The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jirapa1070, 2022-09-26 03:01:23

65...11ประเพณีบุญข้าวจี่

ประเพณีบุญข้าวจี่

ประเพณบี ุญขาวจี่

วดั ทากกแก

ตำบลตาลเดีย่ ว อำเภอหลมสัก จังหวดั เพชรบรู ณ

มหสาำวนิทักยศาิลลปัยะรแาลชะภวัฏฒั เพนธชรรรบมรู ณ

คำนำ

ประเพณีบุญข้าวจี่ วัดท่ากกแก ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นเอกสารองค์ความรู้
ภายใต้โครงการจัดเก็บข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นข้อมูลที่ทีมงานสำนักศิลปะ
และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภฏั เพชรบรู ณ์ ได้จัดทำขึ้นจากการลงพื้นที่ภาคสนาม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
องค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึง
เร่อื งราวที่เกิดขนึ้ ในอดีตและปจั จุบนั

ทั้งนี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
เอกสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจทั้งหลาย นำองค์ความรู้นี้ไปเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและ
เลง็ เหน็ ถงึ คณุ คา่ ของร่องรอยทางวัฒนธรรมทค่ี นในอดตี ได้สร้างไว้ต่อไป

สำนักศลิ ปะและวฒั นธรรม
มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเพชรบรู ณ์

สารบญั หนา้

เร่อื ง ๑
องคค์ วามรู้ทางวัฒนธรรม ๑
เร่ือง ประเพณบี ุญขา้ วจี่ ๑

วัตถุประสงค์ ๑
ขอบเขต ๒
เปา้ หมาย ๓
ประโยชนท์ ี่คาดวา่ จะไดร้ ับ ๘
ประวัติความเป็นมาประเพณีบญุ ขา้ วจี่ ๘
การทำข้าวจ่ี ๙
แนวทางการนำไปปฏบิ ตั ิใช้ ๑๐
ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก รายละเอยี ดรายวิชา (มคอ. ๓) ท่ใี ช้บูรณาการ

องคค์ วามรู้ทางวัฒนธรรม
เร่อื ง ประเพณีบุญขา้ วจี่
วดั ท่ากกแก ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหล่มสกั จังหวัดเพชรบูรณ์

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเป็นการเสาะแสวงหา รวบรวม จัดเก็บความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลที่เชี่ยวชาญในด้านประเพณี

พน้ื บ้าน ประเพณบี ุญข้าวจ่ี วดั ทา่ กกแก ตำบลตาลเดย่ี ว อำเภอหล่มสัก จงั หวดั เพชรบรู ณ์
๒. เพือ่ จัดทำเปน็ เล่มองคค์ วามรู้สำหรบั เผยแพร่ให้แกเ่ ยาวชนและผู้ท่ใี หค้ วามสนใจศึกษาเรียนรู้

ขอบเขต
ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาและรูปแบบการจัดประเพณีบุญข้าวจี่ วัดท่ากกแก ตำบลตาลเดี่ยว

อำเภอหล่มสัก จงั หวัดเพชรบูรณ์

เปา้ หมาย
จัดเกบ็ ข้อมูลทางด้านวฒั นธรรมประเพณีพนื้ บา้ น เร่ืองประเพณบี ญุ ขา้ วจ่ี วัดท่ากกแก ตำบลตาลเดีย่ ว

อำเภอหล่มสัก จงั หวัดเพชรบูรณ์

ประโยชน์ทีค่ าดว่าจะได้รับ
๑. ได้ขอ้ มูลทางดา้ นวัฒนธรรม ประเพณบี ญุ ขา้ วจี่ วัดทา่ กกแก ตำบลตาลเดย่ี ว อำเภอหลม่ สัก

จงั หวัดเพชรบูรณ์
๒. ไดส้ ืบสานและอนรุ กั ษ์มรดกทางวฒั นธรรม ประเพณีบุญข้าวจ่ี วดั ท่ากกแก ตำบลตาลเดีย่ ว อำเภอ

หลม่ สัก จงั หวดั เพชรบรู ณ์
๓. ได้องค์ความรู้สำหรบั นำไปบรู ณาการกับการเรยี นการสอน



ประเพณีบญุ ขา้ วจี่
วดั ทา่ กกแก ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหล่มสกั จังหวัดเพชรบรู ณ์

บ้านท่ากกแก เป็นชุมชนที่มีรูปแบบการดำเนินวิถีชีวิตตามหลัก ฮีตสิบสอง ซึ่งหมายถึงประเพณีทั้ง
๑๒ เดือนท่ีเก่ียวเน่ืองกับหลักทางพุทธศาสนา เป็นความเชอื่ ทย่ี ึดถือปฏิบัติสบื ทอดกันมาแต่บรรพบุรุษอย่างไม่
ขาดสาย มแี นวปฏิบตั ิทแี่ ตกต่างกันไปในแตล่ ะเดือนเพ่ือให้เกิดความเปน็ สริ ิมงคลในการดาํ เนินชีวิต เรียกอย่าง
ท้องถิ่น ว่างานบุญ ชาวบ้านให้ความสําคัญกับประเพณีฮีตสิบสองเป็นอย่างมากและยึดถือปฏิบัติมาอย่าง
สม่ำเสมอนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนอย่างแท้จริง คําว่า “ฮีตสิบสอง”มาจากคําว่า “ฮีต” อันหมายถึง
จารีตการปฏิบัติทีส่ ืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี ส่วนคำว่า “สิบสอง” คือประเพณีที่ปฏิบัติตามเดือนทาง
จันทรคติทั้งสิบสองเดือน ในที่นี้ผู้เขียนขอนำเสนองานประเพณีบุญข้าวจี่ ของชุมชนบ้านท่ากกแก ตำบลตาล
เดย่ี ว อำเภอหลม่ สัก จังหวดั เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นประเพณีทีถ่ ูกจดั ขนึ้ ในช่วงเดือนสามของทุกปี

ประวตั คิ วามเปน็ มาประเพณบี ุญข้าวจ่ี
บุญข้าวจี่นิยมทากันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม คือ ภายหลังการทาบุญวันมาฆบูชา ข้าวจ่ี

