โครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ภาสินี รังแก้ว มนัสชนก โนนสว่าง รัญชนา จตุมงคลสกุล ศศิธร บุญถัง โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สาขาวิชาการโรงแรม วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2566
โครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ภาสินี รังแก้ว มนัสชนก โนนสว่าง รัญชนา จตุมงคลสกุล ศศิธร บุญถัง โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สาขาวิชาการโรงแรม วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2566
ก กิตติกรรมประกาศ โครงการบริการวิชาการและวิชาชีพนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงนี้ ซึ่งสำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดี ด้วยคำแนะนำคำปรึกษาของอาจารย์วราภรณ์ บัวไขย ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำโครงการที่กรุณาเสนอแนะแนวทางการทำโครงการที่ถูกต้อง ตลอดจน แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่ด้วยดีเสมอมา ผู้จัดทำรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่งจึงขอกราบ ขอบคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ ขอกราบขอบคุณพระคุณ บิดา มารดา ที่ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน และสมาชิกในกลุ่มที่ ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดีในการทำโครงการวิชาชีพจนกระทั่งประสบผลสำเร็จด้วยดี สุดท้ายนี้คุณค่า และประโยชน์อันพึงมีจากการจัดทำโครงการนี้ ผู้จัดทำขอมอบแต่ผู้มีพระคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้ ภาสินี รังแก้ว มนัสชนก โนนสว่าง รัญชนา จตุมงคลสกุล ศศิธร บุญถัง
ชื่อโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ชื่อนักศึกษา ภาสินี รังแก้ว มนัสชนก โนนสว่าง รัญชนา จตุมงคลสกุล ศศิธร บุญถัง ประเภทวิชา อุตสาหกรรมท่องเที่ยว สาขาวิชา การโรงแรม ปีการศึกษา 2566 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์วรากรณ์ บัวไขย บทคัดย่อ การจัดทำโครงการนี้มีวัตถุประสงค์1. เพื่อให้ผู้ที่สนใจในการศึกษาการทำขนมได้รับความรู้เกี่ยวกับ การทำพานาคอตต้า 2. เพื่อเป็นแนวทางการประกอบอาชีพเสริม 3. เพื่อเป็นความรู้เสริมและทางเลือก เพิ่มเติมของผู้ที่สนใจเกี่ยวกับพานาคอตต้า การเก็บรวบรวมข้อมูล มีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้ 1. ปรึกษาและวางแผน 2. รวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ 3. หาอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ 4. เริ่มทำผลิตภัณฑ์ 5. นำเสนอ ผลิตภัณฑ์แก่อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ 6. รวบรวมข้อมูลการทำผลิตภัณฑ์เพื่อทำเอกสาร 7. ดำเนินการทำ เอกสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ 8. นำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการสอบโครงการ สถิติที่ใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ 1. ร้อยละ 2. ค่าเฉลี่ย ( x̄) 3. ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ผลการดำเนินงานพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำพานาคอตต้าและได้ ความรู้จากการนำมะพร้าวมาแปรรูปให้เป้นของที่น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน สร้างรายได้และประกอบอาชีพได้ และจากตารางแสดงค่าความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ที่มีต่อโครงการ Pandacocta พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจใน รายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 2 ลำดับ ได้แก่ ด้านการนำเสนอ/สาธิต ( x̄= 4.46 ) และ ด้านผลิตภัณฑ์/ผลงาน ( x̄=4.55 )
สารบัญ เรื่อง หน้า กิตติกรรมประกาศ ก บทคัดย่อ ข สารบัญ ค สารบัญตาราง จ สารบัญภาพ ฉ บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาของโครงการ 1 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ 1 1.3 ขอบเขตของโครงการ 1 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 2 บทที่ 2 ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ความเป็นมาของพานาคอตต้า 3 2.2 ความแตกต่างระหว่างพานาคอตต้ากับพุดดิ้ง 4 2.3 อุปกรณ์ที่ใช้ทำพานาคอตต้า 5 2.4 วัตถุดิบที่ใช้ทำพานาคอตต้า 7 2.5 วิธีการทำพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน 10 2.6 วิธีการทำซอสมะพร้าวลาวา 11 บทที่ 3 วิธีดำเนินการ 3.1 ประชากร กลุ่มตัวอย่าง 16 3.2 เครื่องมือในการประเมินโครงการ 16 3.3 วิธีการดำเนินการ 17 3.4 สถิติที่ใช้ในการทำโครงการ 18
