The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ทำนองสวดพระพิธีธรรม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jasonjainan, 2021-09-16 11:35:24

ทำนองสวดพระพิธีธรรม

ทำนองสวดพระพิธีธรรม

///////1

การสวดพระอภิธรรมและทำนองการสวดพระพิธีธรรม
ทำนองหลวง ๑๐ พระอาราม

กลมุ่ อำนวยการพิธีการศพท่ีได้รับพระราชทานท่ี ๑๔ พังงา
นายเจนณรงค์ ใจแน่น
นกั วชิ าการวัฒนธรรม
รวบรวมเรียบเรียง

๑ ///////2

การสวดพระอภธิ รรม

การสวดพระอภิธรรม เป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่ถือเป็นธรรมเนียม
หรือประเพณีที่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนใช้เป็น พิธีบำเพ็ญกุศลที่เกี่ยวเนื่องกับศพ
หรือผู้ตาย ซึ่งเจ้าภาพจะนิมนต์ พระสงฆ์ จำนวน ๔ รูป ไปสวดยังสถานที่ตั้งศพผู้ตาย
โดยมากจะเป็น เวลาช่วงค่ำๆ หรือตอนกลางคืนตามที่เจ้าภาพสะดวก (หากเป็นพระศพ
ของเจ้านายจะจัดให้มีการสวดทั้งกลางวันและกลางคืนตามจำนวนวันที่ กำหนด)
พระสงฆ์ที่นิมนต์สวดถ้าเป็นศพของผู้ตายที่เป็นสามัญชน ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ทั่วไป
จำนวน ๔ รูป มาสวด แต่ถ้าเป็นศพของบุคคล หรือข้าราชการผู้ใหญ่ที่ได้รับพระบรมรา
ชานุเคราะห์จากสถาบัน พระมหากษัตรยิ ์ ตลอดจนพระศพเจ้านาย สำนักพระราชวังจะ
มีหมายรับสั่ง ให้กรมการศาสนาวางฎีกานิมนต์ “พระพิธีธรรม”ซึ่งมีอยู่
๑๐ สำรับๆ ละ ๔ รูป ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสพระอารามหลวง
๑๐ พระอาราม คอื