คอื ข้าวเหนยี วน่ึงใหส้ ุกแล้วนามาป้ันเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ท่ัวและนวดให้เหนียวแลว้ เสียบไม้ย่างไฟ มูลเหตุ
ที่ทำบุญข้าวจี่ในเดอื นสาม เนื่องจากเป็นเวลาที่ชาวนาไดม้ ีการทำนาเสร็จสิ้น ชาวนาได้ข้าวขึ้นยุ้งใหม่จึงอยาก
รว่ มกันทำบุญขา้ วจ่ถี วายแกพ่ ระสงฆ์

สำหรับมูลเหตุดั้งเดิมที่มีการทำบุญข้าวจี่ เป็นประเพณีท่ีมีเรื่องเล่ากันตามความเชื่อว่า “เมื่อคร้ัง
พระพุทธเจ้ายังมีพระชนมายุอยู่ครัง้ หนึ่งได้เสด็จไปประทับที่กรุงราชคฤห์ มีนางปุณณทาสี ซึ่งเป็นคนรับใช้อยู่
ในบ้านของเศรษฐี มีหน้าที่ตำข้าวให้ครอบครัวเศรษฐี วันหนึ่ง นางปุณณทาสีตำข้าวตั้งแต่กลางคืนจึงถึงรุ่ง
เช้าของอีกวัน และได้เก็บเศษข้าวที่แตก เรียกว่า “ข้าวปลาย” ไปนึ่ง เมื่อนึ่งแล้วนางได้นำมาปั้นแล้วนำไปจ่ี
ไฟเก็บไว้กิน โดยจะซ่อนข้าวจี่ปั้นเล็ก ๆ ไว้ในพกซิ่นของนาง ขณะนั้นเองที่พระพุทธเจ้ากำลังพิจารณาว่าจะ
โปรดสัตว์โลกคนไหนดี และได้เห็นว่านางปุณณทาสีจะหมดอายุขัยในวันนี้แล้ว พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาโปรด
โดยการบิณฑบาต เมื่อพระพุทธเจา้ เดินบิณฑบาตผ่านหน้านางปุณณทาสี เม่ือนัน้ นางเกดิ ความเลื่อมใสศรัทธา
เป็นอยา่ งมาก แต่ไมม่ ีปจั จัยอะไรจะใสบ่ าตร นอกจากขา้ วจี่ป้นั เดียวท่ซี ่อนไว้ในพกซ่ิน นางจงึ ได้อธฐิ านในใจว่า
จะสละข้าวจี่ปั้นนี้เพื่อเป็นทานแก่พระพุทธเจ้า แล้วนำข้าวจี่ใส่บาตรถวายพระพุทธเจ้าไป แต่ในใจนางปุณณ
ทาสีนั้นก็ยังกังวลว่า ข้าวจี่ที่ถวายไปนั้นเป็นทานที่ไม่ประณีต เป็นอาหารเหลือ ไม่ใช้อาหารชั้นดี และคิดว่า
พระพุทธเจ้าคงรบั ไวเ้ พียงไม่ให้เสยี น้ำใจ คงจะไม่เสวย และอาจจะเอาไปให้ผู้อ่ืนแทน แต่ด้วยพระพุทธเจ้ากร็ ู้
ถึงความคิดของนาง ขณะที่นางปุณณทาสีเดินทางกลับบ้าน ได้พบพระพุทธเจ้าประทับอยู่ระหว่างทางพร้อม
ทั้งนั่งฉันข้าวจี่ที่นางปุณณทาสีได้ใส่บาตรไว้ นางปุณณทาสีเห็นดังนั้นก็ปลาบปลื้มปิติเป็นอย่างมาก แล้ว
พระพุทธเจ้าจึงทรงเทศนาโปรดนางปุณณะทาสี นางซาบซึ้งในรสพระธรรมเป็นอย่างมาก จนบรรลุโสดาปัตติ
ผล และในวันนั้นเองนางก็สิ้นอายุขัย ด้วยอานิสงค์บุญของนางปุณณะทาสี จึงได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่บน



สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และได้เกิดเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
พุทธศาสนิกชนจึงนิยมการทำบญุ ด้วยข้าวจ่สี บื ตอ่ มา

การทำข้าวจี่
ข้าวจี่ มีวิธีการทำโดยนำข้าวเหนียวที่นึ่งจนสุกแล้วมาปั้นขนาดประมาณเท่ากำมือเป็นรูปวงรี ใช้ไม้

เสยี บตรงกลางแล้วทาด้วยเกลือ หรอื อาจจะใส่นำ้ อ้อยไว้ข้างในเพ่ือเป็นใส้ก็ได้ จากน้นั นำไปป้ิงไฟให้สุกด้วยวิธี
วางบนตะแกรงเหล็กที่วางอยู่บนเตาไฟ(ชาวบ้านเรยี กการป้ิงว่า จ่)ี ในระหวา่ งท่ีป้งิ ข้าวอย่บู นเตาไปน้ัน ก็จะนำ
ไข่ไก่มาตีผสมปรุงรสชาดนิดหน่อย หลังจากที่ป้ิงจนข้าวเร่ิมสุกออกสีเหลืองก็จะนำไข่ไก่ที่ตีไว้มาทาใหท้ ัว่ แล้ว
จงึ นำไปป้งิ ต่อให้สุกจนส่งกลิ่นหอมไปทัว่


ขัน้ ตอนการทำบุญข้าวจ่ี

เมื่อถึงวันกำหนดการจัดงานทำบุญข้าวจ่ี เช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ชาวบ้านเดินทางมายังวัดท่ากก
แก พร้อมด้วยข้าวจี่ อาหารหวานคาว ดอกไม้ธูปเทียน เพื่อนำมาร่วมทำบุญเนื่องในวันสำคัญ เมื่อมาถึงยังวัด
แล้ว ชาวบา้ นจะแบ่งขา้ วจี่ออกเป็น ๓ สว่ น คือ

ข้าวจ่ีส่วนที่ ๑ จะนำไปวางใส่ในขันโตกที่ทางวัดได้จัดเตรียมไว้ให้ พร้อมทั้งเขียนชื่อนามสกุลบรรพ
บุรุษที่ล่วงลับไปแล้วของตนเองแนบไปกับข้าวจี่นั้นดว้ ย เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลสง่ ไปให้บรรพบรุ ุษท่ี
เสียชวี ิตไปแล้ว

