The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

งานวิชาอนุรักษ์สถาปัตยกรรม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by dewslur123, 2023-10-10 10:12:04

งานวิชาอนุรักษ์สถาปัตยกรรม

งานวิชาอนุรักษ์สถาปัตยกรรม

รายงาน เรื่อง การปรับปรุงอาคารพาณิชย์เก่า 3 ชั้น จัดท าโดย นายจิรวัฒน์ ธงศรี63201140081 นายธีรศกัดิ์พลูเพิ่ม 63201140153 นายอคเดช สารทอง63201140306 นายณัฐวุฒิ เชื้อเมฆ 63201140351 เสนอ อาจารย์ลลิดา บุญมี รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้า รายวิชา 2011414-63 การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566


ค ำน ำ รายงานเล่มนี้จัดท าขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ชั้นปีที่ 4 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องการหาคุณค่าและอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเก่าและได้ศึกษา อย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดท าหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่ก าลัง หาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะน าหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดท าขอน้อมรับไว้และขอ อภัยมา ณ ที่นี้ด้วย กลุ่มผู้จัดท า นายจิรวัฒน์ ธงศรี63201140081 นายธีรศกัดิ์พลูเพิ่ม 63201140153 นายอคเดช สารทอง 63201140306 นายณัฐวุฒิ เชื้อเมฆ 63201140351


สำรบัญ เรื่อง หน้ำ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่..................................................................................................1 เมืองอุบลราชธานีกับการรับอิทธิพลของสถาปัตยกรรมตะวันตก........................................3 สถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกที่ปรากฏในเมืองอุบลราชธานี พ.ศ. 2430 -2475…………..4 ร้านห้างเหรียญทอง.......................................................................................................7 พิจารณาความส าคัญของอาคาร....................................................................................9 เหตุผลของการเลือกที่จะปรับปรุงอาคาร…………………………………………………….10 แบบก่อนการปรับปรุงอาคาร..........................................................................................11 แบบหลังการปรับปรุงอาคาร………………………………………………………………….12


1 สถำปัตยกรรมสมัยใหม่ Modern architecture สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (อังกฤษ: Modern architecture) คือสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับ ลักษณะที่เรียกว่า “สมัยใหม่ (Modernism)” มิได้หมายถึงวิวัฒนาการล่าสุดของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการก่อสร้าง โดยเฉพาะการใช้กระจก เหล็กและคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายใต้คติว่าการออกแบบอาคารควรยึด วัตถุประสงค์ของอาคารนั้น ๆ ตามหลักคติค านึงประโยชน์ (functionalism) เน้นความเรียบง่าย ตามคติจุลนิยม (minimalism) และการปราศจากการตกแต่งแนวคิดดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วง ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และโดดเด่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ก่อนที่จะค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยสถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่ส าหรับอาคารสถาบันและ องค์กร ในสมัยแรกของการใช้เหล็กเป็นวัสดุในการก่อสร้าง สถาปนิกยังไม่มีความรู้เรื่องเหล็กดี พอจึงท าให้โรงงานหลายโรงงานที่สร้างในสมัยนั้นพังลงมา มาจนกระทั่งราวปี ค.ศ. 1830เมื่ออี ตัน ฮอดจ์คินสัน (Eaton Hodgkinson) พบวิธีท าให้สิ่งก่อสร้างแข็งแรงขึ้นโดยการใช้คานช่วง (section beam) ท าให้การก่อสร้างด้วยเหล็กจึงได้เผยแพร่มากขึ้นอย่างรวดเร็ว การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างทางอุตสาหกรรมลักษณะที่เรียบง่ายขึงขังนี้เป็นการปฏิวัติรูปทรง ของสิ่งก่อสร้างที่เคยท ากันมา โดยเฉพาะทางตอนเหนือของอังกฤษแถวแมนเชสเตอร์ และ ทาง ตะวันตกของมณฑลยอร์คเชอร์ จนมารู้จักกันในนามว่า “โรงงานซาตาน” (Dark satanic mills) สถาปัตยกรรมสมัยใหม่มิใช่สถาปัตยกรรมร่วมสมัยแต่เป็นค าที่ใช้บรรยายสิ่งก่อสร้างที่ มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกันตามค าจ ากัดความ ซึ่งโดยทั่วไปคือรูปทรงจะเกลี้ยงเกลา และปราศจากการตกแต่ง ลักษณะนี้เริ่มใช้กันเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในปัจจุบันก็ยังสรุปกันไม่ได้และยังเป็นที่ ถกเถียงกันอยู่


