The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by supakrit5421, 2021-09-21 11:17:58

จีน

จีน

อารย
ธรรม
ลุ่มน้ำ
ฮวง
เหอ

อารยธรรมจีนมีความเก่าแก่มานับพันๆปี จีนสะสมอารยธรรมอย่างต่อเนื่องและมีประชากรมากกว่า
ประเทศใดในโลก

ในสมัยแรกจีนมีอาณาเขตกว้างขวางแต่ติดต่อกับโลกภายนอกน้อยมากเนื่องจากทิศตะวันออก
ติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดเทือกเขาและป่าดงดิบของอินเดีย พม่าและ ลุ่มน้ำโขง ทางตะวันตก
และเหนือเป็นเขตทุ่งหญ้า ทะเลทรายและเทือกเขาจีนจึงเชื่อว่าตนเองเป็นชาติที่เจริญกว่าคนอื่นและ
เป็นศูนย์กลางของโลก ส่วนอารยชนตามชายแดนถูกมองว่าด้อยกว่าต้องทำการจิ้มก้องหรือการนำ
เครื่องบรรณาการมาถวายจักรพรรดิจีนจึงได้รับการอนุญาตให้ติดต่อค้าขายกับจีนอารยธรรมจีนเกิด
ขึ้นบริเวณเขตลุ่มน้ำฮวงเหอ ซึ่งเป็นอู่อารยธรรมของโลกเช่นเดียวกับอารยธรรมในดินแดนเมโสโปเต
เมียและลุ่มน้ำสินธุ

การตั้งถิ่นฐานและเผ่าพันธุ์

แหล่งกำเนิดของอารยธรรมจีน เริ่มขึ้นที่บริเวณที่อุดมสมบูรณ์ในที่ราบตอนปลายของลุ่มน้ำฮวงเหอ
ลุ่มน้ำแยงซีเกียง ที่ราบลุ่มน้ำแยงซีตอนใต้ เนื่องจากการขุดค้นทางโบราณคดีพบเครื่องปั้ นดินเผาเครื่องใช้
ที่ทำด้วยกระดูกสัตว์กระดองเต่าในบริเวณดังกล่าว

นักโบราณคดจึงเรียกแหล่งกำเนิดอารยธรรมจีนทั้งสองแห่งว่า
· วัฒนธรรมหยางเฉา(Yang Shao)
· วัฒนธรรมลุงซาน (Lung shan)

เผ่าพันธุ์ที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมทั้งสอง เป็นเผ่าพันธุ์ใดไม่ทีหลักฐานชัดเจน จึงเชื่อว่าเป็นชาวจีนที่ตั้ง
ถิ่นฐานมาแต่ดั้งเดิม ทั้งนี้เพราะมีหลักฐานว่าดินแดนจีนเป็นที่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ได้แก่
โครงกระดูกมนุษยปักกิ่งที่ขุดพบมีอายุประมาณ๕,๐๐๐ ปีก่อนพุทธศักราช

๑.การปกครองและกฎหมาย

จีนมีการพัฒนาจัดระเบียบการปกครองมาประมาณ ๕๐๐ ปีก่อนพุทธศักราช โดยเริ่มมีการสืบทอด
อำนาจตั้งเป็นราชวงศ์

Ø มีราชวงศ์เซียะเป็นราชวงศ์เริ่มแรก โดยมีวีรบุรุษชื่อหยูเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์นี้ แต่เรื่องราวเกี่ยวกับ
ราชวงศ์นี้มีหลักฐานน้อยมากเนื่องจากจีนในขณะ นั้นยังไม่มีตัวอักษรใช้
Ø ต่อมาในยุคราชวงศ์ซาง(๑,๒๒๓ – ๕๗๙ ปีก่อนพุทธศักราช ) เป็นยุคที่จีนเริ่มรวมตัวเป็นแว่นแคว้น โยผู้นำ
ราชวงศ์ซางยกทัพไปยึดดินแดนของเผ่าต่างๆ รวมเป็นแว่นแคว้นกษัตริย์ราชวงศ์ซาง จึงมีลักษณะเป็นผู้นำทาง
ทหารที่มีฝีมือทางการรบและการปกครองด้วยอำนาจที่เด็ดขาด
Ø ต่อมาในยุคราชวงศ์โจว(๕๖๙ก่อนพุทธศักราชถึงพ.ศ. ๓๒๒ )มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ

ผู้นำจากกษัตริย์กลายเป็นโอรสสวรรค์ซึ่งเกิดจากแนวคิดเรื่องอาณัติแห่ง สวรรค์ (เทียนหมิง )เพื่อสร้างความชอบธรรม
ให้รับผู้นำราชวงศ์โจวที่โค่นล้มราชวงศเซียะแนวคิดนี้ทำให้กษัตริย์มีฐานะเป็นผู้ที่สวรรค์ส่งมาปกครองมนุษย์ทำให้ผู้นำราชวงศ์โจว
มีสถานภาพสูงกว่าผู้นำเผ่าอื่นๆ และสามารถตั้งอาณาจักรได้สำเร็จ
แนวคิดเรื่องอาณัติแห่งสวรรค์กลายเป็นวัฏจักรของราชวงศ์คือถ้ากษัตริย์บวงสรวงฟ้าดินได้ถูกต้องและปกครองราษฎรให้มีความ
สุขกษัตริย์พระองค์นั้นทรงดำรงสถานภาพอยู่ได้แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎนี้ก็จะถูกถอนอาณัติการเป็นโอรสแห่งสวรรค์ โดยมีกษัตริย์
องค์ใหม่โค่นล้มอำนาจแล้วขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน

อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา แนวคิดนี้เสื่อมลง เมื่อกษัตริย์ต้องส่งพระราชวงศ์และขุนนางไปปกครองดินแดนต่างๆ
เนื่องจากอาณาจักรมีอาณาเขตกว้างขวางขึ้น เพราะพระราชวงศ์และขุนนางเหล่านี้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในแคว้นของตนทำให้มีฐานะ
เป็นเจ้าครองแคว้นที่มีทั้งที่ดีและอำนาจในการควบคุมไพร่พล

ดังนั้นในสมัยราชวงศ์โจวตอนปลาย การปกครองจึงเป็นแบบศักตินาที่มักมีเหตุการณ์ดังนี้คือ เมื่อกษัตริย์พระองค์เดิม
สวรรคต เจ้าผู้ครองนครเหล่า นี้มักตั้งตัวเป็นอิสระทั้งนี้เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และเจ้าผู้ครองแคว้นเป็นความ
สัมพันธ์ส่วนบุคคล ทำให้ฐานะของกษัตริย์เป็นประมุขของอาณาจักรแต่เพียงในนาม จึงไม่มีอำนาจหยุดยั้ง การสู้รบเพื่อแย่งชิงดิน
แดนระหว่างเจ้าผู้ครองนครต่างๆทำให้ราชวงศ์โจวสิ้นสุดอำนาจลง เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๔๐

Ø การแตกแยกที่มีมาตั้งแต่ยุคปลายราชวงศ์โจวยุติลงโดยจักพรรดิจิ๋น ซี ( พ.ศ. ๓๒๒ – ๓๓๗ ) ได้ขึ้นมาปกครองจีน ด้วยระบบ
การปกครองที่จักพรรดิมีอำนาจสูงสุดโดยเป็นทั้งผู้บริหารออกกฎหมายและเป็นผู้พิพากษาสูงสุดรวมทั้งเป็นผู้นำศาสนาดังนั้น
พระองค์ จึงสั่งให้เผาหนังสือประเภทปรัชญา ตำรากฎหมาย และประวัตินครรัฐต่างๆเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพด้วยเหตุนี้ ชื่อ
ราชวงศ์จิ๋นจึงกกลายเป็นชื่อเรียก ประเทศจีนตั้งแต่นั้นมา

Ø ภายหลังจากรัชกาลจักรพรรดิจิ๋นซี จีนเข้าสู่ยุคแห่งการแตกแยก จนกระทั่งมีสถาปนาราชวงศ์ฮั่น ซึ่งปกครองจีนระหว่าง
พ.ศ.๓๓๗ ถึง ๗๖๓

ในยุคนี้จีนได้ปรับปรุงการปกครองที่สำคัญ คือ
· จะให้มีการสอบแข่งขันเพื่อรับราชการเป็นขุนนาง ผู้ที่ได้ตำแหน่งที่ ๑ เรียกว่า จองหงวน

· จัดการปกครองระบบจักรพรรดิ ซึ่งแบ่งขุนนางออกเป็น ๓ ประเภท คือ
1. ขุนนางฝ่ายพลเรือน
2. ขุนนางฝ่ายทหาร
3. ขุนนางฝ่ายตรวจสอบ

ทำการบริหารส่วนกลางสำหรับการบริหารในหัวเมืองได้แบ่งขอบเขตการปกครองเป็นมณฑล

· มีผู้สำเร็จราชการหรือข้าหลวงเป็นผู้รับผิอชอบในการเกณฑ์แรงงาน การเก็บภาษี ตัดสินคดีความ และควบคุม
กองทหาร โดยมีหน่วยการปกครองย่อยลงไปเป็นอำเภอตำบล และหมู่บ้าน

