The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประเพณีสวมใส่ตะลอมพอก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jirapa1070, 2022-09-26 03:21:07

65...04ประเพณีสวมใส่ตะลอมพอก

ประเพณีสวมใส่ตะลอมพอก

ประเพณกี ารสวมใสตะลอมพอก

มหสาำวนทิกั ยศาลิ ลปัยะรแาลชะภวฏั ฒั เพนธชรรรบมรู ณ

คำนำ

ประเพณีการสวมใส่ตะลอมพอก เป็นเอกสารองค์ความรู้ ภายใต้โครงการจัดเก็บข้อมูลทางด้าน
ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นข้อมูลที่ทีมงานสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เพชรบรู ณ์ ไดจ้ ดั ทำข้นึ จากการลงพืน้ ทภี่ าคสนาม เพือ่ เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู องค์ความรเู้ กี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น
ของจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนรุ่นหลังได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านที่เกิดขึ้นในอดีตและ
ปัจจุบัน

ทั้งนี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
เอกสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจทั้งหลาย นำองค์ความรู้นี้ไปเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและ
เล็งเหน็ ถึงคณุ คา่ ของรอ่ งรอยทางวัฒนธรรมท่คี นในอดตี ได้สร้างไวต้ อ่ ไป

สำนักศิลปะและวฒั นธรรม
มหาวทิ ยาลัยราชภัฏเพชรบรู ณ์

สารบญั หนา้

เรอ่ื ง ๑
องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ๑
เรอื่ ง ประเพณกี ารสวมใสต่ ะลอมพอก ๑

วัตถปุ ระสงค์ ๑
ขอบเขต ๑
เปา้ หมาย ๒
ประโยชน์ทีไ่ ดร้ บั ๒
ความสำคัญและท่ีมา ๓
บทนำ ๔
ที่มาของประเพณบี วชนาค ๑๔
ประเพณกี ารใสต่ ะลอมพอกในพธิ ีงานบวช ๑๔
ตะลอมพอกของชาวเพชรบรู ณ์ ๑๔
ความสำคญั ของการสวมใสต่ ะลอมพอก ๑๕
บทสรุป ๑๖
แนวทางการนำไปปฏิบตั ใิ ช้ ๑๗
ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก รายละเอียดรายวิชา (มคอ. ๓) ทใ่ี ชบ้ รู ณาการ

องคค์ วามรู้ทางวัฒนธรรม
เร่อื ง ประเพณีการสวมใส่ตะลอมพอก

วัตถปุ ระสงค์
๑. เพ่ือเป็นการเสาะแสวงหา รวบรวม จัดเก็บความรู้ท่ีมีอยู่ในตัวบุคคลท่ีเชี่ยวชาญในด้านการทาตะ

ลอมพอก
๒. เพอื่ จดั ทาเปน็ เล่มองค์ความรู้สาหรบั เผยแพร่ใหแ้ ก่เยาวชนและผู้ทใ่ี หค้ วามสนใจศึกษาเรียนรู้

ขอบเขต
ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาและรปู แบบการจดั ทาตะลอมพอก

เป้าหมาย
จดั เก็บข้อมูลทางด้านวฒั นธรรมเรอ่ื ง ประเพณีการสวมใสต่ ะลอมพอก เพื่อการประยุกต์ใชง้ าน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะไดร้ ับ
๑. ได้ข้อมูลทางดา้ นวัฒนธรรม เร่อื ง ประเพณีการสวมใส่ตะลอมพอก
๒. ไดส้ บื สานและอนุรกั ษม์ รดกทางวฒั นธรรมการทาตะลอมพอกและนาองคค์ วามรูท้ ่ไี ดไ้ ปเผยแพร่
๓. ไดอ้ งค์ความร้สู าหรบั นาไปบรู ณาการกบั การเรียนการสอน



บทนา
ราชบณั ฑิตยสถาน (๒๕๕๖: ๗๐๙) ประเพณี หมายถึง สง่ิ ที่นิยมถอื ประพฤติปฏบิ ัตสิ ืบ ๆ กันมาจน
เป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียมหรือจารีตประเพณี ประเพณี คือระเบียบแบบแผนใน การประพฤติปฏิบัติที่
คนส่วนใหญ่เห็นว่าดีเห็นว่าถูกต้องเป็นท่ียอมรับของสังคมมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่น ประเพณีการเกิด การ
ปลกู บ้านสรา้ งเรือน การบวช เป็นตน้ ประเพณีทางสงั คมของชาวไทยพทุ ธที่ขาดมิไดค้ ือ ประเพณกี ารบวชซึ่ง
ถือเปน็ หนึ่งสง่ิ ที่ถือปฏบิ ัติสบื ทอดยึดถือกันมานาน โดยนยิ มให้บตุ รชายที่อายุครบ ๒๐ ปีได้เข้าสู่การอปุ สมบท
เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นการตอบแทนพระคุณบิดามารดาเพราะในสมัยก่อนมีความเช่ือว่า การ
บวชอาจกินเวลา ๑๕ วนั ๑ เดือนหรอื ๑ พรรษา การบวชเพ่อื เรยี นรู้พระธรรมวนิ ัยและเป็นเสมอเคร่ืองหมาย
ว่าได้ก้าวข้ามไปสู่ความสมบูรณ์ เม่ือบุตรชายได้บวชพระแล้วบิดามารดาก็จะเกาะชายผ้าเหลืองของบุตรขึ้น
สวรรค์ทาให้บิดามารดามีความสุขที่ได้เห็นบุตรชายได้ปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา ในสมัยก่อนไม่มีการ
เรียนหนังสือแบบปัจจุบันการบวชพระจึงเป็นช่องทางเดียวในการศึกษาหาความรู้ ด้วยเหตุผลเหล่าน้ีจึงทาให้
ผู้ชายนิยมบวชซ่ึงในสมัยโบราณพิธีบวชจะมีการจัดงานตามประเพณี คือ การทาขวัญนาค การฉลองนาค
และการแห่นาค การบวชนาคนั้นจะต่างกันออกไปซ่ึงจะมีท้ังความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น
นัน้ ๆ

ทม่ี าของประเพณีบวชนาค
วนั ดี ศรีสวสั ดิ์ และคณะ (๒๕๕๙: ๓๖) กล่าวว่า ประเพณีบวชนาคเป็นประเพณีทจี่ ดั ขึน้ กอ่ นการ

ประกอบพิธีอุปสมบทหรือบวชเป็นพระภิกษุ ซึ่งเป็น ประเพณีที่จัดข้ึนเฉพาะในแถบประเทศที่นับถือพุทธ
ศาสนาในอุษาคเนย์ เช่น พม่า เขมร ลาว และไทย โดยประเพณีนี้จะไม่มีในประเทศอินเดียซ่ึงเป็นต้นกาเนิด
ของพทุ ธศาสนาแต่อย่างใด ทม่ี าของความเชือ่ ของพิธีการบวชนาคน้ี ได้ยอ้ นความไปถงึ สมยั พทุ ธกาลเมื่อครั้นที่
พระพุทธเจ้าได้ ตรัสรู้ธรรมและเผยแพร่พุทธศาสนา ได้มีพญางูใหญ่หรือท่ีรู้จักกันในชื่อว่า “นาค” ได้รู้สึก
เลื่อมใสศรัทธาปรารถนาที่จะออกบวชเป็นภิกษุเพื่อรับใช้ติดตามพุทธองค์และศึกษาธรรม จึงได้จาแลงรา่ งเป็น
มนษุ ย์มาขอบวชเรยี น แต่พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นดว้ ยญาณว่า มนุษยจ์ าแลงผู้นีค้ อื พญานาคจาแลงกายมาจึง
ไม่อนุญาตให้บวชเรียน พญานาคเสียใจมากแต่ได้ขอร้องให้พระพุทธเจ้าเรียกมนุษย์ผู้ชายท่ีกาลังจะบวชด้วย
ชื่อของตน เพ่ือแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการรับใช้พุทธศาสนา และน่ีจึงเป็นท่ีมาของการ
เรยี กผูท้ ี่กาลังจะเตรยี มบวชเป็นภกิ ษวุ ่า “นาค”



