพาะและน้้าหนักที่เพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 2.19-2.65 %ต่อวัน และ 84.81-109.89 %ของน้้าหนักเริ่มต้น ตามล้าดับ ดังตารางที่ 5, 6 และ ภาพที่ 6 ตารางที่ 5 น้้าหนักของสาหร่ายลิ้นมังกรเลี้ยงแบบแขวนแนวดิ่งที่อัตราความหนาแน่นต่างๆ กัน 3 ระดับ ชุดทดลอง อัตราความหนาแน่น (กิโลกรัมต่อตารางเมตร) น้้าหนัก (กรัม) สัปดาห์ที่ เริ่มต้น 1 2 3 4 1 0.8 202.7±1.3c 222.9±3.3c 254.2±4.8c 317.4±6.7c 425.4±20.8c 2 1.6 408.4±1.8b 455.7±6.3b 507.6±8.9b 600.2±24.8b 754.7±48.6b 0.00 200.00 400.00 600.00 800.00 1000.00 1200.00 1400.00 เริ่มต้น 1 2 3 4 น้้าหนักสาหร่าย (กรัม) อายุการเลี้ยง (สัปดาห์ที่) เลี้ยงบนแผงแนวนอน อัตราความหนาแน่น 0.8 กก./ตร.ม. อัตราความหนาแน่น 1.6 กก./ตร.ม. อัตราความหนาแน่น 3.2 กก./ตร.ม. ภาพที่ 5 น้้าหนักของสาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงแบบแผงแนวนอนที่อัตราความหนาแน่นต่างๆ กัน 3 ระดับ นาน 4 สัปดาห์


3 3.2 603.6±0.4a 674.6±12.6a 772.0±26.6a 929.5±46.5a 1182.3±86.6a หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในคอลัมภ์เดียวกันแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยส้าคัญทางสถิติ (p>0.05) ตารางที่ 6 ผลผลิตและอัตราการเจริญเติบโตของสาหร่ายลิ้นมังกรเลี้ยงแบบแขวนแนวดิ่ง ที่อัตราความหนาแน่นต่างๆ กัน 3 ระดับ นาน 4 สัปดาห์ ชุดทดลอง อัตราความหนาแน่น (กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ผลผลิต อัตราการเจริญเติบโต จ้าเพาะ อัตราการเจริญเติบโตโดย น้้าหนักที่เพิ่มขึ้น กรัมต่อเดือน (%ต่อวัน) (%) 1 0.8 222.8±19.5b 2.65±0.15a 109.89±8.95a 2 1.6 346.3±50.2b 2.19±0.25a 84.81±12.60a 3 3.2 578.7±86.9a 2.39±0.27a 95.89±14.43a หมายเหตุ : ตัวอักษรที่เหมือนกันในคอลัมภ์เดียวกันแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยส้าคัญทางสถิติ (p>0.05) 0.00 200.00 400.00 600.00 800.00 1000.00 1200.00 1400.00 เริ่มต้น 1 2 3 4 น้้าหนักสาหร่าย (กรัม) อายุการเลี้ยง (สัปดาห์ที่) เลี้ยงบนอวนตาข่ายแนวดิ่ง ความหนาแน่น 0.8 กก./ตร.ม. ความหนาแน่น 1.6 กก./ตร.ม. ความหนาแน่น 3.2 กก./ตร.ม. ภาพที่ 6 น้้าหนักของสาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงแบบแขวนแนวดิ่งที่อัตราความหนาแน่นต่างๆ กัน 3 ระดับ นาน 4 สัปดาห์


สรุปและวิจารณ์ผลการทดลอง สาหร่ายลิ้นมังกร(Halymenia durvillei Bory de Saint-Vincent, 1828)เป็นสาหร่ายทะเลหนึ่งใน อีกหลายชนิดที่รับประทานได้ (กาญจนภาชน์,2521) แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทย จัดว่าเป็น สาหร่ายทะเลชนิดใหม่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่อาจน้ามาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องส้าอางค์ เวชภัณฑ์ยา และอุตสาหกรรมอาหาร นอกเหนือจากการน้าไปบริโภคได้เช่นเดียวกับสาหร่ายทะเลชนิดอื่นๆ โดยสาหร่ายใน Genus Halymeniaนี้พบว่าแพร่กระจายทั่วไปโดยเฉพาะในเขต tropical และ subtropical ในอินโดจีน Indo-west