การปกครองในยุคราชวงศ์ฮั่นได้สร้างเสริมประสิทธิ์ภาพการปกครองอาณาจักรให้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
และเป็นแบบอย่างของการปกครองในยุคต่อมา จนกระทั้งจีนมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เป็นระบบสาธารณรัฐเมื่อ
พ.ศ. ๒,๔๕๕

๒.สังคมและวัฒนธรรม

๒.๑ สังคมจีน ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่แยกเป็นชนชั้นตามคติขงจื๊อ ดั้งนี้

๑.ชนชั้นขุนนาง ปัญญาชน
เป็นชนชั้นพิเศษของสังคมจีน คือ การที่จะเข้ามาเป็นชนชั้นนี้ได้นั้นมิใช่มาจากชาติกำเนิด แต่มาจากการสอบผ่าน

เข้ารับราชการทั้งนี้เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้และคุณธรรมเข้ามาทำการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อผู้ใดได้เป็นขุนนางได้รับสิทธิ์
ยก เว้นการเกณฑ์แรงงาน ได้รับการยกเว้นภาษี และมีชีวิตที่สะดวก สบาย

๒.ชนชั้นชาวนา กลุ่มชาวนา
มีจำนวนมากกว่าชนชั้นอื่น ทั้งนี้เพราะสังคมจีเป็นสังคมเกษตรกรรมในราชวงศ์โจว ชนชั้นชาวนาได้รับการ

ยกย่องว่าเป็นผู้ผลิต แต่ขณะเดียวกันชนชั้นนี้กลับถูกเรียกเก็บภาษีถูกเกณฑ์แรงงานและเกณฑ์ ทหารทั้งยังต้อง
ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เนื่องจากชาวนาไม่มีทรัพย์สิน กำลังและอำนาจจึงต้องยอมรับสถานภาพ
ของตน

๓.ชนชั้นพ่อค้าและทหาร
กลุ่มนี้ตามความคิดของขงจื๊อแล้วเป็นชนชั้นที่ไม่น่ายกย่องเพราะไม่ได้เป็นผู้ผลิตแต่ในความจริงชนชั้นพ่อค้าเป็นผู้ที่ร่ำรวย
และการทำสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนครในสมัยราชวงศ์โจวทำให้ทหารมีความสำคัญและถือความสามารถในการรบ เป็น
สิ่งมีคุณค่าที่ช่วยป้องกันสังคมให้ปลอดภัย

๒.๒ ครอบครัวจีน
สังคมจีนในยุคแห่งการสร้างสรรค์อารยธรรมในสมัยแรกถือว่าครอบครัวเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด ที่มีผู้นำครอบครัวคือบิดาเป็นผู้รับผิด

ชอบต่อการดำรงชีวิตของสมาชิกโดยทำหน้าที่ปกครอง ดูแล สร้างทอยู่อาศัยและหาคู่ครองให้แก่ลูกขณะเดียวกันผู้นำครอบครัวเป็นผู้รับผิดชอบต่อ
ทางราชการ เช่น การเกณฑ์แรงงานและการเสียภาษี โดยบทบาทหน้าที่ของสำหรับเพศหญิงมีสถานภาพด้อยกว่าเพศชายเพราะคติที่ว่าเพราะเพศชาย
มีหน้าที่หาเลี้ยงครอบครัวและดำรงวงศ์สกุล

Ø ประเพณีและความเชื่อ คนจีนในสมัยโบราณเคารพบูชาบรรพบุรุษซึ่งเป็นคนในตระกูลที่เสียชีวิตไปแล้วนอกจากนี้ยังนับถือเทพเจ้า
ธรรมชาติ เช่น เทพชานตี่ ที่เป็นเทพเจ้าที่คุ้มครองมนุษย์และเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ในสมัยราชวงศ์ซาง
มีประเพณีการใช้กระดูกเสี่ยงทายในการเขียนตัวอักษรบนกระดูกวัวหรือสัตว์ชนิดอื่นหรือบนกระดองเต่าเพื่อทำนายเกี่ยวกับการสร้างเมืองการทำ
สงครามรวมทั้งการ ทำเรื่องอื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีประเพณีการฝังศพของกษัตริย์โดยจะฝังไว้ในสุสานใต้ดินภายในสุสานมีรถและกองทหารเพื่อไปรับใช้พระองค์์ยังโลกหน้า
และยังคงถ้วยชามหรือภาชนะทำด้วยโลหะสัมริดรวมอยู่ด้วยในสมัยราชวงศ์โจวมี นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงเช่นขงจื๊อ ได้วางปฏิบัติต่อครอบ ครัว
พิธีกรรม ปรัชญา และจริยศาสตร์ เช่น การใฝ่หาความรู้ความกตัญญู ความจงรักภักดี คุณธรรมเหล่า
นี้มีอิทธิพลต่อชาวจีนอย่างลึกซึ้ง