ประเพณีการใส่ตะลอมพอกในพิธีบวช
การใส่ตะลอมพอกในพิธีบวชเป็นการใส่ตามความเชือ่ ของแต่ละท้องถ่ินซงึ่ พบเห็นวา่ เกิดข้ึนในหลาย

พน้ื ทข่ี องประเทศไทย ดังตวั อยา่ งเชน่
ภาคอีสาน ประเพณีบวชนาคช้างของชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์ นับเป็นอีกหนึ่งประเพณีท่ีมี

เอกลักษณ์ เป็นประเพณีที่จัดข้ึนท่ีบ้านตากลาง ตาบลกระโพ อาเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นประเพณีบวช
นาคช้างของชาวกยู หรือชาวกวย ซง่ึ เปน็ ชาวบา้ นท่ีมีวิถีชีวติ ระหว่างคนกบั ชา้ งทไ่ี ดส้ บื ทอดมาจากบรรพบุรุษมา
อย่างยาวนาน เป็นพิธีอุปสมบทที่งดงามอย่างมีเอกลักษณ์เมื่อทาพิธีปลงผมนาคแล้วก็จะแต่งกายพร้อมกับใส่
เคร่ืองประดับของนาคตามแบบประเพณีด่ังเดิมของชาวกูยท่ีมีมาแต่โบราณซึ่งจะเน้นสีสันสดใสและส่ิงที่ขาด
ไม่ได้คือ สวมกระโจมนาคหรือชฎานาคที่ทาจากไม้ไผ่และตกแต่งด้วยกระดาษสีห้อยนุ่นไว้ด้านข้างมี
ความหมายว่า ยอดท่ีแหลมเปรียบดั่งสมองอันหลักแหลมในการศึกษาพระธรรม กระดาษสีเปรียบด่ังความ
เปลี่ยนแปลงของแสงสี ไม่ให้เราหลงละเลิงไปกับมันเพราะทุกอย่างมีท้ังดีและไม่ดี โดยนาคแต่ละคนจะขึ้น
ช้างท่ีบ้านและแห่นาคไปพร้อมขบวนแห่ของครอบครัวเพ่ือที่จะประกอบพิธีบวงสรวงบอกกล่าวส่ิงศักด์ิสิทธิ์
โดยจะมหี มอช้างเป็นผนู้ าในการประกอบพธิ ี ตามความเช่อื ทีม่ ีมาแตโ่ บราณ

ภาคเหนือ ประเพณีปอยส่างลองหรือประเพณีการบวชแหล่ ูกแก้ว จงั หวัดแม่ฮอ่ งสอน การบวชแห่
ลูกแก้วหรอื ผู้บวชจะแตง่ ตวั อย่างสวยงามเป็นการเลยี นแบบเจ้าชายสิทธัตถะ เพราะถือคตนิ ิยมวา่ เจ้าชายสิทธัต
ถะได้เสด็จออกบวชจนตรัสรู้และนิยมให้ลูกแก้วขี่ม้า ขี่ช้างหรือข่ีคอคน เปรียบเหมือนม้ากัณฐกะม้าทรงของ
เจ้าชายสิทธตั ถะ ปจั จบุ ันประเพณบี วชลูกแกว้ ทมี่ ชี ่ือเสียง คอื ประเพณีบวชลกู แก้ว

การบวชพระในภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย งานบวชทางเหนือเรียกว่า งานปอย หรือ เป๊กข์ตุ๊ ผู้
บวชจะต้องมีอายุตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป ถึง ๒๐ ปีเรียกว่า บวชพระ เพราะนิยมเรียกสามเณรทั้งหลายว่า พระ
สามเณรที่มีอายุน้อยกว่า พระน้อย ถ้าเป็นสามเณรที่มีอายุมากเรียกว่า พระโคร่งหรือสามเณรโคร่ง หากลา
สิกขาออกไปจะถูกเรียกชื่อว่า หน้อย หรือน้อย ส่วนการเป๊กข์นิยมทากับกุลบุตรที่อายุ ๒๐ ปีข้ึนไปเรียกว่า
อุปสมบท หรือเป๊กข์ เมื่อเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้วจะเรียกขานว่า “ตุ๊” และเม่ือลาสิกขาบทออกไปเป็น
คฤหัสถ์ชาวบ้านจะเรียกว่า ขนาน หรือหนาน ทางเหนือจะเรียกผู้ที่จะอุปสมบท หรือบรรพชา หรือนาควา่
ลูกแก้ว โดยจะไปโกนผมที่วดั ญาติพ่นี อ้ งจะพาลูกแกว้ ไปแตง่ ตวั ดว้ ยผ้านุง่ สีขาว นุ่งหม่ โจงกระเบน สวมชฎา
แต่งหน้า ทาปาก ทาค้วิ ประดบั แหวน ประดบั สร้อย ล้วนของมคี า่ มากมาย

บวชพระ อาเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ในสมัยก่อนชาวลับแลจะนิยมบวชพระในเดือนสี่ช่วง
ประมาณเดือนมีนาคมเพราะเป็นเดือนที่เหมาะกับการจัดงานประเพณี เน่ืองจากสภาพอากาศที่ไม่ร้อนมาก
ฝนไม่ตก น้าท่าบริบูรณ์ การบวชสมัยก่อนนิยมแห่ช้าง ผู้เป็นนาคจะนุ่งผ้าม่วง ห่มสไบเฉียง ผ้าแพรสีหมาก
สุก สวมลอมพอก นั่งพนมมือมาบนหลังช้าง การแต่งนาคนิยมไปแต่งท่ีวัดที่อยู่ไกลจากบ้านงาน ทั้งน้ีเพื่อ
การแห่จะไดส้ นุกสนาน ถา้ หากนาคมหี ลายหมู่บา้ นกจ็ ะนิยมเอานาคไปทาขวญั นาคร่วมกนั

ศรีศักร วัลลิโภดม และ สุพิชชา นักฆ้อง กล่าวว่า สาธร โสรัจประสพสันติ (๒๕๕๙) ได้กล่าววา่
ประเพณแี ห่ช้างบวชนาค บา้ นหาดเสี้ยว ในสมัยกอ่ นไมไ่ ดม้ กี ารบวชช้างเฉพาะท่วี ัดหาดเส้ยี ว แตย่ งั มีทีว่ ดั อื่น



