The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กำแพงเมืองเก่าเพชรบูรณ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jirapa1070, 2022-09-26 03:07:31

65...01กำแพงเมืองเก่าเพชรบูรณ์

กำแพงเมืองเก่าเพชรบูรณ์

กำแพงเมืองเกา
เมืองเพชรบูรณ

มหสาำวนทิักยศาิลลปัยะรแาลชะภวัฏฒั เพนธชรรรบมูรณ

คำนำ

กำแพงเมืองเก่า เมืองเพชรบูรณ์ เป็นเอกสารองค์ความรู้ ภายใต้โครงการจัดเก็บข้อมูลทางด้าน
ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นข้อมูลที่ทีมงานสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เพชรบรู ณ์ ไดจ้ ดั ทำข้ึนจากการลงพืน้ ทภี่ าคสนาม เพอื่ เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู องค์ความรู้เกีย่ วกับวัฒนธรรมท้องถิ่น
ของจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนรุน่ หลังได้เรยี นรู้เรือ่ งการละเล่านพื้นบ้านที่เกิดขึ้นในอดตี
และปัจจบุ นั

ทั้งนี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
เอกสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจทั้งหลาย นำองค์ความรู้นี้ไปเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและ
เล็งเห็นถงึ คุณค่าของรอ่ งรอยทางวฒั นธรรมท่คี นในอดีตได้สร้างไว้ต่อไป

สำนกั ศิลปะและวฒั นธรรม
มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเพชรบรู ณ์

สารบญั หนา้

เร่อื ง ๑
องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ๑
เรือ่ ง กำแพงเมืองเกา่ เมืองเพชรบูรณ์ ๑

วัตถปุ ระสงค์ ๑
ขอบเขต ๑
เปา้ หมาย ๘
ประโยชนท์ ี่คาดวา่ จะไดร้ บั ๘
ความสำคัญและทม่ี า ๙
แนวทางการนำไปปฏิบัตใิ ช้ ๑๐
ข้อเสนอแนะ
บรรณานกุ รม
ภาคผนวก รายละเอยี ดรายวิชา (มคอ. ๓) ทใ่ี ช้บูรณาการ

องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
เรอื่ ง กำแพงเมืองเก่า เมืองเพชรบูรณ์

วัตถปุ ระสงค์
๑. เพอื่ เป็นการเสาะแสวงหา รวบรวม จดั เก็บความรูแ้ หล่งมรดกทางวัฒนธรรมทอ้ งถิน่ ของจังหวดั

เพชรบูรณ์
๒. เพอ่ื จัดทำเปน็ เลม่ องคค์ วามรู้สำหรบั เผยแพรใ่ หแ้ กเ่ ยาวชนและผู้ที่ใหค้ วามสนใจศกึ ษาเรียนรู้

ขอบเขต
ศึกษาประวตั ศิ าสตร์ความเป็นมาและรูปแบบการสรา้ งกำแพงเมืองเกา่ เมืองเพชรบรู ณ์

เป้าหมาย
จดั เกบ็ ข้อมูลทางด้านวฒั นธรรมเร่ืองกำแพงเมืองเก่า เมอื งเพชรบรู ณ์ เพื่อการประยุกต์ใชง้ าน

ประโยชนท์ คี่ าดว่าจะไดร้ บั
๑. ได้ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรมเรือ่ งกำแพงเมืองเก่า เมืองเพชรบรู ณ์ที่เป็นระบบ
๒. ได้เรียนรแู้ ละอนรุ ักษ์มรดกทางวฒั นธรรมแหล่งศลิ ปกรรมและนำองค์ความร้ทู ่ีได้ไปเผยแพรใ่ ห้แก่

ผู้ที่สนใจ
๓. ได้องค์ความร้สู ำหรับนำไปบูรณาการกับการเรยี นการสอน

ความสำคัญและที่มา
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เดินทางมาตรวจราชการแผ่นดินที่เมือง

