The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

64-1 รายงานการใช้สื่อ ว30289

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sucharat ratchasarn, 2022-05-18 09:23:54

64-1 รายงานการใช้สื่อ ว30289

64-1 รายงานการใช้สื่อ ว30289



สารบญั ๒

สารบัญ หน้า
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและวรรณกรรมทีเ่ กย่ี วข้อง 1
บทท่ี 3 วิธดี ำเนินการศกึ ษา 4
บทท่ี 4 ผลการวเิ คราะห์ขอ้ มูล 30
บทท่ี 5 สรปุ อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ 33
บรรณานุกรม 36
ภาคผนวก 38
41



บทที่ 1
บทนำ

1. ความเป็นมาและความสำคญั ของปัญหา

การเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้โดย
ร่วมกันสรา้ งรูปแบบและแนวปฏบิ ัติในการเสริมสรา้ งประสิทธิภาพของการจัดการเรยี นรู้ในศตวรรษที่
21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการ
ดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปล่ียนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจาก
เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st
Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการ
เรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการ และความ
ร้เู ทา่ ทนั ด้านตา่ งๆ เข้าด้วยกัน เพือ่ ความสำเร็จของผเู้ รยี นทัง้ ดา้ นการทำงานและการดำเนินชีวติ

ในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้นัน้ ต้องมีความสัมพนั ธ์ มีขั้นตอนและกระบวนการที่เปน็
ลำดับที่ผู้เรียนสามารถมสี ่วนร่วมกับการเรียนการสอนได้ เช่น การกำหนดปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ การ
ทำกจิ กรรมกล่มุ เพ่ือให้ผู้เรียนสามารถวเิ คราะหแ์ ละสามารถบูรณาการกับรายวิชาอน่ื ๆ ได้ดว้ ยตนเอง
และการสอนที่ถือว่ามีประสิทธิภาพ นั้น ครูต้องมีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สอน
(Instructor) ครูต้องมีลักษณะของผู้ที่สามารถชี้แนะการเรียนรู้ (Learning Coaching) และสามารถ
ทำหน้าทเ่ี ป็นผู้นำนกั เรียนท่องเท่ียวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้ (Learning Travel Agent) ซึ่งบทบาท
ของครูจากยุคสมัยก่อนจำเป็นตอ้ งมีการเปลีย่ นแปลงเม่ือก้าวสู่ยุคแห่งศตวรรษที่ 21 เนื่องจากครใู น
โลกยุคใหม่ต้องมีความรอบรู้มากกว่าการเป็นผู้ดูแลรายวิชาที่สอนเท่านั้น แต่ครูมีบทบาทของการ
เพิม่ พูนความรู้แก่นกั เรียน เสริมสรา้ งทกั ษะทจ่ี ำเปน็ ต่อการประกอบอาชีพ

การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดการเรียนรู้แบบูรณาการองค์ความรู้
โดยมุ่งให้ผู้เรยี นเช่ือมโยงความรู้ ความคิด ทักษะและประสบการณ์ที่มีความหลากหลายและสัมพนั ธ์
กันเป็นองค์รวม เพื่อให้ผู้เรียนเห็นแจ้งรู้จริงในสิ่งที่ศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
สามารถแกป้ ญั หาและถ่ายโยงความรู้ไดอ้ ย่างสรา้ งสรรค์ และมีคุณค่า

จากความสำคัญดังกล่าว ผู้รายงานจึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับวิธีสอนและนวัตกรรมที่จะ
สามารถนำมาชว่ ยพฒั นาความสามารถในการแก้ปัญหาและถ่ายโยงความรู้ท่ีมีคุณภาพให้กับนักเรียน
ซึ่งวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนคือการจัดสภาพแวดล้อมทางการ
เรียน (Learning Environment) ซึ่งหมายถึง สภาวะใดๆ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งทางตรง
และทางอ้อมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม ( Concrete
Environmental) หรือสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ได้แก่ สภาพต่างๆ ท่ี
มนุษย์ทำขึ้น เช่น อาคาร สถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ วัสดุ อุปกรณ์ หรือสื่อต่างๆ รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ตาม
ธรรมชาติ อนั ได้แก่ ต้นไม้ พชื ภูมิประเทศ ภูมอิ ากาศ ในสังคมสารสนเทศ สภาพแวดลอ้ มใหม่เพื่อการ
เรียนรู้ไม่ได้จำกัดเพียงในห้องเรียน หากแต่เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ นวัตกรรมเทคโนโลยีจะมี
บทบาทในการขยายขอบเขตของสภาพการเรียนรู้ทีก่ วา้ งขวางขึ้น และไม่จำกัดในเรื่องของเวลาและ



สถานท่ี เป็นเทคนิคที่ผู้สอนนิยมใช้คู่กับเทคนิคการสอนแบบอื่น ๆ ผู้วิจัยเห็นว่าเทคนิคการสอนที่
นำมาใช้ร่วมกันและส่งผลให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือเทคนิคการสอนแบบผัง
กราฟิก ซึ่งเทคนิคการสอนแบบผังกราฟิกนั้นทำให้นักเรียนได้ฝึกการตีความ การวิเคราะห์ การ
ตัดสนิ ใจ การคิดอยา่ งมวี ิจารณญาณ รวมทง้ั ส่งเสรมิ การคดิ สร้างสรรค์ ซง่ึ จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เมื่อนักเรียนทำคูก่ บั เพื่อน หรือทำเป็นกลุม่ อีกทั้งลักษณะเด่นของเทคนิคผังกราฟิกนั้นเป็นแบบของ
การสื่อสาร เพื่อใช้นำเสนอข้อมูลหรือความรูท้ ี่ไดจ้ ากการรวบรวมอย่างเป็นระบบ มีความเข้าใจง่าย
กระชับ กะทัดรดั ชัดเจน ผังกราฟกิ ไดม้ าจากการนำข้อมูลดบิ หรือความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาทำการ
จัดกระทำข้อมูล ในการจัดกระทำข้อมูลต้องใช้ทักษะการคิด การสังเกต การเปรียบเทียบ การ
แยกแยะ การจดั ประเภท การเรยี งลำดับ การใชต้ ัวเลข การวิเคราะห์ การสร้างแบบแผน จากน้นั จึงมี
การเลอื กแบบผังกราฟกิ เพื่อนำเสนอข้อมูลท่ีจดั กระทำแล้วตามเป้าหมายหรือวตั ถุประสงค์ท่ีผนู้ ำเสนอ
ต้องการ (พมิ พันธ์ เดชะคุปต์, 2544)

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้สิ่งแวดล้อม
ทางการเรียนรู้ออนไลน์ร่วมกับเครื่องมือการสอนคิดซึ่งมีมากมายหลายประการ สามารถใช้ในการ
พฒั นาความสามารถในการแก้ปัญหาและถ่ายโยงความรู้ ของนกั เรยี นชนั้ มัธยมศกึ ษาปีที่ 6 โรงเรียน
โนนหนั วิทยายน ทีย่ งั ไม่สามารถเรียนรู้และสรา้ งองค์ความร้ใู หม่ได้ด้วยตนเอง อีกท้ังขาดทักษะการ
แกป้ ัญหาและการถา่ ยโยงความรู้ซ่ึงถอื เป็นเป้าหมายหลกั ในการเรียน

เพื่อใหก้ ารดำเนนิ การจัดการเรียนการสอนโดยการใช้สงิ่ แวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย
เป็นไปอย่างถูกต้อง การจัดทำแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้ สิ่งแวดล้อมทางการ
เรียนรู้บนเครือข่าย จึงเป็นแหล่งความรู้ที่จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนโดยการใช้สิ่งแวดล้อม
ทางการเรียนรู้บนเครอื ขา่ ย เป็นไปอย่างถกู ต้อง รวดเรว็ เปน็ มาตรฐานเดียวกัน

2. วตั ถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพฒั นาส่ิงแวดลอ้ มทางการเรียนรู้บนเครอื ข่ายรายวชิ า การออกแบบผลิตภณั ฑ์ ของ
นกั เรียนชั้นมธั ยมศกึ ษาปที ่ี 6 โรงเรียนโนนหนั วทิ ยายน

2. เพอ่ื เปรียบเทยี บผลการเรยี นรู้จากการเรยี นด้วยสิง่ แวดล้อมทางการเรยี นร้บู นเครือข่าย
รายวชิ า การออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักเรยี นชัน้ มธั ยมศึกษาปที ่ี 6 โรงเรยี นโนนหนั วทิ ยายนกบั
เกณฑ์ท่ีต้ังไวร้ อ้ ยละ 70
3. นยิ ามศพั ทเ์ ฉพาะ

สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อบน
เครือข่าย ใช้หลักการนำเสนอรูปแบบของบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยนำองค์ประกอบและ
หลักการสำคัญของทฤษฏคี อนสตรัคติวิสต์ ไดแ้ ก่

1. สถานการณป์ ญั หา (Problem Base)
2. แหล่งเรยี นรู้ (Resource)
3. ฐานการช่วยคิด (Scaffolding)
4. การโคช้ (Coaching)
5. การรว่ มมอื กนั แก้ปัญหา (Collaboration)



ประสิทธิภาพของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือขา่ ย หมายถึง ผลการวิเคราะหค์ วาม
สอดคลอ้ งของส่งิ แวดลอ้ มทางการเรียนรบู้ นเครือข่าย ของผเู้ ชย่ี วชาญ

ผลการเรียนรู้ หมายถึง คะแนนจากการประเมินชิ้นงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกิดจาก
การใชส้ ิง่ แวดลอ้ มทางการเรยี นรู้บนเครือขา่ ย รายวชิ าออกแบบผลติ ภณั ฑ์

4. วธิ ีดำเนินการ
1. ประชากรและกลุ่มตัวอยา่ ง
ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน

โนนหันวิทยายน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่นสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ภาคเรยี นท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564 จำนวน 1 หอ้ งเรียน จำนวนนกั เรยี น 14 คน

2. ตัวแปร ตวั แปรที่ใช้ในการศึกษาคน้ คว้ามีดังนี้
2.1 ตัวแปรทศี่ ึกษาคอื ส่ิงแวดล้อมทางการเรียนรบู้ นเครอื ขา่ ย
2.2 ตวั แปรตาม คอื
1) ผลการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์จากการใช้สิ่งแวดล้อมทางการ

เรียนรู้บนเครอื ขา่ ย

5. ประโยชนข์ องการพฒั นา
1. ทำให้ทราบผลการใชส้ ิ่งแวดล้อมทางการเรยี นรบู้ นเครอื ข่าย
2. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้บนเครือข่ายให้สอดคล้องกับสถานการณ์

ปัจจบุ ัน

บทที่ 2
เอกสารและวรรณกรรมทเี่ กี่ยวขอ้ ง

ผู้วิจัยได้รวบรวมหลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเรียนแบบร่วมมอื โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดรว่ มกับเครื่องมือการ
สอนคิด และเอกสารงานวจิ ยั ท่เี กย่ี วข้อง ผูว้ ิจยั ไดแ้ บง่ เป็นหวั ข้อดงั นี้

1. สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย
2. การเรียนรู้บนเครือข่าย
3. ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียน



1. สง่ิ แวดลอ้ มทางการเรยี นรบู้ ทเครอื ข่าย
จากการศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ พบว่า นักการศึกษาทาง

ทฤษฎีคอนสตรคั ติวสิ ต์ ได้เสนอแนะวธิ กี ารท่ีจะนำไปสู่ประโยชน์ทางการเรียนรทู้ ี่เพ่มิ ข้นึ โดยการนำ
เทคโนโลยีการศึกษาเข้าประสานร่วมกับหลักการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอน
สตรัคติวิสตเ์ พอ่ื นำไปส่กู ารเรยี นร้ทู ม่ี ีประสิทธิภาพดงั เช่นรูปแบบท่จี ะนำเสนอดังต่อไปน้ี

1. หลักการพ้นื ฐานในการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรคั ติวสิ ต์
การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ได้นำหลักการที่สำคัญของกล่มุ

แนวคิด Cognitive Constructivism และ Social Constructivism มาใช้ในการออกแบบดังมี
องค์ประกอบ ทสี่ ำคัญ ดังน้ี

1) สถานการณ์ปัญหา(Problem Based)มาจากพื้นฐานของ Cognitive
Constructivism ของเพียเจต์ ที่เชื่อว่า ถ้าผู้เรียนถูกกระตุ้นด้วยปัญหา (Problem) ที่ก่อให้เกิด
ความ ขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive Conflict)หรือเรียกว่า เกิดการเสียสมดุลทางปัญญา ผู้เรียน
ต้องพยายามปรับโครงสร้างทางปัญญาให้เข้าสู่ภาวะสมดุล (Equilibrium) โดยการดูดซึม
(Assimilation) หรือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาเข้าสู่สภาวะสมดุลหรือสามารถที่จะสร้าง
ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ หรือเกิดการเรียนรู้นั่นเอง ในสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นนั้น
สถานการณ์ปัญหาจะเปรยี บเสมอื นประตทู ่ีผูเ้ รยี นจะเข้าสู่เนื้อหาทจ่ี ะเรยี นรู้ โดยสถานการณ์ปัญหาที่
สร้างขึ้นอาจจะมีหลายลักษณะ เช่น สถานการณ์ปัญหาเดียวที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่เรียน
สถานการณ์ปัญหาท่ีมีหลายระดบั สำหรับระดับมือใหม่ (Novice) ระดับผู้เชีย่ วชาญ (Expert) หรือ
แบ่งเป็นระดับง่าย ปานกลาง ยาก สถานการณ์ปัญหาที่มีหลายสภาพบริบท ที่ผู้เรียนเผชิญใน
สภาพจรงิ และสถานการณป์ ัญหาทีเ่ ปน็ เรือ่ งราว (Story)

2) แหลง่ เรยี นรู้ (Resource) เปน็ ท่รี วบรวมขอ้ มูล เนอื้ หา สารสนเทศที่ผเู้ รยี นจะ
ใช้ในการแก้สถานการณ์ปัญหาที่ผู้เรียนเผชิญ ซึ่งแหล่งเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ฯ นั้น
ไม่ใช่แหล่งรวบรวมเนื้อหาเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งต่างๆที่ผู้เรียนจะใช้ในการเสาะแสวงหาและค้นพบ
คำตอบ (Discovery) ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ไต้แก่ ธนาคารข้อมูล แหล่งที่เกี่ยวข้องในการ
สร้างความรู้ เช่น ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น เครื่องมือที่ช่วยในการสร้างความรู้ เช่น
อุปกรณใ์ นการทดลอง เป็นต้น

3 ) ฐ า น ก า ร ช ่ ว ย เ ห ล ื อ (Scaffolding) ม า จ า ก แ น ว ค ิ ด ข อ ง Social
Constructivism ของ Lev Vygotsky ที่เชื่อว่าถ้าผู้เรียนอยู่ตํ่ากว่า Zone of Proximal
Development ไม่สามารถเรียนรู้ได้ ด้วยตนเองได้ จำเป็นที่จะได้รับการช่วยเหลือที่เรียกว่า
Scaffolding ซึ่งฐานความช่วยเหลือจะสนับสนุนผู้เรียนในการแก้ปัญหา หรือการเรียนรู้ในกรณีท่ไี ม่



สามารถปฏิบตั ภิ ารกจิ การเรยี นรู้ให้ สำเร็จด้วยตนเองได้ โดยฐานความช่วยเหลืออาจเปน็ การแนะนำ

แนวทาง ตลอดจนกลยุทธต์ า่ งๆ ในการแกป้ ัญหาหรือปฏบิ ตั ภิ ารกิจการเรยี นรู้

4) การโค้ช (Coaching) มาจากพื้นฐาน Situated Cognition และ Situated Learning
หลกั การนไ้ี ดก้ ลายมาเปน็ แนวทางในการจดั การเรียนตามแนวคอนสตรคั ติวสิ ต์ทไ่ี ดเ้ ปลยี่ นบทบาทของ
ครทู ี่ทำหน้าท่ใี นการถา่ ยทอดความร้หู รือบอกความรู้ มาเป็น “การโค้ช” ทีใ่ ห้ความชว่ ยเหลอื การ ให้
คำแนะนำสำหรับผู้เรียนจะเป็น การฝึกหัดผู้เรียน โดยการให้ความรู้แก่ผู้เรียนในเชิงการให้การรู้คิด
และการสร้างปญั ญาซึ่งบทบาทของการโค้ชมเี งอื่ นไขท่ีสำคัญดงั น้ี

4.1) เรยี นร้ผู ้อู ย่ใู นความดแู ลหรือผู้เรยี น จากการสงั เกตด้วยการฟังและการไตถ่ าม
ด้วยความเอาใจใส่

4.2) ควรสอบถามกระด้นความคิดของผู้เรยี น โดยพยายามจัดสง่ิ แวดล้อมทางการ
เรียนรทู้ ่ีกอ่ ใหเ้ กดิ ความขดั แยง้ ทางปญั ญา

4.3) สร้างเส้นทางเป็นเชิงการสืบสวนอย่างมีความหมายต่อผู้เรียนและ พยายาม
สนับสนุน ใหผ้ ้เู รียนสร้างเสน้ ทางอยา่ งมีเหตุผลและมคี วามหมายไปส่ผู ู้ฝกึ สอน

4.4) ยอมรับในสติปัญญาผเู้ รยี นและพยายามชว่ ยแก้ไข ปรับปรุงเพื่อให้ ผู้เรียนมี
ความเขา้ ใจในการเลอื กเส้นทางการตัดสนิ ใจหรือเลอื กวิธกี ารที่จะปฏิบตั ิตอ่ ไป

5) การร่วมมือกนั แก้ปัญหา (Collaboration) เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งทีม่ ีส่วน สนับสนุน

ใหผ้ เู้ รยี นได้แลกเปล่ียนประสบการณก์ ับผ้อู น่ื เพอ่ื ขยายมนมองให้แก่ตนเอง การร่วมมือกันแก้ปัญหา

จะสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการคิดไตร่ตรอง (Reflective Thinking) เป็นแหล่งที่เปิดโอกาสให้ทั้ง

ผู้เรียนและผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญ ได้สนทนาแสดงความคิดเห็นของตนเองกับผู้อื่น นอกจากนี้การ

ร่วมมือกันแก้ปัญหายังเป็นส่วนสำคัญในการขยายแนวคิด ปรับเปลี่ยนและป้องกันการเข้าใจที่

คลาดเคลื่อน (Misconception) ที่จะเกดิ ขึน้ ในขณะทเ่ี รียนรู้

2. หลกั การของสิ่งแวดลอ้ มทางการเรยี นรแู้ บบเปดิ (Open Learning Environments

OLEs)

หลักการน้เี ป็นรปู แบบหน่งึ ในการจัดสิง่ แวดลอ้ มทางการเรยี นรูต้ ามแนว คอน

สตรัคติวิสต์ ซึ่งออกแบบและพัฒนาโดย Michael Hannafin เป็นทฤษฎีที่เน้นเกี่ยวกับการคิดแบบ

อเนกนัย (Divergent Thinking) ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ที่จะตอบสนองต่อสง่ิ

เร้า โดยสามารถแสดงออกได้หลายแบบ และหลายวิธี และแนวคิดที่หลากหลาย (Multiple

Perspective) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ที่เป็นการแก้ปัญหา โดยเฉพาะเป็นปัญหาที่มี

โครงสร้างซบั ซอ้ น (Hannafin,1999) ทฤษฎนี จี้ ะชว่ ยสง่ เสริมการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ คือ การสืบเสาะ

ความรู้ของแต่ละบุคคล การคิดแบบอเนกนัย และแนวคิดที่หลากหลาย การกำกับติดตามตนเอง

โดยใช้ Metacognition การเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ประสบการณ์ตรงและ

ประสบการณ์เชิงรูปธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริง ปัญหาที่เกี่ยวข้อง และการจัดหาเครื่องมือ



แหล่งทรัพยากรที่จะช่วยส่งเสริม ให้เกิดความพยายามในการเรียนเของผู้เรียน หลักการสำคัญของ
การจดั ส่ิงแวดลอ้ มทางการเรียนรแู้ บบเปดิ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ ไดแ้ ก่

1) การเข้าสู่บริบทเป็นพาหนะที่เหมาะสมซึ่งแตล่ ะคนจะได้รับคำแนะนำทีเ่ ป็น ความ
ต้องการหรือปัญหา และการอธิบายแนวคิด การเข้าสู่บริบทจะแนะแนวผู้เรียนเกี่ยวกับการรู้จำ
(Recognition) หรือ การสร้างปัญหาทีก่ ำหนดให้และการสร้างกรอบความตอ้ งการในการเรียนรู้ ซึ่งมี
รูปแบบพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ Externally Imposed, Externally Induced, Individually
Generated

1.1) Externally imposed (บริบทการเรียกร้องจากภายนอก) จะช่วยให้เกิด
ความกระจ่างเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่คาดหวัง เกี่ยวกับความพยายามของผู้เรียน และมีการแนะแนวทาง
อยา่ ง ชดั เจนเกย่ี วกบั การเลือกและการใชก้ ลยุทธ์ Externally Imposed มกั จะถูกนำเสนอในรูปของ
ปัญหาที่เหมาะสมหรือคำถามที่มีการจัดเรียบเรียง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนในการอ้างอิง หรือ
เชื่อมโยงไปยงั ลักษณะทีเ่ กย่ี วขอ้ งกบั ประสบการณข์ องตนเอง