2 สิ่งก่อสร้างตามแบบสมัยไหม่ที่ว่านี้มิได้เริ่มสร้างกันอย่างจริงจังจนกระทั่งครึ่งหลังของ คริสต์ศตวรรษที่ 20 ค าว่าสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อยู่ในชื่อหนังสือโดย ออตโต วากเนอร์. สถาปัตยกรรมสมัยใหม่มาเริ่มนิยมกัยแพร่หลายหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นเวลาประมาณ 30 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งก่อสร้างแบบสถาบันและธุรกิจ ตึกเทศบาลเมืองฮิลเวอร์ซุม (City hall of Hilversum) โดยวิลเล็ม มารินุส ดูด็อค (Willem Marinus Dudok) สถาปนิกชาวเนเธอร์แลนด์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติวอชิงตัน ดี.ซี. (National Gallery of Art-East Wing) โดยไอเอ็มเป สถาปนิกชาวอเมริกัน


3 เมืองอุบลรำชธำนีกับกำรรับอิทธิพลของสถำปัตยกรรมตะวันตก ในพ.ศ.2475 เกิดการเปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นจุดสิ้น สุดระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์และเริ่มต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ท าให้รูปแบบ สถาปัตยกรรมเปลื่ยนไปเน้นความเรียบง่ายและทันสมัย การตกแต่งที่หรูหราลวดลายที่ละเอียด และประณีตถูกลดทอนลง ซึ่งรูปแบบของสถาปัตยกรรมดังกล่าวเริ่มได้รับความสนใจและมีการ สร้างอาคารในรูปแบบนี้แล้วในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ได้รับความ นิยมมากขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อันเป็นการตอบสนองต่อมุมมองที่มี ต่อการปกครองแบบใหม่ที่เน้นความเสมอภาคทางการเมือง โดยแสดงออกผ่านสถาปัตยกรรม 21ส่งผลให้ความนิยมของรูปแบบสถาปัตยกรรมในชวงเวลาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่นิยมตกแต่งลวดลายหรูหรา ที่แสดงฐานะทางเศรษฐกิจของเจ้าอาคารค่อย ๆ ลดลง โดยเริ่ม จากกรุงเทพฯ ก่อนและแผ่ขยายออกมาถึงหัวเมือง เมืองอุบลราชธานี้มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมให้กลายเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลาง การค้าของภูมิภาค คือตัวเมืองตั้งอยู่บนพื้นที่ราบกว้างใหญ่ ติดกับแม่น ้ามูล แต่พื้นที่เมืองสูง พอที่จะท าให้น ้าไม่ท่วมในยามหน ้าฝน ท าให้เมืองอุบลราชธานี้มีการซื้อขายและแลกเปลี่ยน สินค้า ได้ตลอดทั้งปีการปกครองเมืองอุบลราชธานีพัฒนาจากจารีตล้านช้างเข้าสู่ระบบหัวเมือง รอบนอก ของสยาม ภายใต้แรงกดดันจากอิทธิพลภายนอกทั้งการรวมอ านาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ของสยาม ในขณะที่ฝรั่งเศสพยายามจะเข้าครอบครองพื้นที่ในภูมิภาคลุ่มน ้าโขง ภาพประกอบ 1แผนที่แสดงเมืองอุบลราชธานีฉบับแผนที่ราชอาณาจักรสยาม และประเทศราชฉบับแมคคาธี ค.ศ. 1888


