The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by community forest, 2022-03-09 22:04:23

การพัฒนาศักยภาพผู้นำเครือข่ายป่าชุมชนออนไลน์

โดย สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้

บทสรปุ ผ้บู ริหาร

โครงการสัมมนาออนไลน์ เร่ือง “การพัฒนาศักยภาพผู้นาเครือข่ายป่าชุมชน” มีวัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้นาเครือข่ายป่าชุมชนในการปฏิบัติงานร่วมกับรัฐให้เป็นไปตาม
เจตนารมณ์ หลักการ และบทบัญญัติของพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้พัฒนาไปสู่การจัดการทรัพยากรในพื้นที่ตนเองได้อย่างเหมาะสมตามวิถีใหม่ยุค ( New Normal)
นาไปสู่การขยายการจัดการจัดตั้งป่าชุมชนตามเป้าหมาย และเพ่ือยกระดับกระบวนการมีส่วนร่วมกับรัฐในการ
บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และขยายความร่วมมือไปยังภาครัฐ เอกชน องค์กรต่าง ๆ อย่างบูรณาการ
กลุ่มเป้าหมายเป็นประธานและคณะกรรมการเครือข่ายป่าชุมชนระดับจังหวัด สมาชิกเครือข่ายป่าชุมชน และ
เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านป่าชุมชน มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้นจานวน 500 คน จัดข้ึนในวันท่ี 15 ธันวาคม 2564
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Online) ทางแอปพลิเคชั่น (Zoom) โดยมีการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ปี 2565
เป็นปีแห่งการปรับตัวและฟ้ืนฟูทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม” โดย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม และมีกิจกรรมหลักที่ดาเนินการ ดังน้ี 1) การแสดงปณิธานการมี
ส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพ่ือแสดงถึงความมุ่งมั่นต้ังใจในการผนึกกาลัง
ร่วมกันอนุรักษ์ ดูแลผืนป่า ให้อุดมสมบูรณ์ คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างสมดุลและยั่งยืน 2) การถ่ายทอดประโยชน์
ท่ีชุมชนได้รับจากการดูแลป่าชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น 3) การเสวนาในประเด็น บทบาทของภาคประชาชน และ
พลังเครือข่ายป่าชุมชน 4) การระดมความคิดเห็นของเครือข่ายป่าชุมชนตามวิถีใหม่ยุค (New Normal)
และตอบข้อซกั ถามด้านกฎหมายตามพระราชบัญญตั ปิ า่ ชมุ ชน พ.ศ. 2562

การสัมมนาฯ ในคร้ังนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการบริหารจัดการป่าชุมชน
ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 และสามารถนาองค์ความรู้ไปจัดการและพัฒนา
พ้ืนที่ตนเองได้อย่างเหมาะสมตามตามวิถีใหม่ยุค (New Normal) ซ่ึงนาไปสู่ขยายการจัดการจัดตั้งป่าชุมชน
ตามเปา้ หมาย และเครือขา่ ยความรว่ มมือการทางานเพื่อดูแล ป้องกัน รักษา และฟ้ืนฟูทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
อย่างบูรณาการ โดยผลความพึงพอใจในการสมั มนาในครง้ั น้ี อยใู่ นระดับมากทส่ี ุด หรอื คิดเป็นรอ้ ยละ 89

คานา

ด้วยสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลกระทบในวงกว้าง
ต่อการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจึงได้ตระหนักถึงความสาคัญของการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการ
ดาเนินงานด้านการอนุรักษ์ ฟ้ืนฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความย่ั งยืน
ประกอบกับรฐั มนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบนโยบายการดาเนินงานปี 2565
(ทส.ยกกาลังเอ็กซ์) เน้นการฟื้นฟูและการปรับตัวทุกมิติ มุ่งสู่การส่ือสารรูปแบบใหม่ผ่านระบบออนไลน์และ
ใหป้ ระชาชนเปน็ ศนู ย์กลาง สร้างการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างความเข้มแข็ง ระดับพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วม
ของประชาชน ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์อันดีในการทางานระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สง่ิ แวดล้อมและประชาชน

กรมป่าไม้ โดยสานักจัดการป่าชุมชน สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนในท้องถ่ินสามารถดูแล
รักษา สร้างกติกา และใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรในพ้ืนท่ีอย่างสมดุลและต่อเน่ืองผ่านกระบวนการ
เสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายในแต่ละจังหวัดให้สามารถยกระดับการทางานร่วมกันในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรป่าไม้ท้ังเชิงพ้ืนที่ กฎหมาย เชื่อมโยงประสานกันทุกระดับต้ังแต่หมู่บ้าน ตาบล อาเภอ จังหวัด ภาค
สู่ระดับประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการทางานในทิศทางเดียวกันมาอย่างต่อเน่ืองทุกปี
แต่เน่ืองด้วย ปี 2564 มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 รัฐบาลได้ขอความร่วมมือ
ให้หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มคนขนาดใหญ่ เพ่ือป้องกันและลดความรุนแรงของโรคระบาดดังกล่าว จึงจัดให้
มีโครงการสัมมนาออนไลน์ เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพผู้นาเครือข่ายป่าชุมชน” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Online) ทางแอปพลิเคช่ัน (Zoom) เพื่อให้การขับเคลื่อนการทางานของเครือข่ายป่าชุมชนเป็นไปอย่าง
ต่อเน่ือง สาเร็จตามเป้าหมาย อันจะนาไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในป่าชุมชนอย่าง
มปี ระสิทธิภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศมคี วามสมบูรณ์และยั่งยนื ต่อไป