ในชุมชน เช่น ที่วัดบ้านใหม่ ผู้บวชที่อยู่ใกล้หรือประสงค์จะบวชที่วัดใดก็ได้ แต่ปัจจุบันมีเฉพาะท่ีวัดหาดเสี้ยว
และในขบวนแห่นาคดว้ ยชา้ งเมอ่ื ก่อนจะมีเพยี ง “ปแี่ ต”๊ (ปีช่ วา) และกลองรามะนาหรอื กลองยาวนาหน้าขบวน
เท่าน้ัน ไม่มีแตรวงอึกทึกดังเช่นปัจจุบัน โดยแตรวงเพ่ิงเริ่มมีอย่างเด่นชัดเม่ือช่วงท่ีส่วนราชการเข้ามาร่วมจัด
งาน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังคงรักษาไว้คู่กับประเพณีตั้งแต่ครั้งอดีตก็คือการแต่งกายนาค การแต่งตัวของนาค
ชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวจะแต่งตัวแปลกไปจากท้องถ่ินอื่น คือเคร่ืองแต่งกายของนาคประกอบด้วยผ้านุ่ง
ผา้ ม่วง ผา้ ไหม สวมกามะหยี่หรือเครื่องนงุ่ ห่มที่แพรวพราว ทาหน้าด้วยแปง้ เสกกันเหงอื่ เครอื่ งประดบั อืน่ ๆ
เม่ือบวชแล้ว สวม “แว่นดา” ซึ่งหมายถึงยังเป็นผู้มืดบอด เพราะยังไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ไตรสิกขา และ
อาจมีประโยชน์กับนาคที่ใช้กันลมกันแดดในสภาพอากาศท่ีร้อนอบอ้าวของเดือนเมษายน ศีรษะสวม “เทริด”
หรือที่เรียกว่า “กระโจม” อันเป็นเคร่ืองทรงของพระอินทร์ และเป็นสัญลักษณ์ของหงอนนาค (พญานาค)
“กระจกเงา” ห้อยไว้ท่ีข้างหูท้ัง ๒ ข้าง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงการสารวจตัวเองระลึกถึงความหลังพร้อมที่จะ
สละ

จากการสวมใส่ตะลอมพอกที่กล่าวมาข้างต้น ในจังหวัดเพชรบูรณ์ก็เป็นจงั หวดั หนึ่งที่มีประเพณีการ
บวชนาคแล้วให้นาคจะต้องสวมชฎาไว้ที่ศีรษะซ่ึงปัจจุบันยังพอพบเห็นประเพณีน้ีในเขตตาบลป่าเลา และ
ตาบล ชอนไพร อาเภอเมอื ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ชาวบา้ นจะเรยี กท่ีสวมศรี ษะว่า “ตะลอมพอก”

ตะลอมพอกของชาวเพชรบรู ณ์
กร อุดมภ์ และคณะฯ (๒๕๖๐: ๔) กล่าวว่า ตะลอมพอก หมายถึง เคร่ืองสวมศีรษะรูปยาวบ้างมี

ยอดแหลมบ้างมียอดมนไม่แหลมมากนัก บ้างมีฉัตรเรียงข้ึนไปเหมือนเศวตฉัตร เมื่อสวมแล้วจะแลดูเหมือน
เปน็ เคร่ืองทรงของพระเจ้าแผ่นดนิ เทพเทวดา เป็นต้น

การสวมใส่ตะลอมพอกในตาบลชอนไพรและตาบลป่าเลา อาเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า
ตะลอมพอกเป็นเครื่องสวมศีรษะท่ีใช้ในพิธีบวชนาคซ่ึงใส่เพื่อความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของตน การ
สวมตะลอมพอกในงานบวชน้ันมีมาตั้งแต่สมัยโบราณคาดว่าน่าจะมมี านานไม่ตา่ กว่า ๑๕๐ ปี เพ่อื ให้นาคนั้น
สวมใส่เครื่องประดับเพ่ือความสวยงามให้สมฐานะเปรียบเสมือนเทวดาหรือกษัตริย์โดยสวมท้ัง เข็มขัดทอง
หรือนาค กาไลแขน แหวน สร้อยคอ กาไลข้อเท้า รวมไปถึงเคร่ืองสวมหัวที่จัดทาขึ้นใหม่จากภูมิปัญญาที่
สืบทอดกันจนถึงปัจจุบันและมีการพัฒนาให้เหมาะกับสภาพในปัจจุบัน เคร่ืองสวมศีรษะนาคในงานบวชภูมิ
ปัญญาของชาวบา้ นตาบลชอนไพรและตาบลป่าเลา มีวิธกี ารทาตะลอมพอก ดงั นี้



อปุ กรณ์ ประกอบดว้ ย
๑. สิ่วสาหรับแกะหนงั และตะปู

สิ่วสาหรับแกะหนัง และตะปู

๒. หนังสตั ว์แกะลาย

หนังสตั วแ์ กะลาย



๓. กระดาษสีท่ีแกะลาย

กระดาษสีท่แี กะลาย

๔. ไมต้ อก

ไมต้ อก



๕. ไมง้ ้าว (ชือ่ ไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิดหนงึ่ คล้ายต้นง้วิ แตเ่ ปลอื กสีเทาดา ดอกสแี ดงคลา้ ในผลมี
ปุยขาวใชย้ ัดหมอนและทนี่ อน) ทเี่ หลาเป็นยอกด้านบน

ไม้งา้ ว

๖. กระดาษสี

กระดาษสี



๗. สวิ่ ไม้

สิ่วไม้

๘. แบบกระดาษท่ีแกะลาย

แบบกระดาษที่แกะลาย



๙. แบบจอนหู

แบบจอนหู

๑๐. แบบชอ้ งหน้า

แบบชอ้ งหน้า

๑๑. มดี คัตเตอร์
๑๒. ด้ายสขี าวเส้นใหญ่ (ดา้ ยยนี ส์หรือด้ายเล่นวาว)
๑๓. ดอกไมป้ ระดบั

๑๐

ดอกไม้ประดับ
๑๔. เชอื กประดับสาหรบั ตกแตง่

เชอื กประดับสาหรับตกแต่ง

๑๑

๑๕. เล่ือมสาหรบั ตกแต่ง

เลอื่ มสาหรับตกแตง่

ขั้นตอนการประดิษฐต์ ะลอมพอก
๑. นาไม้ตอกที่เหลาไว้เป็นเส้น ๆ มาพนั รอบไม้ง้าวโดยใช้ดา้ ยสีขาวรดั ให้แนน่ ทีละเสน้ จนเต็มรอบวง
๒. นาไมต้ อกทเี่ หลาไว้มาสานโคลงจากยอดบนลงล่าง โดยการสานจะใช้วธิ คี ือ ใชต้ อก ๒ เสน้ แล้ว
สานสลับกนั ขึ้นลง ๆ เร่อื ย ๆ จนเต็มหัวหรอื คาดวา่ สวมเข้าศีรษะได้

ขน้ั ตอนการสาน

๑๒

เค้าโครงลอมพอกทส่ี านเสร็จเรียบร้อย
๓. พอสานเป็นโครงเสร็จแล้วจงึ นาแบบกระดาษแขง็ ติดบริเวณรอบดา้ นหลงั บริเวณจอนหู และตดิ
ชอ้ งหน้า จากน้นั ตามดว้ ยตดิ กระดาษสตี ่าง ๆ และตกแต่งด้วยเลอ่ื มสตี า่ ง ๆ เพ่ือความสวยงาม ถือว่าเสร็จ
ส้ินกระบวนการประดิษฐต์ ะลอมพอก

