The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือประวัติศสาตร์ตำบล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by a.jittanoon, 2021-11-30 08:59:31

หนังสือประวัติศสาตร์ตำบล

หนังสือประวัติศสาตร์ตำบล

โ ค ร ง ก า ร ย ก ร ะ ดั บ เ ศ ร ษ ฐ กิ จ แ ล ะ สั ง ค ม ร า ย ตํ า บ ล แ บ บ บู ร ณ า ก า ร
( ม ห า วิ ท ย า ลั ย สู่ ตํ า บ ล ส ร้ า ง ร า ก แ ก้ ว ใ ห้ ป ร ะ เ ท ศ )

COMUNITY HISTORY BOOK

NAMROB

ห นั ง สื อ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ชุ ม ช น ตำ บ ล น้ำ ร อ บ
อำ เ ภ อ พุ น พิ น จั ง ห วั ด สุ ร า ษ ฎ ร์ ธ า นี

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ม ห า วิ ท ย า ลั ย ร า ช ภั ฏ สุ ร า ษ ฎ ร์ ธ า นี

"...การพัฒนาชนบท เป็นสิ่งสำคัญ

เป็นงานที่ยาก เป็นงานที่จะต้องทำให้ได้ด้วย
พัฒนาความสามารถ และด้วยความเฉลียวฉลาด คือ
คัดตัดตอนจากพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่
คณะผู้บริหารงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ระดับผู้ว่า
ราชการจังหวัด ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

๓วันศุกร์ที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๑๒
ทั้งเฉลียวฉลาด ต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ..." เป็นเรื่องของการเรียนรู้เพื่อพัฒนา

ศักยภาพชุมชน สร้างทีมพี่เลี้ยง ออกแบบ
หลักสูตรและเมนูการพัฒนา ศึกษาดูงาน
แลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติของชุมชน
รวมทั้งการให้ทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำชุมชน

และติดตามสนับสุน

เข้าถ
ึงเป็นเรื่องของการสื่อสารและการสร้างความมีส่วนร่วม

โดยมุ่งเน้นสื่อสารด้วยความเข้าใจและมั่นใจกับชุมชน
ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการชุมชนและให้
ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากที่สุด

๑เข้าใจ ๒การสร้างให้เกิดความมั่นใจในข้อมูลพื้นฐาน

ด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของชุมชน ค้นหา
รากฐานของปัญหา และรวบรวมองค์ความรู้
ของโครงการพระราชดำริทั่วประเทศ

จั ด ทำ โ ด ย

วิ ศ ว ก ร สั ง ค ม ตำ บ ล น้ำ ร อ บ

อ.พุ นพิ น จ.สุราษฏร์ธานี

คำนำ

หนังสือประวัติศาสตร์ชุมชนเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยว
กับประวัติศาสตร์ของชุมชนตำบลน้ำรอบที่ครอบคลุมถึง
พื้นที่ในตำบลน้ำรอบและที่มีความเกี่ยวข้องกับประชาชนใน
พื้นที่ ทั้งนี้ได้มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลทั้งประวัติความ


เป็นมาของตำบลน้ำรอบ ลักษณะภูมิประเทศ ขนาดที่ตั้ง

สภาพภูมิอากาศ แม่น้ำและแหล่งน้ำที่สำคัญ การคมนาคม
ทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างของชุมชน โครงสร้างด้าน
เศรษฐกิจและอาชีพ ความเชื่อต่างๆ และรวมถึงสถานที่
สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับตำบลน้ำรอบและคนในชุมชน
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือประวัติศาสตร์
ชุมชนเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ที่อ่านหรือผู้ที่


สนใจศึกษาหนังสือประวัติศาสตร์ชุมชนตำบลน้ำรอบเล่มนี้

หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำ
ขอน้อมรับในคำชี้แนะและนำไปแก้ไขหรือพัฒนาให้ถูกต้อง
สมบูรณ์ต่อไป

จัดทำโดย

วิศวกรสังคมตำบลน้ำรอบ

Lost time is never found again

สารบัญ

01 1. ข้อมูลพื้นฐาน
23 4. สถานที่สำคัญ

02 1.1 ประวัติความเป็นมาของชุมชน 24 4.1 วัดน้ำรอบ ต.น้ำรอบ อ.พุนพิน
03 1.2 ขนาดและที่ตั้ง 25 4.2 โบราณสถานวัดน้ำรอบ
04 1.3 ลักษณะภูมิประเทศและ

26 4.3 โบราณวัตถุวัดน้ำรอบ
ลักษณะภูมิอากาศ
05 1.4 ทรัพยากรธรรมชาติ 28 4.4 วัดวิหารเจริญสุข (วัดวิหาร)
06 1.5 แม่น้ำที่สำคัญ ต.น้ำรอบ
07 1.6 การคมนาคม
30 4.5 วัดเกาะกลาง ต.น้ำรอบ
09 2. โครงสร้างของชุมชน
31 5. การดำเนินการโครงการยกระดับ
10 2.1 ด้านการปกครอง เศรษฐกิจและสังคมรายตำบล
10 2.2 ด้านประชากร แบบบูรณาการ
12 2.3 ด้านการศึกษา
13 2.4 ด้านศาสนา/ความเชื่อ/ประเพณี

17 3. โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ 37 บรรณานุกรม
38 ภาคผนวก
18 3.1 ด้านการประกอบอาชีพในชุมชน
19 3.2 อาหารขึ้นชื่อประจำตำบลน้ำรอบ
20 3.3 ผลิตภัณฑ์ OTOP

ประจำตำบลน้ำรอบ
22 3.4 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

ประจำตำบลน้ำรอบ

02 ภาพที่ 1 พื้นที่โดยรวมตำบลน้ำรอบ
สารบัญรูปภาพ
11 ภาพที่ 2 แสดงสัดส่วนประชากรตำบลน้ำรอบตามช่วงอายุ


12 ภาพที่ 3 โรงเรียนน้ำรอบวิทยา

12 ภาพที่ 4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลน้ำรอบ

12 ภาพที่ 5 โรงเรียนวัดน้ำรอบ

13 ภาพที่ 6 ทำบุญในวันเทศกาลปีใหม่

13 ภาพที่ 7 ถวายอาหารในวันเทศกาลปีใหม่

13 ภาพที่ 8 ตักบาตรในวันเทศกาลปีใหม่

14 ภาพที่ 9 เรือพระ

14 ภาพที่ 10 ประเพณีชักพระบก

14 ภาพที่ 11 ขบวนเรือพระ นางรำ แห่เรือพระ

15 ภาพที่ 12 ประเพณีวันสงกรานต์

15 ภาพที่ 13 กิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่

15 ภาพที่ 14 ขนมลา ขนมประจำประเพณี

15 ภาพที่ 15 ประเพณีสารทเดือนสิบ

16 ภาพที่ 16 ประเพณีชักพระงานเดือนสิบ

16 ภาพที่ 17 ขบวนแห่เรือพระงานชักพระ
16 ภาพที่ 18 ประเพณีลอยกระทง
16 ภาพที่ 19 การแข่งขันเรือยาวประจำปี
18 ภาพที่ 20 ยางพาราและปาล์มน้ำมัน
18 ภาพที่ 21 การปศุสัตว์ในชุมชน
18 ภาพที่ 22 การเลี้ยงปลากระชัง