การเข้าสู่บริบทแบบ Externally imposed ได้มีการศึกษาและรายงานผล กัน
อย่างมากมาย เช่น เรื่อง Great Sola System Reseue’s (1992) เป็นการนำเข้าสู่บริบทที่จัดให้
ผู้เรียน โดยกำหนดบทบาทสมมติให้ผู้เรียนเป็นนักธรณีวิทยา ซึ่งยานอวกาศไต้ถูกทำลายอยู่บนดาว
เคราะห์ ดวงหนึ่ง ผู้เรียนได้รับเงื่อนของปัญหา ที่ท้าทายให้ผู้เรียนตัดสินว่าการแตกร้าวของดาว
เคราะห์อยูจ่ ุด ใด ซึ่งเป็นภารกิจที่ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาใหไ้ ด้ การเข้าสู่บริบท Externally Imposed
และทักษะที่ ตอ้ งการให้เกิดกจ็ ะถูกนำไปใช้

1.2) Externally Induced จะแนะนำผู้เรียนในสว่ นท่ีสำคญั แต่จะไม่ระบุท่ีอยู่
ปัญหาที่เจาะจง ส่วนที่สำคัญของ Externally Induced คือ การเผชิญกับปัญหาจำนวนมากหรือ
ประเด็นที่สามารถสร้างหรือการศึกษาที่ผู้เรียนพึงพอใจ Bransford และคณะ (Cognition and
Technology Group Vanderbilt ,1992) ได้ออกแบบวีดิทัศน์แบบเรื่องสั้น ในเรื่อง The Jasper
Woodbury Problem Solving Series สถานการณ์นั้นเป็นการแนะนำในปัญหาเดียวหรือหลายๆ
ปัญหาที่ปรากฏบริบทของ Externally Induced จะแนะนำกรอบของเหตุผลเกี่ยวกับกรอบของ
ปัญหาหรือประเด็นซึ่งจะชักชวนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ผู้เรียนจะตีความเกี่ยวกับบริบทอย่างมี
ความหมาย สร้างปัญหายอ่ ย ๆ และกำหนดกลยทุ ธ์ ซ่งึ จะขน้ึ อยู่กับการตคี วามหมายของแต่ละบุคคล
เกี่ยวกับการนำเข้าสู่บริบท (Enabling Contexts) Jacobson, Sugimoto และ Archodiou’s
(1996) ทำการศึกษาเรือ่ ง Thematic Investigator Employed Specific Case of Evolutionary
Biology (ตัวอย่าง,the peppered mount, rabbits in Australia) เพื่อที่จะจัดหาบริบทที่
หลากหลายสำหรับการเรียนเร่ืองที่ซบั ซ้อนใน Darwinian ทางเลอื กของบริบทจะชกั จูงผู้เรียนในการ



คิดที่มีความแตกต่างกัน (Think differently) เกี่ยวกับความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความ
ซบั ช้อนและเปน็ โครงสรา้ งทม่ี ีความสมั พันธ์สลบั ซับซอ้ น เช่น ความหลากหลายของประชากรและการ
คดั เลอื กโดยธรรมชาติ ตัวอย่างน้ี ผูเ้ รียนจะได้รับแนวคิด และบรบิ ททเ่ี ป็นทางเลือกท่ีจะช่วยกระตุ้น
ความรู้เดิมที่เกี่ยวข้อง ประสบการณ์ท่ีมีมากอ่ นและทกั ษะที่เกี่ยวขอ้ งกับปญั หาซึ่งช่วยผู้เรียนในการ
สร้างกลยทุ ธ์ท่ีมศี ักยภาพ

1.3) Individually-generated เป็นการเข้าสู่บริบทที่ผู้เรียนแต่ละคนสร้างขึ้น
เองซึ่งเป็นบรบิ ทที่ลกั ษณะเฉพาะท่ไี ม่สามารถออกแบบมาลว่ งหน้าได้ ผเู้ รียนด้องสร้างการเขา้ สบู่ ริบท
บนพืน้ ฐานความด้องการและกรณีแวดล้อมมาเปน็ หนว่ ยรวม ดังตัวอยา่ ง เกษตรกบั การกำหนดวิธกี าร
และการบำรุงรักษาให้ผักมีความเจริญเติบโต ซึ่งจำเป็นต้องมีความเข้าใจในหลายๆส่วน เช่น พื้นท่ี
เพาะปลูก (ปุ๋ย เครื่องมือทางการเกษตร นอกจากนี้แล้วยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย และผลิตที่ได้
ตลอดจน การบริหารจัดการธุรกิจอีกด้วย เพื่อแก้ปัญหาลดปัญหาความเสยี หายเกี่ยวกับผลผลิต ใน
กรณีนี้การเข้าสู่บริบทแบบ Individually-generated ผู้เรียนต้องกำหนดกรอบการเข้าสูบ่ ริบทตาม
ความต้องการในการเรียนเกี่ยวกับบริบทการชักชวน ซึ่งต้องสร้างบริบทที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้
ทกั ษะ และประสบการณ์ในกรอบปญั หาและประเด็นตา่ งๆทนี่ ำไปสู่การแนะกลยุทธ์ในการแกป้ ญั หา

2) แหล่งทรพั ยากร (Resources)
แหล่งทรัพยากรเป็นแหล่งรวมวัสดุต่าง ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ แหล่ง

ทรัพยากรเป็นได้ตั้งแต่สื่ออิเลก็ ทรอนิคส์ (เช่น ฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์แบบการสอน และ วีดิทัศน)์
จนกระทั่ง สื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น หนังสือ ตำรา แหล่งข้อมูลทั่วไป บทความในวารสาร) รวมถึง บุคคล
(เช่น ผู้เชี่ยวชาญ พ่อแม่ ครู และกลุ่มเพื่อน) สื่อบนเครือข่ายเป็นที่รวบรวมแหล่งทรัพยากรท่ี
หลากหลายและแพรห่ ลายมากที่สดุ และสามารถชว่ ยใหเ้ ขา้ ถึงข้อมูลได้กจ็ ริง แต่สมรรถนะที่เกยี่ วข้อง
กับแหล่งทรัพยากรที่หามาได้ค่อนข้างที่จะยากสำหรับแต่ละคนในการด้นหา (Hill, Hannafin,
1997) ขณะที่สื่อบนเครือข่ายบรรจุแหล่งของเนื้อหาจำนวนเป็นล้านๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ
ศักยภาพของสื่อบนเครือข่าย การใช้สื่อบนเครือข่ายเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับ OLEs มีข้อจำกัด
เกย่ี วกับการใหเ้ นอ้ื หาท่ชี ัดเจน ยากต่อการเขา้ ถงึ แหล่งเนือ้ หาหรอื ยากต่อการใชง้ านหรือทงั้ สองอย่าง
การใช้แหล่งทรัพยากรถูกกำหนดโดยความเก่ียวเนือ่ งของการเช้าสู่บรบิ ทและระดบั การเขา้ ถึงแหลง่
ทรพั ยากรของผเู้ รียน สว่ นทม่ี คี วามเกี่ยวขอ้ งอย่างมากของแหล่งทรพั ยากร คือ เป้าหมายการเรียนรู้
ของแตล่ ะคนและความสามารถในการเชา้ ส่แู หล่งทรพั ยากรยง่ิ มีมากเทา่ ใด ก็ย่งิ ทำใหม้ ีการใชเ้ พิ่มมาก
ขึ้น OLEs ทำการขยายลักษณะการใช้งานแหล่งทรัพยากรที่หาได้ ซึ่งช่วยในการจัดแหล่งข้อมูล ซ่ึง
สำรองไวเ้ ปน็ พเิ ศษ ในการเขา้ สู่ข้อมูลอยา่ งกวา้ งขวางโดยอาศัยเคร่อื งมอื (Applications) ของ OLEs
ในบางกรณีแหล่งทรัพยากรที่หาได้ อาจเป็นสิ่งที่สนับสนุนเพ่ิมเติม หรือขยายด้วยแหล่งทรัพยากร



ใหมบ่ นพ้ืนฐานทเี่ หมาะสมกบั แหลง่ วสั ดุเนื้อหาท่ีให้ไว้ในการเขา้ สบู่ ริบทของ OLEs อาจกลา่ วงา่ ยๆได้
ว่า แหล่งทรัพยากรอาจเป็นได้ทั้ง แหล่งที่คงที่ (Static) หรือแหล่งที่เป็นพลวัตร (Dynamic) แม้ว่า
การเพิ่มขึ้นของแหล่งทรัพยากรที่มีความเป็นดิจิตอล จะสะท้อนคุณสมบัติของทั้งแหล่งที่คงที่และ
แหล่งทีเ่ ป็นพลวตั ร

2.1) แหล่งทรัพยากรที่คงท่ี (Static Resources)
แหล่งทรัพยากรที่คงที่มักจะเป็นแหล่งของสารสนเทศที่เนื้อหาที่ใช้

ไม่ค่อยมีความเปลี่ยนแปลง แหล่งทรัพยากรท่คี งท่ีจะบรรจุสารสนเทศ ซง่ึ มีเสถยี รภาพอย่างมากใน
ทุกช่วงเวลา อีกทั้งเป็นเนือ้ หาท่ีไม่เปล่ียนแปลงอย่างเชน่ รูป ภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น
บางแหล่งทรัพยากรสามารถจัดหาไดโ้ ดยผ่านเทคโนโลยี และไม่สามารถปรับเปลีย่ นเนื้อหาได้ เช่น
เนื้อหาสาระ ต่างๆใน CD-ROM ตำรา มัลติมีเดีย หนังสือ และสารานุกรมอิเล็กทรอนิคส์
ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูล ของ The Visible Human (National Library of Medicine, 1996) จะ
บรรจุภาพสไลดท์ ่ีมีความละเอียด กราฟิก ภาพยนตร์ดจิ ติ อล เกีย่ วกบั สรรี ะของรา่ งกายเป็นจำนวน
หนึ่งพันชุด ซึ่งสามารถนำมาใช้ตาม หลักวิชาได้อย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกันกับฐานข้อมูลของ
NASA และที่ห้องสมุดแห่งชาติของสภานิติบัญญัติอเมริกา การแปลความหมายและการทำความ
เข้าใจของผู้เรียนที่มีการพัฒนาขึ้นนั้น อาจจะมีการพิจารณาได้จากการเข้าไปศึกษาที่แหล่งข้อมูล
เหลา่ น้ีอยา่ งซา้ํ แล้วซํ้าอีก แตเ่ ปน็ เนอ้ื หาสาระของแหล่งทรัพยากรนี้ยงั คงไม่เปลี่ยนแปลง

2.2) แหล่งทรพั ยากรท่ีเปน็ เป็นพลวัตร (Dynamic resources)
เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีการเปลี่ยนแปลง (Dynamic resources) ตาม

ช่วงเวลา และการเข้าสู่ข้อมูลใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าสู่แหล่งทรัพยากรเดิมแต่ได้
ผลลัพธ์ที่แตกต่าง ตัวอย่างที่เป็นแหล่งทรัพยากรที่เป็นพลวัตร (dynamic resources) เช่น
ฐานข้อมูล วชิ าภูมศิ าสตร์ท่ีสร้างโดยกรมอุตุนิยม ซ่งึ สร้างมาจากฐานข้อมลู ทางสภาพภูมิอากาศ ท่ีมี
การ เปลี่ยนแปลงอยา่ งต่อเนือ่ งและตลอดเวลา ซึง่ ฐานข้อมูลเหล่านจ้ี ะขนึ้ อยกู่ ับความตอ้ งการ

ตวั อยา่ งของ The Human Body (Iiyoshi and Hannafin, 1996) ท่จี ัด
ทั้ง แหล่งทรัพยากรทีค่ งที่และแหล่งทรัพยากรทีเ่ ป็นพลวัตร ซึ่งประกอบด้วย Multimedia Object
ที่หลากหลาย รวมทั้งข้อความต่างๆ เสียงบรรยาย ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ดิจิตอล และแหล่ง
กราฟิก แต่ละแหล่งสามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ และเชื่อมต่อกับแหล่งต่างๆตามความประสงค์ของ
ผู้เรียน นอกจากนี้ข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลง หรือข้อสังเกตต่างๆ หรือ
สารสนเทศที่ต้องการให้ขยายเพิ่มขึ้น สามารถเสนอแนะ หรือแนบเข้าไปกับแหล่งทรัพยากรนี้ได้
แหล่งทรัพยากรก็ยังคงอยู่แบบเดิม แต่การทำงานที่เป็นพลวัตรสามารถที่จะดำเนินต่อไปอย่าง
ต่อเนื่องเมื่อผู้เรียนเพิ่มสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเข้ามา หรือปรับปรุงแก้ไข และตอบสนองกับความ



ตอ้ งการของผู้เรยี น Honebeinn (1996) Lab design project ผู้เรียนสามารถเข้ามาสู่ศนู ย์วจิ ัยทาง
ชีววิทยาเข้าไปสู่ห้องปฏิบัติการที่ต้องการ ค้นหารายละเอียดของเครื่องมือการทดลองที่ต้องการ
งานวิจัยที่เก่ียวข้อง แหล่งทรัพยากรอาจมีลักษณะทีค่ งที่ แต่ในทางปฏิบตั ิสามารถที่จะเอื้อต่อการ
จัดคำถามการวิจัยตลอดจนชี้แนะให้ผู้เรียนสร้างการเชื่อมต่อระหว่างแหล่งต่างๆ อีกทั้งเสนอแนว
ทางการพิสูจนไ์ ปสคู่ ำตอบของปัญหานน้ั ๆ

3) เครื่องมอื (Tool)
เครอื่ งมอื เปน็ ส่ิงที่จัดเปน็ สอ่ื กลางหรือวิธกี าร ซ่ึงทำใหผ้ ู้เรียนเกิดความใส่ใจ และลงมือ

กระทำกับแหล่งการเรียนรู้และแนวคิดของตนเอง อย่างไรก็ตามองค์ประกอบของเครื่องมือจะแบ่ง
ตามการเข้าสบู่ รบิ ทของ OLEs และเจตนาของผใู้ ช้ ซึ่งเครือ่ งมอื ทางเทคโนโลยชี นิดเดียวกัน สามารถ
ท่จี ะสนบั สนนุ การทำงานที่แตกตา่ งกนั เครื่องมอื ไมใ่ ช่ส่ิงท่ีจะสนบั สนุนกิจกรรมทางพุทธิปัญญาหรือ
ทักษะ แต่อาจเป็นตัวกลางซึ่งจะสนับสนุนเพิ่มพูนหรือขยายการคิด เครื่องมือเป็นสิ่งที่จัดพาหะ
สำหรับการนำเสนอและจัดกระทำกับความคิดรวบยอดหรือแนวความคิดที่ซับซ้อนที่เ ป็นนามธรรม
ในรูปแบบท่ีสามารถสมั ผัสหรอื เป็นรูปธรรม ตวั อย่างของเครื่องมอื ท่ีใช้ใน OLEs ไดแ้ ก่1) เครื่องมือ
กระบวนการ (Processing Tool) ซึ่งช่วยสนับสนุนการทำงานที่มีการเชื่อมโยงกับรูปแบบการ
ประมวลสารสนเทศในกระบวนการรูค้ ิดของมนษุ ย์ เช่น เครื่องมือช่วยค้นหา เคร่ืองมือสำหรับเกบ็
รวบรวม เคร่ืองมอื จดั หมวดหมู่ 2) เครื่องมอื ท่ใี ชจ้ ดั กระทำ (Manipulation Tool) เป็นเคร่ืองมือที่
ใชท้ ดสอบความตรง (Validity) การอธิบายเก่ยี วกับความเชอ่ื หรอื ทฤษฎที ี่มมี าก่อน และ 3) เครอื่ งมือ
สื่อสาร (Communication Tool) ที่เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างผู้เรียน ครูและ
ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการทำงานที่มีการเชื่อมโยงกับรูปแบบการประมวลสารสนเทศใน
กระบวนการรู้คิดของมนุษย์

4) ฐานการช่วยเหลือ (Scaffolding)
ฐานการชว่ ยเหลือเป็นกระบวนการซง่ึ ความพยายามในการเรยี นร้จู ะไดร้ ับการสนับสนุน

ในขณะที่เข้าสู่ OLEs ฐานความช่วยเหลือสามารถที่จะแยกความแตกต่างโดยกลไกการทำงานและ
ระบบการทำงานทางด้านกลไกจะเนน้ วิธีการหรือหลักการ ซงึ่ ฐานความชว่ ยเหลอื นำเสนอในขณะที่
ระบบการทำงานจะเน้นวัตถปุ ระสงค์แต่ละคนพยายามแก้ปัญหาทั้งที่เป็นปัญหาที่เหมาะสม หรือ
ความต้องการในการเรียนรู้ของแต่ละคน ความซับซอ้ นของ Scaffolding จะแปรผนั ตามการกำหนด
หรือสร้างปัญหา และความต้องการของการสร้างการเข้าสบู่ ริบท วิธกี ารของ Scaffolding สามารถ
ที่จะเชื่อมโยงกับขอบข่ายภายใต้สิ่งที่ศึกษาเมื่อการเข้าสู่บริบทเป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลจะสร้างขึ้น
Scaffolding ที่มีลักษณะทั่วไปจะได้รับการนำเสนอ OLEs Scaffolding อาจจะไม่ไดเ้ ลือนจางไปใน
ฐานะที่ประสบผลสำเร็จในการเอื้ออำนวย ในการ Externally Impose หรือ Induced ซึ่งผู้เรียน

๑๐

สามารถให้เหตุผลในส่งิ ทพี่ วกเขาสร้างขนึ้ มาไต้ ในกรณที ่ใี ชเ้ ป็นรายบุคคล ซึง่ โดยธรรมชาติของการ
ใช้และความต้องการของผู้เรยี น ไม่สามารถสรา้ งไว้ล่วงหนา้ ได้ Scaffolding แบบเดิมยังคงจัดหาให้
ได้ แต่ว่าการใช้ Scaffoldingพบว่ามคี วามถก่ี ารใชน้ ้อยลงเมื่อผู้เรยี นไดร้ บั ความสะดวกเพิ่มขน้ึ

4.1) ฐานความช่วยเหลือการสร้างความคิดรวบยอด (Conceptual
Scaffolding) จะถูกจดั หามาให้ผเู้ รียน เมอ่ื ปัญหาท่กี ำลงั ศกึ ษาไต้ถูกกำหนดขนึ้ นัน่ ก็คือ Externally
Impose หรือการนำเข้าสู่บริบท เมื่อปัญหาและขอบข่ายถูกกำหนดขึ้นน้ัน อาจเป็นไปได้ที่ต้องใช้
หลักการทต่ี อ้ งเรียนมาก่อน และจำเป็นตอ้ งรู้ในขอบข่ายเนอ้ื หาทตี่ ้องการศกึ ษา ดงั นั้น Conceptual
Scaffolding จงึ เป็นสิง่ ทอี่ อกแบบมาเพอ่ื ชว่ ยผเู้ รียนในการใหเ้ หตุผล และแนะแนวผเู้ รยี นเก่ียวกับสิ่ง
ที่ควรจะนำมาพิจารณา นั่นคือจะต้องจำแนกความรู้ที่เป็นความคิดรวบยอดที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับ
ปญั หาหรือการสรา้ งโครงสร้างท่ีจะแยกไปสู่การจัดหมวดหมู่ของความคดิ รวบยอด โครงสร้างนี้ อาจ
เป็นการจัดลำดับความสมั พนั ธ์ โดยใชภ้ าพกราฟิกแสดงความคดิ เห็น หรือการแสดงเปน็ เคา้ โครงของ
ลักษณะที่แยกเป็นส่วนย่อย หรืออาจเป็นสารสนเทศหรือการบอกใบ้โดยผู้เชี่ยวชาญ ใน OLEs
Conceptual Scaffolding จะจดั เตรียมแนวคิดท่ีหลากหลายที่เป็นปญั หาท่ีเก่ียวขอ้ งกับความคิดรวบ
ยอดที่จะศึกษา อาจไม่ได้เป็นการแนะนำเกี่ยวกบั แหล่งทรัพยากรอยา่ งชัดเจน แต่เป็นการนำเสนอ
ตัวอย่างของสงิ่ ทค่ี วรจะตอ้ งพิจารณาเกีย่ วกบั การแกป้ ญั หาดังกล่าว

4.2) ฐานความชว่ ยเหลือเก่ยี วกับการรู้คิด (Meta cognitive Scaffolding)
เป็นฐานการช่วยเหลือท่ีสนับสนุนเกี่ยวกบั กระบวนการที่เกี่ยวข้องกบั การจัดการเกี่ยวกับการเรยี นรู้
ของแต่ละคน ฐานนี้จะจัดการแนะแนวสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิธีการคิดในระหว่างการเรียนรู้ Meta
cognitive Scaffolding สามารถที่จะเป็นได้ทั้งลักษณะเฉพาะ (Domain Specific)เช่น การเข้าสู่
บริบทที่เป็นการ แนะนำ (Induced) หรืออาจเป็นการเข้าสู่บริบทที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ซึ่ง Lin
(1995) ได้กล่าวว่า สิ่งแวดล้อมของการบูรณาการความรู้ (Knowledge Integration
Environments) (KIE) เป็นตวั อยา่ งทมี่ ีการจัดการสนับสนนุ ของ Meta cognition (คอื การรู้เก่ียวกับ
การร้คู ดิ ของตนเอง) ซึง่ สนับสนนุ ใน รูปแบบของการเสนอแนะจากภายนอก (Externally Induced)
ที่เป็นสถานการณ์ทีเ่ ป็นปญั หาที่ผู้เรียน พยายามที่จะสร้างโมเดลของปรากฎการณ์ทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการของการสืบเสาะที่เป็นฐาน ของการช่วยเหลือ จะช่วยผู้เรียนในการพิจารณาเกี่ยวกับ
วธิ ีการที่จะต้องรู้เกีย่ วกบั การรเิ ร่มิ เปรยี บเทียบและปรับปรงุ เก่ียวกบั ความรู้ทก่ี ำลงั เรยี น

