โครงงาน เรื่อง เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง โดย กลุ่มที่ 33 ชื่อ นาย กฤษดา สกุล เดชมี ชื่อ นางสาว กัญญานัฐ สกุล ทุงจันทร์ ชื่อ นางสาว ณิชกานด์ สกุล นุชเนตร ชื่อ นางสาว พิมพ์ลภัส สกุล สวยเอี่ยม ชื่อ นางสาว กาญดา สกุล โสระสะ ครูที่ปรึกษา นางสาว จุฑามาศ คงแจ้ง รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ รหัสวิชา I22202 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
กิตติกรรมประกาศ โครงงานเรื่องนี้ประกอบด้วยการดำเนินงานหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การศึกษาหาข้อมูล การ ทดลอง การวิเคราะห์ผลการทดลอง การจัดทำโครงงานเป็นรูปเล่ม จนกระทั่งโครงงานนี้สำเร็จลุล่วง ไปได้ด้วยดี ตลอดระยะเวลาดังกล่าวคณะผู้จัดทำโครงงานได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำในด้าน ต่าง ๆ ตลอดจนได้รับกำลังใจจากบุคคลหลายท่าน คณะผู้จัดทำตระหนักและซาบซึ้งในความกรุณา จากทุก ๆ ท่านเป็นอย่างยิ่ง ณ โอกาสนี้ ขอขอบคุณทุก ๆ ท่าน ดังนี้ กราบขอบพระคุณครูจุฑามาศ คงแจ้ง ครูที่ปรึกษาประจำกลุ่ม ที่ให้คำแนะนำและได้เมตตา ให้ความช่วยเหลือในทุก ๆ ด้าน ตลอดจนเอื้อเฟื้อห้องปฏิบัติการของกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมและเครื่องมือต่าง ๆ ในการทำโครงงานนี้จนประสบความสำเร็จ กราบขอบพระคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานี ทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์และให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ที่คอยดูแลเอาใจใส่และให้ คำปรึกษาอย่างดี ขอขอบคุณ เพื่อน ๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการโครงงาน ท้ายสุด ขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อและคุณแม่ ผู้เป็นที่รัก ผู้ให้กำลังใจและให้โอกาส การศึกษาอันมีค่ายิ่ง คณะผู้จัดทำ
บทคัดย่อ การประยุกต์หลักการออกแบบและวิเคราะห์การทดลอง เพื่อพัฒนาเทียนหอมโดยมีปัจจัยที่ เหมาะสมของเทียนหอมแบบแท่งด้วยวิธี Combined Mixture-Process Design โดยมีปัจจัยใน การศึกษา คือ พาราฟิน พิอีแวกซ์ สีเทียน น้ำมันหอม และขนาดไส้เทียน โดยได้การทดลองและทำซ้ำ 2 ซ้ำ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์จากการค่าผลตอบหรือปริมาณน้ำตาเทียนของปัจจัยดังกล่าว พบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสม คือ พาราฟิน 74.43% พีอีแวกซ์ 9.95% น้ำหอม 4.97% สีเทียน 2% และ ขนาดไส้เทียน 6 CM. เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตเทียนหอมให้ปริมาณน้ำตาลเทียนมี คุณภาพ เมื่อเปรียบเทียบเทียนหอมในชนิดอื่น ๆจากร้านต่าง ๆ
สารบัญ หน้า กิตติกรรมประกาศ ก บทคัดย่อ ข บทที่ 1 บทนำ 1 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 2 1.3 สมมติฐานการศึกษา 2 1.4 ขอบเขตการศึกษา 2 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา 16 บทที่ 4 ผลการศึกษา 23 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 24 เอกสารอ้างอิง 25 ภาคผนวก 26 ประวัติผู้ศึกษา 31
บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เทียนไขเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการให้แสงสว่าง แต่ในระยะเวลาต่อมา เทียนไขได้ถูกทดแทนด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านพลังงานแสงสว่างจากกระแสไฟฟ้า ทำให้บทบาทเทียนไขที่มีต่อชีวิตประจำวันของผู้คนลดน้อยลง และเปลี่ยนสถานะจากสิ่งของจำเป็นไป เป็นสิ่งของตกแต่ง ซึ่งทำให้มีการพัฒนาทางด้านรูปแบบสีสันของเทียนให้มีความสาวยงามมากขึ้น นอกจากนี้ปัจจุบันมีการดัดแปลงจากเทียนที่ให้แสงสว่างธรรมดามาผสมกลิ่นสมุนไพรต่าง ๆ เพิ่มลงไป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้มากขึ้น โดยการนำกลิ่นสมุนไพรต่าง ๆ เช่น กลิ่นตะไคร้ มะกรูด มะนาว อบเชย เป็นต้น เข้ามาผสมและวัตถุประสงค์ในการใช้สอยเพิ่มขึ้นจากเดิม เพื่อประโยชน์ใน การบำบัดทางด้านจิตใจ และอารมณ์ของคนในสังคมในปัจจุบันที่เกิดภาวะความตึงเครียดทางอารมณ์ ค่อนข้างสูง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายยังสามารถป้องกันแมลงต่าง ๆ เช่น ยุง เป็นหลักที่ ก่อกวนในลำดับต่อมา ซึ่งการนำกลิ่นหอมของสมุนไพรเข้ามาช่วย จะทำให้สภาวะร่างกายเกิดการ ผ่อนคลาย และบางกลิ่นจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีความสดชื่นพร้อมที่จะทำงานหรือดำเนินกิจกรรม ต่าง ๆ ได้อย่างดี เพราะฉะนั้นความต้องการสินค้าประเภทนี้ จึงนับได้ว่ามีแนวโน้มที่ดีตามสภาวะของผู้ที่ ต้องการไล่แมลงและผ่อนคลายสภาวะจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่นิยมหลากหลายรูปแบบสีสัน และกลิ่นนานาชนิด ความต้องการของเทียนนั้นหลัก ๆ อยู่ที่ โรงแรม สปา ห้องอาหาร และผู้บริโภค ทั่วไปที่มีความระดับรายได้ ปานกลางถึงสูง แนวทางที่สำคัญของเทียนต้องสร้างเอกลักษณ์ของตนเองโดยเอกลักษณ์นี้มิได้หมายถึง เอกลักษณ์ทางด้านรูปแบบของสินค้าที่ผลิตเท่านั้น แต่องค์ประกอบที่จะช่วยส่งเสริมให้สินค้ามีความ โดดเด่นนั้นรวมไปถึง การเลือกใช้วัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต รูปลักษณ์สินค้าและรูปแบบการบรรจุ ภัณฑ์ให้สดคล้องกับสินค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นแนวทางสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประสิทธิภาพของเทียน หอมซึ่งเทียนหอมส่วนมากจะนำมาใช้เป็นเทียนประดับตกแต่ง ดังนั้นเมื่อเป็นเทียนประดับจึงคำนึงถึง ประโยชน์ของเทียนควบคู่กับความสวยงามเหมือนเดิมเมื่อการจุดเทียนไปแล้ว เพราะฉะนั้นการเผา ไหม้ในการจุดเทียนหอมจึงควรให้นำตาเทียนมีกลิ่นและมีประโยชน์มากกว่าความสวยงาม ส่วนมาก เทียนทั่วไปจะมีลักษณะแบบแท่ง เช่นเทียนจุดไหว้พระ เทียนประดับโต๊ะอาหาร
