The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

64-2 คู่มือการใช้สื่อ กราฟิกพื้นฐาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sucharat ratchasarn, 2022-05-18 09:21:33

64-2 คู่มือการใช้สื่อ กราฟิกพื้นฐาน

64-2 คู่มือการใช้สื่อ กราฟิกพื้นฐาน

คมู่ ือการจัดการเรียนรู้

โดยการใช้สง่ิ แวดล้อมทางการเรียนรบู้ นเครอื ขา่ ย
รายวชิ า งานกราฟิกพน้ื ฐาน

สำหรับนกั เรยี นช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 4

สุชารตั น์ ราชสาร
ครู โรงเรียนโนนหันวทิ ยายน
สังกัดองคก์ ารบริหารสว่ นจังหวดั ขอนแกน่

คำนำ

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วทำให้การติดต่อส่ือสารต่าง ๆ
สะดวกและรวดเร็วขึ้น จึงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีเหล่าน้ีมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อพัฒนา
ให้การศึกษามปี ระสิทธิภาพมากขนึ้ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรยี น และลดชอ่ งว่างระหวา่ งผู้เรียน
และผ้สู อน โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งการจดั การเรยี นการสอนเพือ่ ใหน้ กั เรียนเกิดทกั ษะที่จำเปน็ ในการเรียนรู้
ในศตวรรษท่ี 21 และคุณลักษณะอนั พึงประสงค์ จำเป็นตอ้ งนำส่ือนวัตกรรมการที่ช่วยกระตุ้นให้เกิด
การเรยี นร้ดู ว้ ยตนเอง

สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เป็นการออกแบบ โดยใช้
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เป็นพื้นฐาน ประสานร่วมกับคุณลักษณะของสื่อบนเครือข่าย ท่ีสนองต่อการ
สร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน ช่วยส่งเสริมการแก้ปัญหาและถ่ายโยงความรู้ จึงเป็นนวัตกรรมหน่ึง
ท่ตี อบสนองกับวัตถุประสงค์การจัดการเรยี นการสอน

ผูจ้ ัดทำจึงได้จัดทำแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
บนเครือข่าย เพ่ือเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนมากข้ึนและเพ่ือให้
การดำเนินการจัดการเรียนการสอน โดยการใช้สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย
เป็นไปอย่างถูกต้อง