19 ภาพที่ 23 ข้าวหลามน้ำรอบ
19 ภาพที่ 24 ขนมโก๋พ่าย
19 ภาพที่ 25 ขนมค่อม
19 ภาพที่ 26 ขนมโก๋อ่อน
ภาพที่ 27 กระบวนการทำข้าวหลาม
21 ภาพที่ 28 เจดีย์ราย พ่อท่านเขาอ้อ
26
ภาพที่ 29 เจดีย์ราย
26 ภาพที่ 30 เจดีย์ราย พ่อท่านเจ้าฟ้า

26 ภาพที่ 31 ศิลาจารึก
27 ภาพที่ 32 พระพุทธรูปคู่วัดวิหารเจริญสุข

29 ภาพที่ 33 พระพุทธรูปพ่อท่านใหญ่
29
29 ภาพที่ 34 พระพุทธรูปเก่า (ทรายแดง)
ภาพที่ 35 ควาย "นางสามขา"
30 ภาพที่ 36 พระพุทธรูปพระประธานวัดเกาะกลาง
30 ภาพที่ 37 วัดเกาะกลาง ต.น้ำรอบ
30

สารบัญตาราง

11


ตารางที่ 1
แสดงสัดส่วนจำนวนประชากรตำบลน้ำรอบ

12
ตารางที่ 2

แสดงสรุปข้อมูลสถานศึกษา บุคลากร
และนักเรียนตำบลน้ำรอบ

ข้อมูลพื้นฐาน

1.1ประวัติความเป็นมาของชุมชน

ในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เจ้าฟ้ายุวราชได้เสด็จประพาสเมืองไชยาเพื่อ
มุ่งหน้าไปเมืองนครศรีธรรมราช ระหว่างทางได้พักบริเวณลุ่มน้ำคลองพุมดวง ซึ่ง
แยกมาจากแม่น้ำหลวงหรือแม่น้ำตาปีช่วงนั้นเป็นฤดูแล้ง พระองค์จึงให้ทหารจัดที่
ตั้งที่ประทับบริเวณเกาะกลางซึ่งมีน้ำล้อมรอบ ต่อมาชาวบ้านได้เรียกบริเวณนั้นว่า
"บ้านน้ำรอบ" และบริเวณที่ทหารองค์รักษ์ใช้เป็นที่พักเป็นทุ่งนาปัจจุบันเรียกชื่อว่า
"บ้านทุ่งหลวง" บริเวณที่นอนประทับเรียกว่า "บ้านหัววัง" ซึ่งเล่ากันว่านางสนมได้
เจอเด็กหญิงผมจุกซึ่งมีลักษณะเป็น เบญจกัลยาณี จึงให้พ่อแม่นำลูกสาวเข้าเฝ้า
พระราชาทรงพอพระทัยมากและยกให้เป็นสนมเอก เวลาต่อมาฝ่ายพ่อแม่และพี่ชาย
ซึ่งไม่ได้ตามเสด็จไปด้วยต้องทนรอลูกสาวอย่างทรมานเพราะความคิดถึง ต่อมาพี่
ชายได้บวชเป็นพระศึกษาธรรมะจนเป็นที่ศรัทธาแก่คนทั่วไป ครั้งมีโอกาสได้ไปแสดง
ธรรมะที่กรุงสุโขทัยที่น้องสาวเป็นสนมเอกอยู่ พอได้เจอน้องสาวก็เลยบอกเรื่องที่
พ่อแม่ตรอมใจเพราะความคิดถึงให้ฟัง นางจึงทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุ
ญาตพระราชากลับมาบ้านที่หัววัง ซึ่งพระองค์ก็มิทรงขัดแต่อย่างใด ครั้งพระองค์
ทรงได้มาทอดพระเนตรเห็นความรักความผูกพันของพ่อแม่ที่มีต่อลูก พระองค์จึง
ได้มีคำสั่งให้สร้างวัดขึ้นมา 3 วัด คือ วัดถ้ำสิงขร วัดเกาะกลาง วัดเขาอานนท์

ต่อมาวัดเกาะกลางได้เกิดอุทกภัยชาวบ้านจึงช่วยกันสร้างวัดขึ้นใหม่ และได้ชื่อว่า
"วัดน้ำรอบ"

ภาพที่ 1 พื้นที่โดยรวมตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ตำบลน้ำรอบเป็นเขตการปกครองของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดย
เมื่อ ปี พ.ศ. 2400 ได้แยกออกจากตำบล หนองไทร เพราะเห็นว่าเป็นตำบลหนึ่งที่
มีพื้นที่และราษฎรมาก ส่วนสาเหตุที่ชื่อว่า ตำบลน้ำรอบ เพราะมีแม่น้ำพุมดวงไหล
ผ่านและเมื่อถึงฤดูฝนจะถูกน้ำท่วมจึงได้ตั้งชื่อว่า ตำบลน้ำรอบ

02

1.2 ขนาดและที่ตั้ง

ที่ตั้งของตำบลและอาณาเขตตำบลน้ำรอบ ตั้งอยู่ทางทิศ
ตะวันตกของ อำเภอพุนพิน ตามเส้นทางสายพุนพิน–คีรีรัฐนิคม อยู่
ห่างจากอำเภอพุนพิน ประมาณ 20 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ
29.03 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 18,144 ไร่

การเดินทาง
เส้นทางเข้าสู่ตำบลน้ำรอบสามารถใช้เส้นทางสายหนองไทร-

คีรีรัฐนิคม ระยะทาง 13 กิโลเมตร และเส้นทางสายท่าโรงช้างผ่าน
โรงเหล้า ระยะทาง 16 กิโลเมตร

ทิศเหนือ ติดกับบ้านศรีไพรวัลย์ หมู่ที่ 6 N
ตำบลบางงอน,บ้านห้วยกรวด หมู่ที่ 6
ต.มะลวน

W ทิศตะวันตก ติดกับบ้านปึก หมู่ที่ 1,
บ้านศรีไพรวัลย์ หมู่ที่ 6, บ้านคลองเคี่ยม
หมู่ที่ 9 ตำบลบางงอน

ทิศใต้ ติดต่อกับคลองพุมดวง S

ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านอ่างทอง

E หมู่ที่ 5, บ้านยางงาม หมู่ที่ 3
ต.หนองไทร
03

1.3 ลักษณะภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ

1.3.1 ลักษณะภูมิประเทศ

ตำบลน้ำรอบ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบเรียบและ
น้ำท่วมถึง ส่วนใหญ่อาศัยการทำนาเกือบตลอดปี
ของสภาพภูมิประเทศแบบนี้และมีการปลูกปาล์มน้ำมัน
และยางพารา

1.3.2 ลักษณะภูมิอากาศ

ภาคใต้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้าง
เป็นครั้งคราว เนื่องจากมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ตและเทือกเขา
นครศรีธรรมราช แถบบริเวณจังหวัดระนอง ชุมพร พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และ
นครศรีธรรมราชเป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ตำบลน้ำรอบจะได้รับ
อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้ตำบลน้ำรอบได้รับอิทธิพล
จากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จาก
มหาสมุทรอินเดียจึงมีช่วงฤดูฝนยาวนานระหว่างเดือน พฤษภาคม-มกราคม

โดยตำบลน้ำรอบมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย
21.16°C และอุณหภูมิสูงสุด เฉลี่ย 34.51 °C
มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 129.59 มิลลิเมตรต่อปี

04

1.4 ทรัพยากรธรรมชาติ

ดิน

ลักษณะดิน ดินเป็นร่วนปนดินเหนียว
หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง

น้ำ

น้ำที่ใช้ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำ
ฝนและน้ำดิบจากคลองพุ มดวงซึ่งจะต้องนำมา
ผ่านกระบวนการของระบบประปา น้ำใต้ดินนั้นมี
ปริมาณน้อยซึ่งสามารถนำขึ้นมาใช้ดื่มและ
อุปโภคได้ได้แต่ไม่เพียงพอ

ป่าไม้ ในเขตตำบลน้ำรอบ
ไม่มีส่วนที่เป็นภูเขา
และป่าไม้

ภูเขา

คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

ในพื้นที่ส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ที่อยู่อาศัย ร้านค้า
ตามลำดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติใน
พื้นที่ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ ปัญหาคือ เนื่องจากว่าพื้นที่บาง
ส่วนเป็นที่ราบลุ่มจึงทำให้น้ำท่วมขังพื้นที่เกือบทั้งตำบลที่เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่มี
ปริมาณมาก

05

1.5 แม่น้ำที่สำคัญ

2.ห้วยหนองเตย 1.คลองพุ มดวง
3.หนองขนม 4.หนองม่วง

5.คลองบางมัง 6.คลองพุ มดวง
7.คลองท่ายาง 8.หนองขลุดทอง

9.คลองส่งน้ำสหกรณ์

06

1.6 การคมนาคม

1.5.1 ถนนลาดยาง 6 สาย คือ

1) ถนนหนองไทร – คีรีรัฐนิคม ผ่าน ม.4 กว้าง 6 เมตร ยาว 780 เมตร ,ม.1
ยาว 1,000 เมตร, ม.7 ยาว 1,500 เมตร, ม.6 ยาว 1,500 เมตร

2) ถนนสี่แยกท่าผาก – คลองพุมดวง ม.6 กว้าง 6 เมตร ยาว 800 เมตร
3) ถนนยางงาม – ท่าผาก ผ่าน ม.4 กว้าง 6 เมตร ยาว 800 เมตร ,

ม.3 ยาว 2,800 เมตร, ม.5 ยาว 2,000 เมตร , ม.6 ยาว 600 เมตร
4) ถนนลาดยางหน้าบ้าน อ.วีระศักดิ์–บ้านบางมัง ม .5 เชื่อมบางงอน กว้าง 6 เมตร ยาว 500 เมตร
5) ถนนลาดยางหน้าวัดเกาะกลาง ม.2 - เขต ม. 9 ต.บางงอน กว้าง 5 เมตร ยาว 800 เมตร
6) ถนนลาดยาง สายสามแยกหน้าโรงเรียนน้ำรอบวิทยา-ม.2 ต.น้ำรอบ กว้าง 4 ยาว 1,900 เมตร

1.5.2 ถนน คสล. 7 สาย คือ

1) สายหน้าวัดน้ำรอบ ม.1 – สามแยกสะพานถ้ำเต่า ม.3 กว้าง 4 เมตร ยาว 1,650 เมตร
2) สายสามแยกบ้านทุ่งหลวง-เขตทางรถไฟ ม.3 กว้าง 4 เมตร ยาว 600 เมตร
3) สายเข้าวัดวิหาร ม.4 กว้าง 4 เมตร ยาว 780 เมตร
4) สายน้ำรอบวิทยา ม.5 กว้าง 4 เมตร ยาว 300 เมตร
5) สายเลียบคลองพุมดวง ม.6,7,1 กว้าง 4 เมตร ยาว 700 เมตร
6) สายบ้านหัววัง ม.7 กว้าง 4 เมตร ยาว 860 เมตร
7) สายปากช่อง ม.2 กว้าง 4 เมตร ยาว 580 เมตร

07

1.5.3 ถนนดิน 5 สาย คือ

1) ซอยบ้านเกาะกลาง-เขต ม.5 บ้านดอนมะตูม กว้าง 4 เมตร ยาว 1,000 เมตร
2) ถนนบ้านนางกีด ม.1 กว้าง 4 เมตร ยาว 1,000 เมตร
3) ซอยพรชัย ม.2 กว้าง 5 เมตร ยาว 500 เมตร
4) จากศาลาฯ ม.2 – ซอยดอนม่วง กว้าง 5 เมตร ยาว 1,500 เมตร
5) ซอยตามิ่ง-สี่แยกดอนมะตูม ม.2 กว้าง 5 เมตร ยาว 3,500 เมตร

1.5.4 ถนนหินคลุก 3 สาย คือ

1) สายเลียบคลองพุมดวง ม.1,6,7 กว้าง 4 เมตร ยาว 2,400 เมตร
2) สายบ้านนางสาคร ม.2 กว้าง 4 เมตร ยาว 800 เมตร
3) สายบ้านนายธวัช-เขต ม.5 กว้าง 5 เมตร ยาว 800 เมตร

6.6 ถนนหินลูกสาก 1 สาย คือ
1) ซอยมีลาภ ม.6 กว้าง 4 เมตร ยาง 1,250 เมตร

1.5.5 ถนนลูกรัง 18 สาย คือ

1) สายดอนหมอ ม.2 กว้าง 5 เมตร ยาว 1,000 เมตร
2) สายหน้าบ้าน อ.วีระศักดิ์ – บ้านบางมัง ม. 5 เชื่อมบางงอน กว้าง 6 เมตรยาว 800 เมตร
3) สายสามแยกบ้านดอนม่วงผ่าน ม.3 ถึงเขตม.3 ต. หนองไทร กว้าง 6 เมตรยาว 3,600 เมตร
4) สายสามแยกบ้านเกาะกลาง - สามแยกบ้านทุ่งหลวง กว้าง 5 เมตร ยาว 2,200 ม.
5) สายหน้า ร.ร.น้ำรอบวิทยา-เขต ม.6 ต. บางงอน กว้าง 5 เมตร ยาว 3,500 เมตร
6) ถนนสายสวนปาล์ม ม.1,ม.7 กว้าง 5 เมตร ยาว 3,000 เมตร
7) ซอยยายมั่น ม.3 กว้าง 4 เมตร ยาว 2,000 เมตร
8) ซอยดอนม่วง ม.3 กว้าง 5 เมตร ยาว 4,000 เมตร
9) ซอยเจ๊เพ็ญ ม.3 กว้าง 4 เมตร ยาว 2,000 เมตร
10) สายสามแยกบ้านทุ่งหลวง-สามแยกบ้านเกาะกลาง กว้าง 5 เมตร ยาว 1,530 เมตร
11) สายหนองน้ำดำ ม.3 กว้าง 5 เมตร ยาว 1,300 เมตร
12) สายสามแยก รพช.- ถนนสายยางงาม(สายวิหาร1) กว้าง 4.50 เมตร ยาว 869 เมตร
13) สายบ้านดอนเคี่ยม ม.4 กว้าง 5 เมตร ยาว 1,200 เมตร
14) สายบ้านนางยก ม. 4 กว้าง 4.50 เมตร ยาว 800 เมตร
15) สายสี่แยกบ้านดอนมะตูม-คูส่งน้ำ กว้าง 5 เมตร ยาว 1,000 เมตร
16) สายบ้านนายสุชา-ทุ่งนาโพธิ์ กว้าง 5 เมตร ยาว 1,352 เมตร
17) สายสี่แยกบ้านดอนมะตูม-สายแยกบ้านนางมณี กว้าง 5 เมตร ยาว 900 เมตร
18) สาย รพช. – บ้านตะลุมพุก กว้าง 5 เมตร ยาว 1,060 เมตร