ดังนั้น การทำเทียนหอมไล่ยุงจึงเป็นแนวทางเพื่อเพิ่มความสามารถของผลิตภัณฑ์เป็น ทางเลือกให้ผู้บริโภคให้ได้ใช้เทียนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้เป็นที่ต้องการของลูกค้าและ ผู้บริโภคมากขึ้น การปรับปรุงในเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาและ ปรับปรุงเทียนหอมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.2.1 เพื่อพัฒนาเทียนแบบเดิมโดยใช้สมุนไพรมาเพิ่มความหอมและสามารถไล่ยุง 1.3 สมมติฐานการศึกษา 1.3.1 นักเรียนและครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานีชื่นชอบเทียนหอม สมุนไพรไล่ยุงมากกว่าเทียนทั่วไป 1.4 ขอบเขตของการศึกษา 1.4.1 ใช้หลักการออกแบบการทกลองแบบรวมปัจจัยส่วนและกระบวนการ Combined Mixture-Process Design 1.4.2 ศึกษาผลิตภัณฑ์เทียนหอมชนดทรงกระบอกทั่วไป 1.4.3 ใช้วัตถุดิบในการผลิตเทียนหอมโดยดการกำหนดประเภทพาราฟินแบบธรรมดาและไส้ เทียนทั่วไป 1.4.4 ทำการทดสอบเปรียบเทียบความแตกต่างของเทียนธรรมดาและเทียนหอมใส่สมุนไพร และมีประโยชน์คือสามารถไล่ยุง 1.4.5 ทำการทดลองการจุดเทียน โดยกำหนดสภาวะแวดล้อมคงที่ 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.5.1 ได้ส่วนผสมที่เหมาะสมในการผลิตเทียนหอมสามารถไล่ยุงได้ 1.5.2 เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง และเป็นแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์เทียนหอมต่อไป
บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาค้นคว้าสำหรับผลิตภัณฑ์เทียนหอมไล่ยุงมีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหับ การศึกษาค้นคว้า ดังนี้ 1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสภาพทั่วไปของผลิตภัณฑ์เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง 1.1 ประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง 1.2 ข้อมูลผลิตภัณฑ์เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง 1.3 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสมุนไพรไล่ยุง 2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับมะกรูด 2.1 ประวัติความเป็นมาของมะกรูด 2.2 สรรพคุณของมะกรูด 3. เอกสารเกี่ยวข้องกับตะไคร้ 3.1 ประวัติความเป็นมาของตะไคร้ 3.2 สรรพคุณของตะไคร้ 4. เอกสารเกี่ยวข้องกับน้ำหอม 4.1 ประวัติความเป็นมาของน้ำหอม 4.2 สรรพคุณของน้ำหอม 5. เอกสารที่เกี่ยวกับการออกแบบ 5.1 ความหมายการออกแบบ 5.2 ประเภทการออกแบบ 5.3 ส่วนประกอบของการออกแบบ
5.4 กระบวนการออกแบบ 1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสภาพทั่วไปของผลิตภัณฑ์เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง 1.1 ประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์ยังไม่รู้จักวิธีใช้ไฟ รู้จักแต่ความมืดในเวลากลางคืนและความ สว่าง ในเวลากลางวัน ต่อมาเริ่มรู้จักการใช้ไม้มาเสียดสีกันให้เกิดความร้อนและเกิดเปลวไฟ และเริ่ม ใช้ไฟในการหุงหาอาหาร ให้แสงสว่าง และป้องกันภัยจากสัตว์ร้ายต่าง ๆ และวิวัฒนาการก็เริ่มมา อย่างต่อเนื่อง เริ่มมีการใช้ คบเพิงในการให้แสง มีการนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสาร เห็นได้จาก ไฟใน ประภาคารที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างยามฝั่งกับเรือและให้สัญญาณต่าง ๆ ระหว่างภูเขาแต่ละลูก และต่อมาได้มีการนำเทียนมาเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เนื่องจากไฟมีสัญลักษณ์ของ การเผาผลาญ และความโชติช่วงชัชวาลย์ และมนุษย์บางเผาในสมัยนั้นนับถือให้เป็นเทพไฟ มีการ บวงสรวงและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และตามความเชื่อจะเห็นได้จาก พิธีแต่งงาน ซึ่งมี ความหมายของการเริ่มต้น แสงแห่งเปลวเทียนจะนำทางความสว่างไสวไปสู่ชีวิตคู่ บุคคลทั่วไปชอบนำ เทียนไปประดับบนโต๊ะอาหาร แสดงถึงฐานะ ความภูมิฐาน การมีรสนิยมและเพื่อให้เกิดความสว่าง ไสว อีกทั้งแสงสว่างแของเทียน สามรถสร้างบรรยากาศ และดูสวยงามอีกด้วย ในปัจจุบันนอกจาก เทียน จะมีความสวยงามแล้วยังมีการนำกลิ่นหอม หรือน้ำมันหอมละเหย มาผสมให้ได้กลิ่นตาม ต้องการ และนอกจากนี้น้ำมันหอมละเหยยังมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างกันออกไป เช่น บางชนิดจะ สามารถรักษาโรคได้ แก้อาการเครียด และทำให้ร่างกายผ่อนคลาย กลิ่นบางชนิดสามารถไล่ยุงได้ ยุงเป็นแมลงที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของมนุษย์มากที่สุด ปัจจุบันโรคติดต่อจากยุงนอกจาก จะเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในระดับชาติและทั่วโลกแล้ว ยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและ
สังคมในวงกว้าง มาตรการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว นอกจากจะมุ่งเน้นไปที่การควบคุมและ กำจัดยุงพาหะแล้ว การป้องกันส่วนบุคคลโดยใช้สารไล่ยุงเพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัดเป็นอีก แนวทางหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยงต่อการติดโรคและลดการแพร่กระจายของโรคได้ ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงจากสารสกัดธรรมชาติ เช่น พืชสมุนไพรกำลังเป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มผู้บริโภค ส่วนใหญ่ที่ตระหนักถึงพิษภัยและอันตรายจากสารเคมี ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าและแสวงหาพืช สมุนไพรใหม่ๆ ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงที่มีประสิทธิภาพไล่ยุงสูง มีความ ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถทดแทนและลด บทบาทการใช้สารเคมีสังเคราะห์และหลีกเลี่ยงฤทธิ์อันไม่พึงประสงค์ของมัน นอกจากนั้น ยังเป็นการ ใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อุดมสมบูรณ์อย่างคุ้มค่า ในบทความนี้ ได้มีการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับยุงพาหะที่สำคัญในประเทศไทย สารทากันยุง พืชสมุนไพรและ สมุนไพรไทยกับฤทธิ์ในการป้องกันยุงกัด วิธีสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืช การเตรียมผลิตภัณฑ์ ป้องกันยุง และวิธีการทดสอบฤทธิ์ป้องกันยุง และวิธีการทดสอบฤทธิ์ป้องกันยุงกัดในห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่ทางวิชาการ และเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสารไล่ ยุงจากพืชสมุนไพรไทยได้ใช้ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยม ด้วยคุณลักษณะที่ได้ จากธรรมชาติ และช่วย รักษาสุขภาพได้ ราคาไม่แพง เหมาะที่จะนำไปเป็นของขวัญของที่ระลึกฝากคนที่คุณรัก เพื่อแสดง ความห่วงใยสุขภาพต่อคนที่คุณรัก จุดเด่นของเทียนหอม กลิ่นหอมของน้ำมันหอมละเหยยที่มี คุณสมบัติพิเศษ เช่น บางชนิดจะสามารถรักษาโรคได้ แก้อาการเครียดและทำให้ร่างกายผ่อนคลาย