การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการฝึกเดิน
วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ
การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการฝึกเดิน
คณะผู้จัดทำ
น.ท.หญิง กนกเลขา สุวรรณพงษ์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
น.ท.หญิง สุปราณี พลธนะ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
น.ท.หญิง วชิราภรณ์ ใหญ่ลา โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
น.ต.หญิง ทิพวรรณ เทียนศรี โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ร.ท.หญิง จิราภา มีสวัสดิ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
วาดภาพปก
นพร. ตุลญาณี กุลเพชรจาคกร
ออกแบบรูปเล่ม
นพร.พิชญากร แก้วประเสริฐ
ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ
(สวพ.ทร.) ภายใต้โครงการการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถของ
ผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
คำนำ
การเดินไม่มั่นคง เป็นปัญหาที่สำคัญในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมีการ
เปลี่ยนแปลงของร่างกายไปในทางที่เสื่อมลง ทำให้ประสิทธิภาพของการเดินลดลง
การทรงตัวบกพร่อง เป็นสาเหตุให้เกิดการหกล้มได้ง่ายกว่าวัยหนุ่มสาว
การหกล้ม อาจเป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะกระดูกหัก ช่วยเหลือตัวเองได้
ลดลง ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่อกลับมาอยู่ที่บ้านบางรายอาจกลัว
การหกล้มซ้ำ จึงไม่กล้าลุกเดิน นำมาซึ่งความถดถอยของระบบต่างๆ ในร่างกาย
โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักจากการหกล้ม อาจนำไปสู่ภาวะของการ
นอนติดเตียงและเกิดภาวะซึมเศร้าตามมาได้
ดังนั้นผู้ดูแลจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหา
ด้านการทรงตัว การเดินไม่มั่นคง และมีความจำเป็นที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย
เดิน เพื่อให้สามารถเดินได้อย่างปลอดภัย
คู่มือเล่มนี้วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้และความสามารถในการช่วยเหลือ
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเดินไม่มั่นคง โดยใช้อุปกรณ์ช่วยเดินได้อย่างถูกต้องและ
ปลอดภัย ป้องกันการหกล้มที่อาจจะเกิดขึ้น อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมึคุณภาพ
ชีวิตที่ดี
คณะผู้จัดทำ
อุปกรณ์ช่วยเดิน
อุปกรณ์ช่วยเดิน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการเดิน เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ
สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้นในเวลาเดินและในการดำเนินกิจวัตร
ประจำวัน
ประโยชน์ของอุปกรณ์ช่วยเดิน
1.
เพิ่มพื้นที่การพยุงตัว
2.
เพิ่มความมั่นคงในการเดินและ การทรงตัว
3.
ลดปริมาณน้ำหนักตัวที่กระทำต่อขาและลดการใช้งานของ
ขาข้างที่มีพยาธิสภาพ
4.
ลดอาการปวดของขาระหว่างการเดิน
5.
ช่วยในการก้าวเดินหรือเคลื่อนที่
6.
เพิ่มข้อมูลทางด้านการรับรู้และประสาทสัมผัส
การเลือกอุปกรณ์ช่วยเดิน
อุปกรณ์ช่วยเดินแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น ไม้เท้าขาเดียว สามขา หรือ
สี่ขา ไม้ค้ำยันรักแร้ เครื่องช่วยเดินสี่ขา
ซึ่งอุปกรณ์ช่วยเดินแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติและรูปแบบการเดินที่แตก
ต่างกันออกไป จึงจำเป็นต้องเลือกอุปกรณ์ช่วยเดินให้เหมาะสมกับสภาพ
ของผู้สูงอายุแต่ละราย
ไม้เท้าขาเดียว
ใช้ในการพยุงตัวให้เดินทรงตัวดีขึ้น เหมาะกับ
ผู้สูงอายุที่มีการทรงตัวในท่ายืนได้ค่อนข้างดี
แต่มีอาการปวดข้อเข่า ข้อสะโพก และไม่ค่อยมี
ความมั่นใจในการเดิน
ไม้เท้า 3 ขาหรือ 4 ขา
ใช้ในการพยุงตัวให้เดินทรงตัวดีขึ้น และจะให้ความมั่นคงมากกว่าไม้เท้า
ขาเดียว เหมาะกับผู้สูงอายุที่เป็นอัมพาตครึ่งซีกหรือผู้สูงอายุที่ต้องการ
ความมั่นคงมากขึ้น
เครื่องช่วยเดิน 4 ขา (Walker)
เป็นอุปกรณ์มีความมั่นคงและปลอดภัยมากที่สุด
เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาการทรงตัวไม่ดี
แต่มีข้อเสียคือ พกพาไม่ค่อยสะดวกเทอะทะและ
ไม่สามารถใช้ขึ้นลงบันไดได้
ไม้ค้ำยัน
เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่มีจุดรับน้ำหนักที่แขนอยู่ 2 จุด คือที่มือจับหรือ
ที่แผ่นรองแขน เหมาะกับผู้ป่วยที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไหลและ
แขนทั้ง 2 ข้างมักใช้ในผู้ป่วยอายุน้อยที่มีการทรงตัวดี ไม่เหมาะสมกับ
ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม
การเตรียมตัวผู้สูงอายุก่อนการฝึกเดิน
1.