ขา้ วจ่ีสว่ นที่ ๒ จะนำขา้ วจี่เตรียมไว้สำหรับใส่บาตรพระ เพื่อเป็นการทำบุญใหก้ บั ตนเองและครอบครัว

ข้าวจ่ีส่วนที่ ๓ คือส่วนสุดท้าย หลังจากที่ประกอบพิธีทำบุญในศาลาเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะนำ
ข้าวจี่พร้อมทั้ง อาหารหวานคาว หมากพลู ซึ่งเครื่องเซ่นไหว้ดังกล่าวมานี้เป็นของที่บรรพบุรุษของตนชอบ
รบั ประทานเม่อื ครง้ั ยงั มีชีวิตอยู่ เปน็ ออกไปวางเซ่นไหวบ้ รรพบุรุษของตนทบ่ี รเิ วณหน้าธาตทุ บ่ี รรจุกระดูก หรือ


วางในบริเวณโคนต้นไม้ภายในวัด หรือสนามหญา้ พื้นทโี่ ลง่ แจ้ง เพือ่ เปน็ การเชิญวญิ ญาของบรรพบุรุษท่ีล่วงลับ
ไปแลว้ มารับเครือ่ งเซน่ ไหว้ หลังจากนน้ั ก็ถอื ว่าเป็นอันเสรจ็ พิธใี นงานประเพณีบุญข้าวจ่ี

ครั้นถึงเวลาพระภิกษุสงฆ์ สามเณร เดินทางขึ้นนั่งยังอาสน์สงฆ์ ในศาลาการเปรียญ มัคนายกประจำ
วัดนำกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยกราบพระรับศีล จากนั้นนำกล่าวคำถวายภัตตาหารและกล่าวคำถวายข้าวจี่
พร้อมทั้งนำข้าวจ่ีใส่บาตร พระสงฆ์ขึ้นยงั ธรรมาสน์ เพื่อเทศนาโปรดพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมกันทำบุญถงึ เรือ่ ง
ของประวัติความเป็นและผลบญุ ของการถวายข้าวจ่ี เพื่อเป็นการสร้างแรงจงู ใจให้กับชาวบ้านทีม่ าทำบุญ และ
ร่วมมือร่วมใจกันสืบทอดประเพณีบุญข้าวจี่ให้คงอยู่สืบต่อไป ถือได้ว่าเป็นกุสโลบายของคนโบราณในการ
ทำบุญได้เป็นอย่างดี ซึ่งถึงแม้ว่าข้าวจี่นั้นจะเป็นอาหารที่ทำขึ้นไม่ยาก ไม่ประณีตสวยหรู เป็นสิ่งเล็กน้อยด้อย
ค่า แต่ถ้าหากทำขึ้นด้วยใจอันบริสุทธิ์แล้ว ก็จะเกิดอานิสงค์ผลบุญมากเหมือนการทำบุญอื่นทั่วไปได้เช่นกัน
ระหว่างที่พระสงฆ์กำลังเทศนาชาวบ้านจะนำรายชื่อของบรรพบุรุษแต่ละครอบครัวที่ล่วงลับไปออกมาจุดไฟ
เผาที่ด้านนอกศาลา หลังจากทีพ่ ระสงฆ์เทศน์จบ มัคนายกก็จะนำกล่าวคำถวายปจั จัย และกรวดน้ำรับพรจาก
พระสงฆ์ จากนั้นกราบพระอีกครั้ง สุดท้ายชาวบา้ นจะนำข้าวจ่ีส่วนที่ ๓ และอาหารหวานคาว ออกไปเซ่นไหว้
วิญญาณบรรพบุรุษบริเวณสถานที่ต่างๆ ภายในวัด พร้อมทั้งจุดเทียนธูป เทน้ำที่กรวด บอกกล่าวเชิญผีบรรพ
บุรษุ มารบั ของเซน่ ไหวท้ ีม่ ีข้าวจี่นน้ั อยูด่ ้วย ถือว่าเปน็ อนั เสรจ็ พิธกี ารทำบุญข้าวจี่





งานประเพณีบุญข้าวจี่ หรือ บุญเดือนสาม บ้านท่ากกแก ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหล่มสัก จังหวัด
เพชรบูรณ์ กำหนดจัดขึ้นตรงกับวันมาฆบูชา เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างช้านานจากอดีตถึง
ปัจจุบันตามฮีตสบิ สอง แสดงให้เห็นถึงการสืบทอดประเพณีตามจารีตของคนในชุมชนที่มีความศรทั ธาต่อพุทธ
ศาสนา โดยมคี วามเช่ือกนั วา่ การได้ทำบญุ ข้าวจี่แลว้ จะได้บุญกุศลมากและเปน็ กาละทานชนิดหนึ่ง ซง่ึ เป็นเวลา
ที่ชาวนาหมดภาระการทำนา จึงอยากร่วมกันทำบุญข้าวจี่ถวายพระสงฆ์ และยังเป็นการปลูกฝังให้กับเยาวชน
รุ่นหลังเรื่องความกตัญญูต่อบรรพบุรุษของตนเอง รวมทั้งเป็นพื้นที่ให้ผู้คนในชุมชนได้พบปะพูดคุยทำจัด
กิจกรรมต่างๆ เพอ่ื เปน็ การเชื่อมโยงความสามคั คีใหเ้ กิดกับชุมชน โดยใช้วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจขัดเกลาให้คนใน
ชมุ ชนซึ่งอาจจะมบี างส่วนมองไม่เห็นถงึ แกน่ แท้ของประเพณวี ฒั นธรรมท่ีดงี าม ทบ่ี รรพบรุ ุษได้มีกุศโลบายซ่อน
ไวภ้ ายในให้ขบคดิ อยู่เสมอน่ันเอง



