บทเรยนโมดูล
วชาหลกัการวดิทศันเบอ้ืงตน
20308-2006
นายธรรมนูญเศวตสุทธสิรกุล
สาขาวชาคอมพวิเตอรกราฟก
กาญจนาภเิษกวทยาลัยชางทองหลวง
สำนักงานคณะกรรมการการอาชวศึกษา
2ก3
คำนำ
ชุดโมดูลวิชาการสร้างงานวีดิทัศน์ รหัสวิชา 20308-2109 เรื่องการใช้งานโปรแกรมสร้างงานวีดิทัศน์ จัดทำ
ขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนกับนักเรียนระดับชั้น ปวช. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก หลักสูตรประกาศนียบัตร
วิชาชีพ พ.ศ.2562 เพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งในด้านพุทธิพิสัย
ทกั ษะพิสยั และจิตพสิ ัย
ชุดโมดูลนี้ประกอบด้วยสาระสำคัญสาระการเรียนรู้คำถามท้ายบทเรียน QRCODE และลิงค์(Link)วีดิทัศน์
สำหรับการเรยี นรู้เพิ่มเตมิ
นายธรรมนูญ เศวตสุทธิสริ ิกลุ
ผจู้ ัดทำ
ชมคลิปวดี โิ อ1 ชมคลิปวีดโิ อ2 ชมคลปิ วีดโิ อ3
24
สารบญั
เรอื่ ง หน้า
ใบความรู้ท่ี1 หลกั การวีดิทศั น์ดิจติ อลและขอบเขตของรายวชิ า แนวคิดและการนำไปใช้ ........................................1
ภาพวดี ทิ ัศน์ ........................................................................................................................................................1
ประเภทของกล้องถ่ายวดี ิทศั น์ (กลอ้ งวีดีโอ)......................................................................................................2
กลอ้ งถ่ายภาพวีดทิ ัศน์ (Camcorders) .............................................................................................................2
ใบความรูท้ ี่ 2 การบันทึกภาพวีดิทัศนด์ ิจติ อลแบบต่างๆ..........................................................................................4
มุมกลอ้ ง (Camera Angle Shot)....................................................................................................................4
การบันทึกภาพโดยเคลือ่ นไหวกลอ้ ง(Moving Camera Head Shots)..........................................................4
รายละเอยี ดของการเคลอื่ นกล้องแต่ละชนิด.......................................................................................................5
ความสำคัญของความเขา้ ใจในเรื่องเทคนคิ การถ่ายบันทกึ ภาพและตดั ต่อ..........................................................5
เทคนคิ การถ่ายทำ...............................................................................................................................................6
Basic Shots (ช๊อทพน้ื ฐาน) .............................................................................................................................7
การใชฟ้ ิลเตอรส์ รา้ งภาพพเิ ศษ (Special Filter Effects) ..............................................................................9
เลนส์ถ่ายภาพพิเศษ (SPECIAL LENS) ..........................................................................................................10
ใบความรู้ท่ี 3 หลักการใชโ้ ปรแกรมสำเรจ็ รูปตดั ตอ่ ภาพและเสียง ..........................................................................11
การใส่เสียงประกอบให้งานวีดีโอ (Audio) ........................................................................................................11
ใบความรทู้ ี่ 4 การปฏิบัตถิ ่ายทำส่ือวีดทิ ัศนต์ ดั ต่อภาพและเสยี ง.............................................................................14
เทคนคิ การเขยี นบท ..........................................................................................................................................14
รายการสอนตรง................................................................................................................................................15
รายการบรรยาย................................................................................................................................................16
รายการสัมภาษณ์..............................................................................................................................................16
รายการสนทนา ................................................................................................................................................. 17
รายการขา่ ว.......................................................................................................................................................17
รายการสาธิต ....................................................................................................................................................17
รายการเกมหรือทายปัญหา...............................................................................................................................17
รายการดนตรีและร่ายรำ...................................................................................................................................18
รายการสถานการณ์จำลอง ...............................................................................................................................18
