หั วข้อที่ 10
ก า ร ห า คุ ณ ภ า พ ข้ อ ส อ บ
กระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีขั้นตอนสำคัญคือการสร้างข้อสอบ และใน
การสร้างข้อสอบนั้นสิ่งหนึ่งที่จะขาดไปไม่ได้คือ การหาคุณภาพข้อสอบ เพื่อเป็นการยืนยันว่า
ข้อสอบดังกล่าวมีคุณภาพ ซึ่งการหาคุณภาพข้อสอบสามารถจำแนกเป็น 2 ลักษณะ คือ
การหาคุณภาพข้อสอบทั้งฉบับ และการหาคุณภาพข้อสอบรายข้อ มีรายละเอียดดังนี้
(ปราณี หลำเบ็ญสะ, 2559)
1.การหาคุณภาพข้อสอบทั้งฉบับ เป็นการตรวจสอบคุณภาพเกี่ยวกับ
ความตรง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) ดังนี้
1.1 การหาค่าความตรง (Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาหรือการวัดและประเมิน
ผล จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน พิจารณาว่าข้อสอบแต่ละข้อ วัดได้ตรงตามสิ่งที่ต้องการวัด
หรือไม่ มีเกณฑ์ประเมินดังนี้
+1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อสอบวัดตรงจุดประสงค์/เนื้อหา
0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าข้อสอบวัดตรงจุดประสงค์/เนื้อหา
-1 หมายถึง แน่ใจว่าว่าข้อสอบวัดไม่ตรงจุดประสงค์/เนื้อหา
จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ หาค่าความสอดคล้องระหว่าง
ข้อคำถามกับจุดประสงค์/เนื้อหา (IOC = Index of Item Objective Congruence)
เกณฑ์การตัดสินค่า IOC หากมีค่า 0.50 ขึ้นไปแสดงว่าข้อสอบนั้นวัดได้ตรงจุดประสงค์/
เนื้อหา แปลว่าข้อสอบนั้นใช้ได้
1.2 การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เป็นการหาค่าความคงที่
ของคะแนนที่วัดได้แต่ละครั้ง สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1.2.1 วิธีสอบซ้ำ เป็นการหาความสัมพันธ์ของคะแนนจากการทำข้อสอบฉบับ
เดียวกันสองครั้ง โดยทิ้งช่วงเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อตรวจสอบผลการทำ
ข้อสอบของนักเรียนว่ามีความคงที่หรือไม่
1.2.2 วิธีใช้แบบทดสอบคู่ขนาน เป็นการหาความสัมพันธ์ของคะแนนจากการทำ
ข้อสอบ 2 ฉบับที่เทียบเท่ากัน ในเวลาเดียวกันจากนักเรียนกลุ่มเดียวกัน
1.2.3 วิธีหาความสอดคล้องภายใน เป็นการหาความสอดคล้องกันของคะแนน
รายข้อ โดยใช้ผลการสอบจากข้อสอบฉบับเดียวกัน นักเรียนกลุ่มเดียวกัน มาหา
คุณภาพด้วยวิธีการ ดังนี้
1.2.3.1 วิธีการแบ่งครึ่ง 1.2.3.2 วิธีของ คูเดอร์ - 1.2.3.3 วิธีสัมประสิทธิ์
ริชาร์ดสัน (Kuder- แอลฟาของครอนบาค
ข้อสอบ Richardson method) (Cronbach’s alpha
coefficient method)
เป็นการหาค่าความสัมพันธ์ของ เป็นการหาความสัมพันธ์ของคะแนน
คะแนนจากการใช้ข้อสอบฉบับ จากข้อสอบฉบับเดียวและทดสอบครั้ง เป็นวิธีการการคำนวณค่าสถิติ
เดียวกันและสอบเพียงครั้งเดียว เดียว (ซึ่งให้คะแนนแบบตอบถูกได้ 1 ของคะแนนรายข้อและคะแนนรวม
โดยแบ่งผลสอบออกเป็น ตอบผิดได้ 0) โดยสามารถเลือกใช้ จากนั้นจึงคำนวณโดยใช้สูตร