ลอมพอกด้านขา้ ง

๑๓
ลอมพอกด้านหน้า
ลอมพอกดา้ นหลัง

๑๔

ความสาคัญของการสวมใส่ตะลอมพอก
การสวมใส่ตะลอมพอกในพิธีบวชของชาวบ้านชอนไพรและบ้านป่าเลา อาเภอเมืองเพชรบูรณ์

จังหวัดเพชรบูรณ์ จากต้ังแต่อดีตถึงปัจจุบันเช่ือว่าตะลอมพอกเป็นการใส่ให้แก่นาคที่สืบทอดต่อกันมาว่าเป็น
เครื่องแต่งกายคล้ายกับพระมหากษัตริย์หรือเทวดาซึ่งเป็นการแสดงถึงสัญลักษณ์ถึงการหลงใหลในความงาม
ของทรัพย์ภายนอกและพร้อมทจี่ ะสละไปและเป็นการแสวงหาทรัพย์ภายในที่เรียกวา่ อริยทรัพย์ คือ ทรัพย์
ภายใน สมบัติทางใจ แต่ต้องปฏิบัติธรรมจึงจะเกิด เพื่อท่ีนาคและผู้ท่ีพบเห็นนาคได้พึงระลึกอย่างมีสติว่า
เครอ่ื งประดบั ต่าง ๆ นั้น ถึงจะเปน็ ส่ิงลา้ ค่าแต่ผู้ท่ีครองตนเป็นสมณะย่อมที่จะสละได้ทกุ ส่ิงอย่างแม้นวา่ ทรัพย์
สมบัติเหล่านัน้ จะมีค่ามากมายเพียงใด แม้แตเ่ จา้ ชายสิทธัตถะท่ีเป็นกษตั รยิ ์พระองค์ยังได้กระทามาแล้ว เพื่อ
ความสวยงามทาให้นาคดูมสี งา่ ราศเี หมือนเทวดา และเป็นประเพณีที่ยาวนานของหมู่บ้านที่สบื ตอ่ กันมา

สรปุ
ภูมิปัญญาท้องถ่ินเป็นองค์ความรู้ของชาวบ้านที่คิดขึ้นจากสติปัญญาของชาวบ้านในท้องถ่ิน เป็น

ศักยภาพหรือความสามารถในการแก้ปัญหาในการดาเนินชีวติ ได้อย่างเหมาะสม โดยได้รับการส่ังสม ถ่ายทอด
ปรับตวั ผา่ นกระบวนการพฒั นาให้สอดคล้องกับยุคสมยั ตะลอมพอกก็เช่นเดียวกันจากภมู ปิ ัญญาดั้งเดิมสู่การ
พัฒนาและปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน และยังสามารถบ่งบอกถึงเอกลักษณ์รวมถึงความภาคภูมิใจใน
ประเพณีอนั ดีงามของชาวเพชรบรู ณ์

แนวทางการนาไปปฏบิ ตั ใิ ช้
๑. ใชเ้ ป็นฐานขอ้ มูลทางด้านวัฒนธรรมเพชรบูรณ์ใหแ้ ก่ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ์ในองค์ความรู้

ด้านประเพณีพ้ืนบ้าน เพื่อให้นักศึกษาสามารถศึกษาข้อมูลและทราบถึงรูปแบบของประเพณีการสวมใส่
ตะลอมพอกของชาวตาบลป่าเลา และชาวตาบลชอนไพร นอกจากนั้นยังเป็นฐานข้อมูลให้กับวัฒนธรรม
จงั หวัดเพชรบูรณ์ท่ีสามารถนาองคค์ วามรไู้ ปเผยแพรต่ อ่ ในระดับต่าง ๆ ต่อไป

๒. นาองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนในรายวิชาการศึกษาท่ัวไป ได้แก่ รายวิชา
HSDP๖๐๑ วิจัยและงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะการแสดง โดยทาการสอดแทรกเน้ือหาในกิจกรรมการสอนใน
สปั ดาหท์ ี่ ๓ หวั ข้อเรือ่ งเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบ ซง่ึ ประเพณีการสวมใส่ตะลอมพอกของ
ชาวตาบลป่าเลา และชาวตาบลชอนไพรได้มีการจัดทาเป็นผลงานวิจัยด้านดนตรีและการแสดงเรื่องประเพณี
การสวมใส่ตะลอมพอกของชาวตาบลป่าเลา และชาวตาบลชอนไพร ดังนั้นผู้สอนจึงได้บรรยายพร้อม
ยกตัวอย่างก า ร เ ก็บ ร ว บ ร ว ม ข้อ มูล ข อ ง รูป แ บ บ ก า ร ทา ต ะ ล อ ม พ อ ก แ ล ะ ก า ร นา ม า เ ขีย น ใ น รูป แ บ บ ท า ง
วิชาการ เพื่อให้นักศึกษาเห็นถึงวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนามาใช้ในการวิจัยและงานสร้างสรรค์ด้าน
ศลิ ปะการแสดง

๑๕

ข้อเสนอแนะ
อยากให้มีการลงพ้ืนที่เก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องประเพณีพ้ืนบ้านในแต่ละอาเภอของจังหวัดเพชรบูรณ์

และเห็นควรนาองค์ความรู้ท่ีได้ไปเผยแพรใ่ นรูปแบบอ่ืน ๆ อยา่ งหลากหลาย เชน่ โบชวั ร์ หรอื ออนไลน์ รวมถึง
ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่เยาวชนรุ่นหลังได้เห็นถึงความงดงามและ
เอกลักษณ์ของวฒั นธรรมเพชรบรู ณ์

๑๖

บรรณานุกรม
เอกสารอา้ งอิง
กร อดุ มภ์ และคณะฯ. (๒๕๖๐). วิจยั เรือ่ งประเพณกี ารสวมใส่ตะลอมพอก บ้านปา่ เลา

และบ้านชอนไพร อาเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. สาขาวิชาดนตรีและการแสดง
คณะมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฎั เพชรบรู ณ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๖). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว เนอ่ื งในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ
๕ ธนั วาคม ๒๕๕๔. กรงุ เทพฯ: ผแู้ ต่ง.
วันดี ศรสี วสั ดิ์ และคณะ. (๒๕๕๙). วจิ ยั เรือ่ งโครงการการศกึ ษาองคค์ วามร้ทู างวัฒนธรรมและภูมปิ ญั ญา
ท้องถิ่นในพนื้ ท่ี ตาบลทับน้า อาเภอบางปะหนั จงั หวัดพระนครศรีอยุธยา. สนบั สนุนโดย
สานกั งานกองทนุ สนับสนุนการวจิ ัยและมหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีราชมงคลสวุ รรณภูมิ.
ศรศี ักร วัลลโิ ภดม และสุพชิ ชา นกั ฆ้อง. (๒๕๕๙). บทความ เรอ่ื งประเพณแี ห่ชา้ งบวชนาค. [ออนไลน์]
ค้นเม่ือ มกราคม ๓, ๒๕๖๐, จาก https://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=
๘๖