pacific มีรายงานพบมากกว่า20 ชนิด ญี่ปุ่นบริโภคสาหร่ายชนิดนี้ในรูปแบบสลัดและซุป (www.pressreader.com/ph/phillipines/sunstar_davao/20150601/261775627762536) รายงาน การศึกษานี้นับได้ว่าเป็นรายงานฉบับแรกของประเทศไทยที่ศึกษาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรเพื่อ ขยายผลเชิงพาณิชย์ โดยเป็นการศึกษารูปแบบการเลี้ยงและอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมในระบบการเลี้ยง บนบ่อปูน การทดลองย่อยที่ 1 รูปแบบการเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรที่เหมาะสม สาหร่ายลิ้นมังกรมีลักษณะเป็นเมือกลื่นและมีน้้าหนัก การเลี้ยงแบบปลูกบนแผงตาข่ายช่วยรองรับ น้้าหนักและท้าให้สาหร่ายได้รับแสงอย่างทั่วถึง จึงมีอัตราการเจริญเติบโตและได้ผลผลิตที่ดีกว่าการเลี้ยงอีก 2 รูปแบบ คือการเลี้ยงแบบลอยอิสระในกระชัง ซึ่งอาจจะท้าให้สาหร่ายลงไปกองอยู่ที่ก้นกระชัง ส่วนการเลี้ยง แบบแขวนแนวดิ่ง เมื่อสาหร่ายโตขึ้น ท้าให้หลุดออกจากแผงเลี้ยงเนื่องจากสาหร่ายชนิดนี้มีรากยึดเกาะขนาด เล็ก อีกทั้งการได้รับแสง อาจไม่ทั่วถึง ดังจะเห็นได้จากน้้าหนักในสัปดาห์ที่ 2 ยังไม่แตกต่างจากสาหร่ายที่เลี้ยงแบบแผงแนวนอน แต่มี น้้าหนักลดลงเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการเลี้ยงแบบ long line ของสาหร่ายชนิดอื่น นั้นจะมีการปรับเปลี่ยนระดับเชือกให้ขึ้นมาใกล้ผิวน้้าเป็นระยะๆ ตลอดช่วงเวลาการเลี้ยงเพื่อให้สาหร่ายได้รับ แสงอย่างทั่วถึงตามฤดูกาลที่เปลี่ยนไปและตามการเจริญเติบโตของสาหร่าย ดังในกรณีการเลี้ยงสาหร่าย Laminaria หรือ Kombu แบบแขวนแนวดิ่งนั้น จะมีการทะยอยปรับระดับเชือก long line เส้นหลักจาก ความลึก 2 เมตรจากผิวน้้า จนมีความลึกจากผิวน้้าเพียง 0.5 เมตร ร่วมกับการน้าปลายเชือกของเส้นต้นพันธุ์ สาหร่ายมาผูกยึดกับเส้นหลักเมื่อสาหร่ายมีการเติบโตได้ระดับหนึ่ง เพื่อให้สาหร่ายได้รับแสงทั่วถึง (Kawashima, 1993) จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ารูปแบบการเลี้ยงที่ดีที่สุดคือการเลี้ยงแบบปลูกบนแผงนั้นให้น้้าหนักรวม เท่ากับ 1127.3 กรัมจากน้้าหนักเริ่มต้น 400 กรัม คิดเป็นผลผลิต 725 กรัม/4 สัปดาห์ และมีอัตราการ เจริญเติบโตจ้าเพาะเท่ากับ 3.68%/วัน และน้้าหนักที่เพิ่มขึ้น 180.33% ของน้้าหนักเริ่มต้น เมื่อเปรียบเทียบ กับสาหร่ายพวงองุ่นซึ่งเป็นสาหร่ายกลุ่มสีเขียวที่มีการเลี้ยงในรูปแบบเดียวกันนั้น พบว่าสาหร่ายลิ้นมังกร จัดเป็นสาหร่ายที่มีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า ในขณะที่สาหร่ายพวงองุ่นให้ผลผลิตถึง 10 กิโลกรัมและน้ามา ตัดแต่งได้ 5 กิโลกรัมจากน้้าหนักเริ่มต้น 500 กรัมเมื่อเลี้ยงเป็นระยะเวลา 30-45 วันในระบบบ่อดิน เทียบเท่า อัตราการเจริญเติบโตจ้าเพาะ10%/วันในระบบบ่อดินแต่หากเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นในระบบบ่อปูนจะใช้ระยะ เวลานานกว่าเป็น 2 เท่าของการเลี้ยงในระบบบ่อดิน (มนทกานติ 2556)ทั้งนี้การเลี้ยงในระบบบ่อปูนมี สารอาหารน้อยกว่าในบ่อดิน หากต้องการให้สาหร่ายลิ้นมังกรมีการเจริญเติบโตเร็วขึ้นอาจต้องมีการเสริม สารอาหารหรือปุ๋ย เพิ่มอัตราการไหลของน้้า และการให้อากาศที่แรงขึ้น เช่น การเลี้ยงสาหร่ายสกุล Gracilaria ในถัง (Critchley 1993)


