หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เรื่อง...จังหวัดสระแก้ว
เขียนโดย นางสาวณัฐชยา รัสมียัน
สารบัญ
คำนำ 1
ประวัติจังหวัดสระแก้ว 2-4
5
คำขวัญ
อ้างอิง 6
คำนำ
สระแก้วเป็นชื่อที่มาจากชื่อสระน้ำโบราณซึ่งอยู่ในพื้นที่
อำเภอเมืองสระแก้ว มีอยู่จำนวน 2 สระ ในสมัย กรุงธนบุรี
ราว พ.ศ. 2323 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็น
แม่ทัพยกทัพไปตีกัมพูชา (เขมร) ได้แวะพักกองทัพที่บริเวณ
สระน้ำทั้งสองแห่งนี้ กองทัพได้อาศัยน้ำจากสระใช้สอยและ
ได้ขนานนามสระทั้งสองว่า "สระแก้ว-สระขวัญ" และได้นำน้ำ
จากสระทั้งสองแห่งนี้ใช้ในการประกอบ พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัต
ยา โดยถือว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์
การเกิดชุมชนและการตั้งถิ่นฐาน
ประมาณ 4,000 ปีก่อน บริเวณอ่าวไทยยังเป็นทะเลโคลนตมเว้าลึกเข้ามาในแผ่นดินมากกว่า
ปัจจุบัน พื้นที่ที่เป็นจังหวัดสระแก้วยังไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เป็นเพียงแค่ทางผ่าน ต่อมาเริ่มมีคนมา
ตั้งถิ่นฐานจนขยายใหญ่ขึ้นเป็นหมู่บ้าน ผู้คนพากันตั้งหลักแหล่งบริเวณเชิงเขา ซึ่งปัจจุบันคือ
อำเภอตาพระยา อำเภอโคกสูง อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ อำเภอเมืองสระแก้ว และ
อำเภอเขาฉกรรจ์ โดยเฉพาะบนสองฝั่งลำน้ำพระปรงและพระสะทึง จากนั้นผู้คนได้กระจายออก
ไปอยู่บริเวณที่ดอนกลางทะเลโคลนตม ที่ปัจจุบันคือ อำเภอบ้านสร้าง อำเภอเมืองปราจีนบุรี
อำเภอประจันตคาม ในจังหวัดปราจีนบุรี
พ.ศ. 1000 ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณเมืองสระแก้วได้พัฒนาเป็นชุมชนที่หนาแน่นขึ้น โดย
แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มลำน้ำพระปรง-พระสะทึง มีวัฒนธรรมแบบสุวรรณภูมิสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ และแบบทวาราวดี มีศูนย์กลางอยู่ที่เขาฉกรรจ์ และกลุ่มลำห้วยพรมโหด มี
วัฒนธรรมแบบขอม ศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทเขาน้อย-เขารังและบ้านเมืองไผ่ (ปัจจุบันอยู่ใน
เขตอำเภออรัญประเทศ)
สมัยโบราณ สระแก้วมีความสำคัญในด้านเป็นเส้นทางคมนาคมทางตะวันตก-ตะวันออก
(ระหว่างเมืองชายฝั่งทะเลอ่าวไทยกับกัมพูชา) และทางเหนือ-ใต้ (ระหว่างเมืองในลุ่มน้ำโขง ชี
มูล กับเมืองชายฝั่งทางจันทบุรี) กระทั่งหลัง พ.ศ. 1500 รัฐพื้นเมืองต่าง ๆ ในสุวรรณภูมิมีการ
ปรับตัวเนื่องจากการทำการค้ากับจีน ประกอบกับภูมิประเทศบริเวณอ่าวไทยเปลี่ยนแปลงกลาย
เป็นแผ่นดินตื้นเขินขึ้น เส้นทางคมนาคมทางน้ำเปลี่ยนแปลง ผู้คนจึงอพยพย้ายถิ่นออกจาก
สระแก้ว
บริเวณลุ่มน้ำบางปะกงมีกลุ่มบ้านเมืองเกิดขึ้นราว พ.ศ. 1900 เป็นชุมชนขนาดเล็ก ผู้คนเสาะหา
ของป่าเพื่อส่งส่วยให้แก่ราชธานีต่าง ๆ ต่อมาพัฒนาเป็นเมืองชายแดน เป็นเส้นทางเดินทัพผ่าน
ไปยังกัมพูชา
ในสมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิและอาณาจักรทวารวดี สระแก้วเป็นชุมชนที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง มี
ฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองปราจีนบุรี (เมืองประจิมในสมัยโบราณ)
สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์
สระแก้วเป็นเมืองชายแดน จึงเป็นทางผ่านของกองทัพในการทำสงครามกับประเทศ