2 ชุด คือ ชุดข้อคู่-ข้อคี่ จากนั้น สูตรการคำนวณ คือ สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
คำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยปรับมาจากสูตร KR-20 แต่
ของสเปียร์แมนบราวน์ 1. สูตร KR-20 (ใช้ในกรณีที่ข้อสอบมี ไม่จำเป็นต้องให้คะแนนแบบตอบถูก
ความยาก-ง่าย แตกต่างกัน) ได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน
2. สูตร KR-21 (ใช้ในกรณีที่ข้อสอบ การแปลความหมาย
ทุกข้อมีความยาก-ง่ายเท่ากัน) สัมประสิทธิ์มีค่าระหว่าง -1 ถึง +1 และ
แบบทดสอบที่มีคุณภาพควรมีค่าความ
เชื่อมั่นตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป
2. การหาคุณภาพข้อสอบรายข้อ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของ
ข้อสอบแต่ละข้อ โดยพิจารณุณสมบัติ 3 ประการคือ ความยาก
อำนาจจำแนก และประสิทธิภาพของตัวลวง
2.1 ความยากของข้อสอบ (p) หมายถึง สัดส่วนของนักเรียนที่ตอบข้อสอบข้อนั้นได้ถูกต้อง
ต่อนักเรียนที่สอบทั้งหมดหรือจำนวนร้อยละของนักเรียนที่ตอบข้อสอบข้อนั้นถูก ค่าความยาก
ของข้อสอบอยู่ระหว่าง 0.00-1.00 เช่น ค่า P = 0.30 แสดงว่า จำนวนนักเรียนที่ทำข้อสอบ 100
คน มีนักเรียนที่ตอบข้อสอบข้อนั้นถูก 30 คน แปลความหมาย ดังนี้
ค่า (p) ความหมาย
0.00-0.19 ยากมาก (ไม่ควรใช้)
0.20-0.40 ยาก
0.41-0.60 ปานกลาง
0.61-0.80 ง่าย
0.81-1.00 ง่ายมาก (ไม่ควรใช้)
เกณฑ์ค่าความยากที่ใช้ได้ P = 0.20-0.80
2.2 ค่าอำนาจจำแนก (r) หมายถึง ความสามารถของข้อสอบในการจำแนกนักเรียน
กลุ่มเก่งออกจากนักเรียนกลุ่มอ่อน มีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง +1 ดังนี้
ค่า (r) ความหมาย
ต่ำกว่า 0 หรือเป็น ลบ
กลุ่มสูงได้คะแนนน้อยกว่า
0.00 กลุ่มต่ำ (ควรปรับปรุง)
0.01-0.19 กลุ่มสูงและกลุ่มต่ำได้คะแนน
0.20-0.39 เท่ากัน (ควรปรับปรุง)
ต่ำมาก (ควรปรับปรุง)
พอใช้ได้
0.40-0.59 ดี
0.60-1.00 ดีมาก
เกณฑ์ค่าอำนาจจำแนกที่ใช้ได้ R มีค่าตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป
2.3 การหาประสิทธิภาพของตัวลวง
(กรณีข้อสอบเลือกตอบแบบหลายตัวเลือก)
พงษ์เทพ จิระโร (2558)
- สัดส่วนของผู้เลือกตัวลวง (Pw) หมายถึง สัดส่วนของนักเรียนที่เลือกตัวลวงนั้น ๆ ค่า
ระหว่าง 0.00-1.00 เกณฑ์ค่าประสิทธิภาพของตัวลวงที่ใช้ได้ต้องมีค่า Pw มากกว่าหรือเท่ากับ
0.05
- อำนาจจำแนกของตัวลวง (rw) หมายถึง ผลต่างระหว่างสัดส่วนของจำนวนนักเรียนใน
กลุ่มต่ำที่เลือกตัวลวงกับสัดส่วนของคนในกลุ่มสูงที่เลือกตัวลวงนั้น มีค่าระหว่าง -1.00 ถึง
+1.00 เกณฑ์ ค่า rw ต้องไม่ติดลบ
ประโยชน์ของการหาคุณภาพข้อสอบ พงษ์เทพ จิระโร (2558)
1. ทราบข้อมูลพื้นฐานของข้อคำถามและคำตอบ
2. กรณีข้อสอบแบบเลือกตอบจะทำให้ทราบประสิทธิภาพของตัวเลือก
3. ได้แนวทางในการสร้างข้อสอบที่ดี
4. ได้ทราบข้อมูลในการปรับปรุงการเรียนการสอน
5. ได้ข้อสอบที่มีคุณภาพไว้สำหรับสร้างข้อสอบและพัฒนาแบบสอบ
มาตรฐานต่อไป