08

โครงสร้างของชุมชน

2.1 ด้านการปกครอง

ตำบลน้ำรอบแบ่งเป็นเขตการปกครองทั้งหมด 7 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านน้ำรอบ กำนันตำบลน้ำรอบ : นายอภิชาติ อินทชาติ

หมู่ที่ 2 บ้านเกาะกลาง ผู้ใหญ่บ้าน : นายสมบูรณ์ บุญแทน

หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งหลวง ผู้ใหญ่บ้าน : นายกฤษดา อาวุธ

หมู่ที่ 4 บ้านวิหาร รอการเลือกตั้ง

หมู่ที่ 5 บ้านดอนมะตูม ผู้ใหญ่บ้าน : นายอนุพงษ์ ศักดา

หมู่ที่ 6 บ้านท่าผาก ผู้ใหญ่บ้าน : นายมนัส สุวรรณฤกษ์

หมู่ที่ 7 บ้านหัววัง ผู้ใหญ่บ้าน : นายวิระ โรยทองคำ

(ที่มา : ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564)

2.2 ด้านประชากร

ประชากรตำบลน้ำรอบรวมแล้ว 2,394 คน จำนวน 862 ครัวเรือน

มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 82 คน/ตารางกิโลเมตร

ผู้ชาย 1,147 คน
รวมแล้ว 2,394 คน
ผู้ห
ญิง 1,247 คน










(ที่มา : ข้อมูลทะเบียนราษฎร์อำเภอพุนพิน เดือน ตุลาคม 2564) 10

2.2 ด้านประชากร

ตารางที่ 1 แสดงสัดส่วนจำนวนประชากรตำบลน้ำรอบ

ภาพที่ 2 แสดงสัดส่วนประชากรตำบลน้ำรอบตามช่วงอายุ

(ที่มา : ข้อมูลทะเบียนราษฎร์อำเภอพุนพิน เดือน ตุลาคม 2564) 11

2.3 ด้านการศึกษา

ตารางที่ 2
แสดงสรุปข้อมูลสถานศึกษา บุคลากร และนักเรียนตำบลน้ำรอบ

(ที่มา : ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564)

ภาพที่ 3 โรงเรียนน้ำรอบวิทยา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลน้ำรอบ
นายทวีศักดิ์ ทองอิน หัวหน้าสถานศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง

โรงเรียนวัดน้ำรอบ
น.ส.นวิชญาน์ พิศวงศ์ ผู้อำนวยการ

โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง

โรงเรียนน้ำรอบวิทยา
นายพีระพงษ์ ทรระคช ผู้อำนวยการ

ภาพที่ 4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลน้ำรอบ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง

กศน.ตำบลน้ำรอบ
นางณัฐกานต์ นัครีพงศ์ ครูประจำ กศน.

ภาพที่ 5
โรงเรียนวัดน้ำรอบ

12

2.4 ด้านศาสนา /ความเชื่อ/ประเพณี 2.4.1 ด้านศาสนาความเชื่อ
เนื่องจากตำบลน้ำรอบ ประชากร

ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา ดังนั้นด้าน
ความเชื่อของคนในชุมชนจะเกี่ยวข้องกับ
พิธีกรรมในทางศาสนาพุ ทธเป็นส่วนใหญ่

2.4.2 ด้านประเพณี

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ไทย

ภาพที่ 6 ทำบุญในวันเทศกาลปีใหม่

กิจกรรมทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ ภาพที่ 7
โดยจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ถวายอาหารในวันเทศกาลปีใหม่
เสริมสร้างวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อให้
ประชาชนในตำบลรวมถึงเจ้าหน้าที่ทุกส่วน ภาพที่ 8
สมาชิกสภาอบต. พนักงานส่วนตำบลและ ตักบาตรในวันเทศกาลปีใหม่
ลูกจ้างได้มีส่วนร่วม
13
โดยมีกิจกรรมการตักบาตรข้าวสาร
อาหารแห้ง และกิจกรรมการให้ความรู้ทาง
ธรรมะจากพระสงฆ์ในพื้นที่เพื่อเสริมสร้าง
จิตสำนึกที่ดี การปฏิบัติงานอยางสุจริต
โดยมีการจัดกิจกรรมใน วันที่ 1 มกราคม
เป็นประจำในทุกๆปี

ประเพณีชักพระบกวัดน้ำรอบ ภาพที่ 9 เรือพระ

ประเพณีชักพระบกหรือลากพระบก ภาพที่ 10 ประเพณีชักพระบก
เป็นงานเทศกาลประจำปีของตำบลน้ำรอบ
จัดขึ้นในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 ในช่วง ภาพที่ 11 ขบวนเรือพระ นางรำ แห่เรือพระ
เดือนเมษายนของทุกปีจะมีพิธีลากพระบก
เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านที่ 14
สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรษ

โดยใช้เชือกแบ่งผูกเป็นสาย 2 สาย
เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย และใช้โพน
ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะในการ
ลากพระคนลากจะร่วมแรงเบียดเสียดกัน
สนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลาก
เพื่อผ่อนแรง

ตัวอย่างบทร้องที่ใช้ลากพระ คือ
"อี้สาระพา เฮโล เฮโล ไอ้ไหรกลมกลม

หัวนมสาวสาวไอ้ไหรยาวยาวสาวสาวชอบใจ"

ภาพที่ 12 ประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีวันสงกรานต์

ภาพที่ 13 กิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เมื่อถึงเดือน 5 ตรงกับวันที่ 13
เมษายนของทุก ๆ ปีเราเรียกวันนี้
ว่า " วันสงกรานต์ " ประเพณีไทย
เดิมถือว่าวันนี้นั้นเป็นวันขึ้นปีใหม่
ธรรมเนียมไทยเราก็จะมีการเล่น
รื่นเริงและมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
โดยเฉพาะในหนุ่มๆสาวๆจะสนุกกัน
เต็มที่เล่นสาดน้ำกันและจะมีการนำ
น้ำหอมเสื้อผ้าอาภรณ์ไปรดน้ำไหว้
ผู้ใหญ่ญาติพี่น้องที่เคารพนับถือ
และทางศาสนาก็จะจัดให้มีบายศรี
พระสงฆ์สมภารเจ้าวัด มีสรงน้ำ
พระพุ ทธรูปศักดิ์สิทธิ์เท่าที่มีตาม
วัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ

ประเพณีรับ-ส่งตายายหรือ

สารทเดือนสิบ เพื่อเป็นการทำบุญ

ให้กับบรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้ว

ได้มารับบุญกุศลที่ลูกหลานทำบุญ ภาพที่ 14 ขนมลา ขนมประจำประเพณี

ไปให้ โดยมีการจัดขนมต่างๆ เช่น

ขนมพอง ขนมลา ขนมไข่ปลา

และก็ยังมีขนมอื่น ๆ อีกหลาย

ชนิด นำมาจัดรวมเพื่อส่งผลบุญที่

ทำในวันนี้ให้กับบรรพบุรุษที่ได้ล่วง

ลับไป ตามประเพณีที่มีการ

สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของ

ชาวภาคใต้

ภาพที่ 15 ประเพณีสารทเดือนสิบ 15

ภาพที่ 16 ประเพณีชักพระงานเดือนสิบ ประเพณีชักพระงานเดือนสิบ
ประเพณีชักพระเป็นประเพณี
ภาพที่ 17 ขบวนแห่เรือพระงานชักพระ
ท้องถิ่นของชาวใต้ซึ่งเป็นประเพณี
ประเพณีลอยกระทง ทำบุญในวันออกพรรษาซึ่งจะตรง
กับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อ
ลอยกระทงเป็นพิธีอย่างหนึ่ง กันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จ
ที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญเดือน12 จำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
หรือ วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ซึ่งจะ เพื่อโปรดพระมารดา ครั้งเมื่อครบ
เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงและเป็น พรรษาจึงได้เสด็จมายังโลกมนุษย์
ช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมี พุ ทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ
การนำดอกไม้ธูปเทียนหรือสิ่งของ แล้วได้อัญเชิญพระพุ ทธเจ้าขึ้น
ใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่จมน้ำ เช่น ประทับบนบุษบกแล้วแห่ไปรอบๆ
กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้ว เมืองซึ่งชาวตำบลน้ำรอบร่วมกับ
นำไปลอยตามลำน้ำ วัดน้ำรอบร่วมสืบสานประเพณี
ชักพระบก
ชาวตำบลน้ำรอบมีการสืบสาน
วัฒนธรรมประเพณีลุ่มน้ำพุ มดวง ภาพที่ 18 ประเพณีลอยกระทง
คือ การสืบสานรักษาประเพณีลอย
กระทงและแข่งเรือยาวประจำปี 16ภาพที่ 19 การแข่งขันเรือยาวประจำปี

โครงสร้าง
เศรษฐกิจและอาชีพ

3.1 ด้านการประกอบอาชีพในชุมชน

การประกอบอาชีพในตำบลน้ำรอบพบว่าประชากรร้อยละ 80
ประกอบอาชีพเกษตรกรและการเลี้ยงสัตว์ นอกนั้นประกอบอาชีพรับจ้าง
ค้าขาย และรับราชการตามลำดับ

ด้านเกษตรกรรม

ด้านเกษตรกรรม ประกอบด้วย ปาล์มน้ำมัน
ยางพารา มะพร้าว เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง
ทำนา พืชไร่และพืชผัก โดยจะเน้นปาล์มน้ำมันและ
ยางพาราเป็นหลัก ซึ่งผลผลิตยางพาราและปาล์ม
น้ำมันส่งขายในพื้นที่ตำบลทั้งร้านรับซื้อน้ำยางสด
เศษยางและลานเทปาล์ม ในส่วนของผลผลิตจาก
การปลูกผักส่งขายยังพ่อค้าคนกลางเพื่อส่งออก
ยังตลาดนัดทั้งในและนอกจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ภาพที่ 20 ยางพาราและปาล์มน้ำมัน

ด้านปศุสัตว์

เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงใน
ครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม
เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ
และอื่นๆ

ภาพที่ 21 การปศุสัตว์ในชุมชน

ด้านการประมง

ภาพที่ 22 การเลี้ยงปลากระชัง ด้านการประมงเป็นการทำประมงน้ำจืด 18
ประกอบด้วยการทำกระชังปลาจิตรลัดดา ปลานิล
การเลี้ยงปลาในบ่อดิน เช่น ปลาหมอ ปลาดุกและ
ปลาธรรมชาติ

ภาพที่ 23 ข้าวหลามน้ำรอบ 3.2 อาหารขึ้นชื่อประจำตำบลน้ำรอบ

01 ภาพที่ 24 ขนมโก๋พ่าย

ภาพที่ 25 ขนมค่อม ข้าวหลาม หวานมัน

02

ขนมโก๋พ่าย

03

ขนมค่อม ไส้ทะลัก

04 ภาพที่ 26 ขนมโก๋อ่อน

ขนมโก๋อ่อน ขนมโบราณ

19

3.3 ผลิตภัณฑ์ OTOP ตำบลน้ำรอบ ข้าวหลามน้ำรอบ

ข้าวหลามน้ำรอบเป็น ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบอย่าง
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบล ข้าวเหนียวและกระบอกไม้ไผ่ซึ่ง
น้ำรอบมาเป็นเวลาช้านาน โดย จะใช้ไม้ไผ่ตง/ไม้ไผ่สีสุก/ไม้ไผ่
ได้รับความนิยมจากประชาชน หนาม รวมไปถึงขั้นตอนการทำ
ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและผู้ที่ เคล็ดลับสำคัญของข้าวหลาม
เดินทางผ่านไปผ่านมาซึ่งกลุ่ม น้ำรอบ คือ การผัดข้าวเหนียว
ผู้ผลิตข้าวหลามน้ำรอบได้ใส่ใจ กับน้ำกะทิให้สุกก่อนนำลงใส่ใน
และพิถีพิถันในการผลิตเป็น กระบอกไม้ไผ่ นำไปย่างบนเตา
อย่างยิ่ง ถ่านจนสุกมีรสชาติที่อร่อยหอม
หวานมัน มีกลิ่นไม้ไผ่อ่อนๆ

ตำแหน่งที่ตั้ง ข้าวหลามแม่พวงรัตน์

24 ม.1 ตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130

Scan QR CODE รางวัลที่ได้รับ

ได้รับคัดเลือกเป็น OPC ปี 2564

(OPC คือ OTOP product champion

20

ส่วนประกอบและวัตถุดิบ

01 ข้าวเหนียว
02 กะทิ
03 น้ำตาลทราย
04 เกลือ
05 ใยมะพร้าว
06 กระบอกไม้ไผ่
07 ใบกระพ้อ

ภาพที่ 27 กระบวนการทำข้าวหลาม

วิธีการทำข้าวหลาม

1. แช่ข้าวเหนียวนาน 7-8 ชั่วโมง
2. นำข้าวเหนียว น้ำตาลทราย เกลือ

หัวกะทิใส่หม้อ คนให้เข้ากัน
3. เติมน้ำร้อนใส่ข้าวเหนียวทิ้งไว้ 30 นาที

แล้วคนให้เข้ากันประมาณ 1 ชม. แล้ว
ยกใส่กาละมังใช้ไม้พายกวนให้ข้าว
เหนียวแตกออกจากกัน นำน้ำกะทิใน
หม้อเทราดให้ทั่วแล้วใช้ไม้พายกวนให้
เข้ากันตั้งไว้ประมาณ 5 นาที
4. นำข้าวเหนียวที่มูลแล้วใส่กระบอก
5. นำใยมะพร้าวห่อด้วยใบกระพ้อปิดปาก
กระบอกแล้วนำไปเผา
6. นำไปตัดปลายให้เท่ากันกับกระบอก
ไม้ไผ่ แล้วปอกเปลือกที่ไหม้หรือมีสีดำ
ออกด้วยมีดพร้า ตกแต่งให้สวยงาม

21

3.4 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนประจำตำบลน้ำรอบ

วิสาหกิจชุมชนเพื่อการผลิตทางการ วิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสาน
เกษตรและปศุสัตว์บ้านทุ่งหลวง ตำบลน้ำรอบ

64/3 หมู่ 3 ต.น้ำรอบ อ.พุนพิน 28 หมู่ 5 ต.น้ำรอบ อ.พุนพิน
จ.สุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ 0873891177 โทรศัพท์ 0987144465
ขายผลสด/ขายผลสด พืชผักปลอดสารพิษ/ผักสวนครัว
ขายเนื้อ แม่พันธ์ุ/ขายเนื้อสด กล้วย ทุเรียน/สมุนไพรอบแห้ง

