The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by aum21961, 2022-03-24 08:19:57

หมูย่างเมืองตรัง

เมืองตรัง

ตรังยุทหมูย่างเมืองตรังน่นอน

อร่อยล้ำกว่า100ปี
ต้องมาลองชิม

ธจักรแห่งความอ
ร่อย มาตรังปังแ

น า ย ห นึ่ ง ท ย า อ่ อ น ชื่ น จิ ต ร 6 2 0 1 2 1 1 0 0 5 5

ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์ แ ล ะ วั ฒ น ธ ร ร ม ศ า ส ต ร์ ส า ข า ก า ร จั ด ก า ร วั ฒ น ธ ร ร ม
ร า ย วิ ช า ก า ร สั ม ม น า ก า ร จั ด ก า ร ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม 1 6 0 7 3 0 8
อ า จ า ร ย์ ผู้ ส อ น ผ ศ . ด ร . พ นั ส โ พ ธิ บั ติ



คำนำ



สารบัญ

เรื่อง หน้า

1-2
3
3
4-5
6
7
8
8
8
9
10-11

หมูย่าง
เมืองตรัง

1

ประวัติความเป็นมา
ของหมูย่างเมืองตรัง

หมูย่างหากย้อนตํานานต้นกําเนิดของการย่างหมูนั้นเกิดขึ้นในประเทศจีน ประมาณ
1,000 ปีมาแล้วในสมัยราชวงศ์ถัง การค้นพบวิธีการย่างหมูนั้นช่างเป็นการบังเอิญเหลือเกิน
ในขณะที่พ่อครัวในพระราชวังกําลังปรุงอาหาร ทําหมูชิ้นหนึ่งตกลงไปในเตาถ่าน จนเนื้อสุก
และหนังไหม้ พ่อครัวลองหยิบมาชิม รู้สึกว่าหมูชิ้นนั้นมีรสชาติหอมกรอบอร่อย จึงทํา ให้เขา
มีความคิดว่าการนําหมูมาย่างเป็นอาหารจะอร่อยกว่าการนําไปใช้ทําอาหารอย่างอื่น ดังนั้น
พ่อครัวจึงทดลองนําหมูมาย่างแล้วนําขึ้นถวายฮ่องเต้ ฮ่องเต้ทรงโปรดมาก เนื่องจากเมื่อย่าง
หมู พอสุกพอเหมาะ หนังหมูจะมีสีเหลืองดุจทองคําสุกอร่าม ฮ่องเต้จึงตั้งชื่อหมูย่างนี้ว่า
หมูทอง ชาวจีนใช้ชื่อนี้เรียกมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านมานับพันปี วิชาการหมูย่างก็ได้
เผยแพร่ โดยการสืบทอดตระกูลของพ่อครัว จนกระทั่งมาถึงมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นมณฑลที่
ชาวเมือง มีฝีมือในการปรุงอาหาร จะเห็นได้จากอาหารจีนที่มีรสอร่อยที่สุดจะปรุงโดยพ่อครัว
ชาวกวางตุ้ง ทั้งสิ้น ดังนั้นจากเดิมหมูย่างซึ่งเป็นอาหารเฉพาะของฮ่องเต้ก็เริ่มแพร่หลายมา
เป็นอาหาร ของ สามัญชน แต่ก็ยังถือว่าหมูย่างยังเป็นอาหารระดับฮ่องเต้อยู่เมื่อประมาณ
100 ปีก่อนนี้ ชาวจีน ในมณฑลกวางตุ้งซึ่งอยู่ใกล้ทะเล ได้เริ่มอพยพออกจากประเทศโดย
ทางเรือเพื่อเสาะหาแผ่นดิน ทางทะเลใต้ คือ ประเทศไทย ซึ่ง ร่ํา ลือกันว่ามีความอุดม
สมบูรณ์กว่าประเทศจีนมาก จึงได้ลง เรือกันมาผจญภัยพร้อมกันทั้งหมู่บ้าน และมีบางส่วนได้
เดินทางเข้ามาประเทศไทยโดยขึ้นฝั่ งที่ อําเภอ กันตัง หรือปาก แม่น้ํา ตรัง และได้มาบุกเบิก
ตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดตรัง

2

ชาวจีนที่อพยพมานี้มีหลายอาชีพ ส่วนใหญ่จะมาบุกเบิก ทํา ไร่พริกไทย จึงได้ตั้งชื่อ
จังหวัดตรังว่า "เมืองพริกไทย" ชาวจีนเหล่านี้จึงได้มีการเลี้ยงหมูพันธุ์เล็กซึ่งได้นําลงเรือมา
ด้วย ใน ตําบล ทับเที่ยง ปัจจุบันคือ อําเภอ เมือง จังหวัดตรัง ปรากฏว่าได้ผลดีมาก ต่อมา
ได้มีคนกลุ่ม หนึ่งนําหมูมาชําแหละขาย ซึ่งก็คือต้นตระกูลของร้านฟองจันทร์ หลังจากนั้น
ร้านฟองจันทร์ ได้รับชาวจีนคนหนึ่งมาจากมณฑลกวางตุ้งชื่อนาย ซุ่ นมีความสามารถใน
การย่างหมูมากหมูที่ย่าง จะมีรสชาติกลมกล่อมและหนังที่กรอบ สมัยนั้นจังหวัดตรังมีผู้ที่
ย่างหมูได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ต่อมาก็ได้มีการฝึกผู้ช่วยขึ้นมาวิชาการย่างหมูจึงได้แพร่
หลายจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่นั้นมาหมูย่างนั้น เดิมเป็นอาหารที่ใช้ในการเซ่นไหว้ของหมู่คนจีน
ในงานศพ งานมงคล งานเทศกาลต่าง ๆ และ ประกอบพิธีกรรมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือการ
บนบานศาลกล่าวตามวิถีชีวิตซึ่งยังสืบทอดมาจนถึง ปัจจุบันต่อมาหมู่คนจีนในเมืองตรังนิ
ยมนําหมูย่างมากินกับกาแฟกระทั่งความนิยมกระจายมาสู่ หมู่คนตรังในระดับชนชั้น
กลางที่เป็นข้าราชการนักธุรกิจในเขตเมื่อตรังและ ชานเมืองจน กลายเป็นวัฒนธรรมการ
กินกาแฟกับหมูย่างในยามเช้าที่ไม่เหมือนใครแลไม่มีใครเหมือนหมูย่าง เมืองตรังจึงกลาย
เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตรังไปในที่สุด

3

2.ส่วนประกอบการทำหมูย่างเมืองตรัง

1.หมูรุ่นขนาด 30-40 กก.(/ตัว) 1 ตัว

2.ซ๊อสปรุงรส 1/ ถต.
3.กระเทียมแกะเปลือกสับละเอียด 1/2 กก.(นายเหลืองแนะใช้กระเทียมไทยจะหอมกว่า)
4.แปะแซ 1.5 ชต. (ผสมน้ำตาลทาหนังหมูให้กรอบระหว่างอบ)
อาจใส่ไม่ใส่ตามความชอบ
5.น้ำผึ้ง 3 ถต. (สำหรับหมักเนื้อหมูและทาระหว่างย่าง)
6.เครื่องพะโล้ 1 ห่อ กะน้ำหนังวัตถุดิบ/30-40กก. หรือแบบสำเร็จเป็นห่อละตัว
(นายเหลือง แนะนำ ให้ซื้อเครื่องเทศ “หมูย่างตรังโดยเฉพาะ” ที่ร้าน “ยิ้นจี้ถ่อง”
โทร.0 7521 8865 จังหวัดตรัง )
7.เกลือ 2-3 ขีด

หมายเหตุ สัดส่วนเครื่องปรุง อาจเพิ่มลดได้ตามความเหมาะสมในระหว่างปรุง

3.อุปกรณ์ที่ใช้ในการย่างหมูตรัง

1.เตาย่างแบบเฉพาะ ที่เป็นแบบทรงกลม
จะฝังลงดินหรือก่อเป็นปูนแล้วทำแท่นเหนือดิน
ที่ยืนด้านบน ให้มีความสูง ภายในไม่น้อยกว่า 2เมตร
มีช่องด้านล่างเพื่อให้อากาศเข้าได้ และใช้เติมฟืน เร่งไฟ

2.ไม้ฟืน อันนี้ สำหรับให้ความร้อน นายเหลืองว่าไม้อะไรก็ได้

3.ตะขอแขวนเหล็กสำหรับแขวนหมู กับราวเห็นในเตา

4.แขนขึง เป็นเหล็ก หรือไม้ สำหรับกางหมูให้อ้าออก
ไม่งอเข้าเวลาย่างหมูและยึดได้กับขอเหล็กแขวนอีกที