แนวทางการนำไปปฏิบัติใช้
๑. เผยแพร่ให้กับผ้ทู ่ีสนใจ นักศกึ ษา และประชาชนทว่ั ไป
๒. บรู ณาการกบั การเรียนการสอน รายวิชา HSPA409 สถาบนั ทางการเมอื งไทย โดยนำองคค์ วามรู้ท่ีได้ไป

ประยกุ ตใ์ ช้ในกระบวนการเรียนการสอน

ข้อเสนอแนะ
ควรมีการลงพ้ืนท่ี ทบทวน ข้อมูลให้ครบถ้วนทุกอำเภอในจงั หวัดเพชรบูรณ์ เพื่อให้เยาวชนรุน่ หลังได้

ใชศ้ กึ ษาหาความรู้ สง่ ตอ่ จากรุ่นสูร่ ุน่ ตอ่ ไป



บรรณานุกรม
กองแกว้ ท้าวเงิน. (๒๕๖๕). อายุ ๖๒ ปี บ้านเลขที่ ๕๒ หมู่ ๔ ตำบลตาลเด่ยี ว อำเภอหล่มสัก

จังหวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์, ๑๖ กมุ ภาพันธ์.
ถาวร เชือ่ งแสง. (๒๕๖๕). อายุ ๕๑ ปี บ้านเลขท่ี ๑๗๖ หมู่ ๔ ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหลม่ สกั

จงั หวัดเพชรบรู ณ.์ สัมภาษณ์, ๑๖ กุมภาพันธ์.
ทฤษฎี วงศม์ มี า. (๒๕๖๕). อายุ ๒๗ ปี บ้านเลขที่ ๖๓ หมู่ ๘ ตำบลตาลเดยี่ ว อำเภอหลม่ สัก

จงั หวดั เพชรบูรณ์. สมั ภาษณ์, ๑๖ กมุ ภาพันธ์.
ธนั ยา คำม.ี (๒๕๖๕). อายุ ๔๓ ปี บ้านเลขที่ ๗๖ หมู่ ๘ ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหลม่ สัก จังหวดั เพชรบรู ณ์.

สัมภาษณ์, ๑๖ กมุ ภาพันธ์.
บาง ล่ทู อง. (๒๕๖๕). อายุ ๗๓ ปี บา้ นเลขท่ี ๔๐ หมู่ ๔ ตำบลตาลเด่ยี ว อำเภอหล่มสัก จงั หวัดเพชรบูรณ์.

สมั ภาษณ์, ๑๖ กมุ ภาพนั ธ.์
พระสมุหไ์ พรศาล ภทรฺ มุน.ี (๒๕๖๕). อายุ ๔๐ ปี พรรษา ๑๕ พรรษา วนั ท่ากกแก หมู่ ๘ ตำบลตาลเดี่ยว

อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบรู ณ.์ สัมภาษณ์, ๑๖ กมุ ภาพันธ์.
สดี า ท้าวเงนิ . (๒๕๖๕). อายุ ๘๓ ปี บา้ นเลขที่ ๑๘๘ หมู่ ๔ ตำบลตาลเด่ียว อำเภอหลม่ สกั

จงั หวดั เพชรบรู ณ.์ สัมภาษณ์, ๑๖ กมุ ภาพันธ.์
สมร จนั ทรห์ อม. (๒๕๖๕). อายุ ๘๐ ปี บา้ นเลขที่ ๖๓/๑ หมู่ ๘ ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหลม่ สกั

จังหวัดเพชรบูรณ.์ สัมภาษณ์, ๑๖ กุมภาพันธ.์

๑๐

ภาคผนวก
รายละเอยี ดรายวชิ า (มคอ. ๓) ท่ีใช้บูรณาการ

มคอ. 3

รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3)

คณะ มนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภฏั เพชรบรู ณ์
หลกั สตู ร/สาขาวิชา หลักสูตรรฐั ประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวชิ ารัฐประศาสนศาสตร์

หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป

1. รหสั และช่ือรายวชิ า

สถาบนั ทางการเมืองไทย HSPA409

Political Institution

2. จานวนหน่วยกติ

3 (3-0-6)

3. หลกั สูตรและประเภทของรายวชิ า

หลกั สูตรรัฐประศาสนศาสตรบณั ฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วชิ าเฉพาะดา้ น...วชิ าบงั คบั

4. อาจารย์ผ้รู ับผดิ ชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

ผรู้ ับผดิ ชอบรายวิชาและอาจารยผ์ สู้ อน อาจารย์ ดร. สดุดี คามี

ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวฒั น์ อินทรประไพ

ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรภทั ร กิจจารักษ์

5. ภาคการศึกษา/ช้ันปี ที่เรียน

ภาคการศึกษาที่ 2/2564 ช้นั ปี ที่ 3

6. รายวิชาทีต่ ้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)

ไม่มี

7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกนั (Co-requisites)

ไมม่ ี

8. สถานท่เี รียน

คณะมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ์

9. วนั ทจ่ี ัดทาหรือปรับปรุงรายละเอยี ดของรายวชิ าคร้ังล่าสุด
1 ตลุ าคม 2564

กรอบมาตรฐานคณุ วุฒิระดบั อุดมศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขยี นรายละเอยี ดของรายวิชา (มคอ. 3) มหาวทิ ยาลัยราชภัฏเพชรบรู ณ์ Page 1

หมวดที่ 2 จดุ ม่งุ หมายและวตั ถุประสงค์

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
นกั ศึกษามีความรู้ความเขา้ ใจ ประวตั ิความเป็นมาและความเปล่ียนแปลงทางการเมืองของไทย

โครงสร้างอานาจ รูปแบบการปกครอง สถาบนั การปกครอง ต้งั แตส่ มยั สุโขทยั อยธุ ยา รัตนโกสินทร์
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบนั ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจาก
อิทธิพลทางเศรษฐกิจ สงั คม และความเปล่ียนแปลงท่ีไดร้ ับจากอิทธิพลสงั คมโลก

2. วัตถปุ ระสงค์ในการพฒั นา/ปรับปรุงรายวิชา
เพ่อื ใหน้ กั ศึกษามีความสานึกถึงหนา้ ท่ีทางดา้ นการเมืองการปกครอง มี

