The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ใบความรู้ สสารและการเปลี่ยนแปลง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Siraprapha Namtan, 2022-09-11 08:36:37

ใบความรู้ สสารและการเปลี่ยนแปลง

ใบความรู้ สสารและการเปลี่ยนแปลง

โรงเรยี นอนบุ าลอุบลราชธานี

สานกั งานเขตพน้ื ที่การศกึ ษาประถมศึกษาอบุ ลราชธานี เขต 1
สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ

ชั้นประถมศกึ ษาปที ่ี

5

ใบความรู้

วิชา วิทยาศาสตร์

ช่อื -นามสกลุ .......................................................................................

ชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 5/.......................... เลขท่ี...................
ครูผู้สอน นางรชั นี มลู ป้อม

ใบความรู้ วิทยาศาสตร์ ชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 5

ชอื่ -สกุล______________________ชั้น______เลขท่ี____

เรือ่ ง สถานะของสสาร

สถานะของแขง็ ตวั อยา่ งสสารทอี่ ยูใ่ นสถานะของแขง็

มีมวล ตอ้ งการท่ีอยู่ สามารถสมั ผัสได้

มรี ปู ร่างและปริมาตรคงท่ี แกว้ กลอ้ งถ่ายรูป

มอี นภุ าคยึดกนั อย่างหนาแน่นเรยี งตวั ชดิ กนั หนังสือ คอมพวิ เตอร์
ไม่สามารถเคลอ่ื นทไ่ี ด้

การหามวลของของแขง็

มังคดุ เครือ่ งชั่ง 2) นาของแขง็ ไปช่ังมวล
จากน้นั อา่ นค่าและบันทกึ ผล
1) เตรยี มอุปกรณท์ ใ่ี ชใ้ นการช่งั

การหาปรมิ าตรของของแขง็

1) ใช้สตู รหาปริมาตรของของแข็ง 2) ใชก้ ารแทนท่ีน้าหาปรมิ าตร
ทรงสี่เหลี่ยม ปริมาตรของวัตถุ ของแข็งทม่ี ีรปู ทรงไมแ่ น่นอน
= กวา้ ง x ยาว x สงู

สถานะของเหลว ตัวอย่างสสารทีอ่ ยใู่ นสถานะของเหลว

มีมวล ตอ้ งการทอ่ี ยู่ สามารถสมั ผัสได้

มปี รมิ าตรคงที่ กาแฟ นม

มีอนภุ าคอยู่หา่ งกนั มากกวา่ ของแขง็
ทาให้เคลื่อนทไี่ ด้มากข้ึน

ระดับผิวหน้าของของเหลว น้าผลไม้ ฝน
จะอย่ใู นแนวราบเสมอ

มรี ปู ร่างเปลย่ี นแปลงตาม
ภาชนะที่บรรจุ

การหามวลของของเหลว

1) เตรียมอุปกรณท์ ี่ใชใ้ นการชง่ั 2) นาบีกเกอร์เปล่าไปชั่งหามวลและ 3) นาค่าที่ได้จากการชั่งของเหลว
บันทึกค่ามวล จากนั้นเติมของเหลว ในบีกเกอร์ ลบกับค่าที่ได้จากการ
ท่จี ะช่งั ลงในบีกเกอร์แล้วนาไปชั่งมวล ชั่งบีกเกอร์เปล่า จะได้มวลของ
อีกครัง้ และบันทึกค่า ของเหลว

การหาปริมาตรของของเหลว

ใช้การตวง

สถานะของแกส๊ ตวั อยา่ งสสารที่อยูใ่ นสถานะของแก๊ส

มมี วล ตอ้ งการทอี่ ยู่ สามารถสัมผสั ได้ บอลลนู ถังแก๊สดับเพลิง
ลกู โป่ง
มีรูปรา่ งและปริมาตรเปล่ยี นแปลงตามภาชนะ
ทีบ่ รรจุ

อนุภาคกระจายอยู่หา่ งจากกนั มากกว่าของเหลว
ทาใหเ้ คลอื่ นท่ีได้ทกุ ทศิ ทาง

การหามวลของของแก๊ส

1) เตรียมอปุ กรณ์ท่ีใช้ในการช่ัง 2) ชั่งมวลลูกโป่งที่ยังไม่ได้เป่าลม 3) นาค่าที่ได้จากการชั่งลูกโป่ง
แล้วบันทึกค่ามวล จากนั้น เป่าลม ที่เปา่ ลม ลบกบั คา่ ท่ไี ดจ้ ากการ
ลูกโป่งแล้วมัดปากให้แน่นแล้ว
นาไปชงั่ หามวลและบันทึกค่ามวล ช่งั ลูกโป่งทไ่ี ม่ไดเ้ ป่าลม

การหาปรมิ าตรของของแก๊ส

ใช้การแทนที่นา้
ของแก๊ส

ใบความรู้ วิทยาศาสตร์ ช้นั ประถมศึกษาปีที่ 5

ชื่อ-สกลุ ______________________ชั้น______เลขที่____

สถานะของสสาร

สสารที่อยู่รอบตัวเรา สามารถ แบ่งออกเป็น 3 สถานะ

คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยสสารทั้ง 3 สถานะ จะมีสมบัติแตกต่าง
กัน ดงั นี้

