The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การพัฒนากรอบความคิด GROWTH MINDSET---- Mindset คือ มุมมอง ความเชื่อ ของบุคคลที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต
ทั้งในด้านความคิด เจตคติ และพฤติกรรม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การพัฒนากรอบความคิด GROWTH MINDSET

การพัฒนากรอบความคิด GROWTH MINDSET---- Mindset คือ มุมมอง ความเชื่อ ของบุคคลที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต
ทั้งในด้านความคิด เจตคติ และพฤติกรรม

Keywords: การพัฒนากรอบความคิด GROWTH MINDSET

GROWTH การพัฒนากรอบความคิด
MINDSET
จดั ทำ�โดย ศนู ยจ์ ิตวทิ ยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถริ คุณ

www.cepthailand.org

กGาrรoพwฒั นthากรMอบinคdวาsมeคtิด

G¡ÒRÃO¾W²Ñ ¹TÒH¡ÃMͺIN¤ÇDÒSÁ¤E´Ô T

Growth Mindset

หนา้

  บทนำ�  2
  รู้จัก Mindset   4
  ฉนั มี Mindset แบบไหน?  10
  เปลีย่ นตวั เองใหม้ ี Growth Mindset  16
  การปลูกฝัง Growth Mindset ให้เด็กๆ  20
  บทสรุป  38

บทน�ำ

Carol Dweck นกั จติ วทิ ยาชาวอเมริกัน ศึกษาปัจจยั ด้านจิตวิทยาท่ี

มีผลตอ่ ความสำ�เรจ็ และพบวา่ Mindset เปน็ ปจั จัยสำ�คญั ทสี่ ่งผลต่อ
ความสำ�เรจ็ เป็นอยา่ งมาก

แนวคดิ เรอ่ื ง Mindset ไดร้ บั ความนยิ มไปทว่ั โลก ถกู ใชใ้ นการพฒั นา

ในระดับบุคคลและในระดับองค์กร ท้ังในด้านการศึกษา การกีฬา
รวมถงึ องคก์ รธุรกิจต่างๆ

Mindset คือสิ่งที่ทุกคนมีติดตัว (แต่อาจไม่รู้ตัว) การเปลี่ยน

Mindset จะสง่ ผลให้เกดิ การเปลยี่ นแปลงต่อชวี ติ ไดใ้ นหลายๆ ด้าน

Fixed Mindset Growth Mindset

ฉลาด พยายาม
เกง่ เรยี นรู้
ดี พฒั นา

รู้จกั Mindset

Mindset คือ มมุ มอง ความเช่อื ของบคุ คลทสี่ ง่ ผลตอ่ การใช้ชวี ติ
ท้งั ในด้านความคดิ เจตคติ และพฤตกิ รรม

Carol Dweck พบวา่ Mindset สามารถแบง่ บคุ คลไดเ้ ป็น 2 ประเภท คือ
คนที่มี Growth Mindset หรือ Learning Mindset

•  เชื่อว่าทุกคนสามารถเรยี นรู้และพฒั นาได้
•  มองอุปสรรคและความผิดพลาดคือโอกาสในการเรยี นรู้
•  ให้คณุ ค่ากับความต้งั ใจและความพยายาม

คนทม่ี ี Fixed Mindset

•  เชื่อว่าไม่สามารถเปล่ียนแปลงความฉลาดหรือความ

สามารถได้

•  มองว่าความผิดพลาดคือความลม้ เหลว
•  ใหค้ ุณคา่ กับคณุ สมบตั ิ ภาพลกั ษณ์ เชน่ ฉลาด เก่ง

การพัฒนากรอบความคิด | 4

Mindset เปรียบเสมือนเลนส์ การมองโลกผ่านเลนส์ที่ต่างกัน ทำ�ให้
เราเห็นโลกแตกต่างกัน เช่น เม่ือพบกับความผิดพลาด คนที่สวมเลนส์
Growth Mindset จะเห็นโอกาสในการเรียนรู้จากความผิดพลาดและ
พยายามแก้ปัญหา แต่ในคนที่สวมเลนส์ Fixed Mindset จะเห็นว่าความ
ผิดพลาดคือความล้มเหลวของตนและพยายามเลี่ยงท่ีจะเผชิญปัญหา
เพราะไมเ่ ชอ่ื วา่ ความสามารถของตนเปลี่ยนแปลงได้ ดังรปู ด้านลา่ ง

Growth Mindset ฉั น ต้ อ ง พ ย า ย า ม ม า ก ข้ึ น
ลองปรึกษาครูดีกว่า ว่าฉันทำ�
ฉนั สอบตก! (กรอบความคดิ แบบเติบโต) ผดิ ตรงไหน จะได้แกถ้ กู

ตู หมน่ั เพียร ฉันโง่เกินกว่าจะเรียนวิชาน้ี
ค ร้ั ง ห น้ า โ ด ด เ รี ย น ดี ก ว่ า
Fixed Mindset นงั่ เรียนไปกเ็ สียเวลา
(กรอบความคดิ แบบติด)

5 | การพฒั นากรอบความคิด

แล้ว Growth Mindset สำ�คัญอยา่ งไร?

คนที่มี Growth Mindset มีแนวโน้มท่ีจะประสบความสำ�เร็จ
มากกว่าคนทีม่ ี Fixed Mindset

Blackwell และ Dweck ในปี ค.ศ. 2007 ศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างความเชื่อเก่ียวกับความฉลาดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ โดยให้เด็กนักเรียนแรกเข้าช้ัน
มัธยมศึกษาปีท่ี 1 ท�ำ แบบทดสอบเพ่ือประเมินความเช่อื เกี่ยวกับความ
ฉลาด เพือ่ แบง่ นักเรยี นออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กล่มุ ท่ี 1 : เชื่อว่าความ
ฉลาดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (Growth Mindset) และ กลุ่มที่ 2 : เช่ือ
ว่าความฉลาดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (Fixed Mindset) จากนั้น
ติดตามผลการเรยี นวิชาคณติ ศาสตรข์ องนักเรียนทัง้ สองกลุ่ม เป็นระยะ
เวลา 2 ปี ต้ังแต่แรกเข้าช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 จนสิ้นสุดชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2

ผลการเรียนวชิ าคณิตศาสตร ชน้ั ม.1-ม.2

จากผลงานวจิ ัยของ Blackwell, Dweck & Trzesniewski (2007)

คะแนน ิวชาค ิณตศาสต ร 78 เชเปื่อลวาี่ยคนวแาปมลฉงลไาดด
77
76 เทอมม.ป1ลาย เทอมม.2ตน ไมส าเชมอื่าวราถคเปวลามีย่ ฉนลแาปดลงได
75 เทอมม.ป2ลาย
74
73
72
71
70
69
68

เทอมม.1ตน

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเช่ือเก่ียวกับความฉลาดและ
คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ต้ังแต่ ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1 จนสิ้นสุด
ชนั้ มัธยมศึกษาปีท่ี 2

การพัฒนากรอบความคดิ | 6

ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนในกลุ่มท่ี 1 คือกลุ่มท่ีมีความเชื่อแบบ
Growth Mindset มีผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในช่วงมัธยมศึกษา
ปีท่ี 2 เทอมปลาย สูงกว่ากลุ่มที่มี Fixed Mindset อย่างมีนัยสำ�คัญ
ทางสถิติ แสดงให้เห็นว่านักเรียนที่มี Growth Mindset มีแนวโน้มที่จะ
ประสบความสำ�เร็จทางการเรยี นมากกวา่ นักเรยี นทีม่ ี Fixed Mindset

นอกจากนี้ Dweck ได้นำ�แนวคิดเรื่อง Growth Mindset ไปใช้ใน
อีกหลายเขตพ้ืนท่ีการศึกษา ทั้งนักเรียนในย่านชุมชนแออัด และใน
ชนเผ่าพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาซึ่งโดยทั่วไปจะมีผลการเรียนแย่กว่า
นักเรียนในกลุ่มอ่ืนๆ โดยผลที่ออกมาก็เป็นไปในทางเดียวกันคือ
พบว่าการสร้าง Growth Mindset ในเด็กนักเรียน ช่วยให้ผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรียนดีขึ้น เด็กๆ สามารถทำ�คะแนนในการทดสอบระดับรัฐได้
สูงเป็นลำ�ดับต้นๆ จากที่เคยอยู่ร้ังท้าย หลังจากท่ีไดเ้ รียนรู้และเข้าใจ
ว่าความฉลาดเปล่ียนแปลงได้ การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดและการ
ใชค้ วามพยายามจะช่วยพัฒนาความสามารถของตนได้