เพื่อนบ้านอยู่บ่อยครั้ง โดยในสมัยอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งยังเป็น
สมเด็จพระมหาอุปราช ได้ยกทัพมาปราบปรามอริราชศัตรูที่ลักลอบเข้าโจมตี
กวาดต้อนผู้คนบริเวณชายแดน มีการตั้งค่ายคูเมืองและปลูกยุ้งฉางไว้ที่ท่าพระทำนบ
ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ตั้งอำเภอวัฒนานครในปัจจุบัน ต่อมาในช่วงก่อนกรุงศรีอยุธยาแตก
พระเจ้าตากทรงหนีพม่าไปเมืองจันทบุรี โดยพาไพร่คนสนิทหนีฝ่ากองทัพพม่าไป
ทางทิศตะวันออก ผ่านบริเวณ ดงศรีมหาโพธิ์ อันเป็นเขตป่าต่อเนื่องจากที่ราบลุ่ม
ขึ้นไปถึงที่ลุ่มดอนของเมืองสระแก้ว แล้วไปยังชลบุรี ระยอง และจันทบุรี
ในสมัยกรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรี พร้อมบุตรชาย ยกทัพไปเสียมราฐและได้แวะพัก
แรมในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า สระแก้ว สระขวัญ อันเป็นที่มาของชื่อจังหวัด และ
ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนพลแก้วใน
สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พักทัพก่อนยกไปปราบญวน โดยเมื่อ
เสร็จศึกญวนแล้ว ได้สร้างบริเวณที่พักนั้นเป็นวัดตาพระยา ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอ
ตาพระยาในปัจจุบัน
สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สระแก้วเคยมีฐานะเป็นตำบลขึ้นอยู่ในการปกครองของ
อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดกบินทร์บุรี ซึ่งทางราชก
าร
ได้ตั้งเป็นด่านสำหรับตรวจคนและสินค้าเข้า-ออก มี
ข้าราชการตำแหน่งนายกองทำหน้าที่เป็นนายด่าน
จนถึง พ.ศ. 2452 ทางราชการจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่ง
อำเภอ ชื่อว่า กิ่งอำเภอสระแก้ว โดยใช้ชื่อสระน้ำเป็น
ชื่อกิ่งอำเภอ ขึ้นกับ อำเภอกบินทร์บุรี (ในตอนนั้น
จังหวัดกบินทร์บุรีถูกยุบรวมกับ จังหวัดปราจีนบุรี
เรียบร้อยแล้ว) ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501
ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอชื่อว่า
อำเภอสระแก้ว ขึ้นอยู่ในการปกครองของจังหวัด
ปราจีนบุรี และในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ได้รับ
การยกฐานะเป็นจังหวัด เป็นจังหวัดลำดับที่ 74 ของ
ประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ได้รับจัดตั้ง
ยกฐานะเป็นจังหวัดขึ้นในปีนั้น พร้อมกับ จังหวัด
หนองบัวลำภู และ จังหวัดอำนาจเจริญ
คำขวัญจังหวัดสระแก้ว
“ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างามน้ำตกสวย มากด้วย
รอยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย – เขมร”
อ้างอิง
https://sakaeopao.go.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%
E0%B8%8D%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%8
1%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8
%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%
B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0
%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94/
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%
B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%
A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%
E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%
B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7