สุชารตั น์ ราชสาร

สารบัญ

หนา้

บทที่ 1 บทนำ

หลกั การและเหตุผล 1

วัตถปุ ระสงค์ 2

ประโยชนท์ ี่คาดว่าจะได้รบั 2

นยิ ามศัพท์เฉพาะ 2

บทท่ี 2 แนวคดิ การจัดการเรยี นสอนโดยการใช้สิง่ แวดลอ้ มทางการเรียนรบู้ น

เครือข่าย

ความหมายของการเรียนการสอนโดยการใชe้ -Learning 5

ประโยชน์ของการจัดการเรยี นสอนโดยการใชe้ -Learning 6

การใช้งานระบบ Moodle 6

เกณฑก์ ารผลิตสือ่ การเรียนการสอน 15

บทท่ี 3 แนวปฏบิ ตั ิในการจดั การเรยี นการสอนโดยการใช้

สงิ่ แวดล้อมทางการเรยี นรู้บนเครือข่าย

ข้ันตอนในการจดั การเรยี นการสอนโดยการใช้ e-Learning 16

แนวปฏบิ ัตใิ นการจัดสมั มนาเสรมิ /สัมมนาเขม้ ประจำชุดวิชาระดับบัณฑติ ศกึ ษา 21

แนวทางการประเมินผลการเรยี นการสอนโดยการใช้ e-Learning 24

คา่ ตอบแทนการจดั การเรียนการสอนโดยการใช้ e-Learning 26

บรรณานุกรม 29

บทที่ 1

บทนำ

1.1 หลกั การและเหตุผล

การเรียนรใู้ นศตวรรษท่ี 21 เปน็ การกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนร้โู ดย
รว่ มกนั สรา้ งรปู แบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสทิ ธิภาพของการจัดการเรียนรใู้ นศตวรรษท่ี
21 โดยเนน้ ท่อี งคค์ วามรู้ ทกั ษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะท่ีเกิดกบั ตวั ผเู้ รียน เพื่อใช้ในการ
ดำรงชีวติ ในสังคมแหง่ ความเปลยี่ นแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ทพี่ ัฒนามาจาก
เครอื ข่ายองคก์ รความรว่ มมือเพอ่ื ทกั ษะแห่งการเรียนรูใ้ นศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st
Century Skills) (www.p21.org ) ทมี่ ีช่ือยอ่ ว่า เครือข่าย P21 ซ่ึงได้พัฒนากรอบแนวคดิ เพ่อื การ
เรยี นรู้ในศตวรรษท่ี 21 โดยผสมผสานองคค์ วามรู้ ทกั ษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการ และความ
รู้เทา่ ทันดา้ นต่างๆ เขา้ ด้วยกนั เพื่อความสำเรจ็ ของผูเ้ รียนทั้งดา้ นการทำงานและการดำเนินชวี ติ

ในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้น้ันต้องมีความสัมพันธ์ มีขนั้ ตอนและกระบวนการที่เป็น
ลำดับท่ีผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียนการสอนได้ เช่น การกำหนดปัญหาท่ีผู้เรียนสนใจ การ
ทำกจิ กรรมกลุ่ม เพ่ือใหผ้ ู้เรียนสามารถวิเคราะห์และสามารถบูรณาการกับรายวิชาอ่ืนๆ ได้ด้วยตนเอง
และการสอนท่ีถือว่ามีประสิทธิภาพ น้ัน ครูต้องมีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ที่ทำหน้าท่ีสอน
(Instructor) ครูต้องมีลักษณะของผู้ท่ีสามารถช้ีแนะการเรียนรู้ (Learning Coaching) และสามารถ
ทำหนา้ ที่เป็นผ้นู ำนกั เรยี นทอ่ งเท่ียวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้ (Learning Travel Agent) ซ่ึงบทบาท
ของครูจากยุคสมัยก่อนจำเป็นต้องมีการเปลีย่ นแปลงเม่ือก้าวสู่ยุคแห่งศตวรรษท่ี 21 เน่ืองจากครูใน
โลกยุคใหม่ต้องมีความรอบรู้มากกว่าการเป็นผู้ดูแลรายวิชาที่สอนเท่าน้ัน แต่ครูมีบทบาทของการ
เพม่ิ พูนความรแู้ กน่ กั เรียน เสริมสรา้ งทกั ษะทีจ่ ำเป็นต่อการประกอบอาชีพ

การจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ เป็นการจัดการเรียนรู้แบบูรณาการองค์ความรู้
โดยมงุ่ ให้ผู้เรยี นเชือ่ มโยงความรู้ ความคิด ทักษะและประสบการณ์ที่มีความหลากหลายและสัมพันธ์
กันเป็นองค์รวม เพ่ือให้ผู้เรียนเห็นแจ้งรู้จริงในสิ่งท่ีศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
สามารถแก้ปญั หาและถ่ายโยงความรู้ได้อยา่ งสรา้ งสรรค์ และมีคุณค่า

จากความสำคัญดงั กลา่ ว ผู้สอนจึงได้ทำการศกึ ษาเกี่ยวกับวธิ สี อนและนวตั กรรมท่ีจะสามารถ
นำมาช่วยพัฒนาความสามารถในการถ่ายโยงความรู้ท่ีมีคุณภาพให้กับนักเรียน ซ่ึงวิธีการหนึ่งท่ีมี
ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนคือการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียน (Learning
Environment) ซง่ึ หมายถึง สภาวะใดๆ ที่มีผลต่อการเรียนรขู้ องมนุษย์ท้ังทางตรงและทางอ้อมทั้งที่
เป็นรูปธรรมและนามธรรม สภาพแวดล้อมท่ีเป็นรูปธรรม (Concrete Environmental) หรือ

สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ได้แก่ สภาพต่างๆ ท่ีมนุษย์ทำขึ้น เช่น
อาคาร สถานท่ี โต๊ะ เกา้ อ้ี วัสดุ อุปกรณ์ หรือส่อื ต่างๆ รวมทัง้ ส่ิงต่างๆ ทอี่ ยู่ตาม ธรรมชาติ อันได้แก่
ต้นไม้ พืช ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ในสังคมสารสนเทศ สภาพแวดล้อมใหม่เพ่ือการเรียนรู้ไม่ได้จำกัด
เพียงในห้องเรียน หากแต่เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ นวัตกรรมเทคโนโลยีจะมีบทบาทในการขยาย
ขอบเขตของสภาพการเรียนรทู้ ี่กวา้ งขวางขึ้น และไม่จำกดั ในเร่ืองของเวลาและสถานที่ เป็นเทคนคิ ท่ี
ผ้สู อนนิยมใช้คกู่ ับเทคนคิ การสอนแบบอน่ื ๆ ผู้วจิ ยั เห็นว่าเทคนิคการสอนท่ีนำมาใชร้ ่วมกนั และส่งผล
ให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือเทคนิคการสอนแบบผังกราฟิก ซึ่งเทคนิคการสอน
แบบผังกราฟิกน้ันทำให้นักเรียนได้ฝึกการตีความ การวิเคราะห์ การตัดสินใจ การคิดอย่างมี
วิจารณญาณ รวมท้ังส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อนักเรียนทำคู่กับ
เพื่อน หรือทำเป็นกลุ่ม อีกทั้งลักษณะเด่นของเทคนิคผังกราฟิกน้ันเป็นแบบของการส่ือสาร เพื่อใช้
นำเสนอข้อมูลหรือความรู้ที่ได้จากการรวบรวมอย่างเป็นระบบ มีความเข้าใจง่าย กระชับ กะทัดรัด
ชัดเจน ผังกราฟิกได้มาจากการนำข้อมูลดิบหรือความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาทำการจัดกระทำข้อมูล
ในการจัดกระทำข้อมลู ต้องใช้ทกั ษะการคดิ การสังเกต การเปรียบเทียบ การแยกแยะ การจัดประเภท
การเรียงลำดับ การใช้ตัวเลข การวิเคราะห์ การสร้างแบบแผน จากนั้นจงึ มีการเลือกแบบผังกราฟิก
เพ่ือนำเสนอข้อมูลท่ีจัดกระทำแล้วตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ท่ีผู้นำเสนอต้องการ (พิมพันธ์
เดชะคุปต์, 2544)

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ส่ิงแวดล้อม
ทางการเรียนรู้ออนไลน์ร่วมกับเครื่องมือการสอนคิดซึ่งมีมากมายหลายประการ สามารถใช้ในการ
พัฒนาความสามารถในการถ่ายโยงความรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโนนหัน
วิทยายน ท่ียังไม่สามารถเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง อีกท้ังขาดทักษะการ
แกป้ ญั หาและการถา่ ยโยงความรู้ซ่ึงถอื เป็นเปา้ หมายหลกั ในการเรยี น

เพ่อื ให้การดำเนนิ การจัดการเรียนการสอนโดยการใชส้ ่ิงแวดล้อมทางการเรียนรบู้ นเครือข่าย
เปน็ ไปอยา่ งถูกต้อง การจัดทำแนวทางในการจดั การเรียนการสอนโดยการใช้ ส่งิ แวดลอ้ มทางการ
เรียนรูบ้ นเครือข่าย จึงเป็นแหลง่ ความรทู้ ่ีจะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนโดยการใช้สง่ิ แวดลอ้ ม
ทางการเรียนรู้บนเครือข่าย เปน็ ไปอย่างถูกตอ้ ง รวดเร็ว เปน็ มาตรฐานเดียวกัน

1.2 วัตถปุ ระสงค์

1) เพอ่ื ใชเ้ ปน็ แนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้ส่งิ แวดล้อมทางการเรียนรบู้ น
เครือขา่ ย

2) เพ่อื ให้การจัดการเรยี นการสอนโดยการใช้สง่ิ แวดลอ้ มทางการเรียนรูบ้ นเครอื ขา่ ย
เป็นไปอยา่ งถกู ตอ้ ง รวดเรว็ เป็นมาตรฐานเดยี วกัน

1.3 ประโยชนท์ ่ีคาดว่าจะได้รบั

1) ครคู อมพิวเตอร์สามารถใชเ้ ป็นแนวทางในการจัดการเรยี นการสอนโดยการใช้
ส่ิงแวดล้อมทางการเรยี นรู้บนเครือข่าย

2) ใช้เปน็ เครอื่ งมอื ถา่ ยทอดแนวทางในการปฏบิ ัติงานสำหรบั ครแู ละผู้ทเ่ี กี่ยวขอ้ งในการจดั
การเรยี นการสอนโดยการใช้สิง่ แวดลอ้ มทางการเรียนรู้บนเครอื ข่าย

1.4 นิยามศพั ท์เฉพาะ
การเรียนรู้โดยใช้สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่เน้น