สารบัญ ( ต่อ ) เรื่อง หน้า บทที่ 4 ผลการดำเนินโครงการ 4.1ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ 20 4.2 เพศของผู้เข้าร่วมโครงการ 20 4.3 อายุของผู้เข้าร่วมโครงการ 21 4.4 ระดับการศึกษาของผู้เข้าร่วมโครงการ 21 4.5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโครงการพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน โดยภาพรวม 22 4.6 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโครงการพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน รายด้าน 23 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการดำเนินงาน 25 5.2 การอภิปราย 26 5.3 ข้อเสนอแนะ 26 บรรณานุกรม ภาคผนวก ภาคผนวก ก แบบเสนอโครงการวิชาชีพ ภาคผนวก ข หนังสือรับรองการใช้ประโยชน์จากผลงานโครงการ หรืองานสร้างสรรค์ แบบลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ แบบประเมินความพึงพอใจโครงการ ภาคผนวก ค รูปภาพกิจกรรม ประวัติผู้จัดทำ
จ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 4.1 แสดงจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อนปีการศึกษา 2566 20 4.2 แสดงเพศของผู้เข้าร่วมโครงการ 20 4.3 แสดงอายุของผู้เข้าร่วมโครงการ 21 4.4 แสดงระดับการศึกษาของผู้เข้าร่วมโครงการ 21 4.5 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโครงการพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน 22 โดยภาพรวม 4.6 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโครงการพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน 23 รายด้าน
สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 2.2.1 พานาคอตต้า 4 2.2.2 พุดดิ้ง 4 2.3.1 หม้อต้ม 5 2.3.2 ตะกร้อมือ 5 2.3.3 ถ้วยตวงของแห้ง 6 2.3.4 ช้อนตวง 6 2.3.5 วิปปิ้งครีม 7 2.3.6 น้ำตาลทรายละเอียด 7 2.3.7 นมสด 8 2.3.8 น้ำเปล่า 8 2.3.9 ผงเจลาติน 9 2.4.1 น้ำมะพร้าว 11 2.4.2 น้ำตาลทรายละเอียด 12 2.4.3 น้ำกะทิ 12 2.4.4 แป้งกวนไส้ 12 2.4.5 เนื้อมะพร้าวอ่อน 13
1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาของโครงการ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่กำลังเกิดปัญหาในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างรุนแรง ซึ่ง คาดว่าในอนาคตจะมีแนวโน้มทำให้ประชาชนตกงานกันเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จากผลกระทบดังกล่าวจึงทำ ให้ผู้คนจำนวนมากเห็นความสำคัญกับการจับจ่ายใช้สอยภายในครัวเรือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายจึงต้องเลือกอาหาร ที่มีประโยชน์และคงอยู่ได้นาน ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวทางคณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นแนวทางการให้ความรู้และวิธีการเบื้องต้นของการทำ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อนโดยนำเสนอผ่ายทางออนไลน์ เป็นแนวทางให้ผู้ที่มีความสนใจเข้ามารับชมสื่อวิดีโอ เกิดความคิดริเริ่ม ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นธุรกิจของตนเองได้ ทางคณะผู้จัดทำโครงการมีความคิดเห็นตรงกันที่จะนำเสนอการทำพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อนผ่านทาง สื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่รับชมได้ความรู้และวิธีการทำขนมพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน เนื่องจากมีประโยชน์ต่อ ร่างกาย ต้นทุนต่ำ สามารถหาวัตถุดิบได้ง่าย สามารถเก็บไว้ได้นาน ผู้ที่รับชมได้มีความคิดริเริ่มที่จะนำไป พัฒนาและต่อยอดเป็นธุรกิจของตนเองได้โดยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 1.2 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมะพร้าว 2. เพื่อเป็นแนวทางการประกอบอาชีพเสริมและต่อยอดเป็นธุรกิจของตนเองได้ 3. เพื่อเป็นความรู้เสริมและทางเลือกเพิ่มเติมของผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการทำขนม 1.3 ขอบเขตของโครงการ 1. ขอบเขตด้านประชากร 1.1 ประชากรในชุมชนเทศบาลศรีราชา จำนวน 40 คน 2. ขอบเขตด้านสถานที่ 2.1 ชุมชนเทศบาลศรีราชา
2 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับทางเลือกเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มาจากมะพร้าว 2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถสร้างอาชีพและรายได้ 3. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทราบถึงวิธีการทำขนมพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ มะพร้าว หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Cocos nucifera L. ในวงศ์ Palmae ต้นสูงชะลูดไม่แตกกิ่งก้าน ผล กลม หรือรีแกมรูปสามเหลี่ยม ผลออกเป็นช่อขนาดใหญ่เรียกว่า ทะลาย น้ำคั้นจากเนื้อมะพร้าวห้าวเรียกว่า กะทิ ใช้ปรุงอาหาร และทำน้ำมัน พานาคอตต้า หมายถึง เป็นของหวานอิตาลีชนิดหนึ่ง ทำจากครีมผสมน้ำตาล ทำให้ข้นด้วยเจลาติน แล้วนำไปหล่อแม่พิมพ์ อาจแต่งกลิ่นและรสส่วนผสมครีมด้วยรัม, กาแฟ, วานิลลา หรือสารแต่งกลิ่นรสอื่น ๆ ก็ ได้ ขนมชนิดนี้มีหน้าตาเหมือนแครมการาแมล แต่มีรสชาติค่อนไปทางนมมากกว่า และมีเนื้อสัมผัสคล้ายวุ้นแต่ จะมีความละมุนมากกว่า เจลลาติน หมายถึง เจลาตินหรือเจลาตินเป็นส่วนประกอบอาหารโปร่งแสง ไม่มีสี ไม่มีรส ซึ่งมักมาจาก คอลลาเจนที่นำมาจากส่วนต่างๆ ของร่างกายสัตว์ น้ำตาลทรายเบเกอรี่ หมายถึง น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ที่ผ่านกระบวนการทำให้มีขนาดเล็กลง เป็น เกล็ดละเอียด จึงสามารถผสมเข้ากับส่วนผสมอื่น ๆ ได้ง่าย ช่วยลดระยะเวลาในการตีส่วนผสม ทำให้เนื้อขนม เนียนนุ่ม วิปปิ้งครีม หมายถึง Whipping Cream คือคำเรียกของครีมที่ยังไม่ถูกตี ครีมเทียม หมายถึง ครีมเทียม หรือบางครั้งที่เรียกกันจนติดปากว่า คอฟฟีเมต เป็นครีมผงหรือน้ำที่ใช้ ทดแทนนมหรือครีม เพื่อจะเติมรสชาติในกาแฟและเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ แป้งกวนใส้ หมายถึง แป้งที่ทำมาจากแป้งมันสำปะหลังดิบ โดยท้ายกระบวนการกรรมวิธีพิเศษ ในการ ปรับปรุงคุณสมบัติ ซึ่งเรียกว่า แป้งโมดิฟายด์ สตาร์ช
3 บทที่ 2 ทฤษฎี เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำโครงการครั้งนี้คณะผู้จัดทำได้ศึกษาความรู้จากเอกสารและบทความที่เกี่ยวข้อง กันโดยแบ่งข้อมูลในด้านต่างๆ ดังนี้ 2.1 ความเป็นมาของพานาคอตตา 2.2 ความแตกต่างระหว่างพานาคอตต้ากับพุดดิ้ง 2.3 อุปกรณ์ที่ใช้ทำพานาคอตต้า 2.4 วัตถุดิบที่ใช้ทำพานาคอตต้า 2.5 วิธีการทำพานาคอตต้า 2.6 วิธีการทำซอสมะพร้าวลาวา 2.1 ความเป็นมาของพานาคอตต้า ชื่อขนม "พานาคอตต้า" ไม่ได้รับการกล่าวถึงในตำราอาหารอิตาลีก่อนคริสต์ทศวรรษ 1960 แต่มักได้รับการอ้างว่าเป็นของหวานดั้งเดิมจากแคว้นพีดมอนต์ ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี เรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง (ซึ่งไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร) กล่าวว่าขนมชนิดนี้ได้รับการคิดค้นโดย หญิงชาวฮังการีคนหนึ่งในแถบลันเก ทางภาคตะวันตกของแคว้นในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 พจนานุกรมฉบับหนึ่งที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1879 กล่าวถึงอาหารชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า "ลัตเตอินเกลเซ" (latte inglese แปลว่า 'นมอังกฤษ') ทำจากครีม ปรุงกับเจลาตินแล้วเทใส่แม่พิมพ์ แต่แหล่งข้อมูลอื่น กล่าวว่า "ลัตเตอินเกลเซ" ทำจากไข่แดง ชื่ออาหารดังกล่าวจึงอาจครอบคลุมถึงของหวานชนิดใดก็ได้ที่ มีลักษณะคล้ายคัสตาร์ดแคว้นพพีดมอนต์ได้บรรจุพานาคอตต้าลงในรายชื่อผลิตภัณฑ์อาหารดั้งเดิม ของแคว้นในปี ค.ศ. 2001 โดยมีส่วนผสมได้แก่ ครีม, นม, น้ำตาล, วานิลลา, เจลาติน, รัมและไวน์มาร์ ซาลา เทใส่แม่พิมพ์ที่มีน้ำตาลเคี่ยวรองก้น ผู้แต่งตำราบางคนถือว่าการแต่งกลิ่นรสตามสูตรดั้งเดิมต้อง ใส่บรั่นดีลูกท้อและการจัดเสิร์ฟแบบดั้งเดิมจะต้องไม่มีซอสหรือเครื่องตกแต่งอื่น ๆ พานาคอตต้าเริ่ม เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาในคริสต์ทศวรรษ 1990
4 2.2 ความแตกต่างระหว่างพานาคอตต้ากับพุดดิ้ง พานาคอตต้า กับ พุดดิ้ง แตกต่างกันพานาคอตต้ามีหน้าตาคล้ายคลึงกับพุดดิ้ง ดูนุ่มนิ่ม เด้งดึ๋ง และจะแตกต่างจากพุดดิ้งตรงที่เนื้อสัมผัสมีความละเอียดนุ่มละมุนลิ้นกว่ามากรสชาติหวานมันกลม กล่อม 2.2.1 พานาคอตต้า 2.2.2 พุดดิ้ง
5 2.3 อุปกรณ์ที่ใช้ทำพานาคอตต้า 1. หม้อต้ม ในที่นี้เราใช้แบบสแตนเลส เนื่องจากสแตนเลสนั้นมีน้ำหนักเบาทำให้สะดวก ต่อการใช้งานและยังให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว รูปภาพที่ 2.3.1 หม้อต้ม 2. ตะกร้อมือ มี2 แบบ ได้แก่ 1.แบบสเตนเลสมีน้ำหนักเบาช่วยให้คุณไม่ต้องออกแรง มากเกินไปเมื่อประกอบอาหาร 2.แบบซิลิโคนช่วยผสมวัตถุดิบให้เป็นเนื้อเดียวกันได้เป็นอย่างดีและ ทนความร้อนได้สูง) ในที่นี้เราใช้แบบซิลิโคน รูปภาพที่ 2.3.2 ตะกร้อมือ
6 3. ถ้วยตวงของแห้ง มีขนาดหลายหลายทำจากหลายวัสดุ ทั้งแบบพลาสติกหรือแบบแส ตนเลสสามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบ ถ้วยตวงส่วนมากจะมี 4 ขนาดคือ1 ถ้วยตวง 1/2 ถ้วยตวง 1/3 ถ้วยตวง 1/4 ถ้วยตวง รูปภาพที่ 2.3.3 ถ้วยตวงของแห้ง 4. ช้อนตวง มีตั้งแต่ 4-6 ขนาด โดย 4 ขนาดประกอบด้วย 1 ช้อนโต๊ะ 1 ช้อนชา ½ ช้อนชา และ ¼ ช้อนชาและช้อนตวง 6 ขนาด ประกอบด้วย1 ช้อนโต๊ะ, ½ ช้อนโต๊ะ, 1 ช้อนชา, 1/2 ช้อนชา, 1/4 ช้อนชา, 1/8 ช้อนชาในที่นี้เราใช้แบบช้อนตวง4ขนาด รูปภาพที่ 2.3.4 ช้อนตวง
7 2.4 วัตถุดิบที่ใช้ทำพานาคอตต้า ส่วนผสมตัวเนื้อพานาคอตต้า -วิปปิ้งครีม 1 ถ้วยตวง รูปภาพที่ 2.3.5 วิปปิ้งครีม -น้ำตาลทรายละเอียด ½ ถ้วยตวง รูปภาพที่ 2.3.6 น้ำตาลทรายละเอียด
