รายงาน การเสริมสร้างความสุขในการทำงาน Workplace Happiness เสนอ อาจารย์ รสสุคนธ์ ประดิษฐ์ รายงานเล่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ ประจำภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2566 วิชาเอก การปกครองท้องถิ่นห้อง 1
หัวข้อรายงาน การเสริมสร้างความสุขในการทำงาน Workplace Happiness รายชื่อคณะผู้จัดทำรายงาน 1.นางสาวชณาทิพย์ สินทร 6512405008 2.นางสาววรรณภรณ์ เอี่ยมเย็น 6512405025 3.นางสาวอมรรัตน์ ล้อมเศรษฐ์ 6512405034 4.นางสาวอริสรา แพงพัก 6512405035 5.นายพลกฤต มาเนตร 6512405047 6.นายภานุมาส เม่นสุวรรณ์ 6512405049 7.นายสมภาคภูมิ มีศิริ 6512405051 8.นายพงศธร บุญเหลือ 6512405106 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เอกปกครองท้องถิ่น ห้อง1 รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
คำนำ การทำงานอย่างมีความสุขนั้น เป็นสิ่งที่บุคลากรทุกคนในองค์กรนั้นปรารถนาหากได้ทำงานในที่ ทำงานที่รู้สึกว่ามีความสุขจะรู้สึกผูกพัน สนุกสนาน ความรู้สึกที่มาทำงานจะหมดไปกลายเป็นการร่วมสนุก กับ กิจกรรมต่างๆ ปัจจุบันกระแสการสร้างการทำงานอย่างมีความสุขในประเทศไทยได้เริ่มแพร่หลายมากยิ่ง ขึ้น สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่บุคลากรรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในการทำงาน ทำงานแล้วรู้สึกมีความสุข รู้สึก ถึงความมั่นคงในงาน การเจริญเติบโตก้าวหน้า กระตือรือร้นในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย สนุกกับงาน มี ความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงานและสภาพแวดล้อมที่ดีที่เอื้ออำนวยให้เกิดความสุขในการทำงาน ลด ความเครียดและความขัดแย้งภายในองค์กรซึ่งจะช่วยให้องค์กรเจริญก้าวหน้าและพัฒนาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล องค์กรที่ประสบความสำเร็จได้ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงผลักดัน ก็คือปัจจัยแห่ง ความสุขจะเห็นได้ว่าถ้าบุคลากรในองค์กรมีความสุขในการทำงานจะส่งผลต่อตนเอง ต่องานที่ ได้รับมอบหมาย และต่อองค์กร บุคลากรที่มีความสุขทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการ ทำงานและนำไปสู่การพัฒนาองค์กรต่อไป
สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ความหมายของความสุขในการทำงาน .....................................................................................................1 ปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน .....................................................................................1 ความสุขพื้นฐานแปดประการ (Happy)...............................................................................................2 สัญญาณบ่งบอกว่าองค์กรเป็น Happy Workplace............................................................................4 10 เทคนิคสร้าง Happy Workplace ให้เป็นจริง................................................................................4 นิยามคุณภาพชีวิตการทำงาน...............................................................................................................4 วิธีทำงานอย่างมีความสุข.....................................................................................................................5 เคล็ดลับทำงานดีมีความสุข ..................................................................................................................9 HR จะส่งเสริมการสร้างความสุขในการทำงานได้แบบไหนบ้าง...........................................................10 สรุป........................................................................................................................................................12 อ้างอิง....................................................................................................................................................13