ผู้เรยี นเป็นสำคัญ โดยการสรา้ งสถานการณ์ปัญหา การรวบรวมแหล่งความรู้ ฐานการช่วยเหลือ และ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ เพ่ือให้นักเรียนรว่ มมือกันสำรวจข้อมูล วเิ คราะห์ ออกแบบ พัฒนา
สรปุ และนำเสนองาน จนสามารถสร้างองค์ความร้ไู ด้

บทท่ี 2
แนวคดิ การจัดการเรียนสอน
โดยการใช้สง่ิ แวดลอ้ มทางการเรยี นรู้บนเครือขา่ ย

1. สง่ิ แวดลอ้ มทางการเรยี นรู้ตามแนวคอนสตรัคตวิ ิสต์
ในปจั จบุ ันแนวการจัดการศึกษาได้เปล่ียนจาก “การสอน หรอื การถ่ายทอดโดยครูผ้สู อน

หรือส่ือการสอน” มาสู่ “การเน้นผู้เรยี นเป็นศนู ย์กลางท่ใี ห้ความสำคญั ต่อการเรียนรขู้ องผู้เรยี น”
โดยผา่ นการปฏิบัติลงมอื กระทำดว้ ยตนเอง การพัฒนาศกั ยภาพทางการคดิ ตลอดจนการแสวงหาความรู้
ดว้ ยตนเอง ซึ่งเปน็ การเปดิ โอกาสให้ผู้เรียน วางแผน ดำเนนิ การและการประเมินตนเอง และมี
ปฏสิ ัมพนั ธก์ ับแหลง่ การเรยี นรู้ตา่ งๆ ได้แก่ ครู เทคโนโลยี พ่อแม่ ภูมิปัญญาท้องถิน่ และบคุ คลอื่น ๆ
ตลอดจน สอื่ ตา่ งๆ เพอ่ื ท่ีจะนำมาสู่การสรา้ งความรู้

แนวการจดั การศึกษาดงั กลา่ วมีความสอดคลอ้ งกบั ทฤษฎีคอนสตรัคตวิ สิ ต์ (Constructivism)
ทเี่ นน้ การสร้างความร้ดู ้วยตนเอง โดยการลงมอื กระทำหรอื ปฏิบัติที่ผ่านกระบวนการคดิ และอาศยั
ประสบการณเ์ ดิมหรอื ความรูเ้ ดิมทีม่ อี ยู่แลว้ เชอ่ื มโยงกับประสบการณ์ใหม่หรอื ความรใู้ หม่ เพื่อขยาย
โครงสร้างทางปัญญา (Schema) ซ่งึ เชื่อว่า ครไู ม่สามารถขยายโครงสร้างทางปัญญาใหแ้ กผ่ ูเ้ รียนได้
ผเู้ รียนตอ้ งเปน็ ผสู้ รา้ งและขยายโครงสร้างทางปญั ญาดว้ ยตนเอง โดยครูเป็นผ้จู ดั สิง่ แวดล้อมที่เออ้ื ต่อ
การเรยี นรู้หรือสร้างความรขู้ องผูเ้ รยี น ด้วยการนำวิธีการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมหรือสอ่ื ตลอดจน
ภมู ิปัญญาทอ้ งถนิ่ มาใช้ร่วมกันเพอื่ เพิ่มประสทิ ธภิ าพในการเรียนรู้

สุมาลี ชยั เจรญิ (2547) กล่าวว่า สิ่งแวดลอ้ มทางการเรียนรทู้ พ่ี ฒั นาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
เปน็ การออกแบบทปี่ ระสานร่วมกันระหว่าง “ส่ือ (Media)” กับ “วธิ กี าร (Methods)” โดยการนำ
ทฤษฎคี อนสตรัคติวสิ ต์ มาเป็นพนื้ ฐานในการออกแบบรว่ มกบั ส่อื ซงึ่ มีคุณลักษณะของส่อื และระบบ
สัญลกั ษณ์ของส่ือท่ีสนบั สนุนการสร้างความร้ขู องผูเ้ รยี น

2. หลกั การท่ีสำคัญในการออกแบบส่ิงแวดล้อมทางการเรยี นรตู้ ามแนวคอนสตรัคตวิ สิ ต์
สถานการณป์ ญั หา (Problem based learning) มาจากพ้นื ฐานจากทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