Ø ศิลปะและหัตถกรรม การขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าช่างจีนในสมัยราวงศ์เซียะมีความสามารถหล่อภาชนะสามขาและพบภาชนะสำริด
ที่เก่าที่สุดในสมัยราชวงศ์ซางมีอายุประมาณ ๑,๑๕๗ ปีก่อนพุทธศักราช ภาชนะสำริดสำหรับใส่เหล้าอาจเรียนแบบจากภาชนะยุคหินหรือเขาสัตว์ที่คนจีน
โบราณใช้เป็นถ้วยดื่มน้ำ ส่วนภาชนะสำริสำหรับใส่อาหารอาจเรียนแบบจากภาชนะดินเผาก่อนสมัยยางเฉาและลุงซานสมัยราช วงศ์ซางตอนปลายถือว่า
เป็นยุคทอง ของเครื่องสำริดภาชนะมีแบบต่างๆเพิ่มขึ้นฝีมือละเอียดเพิ่มขึ้น

Ø ภาษาและวรรณกรรม การพบกระดูกเสี่ยงทายที่ตัวอักษรจารึกไว้ เป็นหลักฐานทำให้ทราบว่าในสมัยราชวงศ์มีภาษาเขียนใช้แล้วเรียกว่า
อักษรภาพ ประมาณ ๓,๐๐๐ คำ ซึ่งการเขียนตัวอักษรภาพลักษณะนี้ได้พัฒนาเป็นตัวหนังสือจีน

ในปัจจุบันและตัวหนังสือของชาติในเอเชียตะวันออก วรรณกรรมที่สำคัญเช่น
หนังสือคลาสสิกทั้ง ๕ ของขงจื๊อ ที่เน้นเรื่องการทำหน้าที่ของคนในสังคม เช่น คนที่เป็นผู้ปกครองกับคนที่ีอยู่ภายใต้การ
ปกครอง สามีกับภรรยา พี่กับน้อง และเพื่อนกับเพื่อนโดยเน้นจริยธรรมของ ความเป็นผู้ดีคือผู้ที่มีความซื่อสัตย์จงรักภักดี มี
มนุษยธรรม รู้จักการช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน มีมารยาทและสุภาพ ปรัชญาขงจื๊อมีอิทธิพลต่อสังคมจีน
ถึงปัจจุบันวรรณคดีอีกเล่ม หนึ่ง คือ สื่อจี้(บันทึกประวัติศาสตร์ ) บันทึกโดยซื่อหม่าเซียนในสมัยราชวงศ์ฮั่น วรรณคดีเล่มนี้บันทึก
เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับราชวงศ์และชีวิตของ ประชาชนกลุ่มต่างๆซึ่งให้ข้อมูลตามข้อเท็จจริงที่มีคุณค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์

๓.การดำรงชีพและการค้า

ในดินแดนลุ่มน้ำฮวงเหอ เมื่อเวลาประมาณ ๔,๔๐๐ – ๓,๔๐๐ ปีก่อนพระพุทธศักราช มีผู้คนตั้งถิ่นฐานทำการกสิกรรมเพาะปลูกข้าวที่
ขนาดเล็ก เพราะปัญหาที่ดินทำกินมีน้อย นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงวัว แกะและหมูรู้จักทำเครื่องปั้ นดินเผาและปลูกหม่อน เลี้ยงไหมชาวนา
เป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับจากสังคม เพราะผลิตอาหารส่วนอาชีพพ่อค้านั้นไม่ได้รับการยกย่องในสังคมแต่มีพ่อค้าที่ทำการค้าอยู่ใน
เมืองโดยมีที่พักปะปนอยู่กับช่างฝีมือและชาวเมืองอื่นๆการที่ประชากรเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการสินค้าและผลิตผลจากช่างฝีมือเพิ่มขึ้น
เช่นกัน สินค้ามักเป็นของฟุ่ม เฟือยเช่นผ้าไหมเครื่องเรือน เครื่องประดับ อาทิ หยก