กลิ่นบางชนิดสามารถไล่ยุงได้ น้ำมันหอมละเหยเหล่านี้ได้มาจากการสกัดจากพืช และสมุนไพรทาง ธรรมชาติ และบางชนิดได้มาจากการสังเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยม ด้วยคุณลักษณะที่ได้จาก ธรรมชาติ และช่วยรักษาสุขภาพได้ ราคาไม่แพง เหมาะที่จะนำไป เป็นของขวัญของที่ระลึกฝากคนที่ คุณรัก เพื่อแสดงความห่วงใยสุขภาพต่อคนที่คุณรัก จุดมุ่งหมายที่ตัดสินใจ ขายสินค้าชนิดนี้คือ ความ สวยงาม กลิ่นหอมของเทียนที่เมื่อได้กลิ่นแล้วรู้สึกผ่อนคลายอีกทั้งราคาไม่แพง และเป็นเครื่องประดับ ในห้องได้ 1.2 ข้อมูลผลิตภัณฑ์เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงมีมากมายหลายแบบหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเน้นไปทาง เรื่องของอาหารจึงได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะชาวต่างชาติ เทียนหอมไล่ยุงจึงมีความโดดเด่น แตกต่างกันไปในเรื่องของสภาวะอารมณ์และจิตใจของมนุษย์เรื่องของการดำรงชีวิตและสุขภาพการ ป้องกันโรคจากยุงที่เป็นพาหะ เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงมีหลากหลาย เข่น เทียนหอมจากสมุนไพรจาก
มะกรูดและตะไคร้ โดยทำออกมาเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ดอกกุหลาบ ดอกทานตะวัน ดอกเดซี่เพื่อให้มี ความดึงดูดและความสวยงาม 1.3 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง การหล่อเทียน คือ การเทน้ำร้อน ๆ ใส่ลงในพิมพ์ใช่หรือไม่ ตอบว่าใช่ แต่ก่อนที่จะเทียนเรา ต้องรู้จักกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของน้ำเทียนและสารเคมีประกอบต่าง ๆ รวมถึงอุณหภูมิที่ใช้ ฉะนั้นเรา ต้องรู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ และอุปกรณ์ 1. พาราฟิน (Parafin) 2. แวกซ์ 3. สี 4. น้ำหอม (Essential Oils) 5. ไส้เทียน (Wick Tabs) 6. ความร้อน (อุณหภูมิ) 7. อุปกรณ์และเครื่องมือ 1. พาราฟิน (Parafin) มีลักษณะเป็นไข ซึ่งเกิดจากกลั่นปิโตรเลียมตัวพาราฟินจะเป็นสารประกอบระหว่าง ไฮโดรเจนกับคาร์บอน จากคุณสมบัติในการกลั่นปิโตรเลียมและคุณสมบัติของปิโตรเลียมจากแหล่ง ต่าง ๆ ผลที่ได้รับจากบางขั้นตอนทำให้เราได้ไขที่เรียกว่า พาราฟิน ซึ่งจะมีด้วยกันหลายแบบแต่ในที่นี้ เราจะมารู้จักเฉพาะที่นำมาใช้ทำเทียน ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ 1. นอร์มอล พาราฟิน (Normal Parafin) มีลักษณะสีขาวขุ่นมีกลิ่นคล้ายน้ำมันก๊าด จุด มีควันมาก เนื้ออ่อน ราคาถูกทางการค้านิยมมาใช้ทำเทียนแท่งใหญ่ และมีจำหน่ายตามร้านใน ลักษณะเป็นแผ่น ๆ สีขาวหรือเหลือง นิยมใช้เคลือบบ้านเรือนในสมัยเก่า 2. ฟลูลี่ พาราฟิน (Fully Parafin) ที่มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวสดใส ไม่มีกลิ่น นิยมำ นาผลิตเป็นเทียนชนิดต่าง ๆ ด้วยคุณสมบัติที่ไม่มีกลิ่นน้ำมัน ควันน้อย จึงเป็นที่นิยมของผู้ผลิต ฉะนั้น ในท้องตลาดจึงมีจำหน่ายด้วยกัน 2 ลักษณะ 3. สี เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เทียนมีชีวิตขึ้น ฉะนั้นสีจึงมีความสำคัญในการผลิตเทียน แต่สีที่ใช้ผสมในการหล่อเทียนนั้นเป็นสีที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สีที่ใช้ผสมจะเป็นสีน้ำมันที่สามารถ ละลายในความร้อนได้ จะเป็นผงก็มี แบบครีมหรือแบบแท่งก็มี ด้านข้างภาชนะจะเขียนคำว่า Oil
Color หรือ Color Wax จะหาซื้อสีเหล่านี้ได้ตามร้านเครื่องเขียน การผสมสีลงในน้ำเทียนจะอธิบาย อีกครั้งหนึ่งในขั้นตอนการผสมน้ำเทียน 4. น้ำหอม (Essential Oils) น้ำหอมที่ใช้ในการผสมเทียนจะต้องเป็นชนิดน้ำมัน จึง จะละลายเข้ากับพาราฟินได้ ถ้าเป็นชนิดน้ำหรือแอลกอฮอล์จะไม่รวมกับน้ำเทียน เวลาซื้อให้สอบถาม ผู้ขายว่าต้องการเป็นแบบน้ำมัน (Oli) 5. ไส้เทียน (Wick Tabs) เป็นวัสดุที่ทำให้เทียนเป็นความจริง คุณสมบัติของไส้เทียน จำเป็นต้องเป็นฝ้าย 100% ไม่มีสารสังเคราะห์ใดๆ ความใหญ่หรือเล็กนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการว่า ต้องการสว่างมาก น้ำตาเทียนน้อย จุดได้นาน ความต้องการเหล่านี้จะมาเป็นตัวกำหนด ไส้เทียนจะ เหมือนเชือก จะมีเบอร์ต่าง ๆ มากมาย ถ้าผลิตเทียนแท่งที่มีขนาด 1 นิ้ว เราควรใช้ไส้เบอร์18-20 (0.15-0.2 mm) ถ้าเราใช้ไส้เทียนใหญ่เกินไปแสงมากก็จริงแต่น้ำเทียนจะมากไปด้วย เทียนจะหมดเร็ว และในทำนองเดียวกันถ้าใช้ไส้เล็กก็จะดับง่าย ถ้าโดนลมหรือถ้าส่วนผสมน้ำเทียนไม่สมดุลเทียน อาจจะจุดติดยาก 6. ความร้อน ความร้อนที่ใช้ต้มพาราฟิน จะอยู่ที่อุณหภูมิ 70 องศา ฉะนั้นอุปกรณ์ เช่น เตาที่ใช้ได้หมดทั้งเตาแก๊ส เดาไฟฟ้า หม้อหุงข้าว กระทะไฟฟ้า กาน้ำร้อนไฟฟ้า สิ่งที่ควรระวังใน การใช้งาน ความร้อนถ้าเป็นแก๊สควรอยู่กับเตาตลิดเวลาถ้าละลายพาราฟินบนเตาแก๊ส และถ้าเป็นเตา ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ให้ตรวจดูตำแหน่งไฟต่าง ๆ เพราะเตาไฟฟ้าจะใช้กำลังไฟมากอาจทำให้ เกิดการลัดวงจรได้ 7. อุปกรณ์และเครื่องมือ 7.1 เตาไฟฟ้า 7.2 หม้อสแตนเลส 7.3 กะละมังขนาด 1 ลิตร 7.4 กระบวยขนาดต่าง ๆ 7.5 มีดเล็กและมีดใหญ่ 7.6 แม่พิมพ์แบบต่าง ๆ 7.6 ช้อนขนาดต่าง ๆ 7.7 เขียง
2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับมะกรูด 2.1 ประวัติความเป็นมาของมะกรูด ภาพที่ 1 มะกรูด มะกรูด ชื่อสามัญ Kaffir lime, Leech lime, Mauritius papeda มะกรูด ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus hystrix DC. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) สมุนไพร มะกรูด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะขู (แม่ฮ่องสอน), มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ), ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) เป็นต้นหลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็น เครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของ ความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สารเคมีที่สำคัญที่พบได้ในผลมะกรูดก็คือน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีทั้งในส่วนของเปลือกผลหรือ ผิวมะกรูดและในส่วนของใบ โดยเปลือกผลจะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 4% และในส่วนของใบนั้น จะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.08% และยังสกัดยากกว่าน้ำมันในเปลือกผลอีกด้วย แต่ก็ยังมี จุดเด่นตรงที่น้ำมันจากใบจะมีกลิ่นมากกว่านั่นเอง จึงนิยมใช้ทั้งน้ำมันมะกรูดทั้งจากใบและเปลือกผล ซึ่งน้ำมันหอมระเหยนี้ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและยังมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย การ ใช้น้ำมันหอมระเหยมะกรูดมาใช้ทาภายนอกหลังจากทาแล้วภายใน 4 ชั่วโมง ไม่ควรให้ผิวหนังบริเวณ ที่ทานั้นสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เพราะอาจจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นไหม้ได้ 2.2 สรรพคุณของมะกรูด