©¹Ñ àÃÕ¹Ì٠ฉันจะทำอะไรตอ
áÅоѲ¹Òä´Œ
©Ñ¹·Óä´ŒáÅÇŒ (¶§Ö à»Ò‡ ËÁÒÂ)
©¹Ñ ⧋
äÁ©‹ ÅÒ´àËÁÍ× ¹¤¹Í×è¹ ©¹Ñ ·Ó¾ÅÒ´µÃ§ä˹
áÅШÐá¡Œ¢ÍŒ ¼Ô´¾ÅÒ´ÍÂÒ‹ §äÃ
©¹Ñ ŧÁ×Í·Ó

©Ñ¹µŒÍ§·ÓÍÂÒ‹ §äÃ

©¹Ñ ÍÂÒ¡¨Ð·Ó (໇ÒËÁÒÂ)

©¹Ñ äÁÍ‹ ÂÒ¡·Ó (Fixed Mindset)

ความคิดของคนท่ีมี Growth Mindset

7 | การพฒั นากรอบความคดิ

คนที่มี Growth Mindset มีแนวโน้มที่จะมีการจัดการทาง
อารมณ์ทด่ี ีกว่าคนทีม่ ี Fixed Mindset

คนที่มี Growth Mindset เม่ือพบกับความ
ผิดพลาด ผิดหวัง ก็อาจมีอารมณ์เศร้าได้
เหมือนกับคนที่มี Fixed Mindset เพียงแต่
จะสามารถผ่านพ้นจากความเศร้าได้เร็วกว่า
เน่ืองจากคนที่มี Growth Mindset จะพยายามเรียนรู้และตั้งใจ
แก้ปัญหา ไมม่ วั จมอยกู่ บั อารมณเ์ ศร้า ความผดิ พลาดไม่ได้บอกวา่
เขาไมเ่ กง่ หรอื ไมฉ่ ลาด เพยี งแตบ่ อกวา่ เขายงั เรยี นรเู้ รอ่ื งนน้ั ไมด่ พี อ

เม่ือพบกับความผิดพลาด คนท่ีมี Fixed
Mindset จะมองในเชิงตัดสิน ว่าความผิด
พลาดคือความล้มเหลวของตน ตนไม่เก่งพอ
จึงทำ�ให้เกิดความผิดพลาดข้ึน ซึ่งความคิดว่าตนล้มเหลวหรือไม่เก่งน้ี
เป็นความคิดท่ีก่อให้เกิดอารมณ์เศร้า โดยคนที่มี Fixed Mindset ยัง
มีความเช่ือที่ว่าตนเองไม่สามารถเก่งข้ึนได้ จึงไม่พยายามที่จะแก้ไข
แต่พยายามหลีกเล่ียงท่ีจะเผชิญหน้ากับปัญหา เพราะการเผชิญ
กับปัญหาจะย่ิงเป็นการตอกยำ้�ว่าตนไม่เก่ง ปัญหาหรือความ
ผิดพลาดก็จะยังคงอยู่และกระตุ้นให้เกิดอารมณ์เศร้าหรือกังวลไป
เรื่อยๆ

การพัฒนากรอบความคิด | 8

คนทีม่ ี Fixed Mindset คอื
คนทไ่ี มม่ คี วามม่ันใจและไมม่ คี วามสุขใช่ไหม?

คำ�ตอบคือ "ไมใ่ ช่"

ในช่วงเวลาปกติคนที่มี Fixed Mindset อาจดูมีความ
ม่ันใจและมีความสุขดีเหมือนคนอ่ืนๆ กล้าพูด กล้าทำ�
แต่ความม่ันใจของคนที่มี Fixed Mindset จะเป็น
ความมั่นใจท่ีเปราะบาง เมื่อพบกับปัญหาหรือความ
ผิดพลาดในเร่ืองใด ความม่ันใจในเรื่องนั้นๆ ก็จะหมดไป
และท�ำ ให้ทุกข์ทุกครง้ั ทต่ี ้องเผชิญกบั เร่อื งดังกล่าว

9 | การพฒั นากรอบความคดิ

ฉันมี Mindset แบบไหน?

ลองนกึ ภาพตัวเองไดร้ บั มอบหมายงานที่ไม่ถนดั และคดิ วา่ ยาก
เกนิ ความสามารถ แตต่ ้องท�ำ ตามหน้าที่

•  คณุ คดิ อย่างไร?
•  คณุ ร้สู ึกอยา่ งไร?
•  คุณท�ำ อยา่ งไร?

หากคุณต้องทำ�งานดังกล่าวอย่างหลีกเล่ียงไม่ได้ และเกิดข้อ
ผดิ พลาดมากมายจนถูกต�ำ หนิ

•  คณุ คดิ อย่างไร?
•  คุณรสู้ กึ อยา่ งไร?
•  คุณท�ำ อยา่ งไร?

ในทางกลับกัน เมื่อคุณทำ�งานดังกล่าวอย่างหลีกเล่ียงไม่ได้
และผลงานออกมาดีอย่างไม่น่าเชื่อ หัวหน้าชื่นชมไม่ขาดปาก
และจะให้คณุ ทำ�งานเดมิ ตอ่

•  คุณคดิ อยา่ งไร? คดิ ? 
•  คุณรสู้ ึกอยา่ งไร? รูส้ ึก ? 
ท�ำ ?

•  คณุ ท�ำ อย่างไร?

การพฒั นากรอบความคิด | 10

งานเปน็ เครือ่ งพสิ จู น์ความสามารถ 
หรอื งานช่วยให้คณุ ได้พัฒนาตนเอง?

คนทมี่ ี Fixed Mindset คนทีม่ ี Growth Mindset
มองวา่ งานคอื สง่ิ ทพ่ี สิ จู น์ มองหาโอกาสในการ
ความสามารถของตน พฒั นาตนเองจากงาน

• ความส�ำ เร็จคือสิง่ ท่ีพสิ ูจน์วา่   • ความสำ�เร็จคือ "การท่ีฉันได้พยายาม

"ฉันเกง่ " "ฉนั ฉลาด"  เรียนในสิ่งใหม่ๆ และพัฒนาตนเอง"

• ความผิดพลาดคือสิ่งท่ีบอกว่า • ความผิดพลาดคือสิ่งท่ีบอกว่า "ฉันยัง

"ฉันโง่" "ฉนั ไม่มีความสามารถ" ต้องพยายามเพ่ิมขึ้น และยังต้อง

เรยี นร้อู กี มาก"

11 | การพัฒนากรอบความคดิ

ในเวลาปกติอาจแยกได้ยากว่าใครมี Mindset แบบใด แต่เมื่อ
พบกับอุปสรรค เรื่องท่ีท้าทาย หรือความผิดพลาด คนท่ีมี Growth
Mindset และ Fixed Mindset จะมกี ารตอบสนองต่างกัน

ตัวอย่าง

•  ความคดิ เมอื่ ได้รับมอบหมายงานทม่ี องว่ายากเกินความสามารถ

Fixed Mindset Growth Mindset

"ตายแน่ ทำ�ไม่ไดแ้ น่ๆ"  "ฉันต้องรู้อะไรเพิ่มข้ึนอีกบ้างเพ่ือ
จะได้ทำ�งานนี้ได?้ "

"งานยากแบบนี้ ทำ�ไมไม่ให้ xx ทำ� "งานน้ียาก ลองไปปรึกษา xx ดูดี
นะ เขาเกง่ กวา่ ฉันต้งั เยอะ" กว่า เขาเคยท�ำ มากอ่ น"

"หัวหน้าให้งานแบบนี้ แกล้งกัน "งานยากแบบน้ี ต้องให้เวลากับ
แนๆ่ ร้อู ยู่ว่าฉนั ท�ำ ไม่ได้"  งานมากข้ึนหน่อยช่วงน้ี ต้อง
พยายามให้มากข้ึน"

"งานบ้าอะไรก็ไม่รู้ ไร้สาระ ไวเ้ ดี๋ยว "งานนี้น่าสนุก ดูยากทีเดียว น่าจะ
ค่อยทำ�ดีกว่า เอาเวลาไปทำ�อย่าง ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้นอกี เยอะเลย"
อ่ืนดีกวา่ "

การพฒั นากรอบความคิด | 12

•  ความคิดเม่อื พบกับความผิดพลาด

Fixed Mindset Growth Mindset

"ฉันมนั โงจ่ ริงๆ ไม่ไดเ้ รือ่ งเลย" ฉันพลาดตรงไหนนะ จะแก้ไขยังไงได้
บ้างเน่ยี ?"
"หัวหน้าก็รู้อยู่แล้วว่าฉันทำ�ไม่ได้ ยัง "ลองไปปรึกษาหัวหน้ากับ xx ดูดี
จะใหง้ านแบบนอ้ี กี แกล้งกันชดั ๆ" กว่า ว่าจะแก้ไขยังไงดี เขาน่าจะให้คำ�
แนะน�ำ ได"้
"ถ้าฉันเก่งแบบ xx ก็ดีสิ คงทำ� "ฉันยังทำ�งานนี้ไม่สำ�เร็จ คงต้อง
งานนี้ไดส้ ำ�เร็จ"  พยายามมากขึ้นไปอีก งานนี้ยาก
จริงๆ"
"งานงเ่ี ง่า คนบา้ ทไี่ หนจะทำ�ได"้ "ฉันทำ�อะไรผิดไปบ้างนะ? ครั้งหน้า
จะได้ปรบั ปรงุ "

