ลำปาง
แค่ทางผ่านจริงหรอ?
คำนำ
ลำปางแค่ทางผ่านจริงหรอ เป็นคำถามที่พวกเราอยากจะถามคุณ เพราะคน
ส่วนใหญ่คิดว่า จังหวัดลำปางเป็นจังหวัดเล็กๆ ที่ไม่ได้มีอะไรน่าสนใจ แต่ใครจะรู้ว่า
จังหวัดลำปาง มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายและขึ้นชื่อต่างๆนานา ไม่ว่าจะเป็น
วัดพระธาตุลำปางหลวง น้ำตกแจ้ซ้อน หลวงพ่อเกษม ฯลฯ
โดยสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดลำปางที่เราจะมานำเสนอ หลายๆคนอาจจะไม่
เคยไป หรือบางคนอาจจะเคยไป ได้แก่ บ้านหลุยส์ สะพานรัษฎาภิเศก และ
กาดกองต้า ซึ่งทั้ง 3 สถานที่นี้ เป็นมรดกล้ำค่าของทางประวัติศาสตร์ ทั้งในเรื่อง
ของวัฒนธรรมที่หลากหลายแต่ละชาติ สถาปัตยกรรม และเรื่องราวในอดีต
ทางคณะผู้จัดทำ หวังว่าเรื่องราวในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จะให้ความรู้
รวมถึงสร้างความบันเทิงให้กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย
คณะผู้จัดทำ
๐๑
บ้านหลุยส์
ความงามลึกลับที่ถูกลืมเลือน
บ้านหลุยส์ ๒
ถ้าเดินทางมาเที่ยวจังหวัดลำปาง สถานที่ท่องเที่ยวแรก ที่ทุกคนนึกถึงคงจะ
เป็นวัดพระธาตุลำปางหลวง และการนั่งรถม้าเที่ยวชมรอบเมืองลำปาง แต่มีอีก
สถานที่หนึ่งที่พวกเราอยากนำเสนอซึ่งหลายคนไม่รู้จักแม้กระทั่งชาวลำปาง
บางคนก็อาจไม่รู้จักเช่นกัน นั่นคือ "บ้านหลุยส์" ซึ่งเป็นบ้านของพ่อค้าไม้
ชาวออสเตรเลีย ที่ชื่อว่า หลุยส์ ดี. เลียวโนเวนส์ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕
โดยที่ตั้งของบ้านหลุยส์นั้น คือ พื้นที่บริเวณบ้านพักเจ้าหน้าที่องค์การ
อุตสาหกรรมป่าไม้ เขตลำปาง ซึ่งทางเข้าบ้านหลุยส์นั้นจะมีพื้นที่กว้าง
มีบรรยากาศที่ร่มรื่น รายล้อมด้วยร่มเงาของต้นโพธิ์ ต้นไทรขนาดใหญ่
รู้สึกผ่อนคลาย เย็นสบาย แถมยังมีรูปช้างขนาดใหญ่ที่ทำจากไม้ มีมุมถ่ายรูป
สวยๆ มีซุง รถสาลี่ลากไม้ ยี่ห้อเบนซ์ และรถยนต์สมัยก่อนรายล้อม ให้ผู้ที่มา
เยี่ยมชมได้ แวะเก็บภาพเป็นที่ระลึก และป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็น
มาของบ้านหลุยส์อีกด้วย
รถสาลี่ลากไม้ ยี่ห้อเบนซ์ รูปปั้ นคนงานขนย้ายไม้
๓
เมื่อเดินเข้ามาบริเวณหน้าบ้านแห่งนี้ จะเห็นตัวบ้านเป็นครึ่งปูนครึ่งไม้
๒ ชั้น หลังคาทรงปั้ นหยา สไตล์โคโลเนียล ด้านหน้ามีมุข ๗ เหลี่ยม ยื่นออกมา
ใต้ถุนมุขเปิดโล่ง ด้านล่างก่ออิฐและปูนหนาหลายชั้น โดยชั้นบนเป็นเรือนไม้
ชั้นล่างมีประตูเข้าหน้าบ้าน เป็นซุ้มโค้งแบบฝรั่ง พร้อมช่องแสงระบายอากาศ