สมบัติของของแข็ง คือ มีมวล ต้องการที่อยู่

สามารถสัมผัสได้ มีรูปร่างและปริมาตรคงที่ มีอนุภาคยึดกันอย่างหนาแน่น
เรียงชิดกนั ไมส่ ามารถเคล่อื นที่ได้

สมบัติของของเหลว คือ มีมวล ต้องการที่อยู่

สามารถสัมผัสได้ มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงตามภาชนะที่บรรจุ มีปริมาตรคงที่
มีอนภุ าคอยู่หา่ งกนั มากกว่าของแข็ง ทาให้เคลื่อนไหวได้มากขึ้น และระดับ
ผิวหน้าของของเหลวจะอยู่ในแนวราบเสมอ

ใบความรู้วิทยาศาสตร์
กลมุ่ สาระการเรียนรวู้ ิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ช้ันประถมศึกษาปที ี่ 4
ช่อื ________________________ สกลุ ______________________________ เลขที่

__________

สมบัติของแก๊ส คือ มีมวล ต้องการ ที่อยู่

สามารถสัมผัสได้ มีรูปร่างและปริมาตรเปลี่ยนแปลงตาม
ภาชนะที่บรรจุ มีอนุภาคกระจายห่างจากกันมากกว่า
ของเหลว ทาให้เคลือ่ นทไี่ ดท้ ุกทิศทาง

การหามวลและปรมิ าตรของสสาร
มวล คือ เนื้อสารหรือปริมาณของเนื้อสารที่มีอยู่

ในวตั ถุนนั้ ซ่ึงมีคา่ คงทไี่ ม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดหรืออยู่ที่ใด
บนโลก หนว่ ยของมวล คือ กรัม (g) หรอื กโิ ลกรัม (kg)

ปริมาตร คือ ขอบเขตหรือพื้นที่ที่สสารนั้นบรรจุ

อยู่ หน่วยของปริมาตร คือ ลูกบาศก์เซนติเมตร (cm3) สสาร
ต่าง ๆ ที่อยู่ในแต่ละสถานะจะมีมวลและปริมาตรแตกต่าง
กนั ออกไป

ใบความรู้ วทิ ยาศาสตร์ ช้ันประถมศึกษาปีที่ 5

ช่อื -สกลุ ______________________ชัน้ ______เลขท่ี____

เรอ่ื ง การเปลย่ี นแปลงของสสาร

สสารที่อยู่รอบตัวเรามีหลายชนิด สสารแต่ละชนิดที่พบใน
ชีวิตประจาวันอาจมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ซึ่งสสารอาจ
เปลี่ยนจากสถานะหนึ่งไปเป็นอีกสถานะหนึ่งได้ โดยอาศัยการเพิ่มหรือลด
ความร้อนให้แกส่ สารไปจนถงึ ระดบั หน่งึ เรียกว่า การเปล่ียนสถานะ

การเปลย่ี นสถานะ

การหลอมเหลว เป็นการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว
โดยเมื่อเพิ่มความร้อนให้กับสสารที่อยู่ในสถานะของแข็งจนถึงระดับหนึ่งจะ
ทาใหส้ สารนนั้ เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว

การกลายเปน็ ไอ เป็นการเปล่ียนสถานะจากของเหลวเปน็ แกส๊ โดย
เมื่อเพิ่มความร้อนให้กับสสารที่อยู่ในสถานะของเหลวจนถึงระดับหนึ่งจะทา
ให้สสารน้ันเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นสถานะแก๊ส เรียกว่าการกลายเป็น
ไอ ซึ่งแบ่งได้ 2 กระบวนการ ได้แก่ การระเหย เป็นการเปลี่ยนสถานะจาก
ของเหลวทอี่ ยู่บริเวณผิวหน้าไปเป็นแก๊ส และ การเดือด เป็นการเปลี่ยนสถานะ
จากของเหลวโดยเพิ่มความรอ้ นจนถึงจุดเดือดจนเป็นแก๊ส

การควบแน่น เป็นการเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลว โดย
เมอื่ ลดความรอ้ นให้กับสสารที่อย่ใู นสถานะแก๊สจนถึงระดับหนึ่งจะทาให้สสาร
นัน้ เปลี่ยนสถานะจากแกส๊ เปน็ ของเหลว

การแข็งตัว เป็นการเปล่ียนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง
โดยเม่ือลดความร้อนให้กับสสารท่ีอยู่ในสถานะของเหลวจนถึงระดับหนึ่ง
จะทำให้สสารนน้ั เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเปน็ ของแขง็

การระเหิด เป็นการเปล่ียนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส
โดยเมื่อเพ่ิมความร้อนให้กับสสารที่อยู่ในสถานะของแข็งบางชนิดจนถึง
ร ะ ดั บ ห นึ่ ง จ ะ ท ำ ใ ห ้ ส ส า ร นั้ น เ ป ลี่ ย น ส ถ า น ะ จ า ก ข อ ง แ ข็ ง เ ป ็ น แ ก ๊ ส
โดยไม่ผา่ นการเปน็ ของเหลว

