The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงงานเรื่อง ภาษาถิ่นใต้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by rreerat2532, 2022-01-06 00:22:30

โครงงานเรื่อง ภาษาถิ่นใต้

โครงงานเรื่อง ภาษาถิ่นใต้

โครงงาน เรื่อง ภาษาถิ่นใต้



















ผู้จัดทำ
นางสาว รุตนาณี หลำหลี ชั้น ม. 5/2 เลขที่20
นางสาว เกตกนก มณีภาค ชั้น ม. 5/2 เลขที่30
นางสาว อารีลักษณ์ เพชรซ้อน ชั้น ม. 5/2 เลขที่34



ครูที่ปรึกษา คุณครูนาตยา พรรณสิทธิ์

















รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) I32202
โรงเรียนนาทวีวิทยาคม อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

โครงงานเรื่อง ภาษาถิ่นใต้














ผู้จัดทำ


นางสาว รุตนาณี หลำหลี ชั้น ม. 5/2 เลขที่20
นางสาว เกตกนก มณีภาค ชั้น ม. 5/2 เลขที่30
นางสาว อารีลักษณ์ เพชรซ้อน ชั้น ม. 5/2 เลขที่34


ครูที่ปรึกษาคุณครูนาตยา พรรณสิทธิ์










รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) I32202
โรงเรียนนาทวีวิทยาคม อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

(ก)


ชื่อเรื่อง : ภาษาถิ่นใต้
ผู้จัดทำ : นางสาว รุตนาณี หลำหลี
นางสาว เกตกนก มณีภาค
นางสาว อารีลักษณ์ เพชรซ้อน
ที่ปรึกษา : คุณครูนาตยา พรรณสิทธิ์
โรงเรียน : นาทวีวิทยาคม
ปีการศึกษา : 2564




บทคัดย่อ



การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อได้ศึกษาและค้นคว้าภาษาใต้ที่
เก่าแก่หรือคำที่ไม่นิยมใช้ รวมถึงลักษณะต่าง ๆ ของภาษาใต้และเพื่ออนุรักษ์ภาษาถิ่นใต้ให้อยู่คงกับ
คนใต้และประเทศไทยต่อไป ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาค้นคว้าโดยการใช้การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ
ลักษณะต่าง ๆของภาษาใต้ซึ่งมีหลากหลายรูบแบบ และได้มีการทำแบบสอบถามความรู้ใน ความ
เข้าใจในภาษาใต้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/2 โรงเรียนนาทวีวิทยาคม จังหวังสงขลา จำนวน
10 คน มีการสุ่มตัวอย่างคำในภาษาใต้มาทั้งจำนวน 10 คำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยได้มีการจัดพิมพ์
แบบสอบถามใน Google form จำนวนทั้งหมด 10 ข้อและอธิบายอธิบายให้นักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง
เข้าใจวัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่จะได้รับจากการตอบแบบสอบถาม แล้วจึงตรวจสอบความ
สมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ตอบกลับมา เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล
ที่ได้จากแบบสอบถาม ทำได้โดยผู้จัดทำนำแบบสอบถามที่ได้จากการตอบกลับมา และสำรวจข้อมูล
เรียบร้อยแล้ว มาตรวจให้คะแนนแต่ละข้อตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้และจัดระบบเพื่อนำไปวิเคราะห์ทาง
สถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า จากกลุ่มตัวอย่าง 10คน มีความรู้ใน
ภาษาถิ่นใต้เกือบทุกคนและสามารถนำภาษสใต้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน
ที่ตั้งไว้ว่า คนรุ่นใหม่สามารถรู้จักคำภาษาใต้ที่เก่าแก่และคำที่มักไม่นิยมใช้กันในปัจจุบันได้

(ข)


กิตติกรรมประกาศ



การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้โดยความช่วยเหลือจากคุณครูนาตยา พรรณสิทธิ์
ผู้ศึกษาขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย
นอกจากนี้ผู้ศึกษาขอขอบคุณ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง ที่มีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดแรง
บันดาลใจในการทำโครงงานชิ้นนี้ และขอขอบคุณที่มาทั้งทางเว็บไซต์ต่าง ๆ เอกสาร รวมไปถึงบท
สัมภาษณ์

หากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะเกิดประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วไป ขอมอบความดีและ
คุณประโยชน์ที่เกิดขึ้นแด่สมาชิกทุกท่านที่คอยช่วยเหลือ ทั้งหาข้อมูล รวบรวมข้อมูลจนทำให้โครงงาน
ชิ้นนี้ประสบความสำเร็จ ผู้จัดทำโครงงานนี้มีความซาบซึ้งใจอย่างยิ่ง และขอขอบพระคุณผู้อ่านทุกคน
หวังว่าโครงงานชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่าน








นางสาว รุตนาณี หลำหลี
นางสาว เกตกนก มณีภาค
นางสาว อารีลักษณ์ เพชรซ้อน

สารบัญ (ค)


หน้า
เรื่อง ก
บทคัดย่อ ข
กิตติกรรมประกาศ ค
สารบัญ ง
สารบัญตาราง
บทที่ 1 บทนำ 1
1
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า 1
1.2 วัตถุประสงค์ 1
1.3 สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า 1
1.4 ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า
2.1 ลักษณะของภาษาใต้ 4
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้า 4
4
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 4
3.2 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า 4
3.3 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า 4
3.4 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า 5
3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล 10
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล 10
บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า 10
บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 10
5.1 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 11
5.2 อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า 12
5.3 ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก

(ง)
สารบัญตาราง
หน้า


ตารางที่ 5
6

6
ตารางที่4.1 การประเมินแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน10 ข้อ 7
ตารางที่ 4.2 ผลการประเมิน
ตารางที่ 4.3 การประมวลผล
ตารางที่ 4.4 คำศัพท์ภาษาถิ่นใต้

บทที่ 1
บทนำ



1. ความเป็นมาและความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทยที่มีมาอย่างยาวนาน ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบ
ด้วยอ่าวไทยทางฝั่ งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่ งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตาราง
กิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร มีทั้งหมด14จังหวัดได้แก่ จังหวัด
กระบี่,จังหวัดชุมพร,จังหวัดนครศรีธรรมราช,จังหวัดพังงา,จังหวัดภูเก็ต,จังหวัดระนอง,จังหวัด
สุราษฎร์ธานี,จังหวัดตรัง, จังหวัดนราธิวาส,จังหวัดปัตตานี,จังหวัดพัทลุง,จังหวัดยะลา,จังหวัด
สตูล,จังหวัดสงขลา ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่ งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง
ซึ่งมีประชากรราวประมาณ 9 ล้านคน

ภาษาใต้นั้นมีความฉะฉาน แข็งแรง มีจังหวะการพูดและท่วงทำนองที่น่าค้นหา มีหลากหลาย
สำเนียงซึ่งจะต่างกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ และขึ้นอยู่กับเอกลักษณ์ของจังหวัดหรือท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น
สำเนียงสุราษฎร์ธานี สำเนียงนครศรีธรรมราช สำเนียงพัทลุง–สงขลา สำเนียงพังงา–ภูเก็ต
สำเนียงกระบี่–ตรัง สำเนียงปัตตานี–ยะลา สำเนียงนราธิวาส หากผู้ที่ไม่สันทัดในภาษาใต้พูดไม่
คล้อง พูดผิดเพี้ยนจะเรียกสำเนียงนั้นว่า “ทองแดง” ซึ่งผู้จัดทำได้เล็งเห็นว่าปัจจุบันนี้ภาษาใต้ยังมีอีก
หลายคำที่ทั้งสมาชิกในกลุ่มหรือคนรุ่นใหม่ไม่รู้จักหรือค้นชิน ผู้จัดทำจึงอยากศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อ
ให้คำภาษาถิ่นใต้ของเรานั้นไม่เลือนหายไป

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อได้ศึกษาและค้นคว้าภาษาใต้ที่เก่าแก่ หรือคำที่ไม่นิยมใช้ รวมถึงลักษณะต่าง ๆของภาษา