เพชรบรู ณ์ พระองคท์ ่านทรงกลา่ วถงึ การสร้างเมืองเพชรบรู ณ์ในหนังสือ “ความไขท้ เ่ี มอื งเพชรบรู ณ”์ ความว่า
“ตัวเมืองเพชรบูรณ์ เป็นเมืองที่มีป้อมปราการสร้างมาแต่โบราณ เห็นได้ว่าตั้งเป็นเมืองหน้าด่าน โดย

เลือกที่ชัยภมู ิตรงแนวภูเขาเข้ามาใกล้กับลำน้ำป่าสัก ทางเดินทัพแคบกว่าแห่งอืน่ ตั้งเมืองสกัดทางน้ำปราการ
ทั้งสองฟาก เอาน้ำป่าสักไว้กลางเมือง เช่น พิษณุโลก สังเกตตามรอยที่ยังปรากฏเห็นได้ว่า สร้างเป็น ๒ ครั้ง
ครั้งแรกสร้างในสมัยกรุงสุโขทัย แนวปราการขนาดยาวด้านละ ๒๐ เส้น เดิมเป็นแต่ถมดินปักเสาระเนียด
ข้างบน มาสรา้ งใหม่ในท่ีอนั เดียวกันกับเมืองสมัยกรุงศรีอยธุ ยาอกี คร้ังหนงึ่ รน่ แนวเขา้ มา แต่ทำปราการถือด้วย
หินและมีป้อมรายรอบ สำหรับสขู้ า้ ศึกจะยกมาแตล่ า้ นช้าง”



สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานภุ าพ
ป้อมปราการ ประตูเมือง และกำแพงเมืองเก่าของเมืองเพชรบูรณ์ มีความเป็นมาเช่นไร คงต้องอ้าง
ตามหลักฐานท่รี ะบุวา่ เพชรบรู ณ์เปน็ เมอื งโบราณสรา้ งขึ้นใน ๒ ยุค แตส่ ร้างในท่ีเดยี วกนั คนละสมัย

รองรอยคนู ำ้ โบราณในสมัยสุโขทยั ปจจุบันเปน “คลองคู”
บริเวณถนนสระบรุ ี - หลมสกั ขางโรงพยาบาลเพชรบูรณ์
กำแพงเมืองในยุคที่ ๒ ยังคงมีซากและแนวให้เห็นได้อย่างชัดเจน นั่นคือ จะมีป้อมปราการ ๔ มุม
โดยสร้างให้ป้อมทุกแห่งอยู่ล้ำแนวกำแพงออกมาเป็นลักษณะหัวธนู ป้อมที่ ๑ คือป้อมที่เป็นที่ตั้งของศาลเจ้า
พ่อหลักเมืองในปัจจุบัน ป้อมที่ ๒ อยู่บริเวณหัวเลี้ยวของถนนหลักเมืองก่อนจะไปทางวัดโพธิ์เย็น ป้อมที่ ๓
อยู่ด้านในของถนนสนามชัยก่อนถึงส่ีแยกต้นหว้า และป้อมที่ ๔ อยู่บริเวณศาลเจ้าแม่ตรงสุดถนนเพชรรัตน์
ป้อมทงั้ หมดจะกอ่ ดว้ ยอฐิ สูงกว่ากำแพงเมือง ด้านบนปดู ้วยอิฐเป็นรูปกา้ งปลา มอี ฐิ ที่ทำเป็นรไู วใ้ ชป้ ักเสาไม้เพื่อ


ทำหลงั คา จากการขดุ สำรวจพบว่าการวางรากฐานของป้อมแตล่ ะแห่ง ไดม้ ีการรองดว้ ยกรวดและทรายเพ่ือให้
น้ำไหลผ่านได้โดยกำแพงไม่ทรุด