ใบความรทู้ ี่ 5 การนำเสนอผลงานกราฟิกวิดีทศั น์...................................................................................................19
การนำเสนอ(Expose’) .....................................................................................................................................19
โครงเรื่อง (Treatment) ...................................................................................................................................20
ลำดบั ภาพของเร่อื ง (Storyboard)...................................................................................................................21
บท (Script) ......................................................................................................................................................22
ใบความรทู้ 1่ี
หลักการวดี ิทศั นด์ จิ ติ อลและขอบเขตของรายวชิ า แนวคิดและการนำไปใช้
1. จุดประสงคก์ ารเรียนรู้
1.1 จดุ ประสงค์ท่ัวไป
1.เขา้ ใจเกี่ยวกบั หลักการวีดิทศั นด์ จิ ิตอลและขอบเขตของรายวิชา แนวคิดและการนำไปใช้
2.บอกหลกั การวดี ิทัศนด์ ิจติ อลและขอบเขตของรายวิชา แนวคิดและการนำไปใช้
1.2 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. ปฏิบัตกิ ารคน้ คว้าทำรายงานหลกั การวีดิทัศนด์ ิจติ อลและขอบเขตของรายวชิ าแนวคิดและการนำไปใช้
ภาพวีดทิ ศั น์
ภาพวีดิทัศน์ หรือที่เรารู้จักเรียกกันว่า “วิดีโอ (Video) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
2525 ได้บัญญัติศัพท์ที่เรียกวิดีโอว่า “วีดิทัศน์” ซึ่งคำว่า “วิดี” มาจากคำภาษาบาลีว่า “วิติ” หมายถึง แสง
และออกเสียงคล้ายศัพท์เดิม คือ “Video” ในภาษาอังกฤษ แต่บางแห่งอาจเรียกชื่อว่า วีดีโอเทป, แถบ
บนั ทกึ ภาพ, แถบวีดิทศั น์, เทปโทรทศั น์ หรือภาพทัศน์
ปัจจบุ นั ภาพวีดทิ ัศน์ไดเ้ ข้ามามีบทบาทตอ่ วงการศกึ ษาและสื่อสารมวลชน จนกลายเปน็ สอื่ ทมี่ ีความจำเป็น
อย่างหนึง่ ในการถ่ายทอดข่าวสาร ความรู้ และความบนั เทิง การผลติ รายการภาพ วิดทิ ศั น์ได้มีเทคนิคการผลิตท่ี
ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีการวิวัฒนาการเทคโนโลยที างด้านอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง โดยเฉพาะเมื่อกลอ้ งถ่ายภาพ
วดิ ิทัศน์และเคร่ืองบนั ทึกเทปภาพวดิ ิทศั น์ได้รับการพัฒนาข้นึ ในหลายด้าน เช่น ด้านเทคนิค การปรบั ราคาสิ่งของ
การพัฒนารูปร่างและน้ำหนัก เป็นต้น จึงทำให้การบันทึกหรือถ่ายทำภาพทัศน์มีข้อได้เปรียบการถ่ายทำ
ภาพยนตร์ด้วยฟิล์มอยู่หลายประการ ได้แก่ ขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนตัดต่อ การฉายกลับ ซึ่งภาพวิดิทัศน์
สามารถฉายกลับทบทวนดูได้ทันที ตรวจสอบภาพได้เร็ว วัสดุอุปกรณ์มีราคาถูกกว่าของภาพยนตร์ ตลอดจนมี
ความสะดวกในการถ่ายทำมาก
ในการถ่ายทำผลิตรายการภาพวีดิทัศน์จะใช้อุปกรณ์ และวัสดุมากน้อยขนาดแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละรายการ
เช่น ถ่ายทำรายการทั่วไปหรือรายการกีฬาก็ใช้กล้อง 1 ตัว และอุปกรณ์น้อยชิ้น เพื่อความสะดวกในการ
เคลื่อนย้าย หากเป็นการผลิตรายการละคร อาจใช้กล้อง 2 ตัว หรือกล้องตัวเดียวโดยใช้เทคนิคถ่ายทำแบบ
ภาพยนตร์ อุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็นสำหรับการถ่ายทำภาพวีดิทัศน์ได้แก่ กล้องถ่ายภาพวีดิทัศน์ เครื่องบันทึก
เทปภาพวดี ิทัศน์ อปุ กรณ์ทางแสง อปุ กรณ์เสียง เทปภาพวดี ิทัศน์ เครอื่ งตัดต่อ และวัสดอุ ปุ กรณอ์ ื่น ๆ
2
ประเภทของกลอ้ งถา่ ยวีดทิ ศั น์ (กล้องวดี โี อ)
เราสามารถแบง่ ประเภทของกล้องถ่ายวดิ ิทัศนต์ ามขนาดและนำ้ หนกั ทม่ี สี ่วนกำหนดการนำไปใช้งาน
ถา่ ยภาพได้ดังตอ่ ไปน้ี
1.กล้องถ่ายวีดิทัศน์ในสตูดิโอ (Studio Camera) กล้องประเภทนี้มักนำออกมาใช้นอกสถานที่หรือ
นอกสตดู โิ อในกรณีจะผลิตรายการใหญ่ ๆ เช่น ละครฉากใหญ่ ๆ รายการแสดงนอกสถานท่ี
2.กล้องถ่ายวีดิทัศน์กระเป๋าหิ้วสำหรับออกอากาศ (Portable Broadcast Camera) เป็นกล้อง
ระดับมืออาชีพอีกประเภทหนึ่งที่ใช้บันทึกถ่ายทำนอกสถานที่ หรือใช้บันทึกรายการวิทยุโทรทัศน์แพร่ภาพ กล้อง
ภาพวีดิทัศน์น้ใี ช้กบั เคร่ืองบันทกึ เทปชนิดกระเป๋าหิว้ หรือพอร์ทเทเบิล (Portable Video tape recorder หรือ
Portable VTR) ส่วนประกอบบางอย่างเปลี่ยนได้ เช่น เลนส์, ช่องมองภาพ ในการใช้งานระดับสถานที่บาง
แหง่ ก็ใชก้ ล้องกระเป๋าห้วิ สำหรับถา่ ยทอดรายการสดออกอากาศ
3.กล้องถา่ ยวดี ิทัศน์น้ำหนักเบา (Lightweight Camera) เป็นกล้องวิดิทัศน์ท่ีได้รบั การออกแบบมา
เพื่อใช้งานถ่ายทำนอกสถานที่โดยเฉพาะเพื่อใช้กับอีเอ็นจี (ENG) และอีจี (EG) กล้องประเภทนี้มีขนาดกะทดั รดั
น้ำหนักเบาเหมาะสำหรับถือด้วยมือ
4.กล้องถ่ายวีดิทัศน์ (Small Hand-held, Low-cost Camera) กล้องถ่ายวีดิทัศน์ประเภทน้ี
ออกแบบมาสำหรับใช้กับโทรทัศน์วงปิด (close Circuit TV.) ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและกิจการอื่นๆ แต่
บางครงั้ เพ่ือความสะดวกรวดเร็วไดถ้ ูกนำมาใช้กบั งานของอเี อน็ จี หรอื ถา่ ยทำขา่ ว
กล้องถา่ ยภาพวีดทิ ัศน์ (Camcorders)
กล้องถ่ายภาพวีดิทัศน์ เป็นกล้องนำเอาหลักเหมือนกล้องถ่ายภาพนิ่ง แล้วเพิ่มระบบการบันทึกภาพ
VCR ไว้ในตัวกล้องด้วย ซึ่งมีหลักการทำงานของกล้องคือ เมื่อกล้องจับภาพหรือ สิ่งของหรือภาพคน แสงที่
สะท้อนจากสิง่ เหล่านั้นจะสะท้อนผ่านเลนส์เข้าไปยังหลอดภาพในกลอ้ งวิดิทัศน์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในกล้องจะ