4 สถำปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกทปี่รำกฏ ในเมืองอุบลรำชธำนี พ.ศ. 2430 -2475 ระหว่าง พ.ศ. 2430-2475เมืองอุบลราชธานีได้ปรากฏสถาปัตยกรรมตะวันตกขึ้นด้วย ปัจจัยของเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ซึ่งทุกปัจจัยต่างมีส่วนผลักดันซึ่งกันและกัน ท าให้ สถาปัตยกรรมที่ปรากฏออกมานั้นมีความหลากหลายทั้งในรูปแบบและประเภทการใช้สอย ซึ่ง กระจายกันอยู่ตามย่านต่าง ๆ กลุ่มอำคำรในเขตพนื้ทเี่ทศบำลนครอุบลรำชธำนี บริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวเมืองอุบลราชธานีใน พ.ศ. 2430-2475 ตั้งอยู่ในพื้นที่ เทศบาล นครอุบลราชธานีนั้น ซึ่งปรากฏอยู่ในบริเวณของพื้นที่หมายเลข 4 และ 5 ของแผนที่ ภาพประกอบ 2แผนที่แสดงเขตเทศบาลนครอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี ที่มาภาพ : เทศบาลนครอุบลราชธาน บริเวณพื้นที่หมายเลขที่ 4 และ5 ในแผนที่อยู่ติดกับริมฝั่งของแม่น ้ามูล เป็นที่ตั้งของตัว เมืองอุบลราชธานีในอดีต โดยเฉพาะในส่วนของหมายเลข 5 ถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของเมือง อุบลราชธานี ซึ่งมีวัดหลวงเป็นหมุดหมายที่ใช้บอกว่าพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวนี้เคยเป็นจุด ศูนย์กลางของเมืองอุบลราชธานีในอดีตเนื่องจากวัดหลวงถือเป็นโบราณีสถานหรือหลักฐาน ทาง ประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการมีอยู่ของโฮงหลวงหรือที่อยู่ของเจ้าเมืองอุบลราชธานี


5 ในขณะที่บริเวณของพื้นที่หมายเลข 4 นั้นอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีในอดีต ออกไปซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเรียกว่า “บุ่งกาแทว” หรือ “บุ่งกาแทว” ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นชุมชนของชาว ญวนอพยพและเป็นที่ตั้งของอาสนวิหารของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ดังนั้นพื้นที่นี้จึง เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในแง่ของสถาปัตยกรรมแบบ ตะวันตก ไม่ว่าจะเป็น อาสนวิหาร อารามหรือส านักงานอธิการโบสถ์ (บ้านพักพระสงฆ์ ) และ บ้านเรือนของผู้คนในชุมชนบุ่งกะแทว เป็นต้น กลุ่มสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกที่ปรากฏในเมืองอุบลราชธานีในช่วง พ.ศ. 2430-2475 ที่หลงเหลือหากระบุต าแหน่งตามถนนที่ตั้งของสถาปัตยกรรมแล้วจะพบว่ามีทั้ง กลุ่มอาคาร และอาคารเดี่ยวอาคารกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาคารตึกแถวร้านค้าบริเวณถนนหลวงตัด กับถนนพรหมราช กลุ่มอาคารอาสนวิหารและอาคารแวดล้อมบริเวณถนนเบ็ญจะมะ และ อาคารเดี่ยว ที่กระจายอยู่ตามถนนต่างๆ เช่น ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี บริเวณถนน เขื่อนธานี หรือกุฏิมงคลรังสี วัดป่ าใหญ่ ถนนหลวงตัดกับถนนสรรพสิทธิ์ กลุ่มอำคำรบริเวณแนวถนนตำมตะวัน ภาพประกอบ 3 แผนที่แสดงการกระจายตัวของอาคารที่ได้รับอิทธิพล ตะวันตกบนถนนตามตะวัน (เส้นสีเหลืองคือถนนตามตะวัน จุดสีแดง-เทา ตัวอาคาร)