แผนผังแสดงปอมปราการ ประตูเมือง และแนวกำแพงเมืองเกาที่สรางข้นึ ในสมัยอยธุ ยา
แนวตัวกำแพงเมืองเป็นอิฐทั้ง ๔ ด้าน มีความยาวพอ ๆ กันคือ ยาวประมาณด้านละ ๕๐๐ เมตร
เชื่อมต่อป้อมปราการทั้ง ๔ ป้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยบริเวณช่วงกลางของกำแพง จะมีประตูเมืองทั้ง ๔
ดา้ น ซ่งึ จะสรา้ งด้วยอิฐปนหินทราย ท่ยี งั เหน็ รอ่ งรอยไดช้ ัดเจน คอื ประตชู มุ พลทางทิศตะวันตก บริเวณส่ีแยก
ถนนเพชรรัตน์ และยังพบร่องรอยของประตูด้านตะวันออก บริเวณริมถนนข้างวัดประตูดาว ซ่ึงได้พบเป็นเศษ
หินทรายเช่นเดียวกัน จากการดูแผนที่ทางอากาศจะเห็นได้ว่า ประตูชุมพลและประตูดาวจะอยู่ตรงกันพอดี
และจากภาพถ่ายทางอากาศเช่นเดียวกัน สันนิษฐานว่า ประตูด้านทิศเหนือน่าจะอยู่ตรงทางเข้าวัดโพธิ์เย็น
ซงึ่ น่าจะตรงกนั กับประตทู างทศิ ใต้ ซ่ึงเป็นถนนประชาสรรคท์ ่ตี ัดขา้ มผ่านแนวกำแพงเมอื งมา



ประตูชุมพลทางทิศตะวนั ตก บริเวณสีแ่ ยกถนนเพชรรตั น์

ประตูดาวดานทิศตะวนั ออกท่ีไดรบั การบรู ณะแลว ต้ังอยูขางวัดประตูดาว ยังคงหลงเหลือใหเหน็ เพียงฐาน
ของปอมประตแู ละแนวกำแพงเมอื งทีย่ าวไปจรดปอมที่ ๓

ประตูเมืองดานทศิ ใต ตั้งอยูบรเิ วณแยกถนนประชาสรรค
ปจจุบนั ไมหลงเหลอื ซากประตเู มืองและแนวกำแพงแลว



ประตดู ้านทิศเหนอื น่าจะอยตู่ รงทางเขา้ วัดโพธเิ์ ยน็
หากพิจารณาแนวกำแพงเมืองในปัจจุบันนี้จะเห็นว่า มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านทะลุเมืองมาจาก
ข้างวัดโพธิ์เย็น มาผ่านหน้าวัดไตรภูมิและไหลออกเมืองไปทางป้อมศาลเจ้าแม่ ทั้งนี้มีการสันนิษฐานกันว่า
แตเ่ ดมิ แม่น้ำปา่ สกั ไมไ่ ด้ไหลเข้ามาในเมืองอย่างปัจจุบนั นี้ หรือจะมกี เ็ ปน็ แต่เพียงลำคลองสาขาทช่ี ักน้ำเข้ามาใช้
ประโยชน์ในเมือง แมน่ ้ำป่าสักสมยั ก่อนนน้ั คือ คลองแมน่ ำ้ เกา่ ในปัจจุบันที่ไหลผ่านทางหลงั โรงเรียนวิทยานุกุล
นารี ออ้ มมาเปน็ คลองแสนพญาโศกแล้วผา่ นหนา้ ศาลากลางหลงั เก่า ดงั น้นั แมน่ ้ำจะไมผ่ า่ นกลางเมอื ง แต่ต่อมา
แม่น้ำป่าสักเปลี่ยนทางเดินโดยกระแสน้ำได้ไหลเข้ามาในลำคลองสาขาในเมือง มากกว่าจนกลายเป็นเส้นทาง
หลกั ของแมน่ ้ำปา่ สกั เพชรบรู ณ์ กลายเป็น “เมืองอกแตก” อยา่ งปจั จุบนั น้ีไปโดยปริยาย

ป้อมท่ี ๑ คือปอ้ มที่เป็นทตี่ ้งั ของศาลเจ้าพอ่ หลักเมืองในปจั จุบนั


ป้อมที่ ๒ อยบู่ รเิ วณหัวเล้ยี วของถนนหลกั เมืองก่อนจะไปทางวดั โพธิ์เยน็

ป้อมท่ี ๓ อยู่ดา้ นในของถนนสนามชยั กอ่ นถึงสี่แยกตน้ หว้า
ปอ้ มที่ ๔ อยบู่ รเิ วณศาลเจ้าแมต่ รงสดุ ถนนเพชรรัตน์