ของเพียเจตเ์ ชื่อวา่ ถ้าผู้เรียนถูกกระตุ้นด้วยปัญหา (Problem) ท่กี อ่ ให้เกิดความขดั แย้งทางปัญญา
(Cognitive conflict) หรือเรยี กว่าเกดิ การเสยี สมดลุ ทางปญั ญา ผู้เรียนต้องพยายามปรบั โครงสรา้ ง
ทางปญั ญาให้เข้าสู่ภาวะสมดุล (Equilibrium) โดยการดดู ซมึ (Assimilation) หรือการปรับเปลยี่ น
โครงสร้างทางปญั ญา (Accommodation) จนกระท่ังผูเ้ รียนสามารถปรบั โครงสร้างทางปัญญาเข้าสู่
สภาพสมดุลหรือสามารถทจ่ี ะสร้างความรูใ้ หม่ขน้ึ มาได้ หรอื เกิดการเรียนรนู้ ่นั เอง

แหลง่ เรียนรู้ (Resource) เปน็ ที่รวบรวมขอ้ มลู เน้ือหา สารสนเทศ ท่ีผู้เรียนจะใช้ในการแก้
สถานการณป์ ัญหาที่ผู้เรียนเผชญิ ซึง่ แหลง่ เรยี นรใู้ นสงิ่ แวดลอ้ มทางการเรยี นรฯู้ นั้นคงไมใ่ ชเ่ พียงแค่เปน็

เพียงแหลง่ รวบรวมเนือ้ หาเทา่ นัน้ แตร่ วมถงึ ส่ิงตา่ งๆที่ผเู้ รยี นจะใช้ในการแสวงหาและคน้ พบคำตอบ
(Discovery)

ฐานความช่วยเหลือ (Scaffolding) มาจากแนวคดิ ของ Social Constructivism ของ
Vygotsky ทีเ่ ชื่อวา่ ถ้าผู้เรยี นอยูต่ ่ำกวา่ Zone of Proximal Development ไม่สามารถเรยี นรู้ด้วย
ตนเองได้ จำเปน็ ที่จะตอ้ งไดร้ ับการชว่ ยเหลือทเี่ รยี กว่า Scaffolding ซ่งึ ฐานความชว่ ยเหลอื จะสนบั สนนุ
ผู้เรยี นในการแกป้ ัญหา หรือการเรยี นรู้ ในกรณที ีไ่ มส่ ามารถปฏิบัติภารกจิ ใหส้ ำเรจ็ ดว้ ยตวั เองได้ โดยฐาน
ความช่วยเหลืออาจเป็นคำแนะนำ แนวทาง ตลอดจนกลยุทธต์ ่างๆในการแก้ปญั หาหรอื ปฏบิ ัตภิ ารกิจ
การเรียนรู้

การโค้ช (Coaching) มาจากพน้ื ฐาน Situated Cognition และ Situated Learning ของ
Brown & Collins (1989) หลกั การน้ไี ดก้ ลายมาเป็นแนวทางในการจัดการเรยี นรู้ตามแนวคอนสตรัค
ติวิสต์ ท่ไี ดเ้ ปล่ยี นบทบาทของครูทีท่ ำหน้าท่ใี นการถา่ ยทอดความรู้ มาเป็น “ผู้ฝึกสอน” ที่ให้ความ
ชว่ ยเหลือ การให้คำแนะนาสำหรับผู้เรยี น จะเป็นการฝึกหดั ผเู้ รียนโดยการให้ความรู้แก่ผู้เรยี นในเชิง
การใหก้ ารรูค้ ิดและการสรา้ งปัญญา

การร่วมมือกันแก้ปญั หา (Collaboration) เปน็ อกี องคป์ ระกอบหนง่ึ ท่มี ีส่วนสนบั สนุนให้
ผู้เรียนได้แลกเปลย่ี นประสบการณก์ บั ผู้อืน่ เพ่อื ขยายมุมมองให้แกต่ นเอง การร่วมมอื กันแกป้ ญั หาจะ
สนับสนนุ ให้ผเู้ รยี นเกิดการคิดไตร่ตรอง (Reflective Thinking) เป็นแหล่งทีเ่ ปดิ โอกาสใหท้ ัง้ ผู้เรยี น
ผสู้ อน ผู้เช่ยี วชาญ ไดส้ นทนาแสดงความคิดเห็นของตนเองกบั ผู้อ่นื สำหรบั การออกแบบการรว่ มมือกัน
แก้ปัญหาในขณะสร้างความรู้ นอกจากนี้การรว่ มมอื กันแก้ปัญหายงั เปน็ ส่วนสำคญั ในการปรับเปลย่ี น
และป้องกนั ความเขา้ ใจที่คลาดเคลื่อน (Misconception) ที่จะเกิดข้ึนในขณะท่เี รยี นรู้ รวมทั้งการขยาย
แนวคิด