5.ฟลอย สำหรับหุ่มหัวและขา ของหมูกันไหม้ไฟจนทำให้ดำ
ก่อนเนื้อหมูสุก

4

4.กรรมวิธี
การทำ

หมูย่างเมืองตรัง

1.นำหมูที่ได้มาทำความสะอาด ผ่ากลางตัว เอาเครื่องในออก
ที่สำคัญแล่เอาเนื้อแดง ส่วนหนาๆ ออกให้มากที่สุด เช่นส่วน
คอ สะโพก โคนขา เพื่อให้เครื่องปรุงต่างๆเข้าเนื้อหมูได้ทั่วถึง
แล้ว ทำให้เวลาย่าง จะสุกถึงเนื้อใน และทำให้หนังกรอบ

2.นำส่วนผสมที่เป็นเครื่องปรุงทั้งหมดที่ นายเหลือง บอกไว้ข้าง
ต้น มาผสมลงในกระบะใหญ่ (บางที่แขวนและทาเครื่องปรุง)
ยกเว้นน้ำผึ้งกับแปะแซ นำหมูลงกะบะแล้ว นำเหล็กแหลมแบบ
ฉมวก แทงให้ทั่วตัวหมูทั้งด้านในด้านนอก (ให้เครื่องปรุงเข้าถึง
เนื้อในง่ายขึ้น) จากนั้น ชะโลม เครื่องปรุงรสทั้งหมดข้างต้น (ไม่ร
วามน้ำผึ้ง,กับแปแซ นะครับ) ลงไปหมักที่ตัวหมูทั้งด้านในด้าน
นอก อาจต้องกลับหมู ไปมา หรือคอยตักเครื่องปรุงชะโลม ก็สุด
แล้วแต่ แต่ต้องให้เครื่องปรุงต่างๆเข้าเนื้อหมูให้ได้มากที่สุด นาย
เหลือง แนะนำว่าขึ้นตอนนี้ สำคัญมาก เพราะเนื้อหมูย่างจะอร่อย
เครื่องปรุงเข้าเนื้อก็เพราะเราพิถีพิถันตรงนี้ เจ้าที่ทำไม่อร่อยก็
เพราะเขา แค่ทาเครื่องปรุงแล้วทิ้งไว้ ทำให้เครื่องไม่เข้าถึงเนื้อใน
ย่างออกมาดีอย่างไร เนื้อหมูก็อร่อยสู้ไม่ได้ครับ แต่ของอร่อย
แบบนี้ต้องทำนาน หรือหมักหมู ถึง4-6ชั่วโมงนะ อย่างที่ชาวตรัง
บอกว่า “หมักกันหัวค่ำ ย่างกันหัวรุ่ง” ยังไงอย่างนั้นเลย

3.เตรียมเตาย่าง โดยเอาไม้ฟืนใส่ในเตา จุดไฟให้โชนจนฟืน
กลายเป็นถ่าน ปล่อยให้คุ๊ แล้วเขียให้กระจายระอุไปทั่วเตาย่าง
จากนั้นเอากระทะ วางไว้ก้นเตาย่าง ให้น้ำมันจากหมูตกเวลา
ย่าง ไม่ไหม้ไฟจนควันคลุ้ง เป็นอันเตรียมเสร็จ

5

4.นำหมูลงย่างโดนเอาหมูมาเข้าขอ
เกี่ยว เสริมเหล็กหรือไม้ไว้ระหว่างขา
หน้ากับขาหลัง ให้อ้าออก จากนั้นเอา
กระดาษฟลอย มาหุ้มที่หัวหมู ปลายขา
หน้า ขาหลัง ที่ปากบนเตา นำท่อมา
ขวางปากเตาแล้วเอาหมูลงแขวน โดย
นำหัวหมูลงก่อน