๑. วดั พระเชตพุ นวมิ ลมังคลาราม

๒. วดั มหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

๓. วัดสุทัศนเทพวราราม

๔. วดั บวรนิเวศวิหาร

๕. วดั สระเกศ

๖. วดั ราชสิทธาราม

๗. วดั ระฆังโฆสิตาราม

๘. วดั จักรวรรดริ าชาวาส

๙. วัดประยุรวงศาวาส

๑๐. วดั อนงคาราม

๒ ///////3

บทสวดพระธรรม

บทสวดพระธรรมที่ใช้สวด พระอภิธรรมน้ัน มีหลายบท เช่น บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ บทสวด
พระธรรมใหม่ บทสวดพระอภธิ รรมมตั ถสังคหะ บทสวดสหัสนยั และบทสวดมนต์แปล (ซง่ึ เป็นบทสวดสำหรับ
วัดที่มีฌาปนสถาน ให้พระสงฆ์ที่ทำหน้าที่สวดได้ ฝึกหัดแล้วนำไปสวด เพื่อให้พุทธศาสนิกชนท่ีมาร่วมฟังสวด
ได้เข้าใจในคำสวดมากขึ้น) แต่บทสวดหลักที่ใช้สวดทั่วๆ ไป คือ บทสวด พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ซึ่งตามข้อ
สันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ว่า เหตุผลที่ใช้บท พระ
อภิธรรมสวดในงานศพนั้น คงจะสืบเนื่องมาจากคำอธิบายในหนงั สือ ปฐมสมโพธขิ องสมเด็จฯกรมพระปรมานุ
ชิตชิโนรส ตอนเทศนาปริวัตร ปริเฉทที่ ๑๗ กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองคเ์ สดจ็ ขึ้นไปยังดาวดงึ ส์พิภพ ทรงปรารถ
จะประทานพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา ทรงพิจารณาว่า คำสง่ั สอนของพระองค์ที่ทรงจัดไว้เป็นพระ
สูตร พระวินัย พระอภิธรรม ใน ๓ ปิฎก ควรจะแสดงพระปิฎกไหนเมื่อทรงพิจารณาไปก็ทรงเห็นว่า พระคุณ
ของมารดาที่ใหญ่ยิ่งกว่าภูเขาหลวง หลายพันเท่า พระสูตร พระวินัย ไม่พอที่จะแสดงทดแทนได้ ทรงเห็น แต่
พระอภิธรรมปิฎกอย่างเดียว ที่พอจะเทศนาทดแทนได้เท่านั้นเพราะ เหตุนี้กระมัง ท่านโบราณจารย์จึงใช้บท
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์เป็นบทสวดในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ผู้ตาย ซึ่งถือว่าผู้ที่เป็นทายาทได้ แสดงออกซ่ึง
ความกตญั ญกู ตเวทีต่อบคุ คลทตี่ นเคารพ และสถานท่ี ท่พี ระพุทธองคท์ รงเลือกแสดงธรรมเพื่อโปรดพทุ ธมารดา
ซึ่งอุบัติเป็นเทพบุตรอยู่ชั้นดุสิตจะได้ฟังธรรมด้วย และพระธรรมที่พระพุทธองค์ แสดงโปรดพุทธมารดาก็คือ
“พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์” ซึ่งถือว่าเป็นหัวข้อ ธรรมที่ลึกซึ้งไม่เกี่ยวกับบุญบาป ไม่เกี่ยวกับคำชักชวนให้ไปเกดิ
ใน สวรรค์ และไม่เกี่ยวกับการโน้มน้าวจิตใจเพื่อให้เกิดความเชื่อความ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด
แต่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรม ที่เป็นธรรมล้วนๆ ที่เรียกว่า “อภิธรรม” จนสามารถทำให้พระพุทธมารดา
และเทวดาจำนวนมาก ได้ดวงตาเห็นธรรมและได้มรรคผล ซึ่งเป็นสาเหตุ ให้ประชาชนทั่วไป มักนิยมสร้าง
หนังสือพระอภิธรรมพร้อมตู้ใส่ไวต้ าม วัดตา่ งๆ เวลาการสวดพระอภธิ รรม ธรรมเนยี มของพทุ ธศาสนิกชน เมื่อ
มบี คุ คลตาย จะมีการนมิ นตพ์ ระสงฆส์ วดพระอภธิ รรม ๒ ช่วงเวลาคอื ช่วงเวลาท่ี ๑ เม่อื มีบุคคลตายลงเจ้าภาพ
จะจัดสถานที่ตั้งศพ และ นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน ๔ รูป ไปสวดพระอภิธรรมในช่วงเย็นหรือ กลางคืน ตาม
กำหนดวนั และเวลาท่เี จา้ ภาพสะดวกและมีความประสงค์ จะนิมนต์พระสงฆส์ วด แต่ปจั จุบนั วัดที่มฌี าปนสถาน
จะกำหนดเวลาสวด พระอภิธรรมไว้เป็นเวลาที่แน่นอน ช่วงเวลาที่ ๒ เริ่มสวดเมื่อเวลาเริ่มจุด ไฟเผาศพที่อยู่
บนเชิงตะกอนหรือบนจิตกาธาน หรอื ทเ่ี รยี กว่า การสวด หนา้ ไฟ ทำนองการสวด พระสงฆท์ ีน่ มิ นต์มาสวดพระ
อภธิ รรมในงานศพตา่ งๆ น้ัน ใช้ทำนองการสวดตา่ งกัน คือ

๑. ทำนองสังโยค เป็นการสวดเหมือนกับการสะกดตัว หนังสือประกอบคำอ่าน โดยสวดเป็นประโยค
เช่นเดียวกับทีพ่ ระสงฆ์ สวดพระพทุ ธมนตไ์ ปเร่ือยๆ ซึ่งพระสงฆจ์ ะใช้สวดในงานศพของ ประชาชนทั่วไป

๒. ทำนองหลวง เปน็ ทำนองสวดทม่ี ีระดับเสยี งสูงต่ำ เบาหนัก สั้นยาว ทีม่ ีลกั ษณะเปน็ ทำนองหลัก ซึ่งถือ
เป็นทำนองมาตรฐาน ของการสวดพระอภิธรรมของพระพิธีธรรม ซึ่งทำนองหลวงนี้จะแบ่งย่อย เพื่อเป็น
เอกลักษณข์ องบทสวดและวัด ซง่ึ พระครูกลั ยาณสทิ ธิวัฒน์ (สมาน กลยฺ าณธมฺโม) วดั ราชสิทธารามได้อธิบายไว้
ในหนังสือพระพิธธี รรมไวด้ งั นี้