วิสาหกิจชุมชนบ้านน้ำรอบ วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทย
บ้านดอนมะตูม
6 หมู่ 1 ต.น้ำรอบ อ.พุนพิน
จ.สุราษฎร์ธานี 29/1 หมู่ 5 ต.น้ำรอบ อ.พุนพิน
โทรศัพท์ 0636054100 จ.สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ 081
3971692
ส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ
ข่า/ตะไคร้ ขายสด

วิสาหกิจชุมชนถุงทองขนมไทย ขนมเบื้อง

45 หมู่ 2 ต.น้ำรอบ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ 0816779403

(ที่มา : ราชชื่อวิสาหกิจชุมชน/เครือข่าย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอพุนพิน ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2564)

22

สถานที่สำคัญ

4.1 วัดน้ำรอบ ต.น้ำรอบ อ.พุนพิน

วัดน้ำรอบเดิมเป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่ ปู่ย่าตายายได้บอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า
ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีตำนานกล่าวถึงว่า เดิมวัดชื่อ "วัดหัววังน้ำรอบ" มีราชา
ประวัติวัดน้ำรอบว่าสร้างพร้อมกับวัดเขา คณะพระครูหาได้ขึ้นแก่ราชาคณะวัดหัว
พระอานนท์อำเภอพุ นพินและวัดถ้ำสิงขร เมืองไชยาไม่ แต่ขึ้นแก่ราชาคณะเมือง
อำเภอคีรีรัฐนิคม เคยเป็นวัดหลวงมา นครศรีธรรมราช พระบาทสมเด็จพระนั่ง
ก่อนแต่ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งถึงสมัย เกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรม
รัชกาลที่ 3 ประมาณปีพ.ศ. 2371 ทรงมี ราชโองการโปรดเกล้าฯพระราชทาน
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงวิจาร พระพุ ทธรูปหล่อทรงเครื่องให้แก่ทางวัด
ธาวุธกรมพระกลาโหมนั้นเป็นแม่กองเดิน น้ำรอบ 2 องค์คือพระพุทธรูปเงินสูง 2
สำรวจรังวัดหัวเมืองปักษ์ใต้ หลวงวิจาร ศอกหล่อหนักห้าชั่ง และพระโมคลาหล่อ
ธาวุธได้เป็นแม่กองสืบถามเถ้าแก่ผู้ใหญ่ สูง 2 ศอกกับพระมณฑปสองยอดทรง
บ้าน ให้รู้ว่าสมเด็จพระมหากษัตริย์แต่ กัลปนาที่ดินแก่วัด พร้อมถวายข้าพระ
ก่อนสืบมาทรงพระราชศรัทธาอุทิศถวาย 500 คน
ที่ดินเป็นวัด
24

4.2 โบราณสถานวัดน้ำรอบ

4.2.1. อุโบสถสร้างด้วยไม้ตำเสา

เป็นอาคารทรงไทยหลังคาจั่วมีช่อฟ้าใบระกา

และปีกนกรองรับ 2 ชั้น ส่วนของหลังคามี

ลักษณะแอ่นโค้งคล้ายท้องสำเภาผนังโบสถ์

เป็นผนังเตี้ยๆก่อด้วยอิฐฉาบปูนตำอิฐก่อขึ้น

มาจากพื้นซึ่งไม่มีฐานบัวรองรับเหมือนโบสถ์

ทั่วไปสัดส่วนความสูงระหว่างหลังคากับผนัง

โบสถ์ ทำให้สันนิษฐานว่าของเดิมอาจเป็นไม้

ทั้งหลัง เป็นพระอุโบสถที่ไม่มีหน้าต่างหันไป

ทางด้านทิศตะวันออกมีประตูที่ผนังด้านสกัด

(ผนังด้านที่มีหน้าบันหรือจั่วหลังคา)ข้างละ 1

ประตูช่องรับแสงวางระหว่างหน้าบันกับผนัง

โบสถ์ ซึ่งเปิดโล่งมีผนังทุกด้านเจาะช่องปูน

ปั้ นขึ้นประดับมองคล้ายเป็นซี่กรงผนังด้าน

สกัดมีปูนปั้ นรูปเทวดาเป็นซี่กรงส่วนผนัง

ด้านข้างมีปูนปั้ นเป็นรูปลายดอกไม้สี่กลีบ

หน้าบันอุโบสถแกะสลักไม้ หน้าบันด้านทิศ

ตะวันออกแกะสลักเป็นรูปลายพันธ์พฤกษา

ตอนล่างแกะเป็นรูปหน้าอสูร(คงเลียนแบบมา

จากลายหน้ากาล) คายก้านใบพันธ์พฤกษาที่

เสารองรับหน้าบันแกะสลักไม้เป็นลายก้านต่อ

รับบัวหัวเสาที่แกะเป็นบัวแวงหน้าบันด้านทิศ

ตะวันตกแกะเป็นรูปลายพันธ์พฤกษามีรูป

บุคคลคล้ายเทวดาหรือยักษ์แสดงอาการ

เคลื่อนไหวเหาะเหินอยู่ในลายพันธ์พฤกษา

มีดอกพุ ดตานดอกไม้ลายกนกไทยแต่ละด้าน

สลักลวดลายต่างๆ ไม่เหมือนกันลักษณะเป็น

ศิลปกรรมท้องถิ่นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ราวรัชกาลที่ 3 จากการสอบถามพระภิกษุใน

วัดทราบว่าอุโบสถเคยบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปี

พ.ศ. 2493 25

4.3 โบราณวัตถุวัดน้ำรอบ

4.3.1 เจดีย์ราย อยู่ทางด้านหน้าอุโบสถ ภาพที่ 28 เจดีย์ราย พ่อท่านเขาอ้อ
ทางทิศตะวันออก มีเจดีย์ก่ออิฐ 2 องค์
องค์ซ้ายมือ ดังภาพที่ 17 เป็นเจดีย์ย่อ
มุมไม้สิบสองขนาดเล็กประกอบด้วยฐาน
เขียง 1 ชั้นรองรับฐานสิงห์และองค์ระฆัง
ปล้องไฉนและปลียอดหักหายไป องค์ขวา
มือ ดังภาพที่ 18 เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบ
สองประกอบด้วยฐานเขียง 1 ชั้น ถัดขึ้น
ไปเป็นฐานสิงห์ที่ท้องไม้คาดลูกแก้วอกไก่
รองรับองค์ระฆังส่วนยอดเป็นบัวถลาถัด
ขึ้นไปเป็นปล้องไฉนปลียอดและเม็ด
น้ำค้างศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย

ภาพที่ 29 เจดีย์ราย

4.3.2 พระโมคลา เป็นพระพุทธรูปทรง ภาพที่ 30 เจดีย์ราย พ่อท่านเจ้าฟ้า

เครื่องประทับยืนปางประทานอภัย ฉลอง

พระองค์แบบกษัตริย์ ตกแต่งลวดลายไทย

ประดับกระจกสี เป็นสมบัติของวัดตั้งแต่ รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