เปลี่ยนสัญญาภาพ (Video digual) ซึ่งเป็นสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสายเคเบิลไปยังเครื่องบันทึกเทปภาพ
วดิ ทิ ัศน์ตอ่ ไป
3
สำหรับอุปกรณ์ “หลอดรับภาพ” จะเปลี่ยนสัญญาณภาพเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์นั้น เมื่ออุปกรณ์
สำคญั ภายในตวั กลอ้ งอกี ชน้ิ หน่งึ มี 2 ชนิด
1.ชนิดเป็นหลอดภาพแบบกลม มขี นาด 2/3 น้ิว-1 นว้ิ หรือมขี นาด 18-25 มลิ ลิเมตร มหี ลายชนดิ เช่น
พลัมบิคอน(plumbicon) ซาติคอน(Saticon) และชาลนคิ อน(chalnicon) และวิดิคอน (vidicon) นอกจากนั้น
ยงั มีชนดิ อืน่ ๆ อกี ไทรนคิ อน (Trinicon), นีวีคอน (Newicon) และชีพ (chip) เป็นต้น สำหรับหลอดรบั ภาพ
วิดิคอน เป็นหลอดรับภาพที่ทำงานได้ดีในช่วงความเข้มแสงที่จำกัด ดังนั้นกล้องถ่ายภาพวิดิทัศน์ส่วนใหญ่จึงมี
สวิทซ์ปรับความไวแสง อยู่ 3 ตำแหน่ง คือ High Low และ Auto ซึ่งคล้าย ๆ กับอัตราความไวแสง ASA
ในฟิล์มถ่ายรูปปกติแล้วสวิทซ์รับความไวแสงจะอยู่ที่ตำแหน่ง Auto แต่จะอยู่ที่ตำแหน่ง High เมื่อต้องการเน้น
ความสว่างและอย่ตู ำแหน่ง Low เมือ่ ต้องการเน้นความมดื
เหลือภาพที่ดีจะทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพดีตามไปด้วย ดังนั้น การตัดสินใจเลือกหลอดภาพควร
คำนึงถงึ …
-ความไวตอ่ แสง (ปริมาณแสงท่ีตอ้ งการ) แสงอย่างน้อยทีส่ ุดเทา่ ไร ทหี่ ลอดภาพต้องการ (เปน็ ลักซ)์
เงาซ้อน เมอื่ ทำการเคลื่อนทีก่ ล้องไป จะเกิดภาพซ้อนทต่ี าม ๆ กันมาหรอื ไม่
คุณภาพของเลนส์หน้าหลอดภาพ คุณภาพของสารที่เคลือบเลนซ์หน้าหลอดภาพเสียหรือเป็นรอย
ไหมง้ ่ายเมอื่ ถกู แสงสวา่ งมากเกนิ ไปหรอื ไม่
การกินกระแสเม่อื ถา่ ยภาพท่ีมแี สงนอ้ ย (มืด)
โดยปกติเมื่อถ่ายภาพที่มืด กล้องต้องการกระแสเพิ่มขึ้น
เพื่อทำให้เกิดสัญญาณแสงขึ้น และมีผลทำให้เกิดการเพี้ยน
และพรา่ ขน้ึ ของสหี รอื ไม่
ความสม่ำเสมอของสี หลอดภาพนั้น เม่ือ
ถ่ายภาพที่มีปริมาณแสงเท่ากัน จะให้สีเรียบและสม่ำเสมอ
สำหรับสีเดียวกันหรอื ไม่
ความคมชัดของเส้น เส้นภาพต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้นในภาพควรมีความคมชัดและรายละเอียดของเส้น
ชดั เจนดหี รือไม่
ตัวอย่างคณุ ภาพของหลอดภาพชนดิ ตา่ ง ๆ
ความไวต่อแสง Vidicon Saticon Plumbicon
(ปรมิ าณแสงทต่ี ้องการ) ปานกลาง/สูง สงู ปานกลาง
คณุ ภาพของเลนส์ (สารเคลอื บ)
เงาซ้อน ไม่ดี ดี ดีมาก
การกินกระแสเมือ่ ถา่ ยภาพมดื ปานกลาง/สงู นอ้ ย น้อยมาก
ราคา ปานกลาง น้อย นอ้ ยมาก
ปานกลาง
ถกู แพง
2.ชนิดใช้แผ่นซีซีดี (CCD/Charge-Coupled Devices) มาแทนหลอดภาพ แผ่น CCD นี้ทำมาจากสาร
เซมิคอนดัคเตอร์ (Semi-Conductor) ซึ่งเป็นสารไวแสง ใช้เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า แผ่น CCD
เริ่มนำมาใช้ในกล้องถ่ายวีดิทัศน์ ระบบ 8 มิลลิเมตร และอาจนำมาพัฒนาใช้กับกล้องภาพวีดิทัศน์ ระบบอ่ืน
ตอ่ ไป
4
ใบความรู้ที่ 2
การบนั ทกึ ภาพวดี ทิ ัศน์ดจิ ิตอลแบบต่างๆ
1. จุดประสงคก์ ารเรียนรู้
1.1 จุดประสงค์ทัว่ ไป
1.1.1. อธบิ ายเกีย่ วกับหลักการบันทกึ ภาพวีดิทศั น์ดิจติ อลแบบ PAN ,ZOOM ,TILE ได้
1.1.2. อธบิ ายเกี่ยวกบั ขนาดของภาพแบบ LS / MS / CU / BCU ได้
1.2 จุดประสงคเ์ ชิงพฤติกรรม
สามารถบันทึกภาพวีดทิ ศั นด์ จิ ิตอลแบบ PAN ,ZOOM ,TILE และขนาดของภาพแบบ LS / MS / CU / BCU ได้
มมุ กล้อง (Camera Angle Shot)
ลักษณะของภาพในแต่ละช๊อท (Shot)ยังขึ้นอยู่กับมุมกล้อง มุมกล้องที่อยู่ในระดับสูงต่ำต่างกัน จะเสริม
ความรูส้ ึกของผดู้ ใู ห้เกิดความหลากหลาย ทำให้อารมณ์หรอื ความรสู้ ึกคลอ้ ยตามไปกับเรือ่ งท่ีกำลังเสนอ
การวางมุมกล้องใหถ้ ูกตอ้ ง มผี ลคอื
1. เป็นการเนน้ วตั ถุ และการนำเสนอ
2. เสริมใหภ้ าพเต็มไปด้วยชีวติ ชวี า ดึงดดู ความสนใจ
การบันทึกภาพโดยเคลอื่ นไหวกล้อง(Moving Camera Head Shots)
ในชีวิตที่เป็นจริงของคนเรานั้น มีการเคลื่อนไหว เคลื่อนที่ เพื่อติดตามดูเหตุการณ์ที่น่าสนใจ อาจเหลียว
ซ้ายและขวา หรือพยายามเคลื่อนเข้าใกล้สิ่งนั้น ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น เฉกเช่นเดียวกับการใช้กล้อง เรา
สามารถเคล่อื นไหวกล้อง เพอ่ื ให้ได้ภาพทีน่ ่าสนใจ นา่ ตดิ ตามยง่ิ ข้ึนกว่าการถ่ายภาพ โดยตง้ั กลอ้ งน่งิ ๆ และให้ตัว
วัตถุเป็นตัวเคลื่อนที่เพียงอย่างเดียว เราอาจใช้วิธีให้ทั้งวัตถุและตัวกล้องเคลื่อนที่พร้อม ๆ กันก็ได้ การเคลื่อนท่ี
ของกลอ้ งมีหลายแบบ ดงั แสดงในภาพตอ่ ไปน้ี
การเคลอื่ นทเี่ ฉพาะสว่ นตวั กล้อง
1. Pan (ซ้าย/ขวา) การเคล่ือนมุมกลอ้ งไปทางซา้ ย หรือขวาในแนวระนาบ
2. Zoom (in / out) การเปลย่ี นขนาดของภาพโดยการปรับความยาวโฟกสั ของเลนส์
3. Tilt (up / down) การเปลี่ยนมุมกลอ้ งให้สงู ขึ้นหรอื ตำ่ ลงในแนวดง่ิ
การเคล่อื นที่ทงั้ ตัวกล้องและสว่ นขาต้งั
1. Dolly / Track การเคลอื่ นกล้องไปทางด้านหน้าหรอื ดา้ นหลงั เปน็ เสน้ ตรง
2. Truck / Crab การเคลอื่ นกล้องไปทางด้านหน้าหรือด้านหลังเป็นเส้นตรง เชน่ เคลือ่ นกล้องผ่านฉาก
หน้าชา้ ๆ ทำใหด้ ูเหมอื นฉากเคลื่อนทช่ี า้ ๆ ผา่ นจอ ในขณะทีฉ่ ากหลังอยูก่ ับท่ี ทำให้ภาพดูเปน็ สามมติ ิขน้ึ
Arc การเคลอ่ื นกลอ้ งคล้าย ๆ กับ Truck แตจ่ ะเป็นมุมโค้ง
5
รายละเอยี ดของการเคลอ่ื นกลอ้ งแต่ละชนดิ
การซูม (Zooming) เป็นการเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนซ์ในขณะที่ถา่ ยภาพโดยใช้เลนซ์ซูม (Zoom
lens) ทำให้มุมภาพ (angle of view) เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเปลี่ยนความยาวโฟกัสให้สั้นลง โดยหดกระบอก