สงิ่ แวดลอ้ มทางการเรียนรตู้ ามแนวคอนสตรัคติวิสต์ สามารถแยกตามบริบทของสอ่ื และ
คุณลกั ษณะของสื่อได้ 3 ลกั ษณะคือ

(1) สิ่งแวดล้อมทางการเรยี นรบู้ นเครือขา่ ยตามแนวคอนสตรคั ตวิ ิสต์
(2) มัลติมีเดยี ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
(3) ชุดสร้างความรู้
(สุมาลี ชัยเจรญิ , 2547)
ดงั ที่จะนำเสนอตอ่ ไปนี้
1) ส่ิงแวดลอ้ มทางการเรยี นรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรคั ตวิ ิสต์ เป็นออกแบบโดยใช้ทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสตเ์ ป็นพน้ื ฐานท่ีประสานร่วมกับคุณลักษณะของสอ่ื บนเครอื ข่ายท่สี นองต่อการสร้าง
ความรขู้ องผู้เรียน ไดแ้ กล่ กั ษณะเปน็ โนด (Node) ของความรทู้ ี่เช่ือมโยงกนั (Link) เป็นเครือขา่ ยทัว่ โลก
ซงึ่ แต่ละโหนดความรทู้ ่ผี เู้ รียนคลกิ เขา้ ไปศึกษาจะสนับสนนุ ผู้เรยี นในการเช่ือมโยงปูพ้ืนฐานความรู้ที่ชว่ ย
ในการสร้างความรูต้ ลอดจนคุณลกั ษะด้านการส่ือสารทสี่ ามารถใช้แลกเปล่ยี นความรู้ แนวคิด และขยาย

มมุ มองระหว่างกนั ได้ตลอดเวลาท่ีจะสนับสนนุ การขยายโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรยี น
2) มัลติมีเดียตามแนวคอนสตรัคตวิ ิสต์เป็นการนำทฤษฎีคอนสตรคั ตวิ ิสตม์ าเปน็ พืน้ ฐานในการ

ออกแบบ โดยประสานรว่ มกบั คุณลักษณะของมลั ตมิ ีเดยี ที่นำเสนอทง้ั ข้อความ ภาพนง่ิ ภาพเคลือ่ นไหว
และเสยี ง รวมท้ังการเช่ือมโยงหลายมิติ (Hyperlink) การเชอ่ื มโยงหลายมติ ิ (Hypermedia) โดยมี
หลกั การทส่ี ำคัญดงั ตอ่ ไปนี้ สถานการณ์ปญั หา แหล่งการเรียนรู้ ฐานความช่วยเหลอื ผู้ฝึกสอน และการ
ร่วมมอื กนั แกป้ ัญหา ซงึ่ อาจอยูใ่ นรปู แบบท่ีหลากหลาย เช่น เกมสถานการณจ์ ำลอง เป็นต้น

3) ชดุ สร้างความรู้ เปน็ การนำทฤษฎีคอนสตรัคตวิ ิสต์มาเปน็ พน้ื ฐานในการออกแบบ โดย
ประสานร่วมกับการนำสือ่ ประเภทตา่ งๆ เชน่ สอื่ ส่ิงพิมพ์ หนังสอื วีดิทัศน์ ภูมปิ ัญญาทอ้ งถน่ิ อุปกรณ์
การทดลอง รวมท้ังกิจกรรมต่างๆ มาใช้ร่วมกนั โดยคุณลักษณะของส่อื ต่างๆจะส่งเสริมซ่ึงกันและกัน เพอื่
ช่วยใหผ้ ูเ้ รียนเกิดการเรยี นรู้อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ โดยมหี ลักการและองคป์ ระกอบท่ีสำคญั ได้แก่
สถานการณ์ปัญหา แหลง่ การเรยี นรู้ ฐานความช่วยเหลือ การร่วมมอื กนั แก้ปัญหาและการโค้ช