Meta cognitive Scaffolding อาจเป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้เรียน
สะท้อน เป้าหมาย หรือบอกให้เชื่อมโยงไปสู่แหล่งทรัพยากรที่มี หรือเครื่องมือที่ช่วยเมื่อได้ทราบ
บริบทจัดกระทำกับปญั หาหรือความจำเป็นในทางปฏิบัติของปัญหา ดังเช่น โครงการ KIE ที่ว่า แสง
จะเดินทางไดไ้ กลเท่าไร และความช่วยเหลือในการสบื เสาะสามารถออกแบบมาเพื่อที่จะเป็นวิธีการท่ี

๑๑

เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษา (ตัวอย่างเช่น คุณจะต้องใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น น้อยลง จำนวน
เท่ากับที่จะสามารถมองเห็นจากเทียนไขหรือการสะท้องแสงที่แสดงจากทะเลสาบอีกฟากหนึ่ง)
ในทางตรงข้าม ฐานความช่วยเหลือที่เกี่ยวกับการสร้างโมเดล ผ่านรูปแบบของภารกิจที่แสดง
ปรากฎการณต์ ่างที่มีองคป์ ระกอบที่แตกต่าง จากตัวอย่างท่ีกล่าวมาในกรณีข้างต้น Metacognitive
Scaffolding จะเนน้ ในกระบวนการสรา้ งโมเดล รวมถงึ ค้นหาวธิ กี ารเชอื่ มโยงโมเดลกับความรเู้ ตมิ ท่ีมี
มาก่อนและประสบการณ์ เชื่อมโยงรูปแบบของการทำความเข้าใจ และกระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือ
กระทำกับแนวคิดผา่ นเครอ่ื งมือ

4.3) ฐานความช่วยเหลือกระบวนการ ( Procedural Scaffolding) เป็น
วิธีการใช้แหล่งทรัพยากรที่มีและเครื่องมือ จะเกี่ยวข้องกับลักษณะของระบบและการทำงาน
นอกจากนี้ยังช่วยแนะนำผู้เรียนในขณะเรยี นรู้ ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนไม่ไต้รับการปฐมนิเทศเก่ยี วกบั
ส่ิงแวดล้อมทางการเรียนรู้ Procedural Scaffolding จะชว่ ยจัดหาส่วนที่เสนอแนะวิธกี ารกลับมายัง
ตำแหน่งที่ต้องการ วิธีการที่จะระบุตำแหน่งของแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการ รวมถึงการใช้
เครือ่ งมือท่จี ัดไวใ้ ห้

4.4) ฐานการชว่ ยเหลือดา้ นกลยทุ ธ์ (Strategic Scaffolding) เปน็ วธิ ีการที่
เน้นเกี่ยวกับวิธีการที่เป็นทางเลือก ที่อาจเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ Strategic
Scaffolding จะสนับสนุนการคิดวิเคราะห์ การวางแผนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ การตัดสินใจระหวา่ ง
การเรียนรแู้ บบเปิด จะเนน้ เกยี่ วกับวธิ กี ารสำหรบั ระบแุ ละเลอื กสารสนเทศท่ีตอ้ งการ ประเมินแหล่ง
ทรัพยากรท่ีจดั หาได้ และเชื่อมความเกีย่ วพนั ระหว่างความรู้ทีม่ มี าก่อนและประสบการณ์ กลยุทธ์
อื่นๆ ของ Strategic Scaffolding จะไปกระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวกับเครื่องมือและแหล่งทรัพยากรที่
อาจจะมีประโยชนภ์ ายใต้สถานการณน์ ้ันและแนะแนวทางการใช้ อาจเป็นการจดั ขอ้ คำถามท่ีจะช่วย
ในการพิจารณาในขณะที่ทำการประเมินปัญหาเช่นเดียวกับการบอกใบ้ว่าเครื่องมือหรือแหล่ง
ทรัพยากรใดมีสารสนเทศทตี่ ้องการในการแกป้ ัญหา

จากการศึกษาหลักการของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเปิด (Open
Learning Environments ะ OLEs) จะพบว่า จุดเด่นของ OLEs คือ การเน้นเกี่ยวกับการคิดแบบ
อเนกนัย (Divergent Thinking) ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ที่จะตอบสนองต่อส่งิ
เร้า โดย สามารถแสดงออกได้หลายแบบ และหลายวิธี และแนวคิดที่หลากหลาย (Multiple
Perspective) ซึ่ง เหมาะสมกับการเรียนรู้ที่เป็นการแก้ปัญหา โดยเฉพาะเป็นปัญหาที่มีโครงสร้าง
ซับซ้อน ซึ่งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ด้านตา่ งๆ เช่น การสืบเสาะความรู้ของแต่ละบุคคล การคิดแบบ
อเนกนยั และแนวคิดที่หลากหลาย การกำกับติดตามตนเองโดยใช้ Metacognition การเรียนรู้โดย
ผ่านประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ประสบการณ์ตรงและประสบการณ์เชิงรูปธรรมที่เกี่ยวข้องกับ

๑๒

ความเป็นจริงปัญหาที่เกี่ยวข้อง โดยมีเครื่องมือ (Tool) เป็นสื่อกลางหรอื วิธีการซึ่งทำให้ผู้เรียนเกดิ
ความ ใส่ใจและลงมือกระทำกับแหล่งการเรียนรู้และแนวคิดของตนเอง แหล่งการเรียนรู้ซึ่งเป็นทั้ง
แหลง่ เรยี นรู้แบบคงที่และแบบพลวัตรจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรยี นขยายขอบเขตของการคิด รวมท้ังการ
จัดฐานความช่วยเหลือใหแ้ ก่ผู้เรียนจะช่วยสง่ เสริมให้เกดิ ความพยายามในการเรียนรู้

3.3.3 การออกแบบสิ่งแวดลอ้ มทางการเรียนร้ตู ามหลกั การ Constructivist Learning
Environments : CLEs

David H. Jonasson (1999) ไดเ้ สนอแนะหลักการออกแบบส่ิงแวดลอ้ มทางการ
เรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ที่เรียกว่า Constructivist Learning Environments : CLEs ซึ่งมุ่ง
ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาความคิดรวบยอดที่เกิดจากสถานการณ์ปัญหาที่มี
ความยุ่งยากซบั ช้อน โดยการเรียนรู้เกดิ จากปัญหา คำถาม กรณี หรือโครงสร้างที่มีความซับช้อน
ปัญหาหรือจุดประสงค์การเรียนรู้เกิดจากตัวผูเ้ รียนเอง การเรียนการสอนที่เกิดจากประสบการณ์ที่
อำนวยความสะดวกตอ่ การสร้างความรู้ การเรียนร้มู คี วามตนื่ ตวั และเนน้ สภาพจรงิ ซ่งึ มอี งค์ประกอบ
หลัก 6 ประการ ได้แก่

1) คำถามกรณีปัญหาหรือโครงงานจุดมุ่งหมาย(Question/Problem/ Project)
จดุ มงุ่ หมายของ CLEs คือ ปัญหาที่ผเู้ รยี นพยายามจะแก้ ซงึ่ ใชป้ ัญหาเป็น

แรงผลักตันให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งต่างจากการสอนแบบ Objectivist หรืออาศัยพื้นฐานของทฤษฎี
พฤตกิ รรมนิยมทใ่ี ช้การลงมอื กระทำกับตัวอยา่ งทเ่ี ปน็ หลักการความคดิ เดิม ผูเ้ รยี นจะได้เรียนรู้บริบท
ในระตับที่ใช้แก้ปัญหามากกว่าการประยุกต์ความรู้ในการแก้ปัญหา ซึ่งปัญหาที่จัดไว้นั้นควรมี
โครงสร้างทีซ่ ับช้อน ปญั หาทอ่ี อกแบบใน CLEs นั้นจะรวม 3 องคป์ ระกอบ คอื บรบิ ทของปัญหาการ
นำเสนอปัญหาหรือการจำลองปัญหา และพื้นท่ีสำหรบั ลงมือแกป้ ญั หา

2) กรณที ี่เก่ยี วข้อง (Related Case)
การเข้าใจในแต่ละปัญหานั้นเป็นการกระตุ้นประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหา

นั้น ๆ และสร้างรูปแบบความคิดเกี่ยวกับปัญหา ในกรณีที่ผู้เรียนมีประสบการณ์นอ้ ยจึงเป็นการยาก
ในการแก้ปัญหา ตังนั้น CLEs จึงจัดให้มีการเข้าถึงประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ซึ่งผู้เรียน
สามารถนำมาอา้ งองิ ได้ จุดประสงคเ์ รม่ิ ต้นของการอธบิ ายกรณที ี่เกย่ี วขอ้ ง คอื เพือ่ ใหผ้ เู้ รียนได้เข้าใจ
ประเด็นของปัญหาได้ชัดเจน ซึ่งช่วยสนับสนุนผู้เรียนใน 2 ทาง คือ ช่วยให้ผู้เรียนจดจำได้ดี และ
กระตนุ้ ให้ผู้เรียนเกดิ ความยดื หยุ่นทางปัญญา

3) แหล่งขอ้ มูล (Resource)
ในการที่จะตรวจสอบปัญหาผู้เรียนต้องการข้อมูลที่จะสร้างเป็นรูปแบบใน

๑๓

การทำความเข้าใจ (Mental Model) และจัดกระทำกับสมมติฐานที่ลงมือปฏิบัติแก้ปัญหาในที่ว่าง
(Problem Space) นั้น ตังนั้นในการออกแบบ CLEs ควรที่จะเลือกชนิดของข้อมูลทีผ่ ู้เรียนต้องการ
ใช้ ในการเข้าใจปัญหา ฐานข้อมูลที่หลากหลายเป็นส่วนสำคัญใน CLEs ที่จะจัดให้ผู้เรียนสามารถ
เลือก ข้อมูลได้ในเวลาที่ตอ้ งการ CLEs สันนิษฐานว่าข้อมูลทำให้เขา้ ใจในบริบทของปญั หา หรือการ
ประยกุ ตใ์ ช้ ดังน้ัน จึงต้องตัดสนิ ใจถงึ ฐานข้อมลู ท่ีผู้เรยี นดอ้ งการ ทจ่ี ะใช้แปลความหมายของปัญหา
บางครั้งข้อมูลก็อาจจะอยู่ในการนำเสนอปัญหาฐานข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรที่จะเชื่อมต่อกัน
กลายเป็นสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและภาพเคลื่อนไหวที่เหมาะสมตอ่ การ
ชว่ ยเหลอื ผูเ้ รียนในการแก้ปัญหา

เวิล์ด ไวด์ เว็บ (World Wide Web) เป็นสื่อที่สามารถรวบรวมนำเสนอ
ข้อมูล สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มีลักษณะสื่อประสม
(Multimedia) จาก อินเทอร์เน็ตมีการเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ (Web
Site) ตา่ งๆได้เม่อื ผู้เรยี น ไมม่ คี วามชำนาญในการกลนั่ กรองขอ้ มูลที่จัดไว้ CLEs ควรจะมีการจัดการ
กับข้อมูลที่สะดวกต่อการสืบค้นเพื่อที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดที่ต้องการ ซึ่งขืนอยู่กับ
โครงสรา้ งทางกจิ กรรมทช่ี ว่ ยสนับสนนุ การแก้ปัญหาสำหรับผู้เรียนท่ียังไมค่ ้นุ เคยต่อ CLEs เวลิ ด์ ไวด์
เว็บ มีจุดอ่อนที่จะทำให้ผู้เรียนเสียสมาธิจากการแก้ปัญหาและหลงทางอยู่กับการสืบค้นบนเว็บที่มี
มากมายภายในเว็บไซตน์ ั้น

4) เคร่อื งมอื ทางปัญญาในการสร้างความรู้ (Cognitive Tool)
เครื่องมือทางปัญญา ช่วยเหลือด้านความสามารถของผู้เรียนในการปฏิบัติ

ภารกิจ ซึ่งประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอปัญหาหรือภารกิจ 2) เครื่องมือจำลอง
ความรู้ที่เป็นพลวัตรและความรู้คงที่ 3) เครื่องมือที่สนับสนุนความสามารถในการแก้ปัญหา ซ่ึง
ท้ายสุดเครื่องมือทางปัญญาจะช่วยผู้เรียนเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศสำคัญที่จำเป็นต่อการ
แก้ปัญหาในแต่ละชนิดของเครื่องมือทางปัญญาและนำเสนอกิจกรรมทางปัญญา ดังนั้น จึง
จำเปน็ ต้องเลอื กอย่างระมัดระวงั เพอื่ ทีจ่ ะสนับสนนุ การดำเนินงานทจ่ี ำเป็นดังกลา่ ว

5) เคร่ืองมอื ในการสนทนาและการรว่ มมือกนั แก้ปัญหา
ป ั จ จ ุ บ ั น ค ว า ม ค ิ ด ห ล ั ก ข อ ง ก า ร ใ ช ้ เ ท ค โ น โ ล ย ี ใ น ก า ร ส น ั บ ส น ุ น ก า ร จั ด

สิ่งแวดลอ้ มทางการเรียนรู้สว่ นใหญ่ คือ การใช้คอมพวิ เตอร์ในการติดต่อสื่อสาร เพือ่ ที่จะสนับสนุน
ให้เกิดการร่วมมือกันแก้ปัญหาระหว่างชุมชนของผู้เรียน เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะการเรียนรู้โดย
ธรรมชาติส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เกิดขึ้นเป็นเอกเทศ แต่เกิดจากคณะบุคคลที่ทำงานร่วมกันเพื่อที่จะ
แก้ปัญหา CLEs จะตอ้ งมีการจัดเตรยี มการแบง่ ปนั ขอ้ มูลและการแบง่ ปนั เครอื่ งมือในการสร้างความรู้

๑๔

เพื่อที่จะช่วยผู้เรยี นให้ร่วมมือกันสร้างสังคมที่แลกเปลี่ยนความรู้ ดังนั้น การแก้ปัญหา การสนทนา
การพดู คยุ ชุมชนสร้างความรูแ้ ละชุมชนของผู้เรยี นมีส่วนชว่ ยสนับสนนุ ในการร่วมมือกันแก้ปัญหา
ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนามาเพื่อที่จะสนับสนุนการติดต่อสื่อสารดังกล่าว การ
สนทนาระหว่างผู้เรียนจะทำเกดิ ความคดิ ขน้ึ ซ่ึงเปน็ ส่ิงสำคญั เชน่ เดียวกบั ข้อคิดเห็นของแต่ละคนและ
ข้อคิดเห็นของผู้สอนแต่ละคน (Slatin, 1992) เมื่อผู้เรียนร่วมมือกันแก้ปัญหา ผู้เรียนจะได้
แลกเปลยี่ น จุดม่งุ หมายทคี่ ลา้ ยคลึงกนั เพือ่ จะแกป้ ญั หาหรอื เพ่ือท่ีจะบรรลขุ ้อตกลงเกี่ยวกับประเด็น
ปัญหาน้ัน

6) การสนบั สนุนทางสงั คมหรือบริบท (Social Support)
ในอดีตการออกแบบการสอนและเทคโนโลยี โครงงานจะประสบความ

ล้มเหลวเสียส่วนใหญ่เพราะการนำไปใช้ที่ไม่ถูกต้อง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้ออกแบบหรือนัก
นวัตกรรมเทคโนโลยีประสบความลม้ เหลวกับการรวมปจั จยั ส่ิงแวดล้อมและบริบทที่มตี ่อการนำไปใช้
โดยผู้ออกแบบได้นำนวัตกรรมของตนเองไปใช้โดยปราศจากการพิจารณาลักษณะทางกายภาพที่
สำคัญ การจัดตั้งและแง่มุมทางวัฒนธรรมสังคมในที่ซึ่งจะนำนวัตกรรมนั้นไปใช้ ดังนั้นผู้เรียนจึง
ปฏิเสธการใช้นวัตกรรมในการออกแบบและการนำไปใช้ CLEs การปรับปัจจัยที่เป็นบริบทเป็นสิ่ง
สำคัญของการนำไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ เป็นสิ่งจำเป็นในการฝึกฝนผู้สอนและบุคคลผู้ซึ่งจะ
สนับสนุนการเรียนรู้ และฝึกฝนผู้เรียนที่จะเรียนผ่านสิ่งแวดล้อม สนับสนุนผู้สอนโดยให้การ
สนับสนุนการฝกึ ปฏิบัติงานและการประชมุ ที่ซง่ึ ผู้สอนสามารถค้นหาความชว่ ยเหลือจากข้อตกลงกับ
ผู้วิจัย คำถามสามารถนำเสนอโดยผู้สอนที่จะตอบภายในกลุ่มผู้สอนหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคการ
สนับสนุนทางสังคมและบริบทของผู้สอนและผู้ใช้เป็นสิ่งจำเป็นที่จะนำ CLEs ไปใช้ให้ประสบ
ผลสำเร็จ

จากการศึกษาการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนตามหลักการ
Constructivist Learning Environments : CLEs จะพบว่า จดุ เดน่ ของ CLEs มุ่งเน้นความสามารถ
ในการแก้ไขปัญหาที่มีโครงสร้างซับซ้อน โดยเน้นการเรียนรู้ที่เปิดจากปัญหา คำถาม กรณีหรือ
โครงงานที่มีโครงสร้างซับซ้อน ปัญหาหรือจุดประสงค์การเรียนรู้เกิดจากตัวผู้เรียนเอง การเรียนการ
สอนท่ีเกดิ จากประสบการณ์ทอี่ ำนวยความสะดวกต่อการสร้างความรู้ การเรยี นรทู้ มี่ ีความตื่นตัวและ
เน้นสภาพจริง ดงั นน้ั การจัดสภาพแวดล้อมท่ีเปน็ ปญั หาหรอื โครงงานในบริบทหรือสภาพแวดล้อมที่
หลากหลายจึงเป็นแรงผลักดันให้ผู้เรียนต้องการเรียนรู้ โดยการจัดให้มีกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ
ปัญหานั้น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนไต้มีการถ่ายโยงความรู้จากกรณีตัวอย่างมาปรับเขา้ สู่สภาพที่เป็นปัญหา
และมีแหล่งข้อมูล เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและ
เสนอแนะผลของปญั หาทีอ่ าจเกิดขึ้นได้ แล้วใช้เครื่องมือทางปัญญา (Cognitive Tool) เพื่อช่วยให้

๑๕

ผู้เรียนแปลความหมายและจัดกระทำกับปัญหา ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แกผ่ ู้เรียนในการ
แก้ปญั หา นอกจากน้ยี งั มีเครอ่ื งมอื ในการรว่ มมือกนั แก้ปัญหาที่ผ้เู รียนสามารถส่ือสารและร่วมกันจัด
โครงสร้างของปัญหาอย่างมีความหมายเพื่อเป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และจัดให้มีแหล่ง
สนับสนุนทางสังคมที่เป็นสภาพบริบทในชีวิตจริง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
สามารถนำไปใช้ในชีวติ จริงได้

จากการศึกษาหลักการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ดังกล่าวมาแล้ว
ข้างต้นจะพบว่า สถานการณ์ปัญหาซึ่งมาจากแนวคิดของเพียเจต์ ตามหลักการ Cognitive
Constructivism สถานการณป์ ญั หาเปน็ สิ่งสำคัญท่ีจะกระตุน้ ให้ผู้เรยี นเสยี สมคุลทางปัญญาและเกิด
กระบวนการคิดไตร่ตรอง คดิ วิเคราะห์ เพื่อหาสาเหตุและขจัดความขัคแยง้ ทางปัญญาที่เกิดขนึ้ การ
ออกแบบสถานการณ์ปัญหาสามารถนำเสนอได้ในหลายสภาพบริบท อาจเป็นการจำลองสถานการณ์
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ปญั หาและมีความ
กระตือรอื ร้นที่จะลงมือแก้ปญั หา ผ้เู รยี นจะเกดิ การเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับความรู้
ใหม่มาใช้ในการแก้ปัญหา โดยอาศัยแหล่งความรู้หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในสิ่งแวดล้อม
ทางการเรียนรู้ เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างความรู้ของผู้เรยี น ซึ่งแหล่งความรู้ที่สร้างขึ้นน้ันจะเป็น
แหล่งรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจบริบทของปัญหาและสามารถนำไป
ประยุกต์ใช้ในการแก้ปญั หาได้ ตัวอย่างของแหล่งความรู้ตามหลักการจัดส่ิงแวดล้อมทางการเรียนรู้
แบบเปิด (open Learning EnvironmentsะOLEs) ท่ีจดั ไว้มีทั้งแหลง่ ความรู้แบบคงที่ ซ่งึ มีลักษณะ
ที่บรรจสุ ารสนเทศท่ีไมม่ กี ารเปล่ียนแปลง เชน่ รูปภาพถา่ ยทางประวตั ิศาสตร์ เป็นต้น และไมส่ ามารถ
เปลี่ยนแปลงเนื้อหาได้ เช่น หนังสือและสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เป็นต้น และแหล่ง
ความรู้แบบพลวัตรซึ่งมักจะมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าสู่แหล่ง
ความรู้เดิมแต่ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันในการออกแบบสารสนเทศอาศัยหลักการทางพุทธิญญา
(Cognitivism)เช่น การจัดเสนอส่ิงที่จะช่วยให้ผู้เรียนจัดโครงสร้าง จัดระเบียบ ข่าวสาร ข้อมูลที่จะ
เรียน โดยทำเป็นแผนที่ทางปัญญา (Cognitive Map) ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาทั้งหมด
การใช้ภาพกราฟฟิกที่เป็นแรงจูงใจ (Motivational Graphic) ที่เป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแสดง
ขั้นตอน การสื่อสาร เพื่อส่งเสริมการสร้างจินตนาการภายในสมองและกระตุ้นความใส่ใจของผ้เู รียน
สำหรับเครื่องมือในการเรียนรู้ ได้แก่ เครื่องมือติดต่อสื่อสารแบบไม่ประสานเวลา เช่น E-mail
กระดานสนทนา เปน็ ตน้ เครอ่ื งมอื การบรู ณาการ เชน่ ลงิ คท์ เี่ กี่ยวข้อง เปน็ ต้น จดั เป็นสื่อกลางหรือ
วิธีการซึ่งทำให้ผู้เรียนเกดิ ความใส่ใจและลงมือกระทำกับแหล่งการเรียนรู้และแนวคิดของตนเองใน
การแก้ปัญหาหรือปฏิบัติภารกิจการเรียนรู้ หากผู้เรียนยังไม่สามารถเรียนรู้หรือแก้ปัญหาได้ จาก
หลักการ Social Constructivism ซึ่งมีแนวคิดเกี่ยวกับช่วงของการพัฒนาหรือที่เรียกว่า Zone of