ลักษณะความคิดของคนที่มี Fixed Mindset ต้องเผชิญกับปัญหา
และอปุ สรรคมไี ดห้ ลายรปู แบบ เช่น คดิ ว่าตนทำ�ไมไ่ ด้ ตนไมเ่ ก่ง ต�ำ หนิ
ตนเอง โทษคนอน่ื โทษตัวปัญหา โดยความคิดโทษคนอื่นหรือส่งิ อน่ื นนั้
เป็นวิธีหลีกเลี่ยงการเผชิญความคิดว่าตนเองทำ�ไม่ได้หรือไม่เก่งพอ
เพราะความคิดว่าตัวเองไม่เก่ง ทำ�ให้รู้สึกแย่มากกว่า ความคิดว่า
คนอื่นไม่ดี ต่างจากคนที่มี Growth Mindset เม่ือเจออุปสรรคหรือ
ความล้มเหลว จะมองหาวิธีจัดการกับอุปสรรคและปัญหา คิดเรียนรู้
และปรับปรุง คิดว่า "ยัง" ทำ�ไม่ได้ในตอนน้ี เพราะเช่ือว่าตนสามารถ
เรียนรู้และพัฒนาได้ โดยอาศัยความอดทนและพยายาม คนที่มี Growth
Mindset มักไม่คิดโทษคนอื่นหรือส่ิงอ่ืน แต่สนใจว่าตนจะแก้ปัญหาได้
อย่างไรมากกวา่

13 | การพฒั นากรอบความคดิ

ในช่วงเวลาท่ีมีอุปสรรค ความคิดแบบ Fixed Mindset จะก่อให้เกิด
อารมณ์ด้านลบ เช่น

ความคิด (Fixed Mindset) อารมณ์

"ตายแน่ ทำ�ไมไ่ ด้แนๆ่ " กังวล

"งานยากแบบน้ี ทำ�ไมไมใ่ ห้ xx ท�ำ นะ เขาเก่งกว่าฉนั ตั้งเยอะ" โกรธ 

"หัวหน้าให้งานแบบน้ี แกลง้ กนั แนๆ่ รอู้ ยวู่ ่าฉนั ทำ�ไม่ได้" โกรธ 

"งานบ้าอะไรก็ไม่รู้ ไร้สาระ ไว้เดี๋ยวค่อยทำ�ดีกว่า เอาเวลาไป โกรธ 
ทำ�อยา่ งอน่ื ดกี วา่ "

"ฉันมันโง่จริงๆ ไมไ่ ดเ้ รอ่ื งเลย" เศรา้  

"หัวหน้าก็รู้อยู่แล้วว่าฉันทำ�ไม่ได้ ยังจะให้งานแบบน้ีอีก แกล้ง โกรธ 
กันชัดๆ"

"ถา้ ฉนั เกง่ แบบ xx ก็ดีสิ คงท�ำ งานนีไ้ ด้ส�ำ เร็จ" เศรา้  

"งานง่ีเง่า คนบา้ ท่ีไหนจะท�ำ ได"้ โกรธ

การพฒั นากรอบความคิด | 14

ดงั ท่ีกลา่ วมาแล้วว่าคนที่มี Growth Mindset เมือ่ พบเจอปัญหาหรอื
อุปสรรค ก็มีอารมณ์ด้านลบได้เหมือนๆ กับคนท่ีมี Fixed Mindset
เพียงแต่คนที่มี Growth Mindset จะคิดต่อไปว่าจะทำ�อะไร สามารถ
จัดการอุปสรรคได้อย่างไร ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากปัญหา ให้ความ
สำ�คัญกับการแก้ปัญหาและการเรียนรู้ มากกว่าท่ีจะจมอยู่กับอารมณ์
ด้านลบ จนบางคร้ังกลายเป็นความสนุกในการแก้ปัญหาและเรียนรู้
อีกด้วย แต่คนที่มี Fixed Mindset มักจะมีพฤติกรรมในการเลี่ยง
ปัญหา เช่น โทษคนอ่ืนโทษส่ิงอื่น หนีปัญหา โดยที่จริงๆ แล้วคนที่มี
Fixed Mindset น้ันก็อยากจะแก้ปัญหาไม่ต่างกัน เพียงแต่ความเช่ือท่ีว่า
ตนเปลีย่ นแปลงไม่ได้ ท�ำ ใหเ้ ขาไมเ่ ชื่อวา่ เขาจะแก้ปญั หาได้

อย่างไรก็ตาม การมี Growth Mindset ไม่ได้การันตีผลของงาน
หรือผลลัพธ์ของการแก้ปัญหา การทำ�งานหรือแก้ปัญหาได้สำ�เร็จน้นั
ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น เช่น ความรู้ เคร่ืองมือ เวลา ฯลฯ ซึ่งอาจกล่าว
ได้ว่า Growth Mindset เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหา แต่เราคง
ปฏิเสธไม่ไดว้ ่าหากไม่เรมิ่ ต้น ก็คงไปไม่ถงึ ความส�ำ เร็จเชน่ กนั

15 | การพัฒนากรอบความคดิ

เปลย่ี นตวั เองใหม้ ี Growth Mindset

• เราสามารถเปลย่ี นให้ตัวเองมี Growth Mindset ไดจ้ ริงหรือ?

ค�ำ ตอบคือ "ได"้

โดยต้องอาศัยความตั้งใจและพยายาม

M i n d s e t คื อ ส่ิ ง ท่ี ทุ ก ค น มี เ มื่ อ พ บ กั บ
สถานการณ์ท่ีท้าทายหรืออุปสรรค Mindset ของ
เราจะทำ�งาน โดยท่ีเราไม่รู้ตัว ในคนท่ัวไป Fixed Fixed Growth

Mindset ไมไ่ ดถ้ กู กระตุ้นทุกครง้ั ท่ีพบเจอปญั หา
หรืออุปสรรค แต่อาจจะแสดงตัวกับปัญหาหรือ
อปุ สรรคบางเร่ือง

เชน่ กุก๊ ไก่คดิ วา่ ตนเองไมม่ ีหัวด้านคณิตศาสตร์ จงึ พยายามหลีกเลี่ยงงานท่ี
ต้องใช้ตัวเลข แต่คิดว่าตนมีหัวด้านดนตรี ก็สนุกกับการเรียนรู้และฝึกฝนด้าน
ดนตรีได้ แม้บางคร้ังจะรู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามมากก็ตาม หากพิจารณา
แค่ด้านดนตรี ดูเหมือนกุ๊กไก่มี Growth Mindset แต่จริงๆ แล้วกุ๊กไก่มี Fixed
Mindset ท่จี ะแสดงตัวออกมาเม่อื เจออปุ สรรคดา้ นคณิตศาสตรต์ า่ งหาก

เนื่องจากเราไม่มีวิธีการวัดที่สามารถบอกให้แน่ชัดว่าใครมี Growth หรือ
Fixed Mindset วิธีการตรวจสอบ Mindset ของตัวเอง (ที่กล่าวในหน้า 10)
ก็เป็นเพียงการอนุมานเอาจากการตอบสนองต่อปัญหาในด้านความคิด
พฤติกรรม และอารมณ์ ซ่ึงแม้ว่าเราจะมี Fixed Mindset มันก็ไม่ได้แสดงตัว
ออกมาให้เห็นในทุกเรื่อง ดังน้ัน ส่ิงท่ีสำ�คัญคือ ทุกครั้งท่ีพบกับเร่ืองท้าทาย
ปญั หา อุปสรรค และความผดิ พลาด ควรสงั เกตความคิดของตวั เอง หาก
พบว่าเป็นความคิดแบบ Fixed Mindset ก็เร่ิมต้นกระบวนการเปลี่ยน
Mindset ตามขั้นตอนในหน้าถดั ไป