๓ ///////4

การสวดทำนองหลวง

๒.๑ ทำนองกะ คือ ทำนองสวดที่มีลักษณะว่าลงตัว ชัดเจน และเอื้อนเสียงมีจังหวะหยุดเป็นวรรค ซึ่งมี ๒
ลักษณะ คือ กะเปิด มีการสวดเน้นการออกเสียงคำสวดชัดเจน และกะปิด เป็นการสวดเอื้อน เสียงยาว
ตอ่ เนอื่ งกนั ตลอดทัง้ บท

๒.๒ ทำนองเลื่อน คอื การสวดทม่ี ีการเอ้ือนเสยี งสวดยาว ต่อเนือ่ งกนั ตลอดทั้งบท ไม่เน้นความชัดเจนของคำ
สวด ซ่ึงบางคร้งั ก็เรยี ก กะเลือ่ น หรือ กะเคล่อื น

๒.๓ ทำนองลากซุง คือ การสวดที่มีการออกเสียงหนักลง ที่ทรวงอกทุกตัวอักษร โดยการลากเสียงเอื้อนจาก
หนักไปหาเบาว่าอย่าง นี้ตลอดทั้งบท เหมือนอย่างการลากซุงหรือลากสิ่งของที่หนัก จะมีเสียง เคลื่อนแรงใน
ช่วงแรกและเมอื่ ใกล้จะหมดกำลงั กจ็ ะเบาลง

๒.๔ ทำนองสรภญั ญะ คือ ทำนองแบบการสวดสังโยค สวดเปน็ รูปประโยค และหยดุ ตามรูปประโยคของฉันท
ลกั ษณ์ ซ่ึงจะมี การใชเ้ สียงเอ้อื นบา้ งเล็กนอ้ ยไม่ให้เสยี อกั ขระวธิ ี

ประวัติพระพิธธี รรม ๑๐ พระอาราม

พระพิธีธรรมในอดีตและในปัจจุบัน มีเฉพาะแต่ใน พระอารามหลวงเท่านั้น จะเป็นด้วยเหตุที่พระ
อารามเหล่าน้นั ตงั้ อยูใ่ กล้ พระบรมมหาราชวัง สะดวกในการนิมนต์มาสวดในงานของหลวงก็อาจ เปน็ ได้เพราะ
การเดนิ ทางในสมัยก่อนมคี วามลำบาก อกี ประการหนึ่ง คือ พระสงฆ์ทป่ี ระจำอยู่ในพระอารามหลวงเป็นผู้รอบ
รู้ขนบธรรมเนียม งานหลวง รู้วิธีการสวดวิธีการประกอบพิธีต่างๆ ดี ปัจจุบันนี้ตำแหน่ง พระพิธีธรรมที่ตั้งไว้
ประจำพระอารามตา่ งๆ มีจำนวน ๑๐ พระอาราม พระพิธธี รรมประจำพระอารามเหลา่ นั้น เริม่ มกี ารแต่งตั้งมา
แต่ครั้งใด ไม่มีหลักฐานปรากฎชัด แต่เนื่องจากวัดต่างๆ ที่มีพระพิธีธรรมปรากฏอยู่ ล้วนเป็นวัดที่ได้สถาปนา
ขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมยั รัตนโกสินทร์ ทั้งสิ้น ด้วยเหตุดังกล่าวนีพ้ อจะสันนษิ ฐานไดว้ ่า ตำแหน่งพระพิธี
ธรรม ในกรุงรัตนโกสินทร์นั้นน่าจะเริม่ มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ
จะมีเพยี งบางพระอารามเท่าน้ัน ท่ีมหี ลักฐานการเริ่มตงั้ ปรากฏชดั เช่น วดั สุทัศนเทพวรารามและ วัดบวรนิเวศ
วิหาร เปน็ ต้น