ปอ้ มทั้งหมดจะก่อดว้ ยอฐิ สูงกว่ากำแพงเมือง ด้านบนปูดว้ ยอิฐเป็นรปู กา้ งปลา
มีอิฐทีท่ ำเป็นรไู ว้ใชป้ ักเสาไมเ้ พือ่ ทำหลงั คา
ท่ีมา: เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

อนึ่ง ที่ป้อมประตูชุมพลทางด้านทิศตะวันตกของเมืองนั้น มีตำนานอันเป็นที่เชื่อถือและเล่าขาน
สืบต่อมากันนานแล้วว่า เป็นที่ฝังทั้งเป็นของเณรมั่นเณรคง เพื่อให้เป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิค์ ่อยเฝ้าพิทักษ์รักษา
เมอื งไว้ โดยมีพิธีกรรมมาตั้งแต่สมยั สรา้ งเมืองเม่ือครง้ั โบราณ ซงึ่ คนเพชรบูรณ์กไ็ ด้สร้างศาลเณรมั่นเณรคงไว้ที่
บนป้อมประตูเมืองดังกล่าวด้วย คนรุ่นเก่า ๆ ที่อาศัยอยู่ในเมืองจะรู้ดีถึงตำนานเรื่องนี้ และเมื่อผ่านไปมาทุก
ครั้งก็จะยกมือไหวเ้ ณรม่นั เณรคงกนั ทกุ คนตราบถึงทกุ วนั นี้

ศาลเณรม่นั เณรคง ท่ีประตูชมุ พล
ในด้านการอนุรักษ์กำแพงเมืองนั้น เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมาประชาชนทั่วไปและหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องขาดความเข้าใจ การรับรู้ในคุณค่า จึงไม่สนใจที่จะดำเนินการอนุรักษ์ใด ๆ ปล่อยให้มีการก่อสร้าง
อาคารบ้านเรือนบดบังและบางส่วนมีการบุกรุกแนวกำแพงเมือง นอกจากนั้นชาวบ้านยังได้ทำการถ มที่ดิน
โดยรอบให้สูงขึ้นจนทำให้แนวกำแพงเมืองต่ำกว่าระดับดินในปัจจุบันเป็นอันมาก จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗



เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ได้ร่วมกับกรมศิลปากรทำการขุดสำรวจโครงสร้างและแนวกำแพงเมืองจนได้ข้อมูล
พื้นฐานที่สำคัญจึงได้นำไปทำการออกแบบตามหลักวิชาการเพื่อทำการซ่อมแซมบูรณะต่อไป และในปี พ.ศ.
๒๕๔๙ เทศบาลเมืองเพชรบรู ณ์ได้จัดทำงบประมาณให้กรมศิลปากรเพือ่ ดำเนินการบรู ณะฟ้ืนฟูปอ้ มหลักเมอื ง
ป้อมสนามชัย และแนวกำแพงเมืองด้านทิศเหนือบางส่วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังคงเหลือส่วนสำคัญอีก
หลายส่วนที่ยังรอการบูรณะเพิ่มเติมต่อไป ได้แก่ ประตูเมืองด้านทิศเหนือตรงทางเข้าวัดโพธิ์เย็น แนวกำแพง
เมืองด้านทิศตะวันออก ประตูดาว และ ป้อมศาลเจ้าแม่ อีกทั้งควรจะมีการจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์กำแพงเก่า
เมืองเพชรบูรณ์ขึ้น เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมเรื่องราว สถานที่ตั้ง และแบบจำลอง เพื่อเป็นแห่งเรียนรู้ ให้กับ
อนชุ นรุ่นหลงั ตอ่ ไป