การพฒั นากรอบความคดิ | 16

• ขนั้ ตอนการเปล่ียน Fixed Mindset ใหเ้ ป็น Growth Mindset
1 เปลย่ี นความคิดแบบ
Fixed Mindset เม่ือตรวจสอบความคิดแล้วพบว่าเป็นแบบ Fixed
ใหเ้ ป็นความคดิ แบบ Mindset (คิดตัดสินตัวเอง / คิดโทษคนอื่นหรือ
ส่ิงอื่น / คิดหนีปัญหา) ลองถอยตัวเองออกมาจาก
Growth Mindset ปัญหาดังกล่าว แล้วจินตนาการว่าคนที่มี Growth
Mindset จะคิดอย่างไรหากอยู่ในสถานการณ์
เดียวกัน (คิดเรียนรู้ คิดแก้ปัญหา) โดยเขียนใส่
กระดาษไว้
2 แปลความคิดแบบ แปลความคิดแบบ Growth Mindset (ความคิดท่ีจะ
Growth Mindset เรียนรู้จากปัญหา หรือความคิดในการแก้ปัญหา)
ใหเ้ ปน็ แผนพฤตกิ รรม ให้เป็นพฤติกรรมท่ีปฏิบัติได้ เขียนแผนการในการ
(Growth Mindset Action) ปฏิบัติให้ชัดเจนว่าเป้าหมายคืออะไร ต้องทำ�อะไร
ที่ไหน เมอื่ ไร อยา่ งไร และมีใครเกีย่ วขอ้ งบ้าง
3 ลงมอื ปฏิบัติตามแผน ลงมือปฏบิ ัตติ ามแผนที่วางไว้
พฤติกรรม
4 Growth Mindset
ทบทวนความคดิ หลัง ประเมินผลการปฏิบัติตามแผน ถึงการบรรลุตาม
ปฏบิ ตั ติ ามแผนพฤตกิ รรม เป้าหมาย ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมจากส่ิงที่ทำ�บ้าง
Growth Mindset ตรวจสอบความคิดที่เกิดขึ้น ยังเห็นด้วยกับความ
คดิ แบบ Fixed Mindset เดิมอยู่หรือไม่ หากไมเ่ หน็
ดว้ ยแลว้ ความคิดเปลยี่ นไปอย่างไร

17 | การพฒั นากรอบความคดิ

ตัวอย่าง

สถานการณข์ องคุณครภู าษาอังกฤษ: เด็กชายเอ ไม่ยอมส่งงานทำ�ใหไ้ ม่มีคะแนน
เก็บในวิชาภาษาอังกฤษ ทั้งท่ีเคยบอกในห้องเรียนแล้วว่าถ้าไม่ส่งงาน นักเรียนจะ
ไม่มคี ะแนนเก็บและอาจไมไ่ ดเ้ ลื่อนชั้น

ความคิด: "เด็กคนนี้ไม่ได้เรื่องเลย เหลือขอจริงๆ ฉันคงช่วยอะไรไม่ได้แล้ว"
 ตรวจสอบแล้วเป็นความคิดแบบ Fixed Mindset คือคิดโทษคนอื่น และคิดหนี
ปัญหา
ความคิดแบบ Fixed Mindset
1 "เด็กคนนีไ้ ม่ไดเ้ รื่องเลย ขเ้ี กยี จจริงๆ ฉนั คงช่วยอะไรไม่ไดแ้ ลว้ "
เปลี่ยนความคดิ แบบ "ฉันจะพยายามช่วยใหเ้ ด็กชายเอส่งงาน"
Fixed Mindset ให้
เปน็ ความคดิ แบบ
2 Growth Mindset
แปลความคิดแบบ เปา้ หมาย: เดก็ ชายเอ ส่งงานทคี่ ้างทั้งหมดภายใน 1 เดือน
Growth Mindset ให้ แผนการ: 
เปน็ แผนพฤตกิ รรม 1. คุยกับเด็กชายเอ ถึงสาเหตุท่ีไม่ส่งงาน และวางแผน
(Growth Mindset ร่วมกันว่า จะทำ�อย่างไรให้ส่งงานได้มากขึ้น ในฐานะครู
Action) ฉันจะชว่ ยได้อยา่ งไรบา้ ง

เวลา: หลงั เลิกเรยี นวันจันทร์ทจ่ี ะถงึ นี ้
สถานท:่ี ห้องพักครู

2. ปรึกษากับผู้ปกครองของเด็กชายเอ เรื่องที่ไม่ได้ส่งงาน
เลย และร่วมกันวางแผนว่าผู้ปกครองจะสามารถช่วยเหลือได้
อยา่ งไรบา้ ง โดยแจง้ เด็กชายเอก่อนว่าจะคยุ กับผูป้ กครอง

เวลา: วันจนั ทร์หลังคุยกบั เด็กชายเอ 
สถานท:ี่ คุยทางโทรศัพท์

3. ตดิ ตามการส่งงานของเด็กชายเอเปน็ ระยะทุกสัปดาห์

การพฒั นากรอบความคดิ | 18

3 ลงมือปฏิบตั ติ าม จากการพูดคุยกับเด็กชายเอ และปรึกษากับผ้ปู กครอง พบว่า
แผนพฤติกรรม เด็กชายเอ ต้องใช้เวลาช่วงเย็นหลังเลิกเรียนทุกวันและใน
Growth Mindset วนั หยดุ ชว่ ยแมข่ ายของเพราะพอ่ ปว่ ย จงึ ไมม่ เี วลาท�ำ งานทค่ี รสู ง่ั
เดก็ ชายเอ ไมไ่ ดบ้ อกแมถ่ งึ ปญั หาทโ่ี รงเรยี น เพราะเกรงวา่ แมจ่ ะ
4 ทบทวนความคดิ กงั วล หลงั จากทแ่ี มท่ ราบเรอ่ื งจงึ หาคนมาชว่ ยงานแทนเดก็ ชายเอ
หลงั ปฏิบตั ิตาม เพอ่ื ใหม้ เี วลาท�ำ งานสง่ ครคู อยตดิ ตามการสง่ งานของเดก็ ชายเอ
แผนพฤตกิ รรม ทกุ สปั ดาห์
Growth Mindset
การบรรลุเป้าหมาย : เด็กชายเอส่งงาน 70 % ของท่ีค้าง
ทั้งหมดใน 1 เดือนทีผ่ ่านมา
ส่ิงท่ีได้เรียนร:ู้
• เดก็ ชายเอ ไมไ่ ดข้ เ้ี กียจอยา่ งทค่ี ดิ ตอนแรก
• การไมส่ ง่ งานไมไ่ ดห้ มายความวา่ เดก็ คนนน้ั จะตอ้ งขเ้ี กยี จ
• การตัดสนิ เด็กไม่ได้ช่วยอะไร แต่ควรลงมือช่วยเหลือเด็ก

จริงๆ ต่างหาก
• ครอบครัวของเด็กเองกช็ ว่ ยครแู กป้ ัญหาได้
ตรวจสอบความคิดเดิม "เด็กคนน้ีไม่ได้เร่ืองเลย ข้ีเกียจจริงๆ
ฉันคงช่วยอะไรไม่ได้แลว้ " ไมจ่ รงิ เลย "เดก็ คนนไ้ี มไ่ ดข้ เ้ี กยี จแต่
ไมม่ เี วลาตา่ งหาก และฉนั สามารถชว่ ยเขาได"้

สิ่งท่ีสำ�คัญไม่น้อยไปกว่าการรู้เท่าทันความคิดแบบ Fixed Mindset ของตัวเอง
แล้วเปล่ียนให้เป็นความคิดแบบ Growth Mindset คือการลงมือปฏิบัติพฤติกรรม
Growth Mindset เพราะการลงมือทำ� และเห็นจริงๆ ว่า "เราสามารถแก้ปัญหาได้
สามารถเรียนรู้และพัฒนาขึ้นได้" มีพลังในการเปล่ียนแปลงมากกว่าการคิดหรือ
นกึ เอาเฉยๆ

19 | การพฒั นากรอบความคดิ

การเปล่ียนความคิดให้เป็น Growth Mindset และการพยายามแก้
ปัญหา ไม่ได้รับรองผลว่าจะแก้ปัญหา หรือก้าวข้ามอุปสรรคได้ ดังที่
กล่าวมาแล้วว่า Growth Mindset เป็นเพียงจุดเร่ิมต้น ซึ่งนอกจากจะ
เริ่มต้นแล้วยังต้องอาศัยความอดทนและความพยายาม อย่างไรก็ดี
แม้ว่าการพยายามแก้ปัญหานั้นจะยังไม่ประสบผล แต่ถ้าเรามอง
ผ่านเลนส์ Growth Mindset เราจะเห็นว่าเราเข้าใกล้ความสำ�เร็จ
ไปไดอ้ ีกนดิ เพราะเรารมู้ ากขน้ึ แล้ววา่ อะไรท่ีไมไ่ ด้ผล

การปลูกฝงั Growth Mindset ให้เด็กๆ

หากสังเกตเด็กเล็กๆ จะพบว่าเด็กทุกคนสนใจที่จะเรียนรู้จากสิ่ง
ต่างๆ รอบตัวรวมทั้งฝึกฝนทักษะต่างๆ โดยไม่ย่อท้อ เช่น ต้ังใจฟัง
และพยายามเปล่งเสียงจนสามารถส่ือสารเป็นคำ�พูดท่ีมีความหมาย
เรียนรู้การใช้กล้ามเน้ือในการเคล่ือนไหวและฝึกฝนจนก้าวเดินและ
ออกว่งิ ได้ เด็กๆ มองส่งิ รอบตัวและสำ�รวจอย่างสนใจใครร่ ู้