เลนซ์ให้สั้นเข้า มุมจะกว้าง แต่ถ้าปรับความยาวโฟกัสให้ยาวขึ้นโดยดึงกระบอกเลนซ์ให้ยาวออกไป มุมภาพจะ
แคบลง ดังนั้นการ Zoom in จะช่วยเปลี่ยนขนาดของวัตถุให้ใหญ่ขึ้น เช่น จาก LS MS หรือเปลี่ยน
ขนาดให้เล็กลงโดยการ Zoom out เชน่ จาก MS LS โดยไมจ่ ำเป็นตอ้ งเปลี่ยนตำแหน่งกล้อง
ขอ้ ควรคำนงึ ในการซมู
1. Smooth ไม่ควรซูมแล้วชะงักแล้วซูมต่อ ควรซูมครั้งเดียวให้ smooth จากเริ่มต้นไปจนถึงตำแหน่ง
ทีต่ ้องการยุตกิ าร Zoom
2. Speed ความเร็วในการซูม โดยปกติใช้มอเตอร์เป็นตัวขับ ยกเว้นในกรณีต้องการซูมเร็ว-ช้า ตาม
speed ท่ีตอ้ งการ อาจใช้การซมู มอื โดย speed ทีใ่ ชค้ วรให้เหมาะสม
3. Focus การใช้เลนซ์ซูมนั้น จะต้องปรับความคมชัดโดยการ Zoom in ให้สุด แล้วปรับโฟกัส แล้ว
ค่อย Zoom out มาตำแหน่งที่ต้องการ แล้วค่อยเริ่มต้นการซูม อาจเป็นการ Zoom in หรือ Zoom out
ก็ได้ วิธีการนี้จะได้ภาพทม่ี ีความคมชดั มากทีส่ ุด ถา้ ไม่ Zoom in จนสดุ ภาพอาจไม่คมชัดกไ็ ด้
4. จำไว้ว่า การซูม นั้น ไม่ควรซูมพร่ำเพรื่อ (เช่นเดียวกับการแพน) จะซูมเมื่อมีความมุ่งหมายในการ
ซูมเท่านั้น เช่นต้องการให้เห็นรายละเอียดของภาพเพิ่มขึ้นโดยการ Zoom in หรือต้องการให้เห็นภาพรวมโดย
การ Zoom out
5. กอ่ นและหลังการซูม ควรถ่ายใหภ้ าพน้นั อยู่ในตำแหนง่ นิ่งสักครหู่ น่งึ ประมาณ5-10 วินาที
ความสำคญั ของความเข้าใจในเรือ่ งเทคนคิ การถ่ายบนั ทกึ ภาพและตดั ต่อ
โดยทั่วไปเมื่อเริ่มหัดถ่ายบันทึกภาพวีดิทัศน์ ผู้คนมักชอบถ่ายภาพโดยการ “แช่ภาพ” ไว้ ณ ตำแหน่ง
เดียว กล่าวคอื ไม่มีการเปลีย่ นแปลงมมุ กล้อง (Camera Angle) และไม่มกี ารเปลี่ยนขนาดภาพ (framing) แต่
จะตั้งกล้องอยู่ตำแหน่งเต็ม และใช้วิธี Zoom ภาพเข้า-ออก รวมทั้ง Pan กล้องไปมาซ้าย-ขวา พร่ำเพร่ือ
ตลอดเวลา โดยไม่มีจุดมุ่งหมายในการ Zoom และ Pan เลย ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมอย่างย่ิง
ท้ังนเ้ี พราะการ Zoom และ Pan เป็นเทคนิควธิ ที ีจ่ ะใชเ้ มอ่ื จำเป็นและมีวัตถปุ ระสงคใ์ นการใชเ้ ทา่ นัน้
ดังนั้น ผู้ที่จะถ่ายทำวีดิทัศน์จึงควรมีความเข้าใจในเรื่องเทคนิคการถ่ายทำและตัดต่อภาพวีดิทัศน์อ เพ่ือ
นำความรู้ ความเข้าใจนี้มาใช้ในระหว่างการถ่ายทำให้ได้ภาพที่ดี สื่อความหมายและความเข้าใจได้ดี เมื่อได้ภาพที่
6
ดีในแง่ของคุณภาพคือ มุมกล้องดี ขนาดภาพเหมาะสม เก็บรายละเอียดของภาพมาอย่างดีแล้ว ย่อมทำให้การ
ตัดต่องา่ ย สะดวก รวดเรว็ ประหยดั เวลา และได้ผลงานออกมาอยา่ งมคี ณุ ภาพ
เทคนิคการถ่ายทำ
1.ภาษาภาพ ในการถ่ายทำวีดีโอจะต้องมีการบันทึกภาพจากสถานที่และมุมกล้องต่าง ๆ กัน จึงควรทำ
ความเข้าใจเก่ยี วกับองคป์ ระกอบพน้ื ฐาน
- shot (ช๊อท) หรือคัท หมายถึง ลักษณะภาพที่เกิดจากการกดเริ่มเดินกล้องจนถึงกดหยุดการเดิน
กล้อง เรียกภาพที่บันทึกนี้ว่า 1 shot ใน shot เดียวกันอาจถ่ายภาพซ้ำกันมากกว่า 1 ครั้ง ทั้งนี้เนื่องจาก
ภาพที่ถ่ายอาจเกิดความผิดพลาดทางเทคนิคหรือทางการแสดงทำให้ได้ภาพที่ยังไม่ดีพอ จำเป็นต้องถ่ายมากกว่า
1 ครั้งใน shot นั้น ซึ่งเราเรยี กการถ่ายแต่ละครัง้ นัน้ ว่า “เทค” ดังนั้น 1 shot อาจถ่ายหลาย ๆ “เทค” ก็
ได้ จำง่าย ๆ ว่า shot หรอื คัท คอื การกด-ปล่อยการบันทึกภาพ 1 ครัง้
-Scenes (ฉาก) หรือซีน คือ การนำเอา shot หลาย ๆ shot ที่เป็นช๊อทที่เกิดขึ้นในสถานที่เดียวกัน
เวลาเดยี วกนั หรือมีความต่อเนื่องกนั ทางเนือ้ หามารวมกนั
-Sequences (ตอน) คือ การนำเอาฉากต่าง ๆ ที่แสดงความคิดเห็นเดียวกันมารวมกันเปน็ ตอน ๆ และ
ถ้านำแตล่ ะตอนมารวมกนั กจ็ ะกลายเปน็ เร่อื ง ๆ หนึง่
2.ประเภทของช๊อท (type of Camera Shots)
ภาพที่ปรากฏในวีดีโอคือ Shot ต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกมา ช๊อทแต่ละประเภท จะมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ
ต่างกัน ผู้เขียนบทจำเป็นจะต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายในการนำเสนอข้อมูลด้วย Shot แต่ละชนิด เพื่อที่จะใช้ได้
ถกู ตอ้ ง และส่ือความหมายได้ตรงกับชา่ งภาพ ทำให้ช่างภาพถ่ายภาพไดอ้ ย่างถกู ตอ้ ง
7
Basic Shots (ช๊อทพื้นฐาน) ชมคลิปวดี ิโอ
ใคร ๆ ก็สามารถถา่ ยภาพให้นา่ สนใจได้ ถ้าเขา้ ใจใชเ้ ทคนคิ วิธที ่ถี ูกตอ้ ง และใช้ในเวลาท่เี หมาะสม (Right
techniques at the right time) ซึ่งจะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลผู้นั้น การใช้ช๊อท
พื้นฐานแต่ละชนิดให้ถูกเวลา จะสามารถทำให้เข้าใจในความหมายของภาพที่จะสือ่ ได้ง่าย มาดูซิว่า ช๊อทพื้นฐาน
ประกอบด้วยอะไรบ้าง
Long Shot (LS) เป็นการถ่ายภาพวัตถุในระยะไกล เพื่อให้เห็น 1) ภาพพจน์รวมของภาพ 2) เพ่ือ
แสดงที่ต้ังและสว่ นประกอบในฉาก หรือ 3) แสดงสดั สว่ นของขนาดวัตถเุ ปรียบเทยี บกบั สว่ นประกอบอนื่ ๆ ในฉาก
Medium Shot (MS) เปน็ การถ่ายภาพวัตถใุ นระยะปานกลาง เพ่ือตดั ฉากหลังและรายละเอียดอ่นื ๆ ที่
ไมจ่ ำเป็นออกไป
Close-up (CU) ถ่ายภาพระยะใกล้วัตถุ 1) เพื่อเน้นวัตถุหรือบางส่วนของวัตถุ 2) ขจัดสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่
ตอ้ งการแสดงออกไป 3) ขยายใหเ้ หน็ รายละเอยี ดเฉพาะสว่ นของวัตถุ
การแบ่งลกั ษณะภาพให้ละเอยี ดลงไป สามารถแบ่งได้ดังน้ี
ECU Extreme close-up (หรอื เรยี ก Detall Shot) เพ่อื แยกแยะรายละเอยี ด
VCU Very close-up (Face Shot) จากกลางหนา้ ผากถึงเหนอื คาง
BCU Big close-up (tight CU, full head) ใบหน้าเต็ม เตม็ จอพอดี
CU Close-up จากศีรษะถึงเหนอื หนา้ อก (ตดั ขา้ งใตป้ มเน็คไท)
MCU Medium close-up (bust shot, chest shot) ตัดสว่ นตง้ั แต่ข้างใต้หนา้ อก