2.2.1 มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย แข็งแรงและต้านทานโรค 2.2.2 ช่วยทำให้เจริญอาหาร 2.2.3 น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลาย ความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดจะช่วยได้ระดับหนึ่งแต่การ ใช้ไม่ควรจะใช้ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ 2.2.4 ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ผิวมะกรูด รากชะเอม ไพล เฉียงพร้า ขมิ้นอ้อย ในปริมาณเท่ากัน นำมาบดเป็นผง นำมาชงละลายน้ำร้อนหรือต้มเป็นน้ำดื่ม 2.2.5. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล) 2.2.6 ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบาง ๆ ชงกับ น้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ (เปลือกผล) 2.2.7 ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาผ่าซีก เติมเกลือ นำไป ลนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้วบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ จะช่วยแก้อาการไอได้ สูตรนี้ก็สามารถใช้ เป็นยาขับเสมหะได้ด้วยเช่นกัน 2.2.8 มะกรูดสามารถใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ เมื่อทานหรือคั้นเอาน้ำแล้วก็ อย่าทิ้งเปลือก ให้นำเปลือกมาตากแห้งและเผาไฟจะช่วยไล่ยุงได้ดีนัก (เปลือกผล) 2.2.9 ในปัจจุบันมีการผลิตน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและ หนอนสำหรับเกษตรกร ด้วยการใช้โปรยไว้ใต้ต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลง แคปซูลก็จะค่อย ๆ ปล่อยน้ำมัน ออกมา แถมยังไม่มีอันตรายอีกด้วย 2.2.10 น้ำมันจากใบมะกรูดมีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด เช่น ช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ แอสเปอร์จิลลัส อัลเทอร์นาเรีย และกระตุ้นการ สร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล) 2.2.11 มีการนำเปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด อย่างเช่น สบู่ แชมพูมะกรูดหรือยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง เป็นต้น 2.2.12 การอบซาวน่าสมุนไพรเพื่อขับสารพิษผ่านเหงื่อและรูขุมขน มักจะมีสมุนไพร ที่ประกอบไปด้วย ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พิมเสน การบูร และผิวมะกรูดผสมอยู่ด้วยซึ่งแต่ละ ตัวก็มีสรรพคุณในการช่วยขับสารพิษทั้งสิ้น
3. เอกสารเกี่ยวข้องกับตะไคร้ 3.1 ประวัติความเป็นมาของตะไคร้ ภาพที่ 2 ตะไคร้ ชื่อสมุนไพร ตะไคร้ ชื่ออื่นๆ / ชื่อท้องถิ่น จักไคร (ภาคเหนือ) , คาหอม (ไทใหญ่แม่ฮ่องสอน) , ไคร (ภาคใต้) , สิง ไคร , หัวสิงไคร (อีสาน) , ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) , เชิดเกรย , เหลอะเกรย (เขมร) ชื่อสามัญ Lemongrass, West Indian lemongrass , Sweet rush ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf วงศ์ GRAMINEAE ตะไคร้เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยเรามาตั้งแต่อดีตแล้ว ทั้งนี้ เพราะตะไคร้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเขตร้อนของทวีปเอเชีย เช่น ไทย , พม่า , ลาว , มาเลเซีย , อินโดนีเซีย , อินเดียว , ศรีลังกา เป็นต้นและยังสามารถพบได้ในประเทศเขตร้อนบางประเทศในแถบ อเมริกาใต้ เช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว ตะไคร้จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าและสามารถแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ สำหรับ
ต้นตะไคร้นั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีความสูงของลำต้นประมาณ 4 – 6 ฟุต ซึ่งลำต้นนั้นจะมีกาบห่อหุ้มอยู่ รอบใบ ส่วนใบนั้นจะมีลักษณะยาวเรียว ช่วงปลายจะมีขนหนาม ลักษณะลำต้นรวมกันเป็นกอ และมี กลิ่นหอม และในใบของต้นตะไคร้นี้แหละที่อุดมด้วยน้ำมันหอมระเหย สำหรับดอกของต้นตะไคร้นั้น จะออกเป็นช่อยาวและมีดอกเล็กๆ ฝอยๆ อยู่มากมาย โดยส่วนต้นหัวมักจะนำไปประกอบอาหาร ซึ่ง เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลหญ้า สามารถขึ้นและเจริญเติบโตได้ง่าย 3.2 สรรพคุณของตะไคร้ ใบ – ช่วยแก้อาการไข้ และลดความดันโลหิต ให้รสหอมปร่า ต้น – ช่วยแก้โรคทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับลม แก้นิ่ว รวมทั้งดับกลิ่นคาว และช่วยให้เจริญ อาหาร ให้รสหอมปร่า เหง้า – ช่วยบำรุงไฟธาตุ แก้กระษัย ช่วยขับลมในลำไส้ รวมทั้งแก้อาการเบื่ออาหาร แก้ขัด ปัสสาวะ และแก้ปัสสาวะพิการ โรคนิ่ว ให้รสหอมปร่า ทั้งต้น – ช่วยขับเหงื่อ บำรุงธาตุ รวมทั้งขับปัสสาวะ แก้อาการปวดท้อง และแก้หืด ให้รส หอมปร่า ดังนั้น จะเห็นได้ว่าต้นตะไคร้นั้นเป็นพืชสมุนไพรที่เรียกได้ว่าแทบทุกบ้านต้องมีติดครัวกันเลย ทีเดียว เพราะนอกจากใช้ประกอบอาหารกันมาอย่างยาวนานแล้ว ยังมีประโยชน์และสรรพคุณอีก มากมาย ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าสารอาหารวิตามินต่างๆ ที่อยู่ในต้นตะไคร้ หรือใช้สำหรับไล่แมลงก็ดี เพราะในตะไคร้นั้นมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่งมีการแปรรูปเป็นสบู่ หรือสเปรย์สำหรับฉีดไล่ยุงหรือ แมลงต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับขับล้างสารพิษในร่างกายได้ดีอีกด้วย 4. เอกสารเกี่ยวข้องกับน้ำหอม 4.1 ประวัติความเป็นมาของน้ำหอม ภาพที่ 3 น้ำหอม