3. การสร้างสงิ่ แวดลอ้ มทางการเรียนรู้บนเครอื ข่าย

3.1 การวเิ คราะห์ ศกึ ษาสภาพปญั หา การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้
วทิ ยาศาสตร์ ศกึ ษาวเิ คราะหห์ ลักสูตรเพอื่ จำแนกกจิ กรรมกระบวนการเรียนรู้สาระการเรยี นร้กู ารงาน
อาชีพและเทคโนโลยี กำหนดตัวชีว้ ัด การวัดและประเมินผล โดยองิ ผลการเรียนรู้ของหลกั สูตร
วเิ คราะหส์ าระการเรยี นรู้เกยี่ วกบั วชิ าวทิ ยาศาสตร์โดยละเอียด กำหนดเปน็ หนว่ ยการเรยี นรู้ และ
เน้อื หายอ่ ยโดยละเอยี ด ศึกษาหลักการ วิธกี าร ทฤษฎี และเทคนิควธิ ีสรา้ งสงิ่ แวดลอ้ มทางการเรียนรู้
บนเครอื ขา่ ยจากเอกสารตา่ งๆและงานวจิ ัยทางการศกึ ษา ท่เี กย่ี วข้อง และเขยี นแผนการจัดการเรยี นรู้

3.2 การออกแบบการสอน ออกแบบกจิ กรรมการเรียนรู้ตา่ งๆ ในสิ่งแวดลอ้ มทางการเรยี นรู้
แบบทดสอบ กิจกรรม

3.3 การพัฒนา เปน็ ขัน้ การพัฒนาสิ่งแวดลอ้ มทางการเรยี นรู้ แผนการจดั การเรยี นรู้ และ
ตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรยี นรโู้ ดยผ้เู ชย่ี วชาญ ดงั น้ี

1) ออกแบบเว็บไซต์ส่งิ แวดล้อมทางการเรยี นรู้ตามหนว่ ยการเรยี นรู้ยอ่ ย โดยแบ่ง
สถานการณป์ ัญหาออกเป็น 3 หนว่ ยย่อย ได้แก่

(1) การสร้างตวั อักษรในงานโฆษณา
(2) การออกแบบอนิ โฟกราฟกิ
(3) การทำโครงรา่ งอินโฟกราฟกิ
แตล่ ะสถานการณ์ปัญหาไดจ้ ดั ทำธนาคารความรู้ ลงิ กท์ ่ีเกยี่ วข้องและฐานความชว่ ยเหลือด้าน

ความคดิ รวบยอด ดา้ นการคิด ดา้ นกระบวนการและด้านกลยทุ ธ์ในการแกป้ ญั หา เพอ่ื เปน็ การ
ช่วยเหลือนักเรียนในการทำกิจกรรมให้สำเร็จตามเป้าหมาย

2) จัดทำเว็บไซตส์ ่ิงแวดล้อมทางการเรียนร้เู ครือข่ายผ่าน Google site

3) จัดทำแผนการจดั การเรยี นรู้เพื่อใช้เปน็ คู่มือการจัดการเรยี นการสอน

3.4 การทดลองใช้ นำแผนการจัดการเรยี นรู้ ไปใชก้ บั กลุม่ ตวั อย่างตามแบบแผนการทดลอง
เก็บรวบรวมขอ้ มูลต่างๆ ที่เกย่ี วขอ้ งท่ีได้จากการทดลอง

3.5 การประเมินผล เปน็ การนำข้อมลู ทไี่ ดจ้ ากการทดลองไปวเิ คราะหค์ า่ ทางสถิตแิ ละ
สรปุ ผลการทดลองเขยี นรายงานผลการศึกษา

บทท่ี 3

แนวปฏิบัตใิ นการจดั การเรยี นการสอน
โดยการใชส้ ่ิงแวดลอ้ มทางการเรยี นรบู้ นเครือข่าย

สิง่ แวดล้อมทางการเรยี นรู้บนเครือขา่ ย เปน็ รูปแบบการจดั การเรยี นการสอนผ่านเครอื ข่าย
คอมพิวเตอร์ ภายใต้สถานการณป์ ัญหาที่กำหนด ดังนน้ั การจะใช้ส่ือการเรียนการสอนให้มี
ประสิทธภิ าพเราจำเปน็ ตอ้ งมีการเตรียมอปุ กรณ์ ตา่ ง ๆ ท่ีจำเปน็ ตอ้ งใช้ในการเรยี นดว้ ยสิ่งแวดลอ้ ม
ทางการเรยี นรู้บนเครอื ข่าย อาจรวมไปถงึ ประสิทธิภาพการทำงานของเครือ่ งคอมพิวเตอร์ท่มี ี
ความสำคญั เช่นเดียวกนั ดังนี้