5.การย่าง มี2แบบครับ คือแบบหนังกรอบฟู
เนื้อแห้ง หรือแบบหนังกรอบบางเนื้อชุ่มนุ่ม
การย่างแบบหนังกรอบฟูเนื้อแห้งนั้นยากกว่า
เพราะต้องย่างสองรอบ คือรอบแรกจะย่า
งด้วยไไฟอ่อนๆแบบเตาถ่านจะดับแต่ยังร้อน
อยู่ นานราว2-4 ชม.ก่อนย่างจริง จำทำให้
หนังกรอบฟู แต่เนื้อจะแห้ง(แบบนี้หาคนทำ
ไม่ค่อยมีกันแล้ว เพราะมันทำยากแลkะเสีย
เวลามาก) แบบที่สองจำทำง่ายกว่าเพราะ
ย่างรอบเดียว คือหนังกรอบบางเนื้อในชุ่มนุ่ม
รสออกหวานนำเค็มตาม โดยการย่างแบบที่
สอง นั้นก็เพียงเอาหมูที่เราเตรียมแล้ว ลงย่าง
ในเตาที่เตรียมไว้เลย จากนั้นปิดฝา ราว5-
10นาที (แล้วแต่ความร้อน ต้องใช้ความ
ชำนาญ) ก็เอาหมูขึ้นมาทาน้ำหมักหมูกับน้ำ
ผึ้ง (ไม่มีกระเทียม เพราะทำให้ไหม้) อันนี้ทา
ด้านในหมู ส่วนที่หนังให้เอาน้ำหมักผสมน้ำ
ผึ้งกับแปะแซ ทาเพื่อให้หนังแตกและกรอบ
เสร็จแล้วลงย่างต่อ ปิดฝาเตา ทำแบบนี้สลับ
กันไปจนครบเวลาย่างราว 40-50นาที หรือ
สังเกต ดูจากสีและหนังหมูที่สุกเหลืองกรอบ
ได้ที่ ก็เป็นอันเสร็จนำขึ้นจากเตาได้
(หากหมูตัวเล็กอาจใช้เวลาน้อยลง)

6.หมูที่เอาขึ้นมาใหม่ๆจะมีส่วนที่ไหม้ดำ ให้ใช้
มีดขูดออกให้สวยงาม สุดท้าย เอาไม้ หรือเหล็ก
ที่ใช้กางหมูออก เอาหมูวางลงกระดานไม้ห่อ
ด้วยกระดาษ มัดให้ดีแล้วน้ำส่งตาดขายต่อไป

6

5.การจำหน่ายหมูย่างเมืองตรัง

คือ การจัดจําหน่ายหมูย่างเมืองตรังจะมีการจัดจําหน่าย
ที่หน้าร้านของผู้ผลิตเองหรือมีบริการส่งถึงลูกค้าและยัง
มีการจําหน่ายในตลาดสดตอนเช้าตามร้านติ๋มซําในเมือง
ตรัง และในงานเทศกาลหมูย่างเมืองตรังของจังหวัดตรัง
ในทุก ๆ ปี ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ จิรดา เดชกลี้ยง
ศึกษาเรื่องการจัดจําหน่าย ได้กล่าวว่า การนํา สินค้าและ
บริการของผู้ผลิตออกสู่ตลาดเพื่อเสนอต่อผู้บริโภค โดย
การจัดหาสถานที่ขายหรือ อาศัยผู้เชี่ยวชาญทางการตลาด
ที่เป็นคนกลาง ช่วยในการนําเสนอสินค้าและบริการไปสู่
ผู้บริโภคในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมนอกจากนี้ยังมี
สถาบันต่าง ๆ

7

6.ความเชื่อเกี่ยวกับ
หมูย่างเมืองตรัง



ทุกงานมงคลหรืองานอวมงคลของคนไทยเชื้อสายจีนจะ
ใช้หมูย่างหมูตรังเป็นเครื่องเซ่นไหว้ เพื่อเป็นตัวแทนของ
ความสมบูรณ์ มั่งมี และความราบรื่นใน การทํางาน หาก

เจ้าภาพใดได้นําหมูย่างจากภัตคารฟองลั่นมาบริการ
แสดงถึงความมั่งคั่งของเจ้าภาพงานนั้น ๆ

8

7.การเก็บรักษา
หมูย่างเมืองตรัง

การเก็บไว้ในตู้เย็น และใส่ไว้ในบรรจุ 9.บรรจุภัณฑ์
ภัณฑ์ที่มิดชิดป้องกันแสงแดดและยัง หมูย่างเมืองตรัง
ช่วยช่วยยืดอายุการเก็บได้นานและยัง
ชะลอการเกิดกลิ่นเหม็นหืนได้ การเก็บ การบรรจุภัณฑ์หมูย่างเมืองตรัง
รักษาไว้ในตู้เย็นเป็นการเก็บรักษาที่ดี ส่วนใหญ่จะใช้ กระดาษห่อ
ที่สุด เพราะช่วย ป้องกันแสงแดดจะทํา (กระดาษซับน้ํามัน)
ให้หมูย่างนั้นมีสีที่เปลี่ยนไปจากเดิม เมื่อมีออเดอร์ที่ลูกค้าต้องการ
และหมดอายุได้เร็วขึ้น เพื่อที่จะ สภาพ เป็นตัวและกล่องกระดาษ
เดิมให้ได้นานที่สุด โดยไม่ต้องใช้วัตถุ เมื่อ ลูกค้าต้องการ ซึ่งสอดคล้อง
กันเสียเป็นการยืดอายุของหมูย่างได้ กับการศึกษาของ สุจิตรา เลิศพฤกษ์
พอสมควร ศึกษาเรื่องการบรรจุภัณฑ์
ได้กล่าวว่า การบรรจุหีบห่อ
8.ราคา ที่สวยงาม สะอาด ถูกหลักอนามัย
หมูย่างเม
ืองตรัง น่ารับประทาน