ไม้ฉลุลายละเอียดประณีตสวยงาม ให้ความรู้สึกถึงความขลัง ความโบราณ
ซึ่งมีความทันสมัยมากในยุคสมัยนั้น
ประตูเข้าหน้าบ้าน รูปภาพของบุคคลและสถานที่สำคัญต่างๆ
ในส่วนของชั้นล่าง จะมีรูปภาพของบุคคลและสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น
พ่อเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต วัดประตูป่อง พิธีไหว้ครูดาบ ครูเจิง และยังมีการจัด
นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับบ้านหลุยส์ วิถีชีวิตของคนในชุมชนท่ามะโอใน
อดีตและภูมิปัญญาไทยในสมัยก่อน
นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับบ้านหลุยส์ วิถีชีวิตของคนในชุมชนท่ามะโอในอดีต
๔
มุข ๗ เหลี่ยม
ส่วนทางชั้นบนนั้นจะมีบันไดขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อเดินขึ้นบันได
ทางด้านหน้าจะเจอมุข ๗ เหลี่ยม เป็นห้องโถงโล่งกว้าง สันนิษฐานว่า อาจจะใช้
เป็นสถานที่รับแขก เมื่อหันไปทางซ้ายจะเจอห้อง ๒ ห้อง โดยห้องทางด้านซ้าย
จะเป็นห้องทางตอนลึกซึ่งจะเชื่อมกับห้องทางด้านขวาและมีรูปภาพอดีตต่างๆ
อยู่ภายในบ้าน เช่น รูปภาพนายหลุยส์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน รูปภาพวิถีชีวิตของคน
ที่อาศัยในบริเวณนั้น รูปภาพห้องนอนในสมัยอดีตแต่ละห้อง ในส่วนของห้อง
ทางขวาจะเชื่อมต่อกับทางเดินระเบียงบ้าน
ห้องโถงโล่งกว้างหน้ามุข ๗ เหลี่ยม ห้องทางด้านซ้าย
๕
ห้องทางด้านขวา ทางเดินระเบียงบ้าน
มุมถ่ายรูปสวยๆ
๖
ในส่วนของบริเวณทางด้านขวาของบ้านจะมีอาคารเก่าหลังหนึ่ง ที่เก็บวัตถุ
โบราณและข้าวของเครื่องใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เช่น เครื่องตวงปริมาณน้ำฝน
ไม้เสาธง ถังน้ำมัน ที่ล้างเครื่องมือช่าง เลื่อย อ่างอาบน้ำ ภาพวาดโบราณ ตู้
และชั้นวางของที่ทำจากไม้ เป็นต้น
ประตูทางเข้าสำนักงานหลุยส์ อ่างอาบน้ำ
ชั้นวางของที่ทำจากไม้
๐๒
สะพานปลายทางฝัน
สะพานรัษฎาภิเศก ๘
อีกสถานที่ที่พวกเราอยากจะแนะนำคือ สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว
ที่ตั้งอยู่ถนนรัษฎา เป็นสะพานที่ใช้เดินทางข้ามแม่น้ำวังไปยังอีกฝั่ ง จากการอ่าน
ป้ายให้ความรู้ที่อยู่ใกล้ๆ ทำให้รู้ว่าสะพานแห่งนี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕
ซึ่งเจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ตั้งชื่อจากพิธีเฉลิมฉลองรัษฎาภิเษก และพวกเรา
อัศจรรย์ใจที่ว่าเดิมทีสะพานรัษฎาภิเศกนั้นอยู่มาตั้งแต่ยุคสมัยอารยธรรมรถไฟ
