The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ส่วนที่-2-ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา-รองฯอน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ธาตรี แข็งกสิกรณ์, 2023-11-16 22:54:36

ส่วนที่-2-ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา-รองฯอน

ส่วนที่-2-ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา-รองฯอน

ใบงานที่ 1 ศึกษาบทบาทหน้าที่ของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยากรพี่เลี้ยง ชื่อ -สกุล ๑.นายปรีดี เกตตุทอง ๒.นายทองอาบ บุญอาจ ผู้เข้ารับการพัฒนา ชื่อ-สกุล นายอนุสิทธิ์ มอญอินทร์ กลุ่มที่ ๑๑ เลขที่ 9 ๑.ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยสาระที่สำคัญ ดังนี้ ข้อมูลพื้นเกี่ยวกับสถานศึกษา ที่อยู่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี 27 หมู่ 5 ตำบลหนองแก อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี โทรศัพท์056-982621 โทรสาร 056-982622 E-mail ongartamput@ gmail.com Website www.utac.ac.th ประวัติสถานศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี ปี พ.ศ. 2522 ซึ่งถือเป็นปีเกษตรกร รัฐบาลได้มี นโยบายให้เกษตรกรซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ควรได้รับการส่งเสริมให้ความรู้ความชำนาญ ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติการอย่างก้าวหน้าขึ้นและเพื่อขยายการศึกษาทางด้านอาชีวเกษตรให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น อันเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยเกษตรกรรมขึ้นในจังหวัดต่างๆ ทุกภาคของประเทศรวม 10 แห่ง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522 จังหวัดอุทัยธานี พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้จัดตั้งวิทยาลัยเกษตรกรรมขึ้นที่ตำบลหนอง แก อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี โดยกรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งให้นายเฉลิมพล พยัตเทพินทร์เป็นผู้ ประสานงานจัดตั้งวิทยาลัยเกษตรกรรมอุทัยธานี ซึ่งใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์ จำนวน 238 ไร่ และ พื้นที่ซึ่งประชาชนร่วมกันบริจาคอีก175 ไร่ ในขณะดำเนินการจัดตั้งดังกล่าวนั้น ได้มีปัญหาการใช้สถานที่ ก่อตั้งวิทยาลัยฯ จนเกิดเหตุทำให้มีการเลือกที่ตั้งวิทยาลัยฯ ระหว่างตำบลหนองแก และกิ่งอำเภอลานสัก ขึ้น สภาตำบลหนองแกจึงได้มีมติให้ใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์เพิ่มเติมอีกประมาณ 180 ไร่ เพื่อให้ พื้นที่ขอจัดตั้งไม่ต่ำกว่า 500 ไร่ตามกำหนดของกระทรวงศึกษาธิการขณะนั้น ในที่สุดกรมอาชีวศึกษาจึง ได้มีหนังสือที่ศธ0901.06/896ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2522 ให้ใช้พื้นที่ตำบลหนองแก จัดตั้ง วิทยาลัยเกษตรกรรมอุทัยธานี และให้ใช้พื้นที่ในกิ่งอำเภอลานสักเป็นแปลงทดลองและใช้เป็นที่ขยายงาน ของวิทยาลัยฯ ในโอกาสต่อไป พร้อมทั้งแต่งตั้งให้นายเล็ก ปานแย้ม เป็นผู้ประสานงานจัดตั้งวิทยาลัย เกษตรกรรมอุทัยธานี เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2522 ต่อไปด้วย กระทั่งกรม อาชีวศึกษาได้แต่งตั้งให้ นายชนินท์ ด่านพานิช เป็นผู้ประสานงานจัดตั้งวิทยาลัยเกษตรกรรมอุทัยธานี ตามคำสั่งที่1725/2522ตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน 2522 และในระยะต่อมา กรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้ง ให้ นายชนินท์ ด่านพานิช ดำรงตำแหน่งรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมอุทัยธานี ตามคำสั่งที่ 1134/2523ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2523เป็นต้นมา ปีการศึกษา 2524 กรมอาชีวศึกษา ได้พิจารณาเห็นว่าวิทยาลัยเกษตรกรรมทั้ง 10 แห่งยังไม่ ความพร้อมที่จะเปิดรับนักเรียนได้ จึงให้หลักการว่าจะเปิดรับนักเรียนในปี 2524 แต่จากปัญหานักเรียน จบแล้ว ไม่มีที่เรียนต่อ ส.ส. ของแต่ละจังหวัดยื่นเรื่องราวขอเปิดรับนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการ จึง อนุมัติให้เปิดรับนักเรียนเพียง 5 แห่งก่อนที่วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ , ชัยนาท , เพชรบูรณ์, มหาสา คาม และนครศรีธรรมราช แต่จังหวัดอุทัยธานี มีปัญหาเช่นกรณีเดียวกันด้วย และได้ยื่น เรื่องราวขอ