1 เนื้อหา ความหมายของความสุขในการทำงาน ความปรารถนาสูงสุดของมนุษย์ทุกคนคือความสุข หมายถึง ความสบายความสำราญ ความปราศจาก โรค การกล่าวถึงเรื่องความสุขนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ความสุขของชีวิตได้มีกล่าวมาตั้งแต่ยุคอริสโตเติลแต่ก็เป็น ความหมายในเชิงจริยธรรม ซึ้งเป็นความหมายที่ได้รับอิทธิพลแนวคิดของตะวันตก ในการให้ความหมายเชิง ระบบ “ความสุข” อริสโตเติล ได้ชี้ให้เห็นถึงแนวทางที่นำไปสู่ความผาสุกหรือที่เรียกว่า “Eduaemoia” ซึ้ง ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงคำศัพท์สมัยใหม่ คือ “Happiness” ความสุขในการทำงานของคนในองค์กรนั้นมี ความสำคัญต่อการทำงานและองค์กรอย่างแท้จริง การศึกษาเรื่องความสุขในการทำงานจึงมีนักวิชาการได้ให้ คำนิยามว่า “ความสุขในการทำงาน”ไว้หลายท่าน โดยความหมายดังกล่าวสามารถอธิบายได้ดังนี้ ความสุขในการทำงาน คือ การรับรู้ของบุคลากรหรือารมณ์ ความรู้สึกชื่นชอบหรือเป็นสุขกับภารกิจ หลักต้องการให้ตนเป็นที่ยกย่องและยอมรับจากคนทั่วไป ได้ทำงานในที่ทำงานที่มั่นคง มีความก้าวหน้า เข้าถึง โอกาสในการพัฒนา มีผู้บังคับบัญชาที่มีความเมตตากรุณา มีเพื่อนร่วมงานที่จิตใจดีและจริงใจ มีผู้บังคับบัญชา ที่มีความเมตตากรุณาเพื่อนร่วมงานที่จริงใจได้รับสวัสดิการที่เพียงพอและได้รับความปลอดภัยจากการทำงาน ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของบุคคลที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการทำงานหรือ ประสบการณ์ของบุคคลในการทำงาน ประกอบไปด้วย 3 อย่าง 1.) ความรื่มรมย์ในการทำงาน เป็นความรู้สึกของบุลคลที่เกิดขึ้นในขณะทำงานหรือเกิดความรู้สึกสนุก กับการทำงานและไม่มีความรู้สึกวิตกกังวลใดๆในการทำงาน 2.) ความพึ่งพอใจในงาน เป็นความรู้สึกพอใจขณะทำงาน โดยไม่มีความทุกข์ใจในการปฏิบัติตน 3.) ความกระตือรือร้นในการทำงาน เป็นความรู้สึกอยากทำงาน เต็มไปด้วยความตื่นตัวและมีชีวิตชีวา ปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มีหลายปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความสุขในที่ทำงาน มีทั้งหมด 5 ปัจจัย 1.) มีรายได้ที่เพียงพอ มีค่าแรงที่สูงขึ้นส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงานที่สูงขึ้นตาม มีรายการของคน ที่ทำมีรายได้สูงจะมีความสุขและพอใจในชีวิตหรือการทำงานมากกว่าคนที่รายได้ต่อ มีการแสวงหา ความสุขในที่ทำงานไม่จำเป็นต้องเท่ากับการแสวงหารายได้มากขึ้น เพราะการเพิ่มขึ้นไม่ได้ส่งผลต่อ การเพิ่มความสุขเสมอไป 2.) มีเจ้านายที่ดีหัวหน้าที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสุขในที่ทำงานที่เหมือนการมีหัวหน้างานที่มี ความสามรถและมีความรอบรู้สูงอิทธิพลเชิงบวกเป็นอย่างมากต่อระดับความพึงพอใจของพนักงาน
2 โดยเฉพาะหัวหน้างานสามารถกำหนดสภาวะการทำงานของพนักงานได้เหมือนกัน การมีหัวหน้างาน ที่มีความรู้ของแต่ละสาขาองค์กร ก็จะเพิ่มความสุขและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ 3.) มีเพื่อนร่วมงานที่ดีการทำงานคือการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่การฉายเดี่ยว ความสามัคคีจึงเป็นปัจจัยให้ การทำงานประสบความสำเร็จอย่างราบรื่นหากมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานย่องส่งผลเสียต่อ กระบวนการแน่นอน ขณะเดียวกันหากมีความสัมพันธ์อันดี ทุกคนก็จะร่วมมือร่วมใจฝ่าฟันอุปสรรค์ 4.) มีความอิสระ หัวหน้าที่ให้อิสระจะทำให้พนักงานมีความสุขมากขึ้น มากกว่ามีหัวหน้าที่ชอบควบคุม ทุกอย่างทุกขั้นตอนจนกลายเป็นเผด็จการ โดยมีงานวิจัยที่บอกว่า การบริหารงานแบบย่อยเฝ้าดูทุก ขั้นตอน ทำให้ขวัญกำลังใจกำลังใจพนักงานต่ำลง อัตราการลาออกสูงขึ้น และประสิทธิภาพในการ ทำงานลดลง ก็จะช่วยลดความเครียด และเพิ่มความสบายใจในการทำงานมากขึ้น 5.) มีชีวิตและการทำงานที่สมดุล ถึงแม้จะมีความอิสระ มีความหลากหลายของงาน แต่สิ่งสำคัญที่สุด ของผู้บริหารหัวหน้างาน เพราะการทำงานมากเกินไปไม่เพียงส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตแล้ว แต่ยังส่งผล เสียต่อสุขภาพกายอีกด้วย ความสุขพื้นฐานแปดประการ (Happy) การสร้าง Happy Workplace หรือองค์กรแห่งความสุข อาจลองสำรวจความสุขพื้นฐานแปดประการที่ คนทำงานต้องการเพื่อทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนนโยบายหรือสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับองค์กรต่อไป ความสุขพื้นฐานแปดประการ ได้แก่ 1.) Happy Body (สุขภาพดี) การมีสุขภาพดีทั้งกายและทางใจจะช่วยลดความกังวล