The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงงาน เรื่อง โรคเครียด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by BabyMild, 2021-09-19 03:11:34

โครงงาน เรื่อง โรคเครียด

โครงงาน เรื่อง โรคเครียด

โครงงาน



เรื่อง



โรคเครียด

โรคเครียด
( Acute Stress Disorder )

คือ โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา
การเผชิญหน้ากับความเครียดเฉียบพลัน
สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากมีเหตุการณ์ที่กระทบ
กระเทือนจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้าน
ร่างกาย จิตใจและอารมณ์ในด้านลบหรือที่เรียก
ว่า ความทุกข์( Suffering ) ซึ่งเป็นผลทำให้
ต่อมไร้ท่อที่หลั่งฮอร์โมนความเครียดทำงานผิด
ปกติรวมทั้งเกิดจากสภาพแวดล้อมเป็ นสิ่งเร้าที่
กระตุ้นให้เกิดโรคเครียดและแสดงอาการที่อาจ
ส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายอย่าง
รุนแรง

โรคเครียด มีลักษณะอย่างไร?

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเครียดมักเกิดอาการของโรคทันทีที่ เผชิญ
สถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดโดยจะเกิดอาการของ
โรคเป็นเวลานานหลายวันหรือหลายสัปดาห์ อาการโรค
เครียด มีดังนี้

เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงซ้ำ ๆ ผู้ป่วยจะเห็นฝั นร้าย หรือ
นึกถึงเหตุการณ์ร้ายแรงไม่ดีที่เคยเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อยู่เสมอ

อารมณ์ขุ่นมัว อารมณ์หรือความรู้สึกของผู้ป่วยโรคเครียด
มักแสดงออกมาในเชิงลบ ผู้ป่วยจะรู้สึกอารมณ์ไม่ดี
มีความทุกข์ ไม่ร่าเริงแจ่มใสหรือรู้สึกไม่มีความสุข

มีพฤติกรรมแยกตัวออกมา ผู้ป่วยจะเกิดหลงลืมมึนงง ไม่มี
สติหรือไม่รับรู้การมีอยู่ของตัวเอง หรือรู้สึกว่าเวลาเดินช้า

ลง
หลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ ผู้ป่วยจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้นึกถึง
เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ไม่ว่าจะเป็นผู้คน สถาน
ที่ สิ่งของ กิจกรรม หรือบทสนทนาที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
ไวต่อสิ่งเร้า ผู้ป่วยจะนอนหลับยาก โมโหหรือก้าวร้าว ไม่มี

สมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้

โรคเครียด มีอะไรบ้าง?

1. Acute Stress คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็
ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกันโดยมีการหลั่ง
ฮอร์โมนความเครียดเมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่
ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติตัวอย่าความเครียด เช่น
เสียง อากาศเย็นหรือร้อน ชุมชนที่คนมากๆ ความกลัว ตกใจ หิว
ข้าว เป็นต้น
2. Chronic Stress หรือ ความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่
เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออก
ต่อความเครียดนั้นซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสม
เป็นความเครียดเรื้อรังตัวอย่างความเครียดเรื้อรังเช่น
ความเครียดที่ทำงานความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลความเครียดของแม่บ้าน และความเหงา

สาเหตุของการเกิดโรคเครียด

โรคเครียดมีสาเหตุมาจากการพบเจอหรือรับรู้
เหตุการณ์อันตรายที่ร้ายแรงมาก โดยเหตุการณ์นั้น
ทำให้รู้สึกกลัว ตื่นตระหนก หรือรู้สึกสะเทือนขวัญ เช่น
การประสบอุบัติเหตุจนเกือบเสียชีวิต การได้รับบาด
เจ็บอย่างรุนแรง รวมทั้งทราบข่าวการเสียชีวิต ประสบ
อุบัติเหตุ หรือการป่วยร้ายแรงของคนในครอบครัวหรือ
เพื่อนสนิท ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดโรคเครียดซึ่งพบ
ได้ทั่วไปนั้น มักเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับการออกรบของ
ทหาร ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกโจรปล้น ประสบภัย
พิบัติทางธรรมชาติ หรือทราบข่าวร้ายอย่างกะทันหัน
โดยไม่ทันตั้งตัว นอกจากนี้ โรคเครียดยังมีปั จจัยเสี่ยง
อื่น ๆ ด้วย โดยผู้ที่เสียงป่วยเป็นโรคเครียดได้สูง มักมี
ลักษณะ ดังนี้

เคยเผชิญเหตุการณ์อันตรายอย่างรุนแรงในอดีต
มีประวัติป่วยเป็นโรคเครียดหรือภาวะเครียดหลังเกิดเหตุ

สะเทือนขวัญ
มีประวัติประสบปัญหาสุขภาพจิตบางอย่าง
มีประวัติว่าเกิดอาการของโรคดิสโซสิเอทีฟเมื่อเผชิญ
เหตุการณ์อันตราย เช่น หลงลืมตัวเองหรือสิ่งต่าง ๆ

อารมณ์แปรปรวนกะทันหัน

วิธีการรักษา

วิธีรักษาโรคเครียดคือการรับมืออาการของโรคที่เกิดขึ้น
เมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ผู้
ป่วยควรเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว และพูด

คุยกับครอบครัวหรือเพื่อนเพื่อระบายความเครียด
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เกิดอาการรุนแรงหรือเกิด
ความเครียดเรื้อรัง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์

ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ปรึกษาแพทย์ การปรึกษาจิตแพทย์ถือเป็นวิธีรักษาโรคเครียดที่มี
ประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเครียดที่เกิดอาการรุนแรง
และเป็นมานาน โดยแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับสถานการณ์ที่
ทำให้เกิดความเครียด รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยจัดการอาการของโรคที่

เกิดขึ้นได้
บำบัดความคิดและพฤติกรรม ผู้ป่วยโรคเครียดที่เกิดความวิตก
กังวลและอาการไม่ดีขึ้น จะได้รับการรักษาด้วยวิธีบำบัดความคิดและ
พฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy: CBT) การบำบัด
ความคิดและพฤติกรรมเป็ นวิธีจิตบำบัดที่มีแนวคิดว่าความคิดบาง
อย่างของผู้ป่วยส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยโรคเครียดอาจได้
รับการบำบัดระยะสั้น โดยแพทย์จะพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกและ
ความคิดของผู้ป่วย รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าความคิดบางอย่าง
นั้นไม่ถูกต้อง และปรับทัศนคติของผู้ป่วยที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ให้มองทุก

อย่างได้ถูกต้องและตรงตามความเป็ นจริง
ใช้ยารักษา แพทย์อาจจ่ายยารักษาโรคเครียดให้แก่ผู้ป่วยบางราย

โดยผู้ป่วยมักจะได้รับการรักษาด้วยยาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อ
บรรเทาอาการปวดของร่างกาย ปัญหาการนอนหลับ หรืออาการซึม

เศร้า โดยยาที่ใช้รักษาโรคเครียด

จัดทำโดย



1.นายคฑาวุธ วงษ์ศรี ชั้น ม.5/11 เลขที่ 7
2.นายวรันธร รอดเมือง ชั้น ม.5/11 เลขที่ 9
3.นางสาวธัญชนก แนนสินธิ์ ชั้น ม.5/11 เลขที่

12



เสนอ
คุณครู สุภาพร วงษ์ดารา



โครงงานนี้เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษา

วิชา ว32153 เทคโนโลยี
(การออกแบบและเทคโนโลยี)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564


Click to View FlipBook Version