6 ถนนตามตะวันหมายถึงถนนที่ตัดตามแนวทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ซึ่งใน พื้น เทศบาลนครอุบลราชธานี ที่เป็นพื้นที่ส่วนที่เป็นเมืองอุบลราชธานีในระหว่าง พ.ศ. 2430-2475 ที่ปรากฏสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกประกอบด้วยถนนจ านวน 7 สาย ได้แก่ 1. ถนนพรหมเทพ 2. ถนนพรหมราช 3. ถนนเขื่อนธานี 4. ถนนพะโลรังฤทธิ์5. ถนนพิชิรังสรรค์ บริเวณที่มีอาคารตะวันตก กระจุกตัวกันมากที่สุดจะอยู่ที่บริเวณถนนหลวง ถนนพรหม ราช และถนนพรหมเทพ ถนนทั้ง 3 สาย ล้วนอยู่ใกล้กับแม่น ้ามูล ปลายสุดของถนนหลวงเดิม เป็นท่าเรือชาวเมืองอุบลราชธานี้เรียกว่า “ท่ากวางตุ้ง” ตั้งอยู่ติดกับ วัดหลวงและโฮงหลวงของ เจ้าเมืองอุบลราชธานี ท่าเรือที่อยู่ถัดจากท่ากวางตุ้งไปทางตะวันตกชาวเมืองอุบลราชธานี เรียกว่า “ท่าจวน” เพราะเป็นที่ตั้งจวนของสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุบลราชธานี ซึ่งท่าจวนนี้เมื่อ มองไปอีกฝั่งของแม่น ้ามูล ที่นั่นจะเป็นสถานีรถไฟอุบลราชธานี ดังนั้นที่ถนน 3 สายนี้จึงเป็น พื้นที่แห่งความเจริญทางเศรษฐกิจและเป็นศูนย์กลางทางการเมือง แต่เมื่อการคมนาคมทางบกเจริญขึ้นมา การตัดถนนที่ทันสมัย การใช้รถยนต์ที่ แพร่หลาย การขนส่งทางเรือที่ช้ากว่าและสามารถเดินทางได้สะดวกแค่ยามหน้าน ้าจึงค่อย ๆ ลดความส าคัญลง การขยายตัวของเมืองอุบลราชธานีที่จากเดิมขยายตัวไปตามแนวของแม่น ้า มูล ซึ่งไหลในแนวทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ก็เปลี่ยนไปเป็นมุ่งขยายตัวไปตามแนวถนนที่ตัด เข้าสู่ พื้นที่ใจกลางเมืองตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ ความเจริญขยับจากริมแม่น ้าเข้าสู่พื้นที่ใจ กลางเมืองซึ่งเคยเป็นที่ประชากรเบาบาง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้บรรดาร้านค้าและ ธุรกิจต่าง ๆ พื้นที่ถนนหลวง ถนนพรหมราชและถนนพรหมเทพ ซบเซา กลุ่มตึกแถวร้านที่สร้าง ด้วย สถาปัตยกรรมตะวันตกหลายแห่งปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเอง จากเคยเป็นร้านค้า หัน มาเปิดให้ผู้อื่นเช่าท าธุรกิจอื่น หรืออาคารบางหลังก็เกษียณอายุจากธุรกิจค้าขายมาเป็น บ้านพักเพียงอย่าง เดียวพร้อมกับเจ้าของอาคารที่อยู่ในวัยชรา


7 ร้ำน ห้ำงเหรียญทอง


8 ร้านห้างเหรียญทองเป็นอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น จัดเป็นในรูปแบบสไตล์โมเดิร์นยุคแรกใน อุบลราชธานีตั้งอยู่ที่ถนนพรหมราช อ าเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในย่านเมืองเก่า เดิมทีคาดเดาว่าเป็นอาคารส าหรับการค้าขาย เนื่องจากพื้นที่ชุมชนแถบนี้เป็นชุมชน เศรษฐกิจเก่าของเมืองอุบล ตัวอาคารมีองค์ประกอบของความเป็นโมเดิร์น เช่นการใช้ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก กระจกและปูน อีกทั้งอาคารมีการตกแต่งแบบเรียบง่าย (minimalism)และค านึงประโยชน์การใช้งานมากกว่า (functionalism) ทางผู้จัดท าคาดเดาว่า อาคารนี้สร้างในช่วงปี ค.ศ 1932 -1970ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามี บทบาทในจังหวัดอุบลราชธานี เพราะอาคารพาณิชย์แห่งนี้ตั้งอยู่บนถนน พรหมราช ซึ่งเป็น ถนนเส้นที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเป็นอย่างมาก และอาคารยังอยู่ในย่านเศรษฐกิจเก่าอีก ด้วย อีกทั้งการใช้ทรายล้างยังมีมานานมากกว่า 40 ปี จึงสันนิฐานว่าอาคารนี้ต้องมีมาก่อนปี ค.ศ. 1980 อย่างแน่นอน ในยุคที่ผู้คนนิยมการใช้ทรายล้างเป็นอย่างมาก


