การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ เรื่อง ละครตะวันตก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร โดยการใช้บทเรียนสื่อประสม นางสาวมณีรัตน์ สาธะวีสุข วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการนาฏศิลป์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2566
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ เรื่อง ละครตะวันตก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร โดยการใช้บทเรียนสื่อประสม นางสาวมณีรัตน์ สาธะวีสุข วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการนาฏศิลป์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2566
ก หัวข้อวิจัยในชั้นเรียน การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ เรื่อง ละครตะวันตก ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคารโดยการใช้บทเรียนสื่อประสม ผู้วิจัย นางสาวมณีรัตน์ สาธะวีสุข สาขาวิชา นาฏศิลป์ศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ปิ่นเกศ วัชรปาณ ครูพี่เลี้ยง นายวราวุฒิ นวลคำสิงห์ อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานีอนุมัติให้นับวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชา นาฏศิลป์ศึกษา .................................................................. หัวหน้าสาขาวิชา (อาจารย์ปิ่นเกศ วัชรปาณ) วันที่.......… เดือน…….………… พ.ศ. ………… คณะกรรมการผู้ประเมินรายงานวิจัยในชั้นเรียน .................................................................................. ประธานคณะกรรมการ (อาจารย์ปิ่นเกศ วัชรปาณ) .................................................................................. กรรมการ (นายวราวุฒิ นวลคำสิงห์) .................................................................................. กรรมการ (นายจุติพงศ์ ภูดวงจันทร์)
ข ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ เรื่อง ละครตะวันตก ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่4 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคารโดยการใช้บทเรียนสื่อประสม ผู้วิจัย นางสาวมณีรัตน์ สาธะวีสุข สาขาวิชา นาฏศิลป์ศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ปิ่นเกศ วัชรปาณ ที่ปรึกษาร่วม นายวราวุฒิ นวลคำสิงห์ ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ การทา วิจยัในช้ันเรียนฉบบัน้ีผูว้ิจยัไดเ้ห็นความส าคญัของปัจจุบนัเทคโนโลยีเขา้มามีบทบาทในการ จัดการเรียนการสอนเป็ นอย่างมาก คอมพิวเตอร์ เป็ นเทคโนโลยีที่น ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อใช้ในการ สร้างสื่อการเรียนการสอนในลักษณะสื่อประสม ท าให้การเรียนการสอนมีการโต้ตอบกันระหว่างผู้เรี ยนกับ คอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับการเรียนการสอนระหว่างครูกับนักเรียนที่อยู่ในห้องเรียนปกติ สื่อประสม จะ ประกอบด้วยตัวอักษร ภาพกราฟฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ (Hypermedia) เพื่อถ่ายทอดเน้ือหา บทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียน มากที่สุด ท าให้ผู้เรียนสนุกไปกับการเรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง และ ด้วยสถานการณ์การเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด 19 ท าให้มีรูปแบบการเรียนการสอนที่ต้องมีการน าสื่อ เขา้มาในการเรียนการสอน จึงทา ให้เกิดวิจยัฉบบัน้ีของนกัเรียนช้นั มัธยมศึกษาปี ที่ 4 ปี การศึกษา 2566โรงเรียน ปทุมเทพวิทยาคาร ซึ่งเชื่อว่าเป็ นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและเป็ นแนวทางในการวิจัยเรื่องอื่นๆต่อไป
ค กิตติกรรมประกาศ การวิจัยครั้งนี้สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาและความช่วยเหลืออย่างสูงยิ่งจาก อาจารย์ปิ่น เกศ วัชรปาณ ที่ได้ให้คำแนะนำ ข้อคิด และตรวจปรับข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง ขอกราบขอบพระคุณ คณาจารย์ สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษาทุกท่านที่ได้กรุณา อบรม สั่งสอน ถ่ายทอด ความรู้และให้ประสบการณ์ที่ดี และมีคุณค่าอย่างยิ่งกับผู้วิจัยจนทำให้ผู้วิจัยประสบความสำเร็จในการศึกษา ขอขอบคุณเพื่อนนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษาทุกท่านที่ให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยดี เสมอมาและขอขอบพระคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการทำวิจัยอีกหลายท่านที่มิได้ กล่าวนามในที่มีส่วนสนับสนุน ในการทำวิจัยสำเร็จด้วยดี ขอกราบขอบพระคุณผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร นายเฉลียว สรสิทธิ์ ที่กรุณาให้ความ อนุเคราะห์ใช้สถานที่และกลุ่มตัวอย่าง รวมถึงขอขอบคุณนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกคน ที่ให้ความร่วมมือแก่ ผู้วิจัยในการศึกษาค้นคว้าและทดลองในครั้งนี้ คุณค่าอันพึงมีจากปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ ขอมอบเป็นเครื่องบูชาแก่พระคุณ บิดามารดาในการอบรมเลี้ยง ดูให้โอกาสทางการศึกษา อีกทั้งพระคุณคณาจารย์ทุกท่าน ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ทำให้ผู้วิจัยได้รับประสบการณ์อันทรงคุณค่ายิ่ง นางสาวมณีรัตน์ สาธะวีสุข
ง สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ข กิตติกรรมประกาศ ค สารบัญ ง บทที่ 1 บทนำ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1 สมมติฐานของการวิจัย 2 ขอบเขตของการวิจัย 2 นิยามศัพท์เฉพาะ 2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 บทที่ ๒ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 3 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 11 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 15 แผนการจัดการเรียนรู้ 16 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 21 บทที่ ๓ วิธีดำเนินการวิจัย 25 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 25 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 25 การเก็บรวบรวมข้อมูล 27 การวิเคราะห์ข้อมูล 27 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล 28
จ สารบัญ (ต่อ) บทที่ ๔ การวิเคราะห์ข้อมูล 31 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 31 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 31 บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 36 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 36 สรุปผลการวิจัย 36 อภิปรายผลการวิจัย 36 ข้อเสนอแนะ 38
1 บทที่ ๑ บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมากคอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ นำมาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนในลักษณะสื่อประสมทำให้การเรียนการสอนมี การโต้ตอบกันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับการเรียนการสอนระหว่างครูกับนักเรียนที่อยู่ในห้องเรียน ปกติสื่อประสมจะประกอบด้วยตัวอักษรภาพกราฟฟิกภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ (Hypermedia)เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมาก ที่สุดทำให้ผู้เรียนสนุกไปกับการเรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายและผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี โดยแบ่งการจัดการเรียนการสอนออกเป็น ๘ กลุ่ม สาระการเรียนรู้ดังนี้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย,คณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์,ศิลปะและพลศึกษา,สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,การงานอาชีพและเทคโนโลยีภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษและภาษาจีน) และศิลปะซึ่ง การเรียนรู้ในวิชานาฏศิลป์ เรื่อง ละครตะวันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบทอด ด้านนาฏศิลป์ไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติล้วนแต่เป็นพื้นฐานความรู้เบื้องต้นที่จะส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นผู้มี ความรู้ความเข้าใจและสามารถบูรณาการความรู้กับความคิดรวบยอดของตนเองแต่ด้วยความห่างไกลในสิ่งที่ผู้เรียน ต้องเรียนรู้นั้นยังส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนแบบปกติในชั้นเรียนไม่เอื้ออำนวยต่อองค์ความรู้ใหม่ๆที่จะส่งผล ไปยังผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ได้อย่างเต็มที่ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์เรื่อง ละครตะวันตก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมเทพ วิทยาคาร ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2566 โดยการใช้บทเรียนสื่อประสม วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑) เพื่อสร้างบทเรียนสื่อประสม เรื่อง ละครตะวันตก ๒) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์เรื่อง ละครตะวันตก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนสื่อประสม
2 สมมติฐานของการวิจัย นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสื่อประสม เรื่อง ละครตะวันตก จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ หลังเรียนที่สูงกว่าก่อนเรียน ขอบเขตของการวิจัย - ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2566 ห้องเรียน 6 ห้อง จำนวน 220 คน - กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน (ซึ่งได้มาจากการเจาะจง) - ตัวแปร ตัวแปรต้น คือ บทเรียนสื่อประสม เรื่อง ละครตะวันตก วิชานาฏศิลป์ ตัวแปรตาม คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนปทุมเทพ วิทยาคาร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2566 นิยามศัพท์เฉพาะ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2566 ทำได้จากการทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง ละครตะวันตก ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น บทเรียนสื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุอุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพแลประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อ หา กานำสื่อประสมโดยใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูลและวีดีโอแสดงขั้นตอนการทำงานรวมทั้งการสร้างแบบทดสอบ เพื่อ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นการผสมผสานในการใช้สื่อเพื่อพัฒนาผู้เรียนในวิชาการใช้โปรแกรมฐานข้อมูล นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคารที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2566 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑.ได้บทเรียนสื่อประสม เรื่องละครตะวันตก ใช้ประกอบการเรียนการสอน