มีอายุผ่านสงครามโลกครั้งที่ ๑ และ ๒ มาแล้ว แต่พอรู้ว่าสะพานแห่งนี้รอดพ้น
มาจากสงครามได้อย่างไรยิ่งทำให้อัศจรรย์ใจยิ่งกว่าเดิม
การรอดพ้นจากการทิ้งระเบิดในสงครามมาได้ของสะพานรัษฏาแห่งนี้ เป็น
เพราะการทาสีพรางตานั่นเอง เห็นว่าเดิมทีสะพานแห่งนี้เป็นเพียงสะพานไม้
เสริมเหล็กที่ชำรุดผุพังไปแล้ว แต่ภายหลังมีการบูรณะเสริมสร้างความคงทน
และสวยสะอาดให้มากขึ้นเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ และได้กลายมาเป็น
มรดกสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง
มุมมองใต้สะพานรัษฎาภิเศก
๙
โดยการมาเยือนที่นี่นั้น แรกเริ่มจะพบเห็นเสาสี่ต้นสีขาวสูงสง่า ตั้งอยู่หัว
สะพานทั้งสองฝั่ ง ฝั่ งละสองต้น ตรงกลางด้านหน้าของเสาแต่ละต้นจะมีรูปครุฑ
สีแดงปรากฎอยู่ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์แผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยด้านข้าง
ของกลางเสาแต่ละต้นนั้น ทั้งซ้ายและขวาเป็นรูปไก่ขาว หรือที่คนท้องถิ่นเรียก
กันว่าไก่หลวง เป็นสัญลักษณ์สำคัญประจำนครลำปาง ส่วนด้านหลังของกลาง
เสาแต่ละต้นปรากฎเป็นเดือนกับปีพ.ศ.ที่ได้บูรณะสะพานรัษฎาภิเศกขึ้นมาใหม่
และอย่างสุดท้ายคือรูปพวงมาลัยที่ยอดเสาทั้งสี่ต้น ที่สร้างเพื่อรำลึกถึง
พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสาสะพาน สะพานรัษฎาภิเศก สัญลักษณ์กลางเสา
เมื่อเดินขึ้นสะพานจากฝั่ งถนนคนเดินกาดกองต้ามาจะเจอกับป้ายให้ข้อมูล
ความรู้อยู่ทางซ้ายมือ ในตัวป้ายนั้นอธิบายถึงความเป็นมา ลักษณะ และความ
สำคัญของสะพานรัษฎาภิเษก เนื้อหามีทั้งอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้กับ
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาศึกษาด้วย ในส่วนของตัวสะพานนั้นถูกสร้างด้วย
คอนกรีตเสริมเหล็กหนาที่ทาทับด้วยสีขาว ตัวพื้นทางเดินถูกปูด้วยไม้หนาแข็ง
แรง เพื่อรองรับน้ำหนักของผู้คนตลอดการเดินทางข้ามสะพาน
ป้ายประวัติสะพานรัษฎาภิเศก
๑๐
ขณะที่พวกเราเดินอยู่บนสะพานชิดราวกั้นนั้น ก็รู้สึกได้ถึงลมเย็นๆที่พัด
ผ่านมาตามลำแม่น้ำกระทบใส่ เนื่องจากใต้สะพานคือแม่น้ำวัง ลมเย็นๆที่พัดมา
จึงชวนให้รู้สึกสดชื่นอยู่ตลอดเวลา บรรยากาศบนสะพานดีมาก แดดไม่แรงไม่
ร้อนแม้จะมีรถสัญจรผ่านไปผ่านมากลางสะพานอยู่เสมอ ก็ไม่ได้ทำให้เสีย
บรรยากาศเลยแต่อย่างใด นอกจากนี้ สะพานรัษฎาภิเษกยังเป็นที่นิยมของนัก