นอกจากนี้ยังมี เครื่องกระเบื้อง เครื่องรักงาช้างแกะสลักเครื่องใช้ที่ทำจากเงินและโลหะทำให้การติดต่อค้าขายเป็นไปอย่าง
กว้างขวาง มีกับปรุงคมนาคม ทั้งทางบกและทางน้ำการค้ากับดินแดนภายนอกเริ่มพัฒนาขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ –๑๕พ่อค้าจีน
ทำการติดต่อค้าขายไปบนเส้นทางสายไหมจนถึงเอเชียกลางสินค้าสำคัญได้แก่ ผ้าไหมและเครื่องเคลือบ

ต่อมามีการพัฒนาการค้าทางทะเลประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมาโดยติดต่อค้าขายกับเกาหลีและญี่ปุ่นส่วการค้าทางทะเล
กับดินแดนทางใต้ จีนติดต่อค้าขายกับชาติต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงอินเดียและตะวันตกเฉียงใต้ทำให้สินค้าจีนกระจาย
ไปจนถึงยุโรปนอกจากนี้จีนยังปรับปรุงระบบเงินตรา คือ การใช้เหรียญทองเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้ารวมทั้งทำตั๋ว
แลกเงินและธนบัตร

๔.วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสถาปัตยกรรม

Ø ในสมัยราชวงศ์ซางพบว่าชาวจีนรู้จักเลี้ยงไหมเพื่อนำมาทอผ้าและใช้เครื่องสำริดที่ขามีรวดลายประดับรวมทั้งเครื่องปั้ นดินเผาต่างๆ

Ø ในสมัยต่อมา คือ สมัยราชวงศ์โจวที่มีความเจริญต่อเนื่องถึง ๘๐๐ ปี เป็นสมัยที่มีการวางรากฐานความเจริญของจีนในสมัยต่อมาทั้งทางด้านการ
ปกครอง(โอรสสวรรคต) ความคิดและเทคโนโลยีมีการปรับปรุงถนน ขยายการค้า มีการผลิตรถศึกอาวุธต่างๆ ที่ได้รับการอิทธิพลต่างๆพวกเร่ร่อน
ตะวันตกที่มีความหน้าในด้านชลประทาน การป้องกันน้ำท่วมและประดิษฐ์คันไถเหล็กเป็นครั้งแรกตลอดจนการมีใช้เหรียญทองแดงใน ระบบเงิน ตรา

Ø ต่อมาในสมัยราชวงศ์จิ๋นมีการออกกฎหมายใช้บังคับด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบเงินตรา และการชั่งตวงวัดแม้แต่ เพราะเกวียนก็ให้เป็น
ระบบเดียวกันหมดนับเป็นสมัยที่เป็น
การจัดระบบการปกครองใหม่ในสมัยนี้มีการสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่
“ ซึ่งปัจจุบันได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกคือกำแพงเมืองจีน” ที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันพวกอารยชนที่รุกรานจีน กำแพงนี้มี
ความยาวถึงประมาณ ๒,๔๐๐กิโลเมตรสูงประมาณ ๒ เมตร หนาประมาร ๑ เมตรประกอบไปด้วยป้อมปราการขนาดใหญ่สร้างอยู่เป็นระยะ ในสมัยนี้
มีการสร้างราชวังขนาดใหญ่และสุสานที่ฝังทรัพย์สินมีค่าและรูปปั้ นขนาดเท่าตัวจริงของนักรบและม้าจำนวนมาก

Ø ต่อมาในสมัยที่นับเป็นสมัยแห่งความรุ่งเรืองที่สุดของจีนคือสมัยราชวงศ์ฮั่นซึ่งมีความเจริญทางด้านการปกครองการค้า ศาสนาการ ศึกษา และ
ศิลปะวิทยาการมีการค้นพบงานด้านวิทยาศาสตร์และประดิษฐกรรมหลายอย่างเช่น พบจุดดับบนดวงอาทิตย์การพยากรณ์เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ การ
เกิดสุริยคราส การทำปฏิทินซึ่งมีความถูกต้องแม่นยำกาสร้างวัดเครื่องแผ่นดินไหวการผลิตแลกเกอร์ เป็นต้น

อารยธรรมจีนมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการอารยธรรมชาติอื่นทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งของเครื่องใช้บางอย่าง เช่น เครื่องเคลือบ ผ้าไหม
กระดาษ ความรู้บางอย่าง เช่น การปลูกฝีรักษาโรคได้กระจายไปถึงดินแดนเอเชียกลางและยุโรป ความเจริญของโลกในปัจจุบันส่วนหนึ่งได้เกิดจาก
การสร้างสรรค์อารยธรรมของคนเอเชียมาตั้งแต่สมัยโบราณ


Click to View FlipBook Version