เปิดรับนักเรียนด้วยเช่นกัน พันเอก (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่ง เป็น ส.ส. จังหวัดอุทัยธานี ร่วมกันเสนอเรื่องขอให้กระทรวงศึกษาธิการทบทวนการพิจารณาให้เปิดรับ นักเรียนอีกครั้งหนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติในวันที่ 2 มิถุนายน 2524 ให้เปิดรับนักเรียน ได้ในปีการศึกษา 2524 จำนวน 2 ห้องเรียน และต่อมาวันที่ 24 กันยายน 2539 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี การจัดการศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี จัดการศึกษาในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานการเกษตร ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขางานพืชไร่ ,พืชสวน ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขางานการผลิตสัตว์ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขางานเทคโนโลยีดิจิทัล ปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช(ต่อเนื่อง) สภาพชุมชน จังหวัดอุทัยธานีตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่างบริเวณลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง ซึ่งไหลสู่แม่น้ำ เจ้าพระยาที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือตามถนนสาย เอเชีย ประมาณ ๒๐๖ กิโลเมตร แยกเข้าจังหวัดอุทัยธานีตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ ที่บ้าน ท่าน้ำอ้อย ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ถึงจังหวัดอุทัยธานี รวมระยะทาง ๒๒๒ กิโลเมตรจังหวัดอุทัยธานี มีพื้นที่ส่วนรวม ๖,๗๓๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔,๒๐๖,๔๐๔ ไร่ เป็นพื้นที่ทางการเกษตร ๑,๘๖๑,๓๔๗ ไร่ และเป็นพื้นที่ป่าที่มีสภาพเป็นพื้นที่คุ้มครอง ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ ๙ แห่ง วน อุทยาน ๒ แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ๑ แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ๑ แห่ง มีเนื้อที่รวม ๒,๘๒๘,๑๘๕ ไร่ อุทัยธานียังคงเอกลักษณ์แห่งความเป็นเมืองพุทธภูมิ ที่มีกลิ่นอายของวิถีชีวิตไทยชนบท ดั้งเดิม มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย น่าอยู่ น่าสัมผัส มีแหล่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ได้รับการคัดเลือกและประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่ง “มรดกโลกทางธรรมชาติ” จากยูเนสโก (UNESCO) เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ ประชากร จังหวัดอุทัยธานี มีประชากรตามประกาศสำนักบริหารการทะเบียน กรมการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 จำนวน 325,234 คน จำแนกเป็นเพศ ชาย 158,965 คน เพศหญิง 166,269 คน เขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 70 ตำบล 642 หมู่บ้าน 15 ชุมชน ซึ่ง 8 อำเภอ ได้แก่ 1. อำเภอเมืองอุทัยธานี 2. อำเภอทัพทัน 3. อำเภอสว่างอารมณ์ 4. อำเภอหนองฉาง 5. อำเภอหนองขาหย่าง 6. อำเภอบ้านไร่ 7. อำเภอลานสัก 8. อำเภอห้วยคต


