The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by toi.srisuthum1, 2023-03-04 03:38:51

022

022

E - B O O K ศนูยก์ารศกึษานอกระบบและการศกึษา ตามอธัยาศยัอ าเภอเกาะกูด เร ื ่ อง ร ่ างกายของเรา - BOOK


ร่างกายของเรา สาระส าคัญ อวัยวะภายนอกทุกส่วนต่าง มีหน้าที่ส าคัญซึ่งล้วนเป็น ประโยชน์ต่อร่างกายของ คนเรา ดังนั้นเราควรดูแล รักษาอวัยวะภายนอกให้ ท างานได้ตามปกติ และอยู่ ในสภาพที่ดี จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกลักษณะและ หน้าที่ของอวัยวะ ภายนอกได้ 2. บอกวิธีดูแลรักษา อวัยวะภายนอกได้ สาระการเรียนรู้


หูแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ หูชั้นนอก ประกอบด้วยใบหู ช่องหูชั้นนอก และ แก้วหู ผิวหนังใบหูยื่นเข้าไปบุช่องหู ชั้นนอก และ แก้วหู แก้วหูเป็นเยื่อบางมาก รูปร่างเกือบเป็นวงกลม มีเส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 8-9 มิลลิเมตร หนาประมาณ 0.1 มิลลิเมตร หูชั้นกลาง เป็นโพรงอากาศขนาดเล็กติดต่อกับโพรงอากาศมาสทอยด์(Mastoid cavity) หลังหู มีช่องติดต่อกับบริเวณคอหลังจมูกโดยท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) ในหูชั้นกลางมีกระดูน าเสียง 3 ชิ้น คือ ค้อน ทั่ง และโกลน ติดต่อจากแก้วหูไปที่ ช่องรูปรี (Oval window) ในหูชั้นกลางทั้งหมดบุด้วยเยื่อเมือก หูชั้นใน มีอวัยวะประสาทสัมผัส 2 อย่างฝังอยู่ในกระดูกที่แข็งแรงมาก คือ อวัยวะรูป หอยโข่ง (Cochlea) ท าหน้าที่รับเสียง และอวัยวะหลอดกึ่งวง (Semicircular canal) ท าหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว ในหูชั้น ในมีน้ าหล่อเลี้ยงอวัยวะสัมผัสทั้ง สองเป็นระบบเดียวกันและติดต่อถึงกัน หูชั้นในมีช่องเปิดเข้าหูชั้นกลาง 2 อัน คือ ช่องรูปรีซึ่งมีฐานของกระดูกโกลนปิดอยู่ โดยมีเยื่อบาง ๆ ยึดไว้ และช่องรูป กลม (Round window) ซึ่งมีเยื่อบาง ๆ ปิดไว้ ช่องทั้งสองเป็นต าแหน่งให้เสียง เข้าออกหูชั้นใน และป้องกันไม่ให้น้ าหล่อเลี้ยงหูชั้นในไหลออกมาด้วย หู


ตา 1.กระจกตา (Cornea) เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดของลูก ตา ท าหน้าที่โฟกัสหักเหแสงจากวัตถุให้เข้าในลูกตา 2.รูม่านตา (Pupill) รูสีด าตรงกลางตา ท าหน้าที่ให้ แสงผ่าน 3.ม่านตา (Iris) ส่วนที่มีสีสันของดวงตา ท าหน้าที่ ควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้าสู่รูม่านต 4. เลนส์แก้วตา (Lens) ท าหน้าที่โฟกัสหักเหแสง เพิ่มขึ้นต่อจากกระจกตา 5.จุดภาพชัด (Macula) ท าหน้าที่รับภาพจากจอตา ที่ดวงตา เพื่อไปแปลผลที่สมอง 6.จอประสาทตา (Retina)ประกอบด้วยเซลล์ที่รับแสงและ เซลล์ประสาท ท าหน้าที่รับภาพเหมือนฟิล์มถ่ายรูป 7.เส้นประสาทตา (Optic nerve) ท าหน้าที่ รับภาพจากจอตาที่ดวงตา เพื่อไปแปลผลที่สมอง แสงส่องผ่านเลนส์ตา และส่งสัญญานผ่านเส้น ประสาทตาไปยังสมองได้อย่างไร 1.แสงสะท้อนจากวัตถุเข้าสู่ดวงตาเรา 2.แสงวิ่งทะลุผ่านกระจกตา สู่รูม่านตา และทะลุผ่านเลนส์ตา 3.กระจกตาและเลนส์ตาจะเบี่ยงเบนแสงให้ตกพอดีบนจุดรับภาพของจอตา (Macula) 4.จากนั้นซลล์จอประสาทตาจะเปลี่ยนล าแสงให้เป็นคลื่นไฟฟ้า 5.คลื่นไฟฟ้าจะวิ่งผ่านเส้นประสาทของตา(Optic nerve)ไปสู่สมอง สมอง จะท าการแปลผลสัญญาณนี้ให้กลายเป็นภาพ