ประวตั ิพระพิธีธรรม ๑๐ พระอาราม มดี งั นี้

๑. พระพิธีธรรมวัดพระเชตุพนวมิ ลมังคลาราม ตามหลักฐาน ปรากฎตามทีส่ มเดจ็ กรมพระยาดำรงรา
ชานุภาพ ทรงมพี ระวินจิ ฉยั ว่า มีมาตั้งแต่สมยั ต้นกรุงรัตนโกสนิ ทร์ ตอ่ มา ปพี ุทธศกั ราช ๒๕๑๗ สมเด็จพระอริ
ยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖
คณะสงฆ์วัดนี้ ได้ จัดให้มีการบำเพ็ญกุศล จึงได้จัดพระสงฆ์ขึ้นอีก ๕ สำรับ เพื่อผลัดเปลี่ยน กันสวดทำนอง
หลวงถวายจนกระท่ังออกเมรุพระราชทานเพลงิ ตอ่ มาใน สมัยพระเดชพระคุณพระวิสุทธาธิบดี (สง่า ปภสฺสโร
ป.ธ.๘) ไดแ้ ต่งตงั้ พระพิธธี รรมขึน้ อย่างเปน็ ทางการ ซึง่ มีรายนามดังน้ี

๑) พระมหานิพนธ์ เขมโก ป.ธ.๗

๔ ///////5

๒) พระครพู ิพฒั น์บรรณกจิ (สว่าง มหาวโี ร)

๓) พระสม ญาณโสภโณ

๔) พระเด่นดวง

ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๔๙ พระมหานิพนธ์ เขมโก ป.ธ.๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชา
คณะ นามว่า พระศรีสมโพธิ (นิพนธ์ เขมโก ป.ธ.๗) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลักสี่ เขตหลักสี่
กรุงเทพมหานคร พระเดชพระคุณพระธรรมปัญญาบดี เจ้าอาวาส ในขณะนั้น จึงมีการแต่งตั้งพระสงฆ์ข้ึนมา
แทน คือ พระมหาวรวฒุ ิ ชิตธมโฺ ม ป.ธ.๗

พระธรรมใหม่ มี ๗ บท คือ อาสวโคจฉกะ สัญโญชนโคจฉกะ คันถโคจฉกะ โอฆโคจฉกะ โยคโคจฉกะ
นีวรณโคจฉกะ และเวทนโคจฉกะ

บทสวดที่พระพิธีธรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามใช้ใน ปัจจุบัน เป็นบทที่เรียกว่า พระอภิธรรม ๗
คัมภีร์ และ พระธรรมใหม่ ทำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ที่ใช้ในปัจจุบัน
ไดแ้ ก่ ทำนองกะ ทำนองเลื่อน และทำนองลากซุง

๒. พระพิธีธรรมวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สันนิษฐานได้ว่า เป็นพระพิธีธรรมที่มีการสืบทอดกันมา
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แต่หลักฐาน การแต่งตั้งนั้นไม่มีปรากฏแน่ชัด สำหรับพระพิธีธรรมวัดมหาธาตุยุวราช
รงั สฤษฎิ์ ใช้บทสวดและทำนองสวดดังนี้

บทสวดทีพ่ ระพธิ ธี รรมวดั มหาธาตยุ วุ ราชรังสฤษฎิ์ใช้ใน ปจั จุบนั เป็นบททเ่ี รยี กว่า พระธรรมใหม่๕ ทำนอง
การสวดของพระพธิ ีธรรมวดั มหาธาตยุ ุวราชรังสฤษฎ์ิ ทีใ่ ชใ้ นปจั จุบัน ได้แก่ ทำนองเลือ่ น และทำนองลากซุง

๓. พระพิธีธรรมวัดสุทัศนเทพวราราม ได้รับการแต่งตั้งในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้กล่าวถึง พระพิธีธรรมไว้ใน
การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๓๗ (พ.ศ.
๒๔๑๘) เมื่อเสด็จถึงวัด ทรงรับผ้าไตร เสด็จเข้าพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ พระรัตนตรัย
แล้วพระราชทานเทียนอุโบสถปาฏิโมกข์แก่พระองค์เจ้า โสณบัณฑิต เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ เจ้าหน้าที่ได้
กราบทลู จำนวนพระสงฆ์ ในอารามให้ทรงทราบ ไว้วา่ พระราชาคณะ ๒ รูป พระฐานานุกรม ๙ รูป พระเปรยี ญ
๓ รูป พระพิธีธรรม ๔ รูป พระอันดับเรียนคันถธุระ ๑๒ รูป พระอันดับเรียนวิปัสสนาธุระ ๓๕ รูป พระอันดับ
เรียนสวดมนต์ ๘๖ รูป รวมพระสงฆ์ท้ังหมด ๑๕๑ รูป จากนั้นทรงประกอบพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระพิธีธรรม
วดั สทุ ัศนเทพวราราม ในอดีตทพี่ อสบื คน้ ได้ มรี ายนาม พระพธิ ธี รรมดังตอ่ ไปน้ี

