The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

SAR (Self-Assessment Report) รายงานประจำปีของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ประจำปี 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kruoley.eng, 2023-04-25 04:18:06

SAR ประจำปี 2565

SAR (Self-Assessment Report) รายงานประจำปีของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ประจำปี 2565

ก | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง คำนำ รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านฉาง กาญจนกุลวิทยา ฉบับนี้ จัดทำขึ้นตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 3 ระบุให้สถานศึกษาจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงาน ที่กำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจำทุกปีเพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษา ที่สะท้อนผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นผลสำเร็จจากการบริหารจัดการศึกษาที่สอดคล้อง กับมาตรฐานการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 มาตรฐาน ได้แก่ คุณภาพของผู้เรียน กระบวนการบริหาร และการจัดการ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อนำเสนอรายงานผลการจัดการศึกษาในรอบปีที่ผ่านมาต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับทราบ และเตรียมความพร้อมในการรับการประเมิน ภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ต่อไป ขอขอบคุณคณะครู ผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 ฉบับนี้ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารรายงานฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ ต่อการนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ในปีการศึกษา 2566 ต่อไป (นางกฤตติกา เบญจมาลา) ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา


ข | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2565 สถานศึกษามีภาระหน้าที่ จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่กำหนดไว้ชัดเจนในมาตรา 48 ให้สถานศึกษามีการจัดทำรายงานพัฒนาคุณภาพเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดเป็นประจำทุกปี ดังนั้นโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา จึงได้ดำเนินการประชุมหารือคณะกรรมการ สถานศึกษาและคณะครูตลอดจนได้แนวปฏิบัติ พร้อมทั้งได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูล ผลงานซึ่งทาง โรงเรียนได้ดำเนินกิจกรรม ตามสาระการเรียนรู้ ตลอดจนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ทุกระดับชั้นในรอบปีการศึกษา การจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 คณะกรรมการสถานศึกษา ได้ให้ความเห็นชอบและผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ดร.สุกิจ โพธิ์ศิริกุล) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา


ค | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง สารบัญ ส่วนที่ หน้า ◆ คำนำ ก ◆ ความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา ข ◆ สารบัญ ค ส่วนที่ 1 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ◆ ภาพรวมของคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษา จุดเด่น/จุดควรพัฒนา 1 ◆ แนวทางการพัฒนาในอนาคต 4 ◆ สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.รอบที่สี่ 7 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และข้อเสนอแนะ ส่วนที่2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ◆ ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา 10 - การบริหารจัดการแนวทางการจัดการศึกษา 11 - ข้อมูลครูและบุคลากร 13 - ข้อมูลนักเรียน 16 - สรุปข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 17 - ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติของผู้เรียน 23 - สภาพชุมชนโดยรวม 25 - สรุปการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา 26 ◆ ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา 27 - มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 28 - มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 37 - มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 45 - ผลการประเมินภาพรวม 51 ◆ ภาคผนวก - ประกาศกำหนดค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา - คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพ ภายใน สถานศึกษา ประจำปี2565 - สรุปรายงานผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ปีการศึกษา 2565


1 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ส่วนที่ 1 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร “โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา” เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอบ้านฉาง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2518 เปิดสอนในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ได้พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาที่โรงเรียนกำหนด 3 มาตรฐาน โดยการดำเนินงานตามโครงการ/ กิจกรรม ที่กำหนดในแผนปฏิบัติการประจำปีรวมทั้งโรงเรียนมีการสนับสนุน การดำเนินงานประจำทั้งด้าน การจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ การจัดกิจกรรมส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพ ของผู้เรียนทั้งในเวลาและนอกเวลาเรียนด้วยรูปแบบต่าง ๆ และมีการจัดระบบการบริหารจัดการ ที่ส่งเสริมสนับสนุนคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน จากการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้โรงเรียนมีผลการประเมินคุณภาพภายในมาตรฐาน ที่ 1 ด้านคุณภาพของผู้เรียน, มาตรฐานที่ 2 ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และมาตรฐาน ที่ 3 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม โดยมี ผู้ทรงคุณวุฒิตามที่ต้นสังกัดประกาศแต่งตั้งร่วมประเมินด้วย ดังมีรายละเอียดของผลการประเมิน ตนเอง ดังนี้ จุดเด่น จุดควรพัฒนา 1. คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผู้เรียนมีสุขนิสัย ในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีน้ำหนัก ส่วนสูง มีสมรรถภาพทางกายและออกกำลังกาย ตาม เกณฑ์มาตรฐาน แต่งกายถูกต้อง ตามระเบียบ ของโรงเรียน ใช้คำพูดสุภาพ มีสัมมาคารวะ แสดงความเคารพพ่อแม่ ครูและผู้อื่นได้อย่าง เหมาะสม ตามอัตลักษณ์ของสถานศึกษา “ยิ้มไหว้ให้ปัน ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์” 1.2 ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์ ความกตัญญู รู้จักการช่วยเหลือ การเสียสละ ใช้ทรัพย์สิน ของตนเองและของโรงเรียนอย่างประหยัด 1. คุณภาพของผู้เรียน (เอกสารอ้างอิงหน้า 28-36) 1.1 ผู้เรียนในระดับชั้น ม.1 – ม.3 ยังต้อง เร่งพัฒนาด้านการนำเสนอ การอภิปราย และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้อง พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้ อย่างเหมาะสม 1.2 ผู้เรียนในระดับชั้น ม.4 – ม.6 ยังต้อง ได้รับการส่งเสริมในด้านทัศนคติที่ดีต่อความ เป็นไทย ไม่หลงใหลกับค่านิยมต่างชาติ จนเกิด การลอกเลียนแบบ ทำให้ลืมวัฒนธรรมอันดีงาม ของไทย


2 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จุดเด่น จุดควรพัฒนา เห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก อย่างเหมาะสม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติ ผู้อื่น มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม 1.3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม การใช้เทคโนโลยี รู้จักวางแผนการทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่น พัฒนางาน มีความภูมิใจในผลงานของตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 2. ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ 2.1 โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการ อย่างเป็นระบบ มีการใช้เทคนิคการประชุม ที่หลากหลายวิธีเช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน 2.2 มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัด การศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่มีความ สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูป การศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมี คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร สถานศึกษา 2.3 โรงเรียนมีการดำเนินโครงการพัฒนา ครูและบุคลากรทั้งด้านความรู้ความสามารถ และทักษะ มีการส่งเสริมให้ครูส่งผลงานเพื่อให้ มีวิทยฐานะที่สูงขึ้นตามเวลาที่กำหนด 2.4 มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพ 2. ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ (เอกสารอ้างอิงหน้า 37-44) 2.1 เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วม ในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งทาง Online และ On-site 2.2 สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผล การจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพ การจัดการศึกษา 2.3 โรงเรียนควรสร้างความตระหนัก ส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้ครูบุคลากรทาง การศึกษา และผู้เรียนมีส่วนร่วมในการดูแล รักษาอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ภายในโรงเรียน ให้อยู่ ในสภาพที่ดี เพื่อสร้างจิตสำนึกในการรักษา สาธารณสมบัติของส่วนรวม


3 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จุดเด่น จุดควรพัฒนา แวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ อย่างหลากหลาย และมีความปลอดภัย 2.5 มีระบบ Software ที่เหมาะสมและมี ประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ ที่สำคัญของโรงเรียน มีความถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ 3. ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3.1 ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนา การสอนโดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหา ความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่าง ต่อเนื่อง เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นักเรียนมีส่วนร่วม ในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ 3.2 ผลงานวิจัยของครูทุกคนได้รับการตรวจ ประเมินจากคณะกรรมการวิจัยพร้อมทั้งให้ คำแนะนำที่ครูสามารถพัฒนาต่อยอดได้เป็น อย่างดี 3.3 โรงเรียนดำเนินการโดยใช้ระบบการ นิเทศ จึงทำให้ครูผู้สอนพบปัญหา และสามารถ นำปัญหาต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้และการ บริหารจัดการชั้นเรียน เชิงบวกมาพัฒนาตนเอง เพื่อการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างแท้จริง 3.4 ครูเห็นความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ส่งผลให้ เกิดความร่วมมือระหว่างครูผู้สอนในรายวิชา เดียวกัน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัด กิจกรรมการสอน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะการจัดกิจกรรมและพัฒนา 3. ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (เอกสารอ้างอิงหน้า 45-50) 3.1 สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูพัฒนา กระบวนการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้มีความ หลากหลายเพิ่มมากขึ้น และส่งเสริมการสอน แบบโครงงานให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครอบคลุมทุกชั้นเรียน 3.2 สถานศึกษาวางแผนส่งเสริมให้ครู มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณวุฒิความรู้ความ สามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบมุ่งมั่นพัฒนา ตนเอง ส่งเสริมครูเข้ารับการอบรม ประชุม สัมมนาผลงานทางวิชาการให้เป็นที่ประจักษ์ ศึกษาดูงานในวิชาที่สอนเพื่อเพิ่มพูนความรู้และ มีเทคนิควิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการจัดการเรียน การสอน 3.3 การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก อาจจำเป็นต้องมีการใช้เทคนิคที่แปลกใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึง มีความอยากรู้อยากเรียน และมีความสุขในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น เช่น การ ใช้สมาร์ทโฟน หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา ช่วยในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น


4 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จุดเด่น จุดควรพัฒนา นวัตกรรมเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ของผู้เรียน 3.5 โรงเรียนส่งเสริมให้ครูศึกษาต่อในระดับ ที่สูงขึ้น เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถของ ครูแล้วนำมาพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อในอนาคต 3.4 ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การเขียน และสื่อสารภาษาไทย การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ แก้ปัญหาให้มากขึ้นเพื่อยกระดับผลการเรียน ด้านนี้ แนวทางการพัฒนาในอนาคต โรงเรียนจัดทำแผนกลยุทธ์ กำหนดเป็นแผน ดังนี้ แผนปฏิบัติงานที่ 1 แผนพัฒนาบุคลากร โรงเรียนมีแผนพัฒนาครูโดยการจัดอบรม ส่งไปอบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถในเรื่องต่อไปนี้ 1.1 ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง 1.2 การประกันคุณภาพการศึกษา 1.3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.4 การมีระบบข้อมูลสารสนเทศครบถ้วน สามารถนำไปใช้ได้ทุกกลุ่มงาน ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ 1.5 การพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การจัดหา/สร้าง/ พัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะวิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา และวิธีการสอน และงาน ที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผลการนำไปใช้ และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง 1.6 การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน ความต้องการ และการช่วยเหลือ 1.7 การพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ 1.8 การพัฒนาบุคลากรโดยการจัดอบรมด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม 1.9 การพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรมด้านกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีและ ยุวกาชาด 1.10การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน


5 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง แผนปฏิบัติงานที่ 2 แผนการจัดหาทรัพยากร 2.1 โรงเรียนจัดทำโครงการร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษา พัฒนาบรรยากาศ ของสถานศึกษาให้เป็นแหล่งที่น่าเรียนรู้ 2.2 โรงเรียนจัดทำโครงการร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน จ้างครูต่างชาติเพื่อสอน ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น และสาขาวิชาชีพที่รองรับเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก EEC 2.3 ของบประมาณสนับสนุน สร้างอาคารเรียน ซ่อมแซมสนามฟุตบอล สนามบาส สนามวอลเลย์บอล หอประชุมโรงเรียน และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณ โรงเรียนให้มีความสวยงาม ร่มรื่น และปลอดภัย 2.4 ของบประมาณสนับสนุนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์(Solar Sell) อาคาร 5 2.5 ได้รับจัดสรรงบครุภัณฑ์ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนคณิตศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา และห้องสมุด แผนปฏิบัติงานที่ 3 แผนพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน 3.1 โรงเรียนกำหนดระบบการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน ของครูอย่างต่อเนื่อง มีการนิเทศการสอนโดยหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้บริหาร และคณะกรรมการที่แต่งตั้งภาคเรียนละ 1-2 ครั้ง 3.2 โรงเรียนกำหนดให้ผู้สอนทุกคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ และจัดทำแฟ้มสะสมงาน 3.3 ส่งเสริมให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย มีการประเมินผล ตามสภาพจริง ให้ผู้เรียนกระตือรือร้นและรักสถานศึกษา 3.4 โรงเรียนส่งเสริมให้ครูทำการวิจัยในชั้นเรียนและนำผลการวิจัยในชั้นเรียน ไปใช้จริง แก้ปัญหากับผู้เรียนอย่างจริงจัง 3.5 โรงเรียนส่งเสริมพัฒนาให้มีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในสภาวะที่มีเหตุพิเศษเกิดขึ้น ทำให้ การจัดการเรียนการสอนมีความต่อเนื่องเพื่อให้นักเรียนสำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตร 3.6 โรงเรียนจัดให้มีระบบ Professional Learning Community (PLC) เพื่อใช้ แก้ปัญหานักเรียน และสามารถนำมาปรับใช้ได้จริงในการจัดการเรียนสอน 3.7 ดำเนินการต่อเนื่องโครงการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัด ระยอง เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาในสถานศึกษา ให้บรรลุเป้าหมาย มีผลงานเป็นที่ประจักษ์


6 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 3.8 จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการภายใต้ School Concept คือ ภาษาดี เทคโนโลยี เด่น โดยจัดการเรียนการสอนเน้นแบบบูรณาการทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3.9 โรงเรียนนำหลักสูตรฐานสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มติม ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ความถนัดของ นักเรียนรายบุคคล และลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา 3.10โรงเรียนส่งเสริมพัฒนาในการจัดติวข้อสอบภาษาอังกฤษสำหรับการสอบ TCAS, A-level ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และการติว O-NET ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ความต้องการและการช่วยเหลือ 1. การพัฒนาครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC 2. การสร้างข้อสอบที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามแนวทางของการประเมิน O - NET และ PISA 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และ ทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร 4. จัดอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการจัดทำสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ 5. ส่งเสริมให้มีการจัดค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อฝึกให้ผู้เรียน มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ 6. จัดหาหนังสือและแหล่งเรียนรู้ให้มีปริมาณที่เพียงพอกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ แสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 7. จัดพัฒนาห้องเรียนเป็นห้องเรียน E-Learning ให้เพียงพอ 8. พัฒนาปรับปรุงห้องประชุม เพื่อให้ผู้เรียนมีห้องฝึกทักษะและแสวงหาความรู้ และ การพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ


7 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ผลการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.รอบที่สี่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน บทสรุปสำหรับผู้บริหาร คณะผู้ประเมินได้ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาเมื่อวันที่ 11-12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2562 โดยมีผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ดังนี้ ด้าน ระดับคุณภาพ 1. คุณภาพของผู้เรียน ดีเยี่ยม 2. กระบวนการบริหารและการจัดการ ดีเยี่ยม 3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดีมาก ข้อเสนอแนะจากผลการประเมินคุณภาพภายในและภายนอก จุดเด่น ด้านคุณภาพของผู้เรียน 1. ผู้เรียนอ่านเขียนเพื่อการสื่อสารได้สองภาษา มีผลงานจากการแข่งขันความเป็นเลิศ ทางวิชาการ ทุกระดับชั้นอย่างต่อเนื่องทุกปี 2. ผู้เรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ระดับประเทศต่อเนื่อง 3. ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลงานชนะ การประกวดและได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย 4. ผู้เรียนสามารถบริหารจัดการขยะในโรงเรียนแบบครบวงจรและสามารถแยกขยะ และ รู้จักการลดปริมาณขยะในสถานศึกษา 5. ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น ได้เป็นจำนวนมาก ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ 1. สถานศึกษามีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมใน การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน


8 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2. ผู้บริหารมีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่น มีหลักการบริหารและมีวิสัยทัศน์ที่ดี และ คณะกรรมการ สถานศึกษามีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท มีการพัฒนาหลักสูตร โดยจัดห้องเรียนพิเศษ Mini English Program (MEP)การสอนภาษาจีน และการสอนวิชาชีพ 3. ผู้บริหารมีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี โดยได้รับการสนับสนุน และช่วยเหลือจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุล วิทยา เครือข่ายผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่อยู่บริเวณ ใกล้เคียง 4. ผู้บริหารคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา มีแผนงาน โครงการในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 5. สถานศึกษามีบริเวณโรงเรียนกว้างขวาง ร่มรื่นด้วยพรรณไม้นานาชนิดมีโครงการ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1. กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์ของครูทุกคน ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มีความต่อเนื่อง ครูใช้พื้นที่ทุกส่วนสำหรับจัดการเรียนรู้ส่งผลต่อ การยกระดับคุณภาพ 2. ครูทุกคนจัดทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research: CAR 1 - 4) แต่ละขั้นตอนของ CAR ทั้ง 4 ขั้นตอน ได้เรียนรู้วิชาชีพด้วยกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) มีความต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาสู่นวัตกรรม หรือแบบอย่างที่ดี ด้านคุณภาพของผู้เรียน สถานศึกษาควรต่อยอดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น มีการจัดเก็บฐานข้อมูลของ พืชศึกษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ออกสู่ชุมชนและเกิดเป็นประโยชน์กับมหาชนส่วนใหญ่เพื่อให้ สามารถผ่านเกณฑ์การประเมินเกียรติบัตรขั้นที่ 2 จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ โครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ได้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการดำเนินงานในอีกรูปแบบหนึ่งของ สวนพฤกษศาสตร์ โดยดำเนินกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช การรวมพันธุ์ไม้


9 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ที่มีชีวิต มีแหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ พันธุ์ไม้ มีการศึกษาต่อเนื่อง เป็นโครงการที่ดีมีคุณค่า ในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นแบบอย่างที่ดีในระดับภูมิภาค ควรดำเนินการให้เกิด ผลดียิ่งขึ้น โดยเพิ่มกิจกรรมจาก 8 กิจกรรมหลัก เช่น กิจกรรมอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช และเผยแพร่ผลงานการดำเนินโครงการให้กว้างขวางและเป็นแบบอย่างให้กับสถานศึกษาอื่น ๆ ในระดับประเทศต่อไป ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1. สถานศึกษาควรรวบรวมบทสรุป ของผลงานวิจัยเชิงปฏิบัติการทุกคน และทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานให้หลากหลายช่องทาง 2. สถานศึกษาควรศึกษาวิธีการถอดบทเรียนในการพัฒนาวิชาชีพครู ใช้วิธีการเรียนรู้ จากการปฏิบัติจริงของงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแต่ละขั้นตอนของ CAR ทั้ง 4 ขั้นตอน ด้วยการทำ PLC (Professional Learning Community) ร่วมกันถอดบทเรียนวิธีปฏิบัติที่ดี (Best practice) ของ การแก้ปัญหา การจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โรงเรียนบ้านฉาง กาญจนกุลวิทยา ดำเนินงานอย่างเป็นระบบตามแนวทางของเดมมิ่ง (Deming Cycle) สรุปผลการประเมินความโดดเด่น โครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนซึ่งเป็นโครงการที่สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช ทรัพยากรชีวภาพและกายภาพ มีการสัมผัสการเรียนรู้ การสร้างและปลูกฝังคุณธรรม การเสริมสร้างปัญญา และภูมิปัญญา สถานศึกษาควรต่อยอดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น มีการจัดเก็บฐานข้อมูลของพืช ศึกษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ออกสู่ชุมชน เพื่อให้สามารถ ผ่านเกณฑ์การประเมินเกียรติบัตรขั้นที่ 2 จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปัจจุบันได้รับเกียรติบัตรงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนขั้นที่ 1 เกียรติบัตรแห่งความมุ่งมั่น อนุรักษ์สรรพสิ่ง สรรพชีวิต ด้วยจิตสำนึกของครูและเยาวชนจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับรางวัล เหรียญทอง ชนะเลิศอันดับ 1 Best Practice ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประเภทสถานศึกษา ยอดเยี่ยมขนาดใหญ่ และได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนยอดเยี่ยม เรื่องการจัดการเรียนการสอน งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโดยใช้โมเดล BKW 4G จากสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18