และทำให้คนทำงานมี ประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็มที่ 2.) Happy Heart (น้ำใจงาม) ความมีน้ำใจหรือการใจดีต่อคนรอบข้างจะช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีในที่ ทำงาน และได้รับความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ และการสื่อสารพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน การถ่ายทอด แลกเปลี่ยนแบบอย่างการทำงานระหว่างกัน ความเต็มใจและยินดีในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม 3.) Happy Relax (ผ่อนคลาย) เพราะการทำงานหนักเกินไปทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าได้ง่าย เกิดความเครียด สะสม ความผ่อนคลายจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทำให้เราได้ลองใช้ชีวิตในแง่มุมอื่นๆ และเติมเต็มความสุข ความเพียงพอที่ได้รับในการพักผ่อน การทำกิจกรรมที่เป็นการพักผ่อนหย่อนใจในรอบสัปดาห์การมี ความเครียดโดยรวม การมีชีวิตที่เป็นไปตามที่คาดหวังโดยรวม 4.) Happy Brain (หาความรู้) นำไปสู่การเติบโตและภาคภูมิใจ การหาความรู้จึงช่วยเติมเต็มความสุขได้ และยังส่งผลให้การงานก้าวหน้า มีตัวชี้วัด 3 ประการ ได้แก่ การแสวงหาความรู้ใหม่ ความสนใจที่พัฒนา ตนเองเพื่อความก้าวหน้าในชีวิต โอกาสที่จะได้รับในการ
3 5.) Happy Soul (ทางสงบ) พื้นที่สงบนิ่งในใจช่วยทำให้ความรู้สึกของเรามั่นคงยิ่งขึ้น รับมือกับปัญหาได้ดี ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้ทำงานได้อย่างเป็นสุข มีตัวชี้วัด 5 ประการ ได้แก่ การทำนุบำรุง ศิลปะวัฒนธรรม ศาสนา การให้ทาน การปฏิบัติกิจตามศาสนาเพื่อ ให้จิตใจสงบ การยกโทษและให้อภัย อย่างจริงใจต่อผู้สำนึกผิด การยอมรับและขอโทษในความผิดที่ทำหรือมีส่วนรับผิดชอบ การตอบแทน หรือช่วยเหลือผู้มีพระคุณ 6.) Happy Family (ครอบครัวดี) ส่งผลให้เราได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกำลังใจให้กัน ส่งต่อความสุขให้ กันและกัน และยังทำให้รู้สึกสบายใจกับการมีคนคอยซัพพอร์ต นำไปสู่ความมั่นคงทางจิตใจและเป็นสุข ในใจ มีตัวชี้วัด 3 ประการ ได้แก่ การมีเวลาอยู่กับครอบครัวอย่างเพียงพอ การ ทำกิจกรรมร่วมกันใน ครอบครัว การมีความสุขกับครอบครัว 7.) Happy Money (ปลอดหนี้) เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตคนทำงานมากที่สุด การมีเงิน รู้จักเก็บ รู้จักใช้ ไม่มีหนี้ ก็จะทำให้ไม่มีความกังวล และทำให้เกิดความสบายใจ มีตัวชี้วัด 4 ประการ ได้แก่ ภาระ ในการผ่อน ชำระหนี้สินต่างๆ การผ่อนชำระหนี้สินตามกำหนดเวลาการมีเงินเก็บออมในแต่ละเดือน ค่าตอบแทนที่ได้รับ 8.) Happy Society (สังคมดี) สภาพแวดล้อมส่งผลต่อจิตใจของมนุษย์ เข้าใจกันและกัน พร้อมช่วยเหลือ กันด้วยความเต็มใจ มีตัวชี้วัด 6 ประการ ได้แก่ เพื่อนบ้านมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเราการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสังคม ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อมีปัญหาสามารถขอความ ช่วยเหลือจากคนในชุมชน ความรู้สึกว่าสังคมไทยทุกวันนี้มีความสงบสุข การใช้ชีวิตในสังคมอย่างมี ความสุข 9.) Happy Work Life ความสุขจากความรู้สึกและประสบการณ์การทำงานกับองค์กร (การงาน ดี) มี ตัวชี้วัด 15 ประการ ได้แก่ การมีความสุขกับสภาพแวดล้อมโดยรวมขององค์กร การได้รับความดูแล เกี่ยวกับสุขภาพที่ดีจากองค์กร ความพึงพอใจกับสวัสดิการที่องค์กรจัดให้การได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ตามกฎหมายแรงงาน พระราชบัญญัติหรือระเบียบต่างๆ การได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ปรับขึ้นค่าจ้างด้วยความเหมาะสม การมีอาชีพที่มั่นคง การได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงอัน อาจ
4 สัญญาณบ่งบอกว่าองค์กรเป็น Happy Workplace - คนทำงานมีส่วนร่วมกังองค์กรมากขึ้น คอยให้ความเห็น หรือแสดงไอเดียในการพัฒนาองค์กรให้ เติบโต - ทุกคนทำงานเพื่อเป้าหมายร่วมกัน มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำงานและคาดหวังผลลัพธ์ที่จะทำ ให้องค์กรได้เติบโตไปพร้อมกับคนทำงานหรือทีม - งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากมีกำลังใจและมีความรู้สึกสนุกกับการทำงาน - คนทำงานอยู่กับบริษัทยาวนานขึ้น เพราะมองเห็นความสำคัญขององค์กร และเกิดความรักใน องค์กรที่ทำอยู่ 10 เทคนิคสร้าง Happy Workplace ให้เป็นจริง 1. ให้รางวัลกับพนักงานที่ทำงานหนัก 2. จัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพกายและใจ เช่น SAKID 3. จัดเวิร์กช็อปTeam Building 4. เปิดให้มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีลำดับขั้นเจ้านายหรือลูกน้อง 5. มีระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น กำหนดช่วงเวลาทำงานให้มีการพักเบรกที่เหมาะสม 6. ส่งเสริมวัฒนธรรมชื่นชมผลงานและการทำงาน 7. ชวนกันทำปฏิทินความสุข 8. เปิดเพลงคลอเบาๆ เหมือนนั่งทำงานในคาเฟ่ 9. เปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้าเวิร์กช็อปหรือเรียนรู้ตามความสนใจ 10. ออกแบบสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน นิยามคุณภาพชีวิตการทำงาน คุณภาพชีวิตการทำงานว่าเป็นคุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับสิ่งแวดล้อมโดย ส่วนรวมในการทำงานของบุคคลและเน้นมิติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์รวมทั้งยังครอบคลุมทุกเรื่อง เกี่ยวกับจริยธรรมในการทำงานและสภาพในการทำงาน ตลอดจนควรให้ความสำคัญที่บทบาทการทำงาน ได้แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง และสภาพแวดล้อมในที่ ได้ให้คำนิยามของ “คุณภาพชีวิตการ ทำงาน” ไว้ใน 8 มิติ ได้แก่
5 1. ผลตอบแทน หรือระบบโครงสร้างเงินเดือนที่ชัดเจน เหมาะสม เพียงพอต่อการดำรงชีพ สวัสดิการ สิทธิ ประโยชน์การเลื่อนขั้นเงินเดือน ที่สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจ 2. สภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความปลอดภัย จากการมีอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงานที่เอื้อให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวก ปลอดภัย รวมถึงการมี แผนที่ดีใน การการป้องกันหรือระวังภัยอันตราย 3. การพัฒนาศักยภาพและความสามารถของพนักงาน มีเช่น การฝึกอบรมพัฒนาความรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน การประเมินความรู้ความสามารถ ให้แก่ พนักงาน รวมถึงการให้รางวัลและชมเชยบุคลากรที่มีผลงานดี4. การส่งเสริมความก้าวหน้าในงาน ได้แก่ การเพิ่ม ค่าจ้างเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน รวมถึงการผลัดเปลี่ยนหน้าที่การทำงานให้มีความสอดคล้อง กับศักยภาพและความสามารถของบุคลากร โดยต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอ 5. ความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร สร้างได้จากการแบ่งปันซึ่งกันและกัน การจัดกิจกรรมร่วมกัน การทำงานเป็น ทีมระหว่างบุคลการสายงานเดียวกัน และบุคลากรต่างสายงาน 6. ระบบความยุติธรรมที่ดีคือ ระบบการ ทำงานที่มีวิธีการปฏิบัติงานและ แผนงานที่ชัดเจน ที่บุคลากรทุกคนสามารถปฏิบัติตามได้อย่างอย่างถูกต้อง รวมถึงมีช่องทางสำหรับการส่ง เรื่องร้องเรียน หรือการแสดงความคิดเห็นได้อย่างสะดวก 7. พื้นที่อิสระจาก งาน คือการที่บุคลากรทุกคนสามารถมีเวลาส่วนตัว มีเวลา ให้ครอบครัว สามารถผ่อนคลาย ตลอดจนสามารถ แบ่งเวลาให้การทำประโยชน์เพื่อสังคมและชุมชน 8. ความภาคภูมิใจในองค์กร บุคลากรในองค์การสามารถ บอกบุคคล ภายนอกโดยไม่เขินอาย ว่าตนทำงานในองค์การใด ส่วนใดขององค์การ วิธีทำงานอย่างมีความสุข ในช่วงหลายปีแรกที่เราเริ่มทำงาน เราอาจจะคิดว่างานที่เราทำไม่ได้ทำให้เรามีความสุข เพราะงาน อาจจะไม่เหมาะกับเราหรือไม่ตรงกับสิ่งที่เราฝันไว้ บางครั้งการย้ายงาน การย้ายแผนก การได้ลองทำอะไร ใหม่ๆบ้างก็เป็นการเติมไฟให้เราอย่างดีครับ ยิ่งถ้าเราย้ายงานแล้วใกล้บ้านหรือได้เงินเดือนเยอะกว่าเดิมก็เป็น เรื่องที่น่าฉลอง 1. เข้าใจคุณค่าของงาน หลายคนไม่มีความสุขกับงานของตัวเองเพราะรู้สึกว่าสิ่งที่ทำ ‘ไม่มีความหมาย’ บางทีเราอาจจะทำงาน อย่างเดิมซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งจนรู้สึกว่ามันไม่สำคัญ หรือบางทีเราก็อาจจะไม่ได้เข้าใจว่าคุณค่าของ ตำแหน่งงานของเราอยู่ในส่วนไหนของภาพรวมบริษัท การทำงานทั้งที่ไม่เข้าใจคุณค่าหรือเป้าหมายของ ตัวงานจะทำให้เรารู้สึกเบื่อหรือรู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไม่มีความหมาย ซึ่งอาการรู้สึกเบื่อหรือรู้สึกว่าสิ่งที่เรา ทำไม่มีความหมายก็จะทำให้เราทำงานได้อย่างไม่มีความสุข อาสาสมัครที่ทำงานช่วยสังคมเป็นตัวอย่างที่ ดีที่สุดครับ คนพวกนี้ทำงานเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสิ่งที่เขาสนใจหรือเห็นค่า ต่อให้ได้ผลตอบแทนไม่ เยอะ ทำงานเหนื่อยแค่ไหน หรือทำงานซ้ำไปซ้ำมา เขาก็ยังมีความสุขกับงานที่เขาทำได้เพราะฉะนั้น หากคุณคิดว่าคุณไม่เข้าใจคุณค่าหรือเป้าหมายของงานที่ตัวเองทำ ให้พยายามศึกษาภาพรวมของบริษัทดู
6 บริษัทของคุณขายลูกค้าประเภทไหน ลูกค้าพวกนี้ใช้สินค้าเราเพื่อทำอะไร และหน้าที่ของเรามีประโยชน์ ต่อจุดมุ่งหมายพวกนี้มากแค่ไหน 2. พัฒนาตัวเองเรื่อยๆ เป้าหมายของการทำงานหลายคนก็คือการเรียนรู้ครับ สำหรับบางคนการได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ (โดยเฉพาะ สิ่งที่สามารถทำเงินได้) ก็เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นและทำให้เรารู้สึกสนุก ซึ่งการทำงานก็คือหนึ่งในโอกาสที่เรา จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้หาวิธีแก้ปัญหาอะไรใหม่ๆที่เราไม่เคยคิดไม่เคยคาดฝัน และได้ทำความรู้จักและ เรียนรู้เกี่ยวกับคนที่เราไม่เคยเจอมาก่อน หากคุณรู้สึกว่ายังไม่มีความสุขกับงานที่ทำ ก็ให้ลองเก็บเกี่ยว โอกาสหาความรู้เกี่ยวกับบริษัท เกี่ยวกับสินค้า หรือเกี่ยวกับระบบการทำงานทั้งหมด ศึกษาเพื่อพัฒนา ตัวเองไปเรื่อยๆ ยิ่งคุณเก่งขึ้น คุณก็จะมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาก็คือความสุขในการทำงาน 3. สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับเลยก็คือไม่ใช่ทุกงานที่จะเหมาะกับทุกคน แต่ละคนมีข้อจำกัดในชีวิตไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราก็ควรจะหางานที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่เราอยากได้ หากคุณเป็นคนที่มีภาระทางบ้าน เยอะ มีข้อจำกัดต่างๆที่การทำงานไม่สามารถตอบโจทย์ให้ได้ คุณก็ควรศึกษาวิธีเรื่องการพัฒนาสมดุล ระหว่างชีวิตและการทำงานเพิ่มเติมครับ คนบางคนหากเป็นงานที่ชอบก็ยอมทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้เลย คน บางคนก็มีข้อจำกัดต้องเลิกงานให้ตรงเวลาไปรับลูก ไม่ว่าข้อจำกัดหรือความชอบของคุณคืออะไร คุณก็ ต้องหาจุดพอดีระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตให้ได้ 4. ขอคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ เวลาเราทำงานเราก็คงมีเรื่องให้ปวดหัวหรือเรื่องที่เราทำไม่ได้มากมายใช่ไหมครับ บางครั้งการพยายาม ทำอะไรด้วยตัวเองหรือการเรียนรู้ด้วยตัวเองในที่ทำงานก็ไม่เพียงพอ วิธีแก้ปัญหาหลายอย่างเราก็ไม่ อาจจะคิดด้วยตัวเองได้ การขอคำแนะนำจากคนแผนกอื่นหรือหัวหน้างานที่มีประสบการณ์มากกว่าเรา หรือมุมมองไม่เหมือนเราก็จะทำให้เราทำงานได้ดีขึ้น คำแนะนำไม่ได้จำเป็นต้องเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่ของ เราอย่างเดียวนะครับ การถามอะไรง่ายๆเช่น ‘คิดว่าจุดไหนที่ผมควรจะพัฒนามากขึ้นอีก’ หรือ ‘ส่วนนี้มี อะไรที่ต้องแก้ไขหรือเปล่า’ จะทำให้คนอยากช่วยให้ความรู้และช่วยสอนเรามากขึ้น ปัญหางานที่ยาก เกินไปหรือเพื่อนร่วมงานไม่เป็นมิตรไม่ให้ข้อมูลเป็นสิ่งที่ทำให้คนหนักใจจนต้องเปลี่ยนงานบ่อยๆ ถ้าเรา เข้าใจวิธีการขอความร่วมมือที่ถูกทาง ปัญหาของเราก็จะน้อยลง และความสุขของเราก็จะมากขึ้นด้วย 5. หาโอกาสให้ตัวเองเสมอ ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนเราชอบอยากลองอะไรใหม่ๆและชอบความรู้สึกว่าเราไปข้างหน้าเสมอ ยิ่งเป็นการไป ข้างหน้าจากความพยายามและความสามารถของเรา เราก็ยิ่งมีความสุข งานบางอย่างก็มีช่องทางในการ โตน้อยครับ เราอาจจะรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำอยู่คือสิ่งที่เราต้องทำตลอดไป และเราก็จะเบื่อและหมดความสุข กับการทำงาน (ไม่ได้เป็นสำหรับทุกคน แต่ส่วนมากก็ใช่การที่เรารู้ว่าเราสามารถโตได้ในบริษัทก็คือการ
7 ‘สร้างความหวัง’ ให้ตัวเองอย่างหนึ่ง ความหวังจะช่วยสร้างความสุข ลดความเครียด และผลักดันให้เรา พยายามมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเราพยายามและพัฒนามากขึ้นคุณภาพชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของเรา ก็จะดีขึ้น ในแง่ของความหวัง ต่อให้คุณไม่ชอบงานหรือไม่รู้สึกว่างานน่าตื่นเต้น บางครั้งความรู้สึกแค่ว่า ‘เดี๋ยวทุกอย่างก็ดีขึ้นแล้ว’ ก็เพียงพอสำหรับการหาความสุขในการทำงาน 6. วิธีสื่อสารแง่บวก การมองโลกในแง่ดีกับการสร้างบรรยากาศที่ดีย่อมทำให้เรามีความสุขใช่ไหมครับ ตามทฤษฎีแล้วการทำ ให้ที่ทำงานเป็นสถานที่สร้างความสุขนั้นฟังดูง่าย แต่ขั้นตอนแต่ละอย่างต้องทำให้ถูกต้อง วิธีที่เราสามารถ ทำได้ทันทีก็คือเริ่มจากวิธีการพูดและการสื่อสารของเรา ยกตัวอย่างเช่น เราควรเลิกวิธีการพูดเรื่องการ หาคนที่ผิดหรือคนรับผิดชอบ และโฟกัสเรื่องวิธีการแก้ปัญหาและการป้องกันไม่ได้ให้ปัญหาเกิดขึ้นได้อีก ในอนาคตเป็นต้น เราคงไม่สามารถควบคุมคำพูดของคนอื่นได้ แต่เราสามารถควบคุมวิธีการสื่อสารของ ตัวเองและการแก้ปัญหารอบตัวเราได้ทันที 7. วัฒนธรรมองค์กรเหมาะกับเราหรือเปล่า เราสามารถเกิดอาการ ‘เข้ากันไม่ได้’ กับบริษัทและสถานที่ทำงานด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นง่ายที่สุดก็คือการเข้า ไม่ได้กับวัฒนธรรมองค์กรครับ ยกตัวอย่างเช่นหากเราทำงานบริษัทฝรั่ง ทางบริษัทก็จะชอบคนที่กล้า แสดงออกมากกว่า หากเราทำงานกับบริษัทญีปุ่นทางบริษัทก็จะชอบคนที่ทำงานละเอียดทำงานเป็น ระบบ หรือถ้าเราทำงานองค์กรไทยเราก็ต้องทำความเข้าใจระบบ ‘ระดับความอาวุโส’ เป็นต้น 8. การให้ การให้คือการโฟกัสไปที่ปัญหาของคนอื่นมากกว่าการที่จะมาทุกข์กับปัญหาตัวเอง ยิ่งเราให้คนอื่นเยอะ ชีวิตเราก็จะมีความสุขมากขึ้นปัญหาของการให้ในที่ทำงานก็คือเราต้องเรียนรู้ที่จะให้อย่างมีเหตุผลและ รู้จักรักษาผลประโยชน์ของตัวเองด้วย หากเราเข้าใจหน้าที่การงานและความรับผิดชอบที่เราต้องทำแล้ว เราก็ควรหาวิธีทำงานพวกนั้นให้ดีก่อน 9. การพักผ่อนที่เพียงพอ สุขภาพร่างกายสำคัญต่อความสุขทากครับ แค่คุณออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอคุณก็จะเครียด น้อยลงมากแล้วแต่สิ่งที่ผมต้องเน้นเป็นพิเศษสำหรับคนทำงานก็คือการนอน บ่อยครั้งที่เราอาจจะใช้เวลา ทำงานมากเกินไปจนกลับบ้านสายและทำให้นอนสายไปด้วย หรือบางทีเราก็เก็บเรื่องงานมาคิดมากจน เครียดนอนไม่หลับ การนอนไม่พอจะทำให้คุณรู้สึกเบลอไม่สามารถโฟกัสกับการทำงานได้ และยังทำให้ คุณรู้สึกเครียดและหงุดหงิดมากขึ้นด้วย นอกจากการนอนแล้ว เราควรแบ่งเวลาพักผ่อนไปเที่ยวหรืออยู่ กับบ้านดูแลตัวเองด้วย ร่างกายคนเราเป็นเหมือนเครื่องจักรหากไม่มีการหยุดพักตรวจสอบสภาพร่างกาย บ่อยๆก็จะมีอาการล้าและเครียดได้
8 10.การทำงานก็คือการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง การทำงานส่วนมากต้องมีการพูดคุยกับคนอื่น เช่นการทำงานร่วมกันแผนกอื่น การคุยกับคู่ค้าทางธุรกิจ หรือการคุยกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น งานระดับไหนเราก็ต้องใช้ทักษะการเข้าสังคมไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งเท่ากับ ว่าเราก็ต้องเลือกงานที่มีระดับการ ‘เข้าสังคม’ ให้เหมาะสมกับตัวเอง หากเราไม่อยากพูดคุยกับคนแปลกหน้า เยอะ เราก็ควรเลี่ยงงานที่ต้องพบลูกค้า แต่ต่อให้เราเป็นพนักงานวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่หน้าจอคอมทั้งวัน เราก็ ต้องมีการพบปะพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานไม่มากก็น้อยอยู่ดี ทางที่ดีเราเปิดใจให้กว้างและเรียนรู้ที่จะมีความสุข กับคนรอบข้างจะดีกว่า 11.จำไว้เสมอว่าทุกคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น เวลาคุณไปกินข้าวกับเพื่อนแล้วสั่งผัดผักมาหนึ่งจาน คุณชอบกินผักบุ้ง ส่วนเพื่อนคุณ ชอบกะหล่ำปลี คุณสองคนก็แค่แบ่งอาหารกินแต่สิ่งที่ตัวเองชอบก็พอ การทำงานก็เช่นกัน ทุกคนมีความ ต้องการไม่เหมือนกัน บางคนก็อาจจะทำงานเพราะรู้สึกสนุก บางคนอาจจะทำงานได้ขอแค่มีคนชม บาง คนมาทำงานเพื่อเข้าสังคมมีคนเดินมาทักทายสวัสดีทุกวันก็มีความสุขแล้ว หากคุณรู้ว่าคุณต้องการอะไร แต่ละคนต้องการอะไร คุณก็สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งพวกนี้เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มี ความสุขได้แล้ว 12. คุณมีอิสระในการทำงานแค่ไหน ความหมายของอิสระของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบคิดเองทำอะไรเองเพราะได้ใช้ความคิด สร้างสรรค์เยอะ ส่วนบางคนชอบให้คนช่วยคิดให้ชอบพิจารณาตัวเลือกคำแนะนำของคนรอบข้าง งานที่ สร้างความสุขคืองานที่มีระดับของ ‘อิสระ’ ที่เหมาะสมกับเราหากคุณเป็นคนที่ชอบอะไรท้าทายอยากจะ ทดลองไอเดียของตัวเอง คุณคิดว่าคุณต้องอยู่ในองค์กรบริษัทแบบไหนถึงจะได้รับอิสระมากขนาดนี้ และ คุณสามารถพิสูจน์ตัวเองเพื่อขอโอกาสพวกนี้ได้ 13. มีสติกับงานที่ทำ ‘มีสติ’ และ ‘อยู่กับปัจจุบัน’ เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับความสุขที่มีมาหลายร้อยปีแล้วแต่เราจะนำวิธีคิดนี้มา ใช้กับการทำงานได้ยังไงบ้าง การมีสติหมายความว่าเราต้องไม่โฟกัสไปกับความทุกข์ของปัญหาต่างๆ เวลาเราเจอปัญหาในที่ทำงาน เราควรหาวิธีแก้ไขและป้องกันมากกว่าการเสียใจหรือกระวนกระวายใจ ใช้ สติกับสิ่งที่ทำ ตั้งใจทำงานสำคัญให้ดีที่สุด และอย่าให้ใจหลุดลอยไปกับอะไรที่ไม่คู่ควรต่อความสนใจของ เรา ทำทีละงาน ค่อยๆทำให้เสร็จตามลำดับความสำคัญ ยิ่งเราเจอปัญหาเราก็ความใช้สมาธิให้มากขึ้น หากคุณทำได้ คุณจะมีความสุขกับงาน 14. ทำงานต้องมีเป้าหมาย มันง่ายที่เราจะรู้สึก ‘หลงทาง’ เวลาเราไม่มีเป้าหมาย ซึ่งอาการของความรู้สึกหลงทางก็มีหลายอย่าง บาง คนอาจจะรู้สึกว่าเปล่า รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่มีค่า หรือรู้สึกว่าเราทำงานเหนื่อยเพื่ออะไรกัน สาเหตุที่คน
9 อยากเกษียณหรืออยากเลิกทำงานก็เพราะรู้สึกว่างานที่ทำไม่ได้ตอบโจทย์ของชีวิต แต่ถ้าเราสามารถหา เป้าหมายของการทำงานได้ ชีวิตของเราก็จะมีความหมายมากขึ้น เราจะสามารถใช้ 30% ของชีวิตที่เรา ต้องทำงานให้มีประโยชน์ได้มากขึ้น เป้าหมายการทำงานอาจจะเป็นอะไรง่ายๆแค่การเก็บเงิน หรือจะ เป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นก็ได้ ตราบใดที่เป้าหมายการทำงานทำให้เราตั้งใจทำงานและรู้สึกอยากลุกขึ้นไป ทำงานทุกวันก็เพียงพอแล้ว 15. คุณอยากทำอะไรกันแน่ คนประเภทแรกคือคนที่มีความสุข ประเภทที่สองคือคนที่อาจจะรู้สึกหงุดหงิดหรือเสียกำลังใจ ส่วนคน ประเภทที่สามคือคนที่กำลังหลงทางอยู่ครับ ซึ่งประเภทที่สองและสามก็คือไม่มีความสุขเท่าไร หากคุณรู้ ว่าตัวเองอยากทำอะไรแต่ไม่ได้ทำงานที่ตัวเองอยากทำ คุณก็ต้องถามคำถามว่าคุณจะทำให้สถานการณ์ มันดีขึ้นได้ยังไงบ้าง คุณอาจจะเปลี่ยนงานไปทำอะไรที่คุณอยากทำ หรือถ้าสิ่งที่คุณอยากทำมีความเสี่ยง หรือไม่สามารถสร้างเงินได้ คุณจะลดความเสี่ยงหรือหาช่องทางทำสิ่งพวกนี้เป็นงานอดิเรกได้หรือเปล่า หากคุณไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร คุณก็ต้องหาเวลาว่างมาลองอะไรใหม่ๆเพื่อตอบคำถามตัวเองให้ได้ หา อะไรที่คุณชอบหรือคุณถนัดทำไปเรื่อยๆจนกว่าคุณจะเจอสิ่งที่คุณอยากจะทำให้กลายเป็น ‘งานประจำ’ ของตัวเอง เคล็ดลับทำงานดีมีความสุข 1. ปัญหาส่วนตัวทิ้งไว้ที่บ้าน เมื่อคุณมีเรื่องคิดเกี่ยวกับครอบครัวหรือเรื่องส่วนตัว คุณจะไม่มีความสุข ในการท้างานและไม่สามารถจดจ่อกับงานได้ ควรทิ้งเรื่องส่วนตัวไว้ที่บ้านแล้วสนุกกับงานตรงหน้า 2. สร้างพื้นที่ผ่อนคลายส่วนตัว คุณใช้เวลาในที่ทำงานอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าในขณะที่ คุณทำงานจะมีแต่ความตึงเครียดเท่านั้น คุณสามารถสร้างบรรยากาศผ่อนคลายได้ง่าย ๆ เช่น ตกแต่ง โต๊ะทำงานให้รู้สึกสบายและผ่อนคลาย 3. เพื่อนคือสิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อนในที่ทำงานที่มีไลฟ์สไตล์คล้ายกับคุณจะช่วยแบ่งเบาความเครียดได้ไม่ น้อยในยามที่คุณอยากระบายให้ใครสักคนฟัง 4. กินดีสุขภาพดีกินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำในปริมาณที่มากพอ เมื่อสุขภาพดีก็ไม่เป็นอุปสรรคใน การทำงาน เกิดความคิดดี ๆ ผลงานก็ออกมาดีตามไปด้วย 5. จัดระเบียบการทํางาน ควรจัดสรรเวลาในการทํางาน จัดระเบียบตัวเองให้ดี อย่าให้เกิดภาวะงานล้น มือทําไม่ทัน ก่อความเครียด และสุดท้ายผลงานออกมาไม่ดี 6. เคลื่อนไหว เดินไปมาบ้าง ควรเปลี่ยนอิริยาบถให้เลือดลมเดินสะดวก ส่งเลือดขึ้นไปส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกายได้อย่างทั่วถึงโดยเฉพาะสมอ 7. อย่าพยายามเปลี่ยนเพื่อนร่วมงาน คุณไม่สามารถเปลี่ยนคนอื่นได้ แต่คุณสามารถเปลี่ยน วิธีการ ตอบสนองที่คุณมีต่อพวกเขาได้ อย่าให้การกระทําของคนอื่นมีผลต่อตัวคุณ
10 8. ให้รางวัลตัวเอง เวลาที่คุณตั้งเป้าว่าจะต้องทําอะไรบางอย่างให้สําเร็จ และเมื่อคุณทําได้ตามนั้น ก็ ควรให้รางวัลตัวเองด้วย เป็นการเติมความสุขให้ชีวิตส่งผลต่ออารมณ์ที่ดีในการทํางาน 9. มองโลกแง่บวก สุขหรือทุกข์ล้วนอยู่ที่มุมมองของคุณ หากคุณมองสิ่งต่างๆเป็นบวก ชีวิตก็จะมี ความสุขและสนุกกับงานได้ไม่ยาก 10. กล่าวคําทักทายตอนเช้า จะดีแค่ไหนถ้าคุณเริ่มต้นวันด้วยการทักทายคนที่ออฟฟิศด้วยรอยยิ้ม แล้ว ได้รับกลับมาเช่นกัน เห็นไหมว่า ความสุขเกิดขึ้นได้แม้เพียงสิ่งเล็กน้อยเท่านี้เอง HR จะส่งเสริมการสร้างความสุขในการทำงานได้แบบไหนบ้าง เพราะคนคือหัวใจหลักสำคัญขององค์กร การรักษาความสุขของพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหาร หัวหน้างาน รวมไปถึงทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์ควรให้ความสำคัญ ซึ่งจะว่าไปแล้วการสร้าง ความสุขในการทำงานนับเป็นหนึ่งในหน้าที่ HR โดยสามารถส่งเสริมได้ 1.) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในองค์กร การสร้างความสำพันธ์ระหว่างคนในองค์กรจะช่วยให้พนักงานมีความผูกพันกัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ความสัมพันธ์ภายในทีม หรือระหว่างแผนก สิ่งนี้จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรรู้จักกัน และเข้าใจ กระบวนการทำงานซึ่งกันและกัน ส่งผลให้ระบบการทำงานมีความคล่องตัวมากขึ้น 2.) ใช้ระบบการทำงานยืดหยุ่น การทำงานแบบยืดหยุ่นเป็นที่ถกเถียงในหลากหลายองค์กรมากขึ้น โดนเฉพาะปัจจุบันที่หลายคน จำเป็นต้อง Work From Home ทำให้กฎระเบียบข้อบังคับแบบเดิมๆ ไม่สามรถใช้ได้ในสถานการณ์นี้ HR จึ่งมีหน้าที่ช่วยผู้บริหารเข้าใจทางเลือกในการทำงานแบบยืดหยุ่น รวมถึงพฤติกรรมการของ คนทำงานรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นองค์กรสามารถปรับเปลี่ยนข้อจำกัดเพื่อรองรับการทำงานให้ สะดวกมากขึ้นที่สุด 3.) ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในเส้นทางอาชีพ ด้วยรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป เส้นทางอาชีพ หรือ Career Path ก็ค่อยๆ เลือนรางลง พนักงานคนหนึ่งอาจไม่ได้มีแค่เส้นทางเดียวในเลือกเดิน แถมยังมีงานที่หลากหลายให้รับผิกชอบ สิ่งที่ ผู้บริหารและHR ควรตระนักคือการวางแผนพัฒนาอาชีพให้ก้าวหน้า 4.) ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะใหม่ การเรียนรู้ในที่นี้ไม่ใช้แค่การเรียนรู้ในองค์กรอย่างเดียว แต่คือการเรียนรู้ภายนอกด้วยเช่นกัน เนื่องจากทุกวันนี้โลกการทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดงานใหม่และทักษะใหม่ๆ หาก มีการส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาตัวเอง ผลประโยชน์จะกลับมาสู่องค์กร พนักงานก็จะรู้สึกดีที่ได้ อัพเกรดความสามรถของตัวเอง
11 5.) ชื่นชมและให้ฟีคแบคกับพนักงาน คงไม่มีการกระทำใดๆ ที่สร้างความสุขได้ดีไปกว่าการเอ่ยปากชื่นชม สิ่งนี้จะช่วยหล่อเลี้ยงจิตใจ พนักงานได้อย่างดี โดยสามารถทำผ่านการประเมินผลงานประจำปี ซึ่งจะช่วยให้พนักงานทราบถึง ความคาดหวังขององค์กร ลำดับความสำคัญ ขอบเขตการทำงานและคุณค่าของงานที่ทำอยู่ เพราะ ข้อมูลทุกอย่างล้วนสามารถนำไปวิเคราะห์และแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นได้ 6.) มอบผลตอบแทนและสวัสดิการที่ดี นอกเหนือจากเงือนเดือนแล้ว สวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความสุขให้ คนทำงานได้เหมือนกัน ซึ่งไม่เพียงการมอบสวัสดิการพื้นฐาน เช่น สิทธิ์ในการรักษาพยาบาล กองทุน สำรองเลี้ยวชีพ รวมไปถึงสวัสดิการด้านความปลอดภัยและความสะดวกสบายในองค์กร คนทำงานก็ จะได้เพิ่มความสุขในระยะยาวได้
12 สรุป เพราะความสุขเป็นสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ทุกคนปรารถนา ความสุขในการทำงานของพนักงานจึงเป็น อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรควรให้ความใส่ใจ เห็นได้จากงานวิจัยสารพัดที่บ่งบอกว่า ความสุขส่งผลดี ต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งนั่นนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าขององค์กรต่อไป นอกจาก กระบวนการที่อยู่ในบทนี้ ยังมีแนวคิดและกระบวนการสร้างความสุขในที่ทำงานอีกมากมาย อยู่ที่ องค์กรของคุณเหมาะสมกับแนวคิดไหนมากกว่ากัน ถึงกระนั้นสิ่งหนึ่งที่ทุกแนวทางมองเห็นเหมือนกัน ก็คือการให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล และมองคนทำงานให้เห็น “คน” มากขึ้น ซึ่งนั่นก็สร้าง ความสุขพื้นฐานที่ยั่งยืนให้พนักงานของคุณแล้ว
13 อ้างอิง https://th.hrnote.asia/tips/workplace-happiness https://thelibrary.mju.ac.th/ https://w2.med.cmu.ac.th/ https://www.healthtodaythailand.in.th/
14