๑) พระญาณโพธิ (เข็ม)

๒) พระครศู พั ทสุนทร (เตมิ )

๓) พระครอู มรโฆสติ (จันทร)์

๔) พระครูวินยั ธรสนุ ทร

๕ ///////6

๕) พระครสู มุห์แสวง

๖) พระครูประทีปกิจจาทร

๗) พระครูพทิ กั ษถ์ ิรธรรม

๘) พระครสู วุ ัฒนประสิทธิ์

๙) พระมหาสทุ ัศน์

๑๐) พระมหาสุธน

๑๑) พระมหาเอราวัณ

๑๒) พระครพู มิ นสรภาณ (ณรงค์ เขมาราโม)

บทสวดทีพ่ ระพธิ ธี รรมวดั สทุ ัศนเทพวรารามใชใ้ นปัจจบุ ัน เป็นบทที่เรียกว่า พระธรรมใหม่ ทำนองการสวด
ของพระพิธธี รรมวัดสุทัศนเทพวราราม ท่ีใช้ในปัจจุบนั ไดแ้ ก่ ทำนองสรภัญญะ และทำนองกะ

๔. พระพิธีธรรมวัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับการแต่งตั้งขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชดำรใิ ห้เปล่ียน พระพธิ ธี รรมวดั โมลโี ลกเปน็ พระพธิ ธี รรมวัดบวรนเิ วศวิหารแทน ตอ่ มาในสมัยท่าน
เจ้าประคณุ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชริ ญาณวโรรส เหน็ วา่ ทำนองการสวดพระอภิธรรมของวัดนี้มี
การสวดเล่นเสียงชวนเศร้าสลด จึงเป็นเหตุให้ไม่รับนิมนต์งานพระบรมราชานุเคราะห์ ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาเมื่อ
วันพุธ ที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ สมเด็จ พระเจ้าพ่ีนางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้สิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรง
เสด็จพระราชดำเนนิ ในการสวดพระอภิธรรมเปน็ ประจำ มพี ระประสงค์ จะสดบั พระพิธธี รรมวดั บวรนเิ วศวิหาร
จงึ รบั ส่ังใหเ้ จ้าหนา้ ที่กรมการศาสนา อาราธนามาสวด ณ พระทน่ี ั่งดุสติ มหาปราสาท

บทสวดท่พี ระพิธธี รรมวัดบวรนิเวศวิหารใชใ้ นปัจจุบัน เปน็ บทที่ เรยี กวา่ พระอภิธรรมมตั ถะสังคหะ๗ ซ่ึงมี
๙ ปริจเฉท ทำนองการสวดของพระพิธธี รรมวดั บวรนเิ วศวิหารทีใ่ ช้ ในปจั จบุ ัน ไดแ้ ก่ ทำนองสรภัญญะ

๕. พระพิธธี รรมวัดสระเกศ จากคำบอกเล่าของพระครธู รรมธร บุญชู สิทฺธปิ ุญฺโ อดตี พระพธิ ีธรรม ว่า พระ
พิธีธรรมในอดีตที่มีพรรษากาล มีเพียงรูปเดียว คือ พระครูวิมลธรรมคุณ (ปลด) ซึ่งท่านได้เล่าให้ฟังว่าได้รับ
การแตง่ ตัง้ พร้อมกันกับพระพธิ ธี รรมอีก ๙ วัด แตไ่ ม่ทราบรายละเอยี ดวา่ ชว่ งเวลาใด ตอ่ มาในสมัยสมเด็จพระ
อรยิ วงศาคตญาณ สมเดจ็ พระสงั ฆราช (อยู่ าโณทยั ) หัวหน้าพระพธิ ธี รรมจะไดร้ ับการแตง่ ตัง้ ชื่อว่า พระครู สร
วฒุ ิพิศาล ซึ่งมีอยหู่ ลายทา่ น เช่น พระครูสรวฒุ ิพิศาล (จอ้ ย) พระครู สรวฒุ พิ ศิ าล (จำปี) เป็นต้น