กิโลกรัมละ600บาท

9

10.งานเทศกาลหมูย่างเมืองตรัง

งานเทศกาลหมูย่างจังหวัดตรัง จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ของจ.ตรัง ภายในงานมีหมูย่างสูตรพิเศษของเมืองตรังจากร้านต่างๆใน
จังหวัด มาร่วมออกร้าน ณ บริเวณสี่แยกธรรมรินทร์ บนถนนสถานีและมีการ
จัดขบวนแห่ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

“ตรัง” ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองของคนช่างกิน” เนื่องจากมีอาหารอร่อยขึ้นชื่อ
มากมาย โดยหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงก็คือ หมูย่างของชาวตรัง ซึ่ง
เป็นสูตรเฉพาะที่ตกทอดมากว่า 100 ปี โดยหอการค้าจังหวัดตรัง เล็งเห็นว่า
หมูย่างของจังหวัดตรังนั้นถือเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์อันสำคัญอย่าง
หนึ่งของชาวตรัง หากได้รับการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์อย่างดีแล้ว จะ
สร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ขณะเดียวกันก็
สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อนำรายได้เข้าสู่จังหวัดตรัง อีกทางหนึ่ง
ดังนั้น หอการค้าจังหวัดตรังจึงได้ริเริ่มจัดเทศกาลหมูย่างเมืองตรังขึ้นเป็นครั้ง
แรกเมื่อปี 2533 โดยจัดในวันอาทิตย์ของสัปดาห์แรกในเดือนกันยายนของ
ทุกปี ติดต่อกันมาถึงปีที่ 22 ในครั้งนี้ ทำให้หมูย่างของจังหวัดตรังเป็นที่รู้จัก
ไปทั่วประเทศ และกลายเป็นของที่ระลึกที่ผู้มาเยือนจังหวัดตรังซื้อหากลับไป
เป็นของฝาก

ซึ่งเทศกาลหมูย่างเมืองตรัง จัดขึ้นในช่วงประมาณ เดือนกันยายนของทุก
ปี ถือเป็นหนึ่งกิจกรรมสำคัญของงาน โดยมีร้านค้าหมูย่างจากทั่วเมืองตรัง
มาร่วมออกบูธมากมาย พร้อมทั้งการจำหน่ายสินค้า OTOP ของจังหวัดตรัง,
การจัดขบวนพาเหรดแฟนซีที่สวยงามแฝงแง่คิดเพื่อประชาสัมพันธ์งานรอบ
ตลาด เทศบาลนครตรัง โดยได้รับความร่วมมือจากสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้ง
ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา, การประกวด
ตกแต่งจานหมูย่าง โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ศูนย์ตรัง และ
ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารจังหวัดตรัง รวมทั้งรับชมการแสดงจากดารา
และนักแสดงที่มีชื่อเสียง และโชว์ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นจากสถาบัน
การศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น

10 11.การแปรรูปพัฒนา
สินค้าหมูย่างเมืองตรัง

1.ซาลาเปา

ไส้หมูย่างเมืองตรังซาลาเปาเจ๊ปลาโดยเฉพาะล่าสุด

หลังจากได้คิดค้น “ซาลาเปาไส้หมู
ย่าง” ขึ้นเป็นเจ้าแรกของไทย ซึ่งมี
จุดเด่นตรงที่การนำหมูย่างชื่อดัง
เมืองตรัง มาผสมผสานเข้ากัน
อย่างอร่อยแบบลงตัวเจ๊ปลา” ยังมี
การพัฒนาซาลาเปาให้โดดเด่น มี
เอกลักษณ์ รสชาติอร่อย แถมมี
สีสันสวยงาม ด้วยการดัดแปลงทำ
ซาลาเปาแฟนซีขึ้นเป็นเจ้าเดียวใน
จ.ตรัง โดยมีทั้งไส้หมูย่างพร้อม
ตกแต่งเป็นรูปตัวการ์ตูน เช่น โด
ราเอม่อน กบเคโร๊ะ เต่า เม่น หมู
เสือ หนอนชาเขียว สไปเดอร์แมน
รวมทั้งแต้มหัวใจสีแดง สีชมพู
เพื่อให้เป็นซาลาเปาแห่งความรัก
จนได้รับความนิยมของผู้บริโภค
อย่างมาก เนื่องด้วยรูปแบบที่น่า
รัก น่ากิน และจากที่เคยขายแค่ใน
ชุมชน ก็กลายเป็นการขายไปไกล
ถึงต่างจังหวัด
จะขายเพียงลูกละ 15 บาท