เชื่อกันว่าน้ำหอมเกิดขึ้นใน ประเทศอียิปต์ เพราะมีภาพวาดที่หญิงสาวชาวอียิปต์โบราณ กำลังชโลมน้ำหอมลงบนศีรษะน้ำหอมถูกใช้ครั้งแรกเมื่อ 4,000 ปีก่อน ในสมัย เมโสโปเตเมีย ซึ่งใช้ใน รูปแบบของการเผาให้เกิดกลิ่น โดยสิ่งที่นำมาใช้เผาให้เกิดกลิ่นก็เช่น ยางไม้, ขี้ผึ้ง, หรือเปลือกไม้ต่าง ๆ ซึ่งโดยมากมักใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนา ส่วนในชีวิตประจำวันก็มีการนำเปลือกไม้, น้ำมัน, หรือยางไม้ ที่มีกลิ่นหอมมาผสมรวมกันและเจือจากด้วยน้ำเพื่อใช้ทาตัว และชาวเมโสโปเตเมีย ยังใช้ น้ำหอมในการดองศพอีกด้วย 4.2 สรรพคุณของน้ำหอม 4.2.1 น้ำหอมที่ช่วยให้เรามีสมาธิและมีใจจดจ่อต่อสิ่งที่ทำมากขึ้นช่วยให้สมองโฟกัส กับสิ่งต่างๆมากขึ้น 4.2.2 น้ำหอมที่ช่วยรักษาความทรงจำของสมองช่วยทำให้เราจำได้ดีขึ้น 4.2.3 น้ำหอมทำให้คุณรู้สึกสงบผ่อนคลาย 4.2.4 น้ำหอมทำให้คุณนอนหลับสนิท 5. เอกสารที่เกี่ยวกับการออกแบบ 5.1 ความหมายการออกแบบ การออกแบบ หมายถึง การรู้จักขั้นตอนและรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการ โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบ คุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดคามคิดสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ขึ้นมา เช่น เราจะทำเก้าอี้สักตัวจะต้องวางแผนไว้เป็นขั้นตอนโดยเริ่มเลือกวัสดุที่ทำให้เก้าอี้ให้ เหมาะสม ทนทานต่อการใช้งาน เป็นต้น การออกแบบ หมายถึง การปรับปรุงแบบ ผลงานหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้เหมาะสมมีความ แปลกใหม่เพิ่มขึ้น เช่น เก้าอี้เราทำขึ้นมาใช้ไปนาน ก็เกิดการเบื่อหน่ายในรูปทรงเราจัดการปรับปรุงให้ เป็นรูปแบบใหม่สวยกว่าเดิม ทั้งนี้มีความเหมาะสม ความสะดวกสบายในการใช้งานนยังคงเหมือนเดิม การออกแบบ หมายถึง การรวบรวม หรือจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็น 2 มิติ และ 3 มิติเข้า ด้วยกันอย่างมีหลักเกณฑ์ การนำองค์ประกอบของการออกแบบมาจัดรวมกันนั้น ผู้ออกแบบจะต้อง คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย และความสวยงามอันเป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ 5.2 ประเภทการออกแบบ ปัจจุบันมนุษย์เราอาศัยอยู่ในโลกที่สิ่งแวดล้อมไปด้วยผลงานที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ด้วยกัน การเปลี่ยนแปลงรูปทรงของธรรมชาติให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับความต้องการด้านการใช้งานและ ความต้องการที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด เป็นจุดมุ่งหมายเป็นการประการแรก แต่ความต้องการ ของมนุษย์ไม่เคยมีขีดจำกัด ความต้องการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นแรงผลักดันให้มีการสร้างผลิตผลอย่าง
ต่อเนื่อง หากพิจารณาสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรามีสิ่งที่สิ่งที่มีความเป็นต้องการดำรงชีวิต เช่นที่พักอาศัย เครื่องนุ่งห่ม และสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต สำหรับการแก้ปัญหาตามความเหมาะสม การที่ ได้ทางเลือกที่จะใช้แก้ปัญหา เป็นสิ่งที่ต้องใช้กระบวนการสร้างสรรค์ อันเป็นทักษะเฉพาะสำหรับการ ทำงานแต่ละอย่าง อาจกล่าวได้ว่ามนุษย์ออกแบบเข้ามานี้ หากนำมาจัดจำพวกเข้าด้วยกันแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ การออกแบบระบบ (System Design) หมายถึง การออกแบบลักษณะการจัดวางระบบหรือ ระเบียบแบบแผน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างงานระดับนี้ที่ไม่ รูปธรรม เช่น การจัดการด้านการบริหารองค์การหรือหน่วยงานและในงานที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ไฟฟ้า ในอาคาร การออกแบบสภาพแวดล้อม (Environmental Design) หมายถึง การออกแบบในลักษณะ การสร้างสิ่งต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมของมนุษย์ ตั้งแต่การวางซึ่งนับเป็นสภาพแวดล้อมขนาดใหญ่ จนถึงออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบสิ่งของ (Artefact Design) หมายถึง การออกแบบข้างของเครื่องใช้ที่สัมผัส โดยตรงกับมนุษย์และเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อม ถ้าเปรียบเทียบกับการออกแบบระบบและ สภาพแวดล้อม จะพบว่าการออกแบบสิ่งของเกี่ยวข้องและอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์มากกว่า มีนาดเล็กกว่า และเป็นงานที่มีความลึกซึ้งในแง่ของรูปทรง การใช้สอยและผลิตซึ่งทำได้ทั้งในรูปงานหัตถกรรม และ อุตสาหกรรม งานออกแบบในกลุ่มนี้มีความหลากหลายกันมาก จึงมีการจัดจำแนกเพื่อให้ครอบคลุมผ งานได้ครบถ้วน 5.3 ส่วนประกอบของการออกแบบ ส่วนประกอบของการออกแบบ โดยมีส่วนประกอบหลาย ๆ อย่าง จะรวมตัวกันเป็นผลงาน ส่าวนที่สวยงามหรือน่าสนใจนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพในการปฏิบัติงานของผู้ออกแบบเอง ซึ่งจะได้ กล่าวถึงต่อไป 5.3.1 จุด (Dot) เมื่อเรากล่าวถึงจุดในความหมายทั่ว ๆ ไป เราจะเข้าใจถึงส่วนที่เล็กที่สุดใน ที่ใดที่หนึ่ง เช่น จุดบนกระดาษ บนผ้า หรือบนพื้น จุดทางการออกแบบอาจจะเป็นส่วนที่เล็กที่สุดหรือ ใหญ่ก็ได้นาทงการออกแบบสามมิติจุดอาจมีปริมาตรได้ด้วย เช่น จุดในงานโครงสร้าง งานโมบิล หรือ งานปะติมากรรม เมื่อเราพบจุดงานออกแบบ จุดอาจบอกถึงขนาดตำแหน่ง และแรงดึงดูด จุดจะทำหน้าที่ในงานออกแบบ ได้ 3 ทาง คือ 1. เป็นรูปร่างด้วยจัวของมันเอง
2. เป็นเส้นประที่เชื่อมสายตาด้วยจุดที่ต่อกัน 3. นำมารวมกันเพื่อสร้างรูปที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะเป็นรูปร่างที่มีค่าน้ำหนักสีเทาและมีผิวหยาบที่ มองเห็นได้ 5.3.2 เส้น เส้นทีอยู่ทุกส่วนในโลกนี้ จากเส้นขอบฟ้าไปจนถึงเส้นละเอียดอ่อนของใขไม้ ก้างปลา ใย แมง มุมเส้นแนวตั้งที่แข็งแรงของอาคาร แต่เส้นที่ใช้ในการวาดภาพ ซึ่งเกิดจากการเขียนด้วยดินสอ พู่กัน ฯลฯ เส้นเหล่านี้ย่อมแสดงถึงอารมณ์ คำจำกัดของเส้น 1. เส้นเกิดจากจุลที่ต่อกันในทางยาวหรือเกิดจากร่องรอยของจุดที่ถูกแรงแรงหนึ่งผลักดันให้ เคลื่อนที่ไป เส้นขั้นต้นที่เป็นพื้นฐานจริงๆ มี 2 ลักษณะ คือ เส้นตรง กับเส้นโค้ง เส้นทุกชนิดเรา สามารถจะแยกออกเป็นเส้นตรงกันเส้นโค้งได้ทั้งสิ้น เส้นลักษณะอื่น ๆ ที่เราเรียกว่า เส้นชั้นที่ 2 ล้วน เกิดจากการประกอบกันข้าวของเส้นตรงและเส้นโค้ง เช่น เส้นตรงแล้วเส้นโค้งสลับกัน 2. เส้นเป็นขอบเขตของที่ว่าง ขอบเขตของสิ่งของ ขอบเขตของรูปทรง ขอบเขตของน้ำหนัก แบะขอบเขตของสี 3. เส้นเป็นขอบเขตของกลุ่ม สิ่งของ หรือรูปทรงที่รวมกันอยู่เป็นเส้นโครงสร้างที่เห็นได้ด้วย จินตนาการ 5.3.3 พื้นผิว พื้นผิว หมายถึง ส่งที่ตาเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยมือระนาบผิวตอนหน้าหรือรอบๆวัตถุซึ่งมี