บทสวดทีพ่ ระพธิ ีธรรมวัดสระเกศใช้ในปัจจุบนั เป็นบทที่เรียกว่า พระธรรมใหม่ ทำนองการสวดของพระพิธี
ธรรมวัดสระเกศท่ีใช้ในปัจจบุ นั ไดแ้ ก่ ทำนองเลือ่ น และทำนองสรภัญญะ

๖ ///////7

๖. พระพิธีธรรมวัดราชสิทธาราม จากคำบอกเล่าของพระเถระ ในวัดราชสิทธาราม นั้น เล่าให้ฟังว่า
การสวดพระอภิธรรมทำนองหลวง เดมิ มที ำนองอย่างไรไมท่ ราบแน่ชดั แตท่ ำนองทีใ่ สวดในปัจจบุ ัน เปน็ ทำนอง
ท่พี ระมงคลเทพมุนเี ป็นผ้แู ต่งทำนองขนึ้ ซ่งึ อยใู่ นรชั สมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทำนองท่ีแต่ง
ขึ้นมาใหม่น้ันถกู ใช้ในการบำเพ็ญ พระราชกุศลพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่หัวดว้ ย ซ่ึง
พ ร ะ ส ง ฆ ์ ท ี ่ ไ ด ้ ร ั บ ก า ร ฝ ึ ก ท ำ น อ ง ส ว ด จ า ก พ ร ะ ม ง ค ล เ ท พ ม ุ น ี ไ ด ้ แ ก่ พ ร ะ อ า จ า ร ย ์ เ ช ื ่ อ ม
พระ ม.ล.วรรณ พระอาจารย์ชื้น พระอาจารย์ต่วน พระอาจารย์เจริญ พระอาจารย์แถม สำหรับพระพิธีธรรม
วดั ราชสทิ ธาราม ใชบ้ ทสวดและทำนองสวดดังน้ี

บทสวดที่พระพิธีธรรมวัดราชสิทธารามใช้ในปัจจุบัน เป็นบทที่ เรียกว่า พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ทำนอง
การสวดของพระพิธีธรรมวดั ราชสทิ ธารามทีใ่ ชใ้ นปจั จบุ ันได้แก่ ทำนองกะ

๗. พระพิธีธรรมวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นวัดที่มีพระพิธีธรรม มาตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เช่นเดียวกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ซึ่งพระมหาปรีชา ปสนฺโน ป.ธ.๗
ได้เล่า ใหฟ้ ังวา่ พระพิธีธรรมวัดระฆังโฆสติ าราม ตามทปี่ ฏิบตั หิ นา้ ทใี่ นอดตี มรี ายนามดงั ต่อไปน้ี

๑) พระมหาผัน (ผนั )๘

๒) พระครโู ฆสติ สมณคณุ (พิกลุ )

๓) พระมหาประจวบ ขนตฺ ิธโร ป.ธ.๔๙

๔) พระครูสิริธรรมวิภูษติ (บรรเจดิ )

๕) พระมหาทมิ วทิ ิตธมโฺ ม

๖) พระครูวิมลธรรมธาดา (สวง)

๗) พระครปู ลดั สมคิด สิริวฑฒฺ โน

๘) พระบวรรังสี

๙) พระมหาสมคดิ ปิยวณโฺ ณ

บทสวดที่พระพิธีธรรมวัดระฆังโฆสิตารามใช้ในปัจจุบัน เป็นบทที่เรียกว่า พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พระ
ธรรมใหม่ บทสหัสสนัย ทำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดระฆังโฆสิตารามที่ใช้ ในปัจจุบัน
ได้แก่ ทำนองเลื่อน

๘. พระพธิ ีธรรมวดั จักวรรดิราชาวาส มที ีม่ าท่ีไปอย่างไรนั้น ไมม่ ีปรากฏแน่ชัด ซง่ึ พระครูพิศาลสุนทรกิจ
(สำราญ) เล่าวา่ พระพธิ ธี รรม รุ่นอาจารย์ของทา่ นมี