เม่ือโตข้ึน เด็กเร่ิมเรียนรู้ท่ีจะประเมินและให้ค่าสิ่งต่างๆ ตามแบบ
ที่เห็นผู้ใหญ่ในชีวิตของเขาท�ำ หากผู้ใหญ่รอบตัวประเมินและให้คุณค่า
ตามคุณลักษณะหรือคุณสมบัติต่างๆ ของเด็ก เช่น ฉลาด เก่ง หัวไว
โง่ หัวทึบ ฯลฯ เป็นประจำ� จะทำ�ให้เด็กใส่ใจในส่ิงเหล่านั้น เด็กท่ีถูก
ตีตราว่าฉลาด จะพยายามรักษาความฉลาดของตนไว้ ไม่ลองเรียนรู้สิ่ง
ใหม่ๆ ท่ีอาจมีความเสีย่ งวา่ ถ้าท�ำ ไม่ได้ จะแสดงวา่ ตนไม่ฉลาดอีกต่อไป
สว่ นในเด็กทถี่ ูกตตี ราว่าโง่ ปญั ญาทึบ เชื่อว่าตนเองเรียนรู้ไม่ได้ กค็ งจะ
ไม่เรียนเพราะถึงเรียนไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้นได้อยู่ดี ดังน้ันแทนท่ีเมื่อเด็ก
โตข้ึนจะสนใจใคร่รู้มากข้ึน กลับกลายเป็นว่าเด็กจำ�นวนมาก ความ
กระตือรอื ร้นในการเรยี นหายไป

การพฒั นากรอบความคดิ | 20

หลักการสร้างหรือการรักษา Growth Mindset ให้คงอยู่ ท่ีสำ�คัญ
คือ การช่วยให้เด็กเห็นว่าคุณสมบัติ หรือความสามารถต่างๆ ไม่ใช่
ส่ิงท่ีติดตัวหรือเป็นอัตลักษณ์ของเขา แต่เป็นส่ิงท่ีเปล่ียนแปลงและ
พฒั นาไดด้ ้วยการเรียนรู้ และความพยายาม

•  เราสามารถสรา้ ง Growth Mindset ใหเ้ ดก็ ๆ ไดโ้ ดยวธิ ีการดังต่อไปน้ี

สอนให้เด็กเข้าใจว่าการเรียนรู้สามารถ OG Brainology
เพม่ิ ศกั ยภาพของสมองได้ (Brainology) R
สอนให้เด็กรู้จักต้ังเป้าหมายในการเรียน
(Student’s Expectation) Student’s Expectation W M Mistake is Interesting
ไม่พลาดเม่อื ผดิ พลาด  T
(Mistake is Interesting) H

Power of YET NI
D
S
E Parnadistihneg PErffoocretss
T

FCeoendsbtrauccktive

ใช้พลังของค�ำ วา่ "ยัง" (Power of YET)

ชมที่ความพยายามและกระบวนการ
(Praising Effort and the Process)

ให้ Feedback เพ่ือการเรียนรู้และพัฒนา
(Constructive Feedback)

21 | การพัฒนากรอบความคิด

สอนให้เด็กเข้าใจว่าการเรียนรู้สามารถเพิ่มศักยภาพของ
สมองได้ (Brainology)

Dweck ได้นำ�การสอนเร่ืองเก่ียวกับสมองและการเรียนรู้ไปใช้กับ
เด็กมัธยมต้น พบว่าสามารถช่วยเพิ่มระดับผลการเรียนในเด็กท่ีมีผล
การเรียนต่ำ�ให้สูงข้ึนและมีแรงจูงใจในการเรียนมากข้ึนได้ เมื่อเทียบกับ
กลุ่มควบคุม เราจึงควรสอนให้เด็กเข้าใจว่าสมองของเราพัฒนาและ
เติบโตขึ้นได้เรื่อยๆ ศักยภาพและความสามารถของเราก็เปล่ียนแปลง
ได้ด้วยการเรยี นรแู้ ละฝกึ ฝนอยา่ งสมำ่�เสมอดว้ ยเชน่ กัน

ตวั อยา่ ง เนอื้ หาในการสอน

•  ความรู้ท่ัวไปเกี่ยวกับโครงสร้าง และหน้าที่ของสมอง เช่น

การควบคุมการเคลื่อนไหว การรับและแปลข้อมูลจากประสาท
สัมผัส การเรยี นรู้และจดจ�ำ การคิดในแบบต่างๆ เปน็ ต้น

•  การทำ�งานของสมอง เซลล์ประสาทซ่ึงประกอบกันขึ้นมา

เป็นสมอง หน้าท่ีของเซลล์ประสาทท่ีต่างกัน เช่น รับสัมผัส
สั่งการเคลื่อนไหว บันทึกความจำ� แปลความหมายของภาพที่
เห็น ฯลฯ การทำ�งานของเซลล์ประสาทท่ีเช่ือมโยงผ่านสายใย
ประสาททีเ่ ชอื่ มต่อกนั อย่างเป็นระบบ

การพฒั นากรอบความคดิ | 22

•  การเติบโตของสมอง สมองพัฒนาข้ึนโดยการเรียนรู้ ทุกการเรียนรู้

จะเกิดการส่งสัญญาณจากเซลล์ประสาทตัวหนึ่งไปยังเซลล์ประสาท
ตัวอ่ืนๆ เช่ือมต่อเป็นโครงข่ายใยประสาท ยิ่งเรียนรู้มาก ฝึกฝนมาก
โครงข่ายใยประสาทก็จะเช่ือมต่อกันแข็งแรงมากข้ึน ทำ�ให้สมอง
สามารถท�ำ งานในเรอ่ื งท่ีเรียนรแู้ ละฝึกฝนได้ดีขน้ึ เร่อื ยๆ ในทางกลบั กัน
หากไม่เรียนรู้หรือฝึกฝน การเช่ือมต่อโครงข่ายใยประสาทก็จะถูก
ทำ�ลายไปท�ำ ใหส้ มองทำ�งานในเร่อื งน้ันๆแย่ลงอาจใชก้ ารเปรยี บเทยี บ
สมองเป็นเหมือนกล้ามเนื้อ และการเรียนเปรียบเหมือนการออกกำ�ลัง
ถ้าเราออกกำ�ลังกายบ่อยๆ กล้ามเนื้อก็แข็งแรงข้ึนมีพละกำ�ลัง แต่ถ้า
เราไมอ่ อกกำ�ลงั กาย กล้ามเน้อื ก็จะฝ่อลงไม่มเี รย่ี วแรง

•  เชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างหน้าที่ การทำ�งาน และการ

เติบโตของสมองกับชีวิตประจำ�วัน สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับสมอง
ท้ังหมดและความเช่ือมโยงกับตัวเรา การนำ�ความรู้ไปปรับใช้ โดยเน้น
ให้เด็กเห็นความสำ�คัญของการเรียนรู้และการฝึกฝน หากมีเรื่องท่ีทำ�
ไม่ได้ แสดงว่าเซลล์ประสาทยังไม่ได้สร้างเครือข่ายใยประสาทในเร่ือง
น้นั เราต้องสรา้ งเครือข่ายดงั กล่าวข้ึนมาโดยการเรียนรู้และฝกึ ฝน

สามารถเขา้ ไปชมเร่ือง Brainology ได้ท่ี : 
https://ideas.classdojo.com/i/growth-mindset-1

23 | การพฒั นากรอบความคดิ

สอนให้เด็กรจู้ ักตงั้ เปา้ หมายในการเรียน 
(Student’s Expectation)