3 บทที่ ๒ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นพื้นฐานของการศึกษา ในการใช้สื่อประสมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคารภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยการใช้บทเรียนสื่อประสม มีแนวคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๑. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ๒. เอกสารที่เกี่ยวข้อง ๓. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ๔. แผนการจัดการเรียนรู้ ๕. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๑. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จากการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ พบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ทำไมต้องเรียนศิลปะ เรียนรู้อะไรในศิลปะ สาระและมาตรฐาน การเรียนรู้ศิลปะ และคุณภาพผู้เรียน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ,2551:167-182) 1.1 ทำไมต้องเรียนศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สตปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจน การนําไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อัน เป็นพื้นฐาน ในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ 1.2 เรียนรู้อะไรในศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะมุ่งพัฒนาให้ ผู้เรียนเกิดความรู้ ความ เข้าใจ มีทักษะวิธีการทางศิลปะ เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกอย่าง อิสระในศิลปะแขนงต่าง ๆ ประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ 1.2.1 ทัศนศิลป์มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุ สร้างและนําเสนอผลงาน ทางทัศนศิลป์ จากจินตนาการ โดยสามารถใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมทั้งสามารถใช้เทคนิค วิธีการ ของศิลปินในการสร้างงานได้
4 อย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานศิลปะที่เป็นมรดก ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล ชื่นชม ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1.2.2 ดนตรีมีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบดนตรีแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิ ปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล ร้องเพลง และเล่นดนตรีในรูปแบบต่าง ๆ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ เสียงดนตรี แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประเพณีวัฒนธรรม และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ 1.2.3 นาฏศิลป์มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์ แสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ ช์ ศัพท์เบื้องต้นทางนาฏศิลป์ วิเคราะห์วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอด ความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ ประยุกต์นาฏศิลป์ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง นาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เห็นคุณค่า ของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิ ปัญญาไทย และสากล สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ 3 นาฏศิลป์ มาตรฐาน ศ 3.1 เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่า นาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มาตรฐาน ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่า ของ นาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
5 สาระที่ 3 นาฏศิลป์ มาตรฐาน ศ 3.1 เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ชั้น ตั้วชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.1 1. เลียนแบบการเคลื่อนไหว - การเคลื่อนไหวลักษณะต่าง ๆ - การเลียนแบบธรรมชาติ - การเลียนแบบคน สัตว์ สิ่งของ 2. แ สด ง ท่ า ทา ง ง ่ า ย ๆ เ พ ื ่ อ สื่อ ความหมาย แทนคําพูด - การใช้ภาษาท่า และการประดิษฐ์ ท่า ประกอบเพลง - การแสดงประกอบเพลงที่เกี่ยวกับ ธรรมชาติ สัตว์ 3. บอกสิ่งที่ตนเองชอบ จากการดูหรือ ร่วมการแสดง - การเป็นผู้ชมที่ดี ป.2 1. เคลื่อนไหวขณะอยู่กับที่และเคลื่อนท - การเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ - การนั่ง - การยืน - การเดิน 2. แสดงการเคลื่อนไหวที่สะท้อนอารมณ์ ของตนเองอย่างอิสระ - การประดิษฐ์ท่าจากการเคลื่อนไหว อย่างมี รูปแบบ - เพลงที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.2 3. แสดงท่าทาง เพื่อสื่อความหมาย แทน คําพูด หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ - การฝึกภาษาท่าสื่อความหมายแทน อากัปกิริยา - การฝึกนาฏยศัพท์ในส่วนลําตัว 4. แสดงท่าทางประกอบจังหวะ อย่าง สร้างสรรค์ - การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ประกอบ จังหวะ
6 5. ระบุมารยาทในการชมการแสดง - มารยาทในการชมการแสดง การเข้าชม หรือ มีส่วนร่วม ป.3 1. สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบ ต่าง ๆ ในสถานการณ์สั้น ๆ - การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ - รําวงมาตรฐาน - เพลงพระราชนิพนธ์ - สถานการณ์สั้น ๆ - สถานการณ์ที่กำหนดให้ 2. แสดงท่าทางประกอบเพลงตาม รูปแบบ นาฏศิลป์ - หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ - การฝึกภาษาท่าสื่ออารมณ์ของมนุษย์ - การฝึกนาฏยศัพท์ในส่วนขา 3. เปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของผู้ แสดง และผู้ชม - หลักในการชมการแสดง - ผู้แสดง - ผู้ชม 4. มีส่วนร่วมในกิจกรรมการแสดงที่ เหมาะสมกับวัย - การมีส่วนร่วม 5. บอกประโยชน์ของการแสดงนาฏศิลป์ ในชีวิตประจำวัน - การบูรณาการนาฏศิลป์กับสาระ การเรียนรู้ อื่น ๆ ป.4 1. ระบุทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์และ การละครที่ใช้สื่อความหมายและอารมณ์ - หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ - การฝึกภาษาท่า - การฝึกนาฏยศัพท์ 2. ใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์หรือศัพท์ ทางการละครง่าย ๆ ในการถ่ายทอด เรื่องราว - การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ประกอบ เพลงปลุกใจและเพลงพระราชนิพนธ์ - การใช้ศัพท์ทางการละครในการถ่ายทอด เรื่องราว ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 3. แสดงการเคลื่อนไหวในจังหวะต่าง ๆ ตามความคิดของตน - การประดิษฐ์ท่าทางหรือท่ารําประกอบ จังหวะพื้นเมือง 4. แสดงนาฏศิลป์เป็นคู่ และหมู่ - การแสดงนาฏศิลป์ ประเภทคู่และหมู่
7 - รําวงมาตรฐาน - ระบำ 5. เล่าสิ่งที่ชื่นชอบในการแสดงโดยเน้น จุดสำคัญของเรื่องและลักษณะเด่น ของ ตัวละคร - การเล่าเรื่อง - จุดสำคัญ - ลักษณะเด่นของตัวละคร ป.5 1. บรรยายองค์ประกอบนาฏศิลป์ - องค์ประกอบของนาฏศิลป์ - จังหวะ ทํานอง คําร้อง - ภาษาท่า นาฏยศัพท์ - อุปกรณ์ 2. แสดงท่าทางประกอบเพลงหรือ เรื่องราวตามความคิดของตน - การประดิษฐ์ท่าทางประกอบเพลง หรือ ท่าทางประกอบเรื่องราว 3. แสดงนาฏศิลป์โดยเน้นการใช้ภาษา ท่า และนาฏยศัพท์ในการสื่อความหมาย และ การแสดงออก - การแสดงนาฏศิลป์ - ระบำ - ฟ้อน - รําวงมาตรฐาน 4. มีส่วนร่วมในกลุ่มกับการเขียน เค้า โครงเรื่องหรือบทละครสั้น ๆ - องค์ประกอบของละคร - การเลือกและเขียนเค้าโครงเรื่อง - บทละครสั้น ๆ 5. เปรียบเทียบการแสดงนาฏศิลป์ชุด ต่าง ๆ ที่มาของการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่าง ๆ 6. บอกประโยชน์ที่ได้รับจากการชม การ แสดง - หลักการชมการแสดง - การถ่ายทอดความรู้สึกและคุณค่า ของการ แสดง ป.6 1. สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวและการ แสดง โดยเน้นการถ่ายทอดลีลาหรือ อารมณ์ - การประดิษฐ์ท่าทางประกอบเพลงปลุกใจ หรือเพลงพื้นเมืองหรือท้องถิ่นเน้นลีลา หรือ อารมณ์ ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
8 ป.6 2. ออกแบบเครื่องแต่งกาย หรืออุปกรณ์ ประกอบการแสดงอย่างง่าย ๆ - การออกแบบสร้างสรรค์ - เครื่องแต่งกาย - อุปกรณ์ ฉากประกอบการแสดง 3. แสดงนาฏศิลป์และละครง่าย ๆ - การแสดงนาฏศิลป์และการแสดงละคร - รําวงมาตรฐาน - ระบำ - ฟ้อน - ละครสร้างสรรค์ 4. บรรยายความรู้สึกของตนเองที่มีต่อ งานนาฏศิลป์และการละครอย่าง สร้างสรรค์ - บทบาทและหน้าที่ในงานนาฏศิลป์และ การ ละคร ๕. แสดงความคิดเห็นในการชมการ แสดง - หลักการชมการแสดง - การวิเคราะห์ - ความรู้สึกชื่นชม 6. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ และการละครกับสิ่งที่ประสบ ใน ชีวิตประจำวัน - องค์ประกอบทางนาฏศิลป์และการละคร ตารางที่ 1 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
9 สาระที่ 3 นาฏศิลป์ มาตรฐาน ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่า ของ นาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.1 1. ระบุ และเล่นการละเล่นของเด็กไทย - การละเล่นของเด็กไทย - วิธีการเล่น - กติกา 2. บอกสิ่งที่ตนเองชอบในการแสดง นาฏศิลป์ - การแสดงนาฏศิลป์ ป.2 1. ระบุและเล่นการละเล่นพื้นบ้าน - การละเล่นพื้นบ้าน - วิธีการเล่น - กติกา 2. เชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นในการละเล่น พื้นบ้านกับสิ่งที่พบเห็นในการดำรงชีวิต ของคนไทย - ที่มาของการละเล่นพื้นบ้าน 3. ระบุสิ่งที่ชื่นชอบและภาคภูมิใจ ในการละเล่นพื้นบ้าน - การละเล่นพื้นบ้าน ป.3 1. เล่าการแสดงนาฏศิลป์ที่เคยเห็น ในท้องถิ่น - การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านหรือท้องถิ่น ของตน 2. ระบุสิ่งที่เป็นลักษณะเด่นและ เอกลักษณ์ของการแสดงนาฏศิลป์ - การแสดงนาฏศิลป์ - ลักษณะ - เอกลักษณ์ 3. อธิบายความสำคัญของการแสดง นาฏศิลป์ - ที่มาของการแสดงนาฏศิลป์ - สิ่งที่เคารพ ป.4 1. อธิบายประวัติความเป็นมาของ นาฏศิลป์ หรือชุดการแสดงอย่างง่าย ๆ - ความเป็นมาของนาฏศิลป์ - ที่มาของชุดการแสดง 2. เปรียบเทียบการแสดงนาฏศิลป์ - การชมการแสดง