๑) พระครวู ินยั ธร (เปลย่ี น)

๒) พระแมน้ เมธาวโร

๗ ///////8

๓) พระครใู บฎีกาไสว

๔) พระครปู ลดั สาคร

บทสวดที่พระพิธีธรรมวัดจักวรรดิราชาวาสใช้ในปัจจุบัน เป็นบทที่เรียกว่า พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พระ
ธรรมใหม่ ทำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดจักวรรดิราชาวาสทใ่ี ช้ ในปจั จบุ ัน ได้แก่ ทำนองกะ และทำนอง
เลอื่ น

๙. พระพิธีธรรมวัดประยุรวงศาวาส เริ่มมีในสมัยที่พระธรรม ไตรโลกาจารย์ (อยู่ อุตฺตรภทฺโท) ดำรง
ตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปท่ี ๑๑ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๗๖ ได้เสนอขอแต่งตั้งคณะพระพิธีธรรม ประจำพระ
อารามนี้๑๐ และได้รับฉันทานุมัติจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้มีคณะพระพิธี
ธรรมในวัดประยุรวงศาวาส เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ พระพิธีธรรมวัดประยุรวงศาวาส พระสุนทรวิหารการ
(เลื่อน อินทรพิบูลย์) ซึ่งเคยเป็นพระพิธีธรรม ได้เล่าว่า ในสมัยนั้นมี พระพิธีธรรมหลายรปู เช่น พระครูปลัดสุ
พจน์ (หลวงตาแพร เยอ่ื ไม้) พระครูปลดั สรุ ินทร์ ผลวงศ์ พระปลัดเกษม

บทสวดที่พระพิธีธรรมวดั ประยุรวงศาวาสใช้ในปัจจบุ ัน เป็นบทที่เรียกว่า พระธรรมใหม่ ทำนองการสวด
ของพระพิธีธรรมวดั ประยุรวงศาวาสท่ใี ช้ ในปจั จบุ ัน ได้แก่ ทำนองกะ

๑๐. พระพิธีธรรมวัดอนงคาราม พระมหาเมืองอินทร์ อาภากโร ซึ่งเป็นพระเถระที่มีพรรษากาลมาก
และเป็นพระพิธีธรรมชุดปจั จุบัน เล่าให้ฟังวา่ ก่อนหน้านี้ในสมยั ทา่ น เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม)
อดีตเจ้าอาวาส รูปที่ ๕ ได้แต่งตั้งฐานานุกรมของท่านเอง เป็นพระพิธีธรรม ได้แก่ พระครูศัพท์สุนทร
พระครูอมรโฆสิต (ชลอ) พระครูอรรถโกศล และพระมหาสุพจน์ สุวโจ ส่วนพระพิธีธรรม วัดอนงคาราม ใช้บท
สวดและทำนองสวดดงั นี้

บทสวดท่ีพระพิธธี รรมวดั อนงคารามใชใ้ นปจั จุบัน เปน็ บทที่ เรยี กวา่ พระธรรมใหม่ ทำนองการสวดของ
พระพิธธี รรมวดั อนงคารามท่ีใช้ในปจั จบุ ัน ไดแ้ ก่ ทำนองกะ และทำนองเล่อื น

๘ ///////9

ความหมายของสีพดั ยศพระพิธธี รรม

ขอ้ มูลหลายแห่ง สอดคลอ้ งกนั ว่า เหลอื ง หมายถึง เปรยี ญธรรม ๖ ประโยค
สีแดง หมายถึง เปรยี ญธรรม ๕ ประโยค สนี ้ำเงนิ หมายถึง เปรยี ญธรรม ๔ ประโยค
สีเขยี ว หมายถึง เปรยี ญธรรม ๓ ประโยค

แต่ได้ฟังบรรยายถวายความรู้แก่พระนวกะของ พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต(อนิลมาน)กล่าวไว้ว่าสีของ
พดั ยศพระพธิ ีธรรมหมายถงึ ธาต๔ุ หรือมหาภตู ๔คอื