บคุ คลอ้างองิ
กากี เสือแสง. (๒๕๖๐). อายุ ๘๕ ปี บ้านเลขที่ ๓๔ หมู่ ๒ ตาบลชอนไพร อาเภอเมืองเพชรบรู ณ์

จงั หวัดเพชรบูรณ์. สมั ภาษณ์, ๑๙ กุมภาพันธ์.
นฤเทพ แสงนก. (๒๕๖๐). อายุ ๒๒ ปี บ้านเลขท่ี ๔ หมู่ ๒ ตาบลป่าเลา อาเภอเมืองเพชรบูรณ์

จังหวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์, ๒๒ กมุ ภาพันธ.์
ฟอ้ น อุดมภ์. (๒๕๖๐). อายุ ๘๑ ปี บ้านเลขที่ ๖๐ หมู่ ๙ ตาบลชอนไพร อาเภอเมืองเพชรบรู ณ์

จังหวัดเพชรบรู ณ.์ สัมภาษณ์, ๑๙ กุมภาพนั ธ์.
ไร วิชยั คา. (๒๕๖๐). อายุ ๘๙ ปี บ้านเลขท่ี ๘๐ หมู่ ๒ ตาบลชอนไพร อาเภอเมืองเพชรบูรณ์

จงั หวดั เพชรบูรณ์. สมั ภาษณ์, ๑๙ กุมภาพันธ์.
ลดั เสือแสง. (๒๕๖๐). อายุ ๘๙ ปี บ้านเลขที่ ๓๔ หมู่ ๒ ตาบลชอนไพร อาเภอเมืองเพชรบูรณ์

จงั หวดั เพชรบูรณ์. สมั ภาษณ์, ๑๙ กุมภาพนั ธ.์
หวงั ภดู่ าย. (๒๕๖๐). อายุ ๕๔ ปี บ้านเลขที่ ๖๙ หมู่ ๙ ตาบลชอนไพร อาเภอเมืองเพชรบรู ณ์

จงั หวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์, ๑๙ กุมภาพันธ.์

๑๗

ภาคผนวก
รายละเอยี ดรายวชิ า (มคอ. ๓) ท่ีใช้บูรณาการ

๑๘

มคอ.

รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.๓) ๓

คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

หลักสูตรศลิ ปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศลิ ปแ์ ละศลิ ปะการแสดง

หมวดที่ ๑ ขอ้ มูลโดยทว่ั ไป

๑. รหสั และช่ือรายวิชา
HSDP๖๐๑ ชื่อรายวิชา (ภาษาไทย) วิจยั และงานสรา้ งสรรคด์ า้ นศลิ ปะการแสดง
ชอ่ื รายวชิ า (ภาษาอังกฤษ) Research and Creative Work in Performing Arts

๒. จานวนหนว่ ยกติ

๓ (๒-๒-๕) จานวนหน่วยกิต (บรรยาย-ปฎิบตั ิ-ศกึ ษาดว้ ยตนเอง)

๓. หลกั สตู รและประเภทของรายวิชา
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบณั ฑติ สาขาวชิ านาฏศิลป์และศิลปะการแสดง

และหมวดวิชาเฉพาะ วิชาเอก

๔. อาจารย์ผู้รับผดิ ชอบรายวชิ าและอาจารย์ผสู้ อน

ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์จันทร์พมิ พ์ มีเปย่ี ม ผู้รบั ผดิ ชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

๕. ภาคการศกึ ษา/ชั้นปีทเ่ี รยี น

ภาคการศกึ ษาท.่ี ..๓....ชัน้ ปีท่.ี ...๒.. (ตามแผนการเรยี น)

๖. รายวิชาท่ตี ้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)
-

๗. รายวิชาทีต่ ้องเรียนพร้อมกนั (Co-requisites)

-

๘. สถานท่เี รยี น
สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เพชรบูรณ์

๙. วนั ที่จดั ทาหรือปรบั ปรุงรายละเอยี ดของรายวิชาคร้งั ลา่ สดุ
วนั ท่ี ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๔

๑๙

หมวดท่ี ๒ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

๑. จดุ ม่งุ หมายของรายวชิ า
เพอื่ ให้นักศึกษามคี วามร้ใู นหลักการวิจัย กระบวนการ ขั้นตอนและลักษณะของการวิจัย

ด้านนาฏศิลป์และศิลปะการแสดง เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบและวิเคราะห์
ข้อมูล ค้นคว้า รวบรวมและเขียนรายงานการวิจัย
๒. วัตถปุ ระสงค์ในการพฒั นา/ปรับปรุงรายวิชา

๑. เพื่อใหน้ ักศึกษามีความรู้ในหลักการวิจัย กระบวนการ ขั้นตอนและลักษณะของการ
วิจัยด้านนาฏศิลป์และศิลปะการแสดง เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบและวิเคราะห์
ข้อมูล ค้นคว้า รวบรวม

๒. เพื่อใหน้ กั ศึกษาสามารถเขียนรายงานการวิจัยด้านนาฏศิลป์และศิลปะการแสดงได้
๓. เพ่ือใหน้ ักศึกษาเหน็ คุณคา่ ของการทาวิจยั ด้านนาฏศิลป์และศิลปะการแสดง

หมวดที่ ๓ ลักษณะและการดาเนนิ การ

๑. คาอธบิ ายของรายวิชา
ศกึ ษาหลักการวิจยั กระบวนการ ขนั้ ตอนและลักษณะของการวิจัยด้านนาฏศลิ ป์และศิลปะการแสดง

เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลค้นคว้า รวบรวมและเขียนรายงานการ
วิจัยท่ีผ่านความเห็นชอบจากสาขาวิชา มา ๑ เร่ือง หรือศึกษาหลักการเขียนผลงานการค้นคว้าในหัวข้อท่ี
ได้รับความเห็นชอบจากสาขาวิชาและจัดทาคู่มือกากับ เขียนคู่มือประกอบผลงานค้นคว้าริเร่ิมสร้างสรรค์
ด้านนาฏศิลป์และศลิ ปะการแสดง

Study the principles, processes, methodologies, characteristics of research on
performance, techniques for collection, examining and analyzing the data; Practice how
to search for information, collect the information and finally write one research report on
an approved topic from the program committee or study research principles on an
approved topic.
๒. จานวนช่วั โมงทใี่ ช้ตอ่ ภาคการศึกษา

จานวนชั่วโมงต่อภาคการศึกษา

หน่วยกติ บรรยาย การฝึกปฏิบตั /ิ การฝึกงาน การศึกษาด้วย สอนเสริม
๓๐ ช่ัวโมง ๓ ชว่ั โมง
๓(๒-๒-๕) ตนเอง

๓๐ ช่ัวโมง ๗๕ ช่ัวโมง

หมายเหตุ สอนเสรมิ สปั ดาหล์ ะ ๓ ช่วั โมง

๒๐

๓. จานวนชวั่ โมงต่อสปั ดาห์ท่อี าจารย์ใหค้ าปรกึ ษาและแนะนาทางวชิ าการแก่นกั ศึกษาเปน็ รายบุคคล

ตารางการใหค้ าปรกึ ษาและแนะนาทางวิชาการแก่นักศกึ ษาเปน็ รายบุคคล

รายวชิ า อาจารยผ์ สู้ อน วัน-เวลา ให้ สถานที่หรือ หมายเลข ที่อยขู่ อง รวม
คาปรกึ ษา หมายเลขหอ้ ง โทรศพั ท์ E-mail ผู้ส น จานวน

ผ้สู อน ผู้สอน ช่ัวโมงตอ่

สัปดาห์
ทีใ่ ห้

คาปรกึ ษา

วิจยั และงาน ผศ.จันทร์พมิ พ์ มเี ปยี่ ม วันจนั ทร์ ห้องพัก ๐๘๕๔๒๓๙๙ Chanpimm_ ๑ชม./สด.