11

2.ขนมเปี๊ ยะ
ไส้หมูย่างเมืองตรัง

ร้านขนมเปี๊ ยะซอย 9 ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 231/9 ถนนห้วยยอด ซอย 9 ในเขตเทศบาล
นครตรัง ร้านจำหน่ายของฝากชื่อดังใจกลางเมืองตรัง ยังคงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย
และชาวต่างชาติแวะเวียนกันมาซื้อ “ขนมเปี๊ ยะ” กลับไปอย่างไม่ขาดสาย โดยล่าสุด
ทางร้านได้เพิ่มไส้ที่หลากหลายมากขึ้นด้วยการนำ “หมูย่าง” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ
เมืองตรัง มาใส่ในขนมเปี๊ ยะ ทำให้ได้รสชาติกลมกล่อมที่ลงตัว และกลายเป็น
“ขนมเปี๊ ยะไส้หมูย่างเมืองตรังกับไข่เค็ม” ส่งผลให้เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าจำนวน
มาก จนทางร้านเร่งทำขนมกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว

นางเอมอร เอี่ยมศรี เจ้าของร้านขนมเปี๊ ยะซอย 9 กล่าวว่า สาเหตุที่ได้เพิ่มไส้หมู
ย่างเมืองตรัง เพราะว่าเมืองตรังมีของดังคือ หมูย่าง ซึ่งจะมีหนังกรอบ และรสชาติ
อร่อยอยู่แล้ว เมื่อนำมาปรุงแต่งร่วมกับน้ำซอสที่ปรุงรสเอง และจะทำเองแบบสดๆ
ทุกวัน จึงทำให้ขนมเปี๊ ยะไส้หมูย่างเมืองตรัง กลายเป็นสินค้าชื่อดังในเวลานี้
เนื่องจากผู้มาเยือนเมืองตรัง ก็จะได้ทั้งขนมเปี๊ ยะ และหมูย่างกลับไปในเมนูเดียว ส่ง
ผลให้มีกระแสตอบรับที่ดีมาก ทั้งจากความหอมของแป้งที่มีงา ซอสอร่อย และจาก
หนังกรอบของหมูย่าง ทำให้มีคนมาสั่งจองกันมาตลอด ซึ่งทางร้านจะเตรียมไว้
ประมาณวันละ 1,000 ลูก แต่พอหลังเที่ยงขนมเปี๊ ยะสูตรนี้ก็จะหมดแล้ว
ขายลูกละ 25 บาท หรือกล่องละ 5 ลูก ราคา 125 บาท



เอกสารอ้างอิง






ถาวร เผ่าตัก, เลขที่ 17 ถนนเก่า ตําบลทับเที่ยง อําเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
(11 กรกฎาคม 2559) สัมภาษณ์



ทวีศักดิ์ ไทรงาม, เจ้าของร้านโกแก่หมูย่าง เลขที่ 462 ถนนเพชรเกษม อําเภอห้วยยอด
จังหวัดตรัง (17 กรกฎาคม 2559) สัมภาษณ์

รัตนา สนั่นชาติวนิช. เจ้าของร้านยิ้นจี้ถ่อง เลขที่ 114 ถนนราชดําเนินตําบลทับเที่ยง
อําเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง (10 กรกฎาคม 2559) สัมภาษณ์

สัมพันธ์ ยิ้วเหี้ยง. (2556). โกสุย หมูย่าง. เรียกใช้เมื่อ 8 มกราคม 2561
จากhttp://foodinnopolis4tour.com/cultivator/detail/43

สิทธิพร รอดสั้น. (2558). เทศกาลหมูย่างเมืองตรัง. เรียกใช้เมื่อ 8 มกราคม 2561
จากhttp://trangroastporkfestival.blogspot.com/2015/10/blog-

post.html


Click to View FlipBook Version