จมูก สันจมูก เป็นกระดูกอ่อนที่เริ่มตั้งแต่ใต้หัวคิ้ว ส่วนบนเป็น กระดูกที่เรียกว่าดั้งจมูก ส่วนล่างเป็นกระดูกอ่อน มีเนื้อเยื่อและ ผิวหนังปกคลุมอยู่ภายนอก รูจมูก มีอยู่ 2 ข้าง ตรงส่วนล่างของจมูก ภายในมีขนจมูกท า หน้าที่ป้องกันฝุ่นละอองในขณะหายใจเข้า โพรงจมูก อยู่ถัดจากรูจมูกเข้าไปข้างใน ชึ่งเป็นที่พักของอากาศ ก่อนจะถูกสูดเข้าปอด โพรงจมูกท าหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิและ ความชื้นของ โพรงอากาศรอบจมูก (ไชนัส) เป็นโพรงกระดูกที่อยู่ในบริเวณ รอบๆ จมูก มีอยู่ 4 คู่ คือ บริเวณกึ่งกลางหน้าผากเหนือคิ้วทั้ง สองข้าง 1 คู่ บริเวณใต้สมองทั้งสองข้าง 1 คู่ บริเวณค่อนไป ข้าง หลังของกระดูกจมูก 1 คู่ และอยู่บริเวณสองข้างของ จมูก อีก 1 คู่โพรงอากาศเหล่านี้มีเยื่อบางๆ


ปาก ช่องปาก นับเป็นอวัยวะส าคัญ ที่มีการใช้งาน ตั้งแต่วันแรกของชีวิต นอกจากจะใช้ร้อง ใช้พูดแล้ว ยังเป็นช่องทางเดียว ในยามปกติ ที่เป็น ทางผ่าน และบดเคี้ยวอาหาร ก่อนเข้าสู่กระเพาะอาหาร เพื่อน าไปใช้ ในการ เจริญเติบโตของร่างกาย โดยมีอวัยวะที่ช่วยให้การ "กิน" เกิดขึ้นสมบูรณ์ คือ ฟัน และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับฟัน ได้แก่ เหงือก เนื้อเยื่อปริทันต์ กระดูกขากรรไกร รวมถึงลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก และต่อมน้ าลายด้วย ฟัน จัดเป็นอวัยวะ ที่แข็งแรงที่สุดในร่างกาย โดยมีความแข็งมากกว่ากระดูก เป็นอวัยวะเดียว ที่ไม่มีการเติบโต เพิ่มขนาด หรือเปลี่ยนรูปร่าง หลังจากขึ้นมาในช่องปากแล้ว แต่ฟันยังเป็นอวัยวะ ที่มีชีวิต รับความรู้สึก และเจ็บปวดได้ ถ้ามีการสึกกร่อน หรือ ท าลายของเนื้อฟันลง ลิ้น เป็นอวัยวะที่ส าคัญอย่างหนึ่ง ที่อยู่ใกล้ชิดกับฟัน ลิ้น นอกจากจะท าหน้าที่ เป็นการกวาดรวบรวมอาหาร ส่งไปให้ฟันบดเคี้ยวได้โดยสะดวกแล้ว ลิ้นยังช่วยใน การพูดออกเสียง และที่ส าคัญ คือ ลิ้นสามารถรับความ รู้สึก รับสัมผัส และรับรสอาหารได้ไว ทั้งนี้เพราะ ลิ้นมีเส้นเลือด และเส้นประสาท เป็นจ านวนมาก รวมทั้งตุ่มเล็กๆ ที่มาเรียงกันเป็นตุ่มรับรส ถ้าเป็นรสหวาน จะรับได้ดีบริเวณปลาย ลิ้น รสเปรี้ยว บริเวณด้านข้างของลิ้น รสขม บริเวณโคนลิ้น และรส เค็มจะมีต่อมรับรส กระจายอยู่ทั่วไปบนลิ้น


แขน แขน เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของมนุษย์อยู่ ระหว่างไหล่กับข้อศอก ใช้ในการเคลื่อนที่สัตว์ บางชนิดจะมีแขนเช่นลิงในการหยิบจับหรือ คลาน ส่วนปลายแขนหมายถึงแขนตั้งแต่ไหล่ จนถึงข้อศอก ต้นแขนหมายถึงหมายถึงแขน ตั้งแต่ข้อศอกจนถึงมือ


ขา ขา เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของสัตว์ที่รองรับน้ าหนักทั้งหมด อยู่ ระหว่างข้อเท้าและสะโพก ใช้ในการเคลื่อนที่ ปลายสุดของขามัก เป็นโครงสร้างที่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเป็นโครงสร้างอื่นที่รับ น้ าหนักของสัตว์บนพื้น (ดูเท้า) รยางค์ล่าง (lower limb) ของ สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีสองขา (bipedal vertebrate) มักจะ เป็นขาของสัตว์นั้นๆ ส่วนรยางค์บน (upper limb) มักจะเป็น แขนหรือปีก


ผู้จัดท า นายพลกฤต ศรีสุธรรม ต าแหน่ง ครู ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอเกาะกูด ส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตราด


Click to View FlipBook Version