สิ่งท่ีสำ�คัญมากในการช่วยให้เด็กๆ เกิดความรักในการเรียนรู้
คือการให้เขาได้รู้สึกว่าเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตัวเอง รู้ว่าการ
เรียนนั้นมีความสำ�คัญ มีความหมายกับตัวเขาอย่างไร โดยการตั้ง
เป้าหมายในการเรียนด้วยตนเอง ช่วยให้เด็กรู้สึกเป็นเจ้าของ
และรับผิดชอบการเรียนรู้ของเขา การสอนให้เด็กรู้จักต้ังเป้าหมาย
ในการเรียนจะช่วยให้เด็กมองถึงการพัฒนาไปข้างหน้าและประเมิน
การเรียนรขู้ องตนเปน็ ระยะได้
เปา้ หมายมี 2 ชนดิ คือ
1. เป้าหมายระยะยาว : ทำ�ให้การเรียนมีความหมาย ช่วยสร้าง
แรงจูงใจในการเรียนและช่วยกำ�กับทิศทางของเปา้ หมายระยะส้ัน 
ตัวอย่างเป้าหมายระยะยาว : อาชีพที่อยากทำ� ภาพชีวิตตัวเองในอีก
10 ปีขา้ งหนา้
2. เป้าหมายระยะสน้ั : ช่วยก�ำ กับและส่งเสริมการเรยี นรู้ เปา้ หมายท่ดี ี
ควรมกี ารกำ�หนดชว่ งเวลา เชน่ 1 คาบเรียน 1 สัปดาห์ หรอื 3 เดือน
ฯลฯ ควรมีความชัดเจน วัดได้ เพ่ือให้ง่ายต่อการประเมิน รวมท้ัง
มองเห็นความเป็นไปได้ เช่น สามารถทำ�แบบฝึกหัดการบวกเลข
2 ตำ�แหน่งในหนังสือแบบเรียน ได้ถูกต้องมากกว่า 80% ภายใน
1 สัปดาห์, อ่านทบทวนบทเรียนวิชาภาษาอังกฤษจบบทท่ี 1 ในวันน้ี,
ฝกึ เสริ ์ฟลกู เทนนสิ 100 ครงั้ ในวันนี้

การพฒั นากรอบความคิด | 24

ครูและพ่อแม่สามารถตั้งเป้าหมายร่วมกับเด็ก โดยต้ังเป้าหมายรายวัน
รายสัปดาห์ หรือใน 1 เทอมการศึกษา ให้เด็กได้ฝึกวางแผนความก้าวหน้า
ในการเรียนของตนเองเปน็ รายบคุ คล

1 สัปดาห์ 10 ปี

เป้าหมายระยะสั้น :  เปา้ หมายระยะยาว :
ทำ�แบบฝกึ หดั การบวก อยากเปน็ หมอ
เลข 2 ต�ำ แหนง่ ถกู ตอ้ ง

มากกว่า 80 %

25 | การพัฒนากรอบความคิด

ตวั อยา่ ง เป้าหมายการเรยี น 1 สปั ดาห์

เป้าหมาย : เรยี นรแู้ ละทอ่ งจ�ำ คำ�ศัพท์ภาษาองั กฤษใหม่ ได้ 50 ค�ำ

ระยะเวลา : 1 สัปดาห์ (วนั ท่ี 8-14 สิงหาคม 2559)

แผนการ :

วนั ท่ี สิง่ ทต่ี ้องทำ� หมายเหตุ

8 ส.ค. ค้นหาคำ�ศัพท์ที่ไม่รู้ หรือ ช่วยกันกบั คุณพอ่
ยังจำ�ไม่ได้จากหนังสือเรียน
ชว่ งบ่าย ภาษาอังกฤษ มา 50 คำ�

(ประมาณสีโ่ มงเยน็ )

9-13 ส.ค. ท่องจำ�คำ�ศัพทท์ เี่ ลอื กมา  ท�ำ ทกุ วนั กอ่ นนอน
วนั ละ 10 ค�ำ

14 ส.ค. ทบทวนค�ำ ศพั ท์ท้งั หมด

ช่วงบ่าย คณุ พอ่ ทดสอบค�ำ ศพั ทท์ ง้ั หมด

(หลงั กนิ ขา้ วเทีย่ ง)

ท้ังน้ี ส่ิงท่ีสำ�คัญร่วมไปกับการตั้งเป้าหมายคือ การกำ�หนดวิธี
ก�ำ กบั ติดตามและสนบั สนนุ ให้เด็กประเมินตวั เอง

การพฒั นากรอบความคดิ | 26

ไม่พลาดเมื่อผิดพลาด (Mistake is Interesting)

คนส่วนใหญ่มองความผิดพลาดเป็นเรื่องไม่ดี การพูดถึงความผิด
พลาดคอื การตำ�หนิ แตส่ ำ�หรับคนท่มี ี Growth Mindset ความผิดพลาด
คือสิ่งท่ีน่าสนใจ เพราะเป็นโอกาสในการเรียนรู้ เราจึงควรชักชวนให้
เด็กๆ ใสใ่ จ และมองเห็นโอกาสจากความผดิ พลาด

เด็กจำ�นวนมากไม่กล้าทำ�งานเพราะกลัวว่าถ้าทำ�ผิดแล้วจะถูก
ลงโทษหรือถูกตำ�หนิ พ่อแม่และครูควรให้การตอบสนองต่อความ
ผิดพลาดของเด็กด้วยท่าทีเป็นกลาง ไม่เพ่งโทษ แต่ชักชวนให้ปรับปรุง
แกไ้ ข

การทบทวนส่ิงท่ีได้เรียนรู้จากความผิดพลาดเป็นวิธีหน่ึงท่ีช่วย
ให้เด็กๆ มองความผิดพลาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียน การตอบ
โจทย์ผิดไม่ใช่เร่ืองน่าอายหรือแสดงว่าโง่ สิ่งท่ีควรทำ�คือยอมรับ
วิเคราะห์ และพยายามแก้ไข ครูและพ่อแม่สามารถใช้คำ�ถาม
เชิญชวนให้เด็กทบทวนสิ่งท่ีได้เรียนรู้จากความผิดพลาดแทนที่จะ
พูดถึงแต่ส่ิงที่ทำ�ได้สำ�เร็จเพียงอย่างเดียว เช่น "หนูได้เรียนรู้อะไร
เพ่ิมเติมจากการกลับไปแก้โจทย์ข้อน้ีใหม่?" "ในสัปดาห์ที่ผ่านมามี
อะไรบ้างท่ีหนูคิดว่าอยากจะกลับไปแก้ไข และหนูจะทำ�อย่างไร?" จะ
เป็นการช่วยให้เด็ก ได้เรียนรู้ว่า ท้ังความผิดพลาดและความสำ�เร็จเป็น
สิ่งที่มีประโยชน์ทั้งคู่ ทั้งนี้ควรตระหนักเพิ่มเติมด้วยว่า ความสำ�เร็จ
ซำ้�ๆ ในเร่ืองเดิมๆ อาจมีคุณค่าน้อยกว่าความผิดพลาดในเรื่อง
ใหมๆ่ ทท่ี ้าทาย

การตอบสนองของครูและพ่อแม่ต่อความผิดพลาดหรือความสำ�เร็จ
ของเดก็ สามารถสร้างได้ทงั้ Growth และ Fixed Mindset

27 | การพฒั นากรอบความคดิ

ลองพจิ ารณาตัวอย่างตอ่ ไปน้ี
นอ้ งเมย์เปน็ นักกฬี าแบดมนิ ตนั ประจ�ำ โรงเรียน พอ่ แมแ่ ละทกุ คนใน

โรงเรยี นเชอื่ ว่านอ้ งเมยส์ ามารถเป็นนกั กีฬาทมี ชาตไิ ด้
วันน้ีเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศในระดับเขตการศึกษา น้องเมย์แพ้

ให้กับคูแ่ ขง่ 2 ต่อ 0 เซต หากทา่ นเป็นพ่อแม่ของน้องเมย์ ทา่ นจะบอก
ลกู ว่าอยา่ งไร หลังสนิ้ สุดการแข่งขัน?
1. "ไม่ว่าผลการตัดสินจะเป็นยังไง สำ�หรับพ่อกับแม่ หนูเป็นผู้ชนะ

นะลกู "
2. "ไมเ่ ปน็ ไรนะลกู กีฬามนั ไม่ไดเ้ ป็นเร่ืองส�ำ คัญกบั ชวี ิตขนาดนัน้ "
3. "ครง้ั นไ้ี มช่ นะไมเ่ ปน็ ไร มคี รง้ั หนา้ ลกู หนตู อ้ งท�ำ ไดแ้ นห่ นเู กง่ จะตาย"
4. "วันนเ้ี ราแพ้ โชคไม่เข้าข้างเรา แตว่ นั หนา้ ไม่แน่นะ ไมต่ อ้ งเสียใจลูก"
5. "วันนี้หนูเปน็ อะไร เสิร์ฟไม่ดเี ลย จะแพ้ก็ไม่แปลกหรอก"

การพฒั นากรอบความคดิ | 28

ลองวิเคราะห์ คำ�ตอบแต่ละขอ้
ข้อ 1. เป็นการปลอบใจท่ีไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะจริงๆ แล้ว

เมยแ์ พ้ ซ่งึ เมยเ์ องก็รูด้ ี
ขอ้ 2. เปน็ การสอนให้เมย์ลดคณุ ค่าสงิ่ ที่ท�ำ ไมไ่ ด้
ขอ้ 3. เปน็ การบอกวา่ ชัยชนะเป็นสิ่งทีส่ �ำ คญั แพค้ ือลม้ เหลว
ข้อ 4. เป็นการให้คุณคา่ กบั การแพ้-ชนะ เช่นกัน สอนให้เชอ่ื ว่าโชคลาง