1. ระบบปฏิบตั กิ าร Microsoft Windows 7 หรือสูงกวา่
2. CPU Pentium III หรือสงู กว่า
3. มหี น่วยความจำต้งั แต่ 256 MB ขนึ้ ไป
4. การ์ดจอข้นั ตำ่ แสดงผลท่ี 1024 x 768 256 สี
5. ชดุ มัลติมีเดยี เชน่ การด์ เสยี ง ลำโพง ไมโครโฟน
6. เชอื่ มตอ่ เครือข่ายอินเทอรเ์ นต็
1. ขนั้ ตอนการใชส้ ิ่งแวดลอ้ มทางการเรียนรู้

กอ่ นอืน่ ครูผู้สอนควรทำการต้ังความละเอียดของหน่วยแสดงผลหน้าจอใหม่กอ่ น โดยความ
ละเอียดของหน้าจอ 1024 by pixels เพอ่ื ท่ีจะให้ส่ิงแวดลอ้ มทางการเรียนแสดงผลแบบ Full
screen โดยมีขัน้ ตอนดงั น้ี

1. สงิ่ แวดลอ้ มการเรียนรู้บนเครอื ขา่ ย รายวิชา งานกราฟกิ พื้นฐาน เป็นรปู แบบการจดั การเรยี น
การสอนโดยใช้สถานการณ์ทีก่ ำหนดผา่ นเว็บไซต์

2. ส่ิงแวดลอ้ มทางการเรยี นร้ทู ่ีสรา้ งขึ้น สร้างบนแพลทฟอรม์ Google site

3. โครงสรา้ งส่ิงแวดล้อมการเรยี นร้บู นเครือขา่ ยประกอบดว้ ย
3.1 คำแนะนำการใช้
3.2 ผลการเรียนรู้

4. ศึกษาสง่ิ แวดลอ้ มการเรียนรู้โดยใชร้ ะบบกลุ่ม เพ่ือระดมสมอง แลกเปล่ียนเรียนรู้ ศกึ ษา
วิเคราะห์ ออกแบบวธิ กี ารแกไ้ ขปัญหาในสถานการณ์ทกี่ ำหนด นำเสนอ อภปิ รายจนเกดิ องคค์ วามรู้

ขนั้ ตอนการเรียนโดยการจัดการเรยี นรู้ด้วยสิง่ แวดลอ้ มการเรียนรบู้ นเครอื ขา่ ยรายวิชา งานกราฟิก
พน้ื ฐาน

นกั เรียนจะตอ้ งมกี ารเรยี นตามลำดบั ข้ัน ดงั น้ี
ขั้นตอนที่ 1 ครูช้ีแจงวัตถปุ ระสงค์
ขน้ั ตอนที่ 2 นกั เรยี นตอ้ งศกึ ษาคำแนะนำการใชบ้ ทเรียน
ข้นั ตอนท่ี 3 นกั เรียนตอ้ งแบ่งกลุ่มกันทำงาน ตั้งประธานกลมุ่ รองประธานกลุ่ม และ
เลขานกุ ารกลุม่ (ในสถานการณ์โควดิ ใชก้ ารเรยี นรู้ออนไลน์ และการประชุมไลน)์
ขน้ั ตอนท่ี 4 นกั เรยี นตอ้ งรว่ มมอื กันแกป้ ัญหาจากสถานการณท์ ่กี ำหนดเรยี งลำดบั ทีละ
สถานการณ์ โดยใชแ้ หล่งเรียนรจู้ ากธนาคารความรู้ ลิงค์ทเ่ี ก่ยี วข้อง และฐานความชว่ ยเหลือ
ขน้ั ตอนท่ี 5 นำเสนอผลงานหนา้ ช้ันเรยี นหรอื ห้องประชุมไลน์ วิเคราะห์ วจิ ารณ์จนเกดิ องค์
ความรู้
ข้นั ตอนที่ 6 ประเมินช้ินงาน

บรรณานุกรม

พมิ พนั ธ์ เดชะคุปต์. 2544. การเรยี นการสอนท่เี นน้ ผ้เู รียนเปน็ สำคญั : แนวคดิ วธิ ีและเทคนิค
การสอน 1.กรงุ เทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุป๊ แมเนจเมน้ ท์

สุมาลี ชัยเจรญิ . 2547. ทฤษฎีคอนสตรคั ติวสิ ซึ ม.ขอนแกน่ :ภาควิชาเทคโนโลยกี ารศึกษาและ
ศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน่ .


Click to View FlipBook Version