10 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ส่วนที่ 2 รายละเอียดผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา “โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา” เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอบ้านฉาง ปัจจุบัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับบริจาคที่ดินจาก คุณสุธรรม และคุณนวลศรี กาญจนกุล และ ภายหลังได้รับบริจาคเพิ่มเติมจาก คุณนิยม บูรพา จนมีเนื้อที่รวมจำนวน 42 ไร่ 3 งาน 7.5 ตารางวา กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้เปิดโรงเรียนโดยให้เปิดมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทสหศึกษา จำนวน 1 ห้องเรียน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2518 ขณะนั้นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนยังไม่เสร็จ จึงได้ขออาศัย สถานที่โรงเรียนวัดบ้านฉาง จำนวน 1 ห้องเรียน เพื่อเป็นสถานที่เรียนไปก่อนขณะเดียวกัน หน่วย ช่วยเหลือประชาชนจากสนามบินอู่ตะเภา ได้ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการ ริเริ่มตั้งโรงเรียน สร้าง อาคารขึ้น 1 หลัง และย้ายมาทำการสอน ณ สถานที่ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2519 จากนั้น กรมสามัญศึกษา ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างอาคารเรียนให้กับโรงเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยมา 2.1 ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา 2.1.1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา รหัสสถานศึกษา 1021470227 ที่อยู่ 185 หมู่ 3 ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง รหัสไปรษณีย์ 21130 โทรศัพท์ 0-3860-2333 โทรสาร 0-3860-2333 E – mail [email protected] [email protected] Website http://www.bkwschool.ac.th สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ระดับที่เปิดสอน ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 เนื้อที่ 42 ไร่ 3 งาน 7.5 ตารางวา เขตพื้นที่บริการ ประกอบด้วย 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านฉาง ตำบลพลา ตำบลสำนักท้อน


11 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2.1.2 การบริหารจัดการแนวทางการจัดการศึกษา ทิศทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ปีการศึกษา 2565 ปรัชญาโรงเรียน ปญฺญา นรานํรตนํ ปัญญาเป็นแก้วอันมีค่าของมนุษย์ อัตลักษณ์ ยิ้ม ไหว้ ให้ปัน ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ วิสัยทัศน์ (Vision) ภาษาดี เทคโนโลยีเด่น เน้นคุณธรรม นวัตกรรมก้าวไกล ใส่ใจสิ่งแวดล้อม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พันธกิจ (Mission) 1. พัฒนาทักษะการสื่อสารทางด้านภาษา 2. บริหารจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนใน โลกดิจิทัล 3. จัดการศึกษาที่ปลูกฝังผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตร และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ 4. จัดระบบการบริหารจัดการศึกษา ให้โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ส่งเสริม และพัฒนา ผู้เรียนให้มีศักยภาพตามมาตรฐานสากล 5. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6. จัดการศึกษาบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสิ่งแวดล้อม เป้าประสงค์(Goals) 1. ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารด้านภาษาในชีวิตประจำวันและต่อยอดในการประกอบอาชีพ 2. มีแหล่งเรียนรู้ระบบ Online และ Offline ห้องปฏิบัติการ แหล่งฝึกทักษะประสบการณ์ และระบบกำกับติดตาม 3. ผู้เรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการเข้าถึงบริการด้านการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ผู้เรียนมีทักษะการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีม และมีภาวะผู้นำ มีทักษะการคิดขั้นสูงเท่าทัน การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัล 5. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร คุณลักษณะของ ความเป็นพลเมือง มีค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ และมีทักษะการดำรงชีวิต 6. สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการศึกษาครอบคลุมทั้งด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปภายใต้ การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน


12 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 7. ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สู่ผลงานเชิงนวัตกรรม รองรับความต้องการ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต 8. ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร การจัดการเรียนการสอน 9. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความสามารถในการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียน การสอนให้มีประสิทธิภาพ 10. ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกด้านการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ของนักเรียนและชุมชน กลยุทธ์(Strategies) กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างและพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะการสื่อสารด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น ในชีวิตประจำวัน กลยุทธ์ที่ 2 สนับสนุนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ระบบ Online และ Offline ห้องปฏิบัติการ แหล่งฝึกทักษะประสบการณ์ และระบบกำกับติดตาม กลยุทธ์ที่ 3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านระบบ Online และระบบ Offline เพื่อพัฒนาทักษะ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตามความต้องการความถนัดของผู้เรียนอย่าง มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 4 เสริมสร้างการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีมและมีภาวะผู้นำ มีทักษะการคิดขั้นสูง เท่าทันการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการปลูกจิตสำนึกให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตร มีคุณลักษณะของความเป็นพลเมือง มีค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ และมีสุขภาวะที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการศึกษา ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและการบริการ สาธารณะ ภายใต้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลยุทธ์ที่ 7 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านระบบ Online และระบบ Offline เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สู่ผลงานเชิงนวัตกรรม รองรับความต้องการ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต กลยุทธ์ที่ 8 ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ ด้านการจัดการเรียนการสอนทั้งระบบ On-site, Online ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม สามารถประยุกต์ใช้ Technology Digital Platform เป็นเครื่องมือในการบริหาร จัดการเรียนการสอน


13 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง กลยุทธ์ที่ 9 ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความสามารถในการวิจัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ (PLC) และให้ข้อมูลป้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการ จัดการเรียน (AAR) กลยุทธ์ที่ 10 ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกด้านการผลิตและบริโภค ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน กลยุทธ์ที่ 11 ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต น้อมนำศาสตร์ของพระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มา: งานแผนงาน 2.1.3 ข้อมูลบุคลากร 1) ข้อมูลผู้บริหาร ◆ นางกฤตติกา เบญจมาลา วุฒิการศึกษาสูงสุด ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน ◆ นางอำพัน สัจกุลชัยเลิศ วุฒิการศึกษาสูงสุด การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาวิชาบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน ◆ นางสาวจิรัตติกาญจน์ สุรีวรานนท์ วุฒิการศึกษาสูงสุด ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน ◆ นางสาวนันทนา ดอกไม้ วุฒิการศึกษาสูงสุด ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน ◆ นายมาโนช บัวกลิ่น วุฒิการศึกษาสูงสุด ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) การบริหารการศึกษา ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน


14 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2) ข้อมูลครูและ บุคลากร (ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566) ข้าราชการครู บุคลากรอื่น กลุ่ม/กลุ่มสาระ ชาย หญิง รวม ตำแหน่ง ชาย หญิง รวม ผู้บริหาร 1 4 5 ครูอัตราจ้าง 6 6 12 ภาษาไทย 2 9 11 ลูกจ้างประจำ - - - คณิตศาสตร์ 2 14 16 ลูกจ้างชั่วคราว 4 7 11 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7 18 25 เจ้าหน้าที่สำนักงาน 1 10 11 สังคมศึกษา 3 11 14 ครูผู้ทรงคุณค่า - - - สุขศึกษาและพลศึกษา 3 1 4 ยาม 1 - 1 ศิลปะ 3 4 7 พนักงานราชการ 1 - 1 การงานอาชีพ 4 5 9 ภาษาต่างประเทศ 1 12 13 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน - 4 4 รวม 26 82 108 รวม 13 23 36 สรุป จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทั้งสิ้น จำนวน 144 คน 3) วุฒิการศึกษาสูงสุดของบุคลากร วุฒิการศึกษา จำนวน ร้อยละ ปริญญาโท 31 21.53 ปริญญาตรี 98 68.06 ต่ำกว่าปริญญาตรี 15 10.42 รวม 144 100.00 10% 68% 22% ต่่ากว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท


15 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 4) วิทยฐานะของบุคลากร วิทยฐานะของบุคลากร ครูผู้ช่วย ครู คศ.1 ครู คศ.2 ครู คศ.3 รวม จำนวน 20 47 23 18 108 ร้อยละ 18.52 43.52 21.30 16.67 100.00 ที่มา: กลุ่มบริหารงานบุคคล 5) จำนวนครูจำแนกตามสาขาวิชา และภาระงานสอน สาขาวิชา จำนวน (คน) ภาระงานสอนเฉลี่ยของครู 1 คนในแต่ละสาขาวิชา (ชม./สัปดาห์) 1. บริหารการศึกษา 5 - 2. ภาษาไทย 12 18.75 3. คณิตศาสตร์ 16 18.33 4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 30 16.94 5. สังคมศึกษา 17 15.98 6. สุขศึกษาและพลศึกษา 6 19.72 7. ศิลปะ 8 18.43 8. การงานอาชีพ 8 16.87 9. ภาษาต่างประเทศ 22 17.57 10. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4 17.91 รวม 128 160.50 18.52 43.52 21.30 16.67 0.00 5.00 10.00 15.00 20.00 25.00 30.00 35.00 40.00 45.00 50.00 ครูผู้ช่วย ครู คศ.1 ครู คศ.2 ครู คศ.3


16 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 6) จำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้น จำนวนนักเรียน ปีการศึกษา 2565 รวม 2,594 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2565) ระดับชั้นเรียน จำนวน ห้องเรียน จำนวนนักเรียน รวม เฉลี่ย ชาย หญิง ต่อห้อง ม.1 14 258 311 569 41 ม.2 14 283 285 568 41 ม.3 14 233 297 530 38 รวม 42 774 893 1667 40 ม.4 8 122 209 331 41 ม.5 8 108 213 321 40 ม.6 7 88 187 275 39 รวม 23 318 609 927 40 รวมทั้งหมด 65 1,092 1,502 2,594 40 ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 ปี 2563 552 527 483 280 261 233 ปี 2564 568 544 528 323 283 257 ปี 2565 569 568 530 331 321 275 552 527 483 280 261 233 568 544 528 323 283 257 569 568 530 331 321 275 0 100 200 300 400 500 600 เปรียบเทียบจ่านวนนักเรียนระดับชั้น ม.1 - ม.6 ปีการศึกษา 2563 - 2565