8 -นมสด 1 ถ้วยตวง รูปภาพที่ 2.3.7 นมสด -น้ำเปล่า 2 ช้อนโต๊ะ รูปภาพที่ 2.3.8 น้ำเปล่า -ผงเจลาติน 1 ช้อนโต๊ะ
9 รูปภาพที่ 2.3.9 ผงเจลาติน
10 2.5 วิธีทำพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน 1. เริ่มด้วยการนำผงเจลลาติน ใส่ลงไปในน้ำเปล่าคนให้เจลลาตินละลายพักไว้ประมาณ 5-10 นาที 2. เทนมสดวิปปิ้งครีมสดน้ำตาลทรายใส่ลงในหม้อต้มเปิดเตาค่อยๆคนเบาๆไปเรื่อยๆให้ส่วนผสม ทั้งหมดเข้ากันร้อนประมาณ60องศาเซลเซียส หรือสังเกตจากไอร้อนที่ลอยขึ้นมาแล้วจึงปิดเตา 3. จากนั้นใส่เจลาตินที่เตรียมไว้ ตามลงไปคนให้เจลาตินเข้ากับส่วนผสมที่เตรียมไว้
11 4. นำส่วนผสมที่ทำไว้ใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้และนำไปแช่ตู้เย้นประมาณ25-30นาทีหรือจนกว่า เนื้อพานาคอตต้าจะเซ็ทตัว 2.6 วิธีการทำซอสมะพร้าวลาวา ส่วนผสมซอสมะพร้าวลาวา -น้ำมะพร้าว 2 ถ้วยตวง รูปภาพที่ 2.4.1 น้ำมะพร้าว
12 -น้ำตาลทรายละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ รูปภาพที่ 2.4.2 น้ำตาลทรายละเอียด -น้ำกะทิ 1 ถ้วยตวง รูปภาพที่ 2.4.3 น้ำกะทิ -แป้งกวนไส้ 1 ถ้วยตวง รูปภาพที่ 2.4.4 แป้งกวนไส้
13 -เนื้อมะพร้าวอ่อน 1 ถ้วยตวง รูปภาพที่ 2.4.5 เนื้อมะพร้าวอ่อน วิธีทำ 1. หั่นเนื้อมะพร้าวอ่อนเป็นชิ้นเล็กเพื่อเตรียมไว้ตกแต่ง 2. นำน้ำมะพร้าวและแป้งกวนไส้นำมาผสมให้เข้ากันนำไปตั้งไฟอ่อนและคนไปเรื่อยๆ จนกว่าซอสมะพร้าวจะเป็นสีใส
14 3. ใส่น้ำกะทิผสมลงไปกับน้ำมะพร้าวที่ผสมกับแป้งกวนไส้ไว้ 4. ใส่น้ำตาลทรายละเอียดลงไปผสมกับซอสมะพร้าวและคนให้เข้ากัน 5. คนต่อไปเรื่อยๆจนกว่าซอสมะพร้าวจะได้ที่
15 6. จากนั้นนำซอสมะพร้าวที่พักไว้จนเย็นตักใส่ลงบนพานาคอตต้า และพร้อมเสิร์ฟ
16 บทที่ 3 วิธีดำเนินการ การจัดทำโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ ได้มี การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาโครงการระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 สาขาวิชาการ โรงแรม มีการดำเนินการดังต่อไปนี้ 3.1 ประชากร กลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือในการประเมินโครงการ 3.3 วิธีการดำเนินการ 3.4 สถิติที่ใช้ในการทำโครงการ 3.1 ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง - ประชากร คือ ประชากรในชุมชนเทศบาลศรีราชา - กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในชุมชนเทศบาลศรีราชา จำนวน 40 คน 3.2 เครื่องมือในการประเมินโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการในครั้งนี้ประกอบด้วย 1. แบบประเมินความพึงพอใจการจัดโครงการจำนวน 10 ข้อ ซึ่งแต่ล่ะข้อมีความหมาย 5 หมายถึง ดีเยี่ยม 4 หมายถึง ดี 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย 1 หมายถึง ปรับปรุง
17 การแปลความหมายของแบบประเมินความพึงพอใจการจัดโครงการโดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยในการ พิจาณาตามเกณฑ์ ดังนี้ 4.51 – 5.00 หมายถึง ดีเยี่ยม 3.51 – 4.50 หมายถึง ดี 2.51 – 3.50 หมายถึง ปานกลาง 1.51 – 2.50 หมายถึง น้อย 1.00 – 1.50 หมายถึง ปรับปรุง 3.3 วิธีการดำเนินการ 1. ปรึกษาและวางแผน จัดเรียงขั้นตอนการดำเนินการวางแผนและวางกำหนดการ เช่น กำหนดวันทำงาน กำหนดวันที่จะนำข้อมูลไปเผยแพร่ให้กับคนในชุมชน กำหนดการถ่ายคลิปวิดิโอสื่อ ความรู้และวิธีการทำพานาคอตต้า 2. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำพานาคอตต้า หาข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของพานาคอตต้าและวิธี ทำพานาคอตต้า 3. หาอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำพานาคอตต้า โดยจัดเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆเช่น อุปกรณ์ทำพานาคอตต้าและวัตถุดิบในการทำพานาคอตต้า 4. เริ่มทำพานาคอตต้า ดำเนินการทำพานาคอตต้า ลงมือปฏิบัติตามกำหนดการที่ได้รับ กำหนดไว้เช่น เลือกสูตรพานาคอตต้าและฝึกซ้อม ถ่ายคลิปสื่อความรู้และนำไปเผยแพร่ให้กับคนใน ชุมชน ฝึกซ้อมทำผลิตภัณฑ์พานาคอตต้า เลือกซื้อแพ็คเกจ ออกแบบโลโก้และทำสติ๊กเกอร์ 5. นำเสนอพานาคอตต้าแก่อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ โดยเผยแพร่ข้อมูลและความรู้พร้อม สอนวิธีการทำพานาคอตต้า นำคลิปสื่อความรู้เรื่องพานาคอตต้าไปเผยแพร่ 6. รวบรวมข้อมูลการทำพานาคอตต้าเพื่อทำเอกสาร รวบรวมเป็นเอกสารเพื่อประกอบเป็น รูปเล่ม 7. ดำเนินการทำเอกสารเกี่ยวกับพานาคอตต้า จัดเตรียมสไลด์สำหรับนำเสนอรวมถึงแบบ ประเมิน 8. นำเสนอโครงการ นำเสนอทุกอย่างที่จัดเตรียมให้คณะกรรมการ เริ่มจากส่วนของข้อมูลไว้ จนถึงการสาธิตและนำพานาคอตต้าจากการสาธิตมาให้คณะกรรมการพิจารณา