9 พิจำรณำควำมส ำคัญของอำคำร ควำมส ำคัญด้ำนสถำปัตยกรรม อาคารหลังนี้เป็นหลักฐานทางสถาปัตยกรรม และพัฒนาการของอาคารโมเดิร์นยุคแรก ในจังหวัดอุบลราชธานี และมีความโดดเด่นในด้านสถาปัตยกรรมเมื่อเทียบกับอาคารพาณิชย์ ทั่วไปในย่านเดียวกัน ควำมส ำคัญด้ำนเศรษฐกิจ เนื่องจากอาคารหลังนี้เคยเป็นอาคารค้าขายมาก่อนในอดีต จึงมีความส าคัญต่อชุมชน ที่เป็นพื้นที่ค้าขาย อีกทั้งความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมของอาคารหลังนี้ยังบ่งบอกถึงก าลัง ทรัพย์ของเจ้าของอาคารอีกด้วย


10 เหตุผลของกำรเลือกทจี่ะปรับปรุงอำคำร เนื่องจากอาคารหลังนี้มีความส าคัญในหลายด้าน ทางผู้จัดท าจึงอยากที่จะศึกษาและ ท าการปรับปรุงบูรณะอาคารให้กลับมาใช้งานได้ เนื่องจากปัจจุบันอาคารได้เปลี่ยนถ่ายบริบท อาคารจากร้านค้าขายของช ามาเป็นที่พักอาศัย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ ท าให้อาคารส่วนมากในย่านนี้ต้องเปลี่ยนบริบทการใช้งานมาเป็นบ้านพักอาศัย ตามความ ต้องการของเจ้าของอาคารแต่อาคารยังคงไม่ได้ถูกใช้งาน เหตุผลมาจากพื้นที่บริเวณอาคาร หลังนี้ติดถนนที่มีขนาดเล็ก ท าให้อาคารนี้ไม่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องของที่จอดรถได้ จึงเป็น ปัจจัยหลักที่ท าให้คนรุ่นใหม่ย้ายออกจากอาคารเก่าในย่านนี้ ทางผู้จัดท าจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงอาคารให้ตอบโจทย์กับความต้องการของคนรุ่น ใหม่จากการลงพื้นที่ส ารวจทางเราได้ตรวจสอบสภาพของอาคารเท่าที่สามารถท าได้ และได้ พบว่า ด้านโครงสร้างอาคารยังคงแข็งแรง และสามารถใช้งานได้ มีผนังบางส่วนอาคารที่ลอก เพราะความชื้น และสีอาคารที่ซีดลงตามอายุของอาคาร ทางเราจึงได้ตัดสินใจที่จะปรับปรุง ภายนอกอาคารโดยที่ยังคงความแท้ด้านวัสดุของอาคารเอาไว้ เช่น การยังคงใช้ทรายล้าง การ ใช้หน้าต่างรูปแบบเดิม การคงไว้ของครีบเสาและอื่น ๆเพื่อคงไว้ของสถาปัตยกรรมโมเดิร์น เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการพัฒนาการสถาปัตยกรรมโมเดิร์นยุคแรกในจังหวัด อุบลราชธานี