๑๖

Proximal Development ผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือที่เรียกว่าฐานการช่วยเหลือ

(Scaffolding) ซึ่งจะเป็นกระบวนที่ช่วยสนับสนุนความพยามยามในการเรียนรู้ และแนะแนว

เกย่ี วกบั วิธีคิดในระหวา่ งการเรยี นรู้ของผเู้ รยี น ตลอดจนกลยทุ ธ์ตา่ ง ๆ ในการแก้ปญั หาหรือวิธีปฏิบัติ

ภารกิจการเรียนรู้ ทั้งนี้ในกระบวนการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา (Collaborative

Learning) จากแนวคิดของ Lev Vygostky ที่เกี่ยวกบั ภาษา สังคมและวัฒนธรรม การปฏิสัมพันธ์

ทางสังคมจะสนับสนุนให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่นเพื่อขยายมุมมองให้แก่ตนเอง

ชว่ ยปรบั เปลี่ยนความเข้าใจท่ีคลาดเคลอื น (Misconception)
3.3 โมเดลสิ่งแวดลอ้ มการเรียนรตู้ ามแนวคอนสตรัคตวิ สิ ต์
ในปัจจุบันแนวทางการศึกษาได้เปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการสอนโดยครูผ้สู อน

หรือสื่อการสอนมาสู่การเน้นผูเ้ รียนเป็นศูนยก์ ลางท่ีให้ความสำคญั ต่อการเรียนรู้ของผู้เรยี น โดยผ่าน
การปฏบิ ัตลิ งมอื กระทำ แนวการจัดการศึกษาทีเ่ นน้ ผเู้ รียนเป็นศูนย์กลางน้ีมีความสอดคล้องกับทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ซึ่งเน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ด้วยการลงมือกระทำหรือปฏิบัติที่ผ่าน
กระบวนการคิด โดยอาศัยประสบการเดิม หรือความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่
หรือความรู้ใหม่ เพื่อขยายโครวงสร้างทางปัญญา การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้หรือสร้าง
ความรู้ของผ้เู รยี น ดว้ ยการนำวิธกี าร เทคโนโลยี และนวตั กรรมหรอื ส่อื ตลอดจนภมู ิปัญญาท้องถ่ินมา
ใช้ร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ดังนั้นในการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เพื่อเพิ่ม
ประสทิ ธภิ าพการเรียนรู้ของผูเ้ รียน จงึ เป็นสิง่ สำคญั ในสภาพสงั คมปจั จุบัน สำหรับการศึกษาในคร้ังนี้
ได้นำโมเดลการออกแบบสิ่งแวดลอ้ มการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ได้แก่ SOI model, Open
Learning Environments: OLEs และ Constructivist Learning Environments( CLEs ) ออกแบบ
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมความเข้าใจโปรแกรมเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
สามารถสร้างความรูด้ ว้ ยตนเองด้วยการลงมอื กระทำ มีรายละเอียดดังต่อไปน้ี
3.3.1 SOI Model เปน็ โมเดลการเรยี นรตู้ ามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เชอื่ ว่าการเรียนรู้เกดิ ข้ึนเมือ่ ผเู้ รยี น
สรา้ งความรูเ้ องอย่างกระตือรือร้นด้วยการพยายามสร้างความหมายจากเนอื้ หาท่ถี กู นำเสนอแก่ผู้เรียน
ซง่ึ ขึน้ อยู่กบั การกระตนุ้ ( Activate ) กระบวนการรคู้ ดิ ต่างๆ ของผเู้ รยี นในระหวา่ งการเรียนรู้ รวมทั้ง
การเลือกขอ้ มลู ที่มีความสมั พนั ธก์ ัน การจดั ระเบยี บ และการบรู ณาการขอ้ มลู ท่ีไดร้ ับเขา้ มากับข้อมูลที่
มีอยู่เดิม( Existing knowledge ) โดย SOI model นี้เป็นโมเดลการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้เกิด
กระบวนการรคู้ ิด 3 กระบวนการท่ีสำคญั ในการเรยี นรูแ้ นวคอนสตรัคติวิสต์ โดย S หมายถงึ การเลือก
(Selection) O หมายถึง การจัดหมวดหมู่(Organization) I หมายถึง การบูรณาการ(Integrating)
(Mayer, 1996)

3.3.2 Open Learning Environment(OLEs) หลักการนี้เป็นรู้แบบหนึ่งของการจัด
สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทางคอนสตรัคติวิสต์ ซึ่งออกแบบและพัฒนาโดย Michael
Hannafin ที่เน้นเกี่ยวกับการคิดแบบอเนกนัย (Divergent thinking)ซึ่งเป็นความสามารถทาง
สติปัญญาของมนุษยท์ ่ีตอบสนองตอ่ ส่งิ เร้า ที่สามารถแสดงออกได้หลายแบบและหลายวิธีเป็นแนวคิด
ท่ีหลากหลาย (Multiple perspective)เหมาะกับการเรียนรูท้ เี่ ปน็ การแก้ปัญหาโดยเฉพาะเป็นปัญหา
ที่มีโครงสร้างซับซ้อน(Hannafin, 1999) หลักการนี้ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านต่างๆเช่น การ

๑๗

สืบเสาะแสวงหาความรู้ของแต่ละบุคคล(Inquiry)การคิดแบบอเนกนัย (Divergent thinking) และ
แนวคิดที่หลากหลาย (Multiple perspective) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และควบคุมการ
เรยี นรโู้ ดยใชเ้ มตะคอกนิชนั่ (Metacognition)ซ่งึ การเรียนรู้จะผ่านประสบการณ์ของแต่ละบคุ คล เป็น
ประสบการณ์ตรง เชิงรูปธรรมที่เกี่ยวข้องกับความจริง(Realistic)กับปัญหาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้มี
เครอื่ งมือและแหล่งทรพั ยากรทีส่ ่งเสรมิ ให้เกิดความพยายามในการเรยี นรขู้ องผู้เรยี น

หลกั การสำคญั ของ Open Learning Environment(OLEs) สามารถสรปุ ได้ดงั น้ี (Hannafin,
1999)

(1)การเข้าสู่บริบท(Enabling context)เป็นการสร้างแนวคิดที่ใช้ในการจัดสิ่งแวดล้อมการ
เรยี นรซู้ ่งึ เป็นบรบิ ทนำมาจากภายนอก โดยกำหนดปญั หาเฉพาะสำหรบั ผ้เู รยี น

(2)แหล่งเรียนรู้(Resource)เป็นแหล่งที่เสนขิ ้อมูลสารสนเทศตา่ งๆในการเรียนประกอบดว้ ย
แหล่งเรียนที่คงที่(static resource)เช่นเนื้อหาที่เป็นหลลักการทฤษฏีหรือ กฏเกณฑ์ เป็นต้น และ
แหลง่ เรยี นรูพ้ ลวตั ร(Dynamic resource) เป็นการเรียนท่มี ีการเปลย่ี นแปลงสารสนเทศอยตู่ ลอดเวลา

(3)เครื่องมือ(Tool)เป็นวิธีการหรือวิถีทางสำหรับผู้เรียนใช้ในการจัดกระทำกับข้อมูลแ ละ
สารสนเทศ แบ่งเป็น เครื่องมือกระบวนการ(Processing tool)จะสนับสนุนกระบวนการรู้คิดของ
ผู้เรียน เครื่องมือจัดกระทำ(Manipulation)เพื่อทดสอบความตรงหรือสำรวจความเชื่อทฤษฏี
เครื่องมือสื่อสาร(Communication tool)เพื่อสื่อสารระหวา่ งผูเ้ รียนกับผู้เรยี น และผู้สอน ตลอดจน
ผเู้ ช่ียวชาญ

(4)การช่วยเหลือ (Scaffolding)เป็นการแนะนำแนวทางและสนับสนุนความพยายามในการ
เรียนรู้ ประกอบด้วย ฐานการช่วยเหลือการสร้างความคิดรวบยอด(Conceptual scaffolding)ฐาน
การช่วยเหลือด้านความคิด(Metacognitive scaffolding)ฐานการช่วยเหลือด้านกระบวนการ
(Procedural scaffolding)เป็นการแนะแนวทางวิธีการ ใช้แหล่งเรียนและเครื่องมือ และฐานความ
ชว่ ยเหลอื ด้านกลยุทธ(์ Strategic scaffolding)ซ่ึงแนวทางเก่ียวกบั วิธีการที่ใชใ้ นการแก้ปญั หา

สรุปได้ว่า OLEs model เป็นการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทางคอนสตรัคติวิ
สต์รูปแบบหนึ่ง ที่เน้นเกี่ยวกับการคิดแบบอเนกนัย(Divergent thinking) ซึ่งเป็นความสามารถทาง
สติปญั ญาของมนุษย์ทีต่ อบสนองต่อสงิ่ เร้า ท่สี ามารถแสดงออกได้หลายแบบและหลายวิธีเป็นแนวคิด
ที่หลากหลาย(Multiple perspective) เหมาะกับการเรียนรู้ที่เป็นการแก้ปัญหา โดยเฉพาะเป็น
ปัญหาที่มีโครงสร้างซับซ้อน หลักการสำคัญของ Open Learning Environment(OLEs)
ประกอบด้วย การเข้าสู่บริบท(Enabling context)แหล่งเรียนรู้(Resource) เครื่องมือ(Tool) การ
ชว่ ยเหลอื (Scaffolding)

3.3.3Constructivist Learning Environments(CLEs) หลกั การน้ีเปน็ รปู แบบหนึ่งของการ
จดั สง่ิ แวดล้อมทางการเรยี นรตู้ ามแนวทางคอนสตรัคตวิ ิสต์ทพี่ ัฒนาโดย David H. Jonassen(1999)
ทีม่ ุง่ ส่งเสริมความสามารถในการแกป้ ญั หาและพฒั นาความคดิ รวบยอดท่ีเกิดจากสถานการณ์ท่ีมีความ
ยุ่งยากซับซอ้ น องคป์ ระกอบหลักของการออกแบบประกอบด้วย

(1)กรณีปัญหา ที่ไม่ได้ระบุจุดมุ่งหมายที่แน่นอน มีกระบวนการหาคำตอบที่หลากหลาย มี
กระบวนการในการประเมินผลท่ีหลากหลาย โดยให้ผ้เู รยี นทำการตัดสินปัญหาและยืนยันคำตอบของ
ตนเอง โดยการแสดงความคิดของตนเองหรอื ความเชือ่ ของตนเอง

๑๘

(2) กรณีเกยี่ วข้อง ใช้ในกรณีทผ่ี ูเ้ รยี นมีประสบการณ์นอ้ ย โดยจดั ให้มกี ารเข้าถึงประสบการณ์
ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาซึ่งผู้เรียนสามารถนำมาอา้ งองิ ได้ เชื่อมโยงนำประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ได้
จุดประสงค์เริ่มต้นของการอธิบายกรณีที่เกี่ยวข้องคือ เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจประเด็นของปัญหาได้
ชัดเจน โดยสนับสนุนให้ผู้เรียนจดจำได้ดี และกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความยดื หยุ่นทางปัญญา โดยจัด
แหล่งอ้างอิงที่ผู้เรียนสามารถเปรียบเทียบไดเ้ พื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับปัญหาในปัจจุบัน อีกทั้งการ
นำเสนอที่หลากหลายของบริบทในระดับท่ีมีความซับซ้อนที่ฝังอยู่ในขอบข่ายความรู้ เป็นการเน้นย้ำ
ความคิด ความเกี่ยวข้องภายในและการเชื่อมต่อโดยการจัดเตรียมการแปลความหมายในบริบทที่
หลากหลายเปน็ การสนับสนุนให้เกิดความยดื หยนุ่ ทางปญั ญา

(3)แหล่งข้อมูล จัดให้ผู้เรียนสามารถเลือกข้อมูลได้ในเวลาที่ต้องการ เป็นสิ่งแวดล้อมของ
ฐานข้อมูลที่เชื่อมต่อกัน รวมไปถึงข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และภาพเคลื่อนไหวที่เหมาะสมต่อ
การชว่ ยเหลือผู้เรียนในการแก้ปัญหา ใชเ้ วลิ ดไ์ วดเ์ วบ็ เป็นส่ือท่รี วบรวมและนำเสนอขอ้ มูลสารสนเทศที่
มีลักษณะสื่อประสมที่มีการเชื่อมโยงหลายมิติ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดที่ ต้องการ
สนบั สนุนการแก้ปญั หา

(4)เครื่องมือทางปัญญา เพื่อช่วยเหลือผู้เรียนในการปฏิบัติภารกิจแระกอบด้วยเครื่องมือ
จำลองความรู้คงท่ีและความรู้ที่เป็นพลวตั ร เช่น ฐานความรู้ Spreadsheets ระบบผู้เชียวชาญ และ
โครงสรา้ งส่อื ประสม ซงึ่ จัดเตรยี มการนำเสนอความรู้อย่างเป็นทางการท่ีระบุถึงวิธวี ิเคราะห์ และการ
จัดการปรากฏการณ์ มีการอธิบายอย่างเป็นทางการที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดความเข้าใจ เครื่องมือที่
สนับสนุนการปฏิบัติที่สนับสนุนผู้เรียนสามารถเรียกดูผลของการทดสอบได้โดยง่ายที่ช่วยสนับสนนุ
การปฏิบัติ เช่นเครื่องคิดเลขหรือฐานข้อมูล เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เช่นเครื่องมือการสืบค้นที่
ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผเู้ รียน เคร่อื งมือในการสนทนาหรือการเรียนแบบรว่ มมอื สนบั สนุนชุมชน
การสนทนาผ่านรูปแบบที่แตกต่างกันของการประชุมทางคอมพิวเตอร์ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
กระดานข่าว บริการผ่านเครือขา่ ย การสนทนาบนเครอื ขา่ ย เปน็ ต้น

(5)การสนับสนุนทางสังคมหรือบริบท โดยออกแบบการสอนและเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับ
สิง่ แวดล้อมและบริบท โดยพิจารณาจากลักษณะกายภาพท่ีสำคัญ การจดั ต้งั และแง่มุมทางวฒั นธรรม

สรุปได้ว่าหลักการ CLEs เป็นรูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทางคอน
สตรัคติวิสต์ ที่มุ่งส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการพัฒนาความคิดรวบยอดที่เกิดจาก
สถานการณ์ที่มคี วามยุง่ ยากซับซ้อน การเรยี นรู้มคี วามตื่นตัวและเนน้ สภาพจรงิ องคป์ ระกอบหลักของ
การออกแบบประกอบด้วย คำถาม กรณี ปัญหา หรือโครงงาน เป็นฐานการเรียนรูซ้ ่ึงเป็นการเรยี นรู้
อยา่ งต่นื ตวั และการเรยี นร้จู ากสภาพจริง กรณีท่ีเก่ียวขอ้ ง แหลง่ ข้อมูล เครอื่ งมือทางปญั ญา เคร่ืองมือ
ในการสนทนา/เรียนแบบร่วมมือ และการสนับสนนุ ทางสงั คมหรอื บรบิ ท

3.4 หลกั การออกแบบสือ่ บนเครอื ขา่ ยตามแนวทฤษฎีการเรยี นรคู้ อนสตรคั ตวิ ิสต์
กจิ กรรมโดยอาศัยหลักการพนื้ ฐานและทฤษฎีการเรียนรู้ของPiaget (1962,อ้างถึง

ใน อไุ ร ทองหวั ไผ,่ 2553) ซ่งึ มแี นวคิดดังนี้
1. เปน็ กิจกรรมท่นี ่าสนใจ
2. สง่ เสรมิ ให้ผ้เู รียนมีสว่ นรว่ มในการคิด ตัดสนิ ใจ แก้ปัญหาดว้ ยกัน
3. เนน้ การพัฒนาความคดิ ทีไ่ ด้มาจากการมปี ฏสิ ัมพนั ธท์ างสงั คมกบั ผู้อน่ื
4. ลดบทบาทของครูในการดำเนินกจิ กรรมให้น้อยลง

๑๙

5. ให้ผูเ้ รียนดำเนินการเรียนดว้ ยตนเอง มีอสิ ระในการแสดงความคิดเห็นเพ่ือขจัด
ปัญหาความขัดแยง้ ท่ีเกดิ ขึ้นขณะทำกจิ กรรม และหาขอ้ ตกลงเพ่อื ไมใ่ หค้ วามขัดแย้งเกดิ ขนึ้ อกี

6. ให้ทุกคนมีโอกาสร่วมกิจกรรมที่ตนเองสนใจ การออกแบบการเรียนรู้ตามแนว
คอนสตรัคติวสิ ตใ์ นที่นี้ได้นำหลกั การท่ีสำคญั ของทงั้ สองกลุ่มแนวคิด คอื Cognitive Constructivism
และ Social Constructivism มาใช้ในการออกแบบ ดังมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ (สุมาลี ชัย
เจริญ,2551)

6.1 สถานการณ์ปัญหา(Problem Base) มาจากพื้นฐานของ Cognitive
Constructivism ของเพียรเจต์ เชื่อว่า ถ้าผู้เรียนถูกกระตุ้นด้วยปัญหา (Problem) ที่ก่อให้เกิด
ความขดั แย้งทางปัญญา (Cognitive Conflict) หรอื เรียกวา่ เกดิ การเสยี สมดลุ ทางปญั ญา ผู้เรยี นต้อง
พยายามปรับโครงสร้างทางปญั ญาให้เขา้ ส่สู ภาวะสมดลุ (Equilibrium) โดยการดูดซมึ (Assimilation)
หรือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) จนกระทั้งผู้เรียนสามารถปรับ
โครงสรา้ งทางปญั ญาเขา้ สสู่ ภาวะสมดุลหรอื สามารถท่ีจะสร้างความรใู้ หม่ขึ้นมาได้ หรือเกิดการเรยี นรู้
นั้นเอง ในสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่สร้างขึน้ สถานการณ์ปัญหาจะเป็นเสมือนประตูที่ผู้เรียนจะ
เข้าสู่เนื้อหาทีจ่ ะเรียนรู้ โดยสถานการณป์ ัญหาที่สรา้ งข้นึ อาจมลี กั ษณะหลายลักษณะ เชน่

1) เป็นสถานการณ์ปญั หาเดียวกนั ที่ครอบคลุมเนอ้ื หาท้ังหมดทเ่ี รียน
2) เป็นสถานการณ์ปัญหาที่มีหลายระดับ สำหรับระดับมือใหม่
(Novice)ระดบั ผู้เชีย่ วชาญ (Expert) หรือ งา่ ย ปานกลาง ยาก เป็นตน้
3) เปน็ สถานการณป์ ญั หาที่มหี ลายสภาพบริบททีผ่ ู้เรยี นเผชญิ ในสภาพจริง
4) เปน็ สถานการณป์ ัญหาทเ่ี ปน็ เร่อื งราว (Story)
6.2 แหล่งเรียนรู้ (Resource) เป็นที่รวบรวมข้อมูล เนื้อหา สารสนเทศที่
ผู้เรียนจะใช้ในการแก้สถานการณ์ปัญหาท่ีผู้เรียนเผชิญ ซึง่ แหลง่ เรียนรู้ในส่ิงแวดล้อมทางการเรียนรู้
นั้นคงไม่ใช่เพียงแค่เป็นเพียงแหล่งรวบรวมเนื้อหาเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะใช้ในการ
เสาะแสวงหาและค้นพบคำตอบ (Discovery) ดังนั้น ผู้เขียนจะขอนำเสนอลักษณะของแหล่งเรียนรู้
ต่าง ๆ มรี ายละเอียด ดงั ตอ่ ไปนี้
1) ธนาคารข้อมูล
2) แหล่งทเ่ี กย่ี วข้องในการสร้างความรู้ เชน่ ชมุ ชนภมู ปิ ัญญาท้องถน่ิ เปน็ ตน้
3) เครอ่ื งมอื ท่ีช่วยในการสรา้ งความรู้ เช่น อปุ กรณ์ในการทดลอง
6 . 3 ฐ า น ก า ร ช ่ ว ย ค ิ ด ( Scaffolding) ม า จ า ก แ น ว ค ิ ด ข อ ง Social
Constructivismของ Vysgotsky ที่เชื่อ ว ่า ถ้าผู้เร ียน อ ยู่ต่ำก ว ่า Zone of Proximal
Development ไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ จำเป็นที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือที่เรียกว่า
Scaffolding ซึ่งฐานความชว่ ยเหลอื จะสนับสนุนผูเ้ รียนในการแก้ปญั หา หรือการเรียนรู้ในกรณที ี่ไม่
สามารถปฏบิ ตั ภิ ารกจิ ให้สำเรจ็ ด้วยตัวเองได้
6.4 การโค้ช (Coaching) มาจากพื้นฐาน Situated Cognition และ
Situated Learning หลักการนี้ได้กลายมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคอนสตรัคติ
วิสต์ ที่ได้เปลี่ยนบทบาทของครูที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรูห้ รือ บอกความรู้ มาเป็น “การ
โค้ช” ที่ให้ความช่วยเหลือ การให้คำแนะนำสำหรับผู้เรียนจะเป็น การฝึกหัด ผู้เรียน โดยการให้