26

ภาพที่ 31 ศิลาจารึก พระมหากษัตริย์ได้ทรงอุทิศ
เขตแดนวัดสำหรับเหล่าพระสงฆ์
4.3.3 ศิลาจารึก ทำจากหินชนวนขนาด มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้จัดการ
กว้าง 53 เซนติเมตร ยาว 111 เซนติเมตร ให้เป็นดั้งเดิม และพระราชทาน
หนา 4.5 เซนติเมตร จารึกอักษรไทยภาษา พระพุทธรูปหล่อกับมณฑป 2
ไทยใน พ.ศ.2371 มีใจความสำคัญสรุปว่า ยอดสำหรับชักพระบกและสรงน้ำ
"เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นราชาภิเษกครบ ให้มีข้าพระและโยมสงฆ์รักษาพระ
สามปี ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่และผู้ใหญ่บ้าน 500 คน ถ้าผู้ใดทำผิดในเขตวัด
ได้ความว่า วัดวังน้ำรอบ วัดเขาพระอานนท์ ให้พระสงฆ์สามารถลงอาญาวัด
และวัดถ้ำสิงขร ในอดีตนั้นเคยเป็นวัดหลวง และได้กำหนดเขตวัดและแจ้งชื่อ
ผู้ทำนาขึ้นวัดพร้อมทั้งสาปแช่งผู้
โกงวัดและให้พรผู้ที่ซื่อไม่โกงวัด"

ปัจจุบันศิลาจารึกตั้งอยู่ด้าน
หน้าพระประธานในอุโบสถซึ่งเป็น
พระพุ ทธรูปศิลาทรายแดง

27

เริ่มต้นตาเจ้าโอฐสร้างวัดวิหารเป็นคนแรก ซึ่งถิ่นฐาน

บ้านเดิมของท่านอยู่ที่บ้านวิหารได้เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดวิหารไว้

ให้เหล่าพุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันบำเพ็ญบุญกุศล ต่อมา

4.4 วัดวิหารเจริญสุข (วัดวิหาร) ต.น้ำรอบ พ่อท่านจันทร์หรือพ่อท่านใหญ่ เป็นผู้ทำการก่อสร้างวัดวิหาร

ต่อมาจากตาเจ้าโอษฐ์และท่านได้จัดสร้างพระประธานซึ่งท่าน

ได้เอาพระประธานนั้นมาจากท่าข้าม ต่อมาพ่อท่านมากท่านได้

มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวิหารต่อจากพ่อท่านจันทร์ หลังจาก

นั้นพ่อท่านแดงก็ได้มาทำหน้าที่สืบต่อจากพ่อท่านมาก ซึ่ง

ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 4 ของวัดวิหาร จากนั้นพ่อท่าน

ขำได้เข้ามาทำหน้าที่สืบต่อ ครั้งเมื่อพ่อท่านขำเข้ามาอยู่ได้สัก

ระยะหนึ่งท่านก็ได้มรณภาพลง หลังจากนั้นวัดวิหารก็กลาย

เป็นวัดร้างไปครั้ง 1 จนกลายเป็นดงเป็นป่าใหญ่ไปตั้งแต่พ่อ

ท่านขำได้มรณภาพลงไป จนทำให้วัดวิหารกลายเป็นป่าดง

ต่อมาพ่อท่านกลิ่นเป็นผู้มาสร้างวัดวิหารและเริ่มปฏิสังขรณ์

วัดวิหารขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะ แผ้วถาง

ภายในบริเวณวัดวิหารจนดูแลเห็นเป็นอารามที่พักของเหล่า

พระภิกษุขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากนั้นหลวงพ่อแดง

คุณสมปญโณ เข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดวิหารและท่านเป็นผู้

ดูแลปฏิสังขรณ์วัดวิหารจนเป็นที่เลื่อมใสของบรรดาชาวบ้าน

พุ ทธศาสนิกชนทั่วๆไป และท่านบำเพ็ญประโยชน์ปฏิบัติ

ธรรมมาจนถึงวันสุดท้าย

พระครูวิหารกิจโกศล(หลวงพ่อเพิ่ม จนทสาโร) ได้เป็นผู้

ดูแลปฏิสังขรณ์วัดวิหารมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ดังที่

พุ ทธบริษัทได้พึงเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้

28

ภาพที่ 32 พระพุทธรูปคู่วัดวิหารเจริญสุข, หลวงพ่อแดง คุณสัมปันโน(องค์กลาง), หลวงพ่อเพิ่ม จันมสาโร (องค์ขวา)

อดีตเจ้าอาวาส วัดวิหาร
1. หลวงพ่อโอษฐ์ (ผู้สร้างวัดวิหาร)
2. หลวงพ่อจันทร์
3. หลวงพ่อมาก
4. หลวงพ่อแดง
5. หลวงพ่อขำ
6. หลวงพ่อกลิ่น
7. หลวงพ่อแดง คุณสัมปันโน
8. พระครูวิหารกิจโกศล (หลวงพ่อเพิ่ม จันมสาโร)
9. พระสมุห์ชัชวาล ฉันทสีโล

ภาพที่ 33 พระพุทธรูปพ่อท่านใหญ่

ภาพที่ 34 พระพุทธรูปเก่า (ทรายแดง) 29

4.5 วัดเกาะกลาง ต.น้ำรอบ ภาพที่ 35 ควาย "นางสามขา"
ควายแห่งโชคลาภ ซึ่งเป็นควายคู่บารมีของ
พ่อท่านกระจ่าง อนุภาโส

ภาพที่ 36 พระพุทธรูปพระประธานวัดเกาะกลาง

ภาพที่ 37 วัดเกาะกลาง ต.น้ำรอบ

30

การดำเนินการโครงการ
ยกระดับเศรษฐกิจและ
สังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

โครงการยกระดับศักยภาพตำบลน้ำรอบ เสริมสร้างรายได้จาก
สินค้าชุมชน และยกระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยความปลอดภัย


วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรมในการดำเนินการ

1) เพื่อยกระดับสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP
ของตำบลน้ำรอบ


2) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน โดยชุมชน
เพื่อชุมชน ตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3) เพื่อพัฒนาสัมมา
ชีพใหม่ เพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชนตำบลน้ำรอบ

อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี


4) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยเพื่อปลูกฝัง
ความรู้พื้นฐาน เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุ ทางบก ทางน้ำ และการกู้ชีพ
เบื้องต้น ตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ชื่อโครงการ / กิจกรรมที่จัด

1) ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยเพื่อปลูกฝังความรู้พื้นฐาน
เรื่อง ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ด้วยมือเรา ต.น้ำรอบ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

2) ยกระดับสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้า OTOP ของต.น้ำรอบ
อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

3) พัฒนาสัมมาชีพใหม่ เพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน ต.น้ำรอบ
อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

4) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนโดยชุมชน เพื่อชุมชน
ต.น้ำรอบ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

32

โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยี ด้านความปลอดภัย
เพื่อปลูกฝังความรู้พื้นฐานเรื่อง ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ด้วยมือเรา

ตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

5.1

กิจกรรมย่อยที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการสาธารณภัยประจำถิ่น
และการป้องกันระงับอัคคีภัยเบื้องต้น พร้อมสาธิตการดับเพลิง