เปน็ ปัจจยั ท่ีส�ำ คญั ต่อความสำ�เร็จ
ข้อ 5. ข้อน้ีดูทำ�ร้ายจิตใจที่สุด แม้จะให้ข้อมูลบางอย่างในการนำ�ไป

ปรบั ปรงุ แตว่ ธิ กี ารพดู ไมช่ วนฟงั
คำ�พูดทพี่ ่อแม่หรือโค้ชสามารถพูดกับน้องเมย์ เพอ่ื สร้าง Growth Mindset
ควรเป็นคำ�พูดท่ีตรงกับความจริง และมุ่งไปสู่การพัฒนา เช่น "แม่รู้ว่าหนู
เสียใจ ไม่ว่าหนูจะชนะหรือแพ้แม่ก็ภูมิใจในตัวหนู เพราะแม่รู้ว่าหนูต้ังใจและ
พยายามซ้อมมาตลอด 1 เดือน แม่คิดว่าหากหนูอยากพัฒนาฝีมือต่อไป
กต็ อ้ งพยายามตอ่ ลองดวู า่ เรามขี อ้ ผดิ พลาดตรงไหนบา้ ง จะไดป้ รบั ปรงุ นะจะ๊ "
ความผิดพลาดหรือผิดหวังไม่ใช่หายนะ แต่คือส่งิ ท่คี วรให้ความสนใจ
เพอ่ื การเรยี นรแู้ ละพฒั นา

29 | การพฒั นากรอบความคดิ

ใช้พลังของคำ�ว่า "ยัง" (Power of YET)

เราสามารถช่วยให้เด็ก พลิกมุมมองจาก Fixed Mindset เป็น
Growth Mindset ได้ง่ายๆ โดยการใช้คำ�ว่า "ยัง" เม่ือเด็กบอกว่า "ทำ�
ไม่ได"้ ทจี่ รงิ แลว้ เขายงั ท�ำ ไม่ไดใ้ นตอนนต้ี า่ งหาก

ลองพจิ ารณาคำ�พดู ตอ่ ไปนี้

"หนแู ก้โจทย์ปัญหาข้อนไ้ี ม่ได้"  "หนยู ังแกโ้ จทย์ปัญหาขอ้ น้ีไมไ่ ด้"

"ผมท�ำ งานนีไ้ มส่ ำ�เรจ็ "  "ผมยงั ทำ�งานนไ้ี ม่ส�ำ เรจ็ "

"หนใู ช้คอมพิวเตอรไ์ ม่เป็น"  "หนยู งั ใช้คอมพิวเตอรไ์ มเ่ ปน็ "

การเพิ่มคำ�ว่า "ยัง" เป็นการสร้างความตระหนักว่า ผลลัพธ์ท่ีมี
อยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่จุดสิ้นสุด เราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและ
สามารถไปถงึ เป้าหมายได้ในอนาคต

ตวั อย่าง ข้อไหนท่ีหนูยังทำ�ไม่ได้จ๊ะ
ห นู ทำ � แ บ บ ฝึ ก หั ด น้ี วิมล? ลองมาดูด้วยกันนะจ๊ะ
ไมไ่ ด้เลยคะ่ หนูไม่เก่ง ว่าตรงไหนท่หี นยู งั ไม่เข้าใจ
เลขคะ่ ครู

การพฒั นากรอบความคิด | 30

บอลยังทำ�ไม่ได้ตอนน้ี ไม่เป็นไรนะลูก
ถ้าบอลว่าเรื่องนี้สำ�คัญกับลูก บอลคง
ต้องพยายามให้มากขึ้นอีก มาช่วยกัน
วางแผนไหมวา่ จะฝกึ ตรงไหนเพม่ิ เติม
ผมคัดตัวเข้าทีมไม่ผ่าน มันยาก
เกินไปสำ�หรับผมครับพ่อ ความ
สามารถของผมไมพ่ อหรอกครบั

31 | การพฒั นากรอบความคดิ

ชมทค่ี วามพยายามและกระบวนการ
(Praising Effort and the Process)

การใหค้ �ำ ชมโดยทั่วไปเปน็ ประโยชน์ เพราะช่วยเพิ่มความภาคภมู ิใจ
ในตนเอง (Self Esteem) แต่จากการศึกษาเกี่ยวกับคำ�ชมพบว่าคำ�ชม
บางประเภทท�ำ ใหพ้ ัฒนาการในการเรยี นของเดก็ แยล่ ง

การชมทค่ี วามฉลาด (Intelligence) ท�ำ ใหเ้ ดก็ เกดิ Fixed Mindset
คำ�ชมในเรื่องความฉลาด ความสามารถโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
เชิงตัดสิน เชิงเปรียบเทียบ เช่น "หนูฉลาดมาก" "หนูมีพรสวรรค์ด้าน
ศิลปะมากๆ" "เธอเก่งท่ีสุดในห้อง" ทำ�ให้เด็กมีแนวโน้มที่จะหลีกเล่ียง
การทำ�งานยากๆ และชอบเปรียบเทียบความสามารถกับคนอื่น
มากกว่าที่จะสนใจพฒั นาตนเอง
คำ�ชมในความตั้งใจ ความพยายาม หรือกระบวนการ เช่น "หนู
พยายามมากเลยกับงานน้ี แม่ภูมิใจจริงๆ จ้ะ" "วิธีการลงสีเล่นแสงเงา
ของเธอในภาพนี้ สวยมากๆ เลย" ทำ�ให้เด็กมีแนวโน้มที่จะชอบงาน
ที่ยากและท้าทาย สนใจในกระบวนการเรียน ค้นหาวิธีการทำ�งาน
ใหม่ๆ มากกว่าการเปรียบเทยี บตนเองกบั คนอนื่
จากการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบเด็กๆ ท่ีได้รับคำ�ชมท่ีความ
ฉลาดกับกลมุ่ ทไ่ี ด้รับคำ�ชมทค่ี วามพยายาม เด็กกลุ่มแรกจะ

•  ยอมแพเ้ ม่อื พบกับความผิดพลาด
•  ทำ�งานได้แยล่ งหลังจากท�ำ ผิดพลาด
•  โกหกวา่ ตนเองท�ำ ผลงานได้ดี

การพัฒนากรอบความคดิ | 32

เราไมค่ วรชมเด็กๆ ท่คี วามฉลาดเลยใช่หรือไม?่
จากการศึกษาในเด็กเตรียมอนุบาล (ช่วงอายุ 2-3 ปี) พบว่าการ
ให้คำ�ชมไม่ว่าจะเป็นแบบใด (ชมที่ความฉลาด หรือ ความพยายาม
หรือ กระบวนการ) ช่วยให้เด็กสนใจในการเรียนรู้มากขึ้นเม่ือเทียบ
กับกลุ่มที่ไม่ได้รับคำ�ชม แต่อย่างไรก็ดี เด็กกลุ่มท่ีได้รับคำ�ชมที่ความ
พยายามหรือกระบวนการ มีความสนใจในการทำ�กิจกรรมมากกว่า
กลุ่มทชี่ มดา้ นความฉลาด

เมื่อเด็กโตขึ้น จะเริ่มใส่ใจต่อความหมายและส่ิงที่ผู้ใหญ่ให้
คุณค่าจากคำ�ชม การชมที่ความฉลาดทำ�ให้เด็กใส่ใจต่อภาพลักษณ์ว่า
ต้องดูฉลาดจึงจะดี เมื่อเจอเรื่องที่ยากซ่ึงตนทำ�ไม่ได้ จึงหลีกเล่ียงที่จะ
ท�ำ เพราะการท�ำ ไม่ได้ มีความหมายวา่ ตนไมฉ่ ลาด

ธดิ า หนตู อบถกู หมดทกุ ขอ้ เลย
หนนู ่ฉี ลาดจริงๆ เลยนะ

ตอบถูก = ฉลาด 
ตอบผดิ = ไมฉ่ ลาด

33 | การพัฒนากรอบความคดิ

ควรใหค้ �ำ ชมบ่อยแคไ่ หน?
การให้คำ�ชมบ่อยเกินไป ทำ�ให้เด็กร้สู ึกว่าเป็นการชมท่ไี ม่จริงใจ
โดยเฉพาะอย่างย่ิง การชมในเรื่องเล็กน้อยท่ีใครๆ ก็ทำ�ได้ ดังนั้นจึงไม่
ควรให้คำ�ชมบ่อยเกินไป เพราะจะทำ�ให้การชมไม่มีค่า และอาจทำ�ให้
เด็กคิดวา่ เราแกลง้ ชม
การชมจึงเป็นส่ิงที่ดี ช่วยเสริมสร้างกำ�ลังใจและสร้าง Growth
Mindset ให้กับเด็กๆ คำ�ชมท่ีดีคือคำ�ชมท่ีเฉพาะเจาะจง และเป็นส่ิงที่
เดก็ สามารถเปล่ยี นแปลงได้
โดยสรุป การชมท่ีดี มลี กั ษณะดังตอ่ ไปนี้
1. ชมทว่ี ธิ หี รือกระบวนการทำ�งาน ทเ่ี ฉพาะเจาะจง 