ท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากในการมาเยือนจังหวัดลำปางเพื่อถ่ายรูปสวยๆ เก็บวิว
และบรรยากาศไว้ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนักท่องเที่ยวใน
ประเทศไทยอีกด้วย
ทางเดินไม้บนสะพานรัษฎาภิเศก
เมื่อท้องฟ้าเริ่มมืด พระอาทิตย์ลับฟ้าไป ไฟที่ติดอยู่ตามเส้นโค้งทรงคันธนู
ของสะพานแต่ละต้นก็จะสว่างขึ้น ส่งผลให้สะพานรัษฎาภิเษกสีขาวสะอาดตา
แห่งนี้ยังคงส่องแสงสว่างและโดดเด่นสะดุดตาตั้งขวางเต็มลำน้ำอยู่เสมอ
พร้อมกับแสงสะท้อนที่กระทบกับแม่น้ำ ทำให้ขอบสะพานเกิดรอยคลื่นน้ำยาวที่
สวยงาม ทำให้บ้างคนต้องยกกล้องถ่ายรูปมาถ่ายเก็บไว้เป็นที่ระลึก
๑๑
บรรยากาศตอนกลางคืนของสะพานรัษฎาภิเศก
บรรยากาศตอนเย็นของสะพานรัษฎาภิเศก
๑๒
มุมถ่ายรูปสวยๆ
๐๓
กาดกองต้า
ที่ไม่ใช่แค่ถนนคนเดิน
กาดกองต้า ๑๓
เมื่อข้ามสะพานรัษฎาภิเษกมาแล้ว ในวันเสาร์และวันอาทิตย์จะมีตลาดนัด
ถนนคนเดิน ที่พวกเราอยากแนะนำ หลายคนเรียกว่า"กาดกองต้า" หรือ
"กาดจีน" ซึ่งคำว่า “กาด” ในภาษาเหนือนั้นแปลว่า "ตลาด" คำว่า “กอง” ในภาษา
เหนือแปลว่า “ถนน” และคำว่า “ต้า” ในภาษาเหนือแปลว่า “ท่าน้ำ” ดังนั้น
“กาดกองต้า” หมายถึง ตลาดตรอกท่าน้ำเป็นตลาดโบราณของเมืองลำปาง
ก่อตั้งสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าทางภาคเหนือรวมไปถึงเป็น
ศูนย์กลางการค้าไม้ในอดีต มีพ่อค้าหลายเชื้อชาติไม่ว่าจะเป็นพม่า จีน
ชาวตะวันตก ที่ได้ชื่อว่านั้น กาดจีน มาจากพ่อค้าส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีน
ร้านกั๊ดต๊องกองต้า อาคารหม่องโง่ยซิ่น
เมื่อเดินเข้าไปในกาดกองต้า เราจะเห็นบรรดาพ่อค้าแม่ค้าเยอะแยะมากมาย
ตั้งแผงขายของต่างๆทั้ง ขนม ของกิน ของใช้ เสื้อผ้า ฯลฯ เต็ม ๒ ข้างทาง ไปจน
สุดถนน ระหว่างทางเราก็จะได้ชื่นชมกับสถาปัตยกรรมโบราณไม่ว่าจะเป็น
"อาคารหม่องโง่ยซิ่น" เป็นอาคารเก่าแก่หลังใหญ่และเด่นที่สุดในกาดกองต้า ซึ่ง
มีจุดสังเกตง่ายๆเลย คือ อาคารจะตั้งอยู่ตรงข้ามร้านอาหารที่มีชื่อว่า “กั๊ดต๊อง
กองต้า” และบริเวณหน้าอาคารหลังนั้น จะมีกลุ่มเด็กนักเรียนนั่งเล่นเครื่องดนตรี
ไทยอย่างไพเราะเป็นจุดที่ทำให้คนสนใจอีกจุดหนึ่งด้วย
๑๔
สำหรับอาคารหม่องโง่ยซิ่นนั้นเป็นเรือนขนมปังขิงหลังคาทรงมะนิลา
ลักษณะครึ่งปูนครึ่งไม้ ที่มีลวดลายฉลุไม้พลิ้วไหว สวยงาม มีลวดลายสัญลักษณ์
สะดุดตา ‘MNZ’ อักษรย่อ ‘Moung Ngwe Zin’ โดยอาคารหลังนี้มีรูปแบบ
สถาปัตยกรรมแบบพม่า ฝ้าเพดานของอาคารจึงใช้ฝ้าดีบุกอัดลายที่นำเข้ามา
จากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งในสมัยนั้นถือเป็นรสนิยมหรูหรา บ่งบอกถึงความมี
ระดับ
ภายในตัวอาคารนั้นปัจจุบันชั้นล่างจะเปิดเป็นคาเฟ่ ขายเครื่องดื่มต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ พอเดินเข้าไปอีกนิดจะเจอกรอบรูปที่โชว์รูปเก่าต่างๆ
ติดตามผนังอาคาร และจะมีชุดผ้าฝ้ายเป็นงานฝีมือลวดลายสวยงามขายอยู่
ในส่วนของชั้น ๒-๓ และชั้นใต้ดินที่เป็นหลุมหลบภัย ทางเจ้าของสถานที่ยังไม่
สามารถให้พวกเราได้เข้าไปเยี่ยม เนื่องจากสถานที่มีความชำรุด
บรรยากาศภายในอาคารหม่องโง่ยซิ่น
๑๕
เมื่อเดินไปสักพักหนึ่งพวกเราก็จะเห็น "บ้านจันทรวิโรจน์" เรือนรูปแบบ
ปั้ นหยา สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๑
ผู้สร้างชื่อ หม่องตาอู จันทรวิโรจน์กับแม่เลี้ยงเต่า จันทรวิโรจน์ (หลายคน
อาจจะเห็นจากรูปตามสถานที่ต่างๆ เนื่องจากท่านได้บริจาคเงินสร้างตึก
โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง สร้างวัดและอาคารสาธาณประโยชน์อื่นๆในเมือง
ลำปาง)
บ้านจันทรวิโรจน์ มีกลิ่นอายของงานสถาปัตยกรรมศิลปะรูปแบบผสม ใช้
เทคนิคการหล่อพิมพ์ปูน เป็นลวดลายทรงเรขาคณิตอย่างตะวันตกเป็นส่วน
ใหญ่ คนส่วนมากที่เข้ามาเที่ยวยังตัวเมืองลำปางหรือมาเที่ยวกาดกองต้า จะเห็น
บ้านหลังนี้ดูเหมือนประหนึ่งถูกปิดตาย ไม่มีใครพักอาศัยอยู่ในสภาพเก่าโบราณ
แต่ยังคงความงดงามในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เป็นบ้านตึกผสมงาน
ตกแต่งไม้สักที่มีขนาดใหญ่ แต่ก่อนมีครอบครัวใหญ่ของพี่น้องตระกูลจันทร
วิโรจน์อาศัยอยู่กันพร้อมหน้า
บรรยากาศภายนอกบ้านจันทรวิโรจน์
๑๖
บรรยากาศภายนอกอาคารฟองหลี
อีกสถานที่ในกาดกองต้าที่อยากจะแนะนำนั้นก็คือ อาคารสองชั้นตรงหัวมุม
ถนนกาดกองต้านี้คือ "อาคารฟองหลี" สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี
พ.ศ ๒๔๓๔-๒๔๔๔
อาคาร ฟองหลี เป็นอาคารขนานไปกับถนนสูงสองชั้น ก่ออิฐผสมไม้ประดับ
ลวดลายแบบขนมปังขิง หลังคาจั่วตัดแบบจีน บานประตูชั้นสองและชั้นล่างเป็น
บานพับเฟี้ ยมแกะสลักลายไม้สักแบบจีน บนประตูเป็นช่องระบายอากาศประดับ
ด้วยไม้ฉลุลายพรรณพฤกษา
ผู้สร้างอาคารหลังนี้คือ นายฟองหลี หรือ เจ้าสัว และได้เปลี่ยนเจ้าของไป
เรื่อยๆ จนมาถึง นางคำไส เฮวลิน ซึ่งนำอาคารให้คนเช่าอยู่อาศัยหลายปี ต่อมา
จนปี พ.ศ ๒๕๓๗ อาคารฟองหลี ได้พังทลายลงบางส่วนเนื่องจากเทศบาลลำปาง