ใต้
2.2 เพื่ออนุรักษ์ภาษาถิ่นใต้ให้อยู่คงกับคนใต้และประเทศไทยต่อไป

3. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
คนรุ่นใหม่สามารถรู้จักคำภาษาใต้ที่เก่าแก่และคำที่มักไม่นิยมใช้กันในปัจจุบันได้

4. ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
4.1 สถานที่ โรงเรียนนาทวีวิทยาคม
4.2 ระยะเวลา วันที่1 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ถึง 30 พ.ศ.2565
4.3 ประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/2 โรงเรียนนาทวีวิทยาคม จังหวังสงขลา

จำนวน 10 คน
กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/2 โรงเรียนนาทวีวิทยาคม จังหวังสงขลา

จำนวน 10 คน จากวิธีสุ่มโดยการให้ตอบแบบสอบถาม เรื่องความรู้ในภาษาใต้ จำนวน 10 ข้อ
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้เรียนรู้ภาษาใต้ที่เก่าแก่รวมไปถึงลักษณะต่าง ๆของภาษาใต้
2. ภาษาใต้จะอยู่กับคนใต้และประเทศไทยต่อไป

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า



ในการศึกษาค้นคว้าเรื่อง ภาษาถิ่นใต้
แนวคิดทฤษฎีและหลักฐานต่าง ๆ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1ลักษณะของภาษาใต้
เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย
รวม 14 จังหวัดและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้านในรัฐกลันตัน รัฐปะลิส
รัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) รัฐเประ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย บางหมู่บ้านในเขตตะนาวศรี ทางตอน
ใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉพาะ
ภาษาไทยถิ่นใต้แยกออกเป็น 5 กลุ่ม คือ

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดกันมากทางฝั่ งตะวันออกของปักษ์ใต้ บริเวณ
จังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์, อำเภอแม่ลาน, อำเภอหนองจิก และ
อำเภอเมือง) ตรัง สตูล (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ ,ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย
บ้านบาลิ่ง ) ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และสตูล แม้จะ
ตั้งอยู่ฝั่ งทะเลตะวันตก แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออก
เสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง
สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ จะมีลักษณะเด่นที่
คล้ายคลึงกัน เช่นออกเสียงคำว่า แตก เป็น แตะ ดอกไม้ เป็น เดาะไม้ สามแยก เป็น สามแยะ ฯลฯ
สำเนียงนครศรีธรรมราช กลุ่มฉวาง พิปูน ทุ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง ก็อยู่ในกลุ่มนี้
ส่วนจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะตั้งอยู่ฝั่ งทะเลตะวันออก แต่สำเนียงภาษาถือเป็นก
ลุ่มเดียวกับจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ไม่ได้
การแบ่งเขตระหว่างพื้นที่ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก (คำที่มีเสียงสระยาวสามารถออกเสียง ก.
สะกดได้ชัด) กับพื้นที่ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก (คำที่มีเสียงสระยาว ออกเสียง ก. สะกดไม่ได้)
สามารถกำหนดแนวแบ่งเขตได้ เคร่าๆ ได้โดยลากเส้นแนวแบ่งเขตจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีฝั่ งอ่าว
ไทย ลงไปทางใต้ โดยใช้แนวเขาหลวง(เทือกเขานครศรีธรรมราช) เป็นแนวแบ่งเขต ผ่านลงไปถึงจุด
ระหว่างอำเภอทุ่งสง และอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นวกไปทางทิศตะวันตกไป
ยังอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ จรดทะเลอันดามัน

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา บางส่วน
ของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา โดยมีลักษณะที่เด่นคือ หางเสียงจะไม่ขาดห้วน แต่จะค่อยๆเบา
เสียงลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวช่วยให้ภาษาสงขลาฟังแล้วไม่หยาบกระด้างอย่างสำเนียงใต้ถิ่นอื่น
นอกจากนี้ยังคำที่ใช้บ่อยในสำเนียงนี้คือ คำว่า เบอะ หรือ กะเบอะ ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยาตร
ฐานว่า เพราะว่า, ก็เพราะว่า เรียกเงินว่า เบี้ย ในขณะที่ถิ่นอื่นนิยมเรียกว่า ตางค์ และคำที่นิยมใช้อีก
คำหนึ่ง คือ ไม่หอน ซึ่งมีความหมายว่า ไม่เคย เช่น ฉานไม่หอนไป เป็นต้น