(กระเปา๋ เส้ือ) ออกไป คือตงั้ แต่ศรี ษะถงึ ชว่ งอก
MS Medium Shot, (mid-shot, waist shot) ประมาณจากเอวขึ้นไป
KNEE Knee shot, three-quarter length shot จากเขา่ ขน้ึ ไป
(3/4 shot)
MLS Medium long-shot (full-lenght shot) ภาพจังร่างทั้งหมด รวมเน้ือท่ีส่วนบนและ
ลา่ ง
LS Long shot ภาพของคนทง้ั ตัว เป็น 3-4-1/3 ของความสูงของจอ
ELS Extreme long shot หรอื Extra long shot (XLS)
ในกรณีที่ถ่ายสิ่งที่ไม่ใช่ตัวบุคคล เช่น สัตว์ สิ่งของ การสั่งกล้องนอกจากระบุลักษณะภาพดังกล่าวแล้ว
ยงั จะต้องระบุสิง่ ท่ตี ้องการด้วย เพอื่ ไม่สร้างความสับสน เชน่ CU-ตัวกบ BCU-ตาของกบ
ในการบันทึกภาพเพื่อนำเสนอเรื่องราวให้ผู้ชมได้รับทราบ อาจอาศัยหลักเบสิคช๊อท long shot, mid
shot และ close up ซ่งึ ภาพท้ัง 3 จะแสดงรายละเอยี ดของภาพท่ีแตกตา่ งกัน แตถ่ า้ นำมาเปน็ ภาพท่ีต่อเนื่อง
จะสร้างอารมณ์ ความเข้าใจ สภาพทั่วไป เช่น ภาพเด็กหาปลาที่หนองน้ำ จะแสดงสภาพทิวทัศน์ การหาปลา
เครอื่ งมืออปุ กรณ์ โดยใชภ้ าพ Long shot ส่วนท่ีภาพ close up จะเนน้ รายละเอียดของสิง่ ทต่ี อ้ งการใหท้ ราบ
สว่ นภาพ Mid shot ก็จะเป็นภาพเดก็ อกี คน เป็นภาพเหน็ จากเอวขน้ึ ไป
8
ตัวอย่างการบันทึกภาพในแต่ละ shot ซึ่งแต่ละภาพจะแสดงสื่อความหมายได้ชัดเจน การจัดภาพการ
เลือก shot นับว่ามีความสำคัญมาก เช่น (ภาพขวามือ) long shot ซึ่งแสดงเนื้อหาสภาพแวดล้อมธรรมชาติ
รอบคนขี่จักรยาน 2 คนนั้น ส่วนภาพล่าง Mid shot แสดงเน้นบุคลิกและอารมณ์ของใบหน้าโดยอาศัยพื้น
หลัง ช่วยเน้นองค์ประกอบของภาพ ส่วนภาพ close up จะเน้นแสดงอารมณ์บนใบหน้าให้เห็นชัดเจน
Extreme close-up เป็นภาพที่ถ่ายใกล้ เน้นรายละเอียด เช่น ที่ตาให้เห็นรายละเอียดของส่วนประกอบของ
ดวงตา แววตา ขนตา ช่วยเน้นความรู้ทางอารมณ์ที่แสดงออกทางดวงตา Extreme long shot เป็นภาพถ่าย
ระยะไกล แสดงภาพทิวทัศน์ของเมือง เป็น shot ที่แสดงให้เห็นสภาพของบริเวณที่อยู่รอบ ๆ ตัววัตถุ หรือคน
อยใู่ นภาพ หรอื เป็นการเปรยี บเทียบสัดสว่ นของวตั ถุ สิ่งของ หรอื คน ที่ประกอบอยู่ในภาพ
9
การใชฟ้ ลิ เตอรส์ รา้ งภาพพิเศษ (Special Filter Effects)
ฟิลเตอร์หรือแผ่นกรองแสง ใช้สำหรับถ่ายภาพโดยทั่วไป มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่เป็นแผ่นกลม และ
แผ่นสี่เหลี่ยม การใช้ฟิลเตอร์แผ่นกลมจะมีกรอบเป็นเกลียวหมุนติดหน้าเลนส์ ส่วนฟิลเตอร์แผ่นสี่เหลี่ยมต้องเพ่ิม
อุปกรณต์ ิดหนา้ เลนส์เพอ่ื ใชเ้ ป็นท่ใี สฟ่ ิลเตอร์ลงไป
การใช้ฟิลเตอร์ถ่ายภาพทำให้เกิดผลเปลี่ยนแปลงให้ภาพผิดไปจากเดิมเป็นการปรับปรุงแก้ไขภาพที่
ต้องการถ่ายให้มีผลดียิ่งขึ้น ฟิลเตอร์จึงมีหลายชนิดแต่ละชนิด เมื่อนำไปใช้ถ่ายภาพจะให้ผลภาพถ่ายมีลักษณะ
ต่างกนั ออกไปดนู า่ สนใจ สร้างอารมณค์ วามร้สู ึก หรือสรา้ งภาพใหร้ ู้สกึ ต่ืนเตน้ เร้าใจ เป็นตน้ ดงั น้ันเราจึงควรรู้จัก
ฟลิ เตอรช์ นดิ ต่าง ๆ เพือ่ นำมาใชใ้ นการถ่ายภาพวีดทิ ัศน์ คือ
1.Polarizing filters เป็นฟิลเตอร์มีลักษณะสีเทา ใช้ถ่ายภาพ มีประโยชน์ดังนี้ สามารถตัดแสง
สะท้อนจากวัตถุที่มีผิวมันและสะท้อนแสง เช่น แก้วน้ำ ผิวน้ำ เครื่องเคลือบและภาพเขียน เป็นต้น และ
สามารถตัดแสงสะท้อนที่อยู่หลังกระจกใสได้อีกด้วย ช่วยเรื่อง Contrast ของภาพ เช่น ต้องการถ่ายให้มีเมฆ
มากขนึ้ หรือต้องการให้ทอ้ งฟ้ามีสีน้ำเงินเขม้ กว่าปกติ
2.Diffusion filters เป็นฟิลเตอร์ทำให้ภาพดูนุ่มนวลยิ่งข้ึน โดยจะลดความคอนทราสท์ของภาพทำ
ให้ไฮไลท์ (High Light) ของภาพพร่ามัว แต่ไม่กระทบกับการโฟกัสภาพ ถ้าใช้รวมกับฟิลเตอร์สีอ่อนจะทำให้
ภาพสวยขึ้น
3.Fog filters เป็นฟิลเตอร์ที่ให้ความนุ่มนวลอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะฟุ้งพร่ามัวมากกว่ามีผลทำให้
ท้องฟ้าดเู หมือนมหี มอกหนา
4.Graduated filters เป็นฟิลเตอร์ที่ซีกด้านบนเลนส์จะเคลือบสีต่าง ๆ ไว้ ใช้สำหรับลดความสว่าง
จา้ ของท้องฟา้ หรอื เปล่ียนเพ่มิ สีของทอ้ งฟ้า ส่วนซีกลา่ งจะเปน็ เลนสป์ กติเพื่อถา่ ยบันทกึ วตั ถตุ ามธรรมชาติ
5.Color filters เป็นฟิลเตอร์เลนส์สีต่าง ๆ มีให้เลือกใช้ เพื่อสร้างให้ภาพดูน่าสนใจ แปลกไปจาก
ภาพธรรมชาตติ ามปกติ เช่น สร้างโทนสีในภาพเปลี่ยนไป, ช่วยเน้นสีพื้นหลังของภาพ, หรือสร้างบรรยากาศของ
ภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในการถ่ายภาพวีดิทัศน์ การใช้ฟิลเตอร์ถ่าย ถ้าดูที่ช่องมองภาพของกล้องถ่ายไม่ได้
เนื่องจากช่องมองภาพกล้องถ่ายวีดัศน์จะเป็นภาพขาวดำ ดังน้ัน
ในการถ่ายควรต่อสายสัญญาณจากตัวกล้องไปที่เครื่องมอนิเตอร์สี
(color monitor) เพอ่ื ตรวจสอบภาพ
ในบางคร้งั การใชฟ้ ลิ เตอร์สีน้ำเงิน (Blue filter) ชว่ ย
ในการถ่ายภาพย้อนแสงอาทิตย์จะช่วยลดค่าความสว่างของแสงลง
2 สต๊อป มีผลทำให้เกิดความรู้สึก เป็นภาพกลางคืน โดยจะเห็น
ดวงอาทิตย์มีแสงลดลงเปน็ แสงอ่อน ๆ ดูแล้วเหมอื นดวงจันทร์
6.Color spot filters เป็นฟิลเตอร์ทีต่ รงกลางเจาะรู
เพื่อให้ภาพชัดและรอบ ๆ อาจเป็นสีหรือพร่ามัว เพื่อช่วยเน้น
จุดเด่นภาพให้ชัดเจน ส่วนรอบนอกไม่น่าสนใจ ก็ทำให้นุ่มหรือ
พร่ามัวหรือสรา้ งโทนสีภาพรอบ ๆ
7.Dual color filters เป็นฟิลเตอร์ที่ฉาบสีไว้ 2 สี
คือ ดา้ นบนสีหนงึ่ และซีกครง่ึ ล่างอีกสหี นึ่ง บนเลนสพ์ ิเศษอันเดียวกัน ดังน้นั ในการถ่ายให้เอาแนวท่ีชนกันคือเป็น
เส้นระดับสายตาในภาพถ่าย ซึ่งจะมีผลทำให้ภาพเกิดโทนสีแปลกต่างกันไป สร้างบรรยากาศความรู้สึกของภาพ
ผดิ ไปจากสีตามธรรมชาติ
10
เลนสถ์ า่ ยภาพพิเศษ (SPECIAL LENS)
เลนส์ถา่ ยภาพพิเศษ เป็นเลนส์ท่ีสร้างขึน้ เพ่ือผลการถ่ายภาพให้มภี าพต่างไปจากท่ตี ามองเหน็ มดี ังน้ี