10 กับการแสดงที่มาจากวัฒนธรรมอื่น - นาฏศิลป์ - การแสดงของท้องถิ่น ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.4 3. อธิบายความสำคัญของการแสดง ความเคารพในการเรียนและการแสดง นาฏศิลป์ - ความเป็นมาของนาฏศิลป์ - การทำความเคารพก่อนเรียนและ ก่อนแสดง 4. ระบุเหตุผลที่ควรรักษา และสืบทอด การแสดงนาฏศิลป์ - ความเป็นมาของนาฏศิลป์ - คุณค่า ป.5 1. เปรียบเทียบการแสดงประเภทต่าง ๆ ของไทย ในแต่ละท้องถิ่น - การแสดงนาฏศิลป์ประเภทต่าง ๆ - การแสดงพื้นบ้าน 2. ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์ พื้นบ้านที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและ ประเพณี - การแสดงนาฏศิลป์ประเภทต่าง ๆ - การแสดงพื้นบ้าน ป.6 1. อธิบายสิ่งที่มีความสำคัญต่อการแสดง นาฏศิลป์และละคร - ความหมาย ความเป็นมา ความสำคัญ ของนาฏศิลป์และละคร - บุคคลสำคัญ - คุณค่า 2. ระบุประโยชน์ที่ได้รับจากการแสดง หรือการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร - การแสดงนาฏศิลป์และละคร ในวันสำคัญของโรงเรียน ตารางที่ 2 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
11 ๒. เอกสารที่เกี่ยวข้อง ๒.๑ ความหมายของสื่อ สื่อ (medium,pl. media) เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน “medium” แปลว่า ระหว่าง(between) หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ (กิดานันท์ มลิทอง ๒๕๔๐:๗๙) สื่อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๓๘:๘๔๒) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อ(กริยา) หมายถึง ทำการติดต่อให้ถึงกันชักนำให้รู้จักกัน, สื่อ(นาม)หมายถึงผู้หรือสิ่งของที่ทำให้การติดต่อถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกันณรงค์สมพงษ์(๒๕๓๑:๓๑)ได้ให้ ความหมายของสื่อไว้ว่าหมายถึงตัวกลางหรือพาหะซึ่งนำข่าวสารจากผู้ส่งไปยังจุดหมายปลายทาง Mcluhan (๑๙๖๘, อ้างถึงใน พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์ ๒๕๔๐:๓๓๒-๓๓๔)กล่าวว่าสื่อก็คือ สารนั่นเอง(the medium is the message) ในกระบวนการสื่อสารนั้นผู้ส่งสารจะส่งสารไปยังผู้รับซึ่งผู้รับจะรับสารได้โดยผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ได้แก่การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่นและการลิ้มรสโดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสารก็มักจะนึกถึงภาษาพูดหรือเขียนซึ่งอาจเป็นได้ทั้งตัวสารคือ เนื้อความหรือความหมายที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับสารหรืออาจจะพิจารณาว่าเป็นสื่อที่ทำให้ผู้รับสารทราบเนื้ อหาของสารที่ผู้ส่งสารต้องการส่งก็ได้ ดังนั้น เมื่อมีการกล่าวถึงลักษณะของการสื่อสาร เช่นภาษาพูด ภาษาเขียน หรืออากัปกริยาต่างๆ กล่าวโดยสรุปได้ว่าสื่อถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารซึ่งทำหน้าที่เป็นพาหะหรือตัวกลางนำ สารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเพราะว่าการที่ผู้ส่งสารต้องการส่งสารออกไปยังผู้รับแต่ไม่มีสื่อ การสื่อสารนั้นย่อมไม่เกิดขึ้นอย่างไรก็ตามคำว่า “สื่อ” นั้นได้นำมาใช้กันในความหมายที่ค่อนข้างกว้างขวางโดยอาจรวมถึงตัวสารเข้าไว้ด้วยกันก็ได้ ๒.๒ ความหมายของสื่อประสม ชัยยงศ์ พรหมวงศ์ (๒๕๒๓:๑๑๕) ให้ความหมายว่า สื่อประสมเป็นการนำสื่อการสอนหลายอย่าง มาสัมพันธ์กันเพื่อถ่ายทอดเนื้อหา สาระ ในลักษณะที่สื่อแต่ละชิ้นส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน ฉลองชัยสุรวัฒนบูรณ์(๒๕๒๘:๓๑๓)ได้ให้ความหมายของสื่อประสมไว้ว่าเป็นการประสมประสานการใช้สื่อชนิดต่าง ๆและจำนวนต่างๆจัดระเบียบใช้ให้เหมาะสมในการนำเสนอสื่อเนื้อหาแต่ละชนิดเพื่อให้คำตอบที่กระจ่างเป็นประโ ยชน์น่าสนใจแก่ผู้เรียนในการออกแบบการจัดระบบสื่อประสมนั้นไม่ใช่เป็นแต่เพียงการใช้เครื่องมือโสตทัศน์มากกว่ า๒ชนิดขึ้นไปเท่านั้นแต่จะต้องเป็นการประสานความสัมพันธ์ของสื่อที่ใช้เพื่อใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะและความ สามารถหรือศักยภาพของสื่อแต่ละชนิดนั้นให้ได้ประโยชน์มากที่สุดทำให้สื่อแต่ละชนิดที่ใช้อำนวยประโยชน์แก่กัน
12 และกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีได้มากขึ้นวารินทร์ รัศมีพรหม (๒๕๓๑:๑๐๘) ให้ความหมายว่า การรวมเอาสื่อแต่ละชนิดและรูปแบบของสื่อนั้นให้บูรณาการเข้าด้วยกันอย่างมีโครงสร้างที่ดีและมีระบบในการนำ เสนอสื่อแต่ละชนิดต้องออกแบบมาเพื่อเสริมสื่ออื่นๆเพื่อที่จะทำให้ระบบสื่อประสมอันเป็นผลรวมนั้น มีคุณค่ายิ่งใหญ่ กว่าผลรวมของส่วนย่อย กิดานันท์ มลิทอง (๒๕๔๐:๒๕๕) ให้ความหมายว่า การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตาม ลำดับขั้นตอนของเนื้อหา อ ี ร ิ ค ส ั น (E r i c k s o n ๑ ๙ ๖ ๕ : ๑ ๑ ) ใ ห ้ ค ว า ม ห ม า ย ว ่ า ก า ร น ำ ส ื ่ อ ก า ร ส อ น ห ล า ย ๆ อย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์กันมีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างมีระบบสื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใ ช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและป้องกันการเข้าใจความหม ายผิด จึงกล่าวไ ด ้ ว่ า สื่อการสอนแต่ละชนิดมีทั้งส่วนเด่นและส่วนด้อยแตกต่างกันไปหรือเรียกว่าสื่อแต่ละชนิดมีลักษณะเด่น เฉพาะไม่สามารถจะบอกได้ว่าสื่อชนิดใดดีกว่าหรือด้อยกว่าโดยที่ยังไม่ได้พิจารณาในด้านอื่นๆประกอบ สื่อการสอนที่ดีจะต้องเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนสถานที่เรียน ระยะเวลา หรือช่วงเวลาที่กำหนด กิจกรรมการเรียนการสอนตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆการใช้สื่อประสมจึงต้องอาศัยส่วนเด่นของสื่อการสอนแต่ล ะชนิดมาใช้ร่วมกัน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมซึ่งกันและกัน จึงจะเป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ ต่อการเรียนการสอนนั้นๆเพียงแต่ควรพิจารณาว่าสื่อแต่ละชนิดที่นำมาใช้ร่วมกันจะต้องไม่เสนอมโนทัศน์ หรือสาระของเนื้อหาซ้ำซ้อนกันและพึงระวังในการใช้สื่อการสอนมากมายเกินความจำเป็นจะก่อให้เกิด ความสับสน วุ่นวาย การใช้สื่อประสมแต่ละชนิดจึงต้องมีเหตุผลเพียงพอ กล่าวโดยสรุป สื่อประสม หมายถึงการใช้สื่อหลายอย่างร่วมกันได้แก่ ตัวอักษรข้อความ ภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพแอนิเมชั่น และเสียง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ ในการนำเสนอควบคุมโปรแกรมมัลติมีเดียหรือแฟ้มสื่อประสม และใช้ในลักษณะ “สื่อประสมเชิงโต้ตอบ” (Interactive multimedia) ที่ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับสื่อเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน การนำเสนอ สนับสนุนการเรียนรู้และการศึกษารายบุคคลตามความถนัดและความสนใจ ซึ่งช่วยส่งเสริม การเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ด้วยตนเอง
13 ๒.๓ ประเภทของสื่อประสม อาจจำแนกตามจุดมุ่งหมายและลักษณะการใช้ได้ดังนี้ ๑. จำแนกตามจุดมุ่งหมาย แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ ๑.๑ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายหลายอย่างสื่อประสมประเภทนี้มักอยู่ในรูปของสื่อหลายชิ้นมาอยู่ร่วมกันแล้วใช้สอ นได้หลายเรื่องเรียกว่า "ชุดอุปกรณ์" (Kit) เช่น ชุดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ใช้สอนการแยกน้ำด้วยกระแส ไฟฟ้า ก็ได้ สอนการผสมสารเคมีบางอย่างเพื่อ พิสูจน์สมการเคมีก็ได้ ๑.๒ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่างประเภทนี้มักจะอยู่ในรูปสื่อหลายชนิดมารวมกันแต่สอนได้เพียงเรื่องเดี ยว เรียกว่า"ชุดการสอน" (Learning package) ๒. จำแนกตามลักษณะของสื่อและลักษณะการใช้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ๒.๑ การสอนโดยใช้สื่อประสม เป็นการสอนที่ใช้สื่อหลายอย่าง ทั้งสื่อที่เป็นวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ ๒.๒การเสนอสื่อประสม (Multi-media presentation) เป็นการเสนอสื่อประเภทฉาย เช่นสไลด์ ภาพยนตร์ควบคู่กับสื่อเสียง ๒.๔ ลักษณะของสื่อประสม การนำสื่อหลายชนิดมาผสมผสานเข้าด้วยกันโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นตัวจัดการ และควบคุมให้สื่อต่าง ๆ ให้ แสดงผลออกมาทางหน้าจอและลำโพงของคอมพิวเตอร์ อันประกอบไปด้วย ๑. ภาพ ได้แก่ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และภาพวีดีทัศน์ ๒. เสียง ได้แก่ เสียงบรรยาย เสียงสนทนา ดนตรี และเสียงประกอบอื่น ๆ ๓. ข้อความ ซึ่งคอมพิวเตอร์สร้างจากข้อมูลตัวอักษร ๔.ความสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้(interactivity) คือความสามารถในการจัดการกับข้อมูลภาพและเสียง ให้แสดงผลบนจอในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ไม่ใช่การแสดงผลรวดเดียวจบ (runthrough) แบบวีดีทัศน์หรือ ภาพยนตร์และไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว (one-waycommunication) คือผู้ชมเป็นผู้ดูฝ่ายเดียวอีกต่อไป ๒.๕ ลักษณะของสื่อประสมที่ดี ๑. มีความสะดวกในการใช้ ๒. มีการตรวจสอบและพัฒนาแล้ว ๓. มีครบตามจำนวนผู้เรียน ๔. เคยทดลองแล้วมาหลายครั้ง ๕. สามารถยืดหยุ่นได้