สร้างสรรค์ดา้ น เวลา ๑๒.๐๐- อาจารย์ ๐๓ ๒๕๒๐@hotmail.co

ศิลปะการแสดง ๑๓.๐๐ น. นาฏศิลปฯ์ m

วันพธุ หอ้ งพัก - ๑ชม./สด.

เวลา ๑๒.๐๐- อาจารย์
๑๓.๐๐ น. นาฏศิลปฯ์

วันศกุ ร์ หอ้ งพัก - ๑ชม./สด.
เวลา ๑๒.๐๐- อาจารย์
๑๓.๐๐ น. นาฏศลิ ป์ฯ

หมวดท่ี ๔ การพฒั นาการเรยี นรูข้ องนกั ศึกษา

๑. ดา้ นคุณธรรม จรยิ ธรรม ๑.๒ กลยุทธ์/วิธกี ารสอน ๑.๓ กลยทุ ธ์/วธิ กี ารประเมินผล

๑.๑ ผลการเรยี นรู้ ๑. บรรยายพร้อมยกตวั อยา่ ง ๑. พฤติกรรมการเขา้ เรียน

๑ [] มีคุณธรรม จริยธรรมและตระหนกั ใน ๒. ปฏิบัตจิ รงิ และปฏิบตั ิกล่มุ ๒. การส่งงานที่ไดร้ ับมอบหมายและตรง
ศลิ ปวัฒนธรรมของชาติ เวลา และประเมนิ ผลจากการเขา้ รว่ ม
กิจกรรม
๒ [] มีความรบั ผิดชอบ มรี ะเบียบวนิ ยั และเคารพ
กฎกตกิ าของสังคม ๓…………………..……
๔…………………..…….
๓ []……………………... ๓…………………..…… ๕…………………..……
๔ []……………………... ๔…………………..…….
๕ []……………………... ๕…………………..……

๒. ด้านความรู้ ๒.๒ กลยุทธ์/วิธีการสอน ๒.๓ กลยทุ ธ์/วิธกี ารประเมินผล

๒.๑ ผลการเรยี นรู้ ๑. บรรยายพร้อมยกตัวอยา่ ง ๑. ประเมินผลจากการนาเสนอและ สอบ
ทารายงานและการนาเสนอ วัดความรู้
๑ [] มีความร้แู ละประสบการณ์ในสาขา วชิ าที่
ศึกษาและสามารถประยกุ ตใ์ ชใ้ นการดารงชวี ติ ๓…………………..…… ๓…………………..……
๓…………………..…… ๓…………………..……
๒ []……………………... ๔…………………..……. ๔…………………..…….
๓ []……………………... ๕…………………..…… ๕…………………..……
๔ []……………………...
๕ []……………………...

๒๑

๓. ดา้ นทกั ษะทางปญั ญา

๓.๑ ผลการเรยี นรู้ ๓.๒ กลยทุ ธ์/วิธกี ารสอน ๓.๓ กลยุทธ์/วิธกี ารประเมินผล

๑ [] สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ ๑. มอบหมายใหค้ น้ ควา้ เขียน ๑. สงั เกตการอภิปราย แสดงความคิดเห็น
มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล รายงานและนาเสนอหนา้ หอ้ ง ตอบคาถามและการนาเสนอ รายงานปาก
ใชส้ อ่ื เคล่อื นไหว จัดกิจกรรม เปลา่ หรอื ลายลกั ษณอ์ กั ษร
๒ []…………………… อภปิ ราย แสดงความคดิ เห็น
๒………………….……
๒…………………..…… ๓…………………..……
๔…………………..……
๓ []………………… ๓…………………..…… ๕…………………..……
๕…………………..……
๔ []…………………… ๔…………………..……
๔.๓ กลยทุ ธ์/วิธกี ารประเมนิ ผล
๕ []…………………… ๕…………………..……
๑. ตรวจทานบันทกึ การเรียนรขู้ องนักศกึ ษา
๖ []…………………… ๕…………………..…… ๒. ตรวจทานบนั ทกึ การเรยี นรูข้ องนักศกึ ษา
๓…………………..……
๔. ความสัมพันธ์ระหว่างบคุ คลและความรบั ผดิ ชอบ ๔. การนาเสนอผลงานด้วยปากเปล่า
๕. การนาเสนอผลงานด้วยปากเปล่า
๔.๑ ผลการเรยี นรู้ ๔.๒ กลยุทธ์/วิธีการสอน
๖…………………..……
๑ [] มีความสามารถในการทางานรว่ มกับผอู้ ื่น ๑. อาจารยใ์ ห้ขอ้ มลู ปอ้ นกลบั ๗…………………..……
๒ [] มีภาวะผู้นาในการทางานของกลมุ่ ๒. มอบหมายงานกลมุ่
๓ []…………………… ๓………………..……
๔ [] มคี วามรับผดิ ชอบต่ออาชพี ๔. มอบหมายงานกลมุ่

๕ [] มีน้าใจและเสยี สละ พร้อมอุทิศตนในการ ๕. มอบหมายงานกลมุ่
ทางานเพ่อื ส่วนรวม
๖…………………..……
๖ []……………………

๗ []…………………… ๗…………………..……

๕. ดา้ นทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การส่อื สาร และการใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศ

๕.๑ ผลการเรยี นรู้ ๕.๒ กลยทุ ธ์/วธิ กี ารสอน ๕.๓ กลยุทธ์/วิธีการประเมนิ ผล

๑ []มีความสามารถในการวิเคราะหด์ ว้ ย ๑. อาจารยใ์ ห้ขอ้ มลู ปอ้ นกลบั ๑. ตรวจทานบันทกึ การเรียนรู้ของ
กระบวนการทางคณติ ศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ นักศึกษา

อย่างมวี จิ ารณญาณเพอื่ นาไปประยกุ ต์ใช้ในการ
ดาเนินชีวติ ไดอ้ ยา่ งมีคณุ ภาพ

๒ []…………………… ๒…………………..…… ๒…………………..……

๓ []มคี วามรูแ้ ละทักษะในการใชเ้ ทคโนโลยี ๓. มอบหมายงานกลุ่ม ๓. การนาเสนอผลงานด้วยปากเปลา่
สารสนเทศในการแสวงหาความรู้ เพอ่ื นาไปใช้ได้

อย่างมีประสิทธภิ าพ

๔ []…………………… ๔…………………..…… ๔…………………..……

๕ []…………………… ๕…………………..…… ๕…………………..……

๒๒

๖. ดา้ นทักษะพสิ ัย กร ีณเ ็ปนตัวอย่างเท่า ้นัน ๖.๒ กลยุทธ์/วธิ ีการสอน ๖.๓ กลยุทธ์/วิธีการประเมนิ ผล
๑…………………..…… ๑…………………..……
๖.๑ ผลการเรยี นรู้ ๒…………………..…… ๒…………………..……
๑ []…………………… ๓…………………..…… ๓…………………..……
๒ []…………………… ๔…………………..…… ๔……………..……
๓ []…………………… ๕………………….… ๕………………..……
๔ []……………………
๕ []……………………