17 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2.1.4 ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคม 2566) 1) ร้อยละของนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชาในระดับ 3 ขึ้นไป ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 ระดับชั้น รายวิชา(พื้นฐาน) ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สังคมศึกษาฯ ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สุขศึกษาฯ ศิลปะ การงานอาชีพ ม.1 54.59 26.87 62.94 66.87 59.64 58.39 95.80 67.75 75.26 ม.2 68.27 24.24 57.38 73.83 63.35 48.76 85.50 66.13 69.37 ม.3 67.83 34.81 69.11 80.64 72.86 52.08 93.07 82.54 73.24 ม.4 79.51 57.64 48.54 85.62 - 38.99 91.43 83.94 72.78 ม.5 71.40 45.42 54.00 57.02 39.54 35.13 95.26 72.87 85.45 ม.6 58.01 45.30 71.07 95.21 - 37.75 98.52 71.63 60.41 รวม 3,348 1,835 6,002 3,835 2,373 2,413 4,708 6,092 3,607 ร้อยละ 65.89 36.12 60.68 75.49 61.11 47.50 92.67 72.95 73.29 65.89 36.12 60.68 75.49 61.11 47.5 92.67 72.95 73.29 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศึกษาฯ ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สุขศึกษาฯ ศิลปะ การงานอาชีพ ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละวิชาในระดับ 3 ขึ้นไป ปีการศึกษา 2565


18 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2) ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ในระดับดีขึ้นไป ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 ระดับชั้น จำนวน นักเรียน ผลการประเมิน ระดับดี ขึ้นไป ร้อยละ ไม่ผ่าน ผ่าน ดี ดีเยี่ยม ม.1 559 - 34 109 416 525 93.92 ม.2 541 - 86 216 239 455 84.10 ม.3 524 - 80 196 248 444 84.73 ม.4 325 - 14 52 259 311 95.69 ม.5 305 - 39 98 168 266 87.21 ม.6 270 - 21 41 208 249 92.22 รวม 2,524 - 304 682 1,538 2,220 89.14 ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 ผ่าน 6.08 15.90 15.27 4.31 12.79 7.78 ดี 19.50 39.93 37.40 16.00 32.13 15.19 ดีเยี่ยม 74.42 44.18 47.33 79.69 55.08 77.04 6.08 15.90 15.27 4.31 12.79 7.78 19.50 39.93 37.40 16.00 32.13 15.19 74.42 44.18 47.33 79.69 55.08 77.04 0.00 10.00 20.00 30.00 40.00 50.00 60.00 70.00 80.00 90.00 100.00


19 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 3) ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีขึ้นไป ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 ระดับชั้น จำนวน นักเรียน ผลการประเมิน ระดับดี ขึ้นไป ร้อยละ ไม่ผ่าน ผ่าน ดี ดีเยี่ยม ม.1 559 - 24 79 456 535 95.71 ม.2 541 - 77 196 268 464 85.77 ม.3 524 - 72 176 276 452 86.26 ม.4 325 - 12 38 275 313 96.31 ม.5 305 - 37 95 173 268 87.87 ม.6 270 - 14 29 227 256 94.81 รวม 2,524 - 236 613 1,675 2,288 90.65 ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 ผ่าน 4.29 14.23 13.74 3.69 12.13 5.19 ดี 14.13 36.23 33.59 11.69 31.15 10.74 ดีเยี่ยม 81.57 49.54 52.67 84.62 56.72 84.07 4.29 14.23 13.74 3.69 12.13 5.19 14.13 36.23 33.59 11.69 31.15 10.74 81.57 49.54 52.67 84.62 56.72 84.07 0.00 10.00 20.00 30.00 40.00 50.00 60.00 70.00 80.00 90.00 100.00


20 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 4) ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปีการศึกษา 2565 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในระดับผ่านขึ้นไป สมรรถนะสำคัญ ผลการประเมิน ระดับผ่าน ขึ้นไป ร้อยละ ไม่ผ่าน ผ่าน ดี ดีเยี่ยม 1. ความสามารถในการสื่อสาร - 23 234 267 524 100 2. ความสามารถในการคิด - 36 270 218 524 100 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา - 49 303 172 524 100 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต - 42 203 279 524 100 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี - 40 209 275 524 100 รวม - 190 1,219 1,211 2,620 100 4.39 6.87 9.35 8.02 7.63 44.66 51.53 57.82 38.74 39.89 50.95 41.60 32.82 53.24 52.48 0% 20% 40% 60% 80% 100% ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะ ชีวิต ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยี ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินสมรรถนะส่าคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในระดับผ่านขึ้นไป ผ่าน ดี ดีเยี่ยม


21 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 5) ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปีการศึกษา 2565 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในระดับผ่านขึ้นไป สมรรถนะสำคัญ ผลการประเมิน ระดับผ่าน ขึ้นไป ร้อยละ ไม่ผ่าน ผ่าน ดี ดีเยี่ยม 1. ความสามารถในการสื่อสาร - 16 169 85 270 100 2. ความสามารถในการคิด - 47 157 66 270 100 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา - 47 120 103 270 100 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต - 28 156 86 270 100 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี - 21 176 73 270 100 รวม - 159 778 413 1,350 100 5.93 17.41 17.41 10.37 7.78 62.59 58.15 44.44 57.78 65.19 31.48 24.44 38.15 31.85 27.04 0% 20% 40% 60% 80% 100% ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะ ชีวิต ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยี ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินสมรรถนะส่าคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในระดับผ่านขึ้นไป ผ่าน ดี ดีเยี่ยม


22 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 - 2565 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 - 2565 2.93 2.73 2.88 3.05 3.4 3.14 3.01 2.94 3.14 2.46 2.82 3.22 3.64 3.18 3.19 2.84 0 0.5 1 1.5 2 2.5 3 3.5 4 ปีการศึกษา 2564 ปีการศึกษา 2565 2.99 2.85 2.89 3.04 3.35 3.02 3.04 2.92 3.17 2.47 2.92 3.23 3.67 3.33 3.38 3.06 0 0.5 1 1.5 2 2.5 3 3.5 4 ปีการศึกษา 2564 ปีการศึกษา 2565


23 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 1) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 รายวิชา คะแนนเฉลี่ย ระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับสังกัด สพฐ. ระดับประเทศ ภาษาไทย 60.73 58.30 53.91 52.95 ภาษาอังกฤษ 37.89 36.64 31.75 32.05 คณิตศาสตร์ 26.64 26.52 24.66 24.39 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 37.28 35.63 33.67 33.32 หมายเหตุ คะแนนเฉลี่ยทุกรายวิชาของนักเรียนสูงกว่าระดับจังหวัด ระดับสังกัด สพฐ. และ ระดับประเทศ 60.73 37.89 26.64 37.28 58.30 36.64 26.52 35.63 53.91 31.75 24.66 33.67 52.95 32.05 24.39 33.32 0.00 10.00 20.00 30.00 40.00 50.00 60.00 70.00 ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับสังกัด สพฐ ระดับประเทศ 63.2 40.11 27.13 35.69 60.73 37.89 26.64 37.28 2.32 -2.18 -0.54 3.52 ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564-2565 ปี 2564 ปี 2565 ผลต่าง


24 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 รายวิชา คะแนนเฉลี่ย ระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับสังกัด สพฐ. ระดับประเทศ ภาษาไทย 53.25 50.09 45.79 44.09 สังคมศึกษาฯ 37.22 35.25 33.62 33.00 ภาษาอังกฤษ 26.74 26.57 23.59 23.44 คณิตศาสตร์ 28.30 26.02 22.39 21.61 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 30.36 31.10 28.78 28.08 หมายเหตุ คะแนนเฉลี่ยทุกรายวิชาของนักเรียนสูงกว่าระดับจังหวัดในรายวิชาภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สูงกว่าระดับสังกัด สพฐ. และระดับประเทศทุกรายวิชา ที่มา: งานวัดผลและประเมินผล 53.25 37.22 26.74 28.30 30.36 50.09 35.25 26.57 26.0231.10 45.79 33.62 23.59 22.3928.78 44.03 33.00 23.44 21.6128.08 0.00 10.00 20.00 30.00 40.00 50.00 60.00 ภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับสังกัด สพฐ ระดับประเทศ 50.41 41.03 31.96 25.98 29.63 53.25 37.22 26.74 28.3 30.36 4.61 4.10 1.98 -0.28 -5.47 ภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564 - 2565 ปี 2564 ปี 2565 ผลต่าง


25 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2.1.5 ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม แหล่งเรียนรู้ภายใน/ ภายนอกสถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ◆ สภาพชุมชนโดยรอบโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ตั้งอยู่ในเขตอำเภอบ้านฉาง ซึ่งมีเนื้อที่ 238 ตาราง กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 77,393 คน และได้รับการกำหนดให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและ อุตสาหกรรมไร้มลภาวะ สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นพื้นที่การเกษตร บริเวณ ใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนได้แก่ พื้นที่เกษตร อาชีพหลักของชุมชนคือ กสิกรรม เนื่องจากมีพื้นที่ การเกษตร จำนวน 46,006 ไร่ นอกจากนี้ยังมีประมง ปศุสัตว์ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม ขนาดย่อม ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี/ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ประเพณีบุญข้าวหลาม หรือทำบุญกลางทุ่ง ประเพณีลอยกระทง และแข่งเรือทะเล ประเพณี สงกรานต์ ◆ ข้อมูลผู้ปกครอง ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 73.74 ประกอบอาชีพ รับจ้าง ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้เฉลี่ยต่อปี 62,580 บาท ◆ โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน ได้รับการสนับสนุนจากชุมชน วัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ และการจัดหาทุนเพื่อการศึกษาเป็นอย่างดี ได้รับการสนับสนุนจากชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับภูมิ ปัญญาท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ และแหล่งเรียนรู้ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ในชุมชน เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาด้านศาสนา นอกจากนี้ทางวัดยังให้ความช่วยเหลือ ในการจัดหาทุนให้กับนักเรียนทุกปี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็เช่นเดียวกันได้ช่วยในการพัฒนา สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน จัดหางบประมาณตามโครงการที่โรงเรียนได้ร้องขอ ในบางโอกาสทางองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจะจัดสรรให้กับโรงเรียนเอง เช่น สนามฟุตบอล ได้รับงบประมาณจากแผน ขจัดมลพิษ ของจังหวัดระยอง ได้รับเงินช่วยเหลือสนับสนุนจากกองทุนไฟฟ้าในการสร้างอาคารเรียน และซ่อมแซมโรงเรียนในส่วนต่าง ๆ รวมถึงการให้งบประมาณสนับสนุนในการจ้างครูต่างชาติ สำหรับการสอนภาษาอังกฤษ