เตรียมตัวผู้สูงอายุให้พร้อมในการฝึกเดิน เช่น ผ้าอ้อมปรับให้กระชับ
ขากางเกงไม่ยาวเกินไป สวมรองเท้าที่มีขนาดพอดี
2.
การเตรียมพื้นที่ในการฝึกเดิน โดยจัดทางเดินให้โล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวาง
และมีแสงสว่างเพียงพอ
3.
เตรียมเก้าอี้หรือรถเข็นให้อยู่ในระยะที่ผู้ดูแลสามารถนำมารองรับ
ผู้สูงอายุได้หากผู้สูงอายุเริ่มก้าวเดินต่อไปไม่ได้แล้ว
4.
จัดให้ผู้สูงอายุอยู่ในท่านั่ง เช่น นั่งข้างเตียง หรือนั่งเก้าอี้
5.
สอบถามอาการผิดปกติต่างๆ ขณะอยู่ในท่านั่ง เช่น วิงเวียนศีรษะ
หน้ามืด ใจสั่น ฯลฯ หากผู้สูงอายุไม่มีอาการดังกล่าวสามารถเริ่ม
ทำการฝึกเดินได้Please maintain proper social
distancing while queuing.
6.
ให้ใช้ผ้าหรือเข็มขัดพยุงตัวที่เอวของผู้สูงอายุให้กระชับ
การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการฝึกเดินด้วย
"เครื่องช่วยเดิน 4 ขา (Walker)"
ผู้สูงอายุถือ Walker ด้านหน้า ให้
เท้า 2 ข้างวางขนานกัน ส้นเท้าอยู่
บริเวณขาหลังของ Walker ใช้มือ
วางตรงกลางของมือจับ งอข้อศอก
ด้านนอกเล็กน้อย 15-30 องศา
ผู้ดูแลยืนข้างผู้สูงอายุฝั่งเดียวกับขาข้างที่อาการเจ็บและใช้มือจับ
บริเวณผ้าหรือเข็มขัดพยุงตัวที่ด้านหลังของผู้สูงอายุ
ขณะผู้สูงอายุกำลังก้าวเดิน ผู้ดูแลควรสังเกตการเดิน ให้เดินก้าวเท้า
มีระยะห่างเหมาะสม ไม่วางเท้าชิดเกินไป เพราะอาจทำให้หกล้มได้
การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการฝึกเดินด้วย
"เครื่องช่วยเดิน 4 ขา (Walker)"
วิธีการเดิน 3 จังหวะ
1. ยก Walker ไปด้านหน้า
2. ก้าวขาข้างที่เจ็บ
3. ก้าวขาข้างที่ดี
การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการฝึกเดินด้วย
"ไม้เท้าขาเดียว"
ผู้สูงอายุถือไม้เท้าขาเดียวฝั่งตรง
ข้ามกับขาข้างที่มีอาการเจ็บ มือ
จับอยู่ระดับปุ่มกระดูกสะโพก
งอข้อศอกเล็กน้อย ปลายไม้เท้า
อยู่ห่างจากนิ้วก้อยพอประมาณ
ผู้ดูแลยืนข้างผู้สูงอายุฝั่งเดียวกับขาข้างที่อาการเจ็บและใช้มือจับ
บริเวณผ้าหรือเข็มขัดพยุงตัวที่ด้านหลังของผู้สูงอายุ
ขณะผู้สูงอายุกำลังก้าวเดิน ผู้ดูแลควรสังเกตการเดิน ให้เดินก้าวเท้า
มีระยะห่างเหมาะสม ไม่วางเท้าชิดเกินไป เพราะอาจทำให้หกล้มได้
การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการฝึกเดินด้วย
"ไม้เท้าขาเดียว"
วิธีการเดินทางราบปกติ เดิน 3 จังหวะ
ยกไม้ไปด้านหน้า 1.