18 3.4 สถิติที่ใช้ในการทำโครงการ 1. ร้อยละ อัตราร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์ (percentage/percent) คือแนวทางในการนำเสนอจำนวน โดยใช้เศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 มักใช้สัญลักษณ์เป็น เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ "%" เมื่อ P แทน ค่าร้อยละ F แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นค่าร้อยละ N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด ค่าร้อยละจะแสดงความหมายของค่าและสามารถนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบได้ 2. ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่ากลางของข้อมูลที่ได้จากการบวกค่าสังเกตของข้อมูลทั้งหมด แล้วหารด้วยจำนวนข้อมูล ทั้งหมด ใช้สัญลักษณ์ ( X ) ใช้สูตร X = X N เมื่อ X แทน ค่าเฉลี่ย X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดของกลุ่ม N แทน จำนวนของคะแนนในกลุ่ม
19 3. ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นค่าวัดการกระจายที่สำคัญทางสถิติ เพราะเป็นค่าที่ใช้บอกถึงการ กระจายของข้อมูลได้ดีกว่าค่าพิสัย และค่าส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย ใช้สูตร S.D. = (X - X)2 n – 1 S.D. = nX 2 - (X)2 n(n – 1) เมื่อ S.D. แทน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน X แทน ค่าคะแนน n แทน จำนวนคะแนนในแต่ละกลุ่ม แทน ผลรวม หรือ
20 บทที่ 4 ผลการดำเนินโครงการ การจัดทำโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน มีการสรุปผลการดำเนินงานดังนี้ ตารางที่4.1 แสดงจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ปีการศึกษา 2566 ผู้เข้าร่วมโครงการ เสนอ (คน) ปฎิบัติจริง (คน) คิดเป็นร้อยละ ชุมชนเทศบาลศรีราชา 40 40 100 จากตารางที่ 4.1 ผลแสดงจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ปีการศึกษา 2566 มีผู้เข้าร่วมอบรมโครงการจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ตารางที่ 4.2 แสดงเพศของผู้เข้าร่วมโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน เพศ จำนวน คิดเป็นร้อยละ ชาย 18 45 หญิง 22 55 รวม 40 100 จากตารางที่ 4.2 ผลการประเมินจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ปีการศึกษา 2566 มีผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นเพศชาย จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 45 เป็น เพศหญิง จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 55
21 ตารางที่ 4.3 แสดงอายุของผู้เข้าร่วมโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน อายุ จำนวน คิดเป็นร้อยละ 15-20 ปี 40 100 21-30 ปี - - 31-40 ปี - - 41-50 ปี - - 51 ปีขึ้นไป - - รวม 40 100 จากตารางที่ 4.3 ผลการประเมินจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ปีการศึกษา 2566 มีผู้เข้าร่วมโครงการ มีอายุ 15-20 ปี จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 อายุ 21-30 ปีจำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 อายุ 31-40 ปีจำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 อายุ 41-50 ปี จำนวน 0 คิดเป็นร้อยละ 0 และอายุ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ตารางที่ 4.4 แสดงระดับการศึกษาของผู้เข้าร่วมโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ระดับการศึกษา จำนวน คิดเป็นร้อยละ ประถมศึกษา - - มัธยมศึกษา 2 5 ปวช. 34 85 ปวส. 4 10 ปริญญาตรี - - อื่นๆ - - รวม 40 100 จากตารางที่ 4.4 ผลการประเมินจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ปี การศึกษา 2566 มีผู้เข้าร่วมโครงการ มีระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ระดับ การศึกษาชั้น ปวช.จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 85 ระดับการศึกษาชั้น ปวส.จำนวน 4 คน คิดเป็น ร้อยละ 10 ระดับการศึกษาชั้นปริญญาตรี จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 และอื่นๆ จำนวน 0 คน คิด เป็นร้อยละ 0
22 ตารางที่ 4.5 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน โดยภาพรวม ข้อที่ รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ ̅ S.D. อันดับ ระดับ 1. ด้านการนำเสนอ/สาธิต 4.46 0.68 2 ดี 2. ด้านผลิตภัณฑ์/ผลงาน 4.55 0.62 1 ดีเยี่ยม รวม 4.50 0.65 ดี จากตารางแสดงค่าความพึงพอใจของผู้ที่เข้าร่วมโครงการที่มีต่อโครงการ พานาคอตต้า มะพร้าวอ่อน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจใน รายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 2 ลำดับ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์/ผลงาน ( ̅= 4.55 ) อยู่ในระดับดีเยี่ยม และด้านการนำเสนอ/สาธิต ( ̅= 4.46 ) อยู่ในระดับดี