26 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ข้อมูลการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน สถิติการใช้ ชื่อแหล่งเรียนรู้ จำนวนครั้ง / ปี 1. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3,440 2. ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 7,160 3. ห้องปฏิบัติการทัศนศิลป์ 2,120 4. ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ 1,400 5. ห้องปฏิบัติการดนตรีไทย 720 6. ห้องปฏิบัติการดนตรีสากล 1,360 7. ห้องปฏิบัติการคหกรรม 600 8. ห้องปฏิบัติการงานบ้าน/ งานประดิษฐ์ 1,920 9. ห้องปฏิบัติการงานช่าง 1,000 10. ห้องธุรกิจอาชีพ 480 11. ห้องปฏิบัติการเกษตร 600 12. ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ 680 13. ห้องปฏิบัติการภาษาต่างประเทศ 2,040 14. ห้องปฏิบัติการภาษาไทย 680 15. ห้องแนะแนว 2,440 16. ห้อง Eco-school 180 17. ห้องพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ 180 18. ห้องงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 180 19. ห้องสมุดโรงเรียน 240 20. ห้อง SYS 680 21. สนามกีฬา 2,960 22. หอประชุม/ ห้องโสตทัศนศึกษา/ ห้องประชุมกองทุนพัฒน์ 45


27 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน สถิติการใช้ ชื่อแหล่งเรียนรู้ จำนวนครั้ง / ปี 1. อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ และสวนสัตว์เขาเขียว จ.ชลบุรี 2 2. เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ 1 3. อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก จ.จันทบุรี 1 4. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จ.จันทบุรี 1 5. โบราณสถานค่ายตากสิน กองพันทหารราบที่ 2 จ.จันทบุรี 1 6. พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลุยส์ทุสโซด์ส จ.ชลบุรี 1 7. โรงแรมโกลเด้นซิตี้ระยอง จ.ระยอง 1 8. ป่าชุมชนเขาภูดรห้วยมะหาด จ.ระยอง 2 9. ชุมชนบ้านเนินสำเหร่ จ.ระยอง 1 10. ป่าแม่ตืนแม่แตง จ.เชียงใหม่ 1 11. ชุมชนโบราณชากแง้ว จ.ชลบุรี 2 12. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จ.ปทุมธานี 1 2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ในปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา ได้พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐาน การศึกษาที่โรงเรียนกำหนด จำนวน 3 มาตรฐาน โดยการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมที่กำหนด ในแผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งมีผลสำเร็จตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นรวมทั้งโรงเรียนมีการสนับสนุน การดำเนินงานประจำทั้งด้านการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ การจัดกิจกรรม ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนทั้งในเวลาและนอกเวลาเรียนด้วยรูปแบบต่าง ๆ และมีการจัดระบบ การบริหารจัดการที่ส่งเสริมสนับสนุนคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนจาก การดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้โรงเรียนมีผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา อยู่ใน ระดับ ยอดเยี่ยม โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิตามที่ต้นสังกัดประกาศแต่งตั้งร่วมประเมินด้วย ดังมีรายละเอียดของ ผลการประเมินตนเอง ดังนี้


28 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม กระบวนการพัฒนา (ประเด็นพิจารณา) ผลการพัฒนา 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน - มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ โรงเรียนมอบหมายให้ทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้จัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียน เกิดทักษะ การอ่าน และการเขียนโดยเฉพาะ อย่างยิ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้านภาษา การจัด กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการอ่าน การเขียนตาม ตัวชี้วัดของหลักสูตรและทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนได้สืบค้นข้อมูล หาคำตอบด้วย ตนเอง โดยจัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนให้นักเรียน ได้เรียนรู้อย่าง เต็มตามศักยภาพ เช่น - โครงการพัฒนานักเรียนอ่านเขียนให้คล่อง - โครงการพัฒนาการเรียนการสอนและ ส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนเพื่อเข้าร่วม แข่งขันทางภาษาไทย - โครงการเปิดบ้านคณิตศาสตร์ - โครงการคณิตคิดสัญจร - โครงการพัฒนาทักษะวิชาการทางด้าน คณิตศาสตร์เพื่อการแข่งขัน (การแข่งขัน A-MATH และ SUDOKU, ค่ายอัจฉริยภาพ สอบ TEDET, การสอบแข่งขันทักษะ วิชาการคณิตศาสตร์นานาชาติ) - โครงการค่ายเชิงปฏิบัติการด้านวัฒนธรรม ทางภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น - โครงการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาทักษะ ทางภาษาต่างประเทศ - ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน และสื่อสารภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ได้เหมาะสมตามระดับชั้น - จากสถิติข้างต้น พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นมีผล การประเมินในการอ่าน การเขียน และการสื่อสาร ภาษาไทย ในระดับดีขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 95.88 สูงกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 85 - จากสถิติข้างต้น พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นมีผล การประเมินในการอ่าน การเขียน และการสื่อสาร ภาษาต่างประเทศ ในระดับดีขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 93.07 สูงกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 55


29 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง กระบวนการพัฒนา (ประเด็นพิจารณา) ผลการพัฒนา - โครงการสัปดาห์ห้องสมุดและสุดยอด นักอ่าน - โครงการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรัก การอ่าน นอกจากนี้ได้ดำเนินการส่งเสริมผู้เรียน ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการด้วยการจัดกิจกรรม และโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ - ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดคำนวณได้ เหมาะสมตามระดับชั้น - จากสถิติข้างต้น พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นมี ความสามารถในการคิดคำนวณได้ในระดับดีขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 80.30 สูงกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 65 - มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นและแก้ปัญหา โรงเรียนมอบหมายให้ทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียน มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์คิดอย่าง มีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมนั้น โรงเรียนได้ส่งเสริมให้นักเรียน ทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ร่วมคิดร่วมทำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อความคิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา และนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้ เป็นต้น ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย เช่น การจัดการเรียนรู้รูปแบบสมรรถนะ OLE ส่งผล ให้นักเรียนมีความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น แก้ปัญหา และนำไปประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม - ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและแก้ปัญหา - จากสถิติข้างต้น พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้น มีความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมี วิจารณญาณอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ แก้ปัญหาได้ในระดับดีขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 80.74 ต่ำกว่า ค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 85


30 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง กระบวนการพัฒนา (ประเด็นพิจารณา) ผลการพัฒนา - มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม โรงเรียนมอบหมายจัดการเรียนรู้รูปแบบ บูรณาการที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีทักษะด้านการ เรียนรู้ ทักษะตามการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง สามารถสร้าง นวัตกรรมนำไปใช้และเผยแพร่ได้ เช่น รายวิชา การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS) การสอนแบบ โครงงาน นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมตามโครงการ เช่น กิจกรรมชุมนุม โครงการเข้าร่วมการแข่งขัน IT DAY 2022 ส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถในการ สร้างนวัตกรรมมีการนำไปใช้และเผยแพร่ได้ - ผู้เรียนร้อยละ 87 ขึ้นไปมีความรู้และทักษะพื้นฐาน ในการสร้างนวัตกรรม เช่น โครงงาน สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีโดยมีการจัดประกวด ประกวดโครงงานนักเรียนในโครงการโรงเรียน มาตรฐานสากล ประจำปีการศึกษา 2565 และ การแข่งขัน IT DAY 2022 วิทยาลัยเทคโนโลยี ภาคตะวันออก (อีเทค) จังหวัดชลบุรี ได้รับรางวัล รองชนะเลิศ อันดับ 1 การแข่งขัน Animation Contest 2022 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย - ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนมอบหมายให้ทุกกลุ่มสาระการ เรียนรู้ บูรณาการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนใช้ เทคโนโลยีในการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองในการ นำเสนอวีดีทัศน์คลิปวีดีโอ นำเสนองานผ่าน โปรแกรม PowerPoint, Canva และส่งงานโดย ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น E-Mail, Facebook, Line, Google Classroom, Google Drive และ Youtube นอกจากนี้กลุ่มบริหารวิชาการร่วมกับ กลุ่มงานเทคโนโลยียังได้จัดทำโครงพัฒนา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการเรียน การสอน โดยจัดซื้อคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่อ จำนวนนักเรียนและทันสมัย จัดค่ายปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมประยุกต์ เพื่อให้ นักเรียนได้มีความรู้ที่หลากหลายนำไปปรับใช้ใน การเรียนรายวิชาต่าง ๆ อีกทั้งครูผู้สอนได้นำ เทคโนโลยีที่หลากหลายประยุกต์ใช้ในการจัดการ เรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูผู้สอนวิชา - ผู้เรียนร้อยละ 100 มีความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนา ตนเองได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย ดังนี้ 1. ผู้เรียนสามารถศึกษา เรียนรู้ผ่านระบบ Online โดยใช้โปรแกรมต่าง ๆ ได้ เช่น Zoom, Google Meet, E-Mail, Line, Facebook, Google Classroom 2. ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดทำ ข้อมูล ผลงาน และสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ 3. ผู้เรียนสามารถสื่อสารโดยการใช้เทคโนโลยี ที่เหมาะสมและปลอดภัย