14 ๖. ส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล และ ๗.ใช้สื่อการสอนหลายๆอย่างที่สัมพันธ์กันและสอดคล้องกับเนื้อหามีการจัดและประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ หรือตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ๒.๖ ความจำเป็นและบทบาทของสื่อประสม ๑.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรู้เนื้อหาต่างๆได้ดีเกือบทุกเรื่องจากแหล่งหลายแหล่งโดยถือว่าสื่อแต่ละอย่างมีเนื้ อหาและรูปแบบแตกต่างกัน ๒. ช่วยประหยัดเวลาทั้งผู้สอนและผู้เรียน ๓. ช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้ ตามความสามารถและความพร้อมของแต่ละบุคคล ๔.ช่วยดึงดูดความสนใจเพราะสื่อประสมจะเป็นการผสมผสานกันของสื่อที่มีการนำเอาเทคนิคการผลิตแบ บต่างๆ มาใช้ทำให้น่าสนใจ ๒.๗ ประโยชน์ของสื่อประสมต่อการเรียนการสอน ๑. เป็นสื่อที่ส่งเสริมการเรียน การสอนด้วยตนเอง ๒.สามารถเป็นแบบจำลองสถานการณ์หรือให้ตัวอย่างที่เป็นแบบฝึกและการเรียนการสอนที่ไม่เป็นแบบฝึก ๓. มีภาพประกอบเนื้อหาและสนับสนุนการ มีปฏิสัมพันธ์ ๔. เป็นสื่อที่สามารถพัฒนาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ๕. ผู้ใช้สามารถควบคุมด้วยตนเอง ๖. สามารถสร้างแรงจูงใจได้ดี ๗. ช่วยพัฒนาความเข้าใจและเพิ่มศักยภาพเกี่ยวกับวิธีการคิด ๘. สามารถจัดการด้านเวลาการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๙. มีปริมาณข้อมูลมากมายและหลากหลายรูปแบบ และ ๑๐. มีการนำเสนอวัฒนธรรมแบบผสมผสาน ๒.๘ คุณค่าและข้อจำกัดของสื่อประสม คุณค่า ๑.ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาตามความสามารถและความสนใจจากสื่อหลายประเภทและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า ๒.ช่วยลดเวลาการเรียนและการสอนทั้งผู้เรียนและผู้สอนแต่ประสิทธิภาพการเรียนไม่ลดลง ๓. ช่วยเพิ่มพูนกระบวนการเรียนเพื่อรอบรู้และลดปัญหาการสอบตก ๔. ช่วยในการประเมินผลการสอนและการปรับปรุงการสอน
15 ข้อจำกัด ๑. สื่อประสมที่ดีนั้นบูรณาการได้มากกว่าสื่อเฉพาะอย่าง ๒.สื่อประสมสำหรับการเรียนการสอนบางอย่างมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้ ๓. ใช้งบประมาณและเวลามากในการเตรียมการเพื่อการผลิตหรือการจัดทำ สรุปได้ว่าสื่อประสม(multimedia) หมายถึงการนำสื่อหลาย ๆ อย่างมาใช้ประกอบกันอย่างเป็นระบบ โดยลักษณะของสื่อประสมที่ดีนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อหาหรือตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ช่วยส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคลมีการตรวจสอบและเคยทดลองใช้มาแล้วมีความสะดวกในการนำ ไปใช้และครบตามจำนวนผู้เรียน จากลักษณะที่ดีของสื่อประสมทำให้สื่อประสมมีประโยชน์ในการใช้งานเป็นที่ยอมรับทั่วไป โดยเป็นสื่อที่ส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยตนเองสามารถเป็นแบบจำลองสถานการณ์ได้ มีภาพประกอบเนื้อหาเพื่อช่วยพัฒนาความเข้าใจและเพิ่มศักยภาพเกี่ยวกับวิธีการคิด ช่วยในการจัดการด้านเวลาในการเรียนได้ดี และมีปริมาณข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ๓. ทฤษฎีการเรียนรู้ ๓.๑ ทฤษฎีการเรียนรู้(learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิดคนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัสการอ่านการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่าง กันเด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้องการซักถามผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจา กประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอโดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิ ตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้ เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ๓.๒ การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner) ๑. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์ ๒. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน ๓. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ ๔. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ๕. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง ๖. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
16 ๓.๓ การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor) ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนด้วยกัน ๑. พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้ ๒. เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ ๓. มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ๓.๔ การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor) ๑. ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน ๒. การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ๓. บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ไ ด ้ เ พ ิ ่ ม พ ู น ค ว า ม ค ิ ด เ ห ็ น แ ล ะ ไ ด ้ แ ส ด ง พ ฤ ต ิ ก ร ร ม ท ี ่ ส อ ด ค ล ้ อ ง กั น เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ ก ั น ป ร ะ ส บ ก าร ณ ์ ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้ จ ึ ง เ ป ็ น แ บ บ แ ผ น ข อ ง ป ฏ ิ ส ั ม พ ั น ธ ์ ( i n t e r a c t i o n ) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม ๔. แผนการจัดการเรียนรู้ ๔.๑ ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2524 : 157) ให้ความหมายของแผนการสอนว่า การวางแผนการสอน คือกิจกรรมใน การคิดและกระทำของครูก่อนเริ่มดำเนินการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งนั้นเอง โดยทั่วไปจะประกอบด้วยการกำหนด จุดมุ่งหมายการคัดลอกเนื้อหาการกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียน และการประเมินผล ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526 : 129) ให้ความหมายของแผนการสอนว่า การวางแผนการสอนเป็นส่วนหนึ่ง ของระบบการสอนที่เป็นการเตรียมการล่วงหน้าก่อนสอน โดยใช้ข้อมูลต่างๆ ที่ครูผู้สอนปฏิบัติไว้ล่วงหน้าเพื่อให้ การเรียนนักเรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542 : 1) ได้ให้ความหมายของแผนการสอนว่า แผนการสอนคือแผนการหรือ โครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอน ในรายวิชาใดรายวิชาหนึ่งเป็นการเตรียมการ
17 สอนอย่างเป็นระบบ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้ และ จุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทิศนา แขมมณี (2442 : 3) แผนการสอน คือ การวางแผนการสอนที่ผู้สอน จัดเตรียมไว้ล้วงหน้าเพื่อให้ เหมาะสมกับผู้เรียน สภาพแวดล้อม และทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย วันเพ็ญ วรรณโกมล (2544 : 234) แผนการสอน คือ เอกสารที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบด้วยการกำหนด ข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมรวมได้จากการดำเนินงานตามระบบการสอน เป็นขั้นตอนการสอนที่ครูผู้สอนมุ่งหวังให้ ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาและประสบการณ์ในหน่วยต่างๆ ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ คือการวางแผนการสอนที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าอย่าง เป็นระบบ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน สภาพแวดล้อม และทรัพยากรที่มีอยู่แผนการสอนที่ดีควรมการปรับปรุงอยู่ เสมอ แผนการจัดการเรียนรู้ช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ๔.๒ ประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้ อรทัย มูลคําและคณะ (2542 : 13-14) กล่าวถึงประโยชน์ของแผนการจัด การเรียนรู้ไว้ ดังนี้ ๑. ช่วยให้ผู้สอนได้จัดการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ๒. ช่วยให้ผู้สอนมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการนําทางผู้เรียนในการเรียนการสอน ๓. ช่วยใหการจัดกิจกรรมเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน ๔. ช่วยให้ผู้สอนมีความเขาใจชัดเจนเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่สอน ๕. ช่วยให้ผู้สอนมีความมั่นใจในตนเอง แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ทำให้กิจกรรม การเรียนการ สอนในชั้นเรียนดำเนินไปอย่างราบรื่น ๖. ช่วยให้ผู้สอนมีโอกาสเตรียมสื่อการสอนและทดลองใช้ก่อนดำเนินการสอน ๗. ช่วยให้มีการประเมินผลการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมกับบทเรียน
18 ๘. ช่วยให้ผู้สอนสามารถวิเคราะห์การสอนที่ผ่านไปว่าประสบผลสำเร็จ หรือมีจุดบกพร่องอย่างไร โดยวิเคราะห์จากแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ได้เขียนไว้และหาทางปรับปรุงแก้ไข แผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้สอนทราบจุดบกพร่องเกี่ยวกับตัวผู้สอนเอง ที่ในบางครั้งไม่สามารถทำกิจกรรมการ เรียนการสอนดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ และการหาทางปรับปรุงข้อบกพร่องนั้น หรือในบางโอกาสผู้สอนไม่ สามารถเข้าทำการสอนได้ ผู้สอนอาจมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการสอนแทนโดยพิจารณาตามแนวทางที่ได้ทำ แผนการจัดการเรียนรู้ไว้ ซึ่งการเตรียมการสอนอย่างมีแบบแผนก่อนดำเนินการสอน ย่อมทำให้เกิดการจัดการเรียน การสอนมีประสิทธิภาพมากกว่าการดำเนินการสอนที่ มิได้มีการเตรียมการล่วงหน้า ๔.๓ แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เมื่อผู้สอนได้คิดวางแผนการสอนผู้สอนต้องเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็น แนวทางในการดำเนินการสอนในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้นั้น ครูผู้สอนต้องศึกษาเอกสารเกี่ยวกับหลักสูตร คู่มือครู หนังสือเรียน และหนังสือประกอบการเรียน อรทัย มูลคําและคณะ (2542 : 23- 36) โดยมีขั้นตอนดังนี้ ๑. กำหนดหัวข้อเนื้อหา (theme) หัวข้อเนื้อหาของการเรียนการสอน มีหลักการ เขียนหัวข้อ เนื้อหาโดย ๑.๑ หัวเรื่องจากความต้องการของชุมชนหรือผู้เรียนที่ครูและผู้เรียนแก้ไขได้ ๑.๒ เขียนในรูปของประโยคหรือวลีที่สื่อความหมายถึงผลผลิต (output) ที่ต้องการ ๑.๓ ข้อความกระชับได้ใจความไม่สั้นหรือยาวเกินไป มีคําหลัก (key word) ที่สามารถ วัด / ประเมินได้และมีประเด็นชัดเจน ๒. เขียนสาระสำคัญ (concept) สาระสำคัญหมายถึงบทสรุปใจความสำคัญของเรื่องเน้นถึง ความคิดรวบยอด หลักการ ทักษะหรือลักษณะนิสัยที่ต้องการปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน แต่ละหัวข้อเรื่องนั้นเป็น หัวใจหรือตะกอนของความรู้ความสามารถที่ติดตัวผู้เรียน ไปใช้ในอนาคต ซึ่งจะมีวิธีการเขียน ดังนี้ ๒.๑ เขียนในรูปประโยคบอกเล่า (มีภาคประธานและภาคแสดง) โดยสรุป ลักษณะเด่น หรือเป็นสาระของเนื้อหาสาระที่จะสอน หรือการบอกเหตุผล หรือการให้คํานิยาม หรือคำจำกัดความหรือบอก ประโยชน์หรือคุณลักษณะของผู้เรียนที่พึงประสงค์ หรือบอกโทษหรือผลร้ายที่ผู้เรียนจะได้รับหรือเขียนเป็นสุภาษิต คติหรือคําคม