๒๐

ความรู้ แกผ่ ู้เรยี นในเชิงการให้การรูค้ ิดและการสร้างปญั ญา ซ่งึ บทบาทของการโค้ชมีเงอ่ื นไขที่สำคัญ
ดงั น้ี

1) เรยี นรู้ผอู้ ยู่ในความดูแล หรือผู้เรยี นจากการสังเกตด้วยการฟังและการ
ไตถ่ ามด้วยความเอาใจใส่

2) ควรสอบถามกระตนุ้ ความคิดของนกั เรียน โดยพยายามจัดส่ิงแวดล้อม
ทางการเรียนรทู้ กี่ อ่ ให้เกดิ ความขัดแยง้ ทางปัญญา

3) สร้างเส้นทางเป็นเชิงการสืบสวนอย่างมีความหมายต่อผู้เรียนและ
พยายามสนบั สนนุ ให้ผูเ้ รียนสรา้ งเส้นทางอยา่ งมเี หตผุ ลและมีความหมาย

4) ยอมรับในสตปิ ัญญาผู้เรยี น และพยายามช่วยแก้ไข ปรับปรุง เพ่ือทำ
ให้ผเู้ รยี นมีความเข้าใจ ในการเลอื กเสน้ ทางการตดั สินใจหรอื เลือกวิธกี ารทีจ่ ะปฏิบตั ิต่อไป

6.5 การร่วมมือกันแก้ปญั หา (Collaboration) เป็นอีกองค์ประกอบหนง่ึ
ที่มีส่วนสนับสนุนให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่นเพื่อขยายมุมมองให้แก่ตนเอง การ
ร่วมมอื กันแกป้ ญั หาจะสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการคิดไตร่ตรอง (Reflective Thinking) เป็นแหล่งท่ี
เปิดโอกาสให้ทั้งผู้เรียน ผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญ ได้เสวนาแสดงความคิดเห็นของตนเองกับผู้อ่ืนสำหรับ
การออกแบบการร่วมมือกนั แก้ปัญหาในขณะสร้างความรู้ นอกจากนก้ี ารรว่ มมอื กันแก้ปัญหายังเป็น
ส่วนสำคัญในการปรบั เปลี่ยนและป้องกันความเข้าใจที่คาดเคลือ่ น (Misconception) ที่จะเกิดขึน้ ใน
ขณะที่เรียนรู้ รวมท้งั การขยายแนวคิดทฤษฎีตามแนวคิดคอนสตรัคตวิ ิสต์นนั้ ผู้เรียนเป็นผู้เสริมสร้าง
ความรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนได้ แต่สามารถช่วย
ผู้เรียนปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาได้ ด้วยการจัดสถานการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลหรือ
กอ่ ใหเ้ กดิ ความขัดแยง้ ทางปัญญา โดยได้จากสง่ิ แวดล้อมและการปฏิสมั พันธ์กบั ผูอ้ ืน่ ในการศึกษาครั้ง
นี้ ผู้วิจัยได้ออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ในที่นี้นำหลักการที่สำคัญของทั้งสองกลุ่ม
แนวคิด คือ Cognitive Constructivism และ Social Constructivism มาใช้ในการออกแบบ ดังมี
องค์ประกอบที่สำคัญคือ 1. สถานการณ์ปัญหา (Problem Base) 2. แหล่งเรียนรู้ (Resource) 3.
ฐานการชว่ ยคดิ (Scaffolding) 4. การโคช้ (Coaching) 5. การรว่ มมอื กนั แก้ปัญหา (Collaboration)

การเรียนบนเครือข่าย
1. การเรยี นบนเครอื ข่าย (Web-based learning)
การเรยี นบนเครือข่ายเป็นรูปแบบหนึ่งของการศึกษาท่ีผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยี

ปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้และการ
แก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา โดยการเรียนบนเครือข่ายจะประยุกต์ใช้
เทคโนโลยสี ารสนเทศในการจัดสิง่ แวดล้อมที่สง่ เสรมิ และสนับสนุนการเรยี นการสอนได้หลายรูปแบบ

๒๑

เช่น การนำเสนอเนื้อหา การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนและผู้สอนทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่มีการ
แลกเปล่ียนเรียนรู้ (Collaborative environment) ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนได้ด้วยตนเองทำ
ให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ยืดหยุ่น ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มีอยู่มากมายโดยอาศัยคุณลักษณะ
ของการเชื่อมโยงหลายมิติ(Hyperlink) ทั้งในรูปแบบของข้อความหลายมิติ (Hypertext) หรือสื่อ
หลายมิติ (Hypermedia) ผู้เรียนสามารถค้นคว้าข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการสนองตอบ
แนวคิดในการจัดการเรยี นการสอนท่เี น้นผเู้ รยี นเป็นศนู ยก์ ลาง เป็นการเรียนรดู้ ้วยวธิ ีการท่ีหลากหลาย
และเกิดข้นึ ได้ทกุ เวลา ทกุ สถานที่ ซ่งึ สอ่ื ตา่ งๆเหลา่ น้ีสามารถกระตนุ้ ให้ผู้เรียนเรียนรู้และแก้ปัญหาได้
อย่างอสิ ระ

ในด้านการเรียนการสอนนั้นสามารถนำการบริการบนอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ได้ดังเช่น
ไปรษณียอ์ เิ ล็กทรอนิกส์ (Electronic mail : E-mail) ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์หรอื เพ่ือนรว่ ม
ชัน้ เรียนด้วยกัน กระดานขา่ ว(Web Board) ใชก้ ำหนดประเด็นหรอื กระทู้ ทง้ั อาจารยแ์ ละผูเ้ รยี น การ
สนทนา(Chat) ใช้สนทนาระหวา่ ผู้เรียนและอาจารย์ในหอ้ งเรยี นหรือชั่วโมงเรียนนั้นๆเสมือนวา่ กำลงั
คุยกันอยู่ในห้องเรียนจริงๆ MSN(Windows messager) ใช้สนทนาระหว่างผู้เรียนและผู้สอนใน
ห้องเรียนเสมือนว่ากำลังคุยกันอยู่ในห้องเรียนจริงๆ โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้ องอยู่ในเวลาน้ัน
เวิลด์ไวด์เว็บ(WWW) เป็นการบริการบนอินเตอร์เน็ตในรูปของส่ือประสมในรปู ของตัวอกั ษร ภาพน่งิ
ภาพเคล่ือนไหว หรือเสยี ง โดยอาศยั คณุ ลักษณะของการเชอ่ื มโยงหลายมิติ (Hyperlink) ท้งั ในรูปแบบ
ของข้อความหลายมิติ(Hypertext) หรือสื่อหลายมิติ (Hypermedia) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลท่ี
เกยี่ วขอ้ งไวด้ ว้ ยกนั เป็นการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการค้นคว้าขอ้ มูลในการเรียนรู้
ด้วยตนเองและสนองตอบแนวคิดในการจดั การเรียนการสอนทีเ่ นน้ ผ้เู รยี นเปน็ ศนู ย์กลาง

สำหรับลักษณะการเรยี นการสอนบนเครือข่าย ผ้เู รยี นจะเรยี นผ่านจอมอนเิ ตอรท์ เี่ ชอื่ มโยงกับ
เครือขา่ ย ผู้เรียนสามารถเรียนรูข้ ้ึนอยูก่ บั ความพรอ้ มของผู้เรยี น ผู้เรียนสามารถตดิ ตอ่ สอ่ื สาร สนทนา
อภิปรายกับผู้เรียนด้วยกัน อาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายจะมี
ความยดื หย่นุ ในเรื่องเวลา และสถานท่ี ผูเ้ รยี นสามารถเรียนรู้และแกป้ ัญหาได้อยา่ งอิสระ โดยมีผู้สอน
เป็นผู้เสนอแนะเป็นที่ปรึกษาพร้อมทั้งแนะนำแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนให้ผู้เรียน
ผเู้ รยี นสามารถทราบถงึ ความกา้ วหนา้ ในการเรียนหรือประเมนิ ตนเองได้ (บญุ เรอื ง เนยี มหอม,2540)

2. ความหมายของการเรยี นบนเครือขา่ ย
การนำเทคโนโลยีปัจจุบัน โดยเฉพาะการบริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมาออกแบบและ

พัฒนาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนนั้น มีชื่อเรียกแตกต่างกันดังนี้ การจัดการเรียนการสอนผ่าน
เครือข่าย (Web-based instruction) หรือ การเรียนบนเครือข่าย (Web-based learning) หรือ
เครือข่ายฝึกอบรม (Web-based training) หรืออินเตอร์เน็ตฝึกอบรม (Internet-based training)
หรืออินเตอร์เน็ตช่วยสอน (Internet-based instruction) เวิลด์ไวด์เว็บฝึกอบรม (WWW-based
training) และเวิลด์ไวด์เว็บช่วยสอน (WWW-based instruction) (สรรรัชต์ ห่อไพศาล, 2544)
ท้งั นีม้ นี กั วิชาการและนกั การศึกษามากมายไดใ้ หค้ วามหมายไว้ ดังนี้

Clark (1996) ให้ความหมายว่า เป็นการเรียนการสอนรายบุคคลที่นำเสนอโดยการใช้
เครอื ข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะหรือส่วนบุคคล และแสดงผลในรูปของการใช้เวบ็ บราวเซอร์สามารถ
เข้าถงึ ข้อมูลท่ีตดิ ตงั้ ไวไ้ ดโ้ ดยผา่ นเครอื ข่าย

๒๒

Khan(1997) ให้ความหมายว่า เป็นโปรแกรมไฮเปอร์มีเดียที่ช่วยในการสอน โดยการใช้
ประโยชน์จากคุณลักษณะ และทรัพยากรของอินเตอร์เน็ตมาสร้างให้เกิดการเรียนรู้ อย่างมี
ความหมาย โดยสง่ เสริมและสนับสนนุ การเรยี นรู้ในทกุ ทาง

Parson(1997) ให้ความหมายว่า เป็นการสอนที่นำเอาสิ่งที่ต้องการส่งให้บางส่วน หรือ
ทั้งหมด โดยอาศัยเครือข่าย ซึ่งเว็บช่วยสอนสามารถกระทำได้ในหลากหลายรูปแบบ และหลาย
ขอบเขต ที่เชอื่ มโยงถงึ กัน ทงั้ การเชื่อมต่อบทเรยี น วัสดุช่วยการเรียนรู้ และการศึกษาทางไกล

Relan and Gillani(1997) ให้ความหมายวา่ เป็นการกระทำของคณะหนึ่งในการเตรยี มการ
คิดในกลวิธกี ารสอนโดยกล่มุ คอนสตรคั ติวซิ ึมและการเรียนรู้ในสถานการณร่วมมือกนั โดยใช้ประโยชน์
จากคุณลักษณะและทรพั ยากรในเวิลด์ไวดเ์ วบ็

Lannpere(1997) ให้ความหมายว่า เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านสิ่งแวดล้อมของ
เวลิ ด์ไวดเ์ ว็บ ซ่ึงอาจเป็นเพยี งส่วนหน่ึงของการเรียนการสอนในหลกั สูตรมหาวิทยาลัย ส่วนประกอบ
การบรรยายในช้ันเรยี น การสัมมนาโครงการกลุม่ หรอื การสือ่ สารระหว่างผเู้ รียนกับผสู้ อนหรอื อาจเป็น
ลักษณะของหลกั สูตรท่เี รยี นผา่ นเวิลดไ์ วด์เว็บโดยตรงทง้ั กระบวนการ การเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
นี้เป็นการรวมกันระหว่างการศึกษาและการฝึกอบรมเข้าไว้ด้วยกัน โดยให้ความสนใจต่อการใช้ใน
ระดับการเรียนท่ีสูงกว่าระดับมธั ยมศกึ ษา

ใจทิพย์ ณ สงขลา(2542) ให้ความหมายว่า เปน็ การผนวกคณุ สมบัติไฮเปอร์มีเดยี เขา้ กับ
คุณสมบัติของเว็บเวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วย
ระยะทางและเวลาท่ีแตกตา่ งกนั ของผู้เรียน (Learning without Boundary)

วิชุดา รัตนเพียร(2545) ให้ความหมายว่า เป็นการนำเสนอโปรแกรมบทเรียนบนเว็บเพจ
โดยนำเสนอผ่านบริการเวิลด์ไวด์เว็บในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งผู้ออกแบบและสร้างโปรแกรมการ
สอนผ่านเครือข่ายจะต้องคำนึงถึงความสามารถและบริการที่หลายหลายของอินเตอร์เน็ต และนำ
คณุ สมบัตติ า่ งๆ เหลา่ น้ันมาใช้เพือ่ ประโยชน์ในการเรยี นการสอนใหม้ ากทส่ี ดุ

กิดานันท์ มลิทอง(2543) ให้ความหมายว่า เป็นการใช้เครือข่ายในการเรียนการสอน
โดยอาจใชเ้ ครือข่ายเพอ่ื นำเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมดตามหลักสูตรหรือใช้
เพยี งการนำเสนอขอ้ มูลบางอยา่ งเพ่ือประกอบการสอนก็ได้ รวมทง้ั ใชป้ ระโยชนจ์ ากคุณลักษณะต่างๆ
ของการสอ่ื สารท่ีมอี ยู่ในระบบอนิ เตอร์เน็ต เชน่ การเขียนตอบโต้กันทางไปรษณียอ์ ิเล็กทรอนิกส์ และ
การพดู คยุ สดดว้ ยขอ้ ความและเสยี งมาใชป้ ระกอบด้วยเพือ่ ใหเ้ กิดประสทิ ธภิ าพสูงสุด

ถนอมพร เลาจรัสแสง(2544) ให้ความหมายว่า เป็นการผสมผสานกันระหว่าง
เทคโนโลยีปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้
และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา โดยการสอนบนเครือข่ายจะประยุกต์ใช้
คุณสมบตั ิและทรัพยากรของเวิลด์ไวดเ์ วบ็ ในการจัดสิ่งแวดล้อมท่ีสง่ เสรมิ และสนับสนุนการเรียนการ
สอนซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเวบ็ น้ี อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรยี นการ
สอนกไ็ ด้

ภาสกร เรืองรอง(2544) ให้ความหมายว่า เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบ
อินเตอร์เนต็ มาออกแบบและจัดระบบเพื่อการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมใหเ้ กิดการเรียนรู้
อย่างมีความหมาย เช่ือมโยงเป็นเครือขา่ ยทส่ี ามารถเรยี นร้ไู ดท้ ุกทที่ กุ เวลา

3. ประเภทของการเรียนบนเครอื ขา่ ย

๒๓

เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณสมบัติหลากหลายต่อการนำไป
ประยุกต์ใช้ในการศึกษา ดังนั้นการเรียนการสอนบนเครือข่ายจึงสามารถทำได้หลายลักษณะ ในแต่
ละสถาบันหรือในแต่ละเนื้อหาหลักสูตรก็จะมีวิธีการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายที่แตกต่างกัน
ออกไป ซึ่งมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงการเรียนการสอนบนเครือข่ายดังน้ีParsonได้แบ่งสื่อบน
เครือข่ายเปน็ 3 รปู แบบ ดงั นี้ (กดิ านันท์ มลทิ อง, 2543)

1. วิชาเอกเทศ (Standard-alone course หรือ Web-based course)เปน็ วิชาท่ี
เนื้อหาและทรัพยากรทั้งหมดจะมีการนำเสนอบนเครือข่าย รวมถึงการสื่อสารกันเกือบทั้งหมด
ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจะผ่านทางคอมพิวเตอร์ การใช้รูปแบบนีส้ ามารถใช้ได้กับวชิ าที่ผู้เรียนน่งั
เรยี นอยใู่ นสถาบันการศกึ ษาและส่วนมากแลว้ จะใชใ้ นการศึกษาทางไกลโดยผูเ้ รียนจะลงทะเบยี นเรียน
และมีการโต้ตอบกับผู้สอนและผู้เรียนร่วมชั้นเรียนกับคนอื่น ๆ ผ่านทางการสื่อสารบนอินเทอรเ์ น็ต
ดว้ ยวิธกี ารนี้จะทำใหผ้ ูเ้ รียนในทกุ สว่ นของโลกสามารถเรียนรว่ มกันได้โดยไมม่ ขี ีดจำกัดในเร่ืองสถานท่ี
และเวลา การจัดให้มีชั้นเรียนโดยการใช้เว็บในลักษณะการศึกษาทางไกลเรียกว่า “ ชั้นเรียนไซ
เบอร์” (Cyber Class) โดยผู้เรียนไม่ต้องเดินทางไปวิทยาลัยแต่ทำการเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ท้ังหมดนบั ตั้งแตก่ ารลงทะเบียนเรยี น บันทึกเปิดเขา้ ไปดูรายละเอียดและวิธีการเรียน ศึกษาเน้ือหา
จากเว็บไซต์ของอาจารย์ประจำวิชา ค้นคว้าเพม่ิ เติมจากเวบ็ ไซดอ์ ่ืน ๆ ทำกจิ กรรมสง่ ทางอีเมล์หรือ
ทางไปรษณียถ์ ้าเป็นชิ้นงานทไ่ี ม่สามารถสง่ ทางอเี มลไ์ ด้ และตดิ ตอ่ ส่อื สารกบั ผสู้ อนและผู้เรียนอ่ืนทาง
อีเมลแ์ ละโทรศพั ท์ บนเครอื ขา่ ย

2. วิชาใชส้ ่อื บนเครอื ข่ายเสริม (Web supported course) เป็นสื่อบนเครือข่าย
รายวชิ าที่มีลักษณะเป็นการสอ่ื สารสองทาง ที่มีปฏสิ ัมพนั ธร์ ะหวา่ งผู้สอนกบั ผเู้ รียน ผู้สอนและผ้เู รยี น
จะพบกันในสถาบันการศึกษา มีแหลง่ ทรัพยากรทางการศึกษาหลาย ๆ อย่างเชน่ การอา่ นเนอ้ื หาที่
เกย่ี วกับบทเรยี นและขอ้ มูลเสรมิ จะอ่านจากเว็บไซตต์ า่ ง ๆ ทเี่ ก่ียวขอ้ งกนั โดยการท่ีผสู้ อนกำหนดมาให้
หรือผู้เรียนหาเพิ่มเติม ส่วนการทำงานที่สั่ง การทำกิจกรรม และการติดต่อสื่อสาร จะทำกันบน
เครอื ขา่ ย

3. ทรัพยากรสื่อบนเครือข่าย (Web Pedagogical resources) เป็นการนำ
เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับเนือ้ หาวิชามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวิชานัน้ หรือใช้เป็นกจิ กรรม
การเรียนของวิชา ทรัพยากรเหล่านี้จะอยู่ในรูปหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ภาพกราฟิก
ภาพเคลอื่ นไหว เสยี ง การติดตอ่ ระหว่างผู้เรยี นกับเว็บไซต์ ฯลฯ โดยจะดูไดจ้ ากเว็บไซตต์ ่าง ๆ ใน
การวิจัยคร้ังนีผ้ ู้วจิ ัยได้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนบนเครือขา่ ยในลักษณะเป็น วิชาใช้สื่อบน
เครือข่ายเสริม (Web supported course) ซึ่งเป็นสื่อบนเครือข่ายรายวิชาที่มีลักษณะเป็นการ
สอื่ สารสองทาง ทีม่ ปี ฏสิ มั พนั ธร์ ะหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผ้เู รยี นกบั ผู้เรียน ผู้สอนและผู้เรียนจะพบ
กันในสถาบันการศึกษา ใช้วิธีสื่อสารกันผ่านเว็บบอร์ด (Web board) และ e-mail พร้อมทั้งมี
เน้อื หาในรายวชิ าเพื่อให้ผเู้ รียนไดศ้ ึกษาคน้ คว้าหาความรู้

4. การเรยี นการสอนผา่ นเครือขา่ ย
การจดั การเรยี นการสอนผา่ นเครือข่าย หมายถงึ การผนวกคณุ สมบตั ไิ ฮเปอรม์ เี ดียเข้า