2. ก้าวขาข้างที่เจ็บ
ก้าวขาข้างที่ดี 3.
การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการฝึกเดินด้วย
"ไม้เท้า 3 ขา"
ผู้สูงอายุถือไม้เท้าขาเดียวฝั่งตรง
ข้ามกับขาข้างที่มีอาการเจ็บ มือ
จับอยู่ระดับปุ่มกระดูกสะโพก
งอข้อศอกเล็กน้อย ปลายไม้เท้า
อยู่ห่างจากนิ้วก้อยพอประมาณ
ผู้ดูแลยืนข้างผู้สูงอายุฝั่งเดียวกับขาข้างที่อาการเจ็บและใช้มือจับ
บริเวณผ้าหรือเข็มขัดพยุงตัวที่ด้านหลังของผู้สูงอายุ
ขณะผู้สูงอายุกำลังก้าวเดิน ผู้ดูแลควรสังเกตการเดิน ให้เดินก้าวเท้า
มีระยะห่างเหมาะสม ไม่วางเท้าชิดเกินไป เพราะอาจทำให้หกล้มได้
การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการฝึกเดินด้วย
"ไม้เท้า 3 ขา"
วิธีการเดินทางราบปกติ เดิน 3 จังหวะ
ยกไม้ไปด้านหน้า 1.
2. ก้าวขาข้างที่เจ็บ
ก้าวขาข้างที่ดี 3.
การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการฝึกเดินด้วย
"ไม้เท้า 4 ขา"
ผู้สูงอายุถือไม้เท้าขาเดียวฝั่งตรง
ข้ามกับขาข้างที่มีอาการเจ็บ มือ
จับอยู่ระดับปุ่มกระดูกสะโพก
งอข้อศอกเล็กน้อย ปลายไม้เท้า
อยู่ห่างจากนิ้วก้อยพอประมาณ
ผู้ดูแลยืนข้างผู้สูงอายุฝั่งเดียวกับขาข้างที่อาการเจ็บและใช้มือจับ
บริเวณผ้าหรือเข็มขัดพยุงตัวที่ด้านหลังของผู้สูงอายุ
ขณะผู้สูงอายุกำลังก้าวเดิน ผู้ดูแลควรสังเกตการเดิน ให้เดินก้าวเท้า
มีระยะห่างเหมาะสม ไม่วางเท้าชิดเกินไป เพราะอาจทำให้หกล้มได้
การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการฝึกเดินด้วย
"ไม้เท้า 4 ขา"
วิธีการเดินทางราบปกติ เดิน 3 จังหวะ
ยกไม้ไปด้านหน้า 1.
2. ก้าวขาข้างที่เจ็บ
ก้าวขาข้างที่ดี 3.
การช่วยเหลือผู้สูงอายุในการฝึกเดิน
"ขึ้นลงบันได"
วิธีการเดินขึ้นบันได
1. 2. 3.
ก้าวขาข้างที่ดี ตามด้วยไม้เท้า ตามด้วยขาข้างที่เจ็บ
วิธีการเดินลงบันได
1. 2. 3.
ก้าวขาข้างที่เจ็บ ตามด้วยไม้เท้า ตามด้วยขาข้างที่ดี
ผู้ดูแลถือได้ว่าเป็นบุคคลที่สำคัญที่จะช่วยเหลือให้
ผู้สูงอายุฝึกการเดินได้อย่างปลอดภัย นอกจากนั้น
การให้กำลังใจในระหว่างการฝึกเดิน จะช่วยเสริมแรง
ให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจในการฝึกเดินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะ
ช่วยให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น
นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
เอกสารอ้างอิง
พุทธิพงษ์ พลคำฮัก. (2556). อุปกรณ์ช่วยเดิน. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(4), 583-
588.
ยุพดี ฟู่สกุล. (2560). เครื่องช่วยเดิน. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง,
61(2), 139-153.
วันทนีย์ วรรณเศษตา. (2553). เครื่องช่วยเดิน. ใน ดุจใจ ชัยวานิชศิริ, วสุวัฒน์
กิติสมประยูรกุล, บรรณาธิการ. ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
Braddom, R.L., editors. Physical Medicine and Rehabilitation. 4th ed.
Philadelphia: Elsevier.
Bradley, S. M. & Hernandez, C. R. (2011). Geriatric assistive devices.
American Family Physician, 84(4), 405-411.