๒๓

หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมนิ ผล

๑. แผนการสอน

สปั ดาห์ หวั ข้อ/รายละเอยี ด ชั่วโมงสอนตอ่ สปั ดาห์ กจิ กรรมการ สือ่ ที่ใช้ใน อาจารยผ์ ู้สอน

ท่ี ทฤษฎี ปฏิบตั ิ สอน การสอน

๑ -ศึกษาหลักการวจิ ัย ๒ ๒ -มอบหมายให้ -ส่ือเคลื่อนไหว ผศ.จนั ทรพ์ มิ พ์ มเี ป่ียม
กระบวนการและขั้นตอน
คน้ คว้า เขียน -เครอ่ื งเลน่ VCD

รายงาน และแผน่ CD,VCD

-ตวั อยา่ งรายงาน

การวจิ ัยเชงิ

คณุ ภาพ

๒ -ลกั ษณะของการวิจัย ๒ ๒ -การนาเสนอ -สื่อเคลือ่ นไหว ผศ.จนั ทรพ์ มิ พ์ มีเปี่ยม

ด้านนาฏศิลปแ์ ละ -อาจารย์ให้ -เคร่อื งเล่น VCD

ศิลปะการแสดง ข้อมูลป้อนกลบั และแผน่ CD,VCD

-บรรยายพรอ้ ม -ตวั อยา่ งรายงาน

ยกตวั อย่าง การวจิ ยั เชิง

คณุ ภาพ

๓ -เทคนิคการเก็บ ๒ ๒ -อาจารยใ์ ห้ -ส่ือเคลื่อนไหว ผศ.จันทร์พิมพ์ มเี ป่ียม
รวบรวมข้อมูล ขอ้ มลู ปอ้ นกลับ -เครอ่ื งเลน่ VCD
การตรวจสอบ -บรรยายพรอ้ ม และแผ่น CD,VCD
ยกตวั อย่าง -ตวั อยา่ งรายงาน

-บรรยายพร้อม การวจิ ยั เชงิ
ยกตัวอยา่ ง การ คณุ ภาพ

เก็บรวบรวม -ตวั อย่างผลงาน

ข้อมูล วิจัยด้านศลิ ปะ

ในผลงานวจิ ัย การแสดง เร่อื ง

ด้าน ตะลอมพอก ภูมิ

ศิลปะการแสดง ปญั ญาทอ้ งถน่ิ

เร่ืองตะลอมพอก ในประเพณกี าร

ภมู ิปญั ญา บวชนาคของชาว

ทอ้ งถ่ิน เพชรบรู ณ์

ในประเพณีการ

บวชนาคของชาว

เพชรบูรณ์

๔ -การวิเคราะห์ข้อมูล ๒ ๒๔

๕ -ฝึกเขียนรายงานการ ๒ ๒ -อาจารยใ์ ห้ -ส่ือเคล่อื นไหว ผศ.จันทรพ์ ิมพ์ มีเปย่ี ม
วิจัย ๑ เร่ือง ข้อมูลป้อนกลบั -เครอ่ื งเล่น VCD
-เสนอหัวข้อวิจัยด้าน -บรรยายพรอ้ ม และแผน่ CD,VCD
นาฏศิลป์และ ยกตัวอยา่ ง -ตวั อยา่ งรายงาน
ศิลปะการแสดง การวิจยั เชงิ
คณุ ภาพ
๖ -เสนอวัตถุประสงค์ ๒
ของการวิจัย ๒ -อาจารย์ให้ -สอ่ื เคล่อื นไหว ผศ.จนั ทร์พิมพ์ มีเปย่ี ม
ขอ้ มูลปอ้ นกลับ -เคร่อื งเล่น VCD
๗ -เขียนวิจัย บทที่ ๑ ๒ -บรรยายพรอ้ ม และแผน่ CD,VCD
ยกตวั อยา่ ง -ตัวอยา่ งรายงาน
๘-๑๐ -เขียนวิจัย บทท่ี ๒ ๖ -ลงพืน้ ทเ่ี ก็บ การวจิ ัยเชงิ
ข้อมูล คณุ ภาพ
๑๑ -เขียนวิจัย บทที่ ๓ ๒
-สร้างเครื่องมือในการ ๒ -อาจารยใ์ ห้ -สือ่ เคล่อื นไหว ผศ.จันทร์พมิ พ์ มีเปี่ยม
วิจัย ขอ้ มูลป้อนกลับ -เครื่องเล่น VCD
-บรรยายพร้อม และแผน่ CD,VCD
ยกตวั อย่าง -ตัวอยา่ งรายงาน
-ลงพ้นื ทเ่ี ก็บ การวจิ ยั เชิง
ข้อมลู คณุ ภาพ

๒ -อาจารยใ์ ห้ -สื่อเคลื่อนไหว ผศ.จนั ทร์พมิ พ์ มีเป่ยี ม
ขอ้ มลู ปอ้ นกลบั -เครอ่ื งเล่น VCD
-บรรยายพร้อม และแผน่ CD,VCD
ยกตวั อย่าง -ตัวอย่างรายงาน
-ลงพนื้ ท่ีเก็บ ก า ร วิ จั ย เ ชิ ง
ข้อมลู คณุ ภาพ

๖ -อาจารย์ให้ -ส่อื เคลื่อนไหว ผศ.จันทรพ์ ิมพ์ มเี ปี่ยม
ข้อมูลป้อนกลบั -เครอื่ งเลน่ VCD
-บรรยายพร้อม และแผน่ CD,VCD
ยกตวั อย่าง -ตวั อยา่ งรายงาน
-ลงพ้ืนท่เี ก็บ การวจิ ยั เชิง
ขอ้ มูล คุณภาพ

๒ -อาจารยใ์ ห้ -ส่อื เคลื่อนไหว ผศ.จนั ทร์พมิ พ์ มีเปยี่ ม
ข้อมูลปอ้ นกลบั -เครื่องเลน่ VCD
-บรรยายพรอ้ ม และแผ่น CD,VCD
ยกตวั อยา่ ง -ตัวอยา่ งรายงาน
-ลงพื้นท่ีเก็บ การวิจัยเชิง
ขอ้ มูล คณุ ภาพ

๒๕

๑๒-๑๓ -เขียนวิจัย บทท่ี ๔ ๔ ๔ -อาจารย์ให้ -สอื่ เคลื่อนไหว ผศ.จนั ทรพ์ มิ พ์ มีเป่ียม

ขอ้ มูลปอ้ นกลับ -เครือ่ งเลน่ VCD

-บรรยายพร้อม และแผ่น CD,VCD

ยกตัวอย่าง -ตวั อยา่ งรายงาน

-วเิ คราะห์ขอ้ มูล การวจิ ัยเชงิ

คณุ ภาพ

๑๔-๑๕ -เขียนวิจัย บทท่ี ๕ ๔ ๔ -อาจารย์ให้ -สอ่ื เคลอ่ื นไหว ผศ.จนั ทร์พิมพ์ มีเป่ยี ม
-นาเสนอรายงานการ
วิจัย พร้อมรูปเล่ม ข้อมูลป้อนกลับ -เครือ่ งเล่น VCD