การเลี้ยงแบบลอยอิสระในกระชังของการศึกษาครั้งนี้ ให้ผลผลิตและการเจริญเติบโตไม่ดีซึ่งไม่ แตกต่างจากการเลี้ยงแบบแขวนในแนวดิ่ง เนื่องจากสาหร่ายชนิดนี้มีรากขนาดเล็ก ไม่ยึดเกาะกับกระชัง อีกทั้ง ระบบให้อากาศไม่สามารถท้าให้เกิดกระแสน้้าที่ท้าให้สาหร่ายหมุนเวียนในกระชังที่เป็นตาข่ายได้ จึงเป็น สาเหตุให้สาหร่ายไปกองรวมกันที่ก้นกระชัง ไม่สามารถลอยขึ้นมารับแสงได้ นอกจากนี้การเลี้ยงแบบลอยอิสระ มักด้าเนินการในถังเลี้ยงทรง U หรือ V shape พร้อมระบบให้อากาศที่ช่วยให้สาหร่ายมีการหมุนเวียนขึ้นมา รับแสงได้ ดังเช่นการเลี้ยงสาหร่ายผมนาง (Critchley 1993)อีกทั้งการทดลองเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรใน การศึกษาครั้งนี้มีระยะเวลาเพียง 4 สัปดาห์ จึงไม่มีการทยอยเก็บเกี่ยวสาหร่ายเพื่อรักษาระดับอัตราความ หนาแน่น ดังนั้นปัจจัยด้านความหนาแน่นจึงอาจมีผลต่อการได้รับแสงของสาหร่ายที่เลี้ยงในรูปแบบต่างๆ กัน การทดลองย่อยที่ 2 ความหนาแน่นที่เหมาะสมของสาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงแบบแนวนอนบนแผงตาข่าย พลาสติก การเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรแบบปลูกบนแผงตาข่ายแขวนในแนวนอนที่อัตราความหนาแน่น ต่างกัน 3 ระดับ พบว่าน้้าหนักรวมของสาหร่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอัตราความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้น ส้าหรับ การศึกษาในครั้งนี้มีอัตราความหนาแน่นของสาหร่ายตั้งต้นอยู่ในช่วง 0.8-2.4 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เทียบ เป็นปริมาณสาหร่ายตั้งต้นที่แตกต่างกันเป็น 2 และ 3 เท่า ตามล้าดับ ซึ่งอัตราความหนาแน่นสูงสุดให้ผลผลิต มากที่สุด จึงเป็นไปได้ว่าสาหร่ายลิ้นมังกรมีแนวโน้มทนต่อการเลี้ยงที่มีความหนาแน่นสูง ดังจะเห็นได้จาก ผลผลิตที่ยังคงเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอัตราความหนาแน่น โดยอัตราความหนาแน่นสูงสุดคือ 2.4 กิโลกรัมต่อตาราง เมตร หรือน้้าหนัก 600 กรัม ต่อแผงขนาด 50x50 ตารางเซนติเมตรซึ่งความหนาแน่นนี้สอดคล้องกับความหนาแน่นที่แนะน้าของการเลี้ยง Gracilariaที่อยู่ในช่วง 2-5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (Bird, 1989) อย่างไรก็ตามแม้อัตราความหนาแน่น 2.4 กิโลกรัมต่อตารางเมตรจะให้ผลผลิตดีที่สุด แต่กลับมีอัตรา การเจริญเติบโตต่้าหรือโตช้ากว่าการเลี้ยงที่อัตราความหนาแน่นเริ่มต้นน้อยกว่า โดยสาหร่ายที่เลี้ยงบางกว่าจะ มีอัตราการเจริญเติบโตทั้งแบบจ้าเพาะและแบบน้้าหนักที่เพิ่มขึ้นมากกว่าหรือโตเร็วกว่า ซึ่งสาหร่ายที่เลี้ยงด้วย อัตราความหนาแน่นต่้านั้นอาจได้รับสารอาหารจากน้้าเลี้ยงได้ดีกว่าในขณะที่สาหร่ายที่มีความหนาแน่นสูงขึ้น อาจต้องมีการเพิ่มอัตราการไหลของน้้าเพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างทั่วถึง ดังในการศึกษาของ Hurd (2000) ที่ รายงานว่าเมื่อเลี้ยงสาหร่ายที่ความหนาแน่นสูง 12 กิโลกรัมต่อตารางเมตร สาหร่ายจะให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นได้ หากมีกระแสน้้าช่วยท้าลาย boundary layer หรือชั้นน้้าที่เคลือบผิวสาหร่ายท้าให้สาหร่ายสามารถดูดซับ สารอาหารจากน้้าได้ดีขึ้นทั้งนี้ Werner and Dring (2011) ได้รายงานว่าอัตราความหนาแน่นสูงท้าให้เกิดร่ม เงา (shading) ซึ่งมีข้อดี 2 ประการคือ สาหร่ายที่ฉวยโอกาส (opportunistic seaweed) ถูกจ้ากัดการ เจริญเติบโตและป้องกันอาการฟอกขาว (bleaching) ที่เกิดจากการได้รับแสงเป็นระยะเวลานานเกินไป เช่น สาหร่ายทะเลสีแดงชนิด Palmaria palmata แต่ถ้าแน่นเกินไปจะต้านกระแสน้้าท้าให้ลดโอกาสที่สารอาหาร ในน้้าจะถูกดูดซับโดยสาหร่ายและส่งผลให้การเจริญเติบโตลดลงในที่สุด อย่างไรก็ตามในส่วนของอัตราความหนาแน่นต่้านั้น แม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่า แต่หากมี ความหนาแน่นที่น้อยเกินไป จะท้าให้เกิดสาหร่ายฉวยโอกาส เช่น สาหร่ายเกาะติด (epiphyte)เกิดขึ้นและ เจริญเติบโตแข่งขันกับสาหร่ายที่เลี้ยงได้ทั้งนี้ในการเลี้ยงแบบเชิงพาณิชย์นั้น หากไม่ได้มีการเลี้ยงแบบชนิด เดี่ยวหรือ monoculture ต้องค้านึงถึงผลผลิตที่จะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันกันระหว่างสาหร่ายต่าง ชนิด เนื่องจากสาหร่ายแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีที่ความหนาแน่นแตกต่างกัน (Paul et al.) ในสาหร่ายสี แดงชนิด P. palmata มีความหนาแน่นที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 3-5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เนื่องจากความ


หนาแน่นระดับนี้ลดโอกาสที่สาหร่ายชนิดอื่นจะเข้ามาแก่งแย่งปัจจัยในการเจริญเติบโต (Werner and Dring, 2011) นอกจากนั้นอัตราความหนาแน่นในการเลี้ยงสาหร่ายยังแตกต่างกันในแต่ละฤดูกาล ดังรายงานของ Ugarte and Santelices (1992) ที่แนะน้าว่าในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวควรเลี้ยงสาหร่าย Gracilariaที่อัตรา ความหนาแน่น 4 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนเพิ่มความหนาแน่นขึ้นเป็น 8 กิโลกรัมต่อตาราง เมตร ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับปริมาณแสงแดดที่แตกต่างกันในแต่ละฤดูกาล Critchley (1993) ได้แนะน้าว่าการ เลี้ยงสาหร่ายสกุล Gracilaria ควรมีการทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นระยะเพื่อรักษาปริมาณผลผลิตให้สูง เนื่องจากหากสาหร่ายมีการเพิ่มจ้านวนมากจนหนาจะเกิดการบังแสงกันเองนอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อ ปริมาณและคุณภาพวุ้นอีกด้วย การทดลองย่อยที่ 3 ความหนาแน่นที่เหมาะสมของสาหร่ายลิ้นมังกรที่เลี้ยงแบบแนวดิ่งบนอวนตาข่าย ผลการทดลองเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรแบบแขวนแผงอวนตาข่ายในแนวดิ่งพบว่าเป็นในทิศทางเดียวกัน กับการทดลองที่ 2 โดยมีน้้าหนักรวมเพิ่มขึ้นตามอัตราความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้น แต่อัตราการเจริญเติบโตกลับไม่ แตกต่างกัน