19 ๒.๒ เขียนในลักษณะวงกว้างหรือวงแคบก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้เรียน / ครู ซึ่งจะวัด และ ประเมินผลเป็นรูปธรรมได้อย่างไร ๒.๓ สาระสำคัญในแต่ละเรื่องอาจจะมีประเด็นที่หลากหลายซึ่งผู้เขียน สาระสำคัญต้อง กำหนดว่าอะไรคือความต้องการที่จะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน การเขียนสาระสำคัญต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่ คาดหวัง ๓. กำหนดขอบเขตเนื้อหา มีหลักการเขียนโดย ๓.๑ ผู้เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ต้องรู้หลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร แกนกลางที่มี อยู่ ๓.๒ เขียนขอบเขตของเนื้อหาให้บูรณาการองค์ความรู้ครอบคลุมหลักสูตร ที่มีอยู่ใน จุดประสงค์ของหลักสูตรนั้น ๆ ๓.๓ กำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งการศึกษา ด้วย ตนเองและศึกษาจากกิจกรรมการพบกลุ่ม ๔. กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เป็นสิ่งที่คาดว่าผู้เรียนเมื่อเรียนจบในเนื้อหาวิชานั้นๆ แล้วจะ ทำอะไรได้บ้าง หรือมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไร ควรเขียนให้ครอบคลุมด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดยมีหลักการเขียน ดังนี้ ๔.๑ ผู้เขียนต้องตระหนักถึงมวลประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ มีส่วนร่วม โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ๔.๒ เขียนในรูปของประโยคหรือวลีที่คาดว่าต้องการให้ผู้เรียนเป็นเช่นไร ๔.๓ การเขียนต้องมีคําหลัก (key words) ที่บอกจุดประสงค์ที่เป็นความคาดหวังชัดเจน และครอบคลุมด้านความรู้ทักษะ และทัศนคติที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ๕. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดำเนินการโดยวิธีทฤษฎีเชิงระบบ (system approach) ดังนี้ ๕.๑ ครูและผู้เรียนร่วมกันรวบรวมความรู้ซึ่งเป็นขั้นตอนของการจัดกิจกรรม หรือ Input (I) แก่ผู้เรียน
20 ๕.๒ ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปอภิปรายหรือคิดค้นวิธีปรับ/ประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตของผู้เรียน ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนของกระบวนการหรือ process (P) ในการนําความรู้ไปใช้ของผู้เรียน ๕.๓ ผู้เรียนแสดงผลของความรู้หรือการเรียนรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้กับชีวิต ซึ่งเป็น ขั้นตอนของผลผลิตหรือ output (O) การเขียนกิจกรรมการเรียนการสอนให้เรียงตามลำดับขั้นตอน I-P-O ซึ่งใน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอาจจะมี I หรือ P มากกว่า 1 กิจกรรมก็ได้แต่จะต้องมี O เพียง 1 กิจกรรม เท่านั้นโดย O จะต้องสามารถวัดผลประเมินผลความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ ๖. กำหนดสื่อการเรียนการสอนเป็นการระบุว่าในการเรียนการสอนตามหัวข้อ เนื้อหา (Theme) นั้นๆ จะต้องใช้สื่ออุปกรณ์อะไรบ้าง จะได้สื่อและอุปกรณ์มาด้วยวิธีใด และระบุตามจุดประสงค์เฉพาะเป็นรายข้อ โดยมีหลักการดังนี้ ๖.๑ ระบุสื่อการเรียนการสอนที่ต้องใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกจุดประสงค์ เฉพาะเนื้อหาย่อยแต่ละเรื่อง ๖.๒ ระบุชื่อเอกสารสื่อโสตทัศนูปกรณ์ที่ต้องการใช้เป็นรายจดประสงค์เฉพาะ โดย กำหนดวิธีการใช้สื่อนั้นๆ ๗. ประเมินผลเป็นการประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้เรียนตามผลการ เรียนรู้ที่คาดหวังที่กำหนดไว้ โดยมีหลักการดังนี้ ๗.๑ เขียนวิธีการประเมินผลโดยจําแนกตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเฉพาะของเนื้อหา แต่ละเรื่องย่อๆ ๗.๒ เขียนวิธีการประเมินผลที่สามารถตรวจสอบพฤติกรรมของผู้เรียนว่าได้มีการ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในกระบวนการที่ผู้เรียนแสดงผลการเรียนรู้ (O) จากการศึกษาเอกสารการจัดทำแผนการจดการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงดำเนินการสร้างแผนการ จัดการเรียนรู้สิ่งแวดล่อม เรื่องชุมชนของเราโดยมีกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ การเรียนรู้ และมีเจตคติต่อสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 4 หน่วยการเรียนรู้ดังนี้ 1) ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น 2) การทำนาแบบล้มตอซัง 3) ซากหอยล้านปีวัดเจดีย์หอย และ 4) พืชสมุนไพรในชมชน
21 ๕. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๕.๑ งานวิจัยในประเทศ นางสาวศิรินทร์ สุดเจริญ(2550:บทคัดย่อ)การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อประ สมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ตา มเกณฑ์80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้สื่อประสมพัฒนาทักษะกา รอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่4และเพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4โดยใช้สื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/1โรงเรียนเสด็จวนชยางค์กูลวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลำปางเขต 1 ปีการศึกษา2550 จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(PurposiveSampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจจำนว น5แผนสื่อประสมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใ0จำนวน5ชุดแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนจำนวน30ข้อมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง0.35ถึง0.96และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.97และแบบทดสอบวัดควา มพึงพอใจจำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานttest(DependentSample)ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้ สื่อประสมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศชั้นมัธยมศึกษา ปีที่4 มีประสิทธิภาพ 83.02/ 80.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80 ที่ตั้งไว้ มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.88 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ70.89ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรีย นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับที่มากที่สุด นายสากล คุณมาศ (2551: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “ยาเสพติด”โดยใช้ สื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน บ้านหนองปลาคูณจังหวัดศรีสะเกษผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรื่อง“ยาเสพติด” โดยใช้สื่อประสมกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนและมีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01ประสิทธิภาพของสื่อประสม เรื่อง“ยาเสพติด”กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษามีประสิทธิภาพเท่ากับ86.88/85.47และค่าดัชนี ประสิทธิผลของสื่อประสมเรื่อ’“ยาเสพติด”กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษามีค่าเท่ากับ.7024 แสดงว่าหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมเรื่อง“ยาเสพติด”กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ70.24ความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมเรื่อง“ยาเสพติด”กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษ าและพลศึกษาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5โรงเรียนบ้านหนองปลาคูณจังหวัดศรีสะเกษอยู่ในระดับมาก
22 การมีวินัยในการเรียนเรื่องยาเสพติดกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองปลาคูณ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ในระดับดีมาก นายประสงค์สกุลซ้ง(2550:บทคัดย่อ)ได้ศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่6โรงเรียนบ้านแกวิทยาคมผลการ วิจัยพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.22 / 82.11 สูงกว่าเกณฑ์80/80ที่ตั้งไว้ค่าดัชนีประสิทธิผล ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7124 หมายความว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม ทำให้ นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.7124 หรือคิดเป็นร้อยละ71.24นักเรียนที่เรียนด้วย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดสื่อประสมมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระ ดับ.01 นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียน รู้โดยใช้ชุดสื่อประสมมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนไม่แตกต่างจากจากคะแนนเฉลี่ยหลังจากเรียนไปแล้ว2สัปดาห์ดังนั้นนักเรียนสามารถคงทนความรู้ได้ทั้ง หมดนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสมสาระชีวิต กับ สิ่งแวดล้อมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่6โดยรวมและรายด้านทั้ง4ด้านคือ ด้านคำแนะนำในการใช้ชุดสื่อประสม ด้านเนื้อหา ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมากที่สุด สมหมาย บำรุง (๒๕๔๕ : ๘๑-๘๒) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดสื่อประสมกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง จังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านหนองนาสร้าง สำนักงาน การประถมศึกษาอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จำนวน ๓๐ คน ผลการศึกษาพบว่าชุดสื่อประสมมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๖.๑๔/๘๒.๑๑ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่กำหนดไว้ ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ ๐.๗๒๓๓ หมายความว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๒.๓๓ นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๗๖ มีความพึงพอใจเกี่ยวกับชุดสื่อประสมอยู่ในระดับมาก ชาญยุทธ์ ผลาพฤกษ์ (๒๕๔๗ : ๗๓) ได้ศึกษาพัฒนาชุดสื่อประสมประกอบการสอน กลุ่มทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง รามเกียรติ์ ตอนกุมภกรรณทดน้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านกลางเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน ๒๖ คน ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพของกระบวนการ มีค่าเท่ากับ ๘๖.๒๐ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์มีค่าเท่ากับ ๘๑.๑๕ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดสื่อประสมประกอบการสอนมีค่าเท่ากับ๐.๘๖มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.๐๕ความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับพึงพอใจมากเมื่อพิจารณารา ยข้อพบว่า คุณภาพ และ ระดับความง่ายไม่ซับซ้อน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