การระเหดิ กลับ เป็นการเปล่ยี นสถานะจากของแก๊สเป็นของแข็ง
โดยเมื่อลดความร้อนให้กับสสารที่อยู่ในสถานะแก๊สบางชนิดจนถึงระดับ
หนึ่งจะทำให้สสารน้ันเปลี่ยนสถานะจากของแก๊สเป็นของแข็ง โดยไม่ผ่าน
การเปน็ ของเหลว

แผนผงั สถานะของสสาร

การหลอมเหลว การกลายเป็นไอ

ของแข็ง เพม่ิ ความร้อน เพิ่มความรอ้ น แก๊ส
ลดความร้อน
ของเหลว
ลดความรอ้ น

การแข็งตวั การควบแน่น

การละลายของสารในนา้

การละลายเป็นการเปล่ียนแปลงทางกายภาพของสารท่ีเกิดขึ้น

จากการนำสารใส่ลงในน้า แล้วสารน้ันผสมรวมกับน้าอย่างกลมกลืน

จนมองเห็นเป็นเน้ือเดียวกันทุกส่วน โดยสารที่ได้ยังคงเป็นสารเดิม

เรียกว่า สารละลาย โดยสารต่าง ๆ อาจอยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว

หรือแก๊ส ซ่ึงสารบางชนิดละลายน้าได้ ส่วนสารบางชนิดไม่สามารถ

ละลายน้าได้ แต่สามารถละลายในสารละลายอนื่ ได้แทน

การ ละ ลา ยข อง สา รใ นน้ าท ำให ้เ กิด สา รส ะ ล าย ซึ่ งเ ป็ น

สารเน้ือเดียว โดยในสารละลายจะมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ตัวทำละลาย

และตัวละลาย โดยสารท่ีมีปริมาณมากกว่าและมีสถานะเดียวกับสารละลาย

เรยี กวา่ ตัวทำละลาย และสารท่ีมปี รมิ าณน้อยกว่า เรยี กว่า ตัวละลาย

ตวั อยา่ ง สารท่ีละลายในนา้ สามารถละลายนา้ ได้
• เกลอื สามารถละลายนา้ ได้
• เกล็ดดา่ งทบั ทมิ สามารถละลายน้าได้
• น้าตาลทรายแดง สามารถละลายนา้ ได้
• แอลกอฮอล์ สามารถละลายน้าได้
• แก๊สออกซิเจน สามารถละลายนา้ ได้
• แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถละลายนา้ ได้
• สผี สมอาหาร

ตัวอยา่ ง สารท่ีละลายในนา้

• ทราย ไมส่ ามารถละลายน้าได้
• ลกู เหมน็ ไมส่ ามารถละลายน้าได้
• ผงตะไบเหล็ก ไม่สามารถละลายน้าได้

การเปล่ยี นแปลงทางเคมขี องสาร

การเปลี่ยนแปลงทางเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงของสารชนิด

เดียว หรือการทำปฏิกิริยาระหว่างสาร 2 ชนิด ข้ึนไปแล้วเกิดสารใหม่ขึ้น

ซ่ึงมีสมบัติต่างไปจากสารเดิม และเมื่อเกิดการเปล่ียนแปลงแล้วจะทำให้

ก ลั บ ม า เ ป ็ น ส า ร เ ดิ ม ย า ก โ ด ย ก า ร เ ป ล่ี ย น แ ป ล ง ท า ง เ ค มี ห รื อ ก า ร

เกิดปฏิกิริยาเคมีที่ทำให ้เกิด สารให ม่ สามารถสังเกตได ้จากกา ร

เปล่ียนแปลงต่าง ๆ ของสาร เช่น การมีสีท่ีต่างจากเดิม การมีกล่ินท่ีต่าง

จากเดิม การมีฟองแก๊สเกิดขึ้น การมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง การมี

ตะกอนเกิดข้ึน เปน็ ตน้

ก า ร เ ป ล่ี ย น แ ป ล ง ท า ง เ ค มี แ ล ะ ก า ร เ ป ล่ี ย น แ ป ล ง ท า ง

กายภาพของสาร การเปลีย่ นแปลงทางกายภาพ

การเปล่ียนแปลงทางเคมี

• เกิดสารใหม่ • ได้สารเดิม

• เปล่ียนสถานะกลับสู่ • เปลี่ยนสถานะ
สภาพเดิมไมไ่ ด้ กลับไปกลับมา

• สมบัติของสาร • สมบัตขิ องสารคง
เปล่ียนแปลง เดิม

• เปลีย่ นแปลง • เปลีย่ นแปลงรปู รา่ ง
องค์ประกอบภายใน ภายนอก

Note :

ใบความรู้

วิชา วิทยาศาสตร์

โรงเรียนอนบุ าลอบุ ลราชธานี

สานกั งานเขตพน้ื ทก่ี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาอบุ ลราชธานี เขต 1
สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร


Click to View FlipBook Version