โดยมีค่าอัตราการเจริญเติบโตจ้าเพาะและน้้าหนักที่เพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 2.19-2.65 % ต่อวัน และ 84.81-109.89% ของน้้าหนักเริ่มต้น ตามล้าดับ ทั้งนี้อาจเนื่องมากจากรูปแบบการเลี้ยงในแนวดิ่งไม่เหมาะสม ท้าให้ทุกอัตราความหนาแน่นมีการเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ดังจะเห็นได้ว่ามีอัตราการเจริญเติบโตต่้ากว่า รูปแบบการเลี้ยงแบบแผงในอัตราความหนาแน่นที่เท่ากัน จากผลการทดลองสรุปได้ว่าการเลี้ยงสาหร่ายลิ้นมังกรแบบแผงแขวนแนวนอนโดยปลูกบนแผงตาข่าย พลาสติกขนาด 50x50 เซนติเมตร มีความเหมาะสมที่สุดเนื่องจากให้น้้าหนัก ผลผลิตและอัตราการ เจริญเติบโตดีที่สุด โดยมีผลผลิต 725 กรัมภายใน 4 สัปดาห์ และควรเลี้ยงที่อัตราความหนาแน่น 2.4 กิโลกรัม/ตารางเมตรเนื่องจากให้ผลผลิตมากที่สุด แต่อัตราความหนาแน่นที่สาหร่ายมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด เท่ากับ 0.8 กิโลกรัม/ตารางเมตร ดังนั้นหากพิจารณาว่าจะเก็บเกี่ยวรอบละ4 สัปดาห์ อาจเลี้ยงสาหร่ายลิ้น มังกรที่อัตราความหนาแน่นสูงสุดคือ 2.4 กิโลกรัม/ตารางเมตร หรือน้้าหนัก 600 กรัมต่อแผงขนาด 50x50 ตารางเซนติเมตร แล้วจึงทะยอยเก็บเกี่ยวเป็นระยะแต่หากต้องการเลี้ยงเป็นระยะเวลานานขึ้นและมีสาหร่าย ต้นพันธุ์เริ่มต้นน้อย อาจเลี้ยงที่อัตราความหนาแน่น 0.8 กิโลกรัมต่อตารางเมตรหรือน้้าหนัก 200 กรัมต่อแผง โดยเลี้ยงแบบเก็บเกี่ยวครั้งเดียว ดังนั้นอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมจึงต้องพิจารณาความสมดุลย์ระหว่างอัตราการเจริญเติบโต กับ การจัดการปัจจัยต่างๆ ร่วมกัน เช่น อัตราการไหลของน้้า ปริมาณสารอาหาร แสงที่ได้รับซึ่งแตกต่างกันตาม ฤดูกาลและอายุการเลี้ยงของสาหร่าย โอกาสที่จะเกิดสาหร่ายฉวยโอกาส โดยอาจต้องมีการจัดการระหว่างการ เลี้ยงร่วมด้วยทั้งการปรับระดับแผงเลี้ยงเพื่อให้สาหร่ายได้รับแสงอย่างทั่วถึง การให้ปุ๋ยและการปรับอัตราการ ไหลของน้้าความถี่ในการเก็บเกี่ยวเพื่อรักษาความหนาแน่นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมทั้งการปรับเปลี่ยน อัตราความหนาแน่นตามรูปแบบการเลี้ยง การได้รับแสง และฤดูกาล


เอกสารอ้างอิง กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมนต์. 2521. สาหร่ายบางชนิดของไทยที่รับประทานได้. The Kasetsart Journal12 (2) : 119-129. คมน์ ศิลปาจารย์มนทกานติ ท้ามติ้น ชัชวาลี ชัยศรี นฎา ไล้ทองค้า กมล อยู่เป็นสุข ธีระ แก้วประเสริฐศรี. มปป. การเพาะเลี้ยงและแปรรูปสาหร่ายพวงองุ่น. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง, กองวิจัย และพัฒนาประมงชายฝั่ง, กรมประมง. 30 หน้า. มนทกานติ ท้ามติ้น. 2556. สาหร่ายทะเล. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 35 หน้า. ระพีพร เรืองช่วย. 2560. การเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลและการใช้ประโยชน์. ปัตตานี: แผนกวิชาเทคโนโลยีการ ประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนดลยี มหาวิทยาลัยสงขลานคริรทร์. 