กำแพงเมืองเก่าเพชรบูรณ์ เป็นโบราณสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองเพชรบูรณ์และเป็นโบราณ
สถานท่ีบ่งบอกถึงความสำคัญของเมืองเพชรบูรณ์ท่ีมีมาแต่คร้ังอดีตกาล ตวั กำแพงเมอื งเองกม็ ีเรื่องราวเล่าขาน
มากมายไมว่ า่ จะเปน็ เรื่องทางโบราณคดี ประวตั ิศาสตร์ และภมู ิปญั ญาต่าง ๆ ทีแ่ ฝงอย่ใู นการสรา้ งกำแพงเมือง
ซึ่งมีเพียงไม่กี่เมืองในประเทศไทยที่จะมีโบราณสถานอันล้ำค่าเช่นนี้ การเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับกำแพงเมือง
เก่าเพชรบูรณ์ จึงมีคุณค่ายิ่งสำหรับคนเพชรบูรณ์ที่จะต้องเรียนรู้ รับรู้ เรื่องราวของบ้านเมืองตัวเอง อันจะ
นำมาซึ่งความรกั และความภาคภูมใิ จในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง

สภาพสังคมปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีล้ำหน้าและทันสมัย ส่งผลให้
สภาพจิตใจของผคู้ นลมุ่ หลงต่อวตั ถนุ ยิ มและบรโิ ภคนยิ ม ค่านยิ มเหลา่ นีไ้ ดบ้ ดบงั ใหห้ ลงลืมคุณค่าทางโบราณคดี
และประวัติศาสตร์ไปอย่างสิน้ เชิงอีกเช่นกัน ในกรณีนี้หากคนรุ่นหลังไม่สานต่อคุณค่าอันมากยิ่งด้วยคุณูปการ
ทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวนี้ โอกาสที่กำแพงเก่าเมืองเพชรบูรณ์จะหายสาบสูญและเลือนหายไปย่อมมีสูง คน
รุ่นใหม่และเยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไปจะมีสักกี่คนที่สนใจประวัติศาสตร์ รู้ถึงความเป็นมาของกำแพงเมืองเก่า
เพชรบูรณ์

แนวทางการนำไปปฏบิ ตั ิใช้
๑. เผยแพรใ่ หก้ ับผู้ท่ีสนใจ นักศกึ ษา และประชาชนทัว่ ไป
๒. ปฏบิ ตั ใิ ชเ้ พ่อื เป็นการสรา้ งกำลังใจ พลงั ใจ สง่ ผลให้กิจการ หนา้ ทก่ี ารงานและช่วยเสรมิ สรา้ ง

สขุ ภาพทางด้านจติ ใจดีขน้ึ
๓. บรู ณาการกับการเรียนการสอน รายวชิ า IDID701 การเตรียมฝกึ ประสบการณ์วชิ าชีพ

ข้อเสนอแนะ
ควรมกี ารลงพ้นื ท่ี ทบทวน ข้อมูลให้ครบถ้วนทกุ อำเภอในจงั หวัดเพชรบรู ณ์ เพื่อใหเ้ ยาวชนรุ่นหลงั ได้

ใช้ศึกษาหาความรู้ สง่ ต่อจากรุ่นสรู่ ุ่นต่อไป



บรรณานุกรม

ดร.วศิ ลั ย์ โฆษติ านนท.์ (๒๕๕๔). กำแพงเกาเมอื งเพชรบูรณ : คณุ คาทางประวตั ิศาสตรท่ีกำลงั ถูกหลงลมื .
ใน วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ. ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ – มีนาคม ๒๕๕๕, ๒๕๕๕ :
๔๓ - ๔๙.

สมเดจ็ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. “เรอ่ื งความไข้เมืองเพชรบรู ณ์”. ใน นิทานโบราณคดี. พิมพ์ครัง้ ที่ ๑๕.
กรงุ เทพฯ : บรรณาคาร, ๒๕๔๓ : ๑๒๓ - ๑๔๗.

๑๐

ภาคผนวก
รายละเอยี ดรายวชิ า (มคอ. ๓) ท่ีใช้บูรณาการ

กำแพงเมอื งเกา
เมอื งเพชรบูรณ
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยราชภฏั เพชรบรู ณ


Click to View FlipBook Version