อ้อยคั้นน้้ำพันธุ์ใหม่จำกกรมวิชำกำรเกษตรสู่เกษตรกร “อ้อยคั้นน้้ำพันธุ์ กวก. สุพรรณบุรี 1” อ้อยคั้นน้้า เป็นอ้อยที่น้ามาคั้นหรือหีบเอาน้้าอ้อยสดเพื่อใช้รับประทาน เหมือนน้้าผลไม้ทั่วไป เป็นที่ นิยมบริโภคอย่างแพร่หลาย ในน้้าอ้อยประกอบด้วยเกลือแร่ส้าคัญที่ร่างกายต้องการ เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก และโพแทสเซียม เป็นต้น รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มสารประกอบฟีนอลิก (Phenolic compounds) เช่น caffeic acid, sinapic acid และ hydroxycinnamic acid ที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ สาเหตุของ การเกิดโรคมะเร็ง นอกจากน้าน้้าอ้อยไปบริโภคโดยตรงแล้ว ยังสามารถน้าน้้าอ้อยไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้อีก มากมาย เช่น น้้าเชื่อมอ้อย น้้าตาลอ้อยก้อน และน้้าตาลอ้อยผง ซึ่งมีการน้าไปผลผลิตในระดับอุตสาหกรรมใน ครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมระดับท้องถิ่น เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อยคั้นน้้าทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกประมาณ 120,000 ไร่ โดย กระจายอยู่ในเขตชลประทาน น้้าเสริม และเขตน้้าฝน พันธุ์อ้อยคั้นน้้าที่เกษตรกรนิยมปลูกกันในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์สุพรรณบุรี 50 ซึ่งเป็นอ้อยคั้นน้้าพันธุ์ดั้งเดิมที่ปลูกกันมายาวนานมากกว่า 20 ปี หากเกษตรกรใช้อ้อยพันธุ์ เดิมปลูกติดต่อกันเป็นเวลานาน ท้าให้มีการสะสมโรคและแมลง อาจสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็น อย่างมาก การวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อยคั้นน้้าพันธุ์ใหม่ให้แก่เกษตรกร จึงเป็นแนวทางส้าคัญในการ เตรียมพร้อมส้าหรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว กรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน ซึ่งเป็น หน่วยงานที่ด้าเนินงานวิจัยและพัฒนาทั้งด้านพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมของอ้อย จึงได้ท้าการวิจัย และพัฒนาพันธุ์อ้อยคั้นน้้าพันธุ์ใหม่ เพื่อเป็นพันธุ์ทางเลือก ส้าหรับลดความเสี่ยงจากการเสื่อมของพันธุ์ และ เพิ่มความหลากหลายของพันธุ์อ้อยคั้นน้้า เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยคั้นน้้า อุตสาหกรรมการผลิตน้้าอ้อยสด และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้้าอ้อย สามารถด้าเนินอาชีพได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้พันธุ์ อ้อยคั้นน้้าที่มีผลผลิตน้้าอ้อย ผลผลิตอ้อย สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 และมีคุณภาพ น้้าอ้อย ได้แก่ สีน้้าอ้อยและรสชาติ เทียบเท่าหรือดีกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 โดยได้ด้าเนินงานวิจัยในระหว่างปี 2547-2564 และได้อ้อยคั้นน้้าพันธุ์ กวก. สุพรรณบุรี 1 ซึ่งเป็นพันธุ์อ้อยที่ได้จากการผสมเปิด (open cross) ของอ้อยคั้นน้้าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ประเมินผลผลิตและทดสอบคุณภาพน้้าอ้อย ได้แก่ สีน้้าอ้อยและรสชาติ ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ จ้านวน 21 แปลง ศึกษาความต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคแส้ด้า และการ เข้าท้าลายของหนอนกออ้อย รวมทั้งประเมินการยอมรับของเกษตรกร ระหว่างปี 2554-2564 พบว่า อ้อยคั้น น้้าพันธุ์ กวก. สุพรรณบุรี 1 ให้ผลผลิตน้้าอ้อยเฉลี่ย 3,622 ลิตรต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 26 ให้ ผลผลิตอ้อยเฉลี่ย 11.43 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 21 สีน้้าอ้อยมีสีเหลืองอมเขียว รสชาติ หวาน มีความหวาน 21.54 องศาบริกซ์ ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดงและโรคแส้ด้า โดยผู้ผลิต ผู้ จ้าหน่าย และผู้บริโภค มีความพึงพอใจมากกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ทั้งด้านผลผลิตน้้าอ้อย ผลผลิตอ้อย ความ หวาน และให้การยอมรับอ้อยคั้นน้้าพันธุ์ กวก. สุพรรณบุรี 1 ในด้านสีน้้าอ้อยและรสชาติพื้นที่แนะน้า แนะน้า ให้ปลูกอ้อยคั้นน้้าพันธุ์ กวก. สุพรรณบุรี 1 ในพื้นที่ดินร่วน ร่วนเหนียว เขตชลประทานและมีน้้าเสริม ในภาค กลางและภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี ปทุมธานี และกาญจนบุรีข้อควรระวังคือ ลักษณะ ทรงกอปานกลาง ควรมีการพูนโคนอ้อยหลังปลูก และระมัดระวังอ้อยหักล้มเมื่อมีลมแรง