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห หรือ ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่
บริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี(เฉพาะ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอ
สายบุรี) รวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของมาเลเซีย ในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง
เจ๊ะเห นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกหนึ่งภาษาคือภาษาถิ่นพิเทน ซึ่งพูดกันในตำบลพิเทน
อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานีเท่านั้น
ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องมีคนในจังหวัดอื่นๆ มาอาศัยหรือทำงานในจังหวัดนราธิวาส จึงนำภาษา
ไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัดมาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยถิ่นใต้จากจังหวัด
พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทย 2 สำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียง
เจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง เจะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือ
ญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส แต่ในเมืองมักจะพูดสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน เป็นภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบที่ใช้อยู่ในตำบลพิ
เทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันคนในตำบลพิเทนพูด
ภาษาไทยถิ่นพิเทนน้อยลง ส่วนมากจะใช้ภาษามลายูปัตตานีในชีวิตประจำวัน ตามความนิยมของผู้ใช้
ภาษาส่วนใหญ่ ผู้ที่สามารถใช้สำเนียงพิเทนได้ดีคือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อายุน้อยกว่านี้บางคน
ไม่ยอมพูดภาษาของตน หรือพูดได้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยภาษาพิเทนมีการใช้คำยืมและคำที่ใช้ร่วม
กันกับภาษามลายูปัตตานีถึงร้อยละ 97

บทที่ 3

วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้า




การศึกษาเรื่อง ภาษาถิ่นใต้
มีวัตถุประสงค์เพื่อ ต้องการให้ศึกษาภาษาใต้ที่มีความเก่าแก่ ลักษณะต่าง ๆของภาษาใต้คำบาง
คำที่ไม่ค่อยนิยมใช้ในปัจจุบันเพราะปัจจุบันนี้มีอีกหลายคำที่ไม่ได้ใช้ และต้องการอนุรักษ์ภาษาใต้ไว้
ให้แก่ลูกหลาน
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/2 โรงเรียนนาทวีวิทยาคม จังหวังสงขลาจำนวน 10 คน
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/2 โรงเรียนนาทวีวิทยาคม จังหวังสงขลา
จำนวน 10 คน
3.2 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาค้นคว้าเป็นประเภทสำรวจ มีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า ดังนี้

1. ศึกษาผ่านเอกสาร เว็บไซต์ การสัมภาษณ์ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาถิ่นใต้
2. สร้างแบบสอบถาม เรื่องภาษาถิ่นใต้ จำนวน 15 ข้อ เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม
3. ปรึกษาโครงงานกับคุณครู ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ
3.3 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.เว็บไซต์ต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษาใต้
2.เอกสาร
3.บทสัมภาษณ์
3.4 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1. เว็บไซต์ , เอกสาร , บทสัมภาษณ์ , คอมพิวเตอร์ , โทรศัพท์มือถือ , แอปพลิเคชัน canva,
โปรแกรม anyflip , Google form
2. การสร้างแบบสอบถาม,การนำเสนอข้อมูลผ่านทาง Electronic Book (E-Book) หมายถึง
หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็น
แฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์
3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
รวบรวมเอกสาร ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวไว้ใน โปรแกรม Microsoft Word
และทำชิ้นงาน E-Book โดยผ่าน แอปพลิเคชัน canva และโปรแกรม anyflip
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล

นำข้อมูลที่รวบรวมมาจากกลุ่มตัวอย่างทำการวิเคราะห์โดยวิธีโดยผู้จัดทำนำแบบสอบถามที่
ได้จากการตอบกลับมา และสำรวจข้อมูลเรียบร้อยแล้ว มาตรวจให้คะแนนแต่ละข้อตามเกณฑ์ที่
กำหนดไว้และจัดระบบเพื่อนำไปวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การศึกษาเรื่อง ภาษาถิ่นใต้
มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เพื่อได้ศึกษาและค้นคว้าภาษาใต้ที่เก่าแก่ หรือคำที่ไม่นิยมใช้ รวมถึงลักษณะต่าง ๆของภาษาใต้
2. เพื่ออนุรักษ์ภาษาถิ่นใต้ให้อยู่คงกับคนใต้และประเทศไทยต่อไป
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
จากการศึกษานนั้นทำให้ทราบว่าจากการทำแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง โดยมีการสรุปจำนวนการ
ตอบแบบสอบถามในแต่ละระดับจาก 1-5 และการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบร้อยละ และการ ทำให้
ได้ข้อมูลดังนี้
แบบสอบถาม
1.นักเรียนรู้ความหมายของคำว่า ต่อเหรือง มากน้อยเพียงใด
2.นักเรียนเคยใช้คำว่า ช้อนชี่ ในชีวิตประจำวันหรือไม่
3.ในชีวิตประจำวันของนักเรียนเคยใช้คำว่า ฟิดตุง/ยักหงาย มากน้อยเพียงใด
4.นักเรียนรู้ความหมายของคำว่า คุมวัน มากน้อยเพียงใด
5.นักเรียนรู้จักคำว่า ในโย มากน้อยเพียงใด
6.นักเรียนเคยใช้คำว่า ดักอีเดียม ในชีวิตประจำวันหรือไม่
7.นักเรียนรู้ความหมายของคำว่า สับปลับ มากน้อยเพียงใด
8.ในชีวิตประจำวันของนักเรียนรู้จักคำว่า ขวยใจ มากน้อยเพียงใด
9.นักเรียนรู้จักคำว่า ขี้ทก มากน้อยเพียงใด
10.นักเรียนรู้จักคำว่า น่าขลาด มากน้อยเพียงใด

ตารางที่4.1 การประเมินแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน10 ข้อ

ตารางที่ 4.2 ผลการประเมิน
ตารางที่ 4.3การประมวลผล

ตารางที่ 4.4 คำศัพท์ภาษาถิ่นใต้





บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ



การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ สรุป อภิปรายผลและมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

5.1 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

1.จากการที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับภาษาถิ่นใต้รวมถึงลักษณะต่าง ๆ ทำให้ได้เรียนรู้คำต่าง ๆ ที่ไม่
นิยมใช้ในหมู่คนรุ่นใหม่ คำเก่าแก่ที่ไม่นิยมใช้

2.เมื่อได้เรียนรู้แล้วทำให้เกิดความรู้สึกที่อยากจะอนุรักษ์ภาษาอันป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้เอา
ไว้ไปถึงคนรุ่นหลัง
5.2 อภิปรายผลการศึกษา

จากการศึกษาและมีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างในเรื่อง “ความรู้ในภาษาถิ่นใต้” ทำให้ทราบว่า
ผลการประมวลผลอยู่ที่ร้อยละ 100 นั่นคือกลุ่มตัวอย่างนั้นทราบคำภาษาถิ่นใต้ และมีพื้นฐานภาษา
ใต้เกือบทุกคน
5.3 ข้อเสนอแนะ

1. จากการศึกษาโครงงานหัวข้อนี้ได้ความรู้ในภาษาถิ่นใต้ที่เพิ่มเติมมากกว่าเดิมสามารถนำ
ไปใช้ในการพูดในชีวิตประจำวัน

2. แบบทดสอบควรมีความชัดเจนกว่านี้

บรรณานุกรม



ปุ่น มณีภาค. สัมภาษณ์ 22 พฤศจิกายน 2564.



ทิภากร อ่อนอิ่มสิน. 2564. ภาษาไทยถิ่นใต้.(ออนไลน์).แหล่งที่มา:
https://sites.google.com/site/monokna/phakh-ti.com. 25 พฤศจิกายน 2654.

Natchaphon B. 2564. รวมศัพท์ภาษาใต้.(ออนไลน์).แหล่งที่มา:
https://www.sanook.com/campus/1390689/.com. 26 ธันวาคม 2564.

Yuwadee 2564. มาฝึกแหลงใต้ม้าย รวมคำศัพท์ภาษาใต้น่ารู้. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา:https://teen.mthai.com/education/176919.html.com.

ภาคผนวก


Click to View FlipBook Version