23 ศิวาพร ฉายชัยภูมิ(๒๕๔๘:๗๗)ได้ศึกษาชุดสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ผลการศึกษาพบว่า ชุดสื่อประสมมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๐.๖๐/๘๑.๙๖ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ ๐.๕๙๗๖ หมายความว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๕๙.๗๖ นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยชุด สื่อประสมโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับปานกลาง ด้านเทคนิคอยู่ในระดับมาก นิตยา เต็งประเสริฐ (2557 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการ ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติชุดระบำไก่ วิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รูปแบบการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และ การ เรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบการแสดงชุดระบำไก่วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ของผู้เรียนระหว่าง กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t = 1.84,P= 0.07) นิธิกานต์ ขวัญบุญ (2555) ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียม ความ พร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่าผลการเรียนด้านความพร้อมทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้เกมการศึกษามีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนเห็นด้วยต่อการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาในระดับมาก โดยเห็นว่า เกมการศึกษามีรูปแบบที่น่าสนใจ เด็กมีความสุขกับการเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และมีเจคติที่ดีต่อ เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ลักคะณา เสโนฤทธิ์ (2551 : บทคัดย่อ) การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการ เปลี่ยนแปลงระดับคะแนนพฤติกรรม ทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา กลุมตัวอย่างที่ใชในการศึกษาครั้งนี้เปนเด็กนักเรียนชาย – หญิง ที่มีอายุ 5 – 6 ป กําลังศึกษาอยูชั้น อนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2549 โรงเรียนซอยแอนเนกซ ซึ่งได้มาโดยการสุมตัวตัวอย่าง อย่างง่าย หนึ่งห้องเรียนจากสามหองเรียน และสุมนักเรียนจากหอง ที่เลือกได้มาจำนวน 15 คน ใช้เป็นกลุมทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐม วัยก่อนการจัด กิจกรรม และระหว่างการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาในแต่ละช่วงสัปดาห์มีคาเฉลยคะแนนพฤติกรรม ทางสังคม โดยเฉลยรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ P < .01 และเมื่อวิเคราะห์การ เปลี่ยนแปลงระหว่างช่วงสัปดาห์ พบว่าคะแนนพฤติกรรมทางสังคมโดยเฉลี่ยรวม มีการเปลี่ยนแปลง ไปในทางเพิ่มขึ้นในชวงสัปดาห์ที่ 1, 4, 8 อยางมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ P < .01 เมื่อวิเคราะห์ค่า เฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยแยกเป็นรายด้านได้แก่ การชวยเหลือ การแบ่งปัน การยอมรับผู้อื่น โดยคาเฉลยคะแนนพฤติกรรมทางสังคม ดานการชวยเหลือมการเปลี่ยนแปลงในทาง
24 ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 1, 4, 8 อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ P < .01 ส่วนด้านการแบ่งปันและการ ยอมรับ มีการเปลี่ยนแป ลงใน ทาง ที ่เพ ิ่ม ขึ ้นตั ้งแ ต่ ช่วง สั ปด าห ์ที่ 1, 4, และ 8 อยางมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < .01 ยกเว้นบางช่วงสัปดาห์มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น เพียงเล็กน้อย สรุปผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาส่งเสริมใหพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยรวมและราย ด้านสูงขึ้นอย่างชัดเจน วราภรณ์ วราหน (2556) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัย ก่อนและหลังที่ได้รับการเล่นเกมการศึกษาลอตโต พบว่าทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลัง ก า ร ท ำ ก ิ จ ก ร ร ม เ ก ม ก า ร ศ ึ ก ษ า ล อ ต โ ต โ ด ย ร ว ม แ ล ะ ร า ย ด ้ า น ค ื อ ด ้ า น ก า ร ส ั ง เ ก ต เปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ ด้านการรู้ค่าจำนวนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ ระดับ .01 ศศิกานตร์ วีระวัฒน์โยธิน (2557 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่องนาฏลีลา วิชาศิลปะ2 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนในการเรียนรู้เรื่องนาฏลีลาระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีใน สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 15.078, P = 0.000) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่องนาฏลีลาอยู่ในระดับมากที่สุด ๕.๒ งานวิจัยต่างประเทศ Lawrance and Hayden (1972 : 62-77) ได้ศึกษาการใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับนักเรียน เกรด 1-3 จำนวน 87 คน พบว่า นักเรียนที่ได้รับการฝึกโดยใช้แบบฝึกทักษะมีคะแนนการทดสอบหลัง ทำแบบฝึกมากกว่าคะแนนก่อนทำแบบฝึก และนักเรียนสามารถทำข้อสอบหลังจากการทำแบบฝึกได้ อย่างถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 98.80
25 บทที่ ๓ วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเรื่องการแก้ไขผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์เรื่องละคร ตะวันตก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1- 2ปีการศึกษา 2566 โดยใช้บทเรียนสื่อประสม ซึ่งมีขั้นตอนการวิจัยต่อไปนี้ ๑.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ๒.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ๒.๑ บทเรียนสื่อประสม เรื่องละครตะวันตก ๒.๒ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องละครตะวันตก ๓. การเก็บรวบรวมข้อมูล ๔. การวิเคราะห์ข้อมูล ๕. สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ๑. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2566 ห้องเรียน 6 ห้อง จำนวน 240 คน - กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน (ซึ่งได้มาจากการเจาะจง) ๒. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ๒.๑ บทเรียนสื่อประสม มีขั้นตอนการสร้างดังต่อไปนี้ ๒.๑.๑ วิเคราะห์หลักสูตรและเนื้อหา โดยผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ ๒.๑.๒ ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา
26 ๒.๑.๓ ศึกษาเอกสาร ตำราการจัดการเรียนรู้ เรื่องละครตะวันตก ๒.๑.๔ ศึกษารูปแบบการสร้างบทเรียนสื่อประสม จากตำราและเอกสารต่างๆ ๒.๑.๕ บทเรียนของ กำหนดองค์ประกอบสื่อประสมโดยมีการแบ่งออกตามประเภท คือ ๑. รูปแบบของบทเรียนสื่อประสม ๒. ภาพที่ใช้ประกอบในบทเรียนสื่อประสม ๓ .คำถามในบทเรียนสื่อประสม ๔. เฉลยคำตอบในบทเรียนสื่อประสม ๒.๑.๖ บทเรียนดำเนินการสร้างสื่อประสม ตามหลักเกณฑ์และรูปแบบที่ได้ศึกษา ๒.๑.๗ การจัดการเรียนรู้ ประกอบการทำแผนการสอนร่วมกับบทเรียนสื่อประสม เรื่องละครตะวันตก ประกอบด้วย ๑. การกำหนดจำนวนคาบ มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น สาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์ การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ๒.กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประกอบกับการเรียนโดยใช้ บทเรียนสื่อประสม เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ๓. เลือกแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่จะนำบทเรียนสื่อประสมมาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ ๒.๒ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้วิจัยสร้างแบบทดสอบวัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ ๑.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลวิธีการสร้างแบบทดสอบและการเขียนข้อสอบสาระการเรียนรู้วิชา นาฏศิลป์ ๒. ศึกษาผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และสาระการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์จากหลักสูตร คู่มือครู เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ โดยวัดพฤติกรรมการ เรียนรู้ ๔ ด้าน คือ ด้านความรู้-ความจำ ด้านความเข้าใจ ด้านการนำความรู้ไปใช้
27 ๓. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ เรื่อง ละครตะวันตกจำนวน ๑๐ข้อ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ๔ตัวเลือกแต่ละข้อจะมีตัวเลือกที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยมี เกณฑ์การให้คะแนนแต่ละข้อ คือ ถ้าตอบถูกให้ ๑ คะแนน ถ้าตอบผิดให้ ๐ คะแนน โดยสร้างแบบทดสอบให้ตรง ตามผลการเรียนรู้และครอบคลุมสาระการเรียนรู้ ๔. ตรวจสอบคุณภาพข้อสอบก่อนนำไปใช้ขั้นตอนนี้ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อสอบทั้งฉบับ แบบอิงเกณฑ์ ๓. การเก็บรวบรวมข้อมูล นำบทเรียนสื่อประสม เรื่องละครตะวันตก ที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน (ซึ่งได้มาจากการเจาะจง) ดังนี้ ๓.๑ เริ่มทำการทดสอบก่อนเรียน(Pre-test)โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชานาฏศิลป์เรื่องละครตะวันตก ๓.๒ เริ่มทำการสอน โดยใช้บทเรียนสื่อประสมที่ได้สร้างขึ้น ตามแผนการสอนที่จัดทำไว้ ๓.๓ เมื่อนักเรียนได้ทำการศึกษาการเรียนรู้จากบทเรียนสื่อประสมเรียบร้อยแล้วหลังจากนั้นทำการ ทดสอบหลังเรียน (Post-test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์เรื่องละครตะวันตก ๓.๔ นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนวิชานาฏศิลป์เรื่องละครตะวันตกมา วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีทางสถิติ ๔. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ๔.๑.ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้โดยใช้บทเรียนสื่อประสม โดยใช้คะแนนจากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์โดยใช้วิธีทางสถิติ แบบ t–test Dependent Samples ตามสูตรของ พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (๒๕๔๓: ๑๖๕ – ๑๖๗)