ความรู้ดา้ นววิ ฒั นาการทางการเมืองการปกครองของไทย และการเปล่ียนแปลงทางการเมืองจากอิทธิพล
ทางเศรษฐกิจ สังคม และความเปลี่ยนแปลงที่ไดร้ ับจากอิทธิพลสงั คมโลก

หมวดที่ 3 ลกั ษณะและการดาเนนิ การ

1. คาอธบิ ายของรายวชิ า
ศึกษาแนวคดิ และหลกั การ และวิวฒั นาการของสถาบนั ทางการเมืองไทย เช่น รัฐสภา

คณะรัฐมนตรี สถาบนั พระมหากษตั ริย์ พรรคการเมือง กลุม่ ผลประโยชน์ และองคก์ รอิสระอื่นๆ
study concepts and principles and the evolution of the study of Thai political institutions such

as the parliament, the cabinet, the monarchy, political parties, interest groups and other independent
organizations

กรอบมาตรฐานคุณวฒุ ิระดบั อุดมศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขยี นรายละเอยี ดของรายวิชา (มคอ. 3) มหาวิทยาลัยราชภฏั เพชรบรู ณ์ Page 2

2. จานวนชั่วโมงท่ใี ช้ต่อภาคการศึกษา

หน่วยกติ บรรยาย จานวนชั่วโมง/ภาคการศึกษา สอนเสริม
45 ชวั่ โมง/ การฝึ กปฏิบตั ิ/การฝึ กงาน การศึกษาด้วยตนเอง ตามความ
3(3-0 -6) ตอ้ งการของ
ภาค ไมม่ ีการฝึกปฏิบตั ิ 6 ชว่ั โมง/สปั ดาห์ นกั ศึกษา
การศึกษา

3. จานวนช่ัวโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คาปรึกษาและแนะนาทางวิชาการแก่นกั ศึกษาเป็ นรายบุคคล

ตารางการให้คาปรึกษาและแนะนาทางวชิ าการแก่นักศึกษาเป็ นรายบคุ คล

รายวิชา อาจารย์ วนั -เวลา สถานที่หรือ หมายเลข ที่อยู่ของ รวมจานวน
ผู้สอน ให้ หมายเลข โทรศัพท์ E-mail ผู้สอน ช่ัวโมงต่อ
ผู้สอน สัปดาห์
การเมืองการ อ.สดุดี คาปรึกษา ห้อง [email protected]
ปกครองไทย คามี ผ้สู อน 0857326130 ทใ่ี ห้
วนั พุธ คาปรึกษา
13.00- ห้องการ
16.00 น. บริหาร 3 ชว่ั โมง
การ ตอ่ หน่ึง
ปกครอง สปั ดาห์
ทอ้ งถ่ิน

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดบั อดุ มศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขยี นรายละเอียดของรายวิชา (มคอ. 3) มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ์ Page 3

หมวดท่ี 4 การพฒั นาการเรียนรู้ของนักศึกษา

1. ด้านคณุ ธรรม จริยธรรม

พฒั นาผเู้ รียนใหม้ ีความเสียสละ รับผิดชอบ มีระเบียบวินยั มีจรรยาบรรณวชิ าชีพ เคารพใน

สิทธิส่วนบคุ คลไม่ละเมิดสิทธ์ิของบคุ คลอื่น ซ่ือสัตย์ ซื่อตรง รับผดิ ชอบต่อตนเองและสงั คม โดยเนน้

ใหผ้ เู้ รียนตระหนกั ถึงส่ิง ตอ่ ไปน้ี

1.1 ผลการเรียนรู้ 1.2 กลยุทธ์/วิธกี ารสอน 1.3 กลยทุ ธ์/วธิ กี ารประเมนิ ผล

1 มีความเสียสละ มีคณุ ธรรม 1 การสอนเนน้ ผเู้ รียนเป็นสาคญั 1 ใชแ้ บบสอบถามมาตรฐานที่วดั คุณธรรม

จริยธรรม ซ่ือสัตยส์ ุจริต จริยธรรม ใหน้ กั ศึกษาประเมินการเรียนรู้

ดว้ ยตนเอง

2 มีความรับผดิ ชอบ มีวินยั ตรง 2 สอน คณุ ธรรม จริยธรรม 2 สมั ภาษณ์เพอื่ นและผทู้ ่เี กี่ยวขอ้ งกบั

ต่อเวลา แทรกในเน้ือหา นกั ศึกษา ในเรื่องความซื่อสตั ยแ์ ละความ

รับผดิ ชอบ

3 มีภาวะผนู้ าและเป็นผตู้ ามทีด่ ี 3 มีกิจกรรมส่งเสริมดา้ น 3 ประเมินโดยสังเกตพฤติกรรมและการ

รู้จกั การทางานเป็นทีม คณุ ธรรม จริยธรรม แสดงออก โดยมีการบนั ทึกคะแนน

ระหวา่ งการเรียนการสอน

4 เคารพสิทธิและรบั ฟังความ 4 นาเหตุการณ์ท่ผี เู้ รียนสนใจมา 4 ประเมินโดยสงั เกตพฤติกรรมและการ

คดิ เห็นของบุคคลอน่ื ใหผ้ เู้ รียนฝึกฝนการคดิ แสดงออก โดยมีการบนั ทึกคะแนน

ขยนั หมน่ั เพียร อดทน วิเคราะหแ์ ละหาทางแกไ้ ข ระหว่างการเรียนการสอน

เอ้ือเฟ้ื อเผอ่ื แผ่ ปัญหาดว้ ยตนเอง

5 เคารพกฎระเบียบและขอ้ บงั คบั 5 ใหผ้ เู้ รียนฝึกฝนการทางาน 5 ประเมนิ โดยสงั เกตพฤติกรรมและการ

ตา่ ง ๆ ขององคก์ รและสังคม มี เป็นทีมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงออก โดยมีการบนั ทึกคะแนน

จรรยาบรรณทางวชิ าการและ ซ่ึงกนั และกนั ระหวา่ งการเรียนการสอน

วชิ าชีพ รักษาความลบั ของ

องคก์ ร

2. ด้านความรู้

เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎี และประวตั ิศาสตร์ทางการเมืองการปกครองของไทย มาสร้าง