เชน่ "การเขยี นแหลง่ อา้ งองิ ในรายงานแบบนี้ ดมี ากเลยจะ้ "
2. ชมท่คี วามพยายาม 

เช่น "การท่หี นูฝึกซอ้ มทุกวัน ทำ�ใหผ้ ลงานออกมาดีมากเลย"
3. ไมช่ มบอ่ ยเกินไป

คำชม

การพฒั นากรอบความคิด | 34

ให้ Feedback เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา
(Constructive Feedback)

การให้คุณค่ากับความพยายาม คือลักษณะท่ีสำ�คัญอย่างหน่ึงของ
คนท่ีมี Growth Mindset แต่ทั้งนี้ การจะประสบความสำ�เร็จ หรือไปถึง
เปา้ หมายได้ ความพยายามดังกล่าวตอ้ งเปน็ ความพยายามในวธิ กี ารที่
ถูกต้อง

หากเราต้องการเดินทางไปสู่จุดหมายที่อยู่ในทิศเหนือ แต่กลับ
เดินไปทิศใต้ ความพยายามในการเดินของเราน้ันยิ่งทำ�ให้ห่างไกล
จากจุดหมายไปเรื่อยๆ ในการไปสู่เป้าหมายของเด็กๆ จึงต้องอาศัย
Feedback จากครูและพ่อแม่เพื่อเป็นเข็มทิศที่ช่วยให้เดินไปได้อย่าง
ถกู ทาง

แต่จากการรวบรวมการศึกษา ผลของการให้ Feedback ต่อผลการ
ด�ำ เนนิ งาน กว่า 40% (50 จาก 131 งานวิจัย) พบวา่ การให้ Feedback
ทำ�ให้ผลการดำ�เนินงานลดต่ำ�ลง ซ่ึงหมายความว่าการให้ Feedback
อาจก่อให้เกิดผลเสีย ดังนั้นการให้ Feedback ที่จะช่วยพัฒนาการ
เรยี นร้ขู องเดก็ กค็ วรเปน็ "Feedback ทด่ี "ี เท่านนั้

35 | การพัฒนากรอบความคดิ

FEED ทีด่ ี มดี ังต่อไปน้ี

• ม่งุ พัฒนา ไม่มุง่ ตัดสิน

Feedback ที่ดีคือ Feedback ที่ให้ข้อมูลเพื่อช่วยให้ไปถึง
เปา้ หมาย มากกวา่ การตดั สิน ด-ี เลว ผ่าน-ตก

• มีเปา้ หมายทีช่ ัดเจน 

ควรให้เด็กได้ร้เู ป้าหมายก่อนเร่มิ ทำ�งาน และควรให้ Feedback
ตามเปา้ หมายทต่ี ง้ั ไว้

• Feedback ที่พฤติกรรม (behavior) กระบวนการ (process)

อย่างเฉพาะเจาะจง ไม่ Feedback ที่คณุ ลกั ษณะ (character) 
ควร Feedback ในสิง่ ทเ่ี ด็กสามารถเปลีย่ นแปลงได้และให้ขอ้ มลู
ทเ่ี ฉพาะเจาะจง การให้ Feedback เชน่ "หนยู งั ออกเสยี งไดไ้ มด่ "ี
"ท่าทางของเธอยังดูไม่มั่นใจ" อาจเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกตาม
ความจริง แต่ไม่ได้ช่วยในการพัฒนาต่อมากนัก ควรให้ข้อมูลท่ี
ชัดเจนมากข้ึน เช่น "การออกเสียงควบกลำ้�ของหนูยังไม่ดี เช่น
ตอนท่ีหนูพดู ว่า ...." " ในขณะทพี่ ดู เธอกม้ หนา้ และสั่นขาเกือบ
ตลอดเวลา ทำ�ให้ดูเหมือนไมม่ นั่ ใจ"

• ให้คำ�แนะนำ�ในการปรับปรุงและพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม

โดยมีความสมดุลระหว่างการส่งเสริมสิ่งที่ทำ�ได้ดี กับส่ิงที่ควร
ปรับปรุง

เชน่ "ตอนรับลกู มอื เธอน่งิ ดมี าก ส่วนขณะท่ีเสริ ฟ์ ลูกมือเธอยงั ดู
ไม่ม่ันคง ลองจบั ไมแ้ บบน้นี ะ แล้วลองเสิร์ฟอีกที"

การพฒั นากรอบความคดิ | 36

กระบวนการให้ Feedback สรุปดังตาราง

กระบวนการ feedback
1. ถามให้ผู้รับ feedback ประเมินตนเองก่อน เช่น "ท่ีเพ่ิงผ่าน
มาคิดว่าทำ�ได้เป็นอย่างไร" "มีอะไรบ้างที่คิดว่าทำ�ได้ดี" "มีอะไรที่
ยงั ไมแ่ น่ใจ" "ถ้าให้คะแนนตัวเองจาก 1-10 จะให้เท่าไหร่ครบั "
2. อ้างอิงสิ่งที่เห็น แล้วให้ feedback โดยเร่ิมจากสิ่งท่ีทำ�ได้
ดีก่อน เช่น "คุณทำ�... ได้ดีตอนที่..." แล้วตามด้วยส่ิงท่ีควร
ปรับปรุง เช่น "มีตรงไหนบ้างท่ีคิดว่าอาจทำ�ได้ดีกว่าเดิม" "ถ้าจะ
ให้คะแนนเพ่ิมข้ึนจากเดิมอีก 1 คะแนน คุณจะต้องปรับปรุงอะไร
เป็นสิง่ แรกครบั "
3. ผ้ใู ห้ feedback สรปุ อย่างเปน็ รูปธรรมเปน็ ข้อๆ ในประเด็นท่ี
สามารถเปลย่ี นแปลงได้
4. เปิดโอกาสให้ผู้รับ feedback ซักถามในส่ิงที่ไม่เข้าใจ รวมทั้ง
สรุปประเดน็ ทจ่ี ะน�ำ ไปปรับปรงุ ต่อ

รูปแบบของการให้ Feedback นอกจากการพูดคุยสนทนาแล้ว
สามารถให้ Feedback โดยการเขียนข้อคิดเห็น/คำ�แนะนำ� กระดาษ
คำ�ตอบหรือรายงานทเี่ ด็กสง่ ก็ได้

ท้ังน้ีนอกจากการใช้วิธีการต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อสร้าง
Growth Mindset ให้เด็กๆ แล้ว สิ่งที่สำ�คัญมากอีกอย่างคือการเป็น
ตัวอย่างของคนท่ีมี Growth Mindset เพราะการเรียนรู้ของเด็กๆ เกิด
ข้ึนตลอดเวลา แม้อยู่นอกห้องเรียน พฤติกรรมของพ่อแม่และคุณครู
เปน็ สง่ิ ทีเ่ ดก็ ๆ ซึมซับโดยไม่รู้ตัว และมผี ลตอ่ ตวั เขาเป็นอยา่ งมาก

37 | การพัฒนากรอบความคดิ

บทสรปุ

ความเข้าใจเก่ียวกับ Mindset อาจจะไม่ใช่คำ�ตอบของ

ทกุ ปญั หา แตท่ กุ การแกป้ ญั หานน้ั เรม่ิ ตน้ ดว้ ย Growth Mindset

เราทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ อุปสรรคและความ

ผิดพลาดเป็นโอกาสในการเรียนรู้ ความอดทนและพยายาม
เปน็ ปจั จยั ส�ำ คัญท่นี ำ�ไปส่คู วามส�ำ เรจ็

ทุกคนสามารถสร้าง Growth Mindset ให้กับตัวเองได้

รวมท้ังสามารถสร้าง Growth Mindset ให้กับเด็กๆ และ
คนรอบขา้ งของเราได้

เข้าไปชมเทคนิคการสรา้ ง Growth Mindset ได้ท่ี

: ศนู ยจ์ ิตวทิ ยาการศึกษาCEPchannel

การพฒั นากรอบความคิด | 38

บนั ทึก Growth Mindset

.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................

บนั ทึก Growth Mindset

.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................
.......................................................................................................



ช่องทรปู ลูกปญั ญา  ออกอากาศทุกวัน 
หลัง 14.30 น. และ 20.30 น.

ศูนย์จิตวทิ ยาการศึกษา มลู นิธยิ วุ สถิรคุณ

214 ถนนนครสวรรค์ แขวงวดั โสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพา่ ย
กรงุ เทพมหานคร 10100 โทร. 02 282 0104
[email protected] หรอื [email protected]

KidSD.org www.cepthailand.org


Click to View FlipBook Version