1.เลนส์ Wide-angle attachment
2.เลนส์ Telepoto Converter
3.เลนส์ Radial prism lens เป็นเลนส์ที่ผลิตขึ้นมีลักษณะเป็นชุดที่มีผิวหน้า 6 ชิ้นติดต่อกัน โดยแต่ละ
ชิ้นจะบันทึกภาพลงบนส่วนต่าง ๆ บนจอภาพและเห็นภาพวัตถุเดียวกันซ้อนปรากฏอยู่ 6 ชิ้นในภาพ ถ้าหากท่าน
ต้องการให้ภาพซอ้ นกนั น้ีเคลอ่ื นไหวกห็ มุนวงแหวนของเลนส์ได้ ภาพทซี่ ้อนรอบ ๆ กจ็ ะหมนุ รอบภาพวตั ถอุ ยกู่ ลาง
4.Parallel prism lens เป็นเลนส์ท่ี
มีลักษณะซกี ดา้ นหนึง่ ปกติแตอ่ ีกซกี หนงึ่ เป็น
เลนส์ซอ้ นกัน 4 ช้นิ ในแนวตั้ง หรือเม่อื นำไป
ถ่ายภาพหมนุ เลนสเ์ ปน็ แนวนอนได้ ผลของการ
ใหภ้ าพซอ้ นวัตถเุ ดียวกันเกดิ ขน้ึ อีก 4 ชิน้ โดย
เรยี งตามกัน เชน่ การถา่ ยภาพต้นไม้ในภาพถ่าย
ก็จะเพ่ิมจำนวนตน้ ไมใ้ นภาพให้มมี ากขน้ึ
5.Split-field diopter lens เป็น
เลนสท์ มี่ ซี กี เดยี ว ใช้ถา่ ยบันทกึ ภาพในระยะทต่ี ้องการความชัดลกึ 2 ระยะ คอื ตรงสว่ นซกี ท่มี ชี ้นิ เลนส์จะใหค้ วาม
ชัดลึกของวตั ถุท่ีอยู่ใกล้ เปรยี บเหมือนทำหน้าทเี่ ปน็ เลนส์ Close up สว่ นอกี ซีกไมม่ ีเลนสจ์ ะเป็นช่วงท่เี ก็บความ
ชดั ลึกในวตั ถุระยะทอี่ ยู่ไกล ดังเชน่ ภาพตัวอย่างภาพเล็กเป็นภาพทตี่ ามปกตจิ ะเห็นวา่ ภาพดอกไมด้ ้านหนา้ ไมช่ ดั
แต่ภาพอาคารชัด ดังนั้นหากเราใชเ้ ลนส์ Split-field diopter lens มาใช้ ภาพดอกไมด้ ้านหนา้ จะชัดข้ึน และ
ภาพอาคารกย็ ังชดั เหมือนเดิม
6.เลนส์ Starburst lens เปน็ ฟลิ เตอรใ์ ห้ผลพิเศษมแี บบที่นิยมใชค้ อื ฟิลเตอร์แฉกประกายดาว ลักษณะ
เปน็ ฟิลเตอร์ใสซงึ่ มีเสน้ ขีดขนานตดั กันท้งั ตวั เลนส์ ทำใหเ้ มือ่ เวลานำไปถ่ายภาพที่มีแหลง่ กำเนดิ แสงเชน่ ดวงไฟ
ภาพท่ีปรากฏจากการถ่ายจะเปน็ รูปฉากดาว ซึ่งมีตัวเลนส์ทำไว้ใช้หลายแบบ เช่น 2 แฉก 4 แฉก 6 แฉก หรอื
8 แฉก นอกจากนีย้ ังมเี ลนส์ Diffraction ซึง่ ให้ภาพแฉกประกายดาวที่แปลกตากวา่ โดยจะแยกแสงสีออกมาเปน็
แสงสีสเปคตรมั หรอื สรี ้งุ มใี หเ้ ลือกใช้หลายแบบ เชน่ เปน็ ลำเสน้ แนวขนาน เปน็ รังสวี งกลมรอบตวั วตั ถุ เป็นตน้
11
ใบความรทู้ ่ี 3
หลกั การใช้โปรแกรมสำเรจ็ รูปตดั ต่อภาพและเสียง
1. จุดประสงคก์ ารเรียนรู้
1.1 จุดประสงคท์ ่วั ไป
อธบิ ายเกีย่ วกบั หลกั การใชโ้ ปรแกรมสำเร็จรปู ตัดต่อภาพและเสียง
1.2 จุดประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม
สามารถใช้โปรแกรมสำเรจ็ รปู ตดั ต่อภาพและเสยี ง
การใสเ่ สยี งประกอบใหง้ านวดี ีโอ (Audio)
การตัดต่อวดี โี อที่สมบูรณ์คงขาดเสยี งประกอบไม่ได้ เสียงประกอบเปน็ ตัวสำคัญ ส่วนมาเสียงจะมาพรอ้ มกบั คลิป
วดี ีโอ หากเราตองการเสียงท่มี ีคุณภาพดขี ึ้นจะต้องปรับแต่งกันใหม่หรอื จะนำเสยี งจากแหล่งอน่ื ๆ เขามาใชง้ าน หรือ
จะนำเสียงจากแหล่งอื่นๆ เข้ามาใช้งาน ดังนั้นเราต้องมาทำความรู้จักกับวิธีจัดการเก็บเสียง เพื่อให้ได้วีดีโอท่ี
สมบรู ณ์
1.เพ่ิมไฟล์เสียงใหม่เขา้ มาใชใ้ น Library
ไฟล์เสียงดนตรีในโปรแกรม VideoStudio Editor มีอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง ถ้าหากต้องการเพิ่มไฟล์เสียงที่อยู่ใน
เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามา ก็สามารถทำได้โดยการดึงเข้ามาเก็บไว้ในส่วนของ Library ก่อนเพิ่มไฟล์เสียงใหม่เข้ามา
ใช้ใน Library นำเสียงจากข้างนอกเข้าไปใช้ในโปรแกรม VideoStudio Editor แล้วนำไปเก็บไว้ใน Library ก่อน
นำไปใช้งาน
12
13
14
ใบความรทู้ ่ี 4
การปฏิบัติถา่ ยทำสื่อวีดทิ ัศน์ตัดต่อภาพและเสียง
1. จุดประสงค์การเรียนรู้
1.1 จุดประสงคท์ ั่วไป
อธิบายเกยี่ วกบั หลกั การถ่ายทำสอ่ื วีดทิ ศั น์ตัดต่อภาพและเสียง
1.2 จุดประสงคเ์ ชงิ พฤตกิ รรม
สามารถปฏบิ ตั ิถา่ ยทำส่ือวดี ิทศั น์ตดั ตอ่ ภาพและเสียงได้
เทคนคิ การเขยี นบท
ความสำคญั วดี ิทัศน์เพื่อการศึกษา
วีดิทัศน์เป็นเทคโนโลยีทางการศึกษาชนิดหนึ่งที่ใช้กันทั้งในระดับมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และโรงเรียน
เพราะสามารถที่จะสื่อความหมายได้ทั้งภาพและเสียง จึงเหมาะที่จะนำมาผลิตใช้เป็นสื่อการสอนเพื่อให้เด็กเกิด
การเรียนรู้ โดยเฉพาะการศึกษาทางด้านอาชีวศึกษา เพราะในสาขาด้านอาชีวะนั้นจะเป็นการศึกษาวิชาชีพฝึก
เพื่อให้เกิดทักษะที่ต้องเน้นด้านกระบวนการปฏิบัติงานในแต่ละสาขางานก็แตกต่างกัน โดยปกติการสอน
ครู-อาจารย์ต้องใช้เวลามากในการให้ความรู้จนกว่าเด็กจะมีความเข้าใจในเนื้อหาก่อนไปทำในการฝึกภาคปฏิบัติ
ซึ่งหารครูได้มีการทำการสอนโดยวิธีการสาธิตในบางสาขางานต้องใช้เวลานาน เด็กอาจขาดความสนใจ ดังน้ัน
สื่อวีดิทัศน์ จึงเป็นสื่อหนึ่งที่สามารถนำมาช่วยให้ใช้เวลาในการสอนน้อยลง แต่มีเนื้อหาที่ชัดเจน ตรงตาม
จุดประสงค์และสาระการเรียนรู้ โดยวีดิทัศน์การสอนจะเป็นการนำเสนอที่ย่นย่อกระบวนการทำงานจริงเท่านั้น
และสื่อวีดิทัศน์นี้ยังสามารถใช้รูปแบบนำเสนอเพื่อสร้างความสนใจต่อบทเรียน นอกจากนั้นหากนักเรียนยัง
ไมเ่ ข้าใจช่วงไหนของบทเรียนสามารถนำกลับมาเปดิ ทบทวนศกึ ษาใหม่ได้
ซึ่งหากกล่าวโดยสรบุ สอ่ื วีดทิ ศั นน์ จ้ี ดั เปน็ โสตทศั นูปกรณ์ทที่ ำหน้าท่หี ลกั ของสอ่ื การสอนได้หลายอย่าง คือ
1.ด้านเนือ้ หา
2.ดา้ นทักษะ 3.ดา้ นทศั นคติ
15
จะเหน็ ได้วา่ คุณคา่ ของวดี ทิ ัศน์เพ่ือการศึกษาทม่ี ตี ่อการเรียนการสอนมดี งั นค้ี อื
1. ช่วยเพ่ิมคุณภาพการสอน
2. ชว่ ยให้การจดั ตารางในการฝึก
3. ชว่ ยเพม่ิ จำนวนผู้เรียน
4. ชว่ ยในการสาธิต เพือ่ แก้ปัญหาบางอยา่ งในการสอน
5. ช่วยใหก้ ารเรียนการสอนแทนได้ในกรณที ีข่ าดครู
6. ชว่ ยทีเ่ อือ้ อำนวยการศกึ ษานอกระบบได้