จิตสานึกและความตื่นตวั ทางการเมือง เพอ่ื นาไปใชใ้ นการดาเนินชีวิตและเป็นพ้ืนฐานในการเรียนรู้ใน

ระดบั ท่ีสูงข้นึ ไป

กรอบมาตรฐานคุณวฒุ ิระดบั อดุ มศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขียนรายละเอียดของรายวิชา (มคอ. 3) มหาวิทยาลัยราชภฏั เพชรบูรณ์ Page 4

2.1 ผลการเรียนรู้ 2.2 กลยทุ ธ์/วิธกี ารสอน 2.3 กลยุทธ์/วิธกี ารประเมินผล
1 นกั ศึกษามีความรู้ความเขา้ ใจเก่ยี วกบั 1 บรรยาย อภิปราย การ 1 ประเมนิ จากทดสอบยอ่ ย สอบ
หลกั การและทฤษฎที ี่สาคญั ทางานกลุ่ม การนาเสนอ กลางภาค สอบปลายภาค ดว้ ย
รายงาน การวเิ คราะห์ ขอ้ สอบทเี่ นน้ การวดั หลกั การและ
2 นกั ศึกษามีทกั ษะทางปัญญา นาความรู้ กรณีศึกษา และมอบหมายงาน ทฤษฎี
มาใชใ้ นสงั คมในประเดน็ ที่เหมาะสม ให้คน้ ควา้
2 บอกถึงแหล่งขอ้ มลู เพ่อื ให้ 2 ประเมินผลจากผลงานท่ีไดร้ ับ
3 นกั ศึกษามีทกั ษะในการวเิ คราะห์ การ นกั ศึกษาไดค้ น้ ควา้ ขอ้ มลู มอบหมาย ตามหวั ขอ้ ที่กาหนด
สื่อสาร รวมท้งั การประยกุ ตใ์ ชค้ วามรู้ใน สาหรับการเรียนรู้ดว้ ยตนเอง โดยอา้ งอิงทฤษฎีในวชิ าที่เกี่ยวขอ้ ง
การแกไ้ ขปัญหาไดอ้ ยา่ งเหมาะสม 3 จดั ประชุมแบง่ งาน ติดตาม 3 ประเมินจากการมีส่วนร่วมใน
งาน เป็นระยะเวลาที่กาหนด การแสดงความคดิ เห็น และการ
4 นกั ศึกษาสามารถบรู ณาการความรู้ท่ีได้ หรือตามความเหมาะสม ไดร้ ับการยอมรับจากเพื่อนของ
ศึกษากบั ความรู้ในศาสตร์อ่ืน ๆ ท่ี นกั ศึกษาหรือผทู้ ่เี กี่ยวขอ้ ง
เก่ียวขอ้ งมาใชป้ ระโยชน์ในเชิงวชิ าการ 4 จดั ทารายงานผล วิเคราะห์
และปฏิบตั ิ ความตอ้ งการ และนาเสนอ
5 นกั ศึกษาเขา้ ใจในบทบาทหนา้ ที่ที่ไดร้ บั
มอบหมาย และปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ีไดอ้ ยา่ ง 5 เนน้ ผเู้ รียนเป็นศนู ยก์ ลางของ
ถกู ตอ้ ง การเรียนรู้

3. ด้านทกั ษะทางปัญญา
พฒั นาความสามารถในการคิดอยา่ งเป็นระบบมีการวเิ คราะห์ ประยกุ ตแ์ นวคิดกบั ปรากฏการณ์

ดา้ นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองไดเ้ ป็นอยา่ งดี สามารถเสนอแนะวิธีการพฒั นาการ
เมืองไทยไดเ้ ป็นอยา่ งดี

3.1 ผลการเรียนรู้ 3.2 กลยุทธ์/วธิ กี ารสอน 3.3 กลยทุ ธ์/วิธกี ารประเมินผล
1 ทกั ษะการคิดอยา่ งมีวิจารณญาณและคิด ประเมนิ ผลจากผลงานที่ไดร้ บั
อยา่ งเป็นระบบ 1 มอบหมายโจทกป์ ัญหา ให้ มอบหมาย ตามหวั ขอ้ ที่กาหนด
ฝึกการคน้ ควา้ หาความตอ้ งการ โดยอา้ งองิ ทฤษฎีในวชิ าท่ีเก่ียวขอ้ ง
2 ความสามารถการสืบคน้ ตีความ และ และวิเคราะหผ์ ลความตอ้ งการ และควรนามาเป็นพ้นื ฐานในการ
ประเมนิ สารสนเทศ เพอ่ื ใชใ้ นการ ทางการเมืองการปกครอง จดั การ
วิเคราะหเ์ น้ือหา
2 จดั ทารายงานผลวิเคราะห์
ความตอ้ งการทางการเมืองการ
ปกครอง และนาเสนอ

กรอบมาตรฐานคุณวฒุ ิระดบั อุดมศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขียนรายละเอยี ดของรายวชิ า (มคอ. 3) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ Page 5

3 ความสามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ 3 ประชุมร่วมกนั ระหว่าง
และสรุปประเด็นปัญหา อาจารยท์ ่ีปรึกษาและนกั ศึกษา
4 ความสามารถประยกุ ตค์ วามรู้และทกั ษะ 4 มอบหมายโจทยป์ ัญหา ดา้ น
การวิเคราะหไ์ ดอ้ ยา่ งเหมาะสม การเมืองการปกครอง
5 ทกั ษะการเลือกใชท้ ฤษฎที างการเมือง 5 การนาเสนอดา้ นการจดั ทา
สามารถนาความรู้ทางทฤษฎีเป็นพ้นื ฐาน รายงานและการนาเสนอ
มาวิเคราะห์การเปล่ียนแปลงทางการเมือง ร่วมกนั