กับคุณสมบัติของเครือข่าย เวิลด์ ไวด์ เว็บ เพื่อสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มี
ขอบเขตจำกัดด้วยระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน (Learning without Boundary)

๒๔

การใช้คุณสมบัติของไฮเปอร์มีเดียในการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายนั้น หมายถึง การสนับสนุน
ศกั ยภาพการเรียนด้วยตนเองตามลำพัง กล่าวคอื ผ้เู รียนสามารถเลอื กสรรเน้อื หาบทเรียนที่นำเสนอ
อยูใ่ นรปู แบบไฮเปอรม์ เี ดีย ซ่ึงเป็นเทคนิคการเช่อื มโยงเน้ือหาหลัก ดว้ ยเนอื้ หาอ่นื ทเี่ กี่ยวขอ้ งรูปแบบ
การเชื่อมโยงน้ีเป็นได้ทัง้ การเชื่อมโยงข้อความไปสเู่ น้ือหาทีม่ ีความเกยี่ วข้อง หรอื ส่ือภาพ และเสียง
การเชื่อมโยงดังกล่าวจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผูเ้ รียนสามารถควบคุมการเรียนดว้ ยตนเอง โดยเลือก
ลำดับเนอื้ หาบทเรียนตามความตอ้ งการ และเรยี นตามกำหนดเวลาท่เี หมาะสมและสะดวกของตนเอง
สว่ นการใช้คณุ สมบัตขิ องเครือขา่ ยเวิลด์ ไวด์ เว็บ หมายความถงึ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ
ปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนหรือผู้เรียนอื่นเพื่อการเรียนรู้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในเวลาเดียวกัน หรือ ณ
สถานที่เดียวกัน (Human to Human Interaction) เช่นผู้เรียนนัดหมายเวลา และเปิดหัวข้อ
การสนทนาผ่านโปรแกรมประเภท Synchronous Conferencing System เชน่
IRC (Internet Relay Chat) หรือผ้เู รียนสามารถตามหวั ข้อและรว่ มการสนทนาในเวลาทีต่ นเอง
สะดวกผา่ นโปรแกรมประเภท Asynchronous Conferencing System เชน่ E-mail Bulletin
Board System หรอื Listserv การปฏิสัมพันธเ์ ช่นน้ีเป็นไปไดท้ งั้ ลักษณะบคุ คลตอ่ บุคคล (Person
to Person) ผูเ้ รยี นกับกลุ่ม (Person to Group) หรอื กลมุ่ ต่อกลุ่ม (Group to Group) ใน
ปัจจุบันมคี วามพยายามประยุกตร์ ปู แบบการเรียนการสอนโดยใชท้ ง้ั ทฤษฎีการสอนท่ีใชก้ บั การเรยี น
การสอนผ่านคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในคอมพิวเตอร์เดียว (Stand Alone) และการพัฒนารูปแบบ
การเรียนการสอนท่ีตอบรบั กบั คณุ สมบตั ิของเครือขา่ ย เวิลด์ ไวด์ เว็บ Gillani และ Relan
(1996) มองเห็นวา่ การเรยี นการสอนบนเวลิ ด์ ไวด์ เวบ็ (Web-based Instruction) เปน็ การ
ประยุกตใ์ ชย้ ุทธวธิ กี ารสอนแบบพุทธพสิ ยั (Cognitive) ภายใตส้ ิ่งแวดลอ้ มการเรยี นแบบ
Collaborative Learning กล่าวคอื การเรียนการสอนบนเวิลด์ ไวด์ เว็บ อาศยั รปู แบบการเรียน
การสอนในลักษณะที่ผ้เู รยี นเปน็ ศูนยก์ ลางแห่งการเรียน (Learner Center) และการเรียนด้วยการ
ปฏสิ มั พนั ธ์กับผู้อน่ื (Learner Interaction) ซ่งึ จะได้กล่าวถงึ รายละเอยี ดของรปู แบบการเรียนทง้ั
รูปแบบดงั ต่อไปนี้

1. การเรียนทผ่ี ้เู รียนเป็นศนู ยก์ ลางแหง่ การเรยี นรู้ สามารถอธิบายให้เหน็ ภาพได้
ชัดเจนได้ โดยการอภิปรายเปรยี บการออกแบบการเรียนการสอนสองค่ายหลกั คอื Objectivist
และ Constructivist Objectivist เป็นกลมุ่ ทเี่ นน้ การสอนและวธิ กี ารสอนท่ีมีเป้าหมายหลัก มี
วัตถปุ ระสงค์ยอ่ ยเพ่อื สนับสนุนเปา้ หมายหลกั ส่วน Constructivist ได้แก่ กล่มุ การเรยี นทเ่ี นน้
ผู้เรยี นเปน็ หลัก วถิ ีทางการสอนท้ังสองโดยสงั เขปมีดงั นี้ Objectivist เป็นรปู แบบการสอนท่กี ำหนด
เปา้ หมายประสงคห์ ลักในการเรียนและกำหนดวตั ถุประสงค์ย่อยที่จำเป็นในการบรรลุวตั ถปุ ระสงค์
หลกั และพัฒนาการตดั สินตามวัตถุประสงค์หลัก และพฒั นาเกณฑก์ ารตดั สนิ ตามวัตถปุ ระสงค์นนั้ ๆ
การเรยี นจะมรี ปู แบบขน้ั ตอนชดั เจนให้ผูเ้ รียน เม่ือผ่านการเรียน แลว้ ผู้เรยี นรู้จะไดร้ ับผลการเรียน
อะไรบ้าง การประเมนิ จึงเป็นไปในลักษณะการเปรยี บเทยี บผลในวัตถปุ ระสงค์ย่อยและเป้าประสงค์
หลกั Constructivist เปน็ การเรียนการสอนอีกลกั ษณะหนง่ึ ท่ีเน้นผูเ้ รยี นเปน็ ศนู ย์กลางและการ
เรียนการสอนมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ทตี่ อ่ เตมิ จากความร้ซู ง่ึ แตกตา่ งกัน และเน้นบทบาทของ
แรงจงู ใจจากภายในของผูเ้ รยี น ผู้เรยี นมีทักษะในการตรวจสอบและควบคุมการเรยี นของตนเอง
ผลสมั ฤทธ์ิของการเรยี นจะอยู่ที่รายบุคคลซง่ึ ไม่สามารถใชเ้ พยี งเกณฑว์ ัดในเชิงปริมาณ ในการ
ออกแบบการเรยี นการสอนฝ่าย Constructivist มีความเหน็ ว่าเทคโนโลยีเวิลด์ ไวด์ เวบ็ สนบั สนุน

๒๕

การเรียนแบบผ้เู รยี นเป็นศนู ย์กลางในการเรยี น ตัวอยา่ งเช่น ในการเรียนจากเน้ือหาบนเวิลด์ ไวด์
เวบ็ นีผ้ ู้สอนจะเสนอเนอื้ หาและการเชอื่ มโยงทเ่ี กี่ยวข้องตามฐานะความรแู้ ละประสบการณ์ของ
ผู้สอน และผเู้ รยี นจะเลือกข้อมูลเน้อื หาและการเช่ือมโยงตามประสบการณ์และพน้ื ฐานความรเู้ ดมิ ท่ี
ผเู้ รยี นมีอยู่เพือ่ การเรียนรขู้ องตนเองโดยนยั นีก้ ารจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อไฮเปอรม์ ีเดยี ผ่าย
เครอื ข่ายคอมพวิ เตอร์ให้โอกาสผเู้ รยี นทีจ่ ะเลือกเข้าศกึ ษาบางเนอื้ หาเพม่ิ ทตี่ นเองตอ้ งการเพ่อื บรรลุ
วตั ถปุ ระสงค์การเรยี นรู้ ซ่งึ รวมทงั้ การเลือกเรียนเนื้อหาที่ไมเ่ พียงกำหนดโดยผอู้ อกแบบโปรแกรม
คอมพิวเตอรเ์ พียงกล่มุ เดียวเท่านัน้ แตส่ ามารถเลือกเนอ้ื หาทเี่ ชอื่ มโยงข้อมลู ออกส่ภู ายนอก
(External Link) ไปสแู่ หลง่ ขอ้ มูลอ่ืน ๆ ภายใต้เนอื้ หาประเภทเดยี วกนั จากลักษณะการเรยี น
ดังกลา่ วจะเหน็ ไดว้ ่า กลไกควบคุมการเรยี นจะอยู่ท่ตี วั ผู้เรยี นโดยสมบรู ณ์ในการเรยี นการสอนบน
เครือขา่ ยเวิลด์ ไวด์ เวบ็ นนั้ ผเู้ รียนควรมีวุฒิภาวะท่ีเหมาะสม และมีทกั ษะในการตรวจสอบพทุ ธิ
พสิ ยั การเรียนรขู้ องตนเอง (Meta-Cognitive Skills) กล่าวคือ มแี นวทางการเรียนของตน (Self-
Directed) ควบคุมและตรวจสอบตนเองได้ (Self-Monitoring) การเรยี นดว้ ยการปฏิสมั พนั ธก์ ับ
ผู้อืน่ รปู แบบการเรียนเชน่ นี้อาศยั คุณสมบตั ิของเครือขา่ ยคอมพิวเตอรซ์ ึ่งผเู้ รียนสามารถปฏิสัมพนั ธ์
ทางความคดิ กับผู้สอนและผู้เรยี นอื่นในขอบข่ายการเชือ่ มโยงทางอิเล็กทรอนกิ ส์ ซึ่งลดข้อจำกดั เร่ือง
ความแตกตา่ งของเวลาและสถานทีข่ องผู้เข้าร่วมกจิ กรรมการเรยี น รูปแบบการเรยี นโดยใช้
กระบวนการปฏสิ ัมพนั ธร์ ะหว่างผเู้ รียนทไี่ ด้รับการวจิ ยั แล้ว พบวา่ ให้ความสัมฤทธิ์ในการเรยี นสูงใน
ชน้ั เรียนปกติกไ็ ดถ้ กู ประยกุ ต์เขา้ กับการเรียนการสอนบนเครือขา่ ย ซงึ่ ให้ผลเปน็ ทน่ี ่าพอใจ ได้แก่
การเรยี นแบบความร่วมมอื (Collaborative Learning) การเรียนแบบความร่วมมอื หมายถงึ การ
เรยี นโดยการใชก้ ิจกรรมท่ผี เู้ รยี นจำนวนสองคนขึ้นไปรว่ มมือกนั สรรหาความหมาย ค้นคว้า และ
พฒั นาทกั ษะการเรียนร่วมกนั ซงึ่ อาจเป็นลกั ษณะของการเรยี นทใ่ี ชก้ ระบวนการแก้ปัญหา
(Problem-based Learning) เชน่ การสรา้ งสถานการณจ์ ำลองเพอ่ื การเรียนดว้ ยโปรแกรมท่ี
แพรห่ ลายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ MUDs (Multiple User Dialogue, Multiple User
Domains) และ MUSEs (Multi User Simulation Environments) ซ่งึ เปน็ โปรแกรมทจี่ ำลอง
สถานการณค์ ล้ายของจรงิ เชน่ ในหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารทางวทิ ยาศาสตร์ให้ผใู้ ช้แกป้ ัญหา สว่ นผู้ใช้เองก็
สามารถสร้างสถานการณจ์ ำลองขนึ้ เองใหผ้ ้อู ่ืนเขา้ รว่ มดว้ ยได้ โครงสรา้ งทีเ่ ป็นกจิ กรรมกล่มุ เช่นน้ี มี
ข้อที่ควรตอ้ งคำนงึ เช่นเดียวกับกจิ กรรมท่จี ัดขึน้ ในช้ันเรยี นปกติ แต่ผู้เรยี นทม่ี ปี ฏสิ ัมพันธ์กันผา่ น
เครือขา่ ยไมไ่ ด้พบปะกันจรงิ ในเวลาหรอื ณ สถานท่เี ดยี วกนั ซงึ่ นกั วจิ ัยไดศ้ กึ ษาพบความแตกตา่ ง
ของพฤตกิ รรมกล่มุ ทวั่ ไป เชน่ ผู้เรียนเตรียมเน้อื หาเพือ่ การอภิปราย ผู้สอนนำหวั ขอ้ เรือ่ งการ
สนทนา จัดกลมุ่ ย่อยหรอื จัดคอู่ ภปิ รายและดแู ลใหก้ ารอภปิ รายอยใู่ นประเดน็ และบรรลุวตั ถปุ ระสงค์
หรอื จนกระทง่ั ผเู้ รียนสามารถดำเนินการอภิปรายเอง ขอ้ ทีพ่ ึงตระหนกั ในการสรา้ งปฏสิ ัมพนั ธ์กลุ่ม
ผา่ นเครือขา่ ยก็คล้ายเชน่ การประชมุ กลมุ่ ท่วั ไป เช่น หัวขอ้ และกำหนดการลำดบั การจัดการเพื่อ
กระตุน้ ใหเ้ กดิ พลวัตและประสิทธภิ าพของกลมุ่ การเรยี นการสอนผ่านเครอื ขา่ ย ความหมายโดยรวม
จงึ หมายถงึ การใช้โปรแกรมสอื่ หลายมติ ิทอ่ี าศยั ประโยชน์จากคุณลักษณะ และทรัพยากรของ
อนิ เทอร์เน็ตและเวิลดไ์ วด์เว็บ มาออกแบบเปน็ เวบ็ เพื่อการเรียนการสอน สนบั สนนุ และส่งเสริมให้
เกิดการเรียนรอู้ ยา่ งมคี วามหมายเชือ่ มโยงเป็นเครือขา่ ยที่สามารถเรยี นได้ทกุ ที่ทกุ เวลา โดยมลี กั ษณะ
ทผ่ี ูส้ อนและผ้เู รียนมีปฏิสัมพนั ธ์กนั โดยผา่ นระบบเครือขา่ ยคอมพวิ เตอรท์ ่ีเชือ่ มโยงซงึ่ กันและกัน การ

๒๖

เรียนการสอนผ่านเครอื ขา่ ยจะตอ้ งอาศัยคุณลักษณะของอนิ เทอร์เนต็ 3 ประการในการนำไปใชแ้ ละ
ประโยชน์ทจี่ ะได้ นนั่ คอื

1. การนำเสนอ (Presentation) ในลักษณะของเว็บไซต์ที่ประกอบไป
ดว้ ยข้อความ กราฟกิ ซึง่ สามารถนำเสนอไดอ้ ยา่ งเหมาะสมในลักษณะของสอื่ คือ

1.1 การนำเสนอแบบส่อื ทางเดยี ว เช่น เป็นข้อความ
1.2 การนำเสนอแบบสอ่ื คู่ เช่น ข้อความกบั ภาพกราฟกิ
1.3 การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย คือ ประกอบด้วย ข้อความ
ภาพกราฟิก ภาพเคล่อื นไหว เสียง และภาพยนตร์ หรือวดี โี อ
2. การสื่อสาร (Communication) การสอ่ื สารเป็นสง่ิ จำเป็นที่จะต้องใช้
ทกุ วันในชีวติ ซึ่งเปน็ ลักษณะสำคญั ของอินเทอร์เนต็ โดยมีการส่อื สารบนอินเทอร์เน็ตหลายแบบ เช่น
2.1 การสอื่ สารทางเดียว โดยดูจากเวบ็ เพจ
2.2 การสื่อสารสองทาง เช่น การส่งอีเมล์โต้ตอบกัน การ
สนทนาผ่านอินเทอร์เนต็
2.3 การสื่อสารแบบหนึ่งแหล่งไปหลายที่ เป็นการส่งข้อความ
จากแหล่งเดียวแพร่กระจายไปหลายแห่ง เช่น การอภิปรายจากคนเดียวให้คนอื่น ๆ ได้รับฟังดว้ ย
หรือการประชมุ ทางคอมพิวเตอร์
2.4 การสื่อสารหลายแหล่งไปสู่หลายแหล่ง เช่น กา รใช้
กระบวนการกลุ่มในการส่ือสารบนเว็บ โดยมีคนใชห้ ลายคนและคนรับหลายคนเชน่ กนั
3. การก่อเกดิ ปฏสิ มั พันธ์ (Dynamic Interaction) เป็นคณุ ลกั ษณะสำคัญ
ของอินเทอรเ์ นต็ และลักษณะท่ีสำคญั ท่สี ดุ มี 3 ลักษณะ คอื
3.1 การสืบคน้
3.2 การหาวธิ กี ารเข้าสูเ่ วบ็
3.3 การตอบสนองของมนุษยใ์ นการใช้เวบ็
5. ประโยชน์ของการเรียนการสอนผา่ นเครอื ขา่ ย
ประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย ที่เป็นมิติใหม่ของเครื่องมือและ
กระบวนการในการเรียนการสอน ได้แก่
1. การเรียนการสอนสามารถเข้าถึงทุกหนว่ ยงานทม่ี อี นิ เทอรเ์ นต็ ติดต้งั อยู่
2. การเรียนการสอนกระทำไดโ้ ดยผเู้ ข้าเรยี นไมต่ อ้ งทิง้ งานประจำเพ่ือมาอบรม
3. ไมต่ อ้ งเสยี คา่ ใช้จ่ายในการเรยี นการสอน เช่น ค่าทพ่ี ัก ค่าเดนิ ทาง
4. การเรยี นการสอนกระทำไดต้ ลอด 24 ชั่วโมง
5. การจดั สอนหรอื อบรมมีลักษณะที่ผู้เข้าเรียนเป็นศูนย์กลางการเรยี นรู้เกิดกับตัวผู้
เขา้ เรียนโดยตรง
6. การเรียนรเู้ ป็นไปตามความก้าวหน้าของผู้รบั การเรยี นการสอนเอง
7. สามารถทบทวนบทเรียนและเนือ้ หาได้ตลอดเวลา
8. สามารถซักถามหรือเสนอแนะ หรอื ถามคำถามได้ดว้ ยเครื่องมือบนเวบ็
9. สามารถแลกเปล่ียนขอ้ คิดเหน็ ระหว่างผู้เข้ารับการอบรมได้โดยเคร่ืองมือสื่อสาร

๒๗

ในระบบอินเทอร์เน็ต ทง้ั ไปรษณียอ์ เิ ล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรอื หอ้ งสนทนา (Chat Room) หรือ
อืน่ ๆ

10. ไม่มีพิธีการมากนกั
การเรียนรู้สื่อบนเครือข่ายเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล
ระหว่างกันเนื่องจากเวิลดไ์ วดเ์ วบ็ มคี วามสามารถในการถา่ ยทอดข้อมลู ได้หลายประเภทไม่วา่ จะเปน็
ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ในปัจจุบันแนวทางการศึกษาไดเ้ ปลีย่ นกระบวนทศั น์
จากการสอนโดยครูผู้สอนหรือสื่อการสอนมาสู่การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ให้ความสำคัญต่อการ
เรยี นรขู้ องผู้เรียน โดยผ่านการปฏิบัติลงมือกระทำ ซึ่งแนวการจัดการศึกษาทเ่ี นน้ ผ้เู รียนเปน็ ศนู ย์กลาง
นม้ี คี วามสอดคล้องกับทฤษฎีคอนสตรคั ติวิสต์ซง่ึ เนน้ การสรา้ งความรู้ด้วยตนเอง ด้วยการลงมอื กระทำ
หรือปฏิบัติที่ผ่านกระบวนการคิด ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า การเรียนรู้บนเครือข่ายมีความ
เหมาะสมในการนำมาพฒั นาสิ่งแวดล้อมทางการเรยี นรู้ ตามแนวทฤษฏีคอนสตรคั ตวิ ิสต์

ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี น

1. ความหมายของผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2536) ได้ให้ความหมายของแบบทดสอบ

วดั ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนว่าเป็นแบบทดสอบท่ีวัดความรู้ของนักเรียนที่ได้เรียนไปแล้ว ซ่ึงมักจะ
เป็น ข้อคำถามใหน้ กั เรียนตอบดว้ ยกระดาษและดินสอ (Paper and Pencil Test) กับให้นักเรยี น
ปฏิบตั ิจริง (Performance Test)

วาสนา จาดพุ่ม (2535) ให้ความหมายของผลสัมฤทธิท์ างการเรียนว่า หมายถึง การ
วัดการเปลย่ี นแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้แบบทดสอบในด้านเน้อื หาวิชาและ
ในดา้ นของการปฏบิ ัติ ตามจดุ ประสงค์ของวชิ าและเน้ือหาทส่ี อน

สรุปแล้ว ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึงความเปลี่ยนแปลงทางดา้ นพฤติกรรมและ
ประสบการณ์การเรียนรู้หลังการเรียนหรือการฝึกอบรม โดยใช้แบบทดสอบทางด้านเน้ือหาวชิ าและ
ดา้ นการปฏบิ ัติ

การวดั ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถงึ การนำเอาแบบทดสอบไปวัดผลหลังจากที่สอน
จบไปแล้วบทหนึ่ง ภาคเรียนหนึ่ง ๆ หรือปีหนึ่ง ๆ เพื่อจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและ
ทักษะมากน้อยเพียงใด หรือเป็นการทดสอบเพ่ือต้องการทราบความสัมฤทธิ์หรือผลสำเร็จของการ
เรยี นท่ีเรยี นมาแลว้ (สมบญุ ภ่นู วล, 2525)

2. ประโยชนข์ องการวัดผลสัมฤทธทิ์ างการเรียน
สรุ ชัย ขวญั เมือง (2522) ได้กล่าวถงึ ประโยชน์ของการวดั ผลสัมฤทธทิ์ างการเรยี นไว้