สีเหลอื ง หมายถงึ ธาตลุ ม
สแี ดง หมายถงึ ธาตุไฟ
สีน้ำเงนิ หมายถึง ธาตุน้ำ
สเี ขียว หมายถึง ธาตุดิน
หา้ มตง้ั สลับกนั ตอ้ งเริ่มท่สี เี หลอื งเพราะคนตาย ลมต้องหมดก่อนจากนนั้ ไฟกห็ มด เพราะไม่มอี ณุ ภมู ิ
ร่างกายจึงเย็น จากนั้น น้ำหมด เพราะเลือดและน้ำหนองออกหมดหรือแห้ง จากนั้น ดินหมด คือร่างกายท่ี
เหลืออยู่ก็ย่อยสลายไปตามกาลเวลา หากไม่ได้เผาเมื่อนั่งล้อมตู้พระอภิธรรมสีเหลือง-แดง อยู่ด้านใน
สนี ำ้ เงนิ -เขยี ว อย่ดู า้ นนอก
ส่วนในพระไตรปิฎก เลม่ ท่ี ๙ ข้อ ๓๔๓ สลี ขนั ธวรรค (สยามรฐั )ทา่ นเรยี งธาตุ ๔ ไวด้ ังน้ี
๑. ธาตุดนิ หมายถงึ อวยั วะตา่ งๆในร่างกาย เชน่ ผม เล็บ ฟนั กระดูก เยื่อในกระดกู ปอด ตับ มา่ ม
หัวใจ ลำใส้ นอ้ ย-ใหญ่
๒. ธาตุน้ำ หมายถึง น้ำ หรอื ของเหลวในรา่ งกาย เชน่ น้ำเลือด น้ำเหลอื ง หนอง เหงอ่ื น้ำทเ่ี ราด่ืม
๓. ธาตไุ ฟ หมายถงึ ไฟท่ีอยใู่ นรา่ งกายชว่ ยให้รา่ งกายอบอุน่ เผาพลานอาหารที่เรากิน
๔. ธาตลุ ม หมายถึง ลมท่ีเราอาศัยหายใจ
ถ้าไม่เพ่งในอินทกสูตร สํ.ส.๑๕/๘๐๑-๘๐๓(กลละ อัพพุทะ เปสิ ฆนะ ปัญจสาขา)การเรียงลักษณะนี้
ในพระไตรปิฎก ท่านหมายเอาการถือกำเนิดของมนษุ ย์ เมื่อปฏิสนธิมาเกิดปรากฏชัดเจนในครรภ์มารดาก็เปน็
ก้อนเนื้อ แล้วมีอวัยวะต่างๆ หมายถึง ธาตุดิน จากนั้น มีน้ำและเลือดของมารดามาหล่อเล้ียงหมายถึง ธาตุน้ำ
ต่อมา ร่างกายของทารกเคลื่อนไหวได้ หมายถึงธาตุไฟ คือ มีอุณหภูมิในร่างกายหลังจากคลอดออกจากครรภ์
มารดาแลว้ จงึ มีลมหายใจของทารกได้ ดังในคัมภรี ์วสิ ทุ ธมิ รรค กลา่ วไว้ว่า บุคคลผู้ไม่มีลมหายใจ ๗ จำพวก
๑.ทารกท่อี ยู่ในครรภ์มารดา
๒.คนที่ดำลงไปในนำ้
๓.คนท่ตี ายแลว้
๔.คนท่เี ข้าจตตุ ถฌาน
๕.รูปพรหม
๖.อรปู พรหม
๗.คนทเี่ ข้านิโรธสมาบัติ
ดังน้นั ทารกท่ีอยู่ในครรภม์ ารดาจึงไม่มลี มหายใจ ทา่ นจึงเรียงธาตุลมไว้ทา้ ยสุด น่เี ป็นลำดับธาตุแห่งการ
เกิดตงั้ แต่ปฏิสนธจิ นออกจากครรภ์มารดาสว่ นสีพัดยศพระพิธีธรรมน้ันทา่ นเรียงไวต้ ามลำดับธาตตุ ั้งแต่ออกจาก
ครรภม์ ารดาจนเสียชีวิต.

๙ ///////10

รายการเอกสารอา้ งอิง
หนังสอื พระพธิ ีธรรม กรมการศาสนา

///////11

พอเพียง วนิ ยั สจุ รติ จิตอาสา
ใชท้ รพั ยากรอย่างรคู้ ณุ คา่ รักษาวนิ ยั ไม่ทุจรติ จติ อาสา


Click to View FlipBook Version