นอกจากนอ้ี กี สิง่ หนึ่งทค่ี วรคำนึงถึงการผลติ วดี ทิ ศั น์เพอ่ื การศกึ ษา กค็ ือ การผลิตและการจดั ทำรายการควร
พิจารณา สิง่ เหลา่ นี้
1. สามารถทำใหผ้ เู้ รยี นบรรลุวตั ถุประสงคห์ รือเป็นไปตามมาตรฐานการเรยี นรู้
2. เนอื้ หา รูปแบบนำเสนอเหมาะสมกับผูเ้ รยี น ผใู้ ช้ หรือไม่
3. วีวิธกี ารอน่ื เลอื กใชส้ ่อื ประเภทอื่นหรอื ไม่
4. ผลประโยชนท์ ่ไี ด้รบั คมุ้ คา่ กบั การศกึ ษาหรือไม่
5. ตอ้ งใช้เคร่อื งมือหรอื ประสบการณอ์ นื่ ประกอบหรอื ไม่
รปู แบบรายการวดี ทิ ศั นเ์ พอื่ การศึกษา
ในการผลิตรายการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรม ผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงการถ่ายทอดเนื้อหาสาระของ
ความรู้ไปสู่ผู้ชมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ขณะเดียวกันรายการนั้นจะต้องมีชีวิตชีวาน่าติดตามด้วย ดังนั้นวิธีการ
ดำเนินการเสนอรายการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรมจึงทำได้หลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อสร้างความ
หลากหลายแก่รายการ เพอ่ื เสริมสรา้ งให้ดนู า่ สนใจมากยิง่ ข้นึ
เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตเทปวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา ซึ่งมีรูปแบบการนำเสนอ ได้แก่ รายการสอนตรง
รายการบรรยาย รายการสัมภาษณ์ รายการสนทนา รายการข่าว รายการสอนแบบจุลภาค รายการจำลอง
สถานการณ์ รายการสาธิต รายการสารคดี ฯลฯ
รายการสอนตรง
รายการสอนตรง(Direct Teaching) จัดเป็นรูปแบบ
ดังเดิมที่จะใช้ในการถ่ายทอดความรู้และยังนิยมใช้อยู่มาก
ในปัจจุบัน เพราะให้การเรียนรู้ได้ดีในเวลาที่ไม่นานนัก
โดยเฉพาะเมื่อครู วีดิทัศน์ มีความสามารถสูงในการสอน
การอธิบาย ยิ่งทำใหร้ ายการแบบนี้ยิง่ มปี ระสทิ ธิภาพ
16
รายการบรรยาย
รายการบรรยาย(Monologue) เป็นรายการที่มีผู้มาปรากฏตัวพูดคุยกับผู้ชมเพียงคนเดียวคล้ายๆ กับ
รายการสอนตรง เพียงแต่ประเภทแรกเน้นในเรื่องของการเรียนการสอนเป็นหลัก แต่ประเภทนี้จะเน้นในการให้
ความรู้ความคิดทั่วๆ ไป แก่ผู้ชมมากกว่า ตัวอย่าง รายการ เช่น รายการวิธีคิดวิธีทำงานท่ีคุณประสาร มฤคพิทักษ์
เป็นผู้นำบรรยายเกี่ยวกับเรื่องแนวคิดการดำเนินชีวิต รายการ
พบโลก ที่คุณพิชัย วาสนาส่ง ว่าเกี่ยวกับสถานการณ์ของโลก
ให้ผู้ชมฟัง จะเห็นได้ว่ารายการเหล่านี้น่าสนใจ ไม่ได้เป็น
รายการที่น่าเบื่ออย่างที่หลายคนคิดไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นเรื่อง
ของความสามารถของผู้บรรยาย และการใช้เทคนิคการ
นำเสนอให้น่าสนใจ โดยทั่วไปมักจะหาสื่ออื่นมาประกอบการ
บรรยายให้นา่ สนใจมากขึน้ ซง่ึ นิยมเรียกกนั วา่ รายการสนทนา
ประกอบภาพ(Illustrated Talk)
รายการสัมภาษณ์
รายการสัมภาษณ์(Interview) เป็นรายการที่ใช้
วิธีการนำเอาข้อสนเทศจากบุคคลบางคนออกมาโดย
ผ่านทางคำถามและคำตอบ เสมือนเป็นการแสวงหา
ความจริงในนามของผู้ชม การสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์
นั้นผู้ชมสามารถได้ยินทั้งเสียง เป็นภาพที่จะก่อให้เกิด
ความรับรู้ในความรู้สึก สีหน้าของผู้ร่วมรายการ
ตลอดจนเหตกุ ารณอ์ น่ื ประกอบการสัมภาษณ์นัน้
การสมั ภาษณท์ ่ีดีนั้นควรจะประกอบด้วย
1. เน้อื หาทจ่ี ะสมั ภาษณด์ ี(Good Material)
2. มีการสำรวจและวิจยั เรื่องทจ่ี ะสัมภาษณเ์ ปน็ อยา่ งดี(Good Research)
3. มีการสนทนาทด่ี (ี Good Conversation)
4. การกำกับรายการดี(Good Direction)
17
รายการสนทนา
รายการสนทนา(Talk Show) เป็นรายการที่มีผู้ร่วมรายการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมสนทนาในประเด็นใดท่ี
เป็นที่น่าสนใจในขณะนั้น โดยมีผู้ดำเนินการเป็นผู้นำการสนทนา เชื่อมโยงประเด็นควบคุมการสนทนาให้เป็นไป
ด้วยดี รายการนี้จะต่างกับรายการสัมภาษณ์สัมภาษณ์ตรงนี้ รายการสัมภาษณ์เน้นการถามและตอบมากกว่า
ในขณะที่รายการนี้จะเน้นการแสดงความคิดเห็น อาจจะเห็นด้วยหรือต่างทัศนะกันออกมา หรือเป็นการร่วมกัน
วเิ คราะหเ์ หตกุ ารณใ์ ดเหตุการณห์ นึ่ง เช่น การเลือกตัง้ สถานการณข์ องโลก หรอื เป็นการรว่ มกนั วิเคราะหเ์ หตุการณ์
ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น การเลือกตั้งสถานการณ์ของโลก หรือแม้แต่เรื่องวิชาการโดยตรง เป็นรายการที่ทำให้ผู้ชม
ได้รับความคิดที่หลากหลาย บางครั้งรายการประเภทนี้จัดให้มีผู้ชมเข้าร่วมรายการด้วย และอาจเปิดโอกาสให้เขา
ซกั ถามปัญหาต่างๆ หรอื ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย
รายการขา่ ว
รายการขา่ ว(Newscast) เปน็ การเสนอรายงานเหตุการณส์ ำคัญทเ่ี ปน็ ทสี่ นใจของประชาชนหรอื มีผลกระทบ
ตอ่ ประชาชน โดยจะเสนอใหเ้ ป็นปัจจบุ นั หรือทันทที ี่เกิดเหตุการณน์ ้นั ข้ึน ขา่ วควรตอบคำถามได้ 6 ประการ คือ ใคร
ทำอะไร ทไ่ี หน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร รายการขา่ วเปน็ รปู แบบหนงึ่ ท่จี ะเลอื กเปน็ รายการเพื่อการศึกษาได้ โดย
อาจจะเป็นประเดน็ ในการติดต่อ หรืออภิปรายเพมิ่ เตมิ ของผู้เรียน
การเสนอขา่ วโทรทัศนจ์ ะแตกตา่ งจากการรายงานข่าวในหนา้ หนังสือพมิ พ์ เพราะในหนังสอื พมิ พผ์ ู้อา่ น
สามารถอ่านทบทวนในสิ่งทเี่ ขาไม่เขา้ ใจได้ แตข่ ่าวโทรทศั นจ์ ะผา่ นเขาไปเลย หากผู้ชมไม่สามารถเขา้ ใจเน้อื หาได้
ขา่ วโทรทัศน์เป็นข่าวที่มีทงั้ ภาพและเสยี ง จงึ ย่อมสร้างความนา่ เชอ่ื ถอื และน่าสนใจได้มาก
รายการสาธติ
การสาธติ คือการอธิบายถงึ ข้อเท็จจริง โดยมีการแสดงประกอบในบางสว่ น หรือทง้ั หมด โดยมุ่งให้ผชู้ มทราบ
วิธีการดำเนินงานตามลำดบั ขนั้ เช่น สาธิตการปะยางรถจักรยาน สาธติ การเตรียมกา๊ ซออกซิเจน สาธติ การทำขนม