28 ๔.๒. ศึกษาหาค่าความตรงหรือความเที่ยงตรงของคำถามในแบบทดสอบ ที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสื่อประสมโดยใช้ คะแนนจากการให้ผู้เชี่ยวชาญทำแบบทดสอบหาค่าความเที่ยงตรงวิเคราะห์โดยใช้วิธีหาคุณภาพของข้อสอบก่อน นำข้อสอบไปใช้ ๔.๓. ศึกษาหาค่าความยากของคำถามในแบบทดสอบ ที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสื่อประสมโดยใช้คะแนนจากการทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียนวิเคราะห์โดยใช้วิธีทางวิเคราะห์โดยใช้วิธีหาค่าความยากของข้อสอบก่อนนำข้อสอบไปใช้ ๕. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติพื้นฐาน - หาค่าเฉลี่ยคำนวณจากสูตร (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. ๒๕๔๐: ๑๓๗) = ∑ เมื่อ แทน ค่าเฉลี่ยของคะแนน ∑ แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด - หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนน คำนวณจากสูตร (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. ๒๕๔๐: ๑๔๓) S.D.= √(∑_ − (〖∑ )〗^_( − ) )
29 เมื่อ S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ∑ x แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด ∑_x 2 แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐาน คำนวณจากสูตร t–test Dependent Sample (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. ๒๕๔๐: ๑๖๕ – ๑๖๗) เมื่อ t แทน ค่าที่ใช้พิจารณาการแจกแจงแบบที D แทน ความแตกต่างของคะแนนแต่ละคู่ n แทน จำนวนคู่ของคะแนนจากการสอบครั้งแรกและครั้งหลัง ∑ D แทน ผลรวมของความแตกต่างการทดสอบก่อนและหลังการใช้บทเรียนสื่อประสม ∑_D 2 แทน ผลรวมของความแตกต่างการทดสอบก่อนและหลังการใช้บทเรียนสื่อประสม แต่ ละตัวยกกำลังสอง สถิติที่ใช้ทดสอบค่าความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ทดสอบค่าความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง คำนวณจากสูตร IOC = N R IOC แทน ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (Index of Item – Objective Congruence) R แทน ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
30 N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ทดสอบค่าความยากของแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ทดสอบค่าความยากของแบบทดสอบ คำนวณจากสูตร กรณีที่ 1 ไม่ได้แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ = P แทน ความยากง่าย R แทน จำนวนคนที่ทำข้อสอบถูก N แทน จำนวนคนผู้เข้าสอบทั้งหมด ค่า p ที่ใช้ได้ ควรมีค่าอยู่ระหว่าง .2 ถึง .8 ค่า P ระหว่าง 0.00-0.19 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ยากมาก ค่า P ระหว่าง 020-0.40 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างยาก ค่า P ระหว่าง 0.41-0.60 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ยากง่ายพอเหมาะ ค่า P ระหว่าง 0.61-0.80 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างง่าย ค่า P ระหว่าง 0.81-1.00 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ง่ายมาก
31 บทที่ ๔ การวิเคราะห์ข้อมูล สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้สัญลักษณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง แทน ค่าเฉลี่ยของคะแนน S.D. แทน ค่าความเบี่ยงแบนมาตรฐาน D แทน ค่าเฉลี่ยความต่างของคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน - และหลังเรียน t แทน ค่าสถิติที่ใช้ในการพิจารณา t–test dependent samples * แทน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ IOC แทน ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (Index of Item – Objective Congruence) P แทน ค่าความยาก ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลและแปรผลข้อมูล ผู้วิจัยได้เสนอตามลำดับดังนี้ ๑.ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสื่อประสมวิชานาฏศิลป์เรื่องละครตะวันตก ก่อนเรียนและหลังเรียน ตาราง ๑ แสดงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสื่อประสม วิชาศิลปะ เรื่องละครตะวันตก ก่อนเรียนและหลังเรียน
32 ความสามารถทางการเรียนนาฏศิลป์ นักเรียนคนที่ คะแนนก่อนการทดลอง คะแนนหลังการทดลอง คะแนนผลต่าง 1 10 19 9 2 9 20 11 3 9 20 11 4 10 20 10 5 11 18 7 6 12 18 6 7 10 20 10 8 13 20 7 9 7 19 12 10 7 19 12 11 8 20 12 12 9 20 11 13 6 20 14 14 11 20 9 15 8 20 12 16 8 20 12 17 10 18 8 18 10 20 10 19 7 17 10 20 6 18 12 X̅ 9.05 19.30 10.25 S.D. 1.93 0.98 0.95
33 ตาราง ๒ ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสื่อประสม วิชาศิลปะ เรื่องละครตะวันตก ก่อนเรียนและหลังเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน N X̅ S.D. D̅ t ก่อนการทดลอง 20 9.05 1.93 10.25 22.10* หลังการทดลอง 20 19.30 0.98 จากตารางที่ ๑ และ ๒ แสดงว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสื่อประสมวิชานาฏศิลป์ เรื่องละครตะวันตก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ นั่นคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสื่อประสมวิชานาฏศิลป์เรื่องละครตะวันตก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่ง เป็นไปตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้ ตาราง ๓ ผลการศึกษาค่าดัชนีความสอดคล้อง แบบทดสอบเรื่องเรื่อง ละครตะวันตก ก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง จุดประสงค์ข้ อที่ ข้อสอบ ข้อที่ คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ R IOC คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1 1 +1 +1 +1 +3 1.0 2 +1 +1 +1 +3 1.0 3 +1 0 +1 +2 1.0 4 +1 +1 +1 +3 1.0 5 +1 +1 0 +2 0.6 6 +1 +1 +1 +3 1.0 7 +1 +1 +1 +3 1.0
34 8 0 +1 +1 +2 0.6 9 +1 0 +1 +2 0.6 10 +1 +1 0 +2 0.6 จากตารางที่ ๓ แสดงว่า ผลจากการคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ( IOC ) ของแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน ได้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง ๓ ท่าน ว่ามีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ระบุไว้ใน จุดประสงค์ จากเกณฑ์วัดค่าIOC ตั้งแต่ 0.5 – 1.00 ถือว่าแบบทดสอบนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริง ตาราง ๔ ผลการศึกษาค่าความยากของแบบทดสอบเรื่องละครตะวันตก ก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ข้อที่ คนที่ตอบถูก R คนที่ตอบผิด L P= 1 8 13 0.4 2 9 12 0.4 3 10 11 0.5 4 9 12 0.4 5 10 11 0.5 6 12 9 0.6 7 11 10 0.5 8 8 13 0.4 9 11 10 0.5 10 14 7 0.6
35 จากตารางที่ ๒ แสดงว่า ผลจากการคำนวณหาค่าความยากของแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน จากเกณฑ์วัดค่าความยาก เป็นสัดส่วนระหว่าง จำนวนผู้ตอบคำถามนั้น ๆ ได้ถูกต้องกับจำนวนผู้ที่ตอบทั้งหมด แทนด้วยสัญลักษณ์ P ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ ค่า P ระหว่าง 0.00-0.19 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ยากมาก ค่า P ระหว่าง 020-0.40 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างยาก ค่า P ระหว่าง 0.41-0.60 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ยากง่ายพอเหมาะ ค่า P ระหว่าง 0.61-0.80 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างง่าย ค่า P ระหว่าง 0.81-1.00 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ง่ายมาก จากตารางแสดงการคำนวณถือว่า แบบทดสอบนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริง
36 บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ผลในการวิจัยเรื่องการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ โดยใช้บทเรียนสื่อประสมเรื่อง ละครตะวันตก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัย ดังนี้ ๑. วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๒. สรุปผลการวิจัย ๓. อภิปรายผลการวิจัย ๔. ข้อเสนอแนะ ๑. วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑) เพื่อสร้างบทเรียนสื่อประสม เรื่องละครตะวันตก ๒) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์เรื่อง ละครตะวันตกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โดยใช้บทเรียนสื่อประสม ๒. สรุปผลการวิจัย ในการวิจัยเรื่องการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำวิชานาฏศิลป์ เรื่อง ละครตะวันตกของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่1-2ปีการศึกษา 2566 โดยใช้บทเรียนสื่อประสมสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวมทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ๓. อภิปรายผล จากการวิจัยเรื่องการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำวิชานาฏศิลป์ เรื่อง ละครตะวันตกของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่1-2ปีการศึกษา 2566 โดย ใช้บทเรียนสื่อประสม พบประเด็นที่น่าสนใจในการนำมาอภิปรายผล ดังนี้