4. ด้านทกั ษะความสัมพนั ธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

4.1 ผลการเรียนรู้ 4.2 กลยทุ ธ์/วธิ ีการสอน 4.3 กลยุทธ์/วธิ กี ารประเมนิ ผล

1 สามารถใหค้ วามช่วยเหลือและอานวย 1 สร้างกิจกรรมสันทนาการ 1 ประเมินจากการสงั เกตพฤติกรรม
ความสะดวกในการแกไ้ ขปัญหา ละลายพฤติกรรม เพื่อให้เกิด จากการสัมภาษณ์ผรู้ ่วมงานหรือ
สถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มท้งั ในบทบาท ความรู้รัก สามคั คี พร้อม ผเู้ กี่ยวขอ้ ง
ของผนู้ าหรือในบทบาทของผรู้ ่วมทีม ทางานเป็ นทีม 2 ประเมินจากขอ้ มลู ท่ีไดร้ ับจากท่ี
ทางาน 2 มอบหมายงานที่ตอ้ งทางาน นกั ศึกษาไปสมั ภาษณ์
ร่วมกนั เป็นทีม 3 ประเมินจากการมีส่วนร่วมใน
2 สามารถใชค้ วามรู้ในศาสตร์มาช้ีนา 3 มีการแบง่ งานกนั อยา่ งชดั เจน การแสดงความคดิ เห็น และการ
สงั คมในประเด็นท่ีเหมาะสม มอบหมายงานที่ตอ้ งพดู คยุ ไดร้ ับการยอมรับจากเพือ่ นร่วมงาน
ประชุมร่วมกนั เพ่ือมอบหมาย หรือผเู้ ก่ียวขอ้ ง
3 มีความรับผดิ ชอบในการกระทาของ งาน ติดตามงาน ประเมินผล
ตนเองและรับผดิ ชอบงานในกล่มุ

4 สามารถเป็นผรู้ ิเร่ิมแสดงประเดน็ ในการ
แกไ้ ขสถานการณ์ท้งั ส่วนตวั และส่วนรวม
พร้อมท้งั แสดงจดุ ยืนอยา่ งพอเหมาะท้งั
ของตนเองและของกลมุ่

5 มีความรับผดิ ชอบการพฒั นาการเรียนรู้
ท้งั ของตนเองและทางวชิ าชีพอยา่ ง
ต่อเนื่องเรียนรู้ภาวะทางอารมณ์ของตนเอง
เรียนรู้การทางานร่วมกบั ผอู้ นื่ เรียนรู้
เทคนิคการขอความช่วยเหลือ หรือขอ
ขอ้ มูลเพอื่ นามาประกอบการทางาน

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดบั อุดมศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขียนรายละเอยี ดของรายวชิ า (มคอ. 3) มหาวิทยาลัยราชภฏั เพชรบรู ณ์ Page 6

6 สามารถวางตวั ในตาแหน่งงานท่ีไดร้ ับ
มอบหมายไดอ้ ยา่ งเหมาะสม
7 กลา้ แสดงความคิดเห็นในขอบเขตของ
งานและภาระหนา้ ที่
8 พฒั นาตนเองจากการเรียนรู้ดว้ ยตนเอง
และจากการฝึกอบตม หรือการสอบถาม
เพือ่ นร่วมงาน

5. ด้านทกั ษะการวิเคราะห์เชิงตวั เลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศ

5.1 ผลการเรียนรู้ 5.2 กลยุทธ์/วิธกี ารสอน 5.3 กลยทุ ธ์/วิธีการประเมินผล
1 ประเมนิ จากเอกสาร ท่ีนาเสนอ
1 ทกั ษะในการใชเ้ คร่ืองมือที่จาเป็นที่มีอยู่ 1 มอบหมายงานผา่ นระบบ โดยใชเ้ ทีโนโลยสี ารสนเทศเป็นสื่อ
ในปัจจบุ นั ตอ่ การคน้ ควา้ และนาเสนองาน เทคโนโลยี การใชท้ กั ษะดา้ น 2 ประเมนิ จากเอกสารที่เขยี น เชน่
2 ทกั ษะการสื่อสารอยา่ งมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยี ในการนาเสนอ E-Mail ท่ีใชส้ ่ือสารเพ่ือการทางาน
ท้งั ปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้ ขอ้ มูล 3 ประเมินจากผลการแกป้ ัญหา
รูปแบบของส่ือการนาเสนออยา่ ง 2 มอบหมายงานที่ตอ้ งมีการ โดยเนน้ ความถูกตอ้ งเหมาะสม
เหมาะสม ส่ือสารโดยใชภ้ าษาท้งั ไทยและ
ต่างประเทศ ท้งั การพูด การ
3 ทกั ษะในการใชส้ ารสนเทศและ เขยี น ในการประสานงาน
เทคโนโลยสี ่ือสารอยา่ งเหมาะสม 3 มอบหมายงานที่ตอ้ งใช้
เทคโนโลยีในการแกป้ ัญหา
4 ทกั ษะในการใชเ้ ทคโนโลยี เคร่ืองมือ หรือนาเสนองาน
อุปกรณ์ ซอฟตแ์ วร์ ในการสื่อสารเพ่อื
สนบั สนุนการทางาน เช่น การโตต้ อบ
แสดงความคิดเห็น ประสานการทางาน
การรับ-ส่งงาน การซกั ถามขอ้ สงสยั
5 สามารถใชเ้ ทคโนโลยี หรือ อนิ เทอร์
เนตในการคน้ ควา้ หาขอ้ มลู ประกอบการ
ทางาน
6 สามารถสื่อสารโดยใชภ้ าษาที่เหมาะสม
และส่งผลใหเ้ กิดประสิทธิภาพในการ
ทางาน

กรอบมาตรฐานคณุ วุฒิระดบั อุดมศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขยี นรายละเอยี ดของรายวิชา (มคอ. 3) มหาวทิ ยาลัยราชภฏั เพชรบรู ณ์ Page 7

หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

1. แผนการสอน

สัปดา เนื้อหา จำนวน กจิ กรรมการเรียน อาจารยผ์ ูส้ อน
หท์ ่ี ช่วั โมง การสอน

3 - แนะนำลักษณะวชิ า

แนะนำลักษณะวิชา -,กจิ กรรม- - การสอน
ขอบขา่ ยการเรยี นรู้
1 และการประเมนิ ผล สดดุ ี คำมี

- ความคาดหวงั ข้อตกลง

รว่ มกนั

บทที่ 1 ความหมายและท่ีมาของสถานบัน - การบรรยาย การตอบ สดุดี คำมี
2-3 ทางการเมอื งไทย ข้อซักถาม