200 หน้า. Bird, K. T. 1989. Intensive seaweed cultivation. Aquaculture Mag. 15 : 29-34. Critchley, A. T. 1993. Gracilaria (Rhodophyta, Gracilariales) : An economically important agarophyte.In: Seaweed cultivation and marine ranching. Ohno, M. and A. T. Critchley (eds.). Kanagawa International Fosheries Training Center. Japan International Cooperation Agency (JICA) : 89-112 De Smedt, G., De Clerch, G. O., Leliaert, F. and L.M.Liao. 2001. Morphology and systematics of the genus Halymenia C. Agardh (Halymeniales, Rhodophyta) in the Philippines. Nova Hedwigia 73:293-322. Gargiulo, G. M., Masi, F. De and G. Tripodi. 1986. Structure and reproduction of Halymenia asymmetric asp. Nov. (Rhodophyta) from the Mediterranan Sea. Phycologia 25:144-151. Guiray, M.D. and G.M. Guiry. 2014. AlgaeBase. World-wide electronic publication, National University of Ireland, Galway. Available from http://www.algaebase.org.Accessed on November 2014. Kawaguchi, S. and K. Lewmanomont, 1999. Morphology and culture study of a red algae, Halymenia dilatateZanardini, from Vietnam. In: (I.A. Abbott and K.J. Mc Dermid, eds.) Taxonomy of economic seaweeds with reference to some Pacific species. Vol.8, Lajolla, California Sea Grant College Program, La Jolla, CA. :267-277. Kawashima, S. 1993. Cultivation of the brown alga, Laminaria “Kombu”. In: Seaweed cultivation and marine ranching. Ohno, M. and A. T. Critchley (eds.). Kanagawa International Fosheries Training Center. Japan International Cooperation Agency (JICA) : 25-40. Kiling, B., Cirik, S., Turan, G., Tekogul, H and K. Edis. 2013. Seaweed for food and industrial applications. Food industry : 735-748. http://dx.doi.org/10.5772/53172. Lewmanomont, K. and H. Ogawa. 1995. Common seaweeds and seagrasses of Thailand. Integrated Promotion Technology Co.,Ltd.163 pp. McHugh, D. J. 2003. A guide to the seaweed industry, FAO Fisheries Technical Paper, No. 441. FAO, Rome, 105 pp.


Sokal R. and F. Rohlf. 1981. Biometry. 2na Ed., Freeman and Co. 859pp. Strickland, J. D. H. and T. R. Parsons. 1972. A Practical Handbook of Seawater Analysis, 2nded. Fisheries Research Board of Canada, Ottawa. 311 pp. Tan, P.-L., Lim, P.-E., Lin, S.-M., Phang, S.-M., Draisma, S.G.A. and L. M. Liao. 2015. Foliose Halymenia species (Halymeniaceae, Rhodophyta) from Southest Asia, including a new species, Halymeniamalaysiana sp. Nov., Botanica Marina58 (3):203-217. Ugarte, R. and B. Santelices. 1992. Experimental tank cultivation of Gracilaria chilensis in central Chile. Aquaculture101:7-16. www.pressreader.com/ph/phillipines/sunstar_davao/20150601/261775627762536


Click to View FlipBook Version