37 1. สื่อประสม วิชานาฏศิลป์ เรื่องละครตะวันตก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ซึ่งเป็นสื่อ Powerpoint ที่มีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย เพื่อให้นักเรียนสามารถทบทวนให้เกิดความชำนาญมากขึ้น นอกจากนั้นยังมี วิดิโอประกอบ ทำให้นักเรียนไม่เบื่อในการเรียน และเจตคติที่ดีต่อวิชานาฏศิลป์มากขึ้น ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ และสามารถบรรลุผลทางการเรียนได้ดียิ่งขึ้นจึงอาจกล่าวได้ว่า สื่อประสมวิชานาฏศิลป์ เรื่องละคร ตะวันตก ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นสื่อประสมที่สามารถนำไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้เป็นอย่างดี 2. จากผลในการวิจัยในครั้งนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนในวิชานาฏศิลป์ เรื่องละคร ตะวันตกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคารมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงให้เห็นว่าสื่อประสมวิชาศิลปะ เรื่อละคร ตะวันตก เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับใช้ในการเรียนการสอน ได้ผลในระดับที่น่าพอใจ 3. ส่วนตัวนักเรียนจากการที่ได้สังเกตของผู้วิจัยพบว่านักเรียนให้ความสนใจกับการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ ประสม เพราะนักเรียนสามารถดูขั้นตอนเรียนรู้ด้วยวีดีโอ สามารถทบทวนเนื้อหาของการเรียนได้ด้วยตนเอง ซึ่งสื่อ ประสมวิชาศิลปะได้จัดทำขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีสีสันสวยงาม มีเสียงเพลงประกอบทำให้นักเรียนไม่เกิดเบื่อ หน่ายกับการเรียนรู้สังเกตได้จากการทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวมทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๕ ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึง เครื่องช่วยในการเรียนรู้ซึ่งครูและ นักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อช่วยให้การสอนและการเรียนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (สันทัด ภิบาลสุข และพิมพ์ใจ ภิบาลสุข ๒๕๒๓ :๔๓) สอดคล้องกับ สมหมาย บำรุง ได้ศึกษาการพัฒนาชุดสื่อประสมกลุ่ม สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่องจังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านหนองนาสร้าง สำนักงานการ ประถมศึกษาอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จำนวน ๓๐ คน ผลการศึกษาพบว่าชุด สื่อประสมมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๖.๑๔ /๘๒.๑๑ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่กำหนดไว้ ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ ๐.๗๒๓๓ หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๒.๓๓ นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๗๖ มีความพึง พอใจกับชุดสื่อประสมอยู่ในระดับมาก (สมหมาย บำรุง ๒๕๔๕: ๘๑-๘๒) ในส่วนของ ศิรินทร์ สุดเจริญ ได้ศึกษาพัฒนาชุดสื่อประสมประกอบการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่อง การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนเสด็จวนชยางค์กูลวิทยา จังหวัดลำปาง จำนวน ๔๑ คน ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพของกระบวนการมีค่าเท่ากับ 86.20 และ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์มีค่าเท่ากับ ๘๓.๐๒ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดความพึงพอใจ
38 ต่อการเรียนอยู่ในระดับพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า คุณภาพ และระดับความง่ายไม่ซับซ้อน อยู่ใน ระดับพึงพอใจมากที่สุด (ศิรินทร์ สุดเจริญ ๒๕๕๐ : บทคัดย่อ ) ในส่วนของ ชาญยุทธ์ ผลาพฤกษ์ ได้ศึกษาพัฒนาชุดสื่อประสมประกอบการสอนกลุ่มทักษะการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่องรามเกียรติ์ ตอนกุมภกรรณทดน้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านกลางเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน ๒๖ คน ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพของกระบวนการมีค่าเท่ากับ 86.20 และประสิทธิ ภาพ ของผลลัพธ์มีค่าเท่ากับ ๘๑.๑๕ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดสื่อประสมประกอบ การ สอนมีค่าเท่ากับ ๐.๖๘ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า คุณภาพ และระดับความง่าย ไม่ซับซ้อน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (ชาญยุทธ์ ผลาพฤกษ์ ๒๕๔๗ : ๗๓ ) ในส่วนของ ศิวาพร ฉายชัยภูมิ ศึกษาชุดสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๖ ผลการศึกษาพบว่า ชุดสื่อประสมมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๐.๖๐/๘๑.๙๖ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ที่ตั้งไว้ ค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ ๐.๕๙๗๖ หมายความว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๙.๗๖ นักเรียนมี ความพึงพอใจในการเรียนด้วยชุด สื่อประสมโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้าน เนื้อหาอยู่ในระดับปานกลาง ด้านเทคนิคอยู่ในระดับมาก (ศิวาพร ฉายชัยภูมิ ๒๕๔๘ : ๗๗) ข้อเสนอแนะ ๑. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยเพื่อนำไปใช้ ๑.๑. เพื่อเป็นแนวทางให้ครู นักเรียน โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ควรมีการจัดทำบทเรียนสื่อ ประสมวิชานาฏศิลป์ เรื่องละครตะวันตก มอบให้เป็นคู่มือให้ครูและนักเรียนเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ๑.๒. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของครูผู้สอน ผู้บริหารควรหาแนวทางให้ครูได้มีโอกาสเพิ่มพูน ความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดทำชุดกิจกรรมในทุกรายวิชาให้มากขึ้น โดยจัดให้มีการฝึกอบรม สัมมนา เพื่อเปิด โอกาสให้ครูได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง เพื่อจะทำให้ครูมีความเข้าใจใน หลักการ จุดมุ่งหมายของการจัดทำชุดกิจกรรมในการสอน ได้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยดี ๑.๓. เพื่อให้การจัดทำชุดกิจกรรมทุกรายวิชาในโรงเรียนปทุเทพวิทยาคารได้เกิดประโยชน์แก่ทุก ฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากที่สุด โรงเรียนจะต้องหาแนวทางปฏิบัติในการจัดทำชุดกิจกรรมทุกรายวิชาและมีการ ติดตามประเมินผลทุกครั้ง พร้อมทั้งแจ้งผลการประเมินให้ครูได้ทราบทั่วกัน อันจะเป็นการกระตุ้นให้ทุก ฝ่ายมีความสนใจในการจัดทำชุดกิจกรรมทุกรายวิชาเพิ่มขึ้น
39 ๑.๔.จากการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น นักเรียนส่วนใหญ่มีความสนใจ ในบทเรียนสื่อประสมวิชาศิลปะ เรื่องละครตะวันตก ๒. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย ๒.๑. โรงเรียนควรสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดทำบทเรียนสื่อประสมวิชาศิลปะ ในครั้งต่อไป ๒.๒. โรงเรียนควรจัดบทเรียนสื่อประสม ที่น่าสนใจตรงกับความต้องการของครูและนักเรียน ๒.๓. โรงเรียนอาจจะดำเนินการวิจัยในลักษณะนี้ ในโรงเรียนแห่งอื่นๆ เพื่อจะได้เปรียบเทียบ ผลการวิจัยได้ชัดเจนขึ้น ๒.๔. โรงเรียนอาจดำเนินการวิจัยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในรายวิชาศิลปะ เรื่อง เรื่องละครตะวันตก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับโรงเรียนอื่นๆ ในเขตเดียวกันหรือในเขตอื่นเพื่อดู ความแตกต่าง
40 บรรณานุกรม กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตรกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐ ชาญยุทธ์ ผลาพฤกษ์. การพัฒนาสื่อประสมประกอบการสอน กลุ่มทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง รามเกียรติ์ ตอนกุมภกรรณทดน้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖.การศึกษาค้นคว้า อิสระ กศ.ม มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๔๗ ชัยยงค์ พรหมวงศ์.คำบรรยายวิชาบทเรียนสำเร็จรูป.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๒ ชัยยงค์ พรหมวงศ์.ระบบสื่อการสอน ในเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย, ๒๕๒๓ ฐิติศักดิ์ รื่นฤทธิ์ และธาริน สิทธิธรรมชารี. การใช้โปรแกรมฐานข้อมูล. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซส มีเดีย จำกัด, 2549 ณรงค์ สมพงศ์.สื่อเพื่องานส่งเสริมเผยแพร่.กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๕ ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. Multimedia ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเคทีพีคอมพ์แอนด์คอน ซัลท์ จำกัด, 2546 เยาวลักษณ์ เตียรณบรรจง. ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา .กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2544 ราชบัญฑิตยสถาน.ศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วน จำกัด ส่าอรุณการพิมพ์, ๒๕๔๒ ศิวาพร ฉายชัยภูมิ. การพัฒนาสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, ๒๕๔๘.
41 ภาคผนวก ก
42 แบบทดสอบก่อนเรียน คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท (X) ทับตัวเลือกที่ต้องการ (20 คะแนน) 1.ละครตะวันตกเกิดขึ้นสมัยใด ก.กรีก ข.โรมัน ค.อียิปต์ ง.เรอเนอซองส์ 2.จุดมุ่งหมายของละครแนวเรียลลิสม์และละครแนวแนเชอร์ลลิสม์ คืออะไร ก.เน้นโครงเรื่อง หรือความสนุกสนานในการดำเนินเรื่องเป็นสำคัญ ข.แสดงถึงสภาพปัญหาของสังคม ค.เป็นละครที่มีเรื่องราวที่มนุษย์ใฝ่ฝัน ง.การเอาแผ่นภาพชีวิต (slide of life) ที่เหมือนจริงทุกประการมาวางบนเวทีโดยไม่ดัดแปลง 3.ละครกรีกในยุคเริ่มแรกเป็นการแสดงแบบใด ก.Comedy ข.Tragedy ค.Pantomime ง.Romanticism 4.ละครใดมีการร่ายรำที่ใช้นักแสดงคนเดียว ซึ่งเปลี่ยนบทบาทโดยการเปลี่ยนหน้ากาก ก.Comedy ข.Tragedy ค.Mime ง.Romanticism 5.เป็นละครสั้นๆ ตลกโปกฮาและเป็นละครประเภทแรกที่ใช้ผู้หญิงแสดง ก.Melodrama ข.Pantomime ค.Mime ง.Romanticism
43 6.ละครกรีกก่อกำเนิดในประเทศใด ก.อเมริกา ข.แอฟริกา ค.ฝรั่งเคศ ง.อียิปต์ 7.ข้อใดไม่ใช่ละครยุคโรมัน ก. Comedy ข.Tragedy ค. Pantomime ง.Romanticism 8.ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับละครตะวันตกในยุคกรีก ก.เทศกาลบวงสรวง ข.เทพเจ้าไดโอนีซุส ค.กลุ่มคนที่เรียกว่า "คอรัส" ง. เทพเจ้าโพไซดอน 9. ละครที่แสดงถึงความปรารถนาอันแรงกล้า มักจบลงด้วยความเศร้า" คือละครประเภทใด ก.ละครอิงนิยาย ข.ละครแนวแอบเสิร์ด ค.ละครประเภทโศกนาฏกรรม ง.ละครประเภทสุขนาฏกรรม 10.ละครตะวันตกแบ่งได้กี่ประเภท มีอะไรบ้าง ก.3 ประเภท ได้แก่แบ่งโครงเรื่องหรือเนื้อเรื่อง แบ่งตามรูปแบบการแสดง แบ่งตามยุคสมัย ข.2ประเภท ได้แก่แบ่งโครงเรื่องหรือเนื้อเรื่อง และแบ่งตามรูปแบบการแสดง ค.ประเภท ได้แก่ แบ่งโครงเรื่องหรือเนื้อเรื่อง ง.ไม่มีข้อถูก