ฯลฯ โทรทศั นเ์ ป็นสอ่ื ที่ดีมากสำหรับการสาธติ เพราะสามารถเหน็ ภาพและได้ยนิ เสยี ง อีกท้งั สามารถทำภาพขนาด
ตา่ งๆ เพือ่ ความชดั เจนในการชมได้ดว้ ย
รายการเกมหรอื ทายปญั หา
รายการเกมหรือทายปัญหา(Game Show or Quiz Show) เป็นรายการหนึง่ ที่ใช้ไดด้ ีในการจดั ทำรายการให้
ความรู้แก่ผู้ชมและผรู้ ่วมรายการ รายการประเภทน้จี ะเป็นการแขง่ ขนั อาจจะรายบคุ คลหรอื เปน็ ทีมก็ได้ โดยมพี ธิ ีกร
เปน็ ผู้ดำเนนิ การ
18
รายการดนตรแี ละรา่ ยรำ
ในรายการดนตรีและการรา่ ยรำ เราเสนอภาพท่ปี รากฏในแง่ของผลของภาพ เชน่ การจัดองค์ประกอบของ
ภาพ การใชเ้ งาในการตกแต่งภาพ ตลอดจนการเคล่อื นไหวตา่ งๆ และในแง่ของการใหข้ า่ วสาร เช่น เทคนคิ การใชน้ ้วิ
มือกับเครือ่ งดนตรี การเคลอื่ นไหวของมือหรือเท้าในการร่ายรำ เปน็ ตน้ หรือบางทกี ็เป็นการผสมผสานของทง้ั สองแง่
การจับภาพและการตัดต่อภาพจะตอ้ งเข้ากับอารมณ์และจังหวะของภาพทป่ี รากฏ รายการประเภทนีน้ อกจากจะ
เหมาะสมกบั การส่งเสรมิ กิจกรรมพิเศษของนักเรยี นแล้ว ยงั เหมาะสำหรบั การสอนทางภาษามาก
รายการสถานการณจ์ ำลอง
เป็นรายการวีดิทัศนม์ าใช้เพอ่ื บันทกึ สถานการณ์ต่างๆ ทไ่ี ด้สร้างข้นึ เพื่อการเรียนการสอน เพื่อพัฒนา
บุคลกิ ภาพของผู้เรยี นให้เหมาะสมกบั งานในสาขาน้ันๆ เชน่ นกั แนะแนว ก็สรา้ งเปน็ สถานการณแ์ นะแนวโดยมผี ้มู า
ขอรับบริการและผใู้ ห้คำแนะแนว และบันทกึ เทป เหตกุ ารณ์นน้ั ไว้ เพ่อื นำมาให้ขอ้ มูลยอ้ นกลบั และวพิ ากษ์วิจารณ์
กนั ภายหลงั ซ่ึงผปู้ ฏิบตั งิ านสามารถเหน็ บคุ ลิกท่าทข่ี องตนเองขณะนน้ั ได้ดีเพ่อื การปรับปรุง หรอื การฝกึ พดู และ
บนั ทึกเทปวีดทิ ศั นไ์ ว้ เปน็ ตน้ ในรายการประเภทนรี้ วมไปถงึ การสรา้ งสถานการณจ์ ำลองประเภทต่างๆ ไวเ้ พ่ือเป็น
กรณตี ัวอย่างในการศกึ ษาด้วย
รายการละคร
เปน็ การผสมผสานระหวา่ งความสามารถในการแสดงการจดั ฉาก การถา่ ยภาพ การตัดตอ่ ตลอดจนการให้
แสงและเสียงประกอบ การแสดงทางโทรทัศนจ์ ะแสดงใหเ้ หน็ ถึงปฏกิ ิริยาของตวั ละครได้ดีกว่า โดยเน้นในดา้ นการ
พฒั นาตัวละคร ความสัมพนั ธ์ระหว่างมนุษยแ์ ละบทสนทนา ซง่ึ สอื่ โทรทัศนส์ ามารถท่จี ะรวมสง่ิ เหล่าน้ีไวไ้ ดใ้ นทกุ ๆ
ด้านอยแู่ ลว้ นอกจากนโ้ี ทรทัศน์มจี อขนาดเลก็ และผู้ชมอยู่ใกลจ้ อ จึงสามารถทีจ่ ะเพ่งความสนใจตรงไปยังที่
รายละเอยี ดบางจุดไดง้ ่าย และในภาพในระยะใกล้
การนำเสนอรายการการศกึ ษาด้วยรปู แบบของละคร ยอ่ มเปน็ ทีน่ า่ สนใจมากทส่ี ดุ แต่ขณะเดียวกันกเ็ ป็นการ
ยากที่สุดในการผลติ ด้วยต้องอาศัยความสามารถสูงมาก
19
ใบความรูท้ ี่ 5
การนำเสนอผลงานกราฟิกวิดที ศั น์
1. จุดประสงค์การเรียนรู้
1.1 จุดประสงค์ท่วั ไป
อธบิ ายเกี่ยวกับหลักการนำเสนอสอื่ วดี ิทศั นไ์ ด้
1.2 จดุ ประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม
การนำเสนอ(Expose’)
การนำเสนอ(Expose’) คือการกำหนดขอบข่ายของเนื้อหาในงานสื่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา ซึ่งจะ
ประกอบดว้ ยรายละเอียดในเรอ่ื งดงั น้ี
กำหนดรูปแบบของรายการท่ีจะทำสื่อวดี ิทศั น์การสอน
1)กำหนดโครงสร้างของเนื้อหาว่าควรจะแบ่งเป็นกี่ตอน และจัดลำดับเนื้อหาในแต่ละตอนให้มีความสัมพันธ์
กันอยา่ งไร
2)อธิบายเนื้อหาที่จะนำเสนอในลักษณะอย่างไร เช่นในช่วงเนื้อหาตอนไหน ใช้ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภา
พกราฟคิ รวมถงึ การเลอื กใช้ดนตรแี ละเสยี งประกอบดว้ ย
20
โครงเร่ือง (Treatment)
โครงเรื่อง (Treatment) ประกอบด้วยรายละเอยี ดท่ีจะนำเสนอในเร่ืองตง้ั แตเ่ ริ่มตน้ เรื่องไปจนจบ คอื
1)อธบิ ายเนือ้ หาแตล่ ะหวั ข้ออยา่ งชดั เจน
2)อธิบายภาพวา่ ในเนอื้ หาแต่ละชว่ งนน้ั จะนำเสนอภาพออกมาอย่างชดั เจน
3)แบบสอบถาม เพื่อทดสอบผู้เรยี นหลงั จากทีไ่ ดศ้ กึ ษาเนื้อหาจากวีดทิ ัศนแ์ ลว้
21
ลำดับภาพของเรอ่ื ง (Storyboard)
ลำดับภาพของเรื่อง (Storyboard) คือการถ่ายทอด Concept จากข้อความให้เป็นภาพที่ปรากฏบน
จอโทรทัศน์ ในอัตราส่วน 3:4 หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือ Storyboard หมายถึง ลำดับของภาพที่สเก็ตขึ้น
จากเริ่มต้นจนจบเรื่อง Storyboard มีประโยชน์มากสำหรับคณะถ่ายทำเพราะเป็นภาพที่สเก็ตขึ้นนั้นจะบอก
รายละเอยี ดของมมุ กล้อง การกำหนดกรอบภาพ รวม Action –ของผูแ้ สดงดว้ ย
ตวั อย่าง Storyboard
22
บท (Script)
บท (Script) คือการกำหนดรายละเอียดในการนำเสนอวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา ทั้งในเรื่องของภาพที่ปรากฏ
และเสยี งทผ่ี ชู้ มจะไดย้ ินในขณะที่ชมภาพนน้ั อยู่ ดงั น้นั บทโดยท่ัวไปจะประกอบดว้ ยรายละเอียด 2 ประการ คอื
1)รายละเอียดของภาพ จะเปน็ การบอกลักษณะ ขนาด และชนดิ ของภาพ ตั้งแตเ่ ร่มิ ตน้ จนจบเรอ่ื ง
2)รายละเอียดของเสียง ที่จะอธิบายภาพแต่ละภาพ ซึ่งอาจจะเป็นภาพบรรยาย การสนทนา หรือ
เสยี งดนตรี /เสียงประกอบต่างๆ ท่ีสัมพนั ธก์ ับภาพ
บท (Script) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตรายการวีดิทัศน์ ภาพยนตร์ และสไลด์ประเสียง เพราะ
บทจะเปน็ ตัวกลางในการสือ่ ความหมายตอ่ การปฏบิ ัติงานร่วมกนั ของคณะถ่ายทำในแต่ละฝา่ ยหนา้ ท่ี
ลกั ษณะของคำบรรยายที่ดีใน บท (Script) มดี งั นี้
- ใช้คำพูดง่ายและสนั้ (อธิบายละเอียดเมือ่ จำเปน็ )
- ไม่อธบิ ายส่งิ ทผี่ ชู้ มเหน็ จากภาพแล้ว
- ใหเ้ นอื้ หาเพมิ่ เติมจากภาพ
- ใชภ้ าษาตรงกบั ผู้ชม
- การบรรยายสนกุ ไมน่ า่ เบื่อ
- บรรยายเนอื้ หาใหฟ้ ังงา่ ย (ไมต่ ้องลึกซง้ึ ยดื ยาวหากไม่จำเปน็ )
ตวั อย่าง Script