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมการฝึกอบรมได้รับความรู้

และมีความเข้าใจด้านการป้องกันภัยและการ
ระงับภัยต่าง ๆ รวม
ถึงสามารถแก้ไขปัญหา
เฉพาะหน้าได้เมื่อเกิดภัย อาทิเช่น การระงับ
อัคคีภัยเบื้องต้น การเฝ้าระวังภัยประจำถิ่น
2. เพื่อเพิ่มศักยภาพความรู้ความสามารถด้าน
การป้องกันภัยและระงับภัยต่างๆ รวมไปถึง
สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนในชุมชน และ
เป็นกำลังเสริมเพื่อช่วยเฝ้าระวังภัยให้กับศูนย์
ฝึกป้องกันภัยในชุมชนตำบลน้ำรอบ
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมมีความรู้ความ
เข้าใจในหลักการสอน และเทคนิคในการสอน
สามารถถ่ายทอดความรู้เบื้องต้นในการ
ป้องกันและระงับภัยในสถานที่ต่างๆได้
4. เพื่อสร้างเสริมจิตสำนึกในด้านการป้องกัน
และระงับภัยให้แก่คนในพื้นที่ตำบลน้ำรอบได้มี
การตระหนักและเฝ้าระวังภัยที่อาจเกิดขึ้นได้
ทุกเมื่อ

เนื้อหาการอบรม/ปฏิบัติ
1. บรรยายอบรม เรื่องภัยประจำถิ่นจากทางบกและทางน้ำ
2. บรรยายอบรม เรื่อง การป้องกันภัยและระงับอัคคีภัยในครัวเรือนและจากธรรมชาติ
3. อบรมเชิงปฏิบัติการวิธีการดับไฟแก๊สหุงต้ม
4. อบรมเชิงปฏิบัติการวิธีดับไฟจากน้ำมันเชื้อเพลิง

33

โครงการยกระดับสินค้าทางการเกษตร
ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP ของตำบลน้ำรอบ

อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

5.2

กิจกรรมย่อยที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการตลาดออนไลน์การเปิดร้าน
E -Commerce กับ shopee
การเปิดร้านบน Facebook page และการยิงแอดโฆษณา

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อยกระดับสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์

ชุมชนและสินค้าOTOP ตำบลน้ำรอบ
2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมได้รับ

ความรู้และความเข้าใจในเรื่องการตลาด
ออนไลน์ และสามารถนำไปพัฒนาสินค้า
และอาชีพได้

เนื้อหาการอบรม/ปฏิบัติ
1. บรรยายเรื่องการ เปิดร้าน E – commerce

กับ Shopee
2. บรรยายเรื่องการเปิดร้านบน Facebook page

และการยิงแอดโฆษณา

34

โครงการพัฒนาสัมมาชีพใหม่ เพิ่มรายได้หมุนเวียนแก่ชุมชน
ตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

5.3

กิจกรรมย่อยที่ 1 การสร้างอาชีพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(การทำบัญชีครัวเรือน การทำเชื้อเห็ดและการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ)



วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาสัมมาชีพใหม่ และเพื่อเพิ่มรายได้

หมุนเวียนแก่ชุมชนตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2. ร้อยละ80ของผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้

และความเข้าใจ ในเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน
การทำก้อนเชื้อเห็ด และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
สามารถนำไปพัฒนาอาชีพได้

เนื้อหาการอบรม/ปฏิบัติ
1. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน
2. อบรมเชิงปฏิบัติการ การทำก้อนเชื้อเห็ด
3. อบรมเชิงปฏิบัติการการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

35

โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน
โดยชุมชน เพื่อชุมชนตำบลน้ำรอบ

อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 5.4

กิจกรรมย่อยที่ 1 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน โดยชุมชน

เพื่อชุมชน ตำบลน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัตถุประสงค์ของโครงการ


1. เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่

สำรวจ สอบถาม และสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน หน่วย

งาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนในพื้นที่

ชตุ่มอชโอนกตาำสบกลานร้พำัรฒอบนาและ
ยกระดับแหล่งท่องเที่ยว

2. เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการโดยอาศัยการมี

ส่วนร่วมของผู้นำชุมชน หน่วยงาน และองค์กรที่

เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนในพื้นที่ สำหรับการ

ค้นหาแหล่งที่ท่องเที่ยว จัดทริปการท่องเที่ยว

และการจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวพื้นที่ตำบลน้ำรอบ

อำเภอพุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

3. เพื่อพัฒนาออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยว

เชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยอาศัยการมีส่วนร่วม

ของผู้นำชุมชน หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง

รวมถึงประชาชนในพื้นที่ตำบลน้ำรอบ

4. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการจัดทำ

สื่อวีดีโอพร้อมการประชาสัมพันธ์แนะนำการท่อง

เที่ยวในในพื้นที่ตำบลน้ำรอบ

เนื้อหาการอบรม/ปฏิบัติ
1. การบรรยายเกี่ยวกับการยกระดับการท่องเที่ยว
2. การบรรยายเกี่ยวกับการเรียนรู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน
3. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop list เกี่ยวกับการค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว
4. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop Trips การจัดทริปการท่องเที่ยว
5. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop Map การจัดทำแผนที่ท่องเที่ยว
6. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในตำบล

36

บรรณานุกรม

กฤษฎา เอียงเงิน,ผู้ให้สัมภาษณ์,20 กันยายน 2564
เคลื่อน อินทชาติ,ผู้ให้สัมภาษณ์,20 กันยายน 2564
ชัยวัฒน์ เพชรจรัส,ผู้ให้สัมภาษณ์, 21 กันยายน 2564
ณัฐพล กตสาโร,พระภิกษุ,ผู้ให้สัมภาษณ์,20 กันยายน 2564
พิมล เทียมยม,ผู้ให้สัมภาษณ์,20 กันยายน 2564
พีรพงษ์ ทรรพคช, ผู้อำนวยการโรงเรียนน้ำรอบวิทยา,ผู้ให้สัมภาษณ์,
13 พฤศจิกายน 2564
วีณา สุพรรณพงค์, ผู้ให้สัมภาษณ์, 21 กันยายน 2564
สุเทพ ศรีเทพ, ผู้ให้สัมภาษณ์,20 กันยายน 2564
อภิชาต อินทชาติ, ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1, ผู้ให้สัมภาษณ์,20 กันยายน 2564
ศรัณยา บุนนาค. (2564, สิงหาคม - ตุลาคม). ประวัติตำบลน้ำรอบ
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 11, 2564 จาก ฐานข้อมูล
แหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว (me-fi.com)
สมเกียรติ กลิ่นหอม. (2555, เมษายน 17). ข้าวหลามน้ำรอบ. สืบค้น
เมื่อ ตุลาคม 11, 2564 จาก Cultural Information Center _ Home (m-
culture.in.th)
สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม. (2564, พฤษภาคม
27). แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 15, 2564 จาก แหล่ง
ศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม (onep.go.th)
แผนพัฒนาท้องถิ่นตำบลน้ำรอบ พ.ศ.2561-2565.[ออนไลน์].สืบค้น
เมื่อ 5 ตุลาคม 2564.จากhttp://www.namrob.go.th/
(2561, พฤศจิกายน 1).ประวัติพ่อท่านกระจ่างประวัติวัดน้ำรอบ. สืบค้น
เมื่อ ตุลาคม 11, 2564 จาก http://www.appgeji.com/1707-พ่อท่านกระจ่าง-วัด
น้ำรอบ
(2564, สิงหาคม - ตุลาคม). สภาพและข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ
ตุลาคม 12, 2564 จาก http://www.namrob.go.th/general1.php
(2564, สิงหาคม - ตุลาคม). สภาพทางสังคม. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 12, 2564 จาก
http://www.namrob.go.th/general3.php

37

ภาคผนวก

38

39

40

41

42

43


Click to View FlipBook Version