ลักษณะต่างๆกัน เช่น หยาบ ละเอียด ขรุขระ ด้าน มัน เรียบ เนียน เป็นต้น นอกจากจะหมายถึง พื้นผิวของวัตถุสิ่งของแล้วยังหมายถึงความรู้สึกของการสัมผัส แม้จะไม่ได้จับต้องสิ่งของนั้น ๆ แต่ ความจำของคนทำให้เกิดปฏิกิริยาทางความรู้สึก หรือเกิดความรู้สึกในการสัมผัสเมื่อมองเห็นสิ่งที่มี ความแตกต่างของความมืดและความสว่างจะทำให้รู้สึกถึงพื้นผิวไปพร้อมๆกัน 5.3.4 สี มีคุณสมบัติที่สำคัญเป็นพิเศษ คือ ดึงดูดสายตาและทำให้เกิดอารมณ์ร่วม จากการศึกษา ความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าคนเราให้ความสนใจกับภาพสีมากกว่าภาพขาวดำแต่ ศิลปะบางอย่างไม่มีสี ศิลปินบางคนปฏิเสธที่จะใช้ลักษณะพิเศษของสี อย่างไรก็ดีการใช้สีเป็นสิ่งสำคัญ อย่างมากของศิลปะในสมัยนี้ อันที่จริงโลกในปัจจุบันมีการใช้สีกันอย่างกว้างขวาง แทบจะกล่าวได้ว่า อยู่ท่ามกลางการปฏิวัติของสีทีเดียว สมัยก่อนเห็นว่าห้องครัวสเหลืองไม่เหมาะสมเพราะสีเหลืองไม่
ควรเกี่ยวกับอาหาร แต่สมัยนี้กลับมความเห็นว่าสีเหลืองช่วยกระตุ้นน้ำย่อยและทำให้อยาก รับประทานอาหาร การใช้สี การใช้สีมีอยู่ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ การใช้สีกลมกลืนกับการใช้สีตัดกันแต่จะใช้ให้กลมกลืนหรือตัด กันเพียงไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับจุดหมายของศิลปินแต่ละคนในงานแต่ละงาน การใช้สีก็ เช่นเดียวกับการ ใช้ทัศฯธาตุอื่น ๆ ถ้ากลมกลืนจนเดินไปก็จะจืดชืดและน่าเบื่อ ถ้าตัดกันมากเกินไปก็เกิดความขัดแย้ง สับสนจนทนไม่ได้ การใช้สี 2 วิธีนี้ยังพอแยกออกได้ 7 แบบ คือ 1. สีเอกรงค์ (Monochrome) ได้แก่ การใช้สีสีเดียวที่มีน้ำหนักอ่อนแก่หลายลำดับ เป็นการ ใช้สีกลมกลืนแบบสีเดียว 2. สีข้างเคียง เป็นการใช้สีกลมกลืนแบบ 2 สี หรือ 3 สี 3. สีตรงข้าม เป็นการใช้สีตัดกันอย่างแท้จริง 4. สีเกือบตรงข้าใ เป็นการตัดกันของสีไม่ใช่คู่สี 5. สีตรงข้าม 2 คู่เคียงกัน เป็นการใช้สีที่ตัดกันน้อยกว่าวิธีที่ 3 เพราะมีสีข้างเคียงที่กลมกลืน กันอยู่ด้วย 6. สี 3 เส้า เป็นการใช้สีที่ตัดกันด้วยความเป็นแม่สี มีความเด่นอยู่ในตัวของทุกสี 7. สี 4 เส้า เป็นการใช้สีตัดกันอย่างแท้จริงถึง 2 คู่ แต่ยังตัดกันน้อยกว่าวิธีที่ 3 เพราะยังมสี ข้างเคียงที่พอจะเป็นตัวกลางให้เข้ากันได้บ้าง เช่น เหลืองสมกับแดง หรือเหลืองส้มกับเขียว แดงกับ ม่วง หรือแดงกับเหลืองส้ม 5.3.5 รูปทรง รูปทรงเป็นปัจจัยที่สำคัญในงานออกแบบ รูปทรงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในความคิดหรือในใจ ของนักออกแบบ มีลักษณะเป็นนามธรรมโดยการคาดการณ์สำหรับนำไปใช้ในอนาคต จนเมื่อความคิด นี้ถูกจัดขึ้นโดยวิธีการจัดเรียง สับเปลี่ยนและโยกย้ายวัสดุต่าง ๆ จงเกิดเป็นตัวตนรูปทรงที่เป็นรูปธรรม ขึ้น แหล่งที่มีของความคิดเกี่ยวกับรูปทรงนี้มีพัฒนาการมาได้จากหลายตำแหน่งตั้งแต่การเกิดพลุ่มขึ้น เองในจินตนาการความคิดขงนักออกแบบ อันเป็นผลจากได้รับรู้ข้อมูล หรือมีประสบการณ์โดยตรง สะสมอยู่ในส่วนลึกของจิตสำนึกมาเป็นเวลานาน รอโอกาสอันเหมาะสมที่จะเปิดเผบขึ้นมา นอกจากนี้ รูปทรงที่เกิดขึ้นในความนึกคิดยังอาจมีที่มาจากความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถูกปลูกฝังมา ตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ความเชื่อเหล่านี้ทำหน้าที่ให้ขอบเขตทางความคิดเกี่ยวกับรูปทรง ทำให้นัก ออกแบบเลือกใช้ลักษณะรูปทรงที่มีความสอดคล้องกับสิ่งที่ได้รับการสั่งสอนมา เช่น ช่างทอผ้าชาว
อีสานจะทอธงเพื่อถวายวัดในงานบุญผเวศด้วยการทอชิดลวดลายที่มีรูปทรงตามเรื่องราวในพระ เวสสันดรชาดก ลักษณะรูปทรงต่าง ๆ ที่มีปรากฏอยู่ทั่วไปสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. รูปทรงเรขาคณิต เป็นรูปทรงที่เกิดขึ้นตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ มีลักษณะง่ายต่อการจดจำปรากฎให้เห็น สิ่งที่ของมนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาคาร เครื่องเรือน เครื่องจักร ของใช้นานาชนิดรูปทรงเรขาคณิตไม่ เพียงแต่จะเป็นผลงานประดิษฐ์ของมนุษย์เท่านั้นในธรรมชาติก็จะพบเห็นได้เช่นกัน เช่น ผลึกรูป เหลี่ยมของแร่ต่าง ๆ ใบไม้รูปสามเหลี่ยม เปลือกหอยรูปกลมหรือกรวยแหลม และรังผึ้งรูปหกเหลี่ยม เป็นต้น 2. รูปทรงธรรมชาติ คือ รูปทรงที่เลียนแบบสิ่งที่เกิดขึ้งเองในธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งสิ่งมีชีวิตได้แก่ มนุษย์ สัตว์และพืช ตลอดจนสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่องค์ประกอบแระปรากฎการณ์ทางภูมิศาสตร์ เช่น ภูเขา แม่น้ำ พระ อาทิตย์ขึ้น และฝนตก เป็นต้น ดังนั้นรูปธรรมชาติจึงมีได้กว้างขวางหมากหลายลักษณะรูปทรง ธรรมชาติสร้างความรู้สึกกลมกลืนใกล้ชิดมนุษย์ได้ดีกว่ารูปทรงชนิดอื่นๆ แต่จะพบงานออกแบบที่ใช้ รูปทรงธรรมชาติได้น้อยกว่า เนื่องจากมีความยุ่งยากต่อการผลิตด้วยเครื่องจักร เครื่องมือ Art Nouveau เป็นสไตล์ที่นำรูปทรงธรรมชาติมาใช้ในงานออกแบบตั้งแต่ลวดลายประดับจนถึงงาน ตกแต่งภายใน 5.4 กระบวนการออกแบบ พัฒนาการของกระบวนการออกแบบ มีคำจำกัดความของการออกแบบอันหนึ่งที่ กล่าวว่า การออกแบบ คือ กิจกรรมการแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ (Design is a goal-directed problem-solving activity Archer , 1965) จากคำจำกัดความแสดง ให้เห็นว่าในการออกแบบ จะเริ่มจากการมีปัญหา มีการตั้งเป้าหมายที่มาจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มี กิจกรรมการทำงานเพื่อแก้ปัญหาจากงานออกแบบและรวบรวมผสมผสานให้บรรลุตวามความ ประสงค์ที่กำหนดไว้ ในอดีตผู้ที่ทำหน้ที่ออกแบบแลผลิตผลงานการออกแบบของตนมักอยู่ในตัวคน เดียว และผลิตสนองความต้องการให้ได้ครบถ้วน จึงทำให้เกิดเป็นอาชีพนักออกแบบขึ้น ผู้ที่ทำหน้าที่ นี้มักเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาและฝึกฝนมาโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงวิธีการทำงานออกแบบในอดีต ที่ผ่านมาจึง จำแยกออกได้เป็น 2 ลักษณะ 1. วิธีการของช่างฝีมือ เป็นวิธีการงานโดยการลองผิด-ลองถูกของช่างฝีมือด้วยความคุ้นเคย กับปัญหาในงานชองตน ช่างฝีมือจะจัดการแก้ไขปัญหาอย่างได้ผลตรงจุดนั้น โดยการค่อยปรับเปลี่ยน