ปรัชญา “ ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ล้ำเลิศวิชา พัฒนาสังคม” อัตลักษณ์ เป็นคนดี มีจิตอาสา เอกลักษณ์ สร้างคนดี มีทักษะ พัฒนาสังคม วิสัยทัศน์ เป็นวิทยาลัยชั้นนำด้านวิชาชีพที่มีคุณภาพระดับสากล ๒.ข้อมูลผลงานที่ประสบผลสำเร็จ การจัดการศึกษาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี ให้ครู ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตนเอง ได้รับผลงานและรางวัลมากมาย ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอกเป็นที่ ประจักษ์ต่อสาธารณะชนในด้านการจัดการอาชีวศึกษา ดังนี้ ๑) ระดับจังหวัด - สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ "แจกันดอกไม้จักสานหัตถศิลป์ไทย" โดย สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา ๒) ระดับภาค - รางวัลระดับเหรียญทองโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเภทที่ 1.1 รูปแบบศูนย์ การเรียนรู้ โดย คณะกรรมการการอาชีวศึกษาร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย - หน่วย อกท.ดีเด่นระดับเหรียญทอง โดย องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระ ราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี - สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ "แจกันดอกไม้จักสานหัตถศิลป์ไทย" โดย สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา ๓) ระดับชาติ - หน่วย อกท.ดีเด่น ระดับเหรียญทอง โดย องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระ ราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ผลผลิต (Output) ผลการพัฒนาคุณภาพของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี ในปีการศึกษา 2565 สถานศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาทั้ง 3 มาตรฐาน โดยการ นำนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามาเป็นแนวทางการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนา แผนการปฏิบัติงานสำหรับการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายโดยมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ด้านคุณภาพที่ มีต่อผู้เรียน ชุมชน และสังคม ซึ่งผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 75.67 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาที่พึงประสงค์ ได้คะแนน 59.09 คะแนน มาตรฐานที่ 2 การจัดการอาชีวศึกษา ได้คะแนน 93.17 คะแนน มาตรฐานที่ 3 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ได้คะแนน 76.67 คะแนน


ผลลัพธ์ (Outcome) 1) สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนนักศึกษาและเกษตรกรผู้สนใจได้ศึกษาดูงานและฝึกอาชีพ 2) สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม เป็นที่ชื่นชมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการ ขอใช้สถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ ตามภารกิจของหน่วยงาน ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ให้สถานศึกษาเป็นที่ รู้จักเพิ่มมากขึ้น 3) สถานศึกษามีการดำเนินกิจกรรมองค์การวิชาชีพ อกท. ในการขับเคลื่อนและสนับสนุนให้ นักเรียนนักศึกษามีทักษะทางด้านอาชีพ และมีคุณลักษณะการเป็นผู้นำ 4) ผู้เรียนของสถานศึกษา เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสาที่ สถานประกอบการมีความพึงพอใจและให้การยอมรับ 5) ครูผู้สอนมีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงตามสาขาวิชาที่สอน และได้รับการส่งเสริม สนับสนุนให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 6) ชุมชนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพจากสถานศึกษา สามารถนำไปประกอบอาชีพหรือ ต่อยอดด้านอาชีพได้ ผลสะท้อน (Impact) 1) ผู้สำเร็จการศึกษา มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความต้องการของสถานประกอบการ 2) ผู้บริหารได้ใช้ความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการในการแก้ปัญหาอุปสรรคด้าน งบประมาณ ด้านจำนวนผู้เรียน บุคลากร และอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ครูผู้สอนมีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) สถานศึกษามีนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอน สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่ ชุมชน และผู้สนใจได้ 5) สถานศึกษาได้แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่เกิดจากการประเมินคุณภาพตาม มาตรฐานการอาชีวศึกษา 6) บุคคลภายนอกรู้จักวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานีมากขึ้น จุดเด่น 1. ผู้เรียนร้อยละ 70 ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ 2. ผู้เรียนมีผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพอยู่ในระดับยอดเยี่ยม 3. ผู้เรียนมีคุณลักษณะลักษณะพึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม กิจนิสัยที่ดี 4. คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ 5. การบริหารจัดการชั้นเรียน 6. บุคลากรมีการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 7. การบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา 8. อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงานหรืองานฟาร์ม 9. ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน 10. แหล่งเรียนรู้และศูนย์วิทยบริการ 11. ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการใช้งานด้านสารสนเทศภายในสถานศึกษา 12. ด้านความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 13. ผู้เรียนมีผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ และงานสร้างสรรค์


ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา 1. การพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนของผู้เรียน 2. การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียน 3. การพัฒนาศูนย์บ่มเพาะของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบอย่างยั่งยืน 4. การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ประกอบการหรือประกอบอาชีพอิสระ 5. การยกระดับการแก้ปัญหาผู้เรียนออกกลางคัน 6. การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะร่วมกับสถานประกอบการ 7. การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) วิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยีอุทัยธานี 8. การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี 9. การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา 10. การพัฒนาสื่อการสอนและประกวดสื่อการสอนของครูผู้สอน 11. การนิเทศและติดตามการจัดการเรียนการสอนครูผู้สอน 12. การจัดหาบุคลากรสนับสนุนการพิมพ์งานและจัดการด้านเอกสารให้ครูผู้สอน 13. การพัฒนาระบบการจัดทำรายงาน (ผลการดำเนินโครงการ)ของบุคลากรในสถานศึกษา 14. การยกระดับการส่งผลงานเข้าประกวดและแข่งขันของผู้เรียน ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และงานวิจัย ทุกสาขาวิชาแข่งขันในระดับภาคและระดับชาติ 15. การยกระดับการส่งผลงานของครู บุคลากรเข้าประกวดและแข่งขัน ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และงานวิจัย ทุกสาขาวิชาแข่งขันในระดับภาคและระดับชาติ แผนงานโครงการและนวัตกรรม แผนงานโครงการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพฯ 1. โครงการพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนของผู้เรียน 2. โครงการพัฒนาทักษะด้านวิชาการและวิชาชีพให้แก่ผู้เรียน 3. กิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (V-NET) 4. โครงการพัฒนาศูนย์บ่มเพาะของสถานศึกษาอย่างยั่งยืน 5. โครงการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ประกอบการหรือประกอบอาชีพอิสระ 6. โครงการยกระดับการแก้ปัญหาผู้เรียนออกกลางคัน 7. โครงการติดตามผู้เรียนออกกลางคัน 8. โครงการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะร่วมกับสถานประกอบการ 9. โครงการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) วิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยีอุทัยธานี 10. โครงการพัฒนาหลักสูตรจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี วิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยีอุทัยธานี 11. โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน 12. โครงการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา 13. โครงการพัฒนาสื่อการสอนและประกวดสื่อการสอนของครูผู้สอน 14. โครงการนิเทศการจัดการเรียนการสอนรายสัปดาห์ 15. โครงการจัดหาบุคลากรสนับสนุนการพิมพ์งานและจัดการด้านเอกสารให้ครู และบุคลากร


16. โครงการความร่วมมือกับสถานประกอบการเพื่อจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี 17. โครงการพัฒนาระบบการจัดทำรายงาน (ผลการดำเนินโครงการ)ของบุคลากรในสถานศึกษา แผนงานโครงการด้านนวัตกรรม 1. โครงการยกระดับการส่งผลงานของผู้เรียน ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และ งานวิจัย ทุกสาขาวิชาแข่งขันในระดับภาคและระดับชาติ 2. โครงการยกระดับการส่งผลงานของครู บุคลากร ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และงานวิจัย ทุกสาขาวิชาแข่งขันในระดับภาคและระดับชาติ จุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา 1. การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียน 2. การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนในระดับ ปวส. ให้เป็นผู้ประกอบการหรืออาชีพอิสระ 3. การพัฒนาศูนย์บ่มเพาะของสถานศึกษาให้เป็นสามารถดำเนินงานเป็นรูปธรรม 4. การแก้ปัญหาผู้เรียนที่ออกกลางคัน 5. การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ


ภาคผนวก


แผนภูมิการบริหารสถานศึกษา


ตัวอย่าง ผลงาน และรางวัลที่ได้รับ


Click to View FlipBook Version