-บรรยายพรอ้ ม และแผ่น CD,VCD

ยกตัวอย่าง -ตัวอยา่ งรายงาน

- น า เ ส น อ ร า ย การวจิ ยั เชิง

งานวิจยั คณุ ภาพ

สอบปลายภาค

๒. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

กิจกรรม การเรยี นรู้ด้าน ผลการเรียนรู้ วธิ ีการประเมนิ สัปดาห์ท่ี สัดส่วนการ
ประเมิน ประเมิน
ท่ี ๑) พฤติกรรมการเขา้ เรียน ตลอดภาค ๑๐%
๒) การสง่ งานทไี่ ดร้ บั การศกึ ษา
๑ คุณธรรม จรยิ ธรรม ๑) มคี ุณธรรม จรยิ ธรรมและ มอบหมายและตรงเวลา ๒๐%
๓) การนาเสนอรายงานปาก ๒, ๘, ๑๖ ๒๐%
ตระหนกั ในศลิ ปวัฒนธรรม เปล่า หรอื ลายลักษณ์อักษร ๒๐%
๔) ประเมินผลจากการเข้ารว่ ม ตลอดภาค ๑๐%
ของชาติ กจิ กรรม การศึกษา
๑) ประเมนิ ผลจากการนาเสนอ ตลอดภาค ๑๐%
๒) มคี วามรับผดิ ชอบ มี ๒) สอบวดั ความรู้ การศึกษา

ระเบียบวินยั และเคารพกฎ ๑) สงั เกตการอภปิ รายแสดง ๒
ความคดิ เหน็ ตอบคาถาม
กตกิ าของสังคม
๑) ตรวจทานบันทกึ การเรียนรู้
๒ ความรู้ ๑) มีความร้แู ละ ของนักศึกษา
๒) การนาเสนอผลงานดว้ ย
ประสบการณ์ในสาขาวิชาท่ี ปากเปล่า

ศกึ ษาและสามารถ

ประยกุ ต์ใชใ้ นการดารงชวี ิต

๓ ทกั ษะทางปัญญา ๑) สามารถคิดอย่างมี

วจิ ารณญาณ มีทักษะในการ

คดิ วิเคราะหอ์ ย่างมีเหตผุ ล

๔ ทกั ษะความ ๑) มคี วามสามารถในการ

สัมพนั ธร์ ะหว่าง ทางานรว่ มกับผอู้ ่ืน

บคุ คลและความ ๒) มีภาวะผู้นาในการทางาน

รบั ผดิ ชอบ ของกลุ่ม

๔) มีความรบั ผดิ ชอบต่ออาชีพ

๒๖

๕) มนี า้ ใจและเสยี สละ พร้อม

อทุ ิศตนในการทางานเพ่ือ

ส่วนรวม

๕ ทกั ษะการวเิ คราะห์ ๑) มคี วามสามารถในการ ๑) ตรวจทานบนั ทึกการเรียนรู้ ตลอดภาค ๑๐%

เชิงตัวเลข การ วิเคราะหด์ ว้ ยกระบวนการ ของนักศกึ ษา การศกึ ษา

สื่อสาร และการใช้ ทางคณติ ศาสตรห์ รือ ๒) การนาเสนอผลงานดว้ ย ๒

เทคโนโลยี วทิ ยาศาสตรอ์ ย่างมี ปากเปล่า

สารสนเทศ วิจารณญาณเพอ่ื นาไป

ประยุกตใ์ ชใ้ นการดาเนนิ

ชีวิตได้อย่างมคี ณุ ภาพ

๓) มคี วามรู้และทกั ษะใน

การใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศ

ในการแสวงหาความรู้ เพือ่

นาไปใชไ้ ดอ้ ย่างมี

ประสิทธภิ าพ

๖ ทกั ษะพสิ ัย ๑)………………………….. -

๒)…………………………..

หมวดที่ ๖ ทรัพยากรประกอบการเรยี นการสอน

๑. ตาราและเอกสารหลัก

เอกสารประกอบการสอน รายวิชาวจิ ัยและงานสรา้ งสรรคด์ ้านศลิ ปะการแสดง รหัสรายวิชา HSDP๖๐๑ สาขาวิชานาฏศลิ ปแ์ ละ

ศลิ ปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภฎั เพชรบูรณ์

๒. เอกสารและข้อมลู สาคัญ

ราณี ชัยสงคราม. นาฏศิป์ไทยเบื้องตน้ . กรุงเทพฯ: องคก์ ารคา้ ของครุ ุสภา. ๒๕๔๔.

๓. เอกสารและข้อมูลแนะนา

ผสุดี หลิมสกุล. ราเดีย่ วแบบมาตรฐานตัวนาง. กรงุ เทพฯ : จุฬาลงกรณม์ หาวยิ าลัย, ๒๕๕๕.

วิมลศรี อุปรมยั . นาฏกรรมและการละคร. กรุงเทพฯ : จฬุ าลงกรณม์ หาวยิ าลยั , ๒๕๕๓.

สรุ พล วริ ุฬห์รกั ษ.์ นาฏศลิ ปป์ ริทรรศน.์ กรุงเทพฯ : จฬุ าลงกรณม์ หาวิยาลยั , ๒๕๔๓.

สุมิตร เทพวงษ์. นาฏศลิ ป์ไทย : นาฏศลิ ปส์ าหรับครูประถมและมัธยม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร,์ ๒๕๔๑.

๒๗

หมวดท่ี ๗ การประเมินและปรบั ปรงุ การดาเนนิ การของรายวชิ า

๑. กลยุทธก์ ารประเมนิ ประสทิ ธผิ ลของรายวชิ าโดยนกั ศกึ ษา
นักศึกษากรอกแบบสอบถามทท่ี ีมผู้สอนสรา้ งข้ึน เพ่อื การประเมินรายวชิ า

๒. กลยุทธก์ ารประเมินการสอน
จากทีมผ้สู อน ผู้สังเกตการณ์
ผลการเรียนของนกั ศึกษา

๓. การปรับปรุงการสอน
มีการกาหนดวิธกี ารจากทีมผูส้ อน
มีการประชุมสมั มนาเพอื่ พฒั นาการเรียนการสอน

๔. การทวนสอบมาตรฐานผลสมั ฤทธขิ์ องนักศกึ ษาในรายวชิ า
การทวนสอบจากคะแนนขอ้ สอบ โดยตรวจสอบผลการประเมนิ การเรยี นรู้ของนกั ศกึ ษา
การทวนสอบจากงานท่มี อบหมาย

๕. การดาเนนิ การทบทวนและการวางแผนปรับปรงุ ประสทิ ธิผลของรายวชิ า
นักศึกษากรอกแบบสอบถามทีท่ มี ผู้สอนสร้างขึน้ เพือ่ การประเมินรายวิชา
จากทีมผสู้ อน ผู้สงั เกตการณ์
ผลการเรยี นของนกั ศึกษา

ประเพณีการสวมใสต ะลอมพอก
สำนักศลิ ปะและวัฒนธรรม
มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเพชรบูรณ


Click to View FlipBook Version