ช่างฝีมือได้รับการฝึกฝนขณะทำงานเป็นลูกมือมาก่น จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการ วัสดุและ กรรมวิธีการผลิตสะสมไว้อยู่ในความทรงจำ เนื่องจากไม่มีการบันทึกแลพการวาดภาพเก็บไว้เป็น หลักฐาน ดังนั้น การพัฒนาในงานออกแบบจึงกินเวลาเนื่องจากไม่มีการบันทึกและวาดภาพเก็บไว้เป็น หลักฐาน ดังนั้น การพัฒนาในงานออกแบบจึงกินเวลานาน 2. วิธีการของช่างเขียนแบบ เป็นวีการทำงานที่ใช้แบบเป็นศูนย์กลางในการคิด การปรับปรุงและการพัฒนาแบบ เนื่องจาก ในการทำงานที่มีความซับซ้อนและมีขนาดใหญ่มากขึ้น เช่น การออกแบบอาคารหรือเดินสมุทร เป็น ต้น จำเป็นต้องการแบ่งงานออกเป็นแผนกตามความถนัดของแรงงาน ลักษณะสำคัญของการเขียนแบบ กระบวนการออกแบบอย่างเป็นระบบเป็นวิธีการออกแบบที่ช่วยลดความผิดพลาดในการ ทำงาน และมีความเหมาะสมกับการแก้ปัญหาในงานออกแบบสมัยใหม่ โดยเฉพาะปัญหาที่มีข้อมูล เป็นปริมาณมากเป็นโจทย์ที่ต้องการผู้ร่วมงานจากต่างสาขา และเป็นงานออกแบบที่ต้องการความ ริเริ่มสร้างสร้างสรรค์ในระดับสูง กระบวนการออกแบบอย่างเป็นระบบมีลักษณะสำคัญดังนี้ 1. การพยายามทำให้การออกแบบเป็นวิธีการีที่เปิดเผยมีการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงานเกิดความเข้าใจและสามารถมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลคำแนะนำและ เสนอแนะวิธีแก้ไขปัญหาแทนที่จะเป็นการทำงานของนักออกแบบตามลำพัง 2. ให้ความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์ด้วยการแบ่งแยกการทำงานออกเป็นขั้นตอน เป็นการ กระจายงานออกจากัน เมื่อทำงานถึงแต่ละขั้นตอนก็สามารถพุ่งความสนใจจดจ่ออยู่เฉพาะขั้นตอนนั้น ได้ อย่างเป็นอิสระจากขั้นตอนอื่นๆ ลดความสับสนในการใช้ความคิดต่องานทั้งหมด 3. การทำงานแม้จะมีการแบ่งออกเป็นขั้นตอนแต่ในขณะปฏิบัตินั้นไม่สามารถแยกแต่ละ ขั้นตอนอย่างเด็ดขาดจากกัน ขั้นตอนต่าง ๆ มีความต่อเนื่องและคาบเกี่ยวกัน จนบางครั้งไม่สามารถ กำหนดจุดเริ่มต้น และจุดจบของแต่ละขั้นตอนได้อย่างชัดเจน 4. มีระบบกรจดบันทึกอย่างละเอียดในแต่ละขั้นตอนจึงมีหลักฐานบันทึกเก็บไว้ช่วยให้ง่ายต่อ การทบทวนหา ตรวจสอบ และแก้ไขเมื่อเกิดความผิดพลาด
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา เรื่อง เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง ซึ่งมีวิธีการ ดำเนินการ ดังนี้ 3.1 วัสดุอุปกรณ์ 3.2 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง 3.3 ตัวแปร 3.4 สมมิตฐาน 3.5 เครื่องมือที่ใช้ 3.6 ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.7 การวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 วัสดุอุปกรณ์ ภาพที่ 4 วัสดุ อุปกรณ์ - เตาไฟฟ้า - แม่พิมพ์ดอกไม้ และวงกลม - หม้อขนาด 1 ลิตร - พาราฟิน - กระบวย - น้ำหอมสมุนไพร กลิ่นตะไคร และมะกรูด - มีดขนาดใหญ่และเล็ก - สีเทียน - เขียง - ไส้เทียน - ตะไคร้ - เจลเทียน - มะกรูด - โหล - ช้อน - แก้วขนาดเล็ก 3.2 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง 3.2.1 ประชากร นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานี 3.2.2 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานีจำนวน 20 คน สุ่มตัวอย่าง 3.3 ตัวแปร 3.3.1 ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
3.3.2 ตัวแปรตาม สามารถไล่ยุงจากจากจุดเทียนมีกลิ่นจากมะกรูดและตะไคร้จากสมุนไพรธรรมชาติ 3.3.3 ตัวแปรควบคุม พาราฟิน 1500 กรัม ตะไคร้ 500 กรัม มะกรูด 1000 กรัม 3.4 สมมติฐานการทดลอง 3.4.1 เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงสามารถไล่ยุงมีกลิ่นของสมุนไพรจากตะไคร้และมะกรูดจาก ธรรมชาติป้องกันการถูกยุงกัดจากกลิ่นสมุนไพรที่เป็นธรรมชาติ 3.4.2 ผู้ตอบแทนสำรวจมีความพึงพอใจต่อเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงในระดับดี 3.5 เครื่องมือที่ใช้ การศึกษานี้ใช้แบบสำรวจการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างการสร้างแบบสำรวจที่ได้จาก การศึกษาแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 3.5.1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแบบสำรวจ 3.5.2 ความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ 3.5.3 ข้อเสนอแนะ 3.6 ขั้นตอนการดำเนินงาน 3.6.1 กำหนดปัญหา สาเหตุ และการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย - ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง 3.6.2 ดำเนินการทดลอง ภาพที่ 5 หั่นตะไคร้ และกรูด และซอยจนละเอียดใช้ในการหลอมและนำไปตากแดดอย่งละครึ่ง
ภาพที่ 6 จัดเตรียมพาราฟินหั่นให้เล็กเพื่อทำการละลายให้เหลว ภาพที่ 7 นำพาราฟินใลงหม้อเพื่อทำการละลาย โดยใช้เตาไฟฟ้าในการหลอม
ภาพที่ 8 จัดเตรียมมะกรูดโดยใช้ผิวเป็นส่วนผสมสำหรับละลายและนำไปตากแดดอย่างละครึ่ง ภาพที่ 9 เมื่อละลายพาราฟินที่มีส่วนผสมของตะไคร้และมะกรูดแล้ว นำเทใส้ภาชนะเพื่อใส่สีเทียน ตามต้องการเพื่อความสวยงาม
ภาพที่ 10 นำพาราฟินหรือน้ำเทียนเทใส่ลงบนพิมพ์ ภาพที่ 11 เทียนหอมสำหรับไล่ยุงโดยมีสันที่สวยงามสำหรับนำใส่ลงในขวดแก้ว
ภาพที่ 11 เทียนหอมสำหรับไล่ยุงสีขาวธรรมชาติบรรจุลงในขวดโหล ภาพที่ 12 เทียนสมุนไพรไล่ยุงใส่ไส้เทียนสัสีนสวยงามสามารถใช้งานได้จริง
ภาพที่ 13 นำเทียนที่ทำการหล่อและแข็งตัวนำลงกล่องเพื่อทำการอบกลิ่นมะกรูดและตะไคร้ ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 วัน ภาพที่ 14 นำผิวมะกรูดและตะไคร้ลงในภาชนะที่เตียตัวพร้อมกับเทียนหอมไล่ยุง ภาพที่ 15 พร้อมใช้งาน 3.7 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพของเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนค่าเฉลี่ย 1.00-1.80 หมายถึง ระดับความพึงพอใจ ควรปรับปรุง
คะแนนค่าเฉลี่ย 1.00-1.80 หมายถึง ระดับความพึงพอใจ ควรปรับปรุง คะแนนค่าเฉลี่ย 1.00-1.80 หมายถึง ระดับความพึงพอใจ ควรปรับปรุง คะแนนค่าเฉลี่ย 1.00-1.80 หมายถึง ระดับความพึงพอใจ ควรปรับปรุง คะแนนค่าเฉลี่ย 1.00-1.80 หมายถึง ระดับความพึงพอใจ ควรปรับปรุง บทที่ 4
ผลการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาได้ดำเนินการวอเคราะห์ข้อมูลและเสนอผลการงวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับ ดังนี้ 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ศึกษาถึงปัจจัยเทียนที่มีผลตอการเกิดน้ำตาเทียนเมื่อทำการทดลองเบื้องตนเพื่อหาขนาดไส เทียนที่เหมาะสมกับขนาดเสนผ่านศูนย์กลางกลางของเทียนหอม ซึ่ได้กำหนดขนาดเสนผานศูนย์กลาง ของเทียนเป็น 3 มิลลิเมตร และสวนขนาดไสเทียนเป็น 6 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดของเทียนหอม ลักษณะแบบแทงชนิดทรงกระบอก โดยสังเกตจากปริมาณน้ำตาเทียนที่เกิดขึ้น และน้ำหนักของเทียน ระหว่างการเผาไหมทุกๆ 1 นาที่เป็นเวลา 40 นาทีหรือจนกวาจะเกิดน้ำตาเทียน เพื่อหาอัตราการเผา ไหมของไสเทียนในแต่ละขนาด ผลการทดลองหาขนาดไสเทียนโดยการจุดเทียนภายในเวลาที่กำหนด 40 นาทีพบวขนาดไส เทียน 3 มิลลิเมตร เกิดการเผาไหมทำใหเกิดน้ำตาเทียน ที่ขนาดเสนผ่านศูนย์กลางของเทียน 3 มิลลิเมตร และที่ขนาดไสเทียน 2.00 mm. ไม่ทำให้เกิดน้ำตาเทียน ที่ขนาดเสนผ่านศูนย์กลางกลางของ เทียน 25 mm. เมื่อพิจารณาอัตราการเผาไหมพบวามีอัตราการเผาไหมที่ใกลเคียงกัน และทำใหสังเกต ถึงการถึงอัตราการเผาไหมตอการเกิดน้ำตาเทียนดวาถาอัตราการเผาไหมมีคาน้อยเกินไปจะทำให้เกิด น้ำตาเทียนขึ้น
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุปผลการทดลอง จากการทดลองเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง พบว่าการทดลองนั้นประสบผลความสำเร็จสามารถ นำมาใช้ได้ตามกระบวนและขั้นตอน ส่วนผสมทั้งหมด ได้แก่ พาราฟิน ตะไคร้ มะกรูด น้ำหอม สีเทียน เจลเทียน เป็นต้นเป็นไปตามหลักของสมมติฐาน ผลการสำรวจพบว่า ผู้ตอบความสำรวจพึงพอใจนั้นอยู่ในระดับดีมากสามารถใช้งานได้จริง มี กลิ่นสมุนไพรที่มีตะไคร้และมะกรูดเป็นส่วนผสมสำหรับใช้ในการไล่ยุงตามวิธีธรรมชาติได้จริง อภิปรายผล เทียนไขเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการให้แสงสว่าง แต่ในระยะเวลาต่อมา เทียนไขได้ถูกทดแทนด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านพลังงานแสงสว่างจากกระแสไฟฟ้า ทำให้บทบาทเทียนไขที่มีต่อชีวิตประจำวันของผู้คนลดน้อยลง และเปลี่ยนสถานะจากสิ่งของจำเป็นไป เป็นสิ่งของตกแต่ง ซึ่งทำให้มีการพัฒนาทางด้านรูปแบบสีสันของเทียนให้มีความสาวยงามมากขึ้น นอกจากนี้ปัจจุบันมีการดัดแปลงจากเทียนที่ให้แสงสว่างธรรมดามาผสมกลิ่นสมุนไพรต่าง ๆ เพิ่มลงไป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้มากขึ้น โดยการนำกลิ่นสมุนไพรต่าง ๆ เช่น กลิ่นตะไคร้ มะกรูด มะนาว อบเชย เป็นต้น เข้ามาผสมและวัตถุประสงค์ในการใช้สอยเพิ่มขึ้นจากเดิม เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงมีมากมายหลายแบบหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเน้นไปทาง เรื่องของ อาหารจึงได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะชาวต่างชาติ เทียนหอมไล่ยุงจึงมีความโดดเด่นแตกต่างกันไป ในเรื่องของสภาวะอารมณ์และจิตใจของมนุษย์เรื่องของการดำรงชีวิตและสุขภาพการป้องกันโรคจาก ยุงที่เป็นพาหะ เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงมีหลากหลาย เข่น เทียนหอมจากสมุนไพรจากมะกรูดและ ตะไคร้ โดยทำออกมาเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ดอกกุหลาบ ดอกทานตะวัน ดอกเดซี่เพื่อให้มีความดึงดูด และความสวยงาม
ข้อเสนอแนะ สมุนไพรชนิดอื่นสามารถทำเทียนไล่ยุงได้ เช่น ขิง ข่า สาะแหน่ เอกสารอ้างอิง กัลยา วานิชยบัญญา. การวิเคราะหสถิติ: สถิติสําหรับการบริหารและวิจัย. สํานักพิมพแหง จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ, 2549. เจษฎา ทิพยมณเฑียร. การประยุกตใชการออกแบบการทดลอง เพื่อการปรับปรุงคุณภาพ กระบวนการบรรจุ และปดผนึกบรรจุภัณฑในการผลิตซอสผลไม : วิทยานิพนธวิศวกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา วิศวกรรมอุตสาหการ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกลาพระนครเหนือ, 2546. ธนียา รัตนพัทยากร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลของผู้บริโภคตอการตัดสินใจซื้อเทียนหอมตำบลทาผาอำเภอ เกาะคา จังหวัดลำปาง : กรณีศึกษาผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือจงหวัดลำปาง.มหาวิทยาลัยราชภัฏ ลําปาง, 2546 วิภาวีภัทรวุฒิพร. รายงานสถานการณการตลาดเทียนไข (Candles) ของสหราชอาณาจักร.สำนัก สงเสริม การคาในตางประเทศ ณ กรุงลอนดอน, 2547.
ภาคผนวก
ภาพขณะปฏิบัติงาน
ประวัติผู้ศึกษา
ประวัติผู้ศึกษา
ชื่อ:น.ส. พิมพ์ลภัส สกุล สวยเอี่ยม วัน/เดือน/ปี เกิด:8/สิงหาคม/2549 ภูมิลำเนา:31/19ม.3 ต.บางกระบือ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ประวัติการศึกษา:ระดับชั้นมัธยมตอนต้น:โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าปทุมธานี ปัจจุบัน:กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานี
ประวัติผู้ศึกษา ชื่อ : นางสาว ณิชกานต์ นุชเนตร วัน/เดือน/ปีเกิด : 24 กรกฎาคม 2548 ภูมิลำเนา : 68/1 หมู่1 ต.คลองควาย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
ประวัติการศึกษา : ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานี ปัจจุบัน : กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานี ประวัติผู้ศึกษา
ชื่อ : นส.กัญญานัฐ ทุงจันทร์ วัน/เดือน/ปีเกิด : วันที่ 9 เดือน มิถุนายน 2548 ภูมิลำเนา 33 หมู่ที่ 3 ต.พระเพลิง อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว ปณ.2700 ปัจจุบัน69 หมู่6 ต.โคกช้าง อ.บางไทร จ.อยุธยาปณ.13190 ประวัติการศึกษา : ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานี ปัจจุบัน : กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานี ประวัติผู้ศึกษา
ชื่อ : กาญดา โสระสะ วัน/เดือน/ปีเกิด 20 ธันวาคม 2548 ภูมิลำเนา : 8/1ม.4ต.บ้านม้าอ.บางไทรจ.พระนครศรีอยุธยา ที่อยู่ปัจจุบัน : 8/1ม.4ต.บ้านม้าอ.บางไทรจ.พระนครศรีอยุธยา ประวัติการศึกษา : ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานี ปัจจุบันกำลังปัจจุบัน :ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อม เกล้าปทุมธานี
ประวัติผู้ศึกษา ชื่อ-นามสกุล กฤษดา เดชมี วัน เดือน ปี เกิด 29/06/2548 ภูมิลำเนา - หมู่ 10 ต.คลองหนึ่ง.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ที่อยู่ปัจจุบัน - หมู่10 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ประวัติการศึกษา : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าปทุมธานี ปัจจุบัน : กําลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ปทุมธานี