23 ตารางที่ 4.6 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน รายด้าน ข้อที่ รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ N = 40 ̅ S.D. อันดับ ระดับ ด้านการนำเสนอ/สาธิต 1. มีความชัดเจนของภาพ เสียง และตัวอักษร 4.48 0.64 2 ดี 2. การใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม 4.40 0.71 4 ดี 3. การเรียบเรียงเนื้อหาที่เข้าใจง่าย 4.45 0.71 3 ดี 4. การดำเนินเรื่องอย่างต่อเนื่องเหมาะสมกับเวลา 4.40 0.71 4 ดี 5. การจัดวางองค์ประกอบเหมาะสม 4.55 0.64 1 ดีเยี่ยม รวมด้านการนำเสนอ/สาธิต 4.46 0.68 ดี ด้านผลิตภัณฑ์/ผลงาน 1. ความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์/ผลงาน 4.53 0.64 3 ดีเยี่ยม 2. ความชัดเจนในการอธิบายของผลิตภัณฑ์/ผลงาน 4.58 0.64 1 ดีเยี่ยม 3. ความน่าสนใจและเทคนิคที่ใช้ในผลิตภัณฑ์/ผลงาน 4.58 0.59 1 ดีเยี่ยม 4. เนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 4.50 0.64 4 ดี 5. เนื้อหามีสาระและประโยชน์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ งานได้ในชีวิตประจำวัน 4.55 0.60 2 ดีเยี่ยม รวมด้านผลิตภัณฑ์/ผลงาน 4.55 0.62 ดีเยี่ยม รวม 4.50 0.65 ดี จากตารางแสดงให้เห็นว่าความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อโครงการ พานาคอตต้า มะพร้าวอ่อน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( ̅= 4.50 ) อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของคะแนน ความพึงพอใจในรายด้าน โดยด้านการนำเสนอ/สาธิต ( ̅= 4.46 ) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหา น้อย 4 ลำดับ ได้แก่ การจัดวางองค์ประกอบเหมาะสม ( ̅= 4.55 ) อยู่ในระดับดีเยี่ยม รองลงมา
24 มีความชัดเจนของ ภาพเสียง และตัวอักษร ( ̅= 4.48) อยู่ในระดับดี การเรียบเรียงเนื้อหาที่เข้าใจ ง่าย ( ̅= 4.45 ) อยู่ในระดับดี การใช้ภาษาถูกต้อง เหมาะสม( ̅= 4.40 ) อยู่ในระดับดี การ ดำเนินเรื่องอย่างต่อเนื่องเหมาะสมกับเวลา ( ̅= 4.40) อยู่ในระดับดี และด้านผลิตภัณฑ์/ผลงาน สามารถเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 4 ลำดับ ได้แก่ ความชัดเจนในการอธิบายของ ผลิตภัณฑ์/ผลงาน ( ̅= 4.58 ) อยู่ในระดับดีเยี่ยม รองลงมา ความน่าสนใจและเทคนิคที่ใช้ใน ผลิตภัณฑ์ ( ̅ = 4.58 ) เนื้อหามีสาระและประโยชน์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ใน ชีวิตประจำวัน (̅= 4.55 ) อยู่ในระดับดีเยี่ยม ความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์/ ผลงาน ( ̅ = 4.53 ) อยู่ในระดับดีเยี่ยมเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ( ̅= 4.50 ) ตามลำดับ
25 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การประเมินผลครั้งนี้เป็นโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ประจำปีการศึกษา 2566 สามารถสรุปผลได้ดังนี้ 5.1 สรุปผลการดำเนินงาน ผลการประเมินจำนวนผู้เข้ารับการอบรมโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ปีการศึกษา2566 มีผู้เข้าร่วมรับการอบรม จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 มีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นเพศชาย จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 45 และเพศหญิง จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 55 ผู้เข้าร่วมโครงการ มีอายุ 15-20 ปีจำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 อายุ 21-30 ปีจำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 อายุ 31-40 ปีจำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 อายุ 41-50 ปีจำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 และอายุ 51 ปีขึ้นไป จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ผู้เข้าร่วมโครงการ มีระดับการศึกษาชั้นปวส.จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ระดับการศึกษาชั้นปริญญาตรีจำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 และอื่นๆจำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 ผลการปฏิบัติโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ประจำปีการศึกษา 2566 ค่าความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีต่อโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( ̅= 4.50 ) อยู่ในระดับดีเยี่ยม เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจในรายด้าน โดย เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 2 ลำดับ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์/ผลงาน ( ̅= 4.55 ) อยู่ใน ระดับดีเยี่ยมรองลงมาด้านการนำเสนอ/สาธิต ( ̅= 4.46 ) อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการนำเสนอ/สาธิต สามารถเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 4 ลำดับ ได้แก่ การจัดวางองค์ประกอบเหมาะสม ( ̅= 4.55 ) อยู่ในระดับดีเยี่ยม มีความชัดเจนของภาพ เสียง และ ตัวอักษร ( ̅= 4.48 ) อยู่ในระดับดี การเรียบเรียงเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ( ̅= 4.45 ) อยู่ในระดับดี การใช้ภาษาถูกต้อง เหมาะสม( ̅= 4.40 ) อยู่ในระดับดี การดำเนินเรื่องอย่างต่อเนื่องเหมาะสม กับเวลา ( ̅= 4.40 ) อยู่ในระดับดี ด้านผลิตภัณฑ์/ผลงาน สามารถเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 4 ลำดับ ได้แก่ ความชัดเจนในการอธิบายของผลิตภัณฑ์/ผลงาน ( ̅= 4.58 ) อยู่ในระดับดีเยี่ยม รองลงมา ความ น่าสนใจและเทคนิคที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ ( ̅ = 4.58 ) เนื้อหามีสาระและประโยชน์ สามารถนำไป ประยุกต์ใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน ( ̅= 4.55) อยู่ในระดับดีเยี่ยม ความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ของผลิตภัณฑ์ / ผลงาน ( ̅= 4.53 ) อยู่ในระดับดีเยี่ยม เนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ โครงการ ( ̅= 4.50 ) ตามลำดับ
26 5.2 การอภิปราย ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้อยู่ในระดับดีเยี่ยม เนื่องจากเป็น โครงการที่ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ พร้อมทั้งสามารถนำไปเป็นแนวในการประกอบอาชีพอีก ด้วย ผลการปฏิบัติโครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน ประจำการศึกษา 2566 ค่าความพึงพอใจของ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจใน ด้านการนำเสนอ/สาธิตและด้านผลิตภัณฑ์/ผลงาน ด้านการนำเสนอ/สาธิต ผลการประเมินความพึงพอในระดับดีเพราะมีการจัดวางองค์ประกอบ เหมาะสม มีความชัดเจนของภาพ เสียง และตัวอักษร การเรียบเรียงเนื้อหาที่เข้าใจง่าย การใช้ ภาษาถูกต้องเหมาะสม การดำเนินเรื่องอย่างต่อเนื่องเหมาะสมกับเวลาเพราะการจัดวางองค์ประกอบ เหมาะสม และมีการดำเนินเรื่องอย่างต่อเนื่องเหมาะสมกับเวลา ด้านผลิตภัณฑ์/ผลงาน ผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม เพราะมีความชัดเจนใน การอธิบายของผลิตภัณฑ์/ผลงาน ความน่าสนใจและเทคนิคที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ เนื้อหามีสาระและ ประโยชน์สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน ความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ของ ผลิตภัณฑ์/ ผลงาน และเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 5.3 ข้อเสนอแนะ 1. มีระยะเวลาในการทำโครงการนี้สั้นเกินไป ควรบริหารเวลาในการทำงานให้ดี 2. สถานที่ในการทำโครงการไม่เหมาะสม สมาชิกในกลุ่มควรเลือกหาสถานที่ในการจัดทำที่ เอื้ออำนวยทั้งสถานที่ การเดินทางและอุปกรณ์การทำ 3. เวลาของสมาชิกกลุ่มไม่ตรงกัน ดังนั้นสมาชิกควรแบ่งหน้าที่กัน เพื่อให้งานเสร็จตาม ระยะเวลาที่กำหนด
บรรณานุกรม ครีมเทียมหมายถึง( ออนไลน์ ) เข้าได้จาก https://th.m.wikipedia.org/wiki/ สืบค้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 เจลาตินหมายถึง ( ออนไลน์ ) เข้าได้จาก https://www.otto.co.th/content/ สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2566 น้ำตาลทรายเบเกอรี่หมายถึง (ออนไลน์) เข้าได้จาก https://www.mitrpholsugar.com/blog/ สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2566 แป้งกวนไส้หมายถึง ( ออนไลน์ ) เข้าได้จาก https://ufm.co.th/tips/ สืบค้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 พานาคอตต้าหมายถึง( ออนไลน์ ) เข้าได้จาก https://th.m.wikipedia.org/wiki/ สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2566 วิปปิ้งครีมหมายถึง( ออนไลน์ ) เข้าได้จาก https://krua.co/cooking_post/whipping-cream สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2566 วิธีการทำพานาคอตต้า ( ออนไลน์ ) เข้าได้จาก https://sistacafe.com/summaries/2180 สืบค้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก -แบบเสนอโครงการวิชาชีพ
หลักการและเหตุผล เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่กำลังเกิดปัญหาในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างรุนแรง ซึ่ง คาดว่าในอนาคตจะมีแนวโน้มทำให้ประชาชนตกงานกันเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จากผลกระทบดังกล่าวจึงทำ ให้ผู้คนจำนวนมากเห็นความสำคัญกับการจับจ่ายใช้สอยภายในครัวเรือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายจึงต้องเลือกอาหาร ที่มีประโยชน์และคงอยู่ได้นาน ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวทางคณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นแนวทางการให้ความรู้และวิธีการเบื้องต้นของการทำ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อนโดยนำเสนอผ่ายทางออนไลน์ เป็นแนวทางให้ผู้ที่มีความสนใจเข้ามารับชมสื่อวิดีโอ เกิดความคิดริเริ่ม ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นธุรกิจของตนเองได้ ทางคณะผู้จัดทำโครงการมีความคิดเห็นตรงกันที่จะนำเสนอการทำพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อนผ่านทาง สื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่รับชมได้ความรู้และวิธีการทำขนมพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน เนื่องจากมีประโยชน์ต่อ ร่างกาย ต้นทุนต่ำ สามารถหาวัตถุดิบได้ง่าย สามารถเก็บไว้ได้นาน ผู้ที่รับชมได้มีความคิดริเริ่มที่จะนำไป พัฒนาและต่อยอดเป็นธุรกิจของตนเองได้โดยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมะพร้าว 2. เพื่อเป็นแนวทางการประกอบอาชีพเสริมและต่อยอดเป็นธุรกิจของตนเองได้ 3. เพื่อเป็นความรู้เสริมและทางเลือกเพิ่มเติมของผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการทำขนม เป้าหมาย เชิงปริมาณ 1. ผู้เข้าร่วมโครงการ คือ ประชากรในชุมชนเทศบาลศรีราชา จำนวน 40 คน เชิงคุณภาพ 1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ความรู้เกี่ยวกับการทำพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน 2. โครงการนี้ต้องเป็นแนวทางในการสร้างอาชีพได้ 3. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความพึงพอใจเป็นอย่างมาก
ขั้นตอนการดำเนินการ 1. ปรึกษาและวางแผน 2. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ 3. หาอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ 4. เริ่มทำผลิตภัณฑ์ 5. นำเสนอผลิตภัณฑ์แก่อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ 6. รวบรวมข้อมูลการทำผลิตภัณฑ์เพื่อทำเอกสาร 7. ดำเนินการทำเอกสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ 8. นำเสนอโครงการ ปฏิทินการดำเนินการ กิจกรรม มิถุนายน 2566 กรกฎาคม 2566 สิงหาคม 2566 กันยายน 2566 หมายเหตุ 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1. ปรึกษาและวางแผน 2. รวบรวมข้อมูล 3. หาอุปกรณ์และ วัตถุดิบ 4. เริ่มทำผลิตภัณฑ์ 5. นำเสนอผลิตภัณฑ์ 6. รวบรวมข้อมูลทำ เอกสาร 7. ดำเนินการทำ เอกสาร 8. นำเสนอโครงการ
ระยะเวลาการจัดทำโครงการ 1 มิถุนายน – 20 กันยายน 2566 สถานที่ดำเนินการ ชุมชนเทศบาลศรีราชา ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี การติดตามและประเมินผล แบบประเมินความพึงพอใจ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับทางเลือกเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มาจากมะพร้าว 2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถสร้างอาชีพและรายได้ 3. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทราบถึงวิธีการทำขนมพานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน งบประมาณ งบประมาณการจัดทำโครงการ จำนวน 1,500 บาท ( หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน ) 1. ค่าเดินทาง 200 บาท 2. ค่าเอกสาร 300 บาท 3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ 500 บาท 4. ค่าวัตถุดิบ 500 บาท
ภาคผนวก ข - หนังสือรับรองการใช้ประโยชน์จากผลงานโครงการหรืองานสร้างสรรค์ - แบบลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ - แบบประเมินความพึงพอใจโครงการ
แบบประเมินความพึงพอใจการเข้าร่วมโครงการวิชาชีพ
แบบประเมินความพึงพอใจการเข้าร่วมโครงการวิชาชีพ โครงการ พานาคอตต้ามะพร้าวอ่อน คำชี้แจง ให้ผู้ตอบแบบสอบถามทำเครื่องหมาย ✓ ลงในช่อง ❑ ตรงกับข้อมูลพื้นฐาน ของท่านตามความเป็นจริง ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 1. เพศ ❑ ชาย ❑ หญิง 2. อายุ ❑ 15-20 ปี ❑ 21-30 ปี ❑ 31-40 ปี ❑ 41-50 ปี ❑ 51 ปีขึ้นไป 3. ระดับการศึกษา ❑ ประถมศึกษา ❑ มัธยมศึกษา ❑ ปวช. ❑ ปวส. ❑ ปริญญาตรี ❑ อื่นๆ ระบุ ตอนที่ 2 ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมโครงการ ข้อ รายละเอียด ระดับความพึงพอใจ 5 (ดีเยี่ยม) 4 (ดี) 3 (ปานกลาง) 2 (น้อย) 1 (น้อยที่สุด) ด้านการนำเสนอ/สาธิต 1. มีความชัดเจนของภาพ เสียง และตัวอักษร 2. การใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม 3. การเรียบเรียงเนื้อหาที่เข้าใจง่าย 4. การดำเนินเรื่องอย่างต่อเนื่องเหมาะสมกับเวลา 5. การจัดวางองค์ประกอบเหมาะสม ด้านผลิตภัณฑ์/ผลงาน 1. ความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์/ผลงาน 2. ความชัดเจนในการอธิบายของผลิตภัณฑ์/ผลงาน 3. ความน่าสนใจและเทคนิคที่ใช้ในผลิตภัณฑ์/ผลงาน 4. เนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 5. เนื้อหามีสาระและประโยชน์ สามารถนำไป ประยุกต์ใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม