The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสาร คลังสมองหม่อนไหม ฉบับที่ 2 การตีราค

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Jirayupol Kiriyaporn, 2023-04-23 22:56:39

เอกสาร คลังสมองหม่อนไหม ฉบับที่ 2 การตีราค

เอกสาร คลังสมองหม่อนไหม ฉบับที่ 2 การตีราค

เอกสารวิชาการหม่อนไหม ฉบับที่ 2 การตลาดรังไหม ส่งรักษ์ เต็งรัตนประเสริฐ เยาวลักษณ์ ทองทวี พิสมัย โพธิ์ขาว ผลิตโดย คลังสมองหม่อนไหม เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการของชาวหม่อนไหม ปี พ.ศ. 2566


ค าน า กรมหม่อนไหม ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยลูกผสมที่มีลักษณะเด่นคือ เลี้ยงง่าย แข็งแรง การเจริญเติบโตสม่่าเสมอ อายุหนอนไหมอยู่ช่วงกลางให้ผลผลิตสูงกว่าลูกผสมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน 30 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มทางเลือกในการขายรังไหมสด และขายเส้นไหม ในประเด็นขายรังไหมสด เกษตรกรต้องสามารถบริหารจัดการ ผลิตรังไหม การบริการ การโฆษณา และวิธีการที่จะจ่าหน่ายรังไหมอย่างไร เพื่อท่าให้โรงสาวไหมเกิดความ พึงพอใจเป็นไปตามความต้องการที่จะซื้อรังไหม เป็นจุดก่อให้เกิดการตลาดรังไหมพันธุ์ไทยลูกผสม มีความส่าคัญ คือ เป็นการป้องกันการมีส่วนได้ส่วนเสียของเกษตรกร มีการแลกเปลี่ยนที่สมดุลระหว่างเกษตรกรกับโรงสาวไหม ด้วยการขายรังไหมจากความสมัครใจ รวมถึงความต้องการซื้อของผู้ซื้อและก่าลังในการซื้อ การตลาดรังไหมพันธุ์ไทยลูกผสมนี้ ก่าหนดใช้สัดส่วนของการมีส่วนได้ส่วนเสียระหว่างเกษตรกรกับ โรงสาวไหมเท่ากับ 58:42 ณ ราคาเส้นไหมยืน 2,000 บาทต่อกิโลกรัม ค่าจ่านวนคงที่ อาทิเช่น เปอร์เซ็นต์การสาว ได้จากเปลือกรังเท่ากับ 73 มูลค่ารังเสียเท่ากับ 150 เปอร์เซ็นต์เส้นไหมดิบที่สาวได้จากรังเสีย 12.42 จึงก่าหนด เป็นมาตรฐานด้านคุณภาพรังไหมให้มีการจัดแบ่งชั้นคุณภาพรังไหม ท่าให้การค่านวณราคารังไหมพันธุ์ไทยลูกผสม ตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์ด้านคุณภาพของรังไหม ทั้งโรงสาวไหม และเกษตรกรต่างได้รับผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ท่าให้ มีส่วนช่วยกันในการพัฒนาคุณภาพรังไหมทั้งหมด ส่งรักษ์ เต็งรัตนประเสริฐ 2560


1 การตลาดรังไหม ส่งรักษ์ เต็งรัตนประเสริฐ เยาวลักษณ์ ทองทวีและพิสมัย โพธิ์ขาว ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมของไทยนั้น ต่างได้รับการกล่าวขานมายาวนาน ในด้านความเป็นเอกลักษณ์ ความงดงามของสีสัน แสดงถึงฝีมือการทอผ้าของคนไทยที่ได้รับการถ่ายทอดจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ท่าให้ผ้า ไหมและผลิตภัณฑ์ไหมต่างได้รับความนิยมแพร่หลายทั้งจากคนไทยด้วยกันเอง และชาวต่างประเทศ ไหมไทยเป็น สินค้าหัตถกรรมและหัตถอุตสาหกรรมที่มีขั้นตอนการผลิตจากการใช้แรงงานของชุมชนเป็นหลัก จึงเหมาะสมกับ โครงสร้างฐานรากเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่มีแรงงานกระจายทั่วไปในต่างจังหวัด กล่าวคือ อุตสาหกรรมการ ผลิตไหมเป็นช่องทางการสร้างงานให้กับชาวบ้าน ในการเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงานในชนบท มีความสัมพันธ์กับภาวะ การตลาดภายในประเทศ ด้านเสื้อผ้าส่าเร็จรูปไหมที่ได้รับการต้อนรับจากผู้บริโภคดีขึ้น จากการจัดให้มีการรณรงค์การใช้ผ้าไหมไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน ผู้ผลิตมีการพัฒนารูปแบบ และ ลวดลายให้สวยงาม และไม่ตกยุคสมัยนิยม ท่าให้ผู้บริโภคหันมาสนใจผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าส่าเร็จรูปจากผ้าไหมมากขึ้น มีการตัดเย็บจากผ้าหลายชนิด เช่น ผ้าไหมชุด ผ้าไหมพื้นเรียบ ผ้าไหมสก๊อต ผ้าไหมหางกระรอก ผ้าไหมมัดหมี่ขอ ผ้าไหมพัฒนาลาย ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ ผ้าไหมสาคูเป็นต้น โดยลักษณะผ้าลวดลายเหล่านี้จะน่าไปตัดชุดราตรี กระโปรง เสื้อสูทสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี นอกจากนั้นตลาดเสื้อผ้าส่าเร็จรูปในประเทศยังได้พัฒนารูปแบบ และ ราคาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค และมีก่าลังซื้อเป็นการขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มขึ้นด้วย ตลาดไหม ภายในประเทศจะแปรผันตามเทศกาล เพราะผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแสดงความเป็นไทยในภาพลักษณ์ที่เห็น จึงนิยมซื้อ เป็นของขวัญของก่านัลในช่วงเทศกาลต่างๆ เพื่อตองสนองนโยบาย “นิยมไทยใช้ของไทย” โดยช่องทางการขยาย ตลาดจัดจ่าหน่ายในจังหวัดตนเองผลิต หรือจ่าหน่ายร่วมกับสหกรณ์การเกษตรของหมู่บ้าน งานแสดงสินค้าประจ่า จังหวัด และศูนย์แสดงสินค้าต่างๆ ส่าหรับผู้ผลิตรายใหญ่ มักจะเน้นผลิตเพื่อส่งออก และจ่าหน่ายภายในประเทศ ตามร้านค้าทั่วไป หรือตามสถานแหล่งท่องเที่ยว หรืองานแสดงสินค้าหนึ่งต่าบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ห่วงโซ่อุปทานของ วัตถุดิบ กว่าจะเป็นผืนผ้าที่สวยงามตระการตาได้นั้น ล้วนเริ่มต้นนับหนึ่งจากรังไหมทั้งสิ้น การตลาดรังไหม คือ กระบวนการที่เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จะบริหารจัดการการผลิตรังไหม การ บริการ การโฆษณา และวิธีการจ่าหน่ายรังไหมอย่างไรที่จะท่าให้โรงสาวไหมพอใจ เป็นไปตามความต้องการของ โรงสาวไหม กล่าวคือ ท่าให้รังไหมได้รับการเปลี่ยนมือจากเจ้าของเดิมจนถึงมือโรงสาวไหม ความส าคัญของตลาดรังไหม เพื่อที่จะปกป้องการมีส่วนได้ส่วนเสียของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ก่าหนดให้วางระเบียบข้อบังคับ เริ่มจากผู้ได้รับอนุญาตให้ผลิตไข่ไหม การควบคุมปริมาณ และคุณภาพไข่ไหมที่ ผลิต เช่น ไข่ไหมปลอดโรคเพบริน มีจ่านวนไข่ไหม 20,000 ฟองต่อกล่องหรือแผ่น มีเปอร์เซ็นต์การฟักออก มากกว่าร้อยละ 85-90 รวมถึงโรงสาวไหมที่ได้รับอนุญาตในการซื้อขายรังไหม


2 ข้อดีของตลาดรังไหม คือ การโฆษณาเชิญชวนให้เกษตรกรรวมตัวกันมาซื้อขายรังไหม แนวความคิด จุดเริ่มต้นการจัดตั้งการตลาดรังไหม โดยเกษตรกรจะต้องมีวิธีการผลิตรังไหมให้มีคุณภาพดี ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ของดรงสาวไหม เพื่อเกิดแรงจูงใจที่จะซื้อรังไหม อีกประเด็นคือ ต้องมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างสมดุลระหว่าง เกษตรกรกับโรงสาวไหม และบริการขายรังไหมด้วยความสมัครใจ รวมถึงความต้องการของผู้ซื้อและก่าลังในการซื้อ รูปแบบของขบวนการตลาดรังไหม - สภาพแวดล้อม - เศรษกิจ สังคม การเมือง โรคระบาด โควิด- 19 - คู่แข่งขัน - อุปสงค์ และอุปทาน - ช่องทางการขยายตลาด - ความก้าวหน้า - วัตถุประสงค์ - รังไหม การกระจายสินค้ารังไหม - ราคา - การสนับสนุนการขาย โรงสาวไหมจะเน้นการซื้อรังไหมเป็นเกณฑ์ ท่าให้ธุรกิจหม่อนไหมเจริญก้าวหน้า มั่นคง จากการที่โรงสาว ไหมมีความต้องการซื้อรังไหมกลุ่มเกษตรกรมีความมุ่งมั่นผลิตรังไหมมาสนองความต้องการของโรงสาวไหม ด้วย การพัฒนาการผลิตรังไหม จากการปรับปรุงความรู้ และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ หน้าที่หลักของตลาดรังไหม ได้แก่ การจัดการเกี่ยวกับ 4P+P คือ 1. Product: ผลผลิตรังไหม 2. Price: การตั้งราคาบนหลักเกณฑ์ของความส่าคัญด้านคุณภาพรังไหม โรงสาวไหม กลยุทธ์ทางการตลาด การตั้งราคารังไหม เกษตรกร


3 3. Place: การกระจายสินค้ารังไหม ก่าหนดมาตรฐานด้านคุณภาพรังไหม และวิธี มาตรฐานของการทดสอบให้มีการจัดแบ่งชั้นคุณภาพรังไหมเป็นชั้นต่างๆ 4. Promotion: การส่งเสริมการขาย 5. Package: การบรรจุภัณฑ์รังไหม นิยมใช้ถุงผ้าด้ายดิบ หรือถุงมุ้งพลาสติกสีฟ้า ขนาด กว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 40 x 40 x 80 เซนติเมตร หรือเข่งพลาสติก หรือเข่ง ไม้ไผ่ สามารถบรรจุรังไหมสด จ่านวน 20 กิโลกรัมต่อถุงหรือเข่ง จากแหล่งผลิต ของเกษตรกรสู่ตลาดรังไหม เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีรังไหมเสียเกิดขึ้นจากการ ขนส่งรังไหม จึงเป็นหน้าที่หลักของเกษตรกรในการปรับปรุงผลผลิตรังไหม และ พัฒนาภาชนะบรรจุรังไหมให้มีสภาพดี ท่าให้รังไหมเหมาะสมส่าหรับน่าไปสาว ไหม เพื่อสนองความต้องการของโรงสาวไหม เกษตรกรต้องคัดเลือกรังเสีย (Eliminated cocoon) ออกก่อนที่จะน่ารังดีไปขาย ชนิดรังเสียที่ต้องคัดแยก ออกได้แก่ 1. รังเปื้อนภายใน (Inside soiled cocoon) รังชนิดนี้เกิดจากดักแด้ ตายภายในรัง หรือบางครั้งไหมเป็นโรค แต่ยังสามารถท่ารังได้ และตายในรังใน ที่สุดเมื่อน่าไปสาวจะท่าให้เส้นไหมเปื้อนมีสีด่า 2. รังเปื้อนภายนอก (Outside soiled cocoon) เกิดจากน้่าปัสสาวะ ของไหมก่อนท่ารัง บางครั้งเกิดจากหนอนไหมที่เป็นโรคเก็บเข้าจ่อแล้วไม่ท่ารัง เน่าเปื่อย ท่าให้ผิวหนังแตกเปื้อนรังดีที่ท่ารังเสร็จแล้ว 3. รังหัวท้ายบาง (Thin end cocoon) เกิดจากพันธุ์ไหมอุณหภูมิขณะ กกไข่ไหมสูง อุณหภูมิในขณะไหมสุกท่ารังสูงหรือต่่าเกินไป รังชนิดนี้หัวท้ายจะ บางผิดปกติเวลาน่ารังไหมไปต้ม บริเวณนี้จะเละก่อน เวลาสาวบริเวณรังที่บาง จะขาดก่อน 4. รังบุบ (Crushed cocoon) พบบ่อยครั้งในการบรรจุรังไหมใส่ถุง หรือเข่งมากเกินก่าหนด หรือการขนส่งที่เกิดจากการทับซ้อนรังไหม หรือเกิด จากการกระแทก เวลาน่าไปสาวส่วนที่บุบจะขาดบ่อย 5. รังติดข้างจ่อ (Cocoon printed with cocooning frame) เกิด จากไหมท่ารังติดกับจ่อ หรือกระดาษรองจ่อลักษณะรังจะแบนผิดปกติ การต้ม รังไหมจะยาก สาเหตุเกิดจากจ่อไม่ถูกลักษณะ ใส่ไหมสุกมากเกินไป


4 6. รังผิดรูปร่าง (Malformed cocoon) เกิดจากการใช้จ่อที่ไม่ถูก ลักษณะหนอนไหมอ่อนแอท่ารังได้ไม่สมบูรณ์รูปร่างบิดเบี้ยว น่าไปต้มจะเละก่อน 7. รังหลวม (Loose shell cocoon) เกิดจากพันธุ์ไหม สภาพแวดล้อม ขณะไหมท่ารังไม่ดี สาวยาก จะสาวได้เฉพาะเปลือกรังชั้นนอกเท่านั้น 8. รังแฝด (Double cocoon) ได้แก่รังไหมที่มีดักแด้ 2 ตัว น่าปาวจะ ท่าให้เส้นไหมขาดบ่อยๆ เพราะเส้นไหมพันกัน เปอร์เซ็นต์การสาวง่ายมีค่าต่่า สาเหตุเกิดจากพันธุ์ไหม พบว่าสายพันธุ์ญี่ปุ่นจะมีอัตราการเกิดรังแฝดมากกว่า ส่วนพันธุ์ไทยพื้นบ้านมีอัตราการเกิดรังแฝดต่่า หรือเกิดจากชนิดของจ่อ จ่อลูก คลื่นท่าให้ไหมท่ารังแฝดมากมากที่สุด หรือใส่ไหมสุกในจ่อมากเกินไป 9. รังเจาะ (Pierced cocoon) เกิดจากแมลงวันลายเจาะ มดเจาะ ตรงรูของรังไหมที่เจาะนั้นเท่ากับเป็นการตัดเส้นไหมขาดทั้งเส้น เวลาสาวจะ ขาดบ่อยๆ 10. รังบาง (Thin shell cocoon) เกิดจากไหมเป็นโรคแต่สามารถ ท่ารัง ระยะหนึ่งแล้วตาย หรือขณะไหมสุกท่ารังอุณหภูมิสูง หากต้มรวมกันจะเละก่อน 11. รังขึ้นรา (Musty cocoon) เกิดจากการอบรังไหมไม่แห้งสมบูรณ์ ความชื้นสัมพัทธ์สูง จึงสนับสนุนให้เกิดเชื่อรา ไม่ควรน่าไปสาว ความชื้นสัมพัทธ์ ในห้องเก็บรังไหมไม่ควรเกิน 70 เปอร์เซ็นต์ การจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขณะไหมสุก สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้ไหมสุกท่ารัง โดยเฉพาะ อุณหภูมิและความชื้น ส่งผลให้รังไหมและดักแด้มีคุณภาพดีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิ 22 - 24 องศา เซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 – 70 เปอร์เซ็นต์ อากาศถ่ายเทได้สะดวก การเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังจากเก็บไหมสุกเข้าจ่อแล้ว เวลาที่เหมาะสมในการเก็บรังไหม คือ 5-6 วัน น่ารังไหมที่เก็บได้ไปลอกปุยไหม จึงคัดเลือกรังดี และรังเสียออกจากกัน ก่อนน่ารังไหมไปขาย หรือสาวไหม รวบรวมรังไหมดีบรรจุใส่ถุงผ้า หรือถุงตาข่ายมุ้งพลาสติกสีฟ้า ขนาดกว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 40 x 40 x 80 เซนติเมตร หรือเข่งไม้ไผ่ เข่งพลาสติก ทีมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ห้ามน่ารังไหมสดใส่ถุงพลาสติก โดยเด็ดขาด ปริมาณรังไหมที่บรรจุต่อถุง หรือเข่ง เท่ากับ 20 กิโลกรัม ไม่วางถุงใส่รังไหม หรือเข่งรังไหมทับซ้อน กันเป็นชั้นหนา จะท่าให้เกิดรังเสียได้ ระยะเวลาในการขนส่งรังไหมจากแหล่งผลิตไปยังตลาดรังไหมไม่ควรใช้ เวลานานเกิน 8-10 ชั่วโมง เวลาที่เหมาะสมในการขนส่งรังไหมได้แก่ ช่วงเช้ามืด หรือพลบค่่า ยานพาหนะที่ใช้ ขนส่งรังไหม สามารถป้องกันแสงแดด และความชื้นได้จึงจะไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของรังไหม


5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตลาดรังไหม แบ่งได้ 2 อย่าง คือ 1. ปัจจัยที่ควบคุมได้ คือ 4P+P,วัตถุประสงค์ 2. ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อุปสงค์ อุปทาน การ ขยายตลาด คู่แข่งขัน อุปสงค์การตลาดในแง่เศรษฐกิจ ปริมาณความต้องการรังไหมขึ้นอยู่กับราคา ประสิทธิภาพการท่างาน เครื่องสาวไหม และก่าลังการซื้อ-ขาย ผลิตภัณฑ์รังไหม หมายถึง รังไหมที่น่าเสนอแก่ตลาด เพื่อดึงดูดความสนใจ และการได้มาซึ่งการเป็น เจ้าของการใช้ หรือการบริโภคเพื่อความต้องการ หรือความจ่าเป็นให้เกิดความพึงพอใจ ราคารังไหม โรงสาวไหมมีมุมมองเรื่องราคารังไหม คือชี้ว่าควรซื้อรังไหมหรือไม่ ในราคาเท่าไหร่ โรงสาว ไหมจะมองราคาเป็นส่วนส่าคัญของรายรับ เพราะรายรับก็เป็นส่วนส่าคัญในการก่าหนดก่าไร หมายเลข 1 หมายถึง ผลิตภัณฑ์ผลิตได้น้อยแต่ความต้องการมาก ราคาก็ขึ้นโดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงต้อง ผลิตให้มากขึ้น เพื่อให้สมดุล เช่น สินค้าเกษตร หมายเลข 2 หมายถึง จุดตั้งราคา ซึ่งจุดนี้มีความแปรปรวนตลาด หมายเลข 3 หมายถึง ผลิตภัณฑ์มาก ความต้องการน้อย ราคาจะต่่า ต้องปรับให้สมดุล ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งราคา แบ่งได้ 2 อย่าง คือ ปัจจัยภายใน - วัตถุประสงค์ รูปที่1 ราคาในทางเศรษฐกิจ


6 - ลักษณะผลผลิตรังไหม - การกระจายสินค้ารังไหม,การขาย - ทุน - นโยบายส่งเสริมการขาย การสร้างแรงจูงใจ การกระจายข้อมูล ปัจจัยภายนอก - อุปสงค์ - อุปทาน - คู่แข่งขัน - เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และโรคระบาดโควิด-19 - ช่องทาง การขยายตลาด การส่งเสริมการขายรังไหม คือ ความพยายามทุกด้านที่จะก่อให้เกิดช่องการกระจายข้อมูล และแรงจูงใจ กับโรงสาวไหม อันจะท่าให้เกิดการขายรังไหมได้ ประเทศอินเดียมีการผลิตรังไหมมากเป็นอันดับ 2 ของโลก มีตลาดรังไหมประมาณ 11 แห่ง การซื้อขาย รังไหมใช้วิธีประมูลราคาจากโรงสาวไหมต่างๆ รัฐบาลจะเป็นผู้ด่าเนินการในการประมูลราคา ผู้ชนะการประมูล ราคาจะช่าระเป็นเงินสด โดยรัฐบาลจะคิดค่าบริการซื้อ-ขายจากผู้ซื้อ และผู้ขาย ฝ่ายละ 1 เปอร์เซ็นต์ของราคาซื้อ ขาย แม้ว่าที่ตลาดรังไหมจะอ่านวยความสะดวกให้แก่เกษตรกร รวมถึงผู้ผลิตไข่ไหม โรงสาวไหม แต่ยังมีช่องไหว่ ท่าให้ไม่เกิดความยุติธรรม เช่น ขาดการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ในการจัดแบ่งชั้นคุณภาพรังไหมก่อนการซื้อขาย สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสาเหตุท่าให้เกิดความไม่เป็นธรรมในทางปฏิบัติ ท่าให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจที่จะเพิ่มขีด ความสามารถในการผลิตรังไหมให้มีการพัฒนาคุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม การทดสอบคุณภาพรังไหม การคัดเลือกรังไหมเพื่อน่าไปขาย หรือสาวไหม มีความส่าคัญมาก ไม่เช่นนั้น จะส่งผลเสียต่อความมั่นคงด้านคุณภาพเส้นไหม และคุณภาพผ้าไหม จึงเป็นความยุ่งยากที่จะซื้อรังไหมที่ตลาดรัง ไหม หากยังไม่มีก่าหนดมาตรฐานด้านคุณภาพรังไหม และวิธีมาตรฐานของการทดสอบให้มีการจัดแบ่งชั้นคุณภาพ รังไหมเป็นชั้นต่างๆ ปัจจุบันการตรวจพินิจ (visual inspection) คุณภาพรังไหมจะได้จากทักษะความช่านาญ และ ประสบการณ์ในหลายปีที่ผ่านมา จึงน่ามาก่าหนดราคาในการซื้อขายรังไหม และการสาวไหมอุตสาหกรรม การ ประเมินคุณภาพรังไหมใช้องค์ประกอบในส่วนส่าคัญ คือ จากการสอบข้อมูลจากการตรวจสอบด้วยสายตา ท่าให้มี ความคล่องแคล่วว่องไว การทดสอบรังไหมให้บรรลุผลส่าเร็จนั้น มีวิธีการมากมายในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านหม่อนไหม เข่น ประเทศญี่ปุ่นที่สามารถผลิตรังไหมคุณภาพดี สม่่าเสมอ การซื้อขายจะก่าหนดระเบียบข้อบังคับ โดยสร้างมาตรฐาน


7 ของคุณภาพรังไหมและวิธีการคัดเลือกรังไหมให้มีความสม่่าเสมอ ก่าหนดวิธีการทดสอบรังไหมและการสาวไหม ลักษณะส่าคัญในการค่านวณคุณภาพรังไหม ได้แก่ 1. น้่าหนักรังสด 2. น้่าหนักเปลือกรัง 3. เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 4. เปอร์เซ็นต์รังเสีย 5. ความยาวเส้นไหม 6. ขนาดเส้นไหม 7. เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 8. เปอร์เซ็นต์ไหมดิบ 9. ความเรียบเส้นไหม 10. เปอร์เซ็นต์ซิริซิน วิธีการทดสอบรังไหมของอินเดีย (Central Sericultural Research and Training Institute ; CSR&TI) วิธีการซื้อขายรังไหมในประเทศญี่ปุ่น หากน่ามาใช้ในอุตสาหกรรมไหมของประเทศอินเดีย อาจจะเป็นไป ได้ยาก โดยเหตุที่เกษตรกรต้องการได้รับเงินสดทันทีจากการซื้อขายรังไหมและเกษตรกรกรแต่ละรายมีรังไหม จ่านวนไม่มาก จากผลการศึกษาพบว่าเปอร์เซ็นต์เปลือกรังมีความสัมพันธ์กับเรนดิทต้า (Renditta) ดังนั้น คุณภาพ รังไหมที่น่ามาสาวมีเกณฑ์ส่าคัญอย่างน้อยในการประเมินผลคือ เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง ถ้าเปอร์เซ็นต์เปลือกรังสูง จะให้ค่าเรนดิทต้าและเปอร์เซ็นต์ไหมดิบดีกว่า จากความสัมพันธ์นี้จึงกล่าวได้ว่า คุณภาพรังไหมที่ดีกว่าจะให้ค่า เรนดิทต้าที่ดีกว่า ค่าเรนดิทต้าของรังไหมทั้งหมดสามารถค่านวณเกี่ยวกับค่าค่านวณคงที่ ที่ได้รับจากการสาวไหมที่แท้จริง ด้านเกณฑ์มาตรฐานเปอร์เซ็นต์ไหมดิบ ค่าประมาณของเรนดิทต้า = ค่าค่านวณคงที่ เปอร์เซ็นต์เปลือกรังที่แท้จริงจากรังไหมทั้งหมด ก่าหนดค่าจ่านวนคงที่ ดังนี้ 165 : สัมพันธ์กับพันธุ์ไหม Multivoltine hybrid cocoons ที่มีเปอร์เซ็นต์เปลือกรังระหว่าง 14-16 150 : สัมพันธ์กับพันธุ์ไหม Bivoltine and improved multivoltine ด้วยเช่นกัน มีเปอร์เซ็นต์เปลือกรัง ระหว่าง 17-20 133 ; สัมพันธ์กับพันธ์ไหม Bivoltine cocoons มีเปอร์เซ็นต์เปลือกรังระหว่าง 21-23 หากทราบค่าเรนดิทต้า ก็สามารถค่านวณราคารังไหม 1 กิโลกรัมได้


8 จากสูตร ราคารังไหม 1 กิโลกรัม = ต้นทุน ต้นทุน Kakame หมายถึง ต้นทุนราคารังไหมที่ต้องน่ามาสาวผลิตเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม ได้จากการทดสอบ สาวไหมที่แท้จริงด้านเกณฑ์มาตรฐานเปอร์เซ็นต์ไหมดิบ ระหว่างเปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 16, 17, 20, 21 ยังมีความสัมพันธ์กับเปอร์เซ็นต์รังเสียที่ต้องน่ามาใช้ได้ด้วยคือ 160 : ในกรณีที่มีรังเสีย มากกว่า 5% 150 : ในกรณีที่มีรังเสีย น้อยกว่า 5% เปอร์เซ็นต์เปลือกรังอยู่ระหว่าง 16 และ 17 150 : ในกรณีที่มีรังเสีย มากกว่า 5% 133 : ในกรณีที่มีรังเสีย น้อยกว่า 5% เปอร์เซ็นต์เปลือกรังอยู่ระหว่าง 20 และ 21 ราคารังไหมจะผันแปรได้กับเปอร์เซ็นต์เปลือกรังและเปอร์เซ็นต์รังเสียจากจ่านวนรังไหมทั้งหมดของ แต่ละราย หากมีรังเสียปะปนจ่านวนมากจะเกิดผลเสียต่อการสาวไหมแม้ว่าเปอร์เซ็นต์เปลือกรังจะมีค่าสูง หากสูตรค่านวณราคาไหมต่อกิโลกรัมสมบูรณ์ในการน่าไปใช้ประโยชน์ เปอร์เซ็นต์รังเสียควรมีค่าต่่ากว่า 5 ในกรณี ที่เปอร์เซ็นต์รังเสียมีค่ามากกว่า 5 ทุก 1 เปอร์เซ็นต์รังเสียที่เพิ่มขึ้นจะต้องเพิ่มค่าเรนดิทต้าเท่ากับ 0.1 การทดสอบและการแบ่งชั้นคุณภาพรังไหม เป็นเรื่องที่โรงสาวไหมต้องการให้เกิดขึ้นเพื่อความก้าวหน้าใน ภาพรวมทั้งหมดของอุตสาหกรรมไหม หากการค่านวณราคารังไหมตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์ด้านคุณภาพรังไหม ทั้งโรง สาวไหมและเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมต่างก็ได้รับผลร่วมกัน ท่าให้มีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพรังไหม ทั้งหมดและสภาพเงื่อนไขในการสาวไหม ในทางปฏิบัติประเทศอินเดียก็ยังไม่ได้ลงมือด่าเนินการ แม้ว่าจะมีการ เตรียมให้มีเครื่องมือ ณ ตลาดรังไหมในรัฐคาร์นาตาก้า อย่างไรก็ตาม จะต้องใช้ข้อบังคับให้ปฏิบัติตามวิธีการ ทดสอบรังไหมในตลาดรังไหมทั้งหมดจึงจะเกิดการตีราคารังไหมที่สมบูรณ์ การตีราคารังไหมของประเทศไทย จากการฝึกอบรมการตีราคารังไหมในประเทศไทย โดยคุณจรรยา ปั้นเหน่งเพชร ประมาณปี 2525-2530 ก่าหนดให้มีการแบ่งชั้นคุณภาพรังไหม เพี่อให้เกิดความยุติธรรมเจ้าหน้าที่ของกรมหม่อนไหมจะด่าเนินการตาม ขั้นตอนตรวจพินิจตามหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ในการประเมินชั้นคุณภาพรังไหมของเกษตรกรแต่ละราย ดังนี้ 1. การบันทึกข้อมูล 1.1 ชื่อเกษตรกรผู้ผลิตรังไหม ที่อยู่ โทรศัพท์ 1.2 ชื่อพันธุ์ไหมที่เลี้ยง จ่านวน กล่อง/แผ่น เริ่มเลี้ยงวันที่


9 1.3 แหล่งที่มาของไข่ไหม 1.4 ผลผลิตรังไหม กิโลกรัม 1.5 การตรวจคุณภาพรังไหม 1.5.1 น้่าหนักรังสด กิโลกรัม 1.5.2 น้่าหนักรังเสีย กิโลกรัม 1.6 เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 1.7 เปอร์เซ็นต์รังเสีย 1.8 ราคารังไหม 1 กิโลกรัม บาท 1.9 ราคารังไหมรวม บาท 2. วิธีการสุ่มตัวอย่างรังไหมของเกษตรกรแต่ละรายเพื่อประเมินผลชั้นคุณภาพรังไหม ด้านเปอร์เซ็นต์ เปลือกรังและเปอร์เซ็นต์รังเสีย วิธีการสุ่มตัวอย่างรังไหมให้ใช้มือล้วงลงไปในถุงบรรจุรังไหม ประมาณ 5-10 ต่าแหน่ง ได้แก่ ต่าแหน่งตรงจุดศูนย์กลาง ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ความลึกในการสุ่มรังไหม ประมาณ 20-25 เซนติเมตร รวบรวมรังไหมที่สุ่มได้นั้น ชั่งน้่าหนัก จดบันทึกข้อมูล น้่าหนักรังไหมสดของเกษตรกร แต่ละรายน่ามาขาย ดังนี้ 2.1 น้่าหนักรังไหม หนัก 50 กิโลกรัมลงมา ให้สุ่มรังไหมหนัก 0.5 กิโลกรัม 2.2 น้่าหนักรังไหมหนัก 51-100 กิโลกรัม ให้สุ่มรังไหมหนัก 1.5 กิโลกรัม 2.3 น้่าหนักรังไหมหนัก 101 กิโลกรัมขึ้นไป ให้สุ่มตัวอย่างรังไหม 1.5 เปอร์เซ็นต์ของน้่าหนักรังไหม ทั้งหมด น่าตัวอย่างที่สุ่มได้ไปตรวจคัดแยกรังดี รังเสีย บนโต๊ะกระจกขาวขุ่นที่ด้านใต้โต๊ะจะมีแสงกว่างจาก หลอดไฟฟ้านีออนท่าให้การตรวจสอบคัดแยกรังเสียมีประสิทธิภาพสูง เช่น รังเปื้อนภายในจะปรากฏเห็นชัดเจน รวบรวมรังเสีย ชั่งน้่าหนัก บันทึกข้อมูล หาเปอร์เซ็นต์รังเสีย สูตร เปอร์เซ็นต์รังเสีย = น้่าหนักรังเสีย น้่าหนักตัวอย่างรังไหมทั้งหมด x 100 รังดีที่สุ่มได้นั้น หาเปอร์เซ็นต์เปลือกรัง ดังนี้ สูตร เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง = น้่าหนักเปลือกรัง น้่าหนักรังสด x 100


10 การตีราคารังไหมสด 1 กิโลกรัม สูตร ราคารังไหมสด 1 กิโลกรัม = 58 100 x ราคาเส้นไหมยืน x เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 100 x เปอร์เซ็นต์การสาวได้จากเปลือกรัง 100 x เปอร์เซ็นต์รังดี 100 + 150 x เปอร์เซ็นต์รังเสีย 100 x 12.42 100 ในปัจจุบัน แบ่งสัดส่วนของการมีส่วนได้ส่วนเสียระหว่างเกษตรกรและโรงสาวไหม เท่ากับ 58 : 42 - ราคาเส้นไหมยืนเป็นราคาที่ซื้อขายกันในตลาดเปลี่ยนแปลงได้ - เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ไหม คุณภาพการเลี้ยงไหม - เปอร์เซ็นต์ที่สาวได้จากเปลือกรัง ก่าหนดค่าจ่านวนคงที่ 73 - เปอร์เซ็นต์รังดี รังเสีย เป็นตัวเลขที่ได้จากการสุ่มรังไหมของเกษตรกรแต่ละราย มาคัดแยกรังดี รังเสีย แล้วค่านวณในสูตรชองการหาเปอร์เซ็นต์รังดี รังเสีย - มูลค่ารังเสีย เป็นค่าจ่านวนคงที่ 150 - เปอร์เซ็นต์เส้นไหมดิบที่สาวได้จากรังเสีย (%of Raw Silk from Eliminated cocoon) เป็นค่า จ่านวนคงที่ 12.42 ตัวอย่างเช่น ราคาเส้นไหมยืน 2,000 บาทต่อกิโลกรัม เปอร์เซ็นต์จากเปลือกรัง 16 เปอร์เซ็นต์รังเสีย 5 เปอร์เซ็นต์รังดี 95 แทนค่าในสูตร ราคารังไหมสด 1 กก. = 58 100 x 2,000 x 16 100 x 73 100 x 95 100 + 150 x 5 100 x 12.42 100 = 0.58 x 2,000 x 0.16 x 0.73 x 0.95 + 150 x 0.05 x 0.1242 = 128.7 + 0.9315 ราคารังไหมสด = 130 บาทต่อกิโลกรัม หมายเหตุ : สูตร อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ในอดีต การตีราคารังไหมจะมีเฉพาะพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศรังสีขาวเท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักใน การน่ารังไหมไปผลิตเส้นไหมยืนยังมีเกษตรกรอีกเป็นจ่านวนมาก เริ่มหันมาเลี้ยงพันธุ์ไหมไทยลูกผสมที่ให้ผลผลิต สูงกว่าไหมพันธุ์ลูกผสมไทยพื้นบ้าน ในการพัฒนาไหมพันธุ์ไทยลูกผสม หากมีตลาดรังไหมรองรับ มีการตีราคารัง ไหมประเภทนี้ด้วย โดยมีการค่านวณราคารังไหมทางวิทยาศาสตร์สามารถแบ่งชั้นคุณภาพรังไหมทั้งโรงสาวไหม และเกษตรกรต่างก็ได้รับผลประโยชน์ที่สมดุลด้วยกัน จะเป็นแรงผลักดันขับเคลื่อนธุรกิจการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม


11 สาวไหม ทอผ้าไหมให้เจริญรุ่งเรือง มั่นคงในอาชีพ อีกประการหนึ่งรังไหมพันธุ์ไทยลูกผสมสามารถน่าไปผลิตเส้น ไหมยืนสีเหลืองได้สวยงามเป็นการเพิ่มทางเลือกกลุ่มทอผ้าไหม ผลิตผ้าไหมตรานกยูงสีทองมีปริมาณเพิ่มขึ้นอีกด้วย เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านและพันธุ์ไทยลูกผสม เมื่อเก็บผลผลิตรังไหมแล้วนิยม แปรรูปเป็นเส้นไหม ผ้าไหม ขายให้แก่เพื่อนบ้านและพ่อค้าท้องถิ่น หรือน่าไปขายตามงานเทศกาลต่างๆ ดังนั้น ภาพรวมทั่วๆ ไปของเกษตรกรรายย่อยจะขายเส้นไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมอีกส่วน บางกลุ่มผลิตเส้นไหมอย่าง เดียวซึ่งมีผลตอบแทนค่อนข้างสูง โดยเกษตรกรจะมีการประสานกับผู้ซื้อพ่อค้าท้องถิ่น พ่อค้าในกรุงเทพเป็นอย่างดี คุณภาพเป็นที่ยอมรับชองผู้ซื้อ แต่ถ้าเป็นเกษตรกรรายย่อยเฉพาะราย อาจมีปัญหาเรื่องตลาดเมื่อผลิตผ้าไหม เรียบร้อยแล้วต้องใช้เวลานานถึง 3-6 เดือน จึงจะขายได้รับเงินเป็นสาเหตุหนึ่งที่เกษตรกรรายย่อยส่วนมากไม่นิยม ทอผ้าไหมขายเพียงอย่างเดียว สาเหตุอีกประการหนึ่งจากที่ผ้าไหมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความละเอียดเฉพาะตัวเอง รวมถึงช่วงเวลายุคสมัยนิยม สีสัน ลวดลาย โครงสร้างของผ้าไหม เป็นต้น จึงท่าให้การจัดการตลาดประสบ ความส่าเร็จได้ยาก วิธีการตลาด แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1. พ่อค้าท้องถิ่น เป็นผู้อยู่ใกล้ชิดกับเกษตรกร รับซื้อผลผลิตไหมจากเกษตรกรทุกประเภท เช่น รังไหม เส้นไหมพุ่ง และผ้าไหม หรืออาจเป็นผลิตภัณฑ์อื่นที่ท่าจากไหม ให้ราคาตามท้องตลาด ส่วนใหญ่จะจ่ายเงิน สดทันที พ่อค้าจะเป็นผู้คัดเลือกชั้นคุณภาพผลผลิตด้วยตนเอง แต่ถ้าเกษตรกรรวมกลุ่มกันในการซื้อขายจะรวมกัน ก่าหนดชั้นคุณภาพของผลผลิต 2. พ่อค้าในเมือง เป็นพ่อค้าที่ท่าธุรกิจในเมืองใหญ่ของจังหวัดนั้นๆ มีแหล่งที่รับซื้อที่แน่นอนในตัวเมือง เช่น จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น สกลนคร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองคาย มุกดาหาร เลย กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก สระบุรี น่าน กาญจนบุรี เป็นต้น โดยมีร้านค้า เป็นของตนเอง ท่าการค้าครบทุกขบวนการ คือ ขายเส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและของที่ระลึก แหล่ง จ่าหน่ายผ้าไหมที่พบง่ายคือ ร้านขายสินค้าพื้นเมือง ตลาดนัด “น้่าใจ” สถานที่ตัดเย็บเสื้อผ้า งานออกร้านแสดง สินค้า แหล่งผลิตที่มีชื่อเสียง ห้างสรรพสินค้า ศูนย์จ่าหน่ายสินค้าต่างๆ วิถีการตลาดรังไหม หากอยู่ในท้องถิ่นไม่ค่อยมีผลกระทบเพราะพ่อค้าท้องถิ่นเป็นตัวแทนของโรงสาวไหม ส่วนวิถีตลาดรังไหมสาวด้วยเครื่องจักรโรงสาวไหมจะกระจายจุดซื้อตามลูกไร่ของตนเอง ตลาดรังไหมจึงมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ คือ รังไหมของเกษตรกรที่มีขายตลอดปี หากชั้นคุณภาพรังไหม ตรงกับความต้องการตของโรงสาวไหม เกษตรกรและโรงสาวไหมมีส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรม จะส่งผลดีต่อ อุสาหกรรมทอผ้าไหมที่ผลิตได้มีคุณภาพสูง เชิญชวนให้ผู้บริโภคได้สัมผัสเกิดความมั่นใจในคุณภาพและราคา ยุติธรรม เป็นห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มของการผลิตทุกขบวนงานตั้งแต่ต้นน้่าถึงปลายน้่า ก่อให้เกิดความมั่นคง ยั่งยืนใน อาชีพหม่อนไหมสืบไป


12 หมายเหตุการตีราคารังไหมของประเทศไทยโดยนางจรรยา ปั้นเหน่งเพชร ตั้งแต่ปี 2525-2530 นี้ได้ใช้เป็นมาตรฐานใน การสร้างความเป็นธรรมให้กับเกษตรกรและโรงงานสาวไหมในช่วงต้นของการพัฒนาไหมของไทย กว่าจะเป็นสูตรค่านวณต้องใช้ เวลาทดสอบทดลองวิจัยในการหาข้อมูลจนมั่นใจจึงน่ามาใช้ แต่ตัวเลขในสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ถ้าเทคโนโลยีการสาวไหมดี ขึ้นและคุณภาพรังไหมดีขึ้น ทั้งนี้อยู่ที่นักวิชาการจะท่าการทดสอบวิจัยจนได้ข้อมูลใหม่ก็น่าไปเปลี่ยนแปลงตัวเลขในสูตรได้ใน อนาคต เช่น ตัวเลข 58 : 42, ตัวเลข 73 (% สาวได้จากเปลือกรัง) และ 12.42 (% เส้นไหมดิบที่สาวได้จากรังเสีย)


13 ภาคผนวก ก. ค่าอธิบายความหมายของศัพท์ รังไหม หมายถึง เส้นใยโปรตีนที่สร้างขึ้นโดยหนอนไหมพ่นเส้นใยดังกล่าวห่อหุ้มตัวเอง ก่อนลอกคราบ เป็นดักแด้ โดยปกติการจ่าหน่ายรังไหมจะมีส่วนของดักแด้และคราบหนอนไหมอยู่ภายใน รังไหมสด หมายถึง รังไหมที่ประกอบด้วยดักแด้ที่มีชีวิต เปลือกรังและคราบของหนอนไหม ซึ่งรวมทั้งที่ยังไม่ ลอกปุยไหมและลอกปุยไหมแล้ว รังดี หมายถึง รังไหมที่มีรูปร่างตามลักษณะของพันธุ์ ดักแด้ไม่ตาย รังเสีย หมายถึง รังไหมที่มีรูปร่างผิดปกติไปจากลักษณะของพันธุ์หรือลักษณะผิดปกติ ได้แก่ รังเปื้อน ภายใน รังเปื้อนภายนอกก รังเจาะ รังแฝด รังบาง รังหัวท้ายบาง รังหลวม รังผิดรูปร่าง รังติดข้างจ่อ รังบุบ รังขึ้นรา ตลาดรังไหม หมายถึง ขบวนการที่เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจะบริหารจัดการการผลิตรังไหม การบริการ การโฆษณาและวิธีการจ่าหน่ายรังไหมอย่างไร ที่จะท่าให้โรงสาวไหมพอใจเป็นไปตามความต้องการ ของโรงสาวไหม กล่าวคือ ท่าให้รังไหมได้รับการเปลี่ยนมือจากเจ้าของเดิมจนถึงมือโรงสาว จุดตั้งราคา หมายถึง จุดที่มีความแปรปรวนตลาด อุปสงค์ (demand) หมายถึง ความต้องการผลิตภัณฑ์ สิ่งที่ต้องใช้ที่ได้มาตรฐานของผู้บริโภค อุปทาน (supply) หมายถึง จ่านวนผลิตภัณฑ์ จ่านวนที่มีอยู่ในมือ จ่านวนเสบียง พัสดุ การจ่าหน่ายช่องทาง การตลาด การขยายตลาด การขนส่ง รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง = น้่าหนักเปลือกรัง น้่าหนักรังสด x 100 เปอร์เซ็นต์รังเสีย = น้่าหนักรังเสีย น้่าหนักตัวอย่างรังไหมทั้งหมด x 100 เรนดิทต้า (Renditta) หมายถึง ค่าสัดส่วนของจ่านวนรังสดที่น่ามาสาวได้เส้นไหมดิบ 1 กิโลกรัม คาคาเมะ (kakame) หมายถึง ต้นทุนราคารังไหมที่ต้องน่ามาสาวผลิตเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม เกิดจากการ ทดสอบสาวที่แท้จริง ด้านเกณฑ์มาตรฐาน เปอร์เซ็นต์ไหมดิบ ค่าประมาณของเรนดิทต้า = ค่าจ่านวนคงที่ เปอร์เซ็นต์เปลือกรังที่แท้จริงจากรังไหมทั้งหมด


14 ค่าจ่านวนคงที่ หมายถึง ตัวเลขที่ได้รับจากการสาวไหมที่แท้จริงด้านเกณฑ์มาตรฐาน เปอร์เซ็นต์ไหมดิบ มาตรฐาน หมายถึง ข้อก่าหนดเกณฑ์คุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งวัดค่าได้จากการทดสอบเป็นตัวเลข ระหว่างหรือก่าหนดเกณฑ์ต่่าสุดและก่าหนดคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดไว้ เช่น สี ความสม่่าเสมอ การตรวจพินิจ (visual inspection) หมายถึง การตรวจสอบลักษณะภายนอกของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผลิตผล ผลิตภัณฑ์ สภาพแวดล้อมที่ปรากฏ โดยการตรวจสอบด้วยสายตาเป็นหลัก แต่อาจใช้ประสาท สัมผัสอื่นประกอบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยคุณภาพที่ต้องการตรวจสอบ หรืออาจใช้เครื่องมือประกอบ เช่น แว่นขยาย ช่วยฝนการตรวจสอบแล้วประเมินว่าลักษณะปรากฎหรือสภาพแวดล้อมที่ ตรวจสอบสอดคล้องกับเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้รวมถึงการตรวจพินิจการ ปฏิบัติงานหรือกระบวนการท่างานด้วย โรคเพบริน หมายถึง โรคไหมที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nosema bombycis Nageli. เชี้อโปรโตซัวนี้สามารถติดต่อทั้งทางปากและไข่ไหมได้และเป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากเป็นศัตรู กักกันตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง ก่าหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550


15 ภาคผนวก ข. ตัวอย่าง ราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม ตามเปอร์เซ็นต์เปลือกรังและเปอร์เซ็นต์รังเสีย พันธุ์ไหม : พันธุ์ไทยลูกผสม ราคาเส้นไหมยืน ณ ราคา 2,000 บาทต่อกิโลกรัม สัดส่วนการมีส่วนได้ส่วนเสียระหว่างเกษตรกร : โรงสาว 58 : 42 ค่าจ่านวนคงที่ : - เปอร์เซ็นต์การสาวได้จากเปลือกรัง 73 - มูลค่ารังเสีย 150 - เปอร์เซ็นต์เส้นไหมดิบที่สาวได้จากรังเสีย 12.42


16 ตัวอย่าง เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 13 % รังเสีย ราคา (บาท) % รังเสีย ราคา (บาท) 0 106 13 5 1 105 14 94 2 104 15 93 3 103 16 92 4 102 17 91 5 102 18 90 6 101 19 89 7 100 20 89 8 99 21 88 9 98 22 87 10 97 23 86 11 96 24 85 12 95 25 84


17 เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 14 % รังเสีย ราคา (บาท) % รังเสีย ราคา (บาท) 0 119 13 106 1 118 14 105 2 117 15 104 3 116 16 103 4 115 17 102 5 114 18 101 6 113 19 100 7 112 20 99 8 111 21 98 9 110 22 97 10 109 23 96 11 108 24 95 12 107 25 94


18 เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 15 % รังเสีย ราคา (บาท) % รังเสีย ราคา (บาท) 0 127 13 113 1 126 14 112 2 125 15 111 3 124 16 110 4 123 17 109 5 122 18 108 6 121 19 106 7 119 20 105 8 118 21 104 9 117 22 103 10 116 23 102 11 115 24 101 12 114 25 100


19 เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 16 % รังเสีย ราคา (บาท) % รังเสีย ราคา (บาท) 0 135 13 120 1 134 14 119 2 133 15 118 3 132 16 117 4 131 17 116 5 130 18 115 6 129 19 113 7 127 20 112 8 126 21 111 9 125 22 110 10 124 23 109 11 123 24 108 12 122 25 106


20 เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 17 % รังเสีย ราคา (บาท) % รังเสีย ราคา (บาท) 0 144 13 128 1 143 14 127 2 142 15 125 3 140 16 124 4 139 17 123 5 138 18 121 6 137 19 120 7 135 20 119 8 134 21 118 9 133 22 116 10 132 23 115 11 130 24 114 12 129 25 113


21 เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 18 % รังเสีย ราคา (บาท) % รังเสีย ราคา (บาท) 0 152 13 135 1 151 14 133 2 149 15 132 3 148 16 131 4 147 17 129 5 145 18 128 6 144 19 127 7 143 20 125 8 141 21 124 9 140 22 123 10 139 23 121 11 137 24 120 12 136 25 119


22 เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 19 % รังเสีย ราคา (บาท) % รังเสีย ราคา (บาท) 0 161 13 143 1 160 14 141 2 158 15 140 3 157 16 138 4 155 17 137 5 154 18 135 6 153 19 134 7 151 20 133 8 150 21 131 9 148 22 130 10 147 23 128 11 145 24 127 12 144 25 125


23 บรรณานุกรม นิสิตหลักสูตรธุรกิจการเกษตร. 2548. ระบบธุรกิจหม่อนไหมไทย, ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สิ่งพิมพ์ ม.ก. 124 หน้า. อรนุช ศรีเจษฎารักข์. 2542. การตลาดอาหาร (Food marketing) ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 68 หน้า. เกษตร พิทักษ์ไพรวัน. 2525. เทคนิคการเลี้ยงไหมในเขตร้อน คณะกรรมการส่งเสริมสินค้าไหมไทย กรมส่งเสริม อุตสาหกรรม โดยความร่วมมือของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 284 หน้า. จรรยา ปั้นเหน่งเพชร. 2525. ความเป็นมาของราคารังไหมสด ศูนย์วิจัยหม่อนไหม นครราชสีมา กองการไหม กรม วิชาการเกษตร (โรเนียว) 7 หน้า. ส่านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2555. การปฏิบัติส่าหรับการปฏิบัติรังไหม มาตรฐานสินค้า เกษตร มกษ.8000-2555 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 16 หน้า T.N. Sonwalker, 1994. Silk reeling Industry Problem and Prospect Silkworm breeding Proceeding of the National Workshop held on March 18-19, 1994. Oxford & IBH, Publishing Co. PVT .Ltd .p.325-339


Click to View FlipBook Version