31 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง กระบวนการพัฒนา (ประเด็นพิจารณา) ผลการพัฒนา คอมพิวเตอร์จะเน้นให้นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์ ใช้สื่อ เทคโนโลยีในการส่งงาน โรงเรียนจัดแนวทางการให้ นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือในการค้นคว้าข้อมูล ส่งผล ให้นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์และสื่อ Social Media ได้อย่างมีคุณภาพ และไม่ละเมิด พรบ. คอมพิวเตอร์ - มีผลสัมฤทธิ์การทางการเรียน ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนมอบหมายให้ทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้สอนตามตัวชี้วัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายวิชาที่ใช้ทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ เข้มข้นขึ้นในทุกรายวิชาที่ทดสอบ ทำให้คะแนน เฉลี่ยสูงขึ้นกว่าระดับประเทศทุกรายวิชา นอกจากนี้โรงเรียนยังได้จัดทำโครงการ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแต่ละ กลุ่มสาระการเรียนรู้ โครงการพัฒนาการเรียน การสอนและส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนเพื่อเข้า ร่วมแข่งขันทางภาษาไทย คณิตศาสตร์โครงการ ส่งเสริมสมรรถนะทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ โครงการค่ายทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 2.50 ขึ้นไป ระดับชั้น ม.1 - 6 ปีการศึกษา 2565 - จากสถิติข้างต้น พบว่า นักเรียนระดับชั้น ม.1 - 6 มีผลการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 2.50 ขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 77.21 ต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 80 - ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน มัธยมศึกษาปีที่ 3 - เปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติ มัธยมศึกษาปีที่ 3


32 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง กระบวนการพัฒนา (ประเด็นพิจารณา) ผลการพัฒนา - ผู้เรียนมีผลการทดสอบระดับชาติในปีการศึกษา 2565 ผลคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ทุกรายวิชา และมีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นจากปีที่ ผ่านมาในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่มี บางรายวิชาที่มีผลการทดสอบลดลง ได้แก่ รายวิชา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ - ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน มัธยมศึกษาปีที่ 6 - เปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติ มัธยมศึกษาปีที่ 6 - ผู้เรียนมีผลการทดสอบระดับชาติในปีการศึกษา 2565 ผลคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ทุกรายวิชา และมีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นจากปีที่ ผ่านมาในรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่มีบางรายวิชาที่มีผล การทดสอบลดลง ได้แก่ รายวิชาสังคมศึกษาฯ และ ภาษาอังกฤษ


33 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง กระบวนการพัฒนา (ประเด็นพิจารณา) ผลการพัฒนา - มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่อ งานอาชีพ โรงเรียนมอบหมายให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรฯ มุ่งสอน ทักษะอาชีพเพื่อให้นักเรียนที่จบ ม.3 และ ม.6 สามารถใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้ กิจกรรมแนะแนว แนะนำให้นักเรียนสามารถ วิเคราะห์ความต้องการของตลาด เลือกสาขาวิชา เรียนที่สอดคล้อง และมีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ นอกจากนี้งานแนะแนวยังนำนักเรียนเข้าร่วม กิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพ เช่น งานเปิดบ้าน วิชาการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ตามโครงการเปิด โลกทัศน์เส้นทางสายอาชีพสู่ EEC ปีการศึกษา 2565 กิจกรรมแนะแนวจากวิทยาลัยเทคนิคนิคม อุตสาหกรรมระยอง และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด - ร้อยละของนักเรียนชั้น ม.3 ที่ศึกษาต่อปีการศึกษา 2565 (ข้อมูล ณ วันที่ 13 มีนาคม 2566) - ร้อยละของนักเรียนชั้น ม.6 ที่ศึกษาต่อในระดับ มหาวิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ ปีการศึกษา 2565 (ข้อมูล ณ วันที่ 10 เมษายน 2566) - จากสถิติข้างต้น พบว่า นักเรียนระดับชั้น ม.3 และ ม.6 มีความสนใจและมีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ เฉลี่ยร้อยละ 97.64 สูงกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 85


34 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง กระบวนการพัฒนา (ประเด็นพิจารณา) ผลการพัฒนา 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 1) มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่ สถานศึกษากำหนด โรงเรียนได้ประชุมชี้แจงครูผู้สอนทุกคนให้จัด กิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดทำ โครงการกิจกรรมให้สอดคล้องกับมาตรฐาน และ ครอบคลุมทุกตัวบ่งชี้ อีกทั้งมีบทบาทสำคัญในการ อบรมคุณธรรม จริยธรรม ครูทุกคนร่วมกันอบรม สอดแทรกทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมโฮมรูม นอกจากนี้โรงเรียนยังได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมพัฒนางานดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการ สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โครงการเข้าค่ายอบรมจริยธรรม กิจกรรมจิตอาสา เพื่อสังคม และสาธารณประโยชน์ส่งผลให้นักเรียน มีคุณลักษณะและค่านิยมที่น่าพึงพอใจ - จากสถิติข้างต้น พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 90.65 ต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 95 2) มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย โรงเรียนเน้นให้ครูผู้สอนบูรณาการเกี่ยวกับ ประเพณีการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย โดยให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่เน้นบูรณาการสอดแทรกการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ภาษาถิ่น นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีโครงการพัฒนา นักเรียนด้านการแสวงหาความรู้เรื่องเศรษฐกิจ พอเพียง โครงการพัฒนางานสิ่งแวดล้อม กิจกรรม ค่ายนักสืบสายลม และกิจกรรมค่ายนักสืบชายหาด โครงการอบรมเพลงพื้นบ้าน ละครเพลงฉ่อย นำนักเรียนไปทัศนศึกษาเกี่ยวกับการสร้าง ฝายชะลอน้ำ และโครงการทัศนศึกษาตามรอยไทย - ผู้เรียนร้อยละ 100 มีความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย


35 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง กระบวนการพัฒนา (ประเด็นพิจารณา) ผลการพัฒนา ส่งผลให้นักเรียนมีความภูมิใจและ เห็นคุณค่าทาง ภูมิปัญญาไทย 3) ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและ ความหลากหลาย โรงเรียนมุ่งเน้นให้ครูผู้สอนบูรณาการใน รายวิชาของตนเองตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมฯ มุ่งให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรายวิชา อาเซียนศึกษา หน้าที่พลเมือง ตามตัวชี้วัดของ หลักสูตรวิชาสังคมฯ โดยจัดกิจกรรมทุกระดับชั้น เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีของสังคม - ผู้เรียนร้อยละ 100 ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบน ความแตกต่างและความหลากหลาย โดยมี โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ - กิจกรรม Christmas Day - กิจกรรม Chinese New Year - กิจกรรม วันทานาบาตะ - กิจกรรม สัปดาห์อาเซียน - กิจกรรม สภานักเรียน - โครงการ กีฬาภายใน (ศรีตรังเกมส์) - โครงการ ค่ายลูกเสือเนตรนารีและยุวกาชาด 4) มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม โรงเรียนได้มอบหมายให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมให้นักเรียนรู้วิธีสร้างเสริมสุขภาพ และการ ป้องกันโรค บูรณาการทุกรายวิชาตามตัวชี้วัดตาม หลักสูตรแกนกลางฯ นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ นักเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนที่มี พัฒนาการด้านน้ำหนัก ส่วนสูง ที่ไม่เป็นไปตาม เกณฑ์มาตรฐานทาง สสส. ส่วนเรื่องจิตสังคมนั้นให้ ครูทุกคนดูแลภาวะจิตของนักเรียน ให้นักเรียนอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข ตลอดจนครูแนะแนว ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่น รู้จักปรับตัว ครูที่ปรึกษาจัดกิจกรรมโฮมรูม ทดสอบ EQ และ SDQ ที่ส่งเสริมทักษะชีวิตพัฒนาสุขภาพกายและ จิตให้สมบูรณ์ จัดโครงการส่งเสริมสุขอนามัย ส่งผล ให้นักเรียน มีความรู้มีภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับการสร้าง เสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค - จากสถิติข้างต้น พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นส่วนสูง และน้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เฉลี่ยร้อยละ 74.70 ต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 85


36 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จุดเด่น ผู้เรียนมีสุขนิสัย ในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีน้ำหนัก ส่วนสูง มีสมรรถภาพทางกายและออกกำลังกายตามเกณฑ์มาตรฐาน รู้จักป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด เข้าเรียน โรงเรียนตรงเวลา ใช้คำพูดสุภาพ มีสัมมาคารวะ แสดงความเคารพพ่อแม่ ครูและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม ตามอัตลักษณ์ของสถานศึกษา “ยิ้มไหว้ ให้ปัน ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์” มีความซื่อสัตย์ ความกตัญญู รู้จักการช่วยเหลือ การเสียสละ เห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติผู้อื่น มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีทักษะในการ แสวงหาความรู้ การเรียนรู้อยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลาย การใช้เทคโนโลยี รู้จัก วางแผนการทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน มีความภูมิใจในผลงานของตนเอง สามารถทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้ จุดควรพัฒนา ผู้เรียนในระดับชั้น ม.1 – ม.3 ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการนำเสนอ การอภิปราย และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ผู้เรียนในระดับชั้น ม.4 – ม.6 ยังต้องได้รับการส่งเสริมในด้านทัศนคติที่ดีต่อความเป็นไทย ไม่หลงใหลกับ ค่านิยมต่างชาติ จนเกิดการลอกเลียนแบบ ทำให้ลืมวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น 1. ดำเนินการต่อเนื่องโครงการโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดระยอง เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาในสถานศึกษา ให้บรรลุเป้าหมาย มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ 2. จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการภายใต้ School Concept คือ ภาษาดี เทคโนโลยีเด่น โดย จัดการเรียนการสอนเน้นแบบบูรณาการทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


37 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม 2.1 การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน กระบวนการพัฒนา โรงเรียนดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยกำหนดโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารทั่วไป โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบทของโรงเรียน จากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมศิษย์เก่า และฝ่ายบริหารของโรงเรียนโดยการศึกษาข้อมูล สารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมิน การจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และ จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อวางแผนร่วมกัน ในการกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษาระยะยาว 3 - 5 ปีแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาพร้อมทั้งจัดหาทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ดำเนินการ นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา ผลการพัฒนา บุคลากรของโรงเรียนทุกคนรับทราบถือปฏิบัติ และนำข้อมูลผลการดำเนินงานมาทำการทบทวน วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณอย่างเป็นระบบ พร้อมรายงาน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โรงเรียนกำกับ ติดตามการดำเนินงาน กิจกรรมให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ โรงเรียนดำเนินการร่วมวิเคราะห์สภาพบริบทของโรงเรียนด้วยเทคนิค SWOT Analysis โดยผู้บริหาร หัวหน้างาน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ร่วมกันวิเคราะห์ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของ หน่วยงานตนเอง แล้วกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์กรอบกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษาความต้องการ ของชุมชน ท้องถิ่น และ สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ โครงการพัฒนางานแผนงาน งานจัดสรร งบประมาณในโรงเรียนที่มีระบบ และขั้นตอนที่ชัดเจนส่งผลให้การบริการด้านใช้งบประมาณ มีประสิทธิภาพ ครูติดต่อประสานงานได้สะดวกขึ้น ทุกงาน ทุกกลุ่มสาระฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ที่เหมาะสมกับภารกิจ การเบิกจ่ายและการดำเนินโครงการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และถูกต้องตาม ระเบียบของโรงเรียน ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม


38 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา กระบวนการพัฒนา โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ดีเยี่ยม ก่อให้เกิดแผนพัฒนา คุณภาพการจัด การศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูล สารสนเทศถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ มีการดำเนินการอย่างเป็น โดยมีการประชุม การทำงานทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันกำหนดมาตรฐานการศึกษา ค่าเป้าหมายและผู้รับผิดชอบ เพื่อให้เป็นไป ตามหลักการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นไปตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ การใช้กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 โดยโรงเรียนใช้มาตรฐานการประกันคุณภาพเป็นแนวทางหนึ่งใน การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน กำหนดให้ทุกปีการศึกษาประเมินตนเอง ตรวจสอบ คุณภาพการศึกษา เพื่อนำข้อมูลนั้นมาปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามหลัก PDCA อีกทั้งมีการ ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกัน มีกิจกรรม จัดสภาพแวดล้อม ทางกายภาพ และสังคมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดและสรุป ความคิดอย่างเป็นระบบจนสามารถนำไปใช้แก้ปัญหา และนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม โดยรวม คณะครูและบุคลากรมีความรู้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สามารถนำไปพัฒนากระบวนทัศน์ ในการทำงานได้ ผลการพัฒนา ภายใต้ระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาข้างต้น ส่งผลให้โรงเรียนบริหารจัดการได้อย่าง เป็นระบบ ระบบการบริหารการเงินเป็นไปตามขั้นตอนของกระทรวงการคลัง และเปิดเผยต่อชุมชน ระบบ การบริหารจัดการพัสดุและสินทรัพย์ที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ ในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการประชุม วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค และโอกาส แล้วนำมากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจน มีการจัดสรร งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ แผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสถานศึกษา มีระบบบริหารจัดการคุณภาพที่ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้โรงเรียน ผู้บริหาร ครู นักเรียน เป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบบบริหารจัดการ คุณภาพของโรงเรียนมีประสิทธิภาพส่งผลให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนคุณภาพยอดนิยมประจำอำเภอ ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม


39 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตร สถานศึกษา และ ทุกกลุ่มเป้าหมาย กระบวนการพัฒนา โรงเรียนดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการ ที่ประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้างานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่มีโครงสร้าง องค์ประกอบของหลักสูตรครบถ้วน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาชาติหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม และการขยายตัวของ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ตอบสนองวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดเน้นของสถานศึกษา ผ่านความ เห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน และนำสู่การปฏิบัติโดยครูนำไปจัดทำ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ลำดับเนื้อหาสาระตามกระบวนการเรียนรู้ บูรณาการสภาพปัญหาและความ ต้องการของท้องถิ่นในรายวิชาพื้นฐาน และหรือรายวิชาเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ อิงมาตรฐาน หลักสูตรมีความหลากหลายตอบสนองต่อความต้องการ วิเคราะห์กำหนดรายวิชาเพิ่มเติมและ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีเนื้อหา/สาระการเรียนรู้/กิจกรรมเหมาะสมตามโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา และสถานการณ์ในปัจจุบันของนักเรียนทุกระดับชั้นอย่างหลากหลาย เพียงพอตามความต้องการ ความถนัดและความสนใจ และติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา นำข้อมูลผลการประเมินไป ทบทวนปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ผลการพัฒนา โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษา ที่ประกอบด้วยโครงสร้าง และองค์ประกอบของหลักสูตร ครบถ้วนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ตอบสนองวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดเน้นของ สถานศึกษา กำหนดเวลาเรียนเหมาะสมกับระดับชั้นเรียน และครูนำไปจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ลำดับเนื้อหาสาระตามกระบวนการเรียนรู้ บูรณาการสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น ในรายวิชา พื้นฐานและหรือรายวิชาเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม ออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน มีหลักสูตร ที่หลากหลายสนองตอบต่อความต้องการ นักเรียนได้มีส่วนร่วมทุกรายวิชา มีโอกาสลงมือปฏิบัติ ในสถานการณ์จริงหรือใกล้เคียงสถานการณ์จริง มีการจัดรูปแบบการสอนประเภทออนไลน์ มีผลงาน/ โครงงาน/โครงการ ที่แสดงให้เห็นการอธิบายวิธีคิด และสรุปความคิดของผู้เรียน และมีการติดตาม ประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา นำข้อมูลผลการประเมินไปทบทวน ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม


40 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ กระบวนการพัฒนา โรงเรียนส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญ ในสาขาวิชาที่ตนสอน หรืองานที่ตนเองรับผิดชอบ สามารถเลื่อนหรือมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น หากมี ครูขาดอัตรากำลัง โรงเรียนเรียกบรรจุ หรือรับย้าย หรือประกาศรับครูอัตราจ้าง เจ้าหน้าที่ ตรงกับสาขา ที่ขาดแคลน ขณะเดียวกันกลุ่มบริหารบุคคลยังได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากรทั้งโรงเรียน เพื่อให้ครูและ บุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพครูและ บุคลากรทางการศึกษา โครงการอบรมพัฒนาวินัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครูและบุคลากร ทางการศึกษา โครงการพัฒนาครูและบุคลากรเกี่ยวกับการศึกษาดูงานภายในประเทศ และโครงการอบรม ภาษาอังกฤษให้กับครูไทยที่สอนห้องเรียน EIS ครู Co-teacher ห้องเรียน MEP “English Workshop for BKW Teachers” มีการนิเทศติดตามการสอนของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ครูและ บุคลากรได้พัฒนาวิชาชีพการทำวิทยฐานะในระดับต่าง ๆ ทำให้โรงเรียนมีครูและบุคลากรทางการศึกษา ตรงตามเอกสาขาวิชาที่สอนทุกคนและได้รับการพัฒนาตนเองเป็นไปตามเป้าหมาย ผลการพัฒนา โรงเรียนมีแผนงาน/ โครงการ/ กิจกรรม ที่ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากร ทั้งด้าน ความรู้ความสามารถและทักษะตามมาตรฐานประกอบด้วย การพัฒนาครูตามมาตรฐานตำแหน่ง และ มาตรฐานวิทยฐานะ ได้แก่ ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้พัฒนาวิชาชีพ การทำวิทยฐานะในระดับต่าง ๆ เมื่อถึงเวลาการจัดทำแผนพัฒนาตนเองของครูและบุคลากรทางการศึกษา (Id Plan) การจัดทำแบบบันทึก ข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) เพื่อนำเสนอข้อตกลงในการพัฒนางาน สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการนิเทศติดตามการสอนของทุกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูสร้างชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้การสร้างชุนชนเรียนรู้ติดตามการอบรม พัฒนาครูและบุคลากรด้วยกระบวนการนิเทศติดตา ม และพัฒนา (Coaching and Mentoring) นอกจากนั้นยังสนับสนุนให้ครูบุคลากรเข้ารับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม


41 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ กระบวนการพัฒนา โรงเรียนมีแผนงาน / โครงการ / กิจกรรม พัฒนาอาคารสถานที่ให้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำ โรงอาหาร หอประชุม ห้องสมุด อาคารประกอบการ สนามกีฬา ทางเดินระหว่างอาคารเรียน (Cover Way) ฯลฯ ทุกแห่งสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย จัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนให้สวยงาม ร่มรื่น ภายในห้องเรียน มีสิ่งอำนวยความสะดวกใน การเรียนรู้ ได้แก่ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้อย่างเพียงพอกับผู้เรียน และพร้อมใช้งาน จัดพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Learning Space) ภายในโรงเรียนครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ทันสมัย เพียงพอ และสะดวกต่อการใช้งาน ผลการพัฒนา โรงเรียนมีแผน / โครงการ / กิจกรรมพัฒนาอาคารสถานที่ ทำให้ห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ ภายในโรงเรียนห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำ โรงอาหาร หอประชุม ห้องสมุด อาคารประกอบการ สนามกีฬา ทางเดินระหว่างอาคารเรียน (Cover Way) ฯลฯ ทุกแห่งมีความสะอาด เป็นระเบียบ ภายใต้งบประมาณ ที่ได้รับจัดสรรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพมีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย จัดสภาพแวดล้อมภายนอก ห้องเรียนให้สวยงาม ร่มรื่น โดยจัดทำโครงการบริการซ่อมวัสดุ และครุภัณฑ์ของห้องเรียน โครงการจัดซื้อ โต๊ะ เก้าอี้นักเรียน โครงการปรับปรุงซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างที่เสียหาย และปรับภูมิทัศน์ โครงการปรับปรุง ระบบเสียงหอประชุมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าในโรงอาหารภายในห้องเรียน มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้โครงการปรับปรุงห้องสมุด B.K.W Library มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภายในโรงเรียนครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพียงพอ ต่อการใช้งาน และผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้สะดวกและรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุน การจัดการเรียนรู้โดยพัฒนาทั้งในส่วนของงานและส่วนของบุคลากร ส่งผลให้ห้องเรียนทุกห้องเป็น ห้องเรียนคุณภาพ มีสื่อเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่ทันสมัย ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี ส่งผลต่อ การเรียนรู้ที่ดีขึ้น ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ความสามารถในการสร้างสื่อประเภท ICT เพื่อใช้ใน การจัด การเรียนการสอนของตน มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม


42 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ กระบวนการพัฒนา โรงเรียนมีการจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการโดยใช้ โปรแกรมต่าง ๆ เช่น ระบบทะเบียนวัดผล ระบบสารสนเทศ มีการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถเข้าถึงสะดวก รวดเร็วและตรวจสอบได้ กลุ่มงานทั้ง 4 กลุ่มงาน คือ กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารทั่วไป รวมทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการกำหนดผู้รับผิดชอบจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุมภารกิจ แต่งตั้งคณะกรรมการ งานสารสนเทศจากทุกกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนในการดำเนินการ จัดเก็บข้อมูล กำหนดเวลา แจ้งผู้รับผิดชอบของแต่ละกลุ่มบริหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ในการรายงานข้อมูล ดำเนินการจัดการข้อมูลที่สำคัญของหน่วยงานตนให้เป็นปัจจุบัน นำไปใช้ในการวางแผนการจัดการศึกษา ที่ครอบคลุมภารกิจทั้ง 4 กลุ่มงาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดทำและให้บริการ ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นระบบแก่ผู้ต้องการใช้ทุกฝ่าย บุคลากรทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว เป็นปัจจุบัน ผลการพัฒนา โรงเรียนปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารจัดการโดยใช้ โปรแกรมต่างๆ เช่น ระบบอีเมลล์องค์กร ระบบทะเบียนวัดผล ระบบสารสนเทศ มีการจัดเก็บข้อมูล ที่สามารถเข้าถึงสะดวก รวดเร็ว และตรวจสอบได้กลุ่มงานทั้ง 4 กลุ่มงาน คือ กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารทั่วไป รวมทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการกำหนดผู้รับผิดชอบจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุมภารกิจ แต่งตั้งคณะกรรมการงานสารสนเทศจากทุกกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนใน การดำเนินการจัดเก็บข้อมูล กำหนดเวลาแจ้งผู้รับผิดชอบของแต่ละกลุ่มบริหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ในการ รายงานข้อมูล ดำเนินการจัดการข้อมูลที่สำคัญของหน่วยงานตนให้เป็นปัจจุบัน เพื่อตอบสนองแก่ผู้ต้องการ ใช้ทุกฝ่าย บุคลากรทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วเป็นปัจจุบัน มีผลการประเมินโดยภาพ รวมอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม


43 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 2.7 จัดให้มีโครงการ/กิจกรรมเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กระบวนการพัฒนา โรงเรียนมีการจัดทำหลักสูตรเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC จึงได้จัดอบรม เชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดทำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมของครูในพื้นที่เขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มบริหารวิชาการ เพื่อให้ครูมีความ เข้าใจที่มาและความสำคัญของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อีกทั้งสามารถนำความรู้จากการอบรมไปใช้ ในการจัดทำแผนการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองต่อการทำงานในเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก อีกทั้งยังจัดให้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เช่น โครงการต่อยอดพัฒนาสมรรถนะการจัดการโรงเรียน ต้นแบบการใช้ภาษาต่างประเทศทั้งครูผู้สอนและนักเรียนในเขตพื้นที่ EEC โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “บ่มเพาะครูภาษาอังกฤษพันธุ์ใหม่ในพื้นที่อีอีซี” โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูต้นแบบ Reskill/Certification ซึ่งแบ่งการอบรมเป็น อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายครูภาษาอังกฤษ ครูภาษาจีนพันธุ์ใหม่ในพื้นที่ EEC และครูอาชีวะพันธุ์ใหม่ในพื้นที่ EEC โดยสถาบันภาษา มหาวิทยาลัย บูรพา โครงการพัฒนาสมรรถนะการจัดการโรงเรียนต้นแบบ การใช้ภาษาต่างประเทศ ทั้งครูผู้สอนและ นักเรียนใน เขตพื้นที่ EEC (การใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน) โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หลักสูตรเคมีชีวภาพ ผลการพัฒนา โรงเรียนมีหลักสูตรเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ส่งผลให้บุคลากรได้รับการอบรมตามโครงการเพื่อการขับเคลื่อน และพัฒนาสถานศึกษา รองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สามารถนำความรู้จากการอบรมไปใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน เพื่อตอบสนองต่อการทำงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อาทิเช่น การอบรม ต่อยอดพัฒนาสมรรถนะการจัดการโรงเรียนต้นแบบการใช้ภาษาต่างประเทศทั้งครูผู้สอนและนักเรียน ในเขตพื้นที่ EEC การอบรมเชิงปฏิบัติการ "บ่มเพาะครูภาษาอังกฤษสายพันธุ์ใหม่ในพื้นที่อีอีซี" การอบรม เชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับครูภาษาอังกฤษในพื้นที่อีอีซี” การเข้าร่วมกิจกรรม “Sharing and Learning Together for the Better Language Learning Ecosystem in EEC” ภายใต้ โครงการพัฒนาสมรรถนะการจัดการโรงเรียนต้นแบบการใช้ภาษาต่างประเทศ ทั้งครูผู้สอนและนักเรียนใน เขตพื้นที่ EEC (การใช้ภาษาอังกฤษ - จีน) โครงการEEC Young Leader Camp นักเรียนได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้แนวทางการประกอบอาชีพงานบริการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC มีส่วนร่วมใน การเรียนรู้ ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับสายอาชีพ เพื่อที่จะพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับ ความต้องการทางด้านเศรษฐกิจในอนาคตได้มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม


44 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จุดเด่น โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุม ที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภ าพ การจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่มีความสอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนมีการดำเนินโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทั้งด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะ มีการส่งเสริมให้ครูส่งผลงานเพื่อให้มีวิทยฐานะที่สูงขึ้นตามเวลาที่กำหนด มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และมีความปลอดภัย มีระบบ Software ที่เหมาะสม และ มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญของโรงเรียน มีความถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ มีหลักฐาน ร่องรอย ครูและบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง เช่น เว็บไซต์โรงเรียน เว็บไซต์ทะเบียนวัดผล เว็บไซต์บริหารจัดการบัญชีผู้ใช้เครือข่าย ระบบประเมินผลการเรียน เป็นต้น จุดควรพัฒนา 1. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา ผู้เรียนทั้งรูปแบบ Online และ On-site 2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มี ความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา 3. โรงเรียนควรสร้างความตระหนัก ส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้ครูบุคลากรทางการศึกษา และ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการดูแล รักษาอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ภายใน โรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ดีเพื่อสร้างจิตสำนึกในการรักษาสาธารณสมบัติของส่วนรวม


45 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ กระบวนการพัฒนา โรงเรียนได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินโครงการ และกิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา สู่การพัฒนาสถานศึกษารองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ( EEC ) และมาตรฐานสากล มีการ บูรณาการภาระงาน ชิ้นงาน โดยทุกระดับชั้นจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียน สนับสนุนให้ครูจัด กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการสอนโดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นโค้ช และผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ที่แท้จริง เกิดสมรรถนะได้จริงโดยการเขียนแผนแบบ OLE เพื่อให้การกำหนดกิจกรรมการสอนเป็นไปอย่างสอดคล้อง กันจุดประสงค์ เพื่อสร้างทั้งความรู้ ทักษะ และคุณค่าให้เกิดขึ้นพร้อมกันได้ส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรม การเรียนการสอนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ทั้งนี้สถานศึกษาได้จัดอบรมให้ความรู้แก่ครู ทุกคนก่อนที่จะนำไปปฏิบัติจริง ครูในแต่ละระดับชั้นจะมีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการข้าม กลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อลดภาระงานของผู้เรียน ครูใช้สื่อ ในการจัดการเรียนการสอน นวัตกรรม และ เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ ครูทุกคน ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 เรื่อง โดยได้รับการตรวจให้คำแนะนำจากคณะกรรมการวิจัย ของโรงเรียน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวิจัย ผลการพัฒนา ผลจากการพัฒนาครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ โดยใช้วิธี การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด มีผลการพัฒนาโดย ภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม 3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ กระบวนการพัฒนา โรงเรียนส่งเสริมให้ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการนำสื่อมาประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจาก สื่อที่หลากหลาย เช่น สื่อออนไลน์ สื่อที่ครูจัดทำ และการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน และภายนอก


46 | โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โรงเรียน อาทิ งานเปิดบ้านเหลืองดำ เลิศล้ำวิชาการ งานเปิดบ้านวิชาการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ การเข้า ร่วมกิจกรรม “Sharing and Learning Together for the Better Language Learning Ecosystem in EEC” ที่จัดขึ้นโดยสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา การเข้าค่ายอบรมเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ การเข้าร่วม อบรม "การพัฒนาสมรรถนะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ในยุคสถานการณ์ โควิด-19 (หลักสูตร Non - Degree) ฯลฯ ส่งผลผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้สามารถ นำเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปแบบต่าง ๆ มาช่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ มีโครงการส่งเสริมให้ครูผู้สอนสร้างสื่อการจัดการเรียนรู้ครูสร้างสื่อ เลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ Google Classroom, Website, Facebook และ ช่องทาง Youtube เพื่อการศึกษา ข้อสอบ Online ไว้ใน Google Drive และ Google site เพื่อให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้ ได้ด้วยตนเอง เป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อ ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยประเมินจากร้อยละของครูที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผลการพัฒนา ผลจากการพัฒนาครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากร้อยละของครูที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนใช้สื่อเทคโนโลยี สารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีผลการพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก กระบวนการพัฒนา โรงเรียนเน้นให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมให้นักเรียน มีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าแสดงออก เกิดแรงจูงใจในการเรียน ทำให้มีความสุขในการเรียน ส่งเสริมให้ครู ชมเชย ยกย่องนักเรียนเมื่อนักเรียนทำความดีทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม อื่น ๆ ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมาโรงเรียนอย่างมีความสุข เช่น กิจกรรมโฮมรูม การมอบเกียรติบัตรนักเรียน ได้รับรางวัลต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับการใช้สื่ออุปกรณ์สำหรับการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัยพร้อมใช้งาน กระตุ้น ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้นักเรียนเข้าเรียนอย่างมีความสุข ผลการพัฒนา ผลการพัฒนาครูผู้สอนมีการจัดการเรียนการสอนโดยมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ทำให้ผู้เรียนมีความสุข มีความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ และ การลงมือปฏิบัติ มีผลการพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม


Click to View FlipBook Version