ดงั ต่อไปนี้
2.1 ทำให้ผ้สู อนเห็นเปา้ หมายปลายทางได้ชดั เจน หรอื รู้พฤตกิ รรมปลายทางทค่ี าดได้

อย่างแน่ชัดย่ิงขน้ึ
2.2 ทำให้ผู้สอนสามารถประเมินได้ว่านกั เรียนมีความสำเรจ็ ในการเรียน คอื เขา้

ใกล้ เป้าหมายเขา้ ไปแล้วเพยี งใด
2.3 ทำให้ผู้สอนสามารถเหน็ ทิศทางในการพฒั นานกั เรียนว่า ไปตรงตามแนวทางทจี่ ะ

๒๘

3. เทคนคิ และยุทธวธิ กี ารประเมิน
กรมวิชาการ (2542) ไดก้ ลา่ วถึงเทคนคิ และยุทธวิธกี ารประเมนิ ไว้ดงั น้ี
3.1 การทดสอบอย่างเป็นทางการ หมายถึง การประเมินด้วยข้อสอบมาตรฐานซ่ึง

แตกต่างจากข้อสอบทค่ี รูสรา้ งขนึ้ ใช้ในการเรยี นการสอน จะครอบคลมุ ไปถึงวา่ ทำอย่างไร เม่อื ใด ใคร
ทำ และกำหนดเวลาเม่อื ใด ผลการสอบจะออกมาเปน็ คะแนนทโ่ี ดยมากจะเปรยี บเทียบกับกลมุ่ ขอ้ สอบ
ดังกล่าวโดยมากมักจะเป็นข้อสอบมาตรฐานที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานสำหรับพัฒนาข้อสอบมาตรฐาน
โดยเฉพาะ ซ่ึงกระทรวง จงั หวัด หรือโรงเรยี นกำหนดใหม้ ีการสอบเพอ่ื ดูคุณภาพการศึกษา เช่น ข้อสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ข้อสอบวัดความพร้อม ข้อสอบวินิจฉัยข้อบกพร่อง ข้อสอบวัดความ
ถนัด ข้อสอบวัดความสามารถทางวชิ าการ เปน็ ตน้

สำหรับการจัดสอบอยา่ งเป็นทางการในการสอบปลายภาคในระบบการเรียนการสอนใน
ปจั จบุ ันน้นั คือ การสอบด้วยขอ้ สอบที่ครูสร้างขึ้น โดยมากครมู กั จะใช้เฉพาะขอ้ สอบแบบเลือกตอบ
เท่านัน้ จงึ ควรจะมีการสอบท่ีให้นกั เรียนได้แสดงความสามารถทแ่ี ทจ้ ริง เพอ่ื ตอบสนองจุดประสงค์การ
เรียนรใู้ นลักษณะตา่ ง ๆ เชน่ ใหน้ ักเรียนเขยี นบรรยายการอ่าน ยอ่ ความ รวมทงั้ ให้ลงมือปฏิบตั ิจริงด้วย
ขอ้ สอบภาคปฏิบตั ิ (Performance test) เช่น การพมิ พด์ ดี เปน็ ตน้

3.2 การประเมินอยา่ งไมเ่ ปน็ ทางการ เปน็ การประเมินผลตามสภาพจริง ซง่ึ มีลักษณะ
สำคญั ดังนี้

3.2.1 อยู่บนพน้ื ฐานของการปฏิบัติ
3.2.2 ให้ความสำคญั กับจุดเดน่ ของผเู้ รียน
3.2.3 อยูบ่ นพนื้ ฐานของสถานการณ์ทเี่ ป็นจริง
3.2.4 เน้นทักษะทีแ่ สดงออกอย่างชัดเจน
3.2.5 เป็นการเรียนอยา่ งมีความหมาย
3.2.6 สัมพนั ธ์กบั การเรยี นการสอน
3.2.7 ใช้ไดต้ ลอดเวลากบั ทุกสถานการณ์ ทบี่ า้ น โรงเรียน และชมุ ชน
3.2.8 แสดงภาพรวมของการเรยี นรู้ และสมรรถภาพของเดก็
3.2.9 ข้นึ อยูบ่ นพืน้ ฐานของหลกั สตู รทเ่ี ปน็ สภาพชวี ติ จรงิ
3.2.10 เอ้ืออำนวย สนบั สนุน สง่ เสริมพัฒนาการและการเรยี นของเด็กทกุ ดา้ น
คณุ สมบตั ดิ ังกล่าวข้างตน้ เสนอแนะว่าการประเมินจะมีครเู ปน็ ส่อื กลาง เดก็ เป็นศนู ย์กลาง
ต้องผนึกอยู่กับหลักสูตร ดำเนินการตลอดเวลาและสะสมเรื่อย ๆ รวมทั้งขึ้นอยู่กับทฤษฎีพัฒนาการของ
เดก็
นอกจากน้ี กรมวิชาการ (2542) ยังให้ขอ้ เสนอแนะวิธกี ารและเครอื่ งมอื ทใ่ี ชใ้ นการประเมินผล
ตามสภาพจริงไว้ดงั นี้
1. การประเมนิ การแสดงออกและกระบวนการของนกั เรียน (Performance and
process) มวี ธิ ีการและเครื่องมือท่ใี ชห้ ลายประการ เช่น
1.1 การสังเกต คอื การเฝ้าดูเด็กตลอดเวลา โดยทว่ั ไปครยู อมรับวา่ การสงั เกตเด็ก
เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญระหว่างการสอนของครู ซึ่งจากการสังเกตการสอนของครูจะสามารถเห็น
พฤติกรรมของเดก็ เปน็ รายบุคคล หรอื ความสัมพนั ธ์ระหว่างกลมุ่ สะทอ้ นความสามารถในดา้ นความรู้

๒๙

ทักษะ ความรู้สึก และคุณลักษณะ ครูจะเข้าใจได้ดีเมื่อเริ่มต้นสังเกตเขาและสามารถมองเห็นความ
เจรญิ เติบโตและพฒั นาการในดา้ นตา่ ง ๆ ได้ชดั เจนโดยการศกึ ษาขอ้ มลู การสงั เกตนำไปสรุปความเห็น
เกย่ี วกับเด็กได้

1.2 การบันทึกพฤติกรรม (Anecdotal record) เป็นการบันทึกข้อมูลสำคัญใน
เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกดิ ขึ้นกับเด็กในแต่ละวนั การบันทึกข้อมูลอาจทำอย่างละเอยี ดหรอื
ยอ่ ๆ กไ็ ด้ โดยปกติมักจะเขียนหลังเหตุการณเ์ กดิ ขึ้นตามความเป็นจรงิ ข้อมูลจะต้องแม่นยำ เทย่ี งตรง

1.3 แบบสำรวจรายการ (Checklist) เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้รวดเร็วกว่าการบันทึก
พฤติกรรม แบบสำรวจรายการจะช่วยในการบันทึกแบบตั้งใจที่จะดูพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ของเด็ก
องค์ประกอบของแบบสำรวจรายการ ได้แก่ คุณลักษณะ ทักษะ ความสนใจและพฤติกรรมที่มุ่งหวัง
ตามมาตรฐานของหลักสูตรและผลการเรียนรู้ในแต่ละระดับหรือความคิดรวบยอด แบบสำรวจ
รายการใชใ้ นการประเมินการแสดงออก กระบวนการและผลผลิตของนักเรียน อาจจะเป็นเคร่ืองมือ
ทีค่ รูออกแบบมาจากเคร่อื งมือของนักวิจัย หรือผทู้ ร่ี ับผิดชอบด้านการพฒั นาการเรียนรู้หรือทักษะใน
วิชาตา่ ง ๆ

1.4 INVENTORIAS คลา้ ยคลงึ กับแบบสำรวจรายการ แต่จะมองในลกั ษณะภาพรวม
มากกว่า เป็นแนวทางที่ดูร่องรอยของเหตุการณ์เกิดขึ้นเรื่อย ๆ หรือดูพัฒนาการโดยสังเกตสิ่งท่ี
แสดงออกถงึ พฒั นาการการเรียนร้ทู ่ปี รากฏให้เหน็

1.5 มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scales) เป็นเครื่องมืออีกอย่างหน่ึงที่จะใช้
บันทึกการสังเกต โดยต้องการให้ผู้สังเกตคิดค้นเกี่ยวกับความรู้ ทักษะ ความรู้สึกและคุณลักษณะใน
ขอบเขตท่ีจะสังเกต โดยกำหนดให้เป็นตัวเลขหรอื บรรยายระดบั คณุ ภาพ มาตราส่วนประมาณค่า
จะสร้างคอ่ นข้างยาก เนื่องจากจำเป็นต้องมกี ารบรรยายระดับคุณภาพเพือ่ ให้เกดิ ความเข้าใจของผู้
สังเกต แต่ละคน มิฉะนั้นจะเกิดความลำเอียง การมีช่องแสดงระดับคุณภาพหรือความถี่ของการ
กระทำจะช่วยให้ครูสามารถบันทึกข้อมลู ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่ต้องพยายามให้เกิด
ความยตุ ิธรรมมากท่ีสดุ เม่ือสังเกตพฤตกิ รรมท่เี ป็นตวั แทนเหล่านั้น

1.6 การสุ่มเวลา (Time sampling) เป็นความพยายามของผู้สังเกตที่จะบันทึก
เหตกุ ารณท์ ีป่ รากฏหรอื ไม่ปรากฏในการเลือกพฤตกิ รรมในเวลาทกี่ ำหนดแน่นอน

1.7 การสุ่มเหตกุ ารณ์ (Event sampling) เทคนคิ การสุม่ เหตกุ ารณ์ เมอ่ื ผู้สงั เกตได้
บันทกึ เหตุการณห์ รือบางหัวขอ้ ในเหตกุ ารณ์ท่ีปรากฏ

1.8 การสัมภาษณ์นักเรียน เป็นการหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อให้ได้
ข้อมูลความรู้และประสบการณ์พนื้ ฐาน ความตัง้ ใจ วธิ กี ารเรียนรู้ ความสนใจ แรงจงู ใจและอื่น ๆ

2. การประเมินกระบวนการและผลผลิตนักเรียน ครูอาจจะใช้เครื่องมือที่หลากหลาย
เช่น การสังเกต แบบสำรวจรายการ หรือมาตราสว่ นประมาณค่า เพ่อื ให้สามารถประเมนิ ได้ครอบคลุม
ท้งั ดา้ นความรู้ ทักษะ ความรสู้ ึกและคุณลกั ษณะด้านต่าง ๆ

บทท่ี 3
วิธดี ำเนนิ การ

1. ข้ันตอนในการดำเนนิ การ

๓๐

1.1 การวิเคราะห์ ศึกษาสภาพปัญหา การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อจำแนกกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้สาระการเรียนรู้
เทคโนโลยี กำหนดผลการเรยี นรู้ การวัดและประเมินผล โดยอิงผลการเรียนรู้ของหลักสูตรวิเคราะห์
สาระการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีโดยละเอียด กำหนดเป็นหน่วยการเรียนรู้ และเนื้อหาย่อยโดย
ละเอยี ด ศกึ ษาหลักการ วธิ กี าร ทฤษฎี และเทคนคิ วิธสี ร้างส่อื การเรยี นรู้ ตามลำดบั ดงั ต่อไปนี้

1. ประชากรกลุม่ เป้าหมาย
2. รูปแบบการทดลอง
3. เคร่ืองมือทีใ่ ชใ้ นการดำเนนิ การ
4. การสรา้ งและหาคุณภาพเครอ่ื งมือ
5. การดำเนินการศกึ ษาและเก็บรวบรวมข้อมลู
6. การวเิ คราะห์ขอ้ มลู และสถติ ิท่ีใช้ในการวิเคราะหข์ ้อมูล

1. ประชากรกล่มุ เปา้ หมาย
ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน

โนนหันวิทยายน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่นสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 หอ้ งเรียน จำนวนนักเรียน 14 คน
ไดม้ าจากการเลอื กแบบเจาะจง (Purposive sampling) เน่อื งจากเป็นหอ้ งเรียนทเ่ี ปดิ สอนรายวชิ านี้

2. รปู แบบการทดลอง
รูปแบบของแผนการทดลองที่ใช้ในการดำเนินการครั้งนี้เป็นแบบการวิจัยก่อนการทดลอง (Pre-

Experimental Design) แบบกลุ่มเดียววัดผลหลงั เรยี น (One Shot Case Study) รูปแบบการวิจัย
น้ีเขียนเปน็ แผนภูมไิ ด้ดังนี้ (ลัดดา อะยะวงศ์, 2543)

X0

เมือ่ X แทนการเรยี นจากสงิ่ แวดล้อมทางการเรียนรบู้ นเครือข่าย
O แทนการประเมินผลงานและความคิดเหน็ ของผูเ้ รียน

เครอ่ื งมือท่ีใชใ้ นการดำเนนิ การ
เคร่ืองมือทใ่ี ชใ้ นการดำเนนิ การคร้งั นี้ ได้แก่
1. เครื่องมือทใี่ ชใ้ นการทดลอง ประกอบด้วย คูม่ อื การใช้สง่ิ แวดล้อมทางการเรียนรู้บน

เครอื ข่าย
2. เครื่องมอื ที่ใช้ในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล ประกอบดว้ ย

๓๑

2.1 แบบประเมินผลงานนักเรียน สำหรับประเมินความสามารถในการออกแบบช้ินงาน
ตามแนวทางการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นแบบ

มาตราส่วนประมาณคา่ กำหนดเกณฑค์ ุณภาพ 4 ระดบั ประกอบดว้ ย
4 มคี ุณภาพ ดมี าก

3 มคี ุณภาพ ดี
2 มีคุณภาพ พอใช้
1 มคี ุณภาพ ปรบั ปรุง

3. ขัน้ ตอนการดำเนนิ การเก็บรวบรวมขอ้ มลู

มีลำดับข้ันตอนดงั นี้
1. ชแี้ จงให้ผู้เรียนทราบถงึ การจดั การเรียนรู้โดยใช้ส่งิ แวดลอ้ มทางการเรียนร้บู น

เครือขา่ ยทีพ่ ฒั นาขน้ึ

2. ดำเนนิ การจัดการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรยี นรโู้ ดยใชส้ ง่ิ แวดล้อมทางการเรยี นรบู้ น
เครือข่าย

3. ประเมินช้ินงาน
4. รวบรวมขอ้ มูลทงั้ หมดและวิเคราะหโ์ ดยวธิ ีการทางสถติ ิ
5. สรุปผลการดำเนินงาน

4. การวิเคราะห์ข้อมลู

1. วิเคราะห์ผลการเก็บขอ้ มูล

ผวู้ จิ ยั นำแบบประเมินคณุ ภาพแผนการจดั การเรยี นรทู้ ไ่ี ด้จากผู้เช่ียวชาญ

มาวิเคราะห์ ระดบั ความเหมาะสมโดยใช้สถิติค่าเฉลีย่ และสว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐาน เทยี บกบั เกณฑ์

การประเมินดงั นี้ (ลว้ น สายยศ. 2543 : 168)

ค่าเฉลยี่ เท่ากับ 4.50 -5.00 หมายความว่า เหมาะสมมากที่สดุ

ค่าเฉลี่ยเทา่ กับ 3.50 -4.49 หมายความวา่ เหมาะสมมาก

ค่าเฉล่ียเทา่ กับ 2.50 -3.49 หมายความว่า เหมาะสมปานกลาง

ค่าเฉลี่ยเทา่ กับ 1.50 -2.49 หมายความว่า เหมาะสมน้อย

ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 -1.49 หมายความว่า เหมาะสมน้อยทีส่ ุด

เกณฑ์เฉลย่ี ของระดบั ความคิดเห็นของผ้เู ชยี่ วชาญในงานศกึ ษาน้ี ใชค้ ่าเฉลี่ยของคะแนน

ต้งั แต่ 3.50 ข้ึนไป และค่าความเบยี่ งเบนมาตรฐานไมเ่ กิน 1.00

2. วิเคราะหผ์ ลการประเมินช้ินงาน

ใช้สถติ ิค่าเฉลีย่ เทียบกับเกณฑก์ ารประเมนิ ดงั น้ี ( ลว้ น สายยศ. 2543 : 168 )

ค่าเฉลี่ยเทา่ กับ 3.50 -4.00 หมายความวา่ ดีมาก

ค่าเฉลยี่ เท่ากับ 2.50 -3.49 หมายความว่า ดี

ค่าเฉลย่ี เท่ากับ 1.50 -2.49 หมายความว่า พอใช้

๓๒

ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 -1.49 หมายความว่า ปรบั ปรงุ

เกณฑเ์ ฉลยี่ ของระดับความคดิ เห็นของผู้เช่ียวชาญในงานศึกษานี้ ใช้ค่าเฉลี่ยของคะแนน

ต้ังแต่ 2.50 ขน้ึ ไป และคา่ ความเบ่ียงเบนมาตรฐานไม่เกิน 1.00

5. สถติ ิท่ีใช้ในการวเิ คราะหข์ ้อมลู

ผูว้ จิ ยั วิเคราะห์ข้อมูล โดยเลอื กใช้สถิติพ้ืนฐานดงั นี้

1. ค่าเฉล่ีย ( X ) คำนวณจากสตู ร (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 105)

X =X
N

เมื่อ

X แทน คะแนนเฉล่ยี

 X แทน ผลรวมคะแนนทง้ั หมดในกลมุ่

N แทน จำนวนนกั เรียนในกลมุ่ ตวั อย่าง

2. สว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐาน (S.D) คำนวณจากสูตร (บุญชม ศรสี ะอาด. 2545 : 106)

S.D. = N  x2 − ( x)2
N (N −1)

เม่ือ S.D. แทน สว่ นเบยี่ งเบนมาตรฐาน
แทน ผลรวมของคะแนนในกลุ่ม
x
แทน ผลรวมของคะแนนแตล่ ะตวั ยกกำลังสอง
 x2
แทน จำนวนนกั เรยี นในกลมุ่ ตวั อยา่ ง
N

บทที่ 4
ผลการวิเคราะหข์ ้อมูล

ผลการใช้สิ่งแวดล้อมทางการเรยี นรู้บนเครือข่ายรายวชิ า การออกแบบผลติ ภัณฑ์ ของนักเรยี น
ชนั้ มัธยมศกึ ษาปีท่ี 6 ปรากฏผลดงั น้ี

๓๓

ตารางที่ 4.1 แสดงผลการประเมินชิน้ งานจากการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้โดยใชส้ ง่ิ แวดล้อมทางการ

เรยี นรู้บนเครือขา่ ย เรอ่ื ง การออกแบบโมเดลชุดรับแขก ของนกั เรียนชั้นมธั ยมศึกษาปี

ที่ 6 เทียบกบั เกณฑท์ ีต่ ้ังไว้ รอ้ ยละ 70

ที่ ชอ่ื -สกุล ผลการประเมนิ ชนิ้ งาน รวม รอ้ ยละ

การออกแบบโมเดลชดุ รบั แขก

ผลงาน สวยงาม รว่ มมอื คดิ ตรง

ถูกตอ้ ง สรา้ งสรรค์ ต่อ

เวลา

4 4 4 4 4 20

1 นายคงเดช เกิดโภคา 4 4 2 3 2 15* 75

2 นางสาวจรี นันท์ สนี อ้ ย 4 3 3 3 3 16* 80

3 นายคามินทร์ บุญปก 4 4 4 4 4 20* 100

4 นายธนวฒั น์ เน่ืองชมุ พล 4 4 4 4 4 20* 100

5 นายประภวษิ ณุ์ มาตา 4 4 3 3 3 17* 85

6 นายรฐั กิจ กดุ น่ั 4 4 4 4 4 20* 100

7 นายสนทยา มูลลา 43 3 3 4 15* 75

8 นางสาวช่อผกา สขุ ยอด 4 3 2 3 2 14* 70

9 นางสาววนิดา เขาเขียว 4 3 4 4 4 19* 95

10 นางสาวศศิวิมล ง่อนไถ 4 4 4 4 2 18* 90

11 นางสาวสภุ ทั รตา นามวงษ์ 4 4 4 4 4 20* 100

12 นางสาวพกิ ุล ทวีศลิ ป์ 4 3 2 3 2 14* 70

13 นางสาวมารสิ า สำราญรมย์ 4 4 4 3 4 19* 95

14 นางสาวสดุ ารตั น์ เทียนชัย 4 3 4 4 4 19* 95

จำนวนนกั เรยี นท้ังหมด (คน) 14

จำนวนนักเรยี นทีม่ คี ะแนนผา่ นเกณฑร์ ้อยละ 70 (คน) 14

รอ้ ยละของนกั เรียนท่ีมคี ะแนนผ่านเกณฑร์ อ้ ยละ70 (14 คะแนน) 100

คา่ คะแนนเฉล่ยี ของนักเรียน ( X) 17.57

ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน (S.D) 2.34

* หมายถึง คะแนนที่ผา่ นเกณฑต์ ้งั แต่ร้อยละ 70 ขนึ้ ไป (14 คะแนนข้นึ ไป)

จากตารางท่ี 2 พบวา่ จากการประเมินชิ้นงานของนกั เรยี นจำนวน 14 คน โดยคะแนนเต็ม

จาก การทดสอบ 20 คะแนน มนี กั เรยี นจำนวน 14 คนไดค้ ะแนนตง้ั แต่ 14 คะแนนขนึ้ ไป โดยคิดเป็น

ร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมดมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 17.57 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ

2.34 ซ่ึงจะเหน็ ได้ว่าคะแนนเฉลี่ยของการประเมินชิน้ งานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ตามทกี่ ำหนดไว้

ตารางท่ี 4.2 แสดงผลการประเมินชิ้นงานจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สิง่ แวดล้อมทางการ

เรียนรูบ้ นเครอื ข่าย เร่ือง การออกแบบโมเดลห้องนงั่ เลน่ ของนกั เรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ท่ี 6 เทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ รอ้ ยละ 70

๓๔

ท่ี ชอื่ -สกลุ ผลการประเมนิ ชิน้ งาน รวม ร้อย

การออกแบบโมเดลห้องน่งั เลน่ ละ

ผลงาน สวยงาม รว่ มมือ คดิ ตรงต่อ

ถูกตอ้ ง สร้างสรรค์ เวลา

444 4 4 20

1 นายคงเดช เกดิ โภคา 433 2 2 14 70.00

2 นางสาวจรี นันท์ สนี ้อย 4 3 3 2 2 14 70.00

3 นายคามนิ ทร์ บญุ ปก 4 4 4 4 4 20 100

4 นายธนวัฒน์ เน่อื งชมุ พล 4 4 4 4 4 20 100

5 นายประภวษิ ณุ์ มาตา 4 4 3 3 3 17 85.00

6 นายรัฐกจิ กุดั่น 444 4 4 20 100

7 นายสนทยา มลู ลา 4 3 3 3 2 15 75.00

8 นางสาวช่อผกา สุขยอด 4 3 3 3 3 16 80.00

9 นางสาววนิดา เขาเขียว 4 3 4 4 4 19 95.00

10 นางสาวศศิวมิ ล ง่อนไถ 4 3 3 3 2 15 75.00

11 นางสาวสภุ ทั รตา นามวงษ์ 4 3 3 3 2 15 75.00

12 นางสาวพกิ ลุ ทวศี ิลป์ 4 3 3 3 2 15 75.00

13 นางสาวมาริสา สำราญรมย์ 4 4 4 3 4 19 95.00

14 นางสาวสุดารตั น์ เทียนชัย 4 3 4 4 4 19 95.00

จำนวนนกั เรยี นทง้ั หมด (คน) 14

จำนวนนกั เรยี นทีม่ ีคะแนนผ่านเกณฑ์รอ้ ยละ 70 (คน) 14

ร้อยละของนกั เรียนที่มีคะแนนผา่ นเกณฑร์ อ้ ยละ70 (14 คะแนน) 100

คา่ คะแนนเฉล่ยี ของนกั เรยี น ( X) 17.00

สว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐาน (S.D) 2.39

* หมายถงึ คะแนนท่ีผา่ นเกณฑต์ ้ังแตร่ ้อยละ 70 ข้นึ ไป (14 คะแนนขน้ึ ไป)

จากตารางที่ 2 พบวา่ จากการประเมนิ ชิ้นงานของนกั เรียนจำนวน 14 คน โดยคะแนนเต็ม

จาก การทดสอบ 20 คะแนน มีนักเรียนจำนวน 14 คนไดค้ ะแนนตัง้ แต่ 14 คะแนนข้นึ ไป โดยคิดเป็น

ร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมดมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 17.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ

2.39 ซง่ึ จะเห็นได้ว่าคะแนนเฉล่ียของการประเมินชิน้ งานผ่านเกณฑร์ อ้ ยละ 70 ตามท่กี ำหนดไว้

ตารางท่ี 4.3 แสดงผลการใช้ส่ิงแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครอื ขา่ ย เรอ่ื ง การออกแบบ

ผลติ ภัณฑ์จากวัสดุทอ้ งถิ่น ของนักเรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปีท่ี 6 เทยี บกบั เกณฑ์

ท่ีต้ังไว้ รอ้ ยละ 70

ท่ี ช่ือ-สกลุ ผลการประเมินชิน้ งาน รวม รอ้ ยละ

การออกแบบผลติ ภณั ฑจ์ ากวสั ดทุ อ้ งถ่ิน

๓๕

ผลงาน สวยงาม ร่วมมือ คิด ตรงต่อ

ถกู ต้อง สร้างสรรค์ เวลา

4 4 4 4 4 20

1 นายคงเดช เกิดโภคา 4 3 2 3 2 14 70.0

2 นางสาวจรี นันท์ สีน้อย 433 3 4 17 85.0

3 นายคามินทร์ บญุ ปก 4 4 4 4 4 20 100.0

4 นายธนวัฒน์ เนือ่ งชุมพล 4 4 4 4 4 20 100.0

5 นายประภวษิ ณุ์ มาตา 4 4 4 4 4 20 100.0

6 นายรฐั กิจ กุด่ัน 4 4 4 4 4 20 100.0

7 นายสนทยา มูลลา 3 3 3 3 2 14 70.0

8 นางสาวช่อผกา สขุ ยอด 3 3 3 3 2 14 70.0

9 นางสาววนิดา เขาเขยี ว 4 3 3 3 2 15 75.0

10 นางสาวศศิวมิ ล งอ่ นไถ 4 4 3 4 2 17 85.0

11 นางสาวสุภทั รตา นามวงษ์ 4 4 4 4 4 20 100.0

12 นางสาวพกิ ุล ทวศี ิลป์ 3 3 3 3 2 14 70.0

13 นางสาวมาริสา สำราญรมย์ 4 4 4 4 4 20 100.0

14 นางสาวสดุ ารตั น์ เทียนชยั 4 4 4 4 4 20 100.0

จำนวนนักเรยี นทง้ั หมด (คน) 14

จำนวนนกั เรียนที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 (คน) 14

ร้อยละของนกั เรยี นทม่ี ีคะแนนผา่ นเกณฑร์ ้อยละ70 (14 คะแนน) 100

คา่ คะแนนเฉล่ียของนักเรียน ( X) 17.50

สว่ นเบ่ียงเบนมาตรฐาน (S.D) 2.77

* หมายถงึ คะแนนทผ่ี า่ นเกณฑต์ ้งั แต่ร้อยละ 70 ขึน้ ไป (14 คะแนนข้นึ ไป)

จากตารางท่ี 2 พบว่าจากการประเมนิ ชน้ิ งานของนกั เรยี นจำนวน 14 คน โดยคะแนนเต็ม
จาก การทดสอบ 20 คะแนน มีนกั เรียนจำนวน 14 คนไดค้ ะแนนตัง้ แต่ 14 คะแนนขน้ึ ไป โดยคิดเป็น
ร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมดมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 17.50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
2.77 ซงึ่ จะเหน็ ไดว้ ่าคะแนนเฉลี่ยของการประเมนิ หลงั เรียนผา่ นเกณฑร์ ้อยละ 70 ตามท่ีกำหนดไว้

บทท่ี 5
สรปุ อภปิ รายผลและข้อเสนอแนะ

๓๖

ผลการใช้สงิ่ แวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายของนักเรยี นชั้นมธั ยมศกึ ษาปีที่ 6 โรงเรียนโนน
หันวทิ ยายนสรุป อภปิ รายผลไดด้ งั นี้

1. สรปุ ผล
ผลการพัฒนาใช้สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โรงเรยี นโนนหันวทิ ยายน จากการประเมนิ ชิน้ งานของนกั เรียนจำนวน 14 คน โดยคะแนนเตม็ จากการ
ประเมินชน้ิ งาน 20 คะแนน พบวา่

1. ผลการประเมินชิ้นงานจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สิ่งแวดล้อมทางการ
เรยี นรู้บนเครือขา่ ย เร่อื ง การออกแบบโมเดลชดุ รับแขก ของนักเรยี นช้ันมัธยมศกึ ษาปีที่ 6 เทยี บกับ
เกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 70 มีนักเรียนจำนวน 14 คนได้คะแนนตั้งแต่ 14 คะแนนขึ้นไป โดยคิดเป็น
ร้อยละ 100 ของนกั เรยี นทั้งหมด มีคะแนน เฉลย่ี คิดเป็น 17.57 และสว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐานเทา่ กับ
2.34

2. ผลการประเมินชิ้นงานจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สิ่งแวดล้อมทางการ
เรียนรู้บนเครือข่าย เรื่อง การออกแบบโมเดลห้องนั่งเล่น ของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 6 เทียบ
กับเกณฑท์ ี่ต้ังไวร้ ้อยละ 70 มีนักเรยี นจำนวน 14 คนไดค้ ะแนนต้งั แต่ 14 คะแนนข้นึ ไป โดยคดิ เป็น
รอ้ ยละ 100 ของนกั เรียนท้งั หมด มีคะแนน เฉล่ยี คดิ เปน็ 17.00 และส่วนเบ่ยี งเบนมาตรฐานเท่ากับ
2.39

3. ผลการประเมินชิ้นงานจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สิ่งแวดล้อมทางการ
เรียนร้บู นเครือขา่ ย เร่ือง การออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุทอ้ งถิน่ ของนักเรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปีท่ี 6
เทยี บกับเกณฑ์ท่ีตั้งไว้ร้อยละ 70 มีนกั เรียนจำนวน 14 คนได้คะแนนตง้ั แต่ 14 คะแนนข้ึนไป โดย
คิดเป็น ร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนน เฉลี่ยคิดเป็น 17.50 และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานเทา่ กบั 2.77

2.อภปิ รายผล
ผลการพัฒนาใช้สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โรงเรยี นโนนหนั วทิ ยายน จากการประเมนิ ชิ้นงานของนักเรียนจำนวน 14 คน โดยคะแนนเตม็ จากการ
ประเมินชิ้นงาน 20 คะแนน พบว่าผลการประเมินชิ้นงานจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
สิ่งแวดล้อมทางการ เรียนรู้บนเครือข่าย เรื่อง การออกแบบโมเดลชุดรับแขก ของนักเรียนช้ัน
มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 6 เทียบกบั เกณฑ์ที่ตั้งไวร้ ้อยละ 70 มนี กั เรยี นจำนวน 14 คนได้คะแนนตั้งแต่ 14
คะแนนขึ้นไป โดยคิดเป็น ร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนน เฉลี่ยคิดเป็น 17.57 และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.34 ผลการประเมินชิ้นงานจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย เรื่อง การออกแบบโมเดลห้องนั่งเล่น ของนักเรียนชั้น
มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 6 เทยี บกบั เกณฑ์ทีต่ ั้งไวร้ ้อยละ 70 มนี กั เรียนจำนวน 14 คนไดค้ ะแนนตั้งแต่ 14
คะแนนขึ้นไป โดยคิดเป็น ร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนน เฉลี่ยคิดเป็น 17.00 และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.39 ผลการประเมินชิ้นงานจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
สิ่งแวดล้อมทางการเรยี นร้บู นเครอื ข่าย เร่อื ง การออกแบบผลิตภณั ฑจ์ ากวัสดทุ ้องถิ่น ของนักเรยี นช้ัน
มธั ยมศึกษาปที ่ี 6 เทียบกับเกณฑ์ทีต่ ้ังไว้ร้อยละ 70 มีนกั เรียนจำนวน 14 คนไดค้ ะแนนต้ังแต่ 14

๓๗

คะแนนขึ้นไป โดยคิดเป็น ร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนน เฉลี่ยคิดเป็น 17.50 และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.77 ตามที่กำหนดไว้ อาจเนื่องมาจากผู้วิจัยดำเนินการพัฒนา
สงิ่ แวดล้อมทางการเรยี นรู้บนเครือขา่ ย ผ่านการตรวจสอบกล่นั กรองจากหัวหนา้ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ หัวหน้าฝ่ายวิชาการและรอง
ผู้อำนวยการฝ่ายวชิ าการ สอดคล้องกับ การพฒั นาสง่ิ แวดล้อมทางการเรยี นรู้บนเครือขา่ ย โดยทฤษฎี
ของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกิดจาก
แรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับ
ประสบการณผ์ ่านทางประสาทสมั ผัสทง้ั 5 (sensation) และความรูส้ กึ (feeling) คอื การตคี วามหรือ
แปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับ
ประสบการณผ์ ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพนั ธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี การออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้โดยเน้น
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผ่านการปฏิบัติลงมือกระทำ แนวการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็น
ศูนยก์ ลางน้มี ีความสอดคลอ้ งกับทฤษฎีคอนสตรคั ตวิ สิ ตซ์ ง่ึ เนน้ การสรา้ งความรู้ด้วยตนเอง ด้วยการลง
มือกระทำหรือปฏิบัติที่ผ่านกระบวนการคิด โดยอาศัยประสบการเดิม หรือความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว
เชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่หรือความรูใ้ หม่ เพื่อขยายโครวงสร้างทางปัญญา การจัดสิ่งแวดล้อมท่ี
เอื้อต่อการเรียนรู้หรือสร้างความรู้ของผู้เรียน ด้วยการนำวิธีการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมหรือส่ือ
ตลอดจนภมู ิปญั ญาทอ้ งถิน่ มาใชร้ ว่ มกัน เพื่อเพ่ิมประสิทธิภาพในการเรียนรู้

3.ปัญหา อปุ สรรค์และข้อเสนอแนะ
3.1 ปญั หา/อุปสรรค
3.1.1 นักเรียนบางสว่ นไม่เข้าช้ันเรียนตามเวลา
3.2 ข้อ เสนอแนะ
3.2.1 นกั เรยี นตดิ ตามงานดว้ ยตนเอง
3.2.2 ควรมีการวจิ ยั ในเนื้อหาอืน่ และระดับชั้นอื่น ๆ ต่อไป

บรรณานกุ รม

กดิ านันท์ มลทิ อง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พมิ พ์ครั้งท่ี 2.
กรงุ เทพมหานคร: อรุณการพมิ พ์

๓๘

กาญจนา ลาภรวย.(2532).การศึกษาผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นวชิ าวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธดิ์ ้าน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแกป้ ัญหาเชิงวทิ ยาศาสตร์
ของนกั เรียนชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 5 ทีร่ ะดับความสามารถทางการเรยี นวิชาวิทยาศาสตร์
แตกต่างกนั โดยการสอนแบบไม่ชแ้ี นวทาง และการสอนสาธิตแบบชี้แนวทาง.ปรญิ ญา
นพิ นธ์การศึกษามหาบณั ฑิต สาขาวชิ าวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวทิ ยาลัยศรีนครนิ ทรวิโรฒ.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2542). การสอนผ่านเว็บเวิลด์ไวด์เวบ็ . วารสารครศุ าสตร,์ 27(3), 18-28.
ฐติ นิ ันท์ โจณสิทธ์ิ. (2549).การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

และความสามารถในการแกป้ ญั หา เรอ่ื งแรงและการเคลอ่ื นที่ โดยใช้กิจกรรมโครงงาน
วทิ ยาศาสตร์. วทิ ยานิพนธ์ปรญิ ญาศกึ ษาศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
บณั ฑติ วิทยาลัย มหาวิทยาลยั ขอนแก่น.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2544). การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction)นวัตกรรมเพอื่
คณุ ภาพการเรยี นการสอน. วารสารศกึ ษาศาสตรส์ าร, 28(1), 87-94
บญุ เรือง เนยี มหอม. (2540ก). การพัฒนาระบบการเรยี นการสอนทางอนิ เทอร์เนต็ ใน
ระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธป์ ริญญาครุศาสตรม์ หาบัญฑติ สาขาวชิ าโสตทศั นศกึ ษา
บณั ฑติ วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย
ปิยดา ปญั ญาศรี. (2545).การเปรยี บเทยี บความสามารถในการคดิ แก้ปญั หาของนกั เรยี นชัน้
มัธยมศกึ ษาปีท่ี 1 ระหว่างนักเรียนท่มี แี บบการเรียน การอบรมเลีย้ งดู และระดบั เชาว์
ปัญญาแตกตา่ งกนั .วทิ ยานพิ นธ์ปริญญาการศึกษามหาบณั ฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศกึ ษา
มหาวิทยาลยั มหาสารคาม.
พระราชบัญญตั กิ ารศกึ ษาแห่งชาติ,2542
ภาสกร เรืองรอง. (2544).Web Based Learning. คน้ เมือ่ 24 มีนาคม 2551, จาก
http://angsila.compsci.buu.ac.th/~sc440186/samana/Web%20Based%20Lear
ning.doc
วิชดุ า รัตนเพียร. (2545). การเรียนการสอนผา่ นเวบ็ : ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศกึ ษาไทย.
วารสารครุศาสตร์, 27 (3), 29-35
สทุ ธพิ ร จติ ตม์ ิตรภาพ. (2553). การเรียนในศตวรรษที่ 21.ค้นเมอ่ื 31 มนี าคม 2557, จาก
http://www.anon.in.th/index.php/gellery/1-anon/detail/5-2013-04-28-20-43-
33? tmpl=component&phocaslideshow=0
สมุ าลี ชยั เจรญิ . (2551). เทคโนโลยกี ารศึกษาและการพัฒนาระบบการสอน. ขอนแกน่ : ภาควชิ า
เทคโนโลยกี ารศกึ ษา คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น.
สุมาลี ชยั เจรญิ . (2554). เทคโนโลยกี ารศึกษา หลกั การ ทฤษฏี ส่กู ารปฏิบตั ิ. ขอนแกน่ :
ภาควชิ าเทคโนโลยกี ารศึกษา คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ .
สรรรชั ต์ ห่อไพศาล. (2544). นวตั กรรมและการประยุกตใ์ ชเ้ ทคโนโลยีเพอื่ การศึกษาในสหัสวรรษ
ใหม:่ กรณกี ารจัดการเรียนการสอนฝา่ นเว็บ(Web Based Instruction: WBI). วารสารศรี
ปทมุ ปรทิ ศั น์, 1(2), 93-104
สายฝน จารีต. (2547). การศกึ ษาความสามารถในการคดิ แก้ปัญหาโดยการใชก้ ิจกรรมคำถาม
ปลายเปดิ แบบเร้าของเด็กปฐมวยั โรงเรียนหนองกมุ พทิ ยาคม สำนักงานเขตพ้นื ที่

๓๙

การศึกษาขอนแกน่ เขต 5. วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญาศกึ ษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาหลกั สูตร
และการสอน บณั ฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สายสุนยี ์ สีหวงษ์. (2545).ความสัมพันธร์ ะหว่างทกั ษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ เจตคติทาง
วทิ ยาศาสตรก์ ับความสามารถในการแกป้ ญั หาทางวทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรียน
ประถมศกึ ษาจังหวดั บุรีรมั ย์ สงั กดั สำนักงานการประถมศึกษา จงั หวัดบรุ ีรัมย์.
วิทยานพิ นธ์ปรญิ ญาการศกึ ษามหาบัณฑิต สาขาวชิ าการวิจยั การศึกษา มหาวทิ ยาลยั
มหาสารคาม.
หลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551,2551
อุษา จีนเจนกิจ. (2544). การศึกษาความสามารถในการแกป้ ัญหาทางวิทยาศาสตร์ และทกั ษะ
การทดลองวิทยาศาสตร์ ของนกั ศึกษาวิศวกรรมเคมี ช้นั ปที ี่ 2 ท่ไี ด้รับการสอนดว้ ย
คอมพวิ เตอร์ช่วยสอนประกอบการทดลอง เร่ือง การวเิ คราะห์ตัวอย่างนำ้ . ปริญญา
นพิ นธ์การศกึ ษามหาบณั ฑติ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครนิ ทรวโิ รฒ.
อุไร ทองหัวไผ่. (2553). การพฒั นาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรยี นรบู้ นเครือข่ายท่ีสง่ เสรมิ ความ
เขา้ ใจโปรแกรม. วิทยานิพนธป์ ริญญาปรชั ญาดุษฎบี ัณฑติ สาขาวิชาเทคโนโลยกี ารศึกษา
บณั ฑติ วิทยาลยั มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่
Clark, C.L. (1996). A student’Guide to the Internet. Saddle River, New Jersey:
Prentice Hall.

Duffy, T.M & Cunningham, D.J. (1996). CONSTRUCTIVISM: Implications for the design
and delivery of instruction. Handbook of Research for Educational
Communication and Technology. In D.H. Jonassen (Ed.). Ny: Simon &
Schuster.

Eisenberg, Michael B. Essential Skills for the Information Age: The Big6™ in Action.
Video;
38 minutes. Worthington, Ohio: Linworth Publishing, 1999.
Hannafin, M., Susan, L. & Kevin O. (1999). Open Learning Environments: Foundations,

Methoods, and Models. In M.R. Charles (Ed.). Instructional Design Theories
And Models: A New Paradingm of Instructional Theory. Volumn II. New
Jersey: Lawrence Erlbaum.
Khan, B.H. (1997). Web-Based Instruction.Englewood Cliffs, New Jersey: Education
Technology Publication.
Lannpere, M. (1997). DefiningWeb-Based Instruction.Retrieved July 21, 2008, From
http://viru.tpu.ee/WBCD/defin.htm.
Mayer, R.E. (1996b). Learning strategies for making sense out of expository text: The
SOI model for guiding three cognitive processes in knowledge construction.
Educational Psychology Review, 8, 357-371

๔๐

Relan, A. & Gillani, B.B. (1997). Web-Based Information and the Traditional Classroom:
Similarities And Differencee.In B.H. Khan (Ed.). Web-Based
Instruction.Englewood Cliffs. New Jersey: Educational Technology
Publications.

Von Glasersfeld, E. (1991). “CONSTRUCTIVISM in education.” In the international
Eneyelopedia of Education. Research and Studies. Supplementary
Volume. New York : Pergamom Press.


Click to View FlipBook Version