ได้ก่อสร้างขุดท่อระบายน้ำบริเวณข้างของตัวอาคาร จากนั้นเจ้าของอาคารจึง
ได้การบูรณะอาคารให้มีสภาพดังเดิมตามแบบรูปถ่ายเก่า ระหว่างบูรณะอาคาร
ได้พบ ตราบอมเมย์-เบอร์เมย์ ซึ่งได้มาตั้งสาขาในจังหวัดลำปาง ปี พ.ศ ๒๔๓๔
จึงสันนิษฐานว่า อาคาร ฟองหลี น่าจะสร้างในปี พ.ศ ๒๔๓๔-๒๔๔๔ อาจจะกล่าว
ได้ว่า อาคาร ฟองหลี เป็นตัวแทนสถาปัตยกรรมในยุครุ่งเรืองของจังหวัดลำปาง
เป็นอาคารพื้นถิ่นที่มีคุณค่าทางประวัตศาสตร์
แต่ในวันที่พวกเราได้ไปทำนั้น อาคารฟองหลีไม่ได้เปิดทำการมาสักระยะ
หนึ่งแล้ว เราจึงได้ถ่ายรูปบริเวณเฉพาะด้านนอกเท่านั้น
๑๗
สถานที่ต่อไปคือ อาคารเยียนซีไท้ลีกี ได้ฉายาว่า “ตึกฝรั่ง หัวใจจีน” สร้างขึ้น
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖
สร้างโดยนายห้างใหญ่ชาวจีน ชื่อนายจิ้นเหยี่ยน (อารีย์ ทิวารี) ตันตระกูลทิวา
รี เอเยนต์น้ำมะเน็ด ลักษณะของอาคารจะเป็นอาคารพาณิชย์สร้างด้วยปูนทั้งหลัง
ประดับตกแต่งแบบตะวันตกชนิดเต็มรูปแบบ หลังคาเป็นปั้ นหยา แต่กั้นแบบ
ดาดฟ้า (Paraped) ลวดลายที่ใช้มีทั้งไม้ฉลุและปูนประดับ โดยด้านบนของอาคาร
บริเวณตรงกลางมีหน้าจั่วที่บอกถึงปีที่สร้างอาคารนี้ คือ ค.ศ. ๑๙๑๓ และมีรูปปั้ น
หนู สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นปีเกิดผู้เป็นเจ้าของ และลายสัญลักษณ์ลูกโลกพร้อมทั้ง
ลายใบไม้ ดอกโบตั๋น ลายต้นไผ่ และลายประดิษฐ์รูปโบว์
ปัจจุบันทายาทตระกูลทิวารีได้แบ่งห้องในอาคารนี้ให้เช่าทำร้านค้าและที่อยู่
อาศัย บางคูหาเปลี่ยนเจ้าของไปแล้ว กลายเป็นร้านอาหาร
ตอนนี้คูหาแรกจะเป็นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า คูหาที่ ๒ จะเป็นร้านนวดคลายเส้น
คูหาที่ ๓ ร้านค้าขาย คูหาที่ ๔-๕ เปิดเป็นร้านกาแฟ
พื้นที่ชั้น ๒ เป็นส่วนของพักอาศัย ด้านหน้าอาคารมีระเบียงปูนปั้ น มีประตู
บานเปิดไม้คู่ ล่าง-บน และคูหาตรงกลาง เป็นผนังปูนติดป้ายชื่ออาคารเป็นอักษร
จีน ปัจจุบันหลุดร่วงไป เหนือขึ้นไปตกแต่งเป็นซุ้มโค้งแบบฝรั่ง
แม้จะผ่านเวลามานานนับร้อยปีแต่ก็ยังคงความสวยงามและความร่วมสมัยไว้
บรรยากาศภายนอกอาคารเยียนซีไท้ลีกี
๑๘
บรรยากาศระหว่างเดินเที่ยวชมกาดกองต้า
๑๙
.
.
.
นอกจากสถานที่ ที่พวกเราแนะนำแล้วนั้น ลำปางของเราก็ยังมี
สถานที่ท่องเที่ยวที่ดีและสวยงามอยู่อีกเยอะแยะมากมาย มีของดีต่างๆนานา
ที่อยากให้ทุกคนลองมาสัมผัสดู
ส่วนคำที่ว่า "ลำปางเป็นแค่ทางผ่าน" จะจริงหรือไม่
พวกเราก็อยากให้ทุกคนมาลองหาคำตอบด้วยตัวเองกัน
.
.
.