- กจิ กรรมท้ายบท

4-5 บทที่ 2 สถาบันรฐั ธรรมนญู - การบรรยาย การตอบ สดดุ ี คำมี
ขอ้ ซักถาม

- กิจกรรมทา้ ยบท

6-8 บทท่ี 3 สถาบันพระมหากษัตริย์ - การบรรยาย การตอบ สดดุ ี คำมี
ข้อซักถาม
- กิจกรรมทา้ ยบท

9-10 บทที่ 4 สถาบนั นิตบิ ัญญตั ิ - การบรรยาย การตอบ สดุดี คำมี
ข้อซักถาม
- กิจกรรมท้ายบท

11-12 บทท่ี 5 สถาบนั ฝา่ ยบริหาร - การบรรยาย การตอบ สดุดี คำมี

กรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดบั อุดมศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขียนรายละเอียดของรายวชิ า (มคอ. 3) มหาวิทยาลยั ราชภฏั เพชรบูรณ์ Page 8

ขอ้ ซักถาม

กิจกรรมท้ายบท

13-14 บทท่ี 6 สถาบันตุลาการ - การบรรยาย การตอบ สดุดี คำมี
ขอ้ ซักถาม

กจิ กรรมท้ายบท

ทบทวนบทเรยี นทีเรยี นมาทั้งหมด 3 - การบรรยาย แนะนำ

15 พรอ้ มแนะแนวการอ่านหนังสือสอบ แนะแนวการอ่านหนังสือ สดดุ ี คำมี
และทดสอบย่อยกอ่ นสอบปลายภาค กอ่ นสอบ การทดสอบยอ่ ย

เรยี น การตอบข้อซกั ถาม

16 สอบปลายภาค

2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

กิจกรรม ผลการ วิธีการประเมนิ สัปดาหท์ ่ี สดั ส่วนของ
ท่ี เรยี นรู้* ประเมิน การประเมิน
1 ทดสอบยอ่ ยคร้ังที่ 1
1.1, 1.6, สอบกลางภาค 4 10%
2 1.7, 2.1, 8 20%
2.4-2.6, ทดสอบยอ่ ยคร้ังที่ 2 12 10%
สอบปลายภาค 16 40%
3.2
วิเคราะห์กรณีศึกษา คน้ ควา้ การนาเสนอ ตลอดภาค 20%
1.1, 1.6, รายงาน การศึกษา
1.7, 2.1,
2.4-2.6, การทางานกลมุ่ และผลงาน

หมวดท่ี 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

กรอบมาตรฐานคณุ วฒุ ิระดบั อดุ มศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขียนรายละเอยี ดของรายวชิ า (มคอ. 3) มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบรู ณ์ Page 9

1. ตาราและเอกสารหลกั

เชาวว์ ศั เสนพงศ์ การเมืองการปกครองไทย โรงพิมพม์ หาวทิ ยาลยั รามคาแหง กรุงเทพฯ : 2547.
ชยั อนนั ต์ สมุทรวาณิช ไตรลกั ษณรัฐกบั การเมืองไทย การเปล่ียนแปลงทางการเมืองไทยในสี่ทศวรรษ

สถาบนั นโยบายศึกษา พี เพรส จากดั กรุงเทพฯ.
ฐิติพล ภกั ดีวนิช การสร้างความเขม้ แขง็ ใหก้ บั ภาคประชาชนดว้ ยปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง สานกั งาน

กองทนุ สนบั สนุนการวิจยั ฝ่ ายชุมชนและสังคม 2551.
ธีรยทุ ธ บญุ มี สงั คมวฒั นธรรมหลงั การเลือกต้งั ก.พ. 2548 การเปลี่ยนแปลงสังคม วฒั นธรรมการเมืองคร้ัง

ที่ 2 ของไทย 2548.

2. เอกสารและข้อมูลสาคญั
ไมม่ ี

3. เอกสารและข้อมูลแนะนา

กรอบมาตรฐานคุณวฒุ ริ ะดบั อดุ มศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขยี นรายละเอยี ดของรายวชิ า (มคอ. 3) มหาวทิ ยาลัยราชภฏั เพชรบรู ณ์ Page 10

หมวดท่ี 7 การประเมนิ และปรับปรุงการดาเนินการของรายวชิ า

1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธผิ ลของรายวชิ าโดยนกั ศึกษา

การประเมินประสิทธิผลในรายวชิ าน้ี ท่ีจดั ทาโดยนกั ศึกษา ไดจ้ ดั กิจกรรมในการนาแนวคิดและความเห็นจาก
นกั ศึกษาไดด้ งั น้ี

- การสนทนากลุม่ ระหวา่ งผสู้ อนและผเู้ รียน
- แบบประเมินผสู้ อน และแบบประเมินรายวชิ า

2. กลยทุ ธ์การประเมินการสอน

ในการเกบ็ ขอ้ มลู เพอ่ื ประเมินการสอน ไดม้ ีกลยทุ ธ์ ดงั น้ี
- การสงั เกตการณ์
- ผลการเรียนของนกั ศกึ ษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้

3. การปรับปรุงการสอน
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธ์ิของนักศึกษาในรายวชิ า

ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธ์ิในรายหวั ขอ้ ตามทีค่ าดหวงั จาการเรียนรู้ใน
วิชา จากการสอบถามนกั ศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนกั ศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบยอ่ ย และ
หลงั จากการออกผลการเรียนรายวชิ า

5. การดาเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธผิ ลของรายวิชา

จาก

กรอบมาตรฐานคณุ วฒุ ริ ะดบั อุดมศึกษาแห่งชาติ แบบฟอร์มการเขยี นรายละเอยี ดของรายวิชา (มคอ. 3) มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เพชรบรู ณ์ Page 11

ประเพณบี ญุ ขาวจ่ี

วัดทากกแก

ตำบลตาลเด่ียว อำเภอหลมสัก จงั หวดั เพชรบูรณ

สำนกั ศลิ ปะและวัฒนธรรม
มหาวทิ ยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


Click to View FlipBook Version