11 แบบก่อนกำรปรับปรุงอำคำร แปลนพื้นชั้นที่1 แปลนพื้นชั้นที่ 2-3


12 แบบหลังกำรปรับปรุงอำคำร หลังการปรับปรุงภายนอกอาคาร ทางเราได้ทดแทนวัสดุที่มีการเสื่อมสภาพ สึกหรอ ด้วยของใหม่แต่ยังคงใช้วัสุเดิม ที่เห็นได้ชัดคือบานวงกบหน้าต่างและได้ท าการทาสีบานวงกบ หน้าต่างใหม่ให้เป็นสีเทา เพื่อให้ลดความโดดเด่นของสีเก่าที่เป็นสีแดง อีกทั้งครีบเสาทางเราได้ ทาสีใหม่เป็นสีขาวเพื่อให้ดูเป็นโมเดิร์นสมัยใหม่มากขึ้น ส่วนทางเข้าหลักอาคาร ได้แบ่งฟังชัน ออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งซ้ายคือทางเข้าโรงจอดรถ ที่เป็นประตูบานสไลด์ขึ้นม้วนเก็บข้างบน เพื่อลด การใช้พื้นที่ ส่วนฝั่งขวาคือทางเข้าอาคารหลัก ที่เป็นบานกระจก เพื่อเพิ่มความเป็นอาคารที่พัก อาศัยมากยิ่งขึ้น


13 แปลนพื้นชั้นที่ 1 จากแปลนจะเห็นได้ว่ามีที่จอดรถภายในอาคาร เพื่อที่จะแก้ปัญหาในเรื่องการไม่มีที่ จอดรถและได้ท าการปรับปรุงรีโนเวทห้องน ้าให้ดูทันสมัยและตอบโจทย์การใช้งานมากยิ่งขึ้นอีก ทั้งยังได้มีการแบ่งพื้นที่ชั้นล่างเป็นพื้นที่นั่งเล่นเพื่อให้มีพื้นที่ในการนั่งพักผ่อนและยังคงมีการ เชื่อมต่อกับภายนอกอาคาร เพื่อให้รู้สึกมีความน่าอยู่อาศัยเหมือนบ้านไม่ใช่อาคารพาณิชย์


14 การเลือกใช้สีทาผนังห้อง ทางเราเลือกโทนสีขาวเพื่อให้ดู สบายตา โล่ง ไม่รู้สึกอึดอัด อีกทั้งยังท าให้ห้องมีความเป็นมินิมอล ด้านกระเบื้องปูพื้นเลือกใช้กระเบื้องโทนสีเทา รูปทรง เลขาคณิต เพื่อสื่อถึงความเชื่อมโยงกับภายนอกอาคารที่มีการแบ่งสัดส่วนแบบสมสมมาตร ด้านเฟอร์นิเจอร์เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์โซฟาแบบยาวเพื่อให้สามารถนอนพักผ่อนเล่นได้ ทางด้าน สีเฟอร์นิเจอร์เลือกใช้สีที่ท าให้ตัวเฟอร์นิเจอร์ดูไม่ฉูดฉาด สบายตา และยังคงโทนของอาคารที่ เน้นสี ขาว เทา


15 แปลนพื้นชั้นที่ 2 การปรับเปลี่ยนอาคาร ชั้น 2 โดยการใช้แบบของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นสมัยใหม่ที่สร้าง ขึ้นโดยยึดถือการใช้งานเป็นหลัก ตัดทอนองค์ประกอบที่ฟุ่ มเฟื อยให้เหลือแค่เพียงความเรียบ ง่าย แต่เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า แต่ยังคงความแท้ทางด้านรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็น โมเดิร์นยุคแรกของจังหวัดอุบลราชธานีเอาไว้ และมีการเปลี่ยนบริบทของอาคารการอาคาร พาณิชย์เป็นอาคารพักอาศัยแทน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนความแท้ทางด้านบริบทอาคาร โดยการ ตกแต่งภายในเน้นการใช้งานเพื่อความสะดวกสบายโดยการจัดว่างแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน เพื่อให้การใช้งานง่ายขึ้นและเป็นระเบียบ โดยการใช้วัสดุสมัยใหม่เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน


16 สไตล์ห้องครัวเป็นสไตล์ครัวแบบฝรั่ง เพราะจะได้จัดพื้นที่ทีมีอย่างจ ากัดได้อย่างเกิด ประโยชน์มากที่สุด เพื่อเหลือพื้นที่ใช้งานมากขึ้นและเพื่อความสวยงามให้เข้ากับสไตล์ของ อาคาร การจัดวางส่วนของเฟอร์นิเจอร์จะใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีสีและลวดลายอ่อน เพื่อความสบาย ตาของผู้ใช้งาน ส่วนโซนของครัวจะจัดให้ส่วนของเตาไฟให้อยู่ห้างจากตู้เย็นเพื่อความปลอดภัย และจัดที่ว่างของไว้ด้านหลังเพื่อจะได้ท าอาหารได้สะดวกมากขึ้นโดยมีพื้นที่ที่กว้าง และชั้น2 มี การแบ่งโซนของ ห้องน ้า , ห้องเก็บของ , พื้นที่รับประทานอาหาร , พื้นที่รับแขก , และพื้นที่ซัก ผ้า ภายในเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานให้มากที่สุด โดยการตกแต่งเป็นการตกแต่ง แบบโมเดิร์นสมัยใหม่ เพื่อจะได้เข้ากับอาคาร ที่เลือกให้โต๊ะรับประทานอาหาร กับ โซนนั่งเล่น ติดกับด้านหน้าต่างเพื่อที่จะได้สามารถมองเห็นภายนอกอาคารได้ และยังคงได้รับการส่องของ แสงอาทิตย์ผ่านเข้ามาภายในตัวอาคาร


17 แปลนพื้นชั้น 3 ชั้น 3 ของอาคารจะเป็นชั้นที่เป็นส่วนตัวมากที่สุด จะประกอบไปด้วยห้องนอน 2 ห้อง ได้แก่ห้องนอนเล็กและห้องนอนใหญ่ แต่ละห้องนอนจะอยู่ติดกับด้านหน้าอาคารที่มีหน้าต่าง เพื่อให้การระบายอากาศนั้นท าได้ง่ายมากขึ้น ท าให้ห้องไม่อับ และยังสามารถดูทิวทัศน์ ภายนอกได้อีกด้วย ห้องนอนใหญ่นั้นจะมีห้องแต่งตัวเป็นของตัวเอง เพื่อให้ตัวห้องนอนนั้นมี พื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ห้องน ้าของชั้นนี้จะเป็นห้องน ้ารวม ที่ให้คนที่ใช้งานห้องนอนใหญ่และ ห้องนอนเล็กใช้งานได้


18 ห้องนอนเล็ก ห้องนอนเล็กจะใช้สีทาผนังห้อง 2 สีคือสีเทา และ สีขาว เพื่อให้เข้ากับสีภายนอกอาคาร ที่มีการใช้สีเทา ขาว เป็นหลัก เฟอร์นิเจอร์จะใช้เฟอร์นิเจอร์ที่เป็นสีเอิร์ทโทน ไม่เลือกใช้สีที่ ฉูดฉาด เพื่อให้เป็นมิตรกับผู้เข้ามาใช้งานไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น หรือผู้สูงอายุส่วนกระเบื้องปู พื้นเลือกใช้พรมในการปูพื้น เพื่อสื่อถึงความเป็นห้องนอน ความนุ่มสบาย ส่วนลายของพรมนั้น เลือกใช้ลายที่เป็นสี่เหลี่ยม เพื่อสื่อถึงความสมมาตรของภายนอกอาคาร สีของพรมก็เช่นกัน


19 ห้องนอนใหญ่ ห้องนอนใหญ่จะทาสีผนังด้วยสีขาวเพื่อให้สื่อถึงสีหลักที่ใช้ในอาคาร และยังท าให้ห้องดู สบายตา โล่ง ส่วนเฟอร์นิเจอร์เลือกใช้สีเฟอร์นิเจอร์ที่ตัดกับผนังสีขาวของอาคาร ส่วนการปูพื้น ใช้วัสดุพรม เพื่อสื่อถึงความเป็นห้องนอน ความนุ่มสบาย ส่วนลายของพรมนั้นเลือกใช้ลายที่ เป็นสี่เหลี่ยม เพื่อสื่อถึงความสมมาตรของภายนอกอาคาร สีของพรมก็เช่นกัน


20


Click to View FlipBook Version