กรมป่าไม้จึงได้จัดทารายงานสรุปผลการสัมมนาออนไลน์ เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพผู้นา
เครือข่ายป่าชุมชน” เพ่ือสรุปเน้ือหาท่ีสาคัญเป็นแนวทางในการพัฒนาและเพ่ิมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ของเครือขา่ ยป่าชุมชนและ เจา้ หน้าทีท่ ปี่ ฏิบัตงิ านด้านป่าชุมชนต่อไป

สานักจดั การปา่ ชุมชน
กรมป่าไม้

สารบญั หนา้

เร่อื ง

โครงการสมั มนาออนไลน์ เร่อื ง “การพัฒนาศักยภาพผ้นู าเครือข่ายป่าชุมชน” 1
4
พธิ เี ปิดและปาฐกถาพเิ ศษ “ปี 2565 เป็นปีแห่งการปรับตัวและฟ้ืนฟทู รัพยากรธรรมชาติ
และส่งิ แวดล้อม” 7
14
การเสวนา “บทบาทของภาคประชาชน และพลังเครือข่ายปา่ ชุมชน”

การระดมความคดิ เห็นของเครอื ข่ายป่าชมุ ชนตามวถิ ีใหมย่ ุค (New Normal)
และตอบขอ้ ซกั ถามดา้ นกฎหมายตามพระราชบญั ญตั ิปา่ ชุมชน พ.ศ. 2562

การแสดงปณิธานการมสี ว่ นร่วมในการดแู ลรกั ษาทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อม 19
การถา่ ยทอดประโยชนท์ ี่ชมุ ชนได้รบั จากการดูแลปา่ ชุมชนจากร่นุ ส่รู ุ่น 20
พธิ ปี ิดการสัมมนาออนไลน์ 21
สรุปแบบประเมินความพึงพอใจ 23

โครงการสมั มนาออนไลน์ เรอ่ื ง “การพฒั นาศักยภาพผู้นาเครอื ขา่ ยป่าชมุ ชน”

----------------------------------------------------------------------------------------------

1. หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลกระทบในวงกว้าง

ต่อการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจึงได้ตระหนักถึงความสาคัญของการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการ
ดาเนินงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน
ประกอบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบนโยบายการดาเนินงาน
ปี 2565 (ทส.ยกกาลังเอ็กซ์) เน้นการฟื้นฟูและการปรับตัวทุกมิติ มุ่งสู่การส่ือสารรูปแบบใหม่ผ่านระบบ
ออนไลน์และให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างความเข้มแข็ง ระดับพื้นท่ีให้
เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์อันดีในการทางานระหว่างกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ มและประชาชน

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อมใหค้ วามสาคัญกบั การมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์
ฟืน้ ฟู และป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาร่วมสนับสนุนภารกิจ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ในรูปแบบเครือข่ายป่าชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางท่ีกรมป่าไม้ โดยสานัก
จัดการป่าชุมชน สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนในท้องถิ่นสามารถดูแล รักษา สร้างกติกา และใช้ประโยชน์
จากฐานทรพั ยากรในพ้นื ท่อี ย่างสมดลุ และตอ่ เนอ่ื งผ่านกระบวนการเสรมิ สร้างศักยภาพเครือข่ายในแต่ละจังหวัด
ให้สามารถยกระดับการทางานร่วมกันในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ท้ังเชิงพื้นที่ กฎหมาย เชื่อมโยง
ประสานกันทุกระดับตั้งแต่หมู่บ้าน ตาบล อาเภอ จังหวัด ภาค สู่ระดับประเทศ โดยมีเป้าหมายท่ีจะบรรลุ
ผลสัมฤทธิ์ในการทางานในทิศทางเดียวกันมาอย่างต่อเน่ืองทุกปี ประกอบกับพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.
๒๕๖๒ ได้ประกาศใช้และมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้ชุมชนร่วมกับรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ในป่าชุมชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกาหนดบทบาทของเครือข่ายป่าชุมชน ตามความใน มาตรา 9 (4)
กาหนดให้กลุ่มผู้แทนประธานเครือข่ายป่าชุมชนระดับจังหวัดเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ
นโยบายป่าชุมชน จานวน 4 คน มาตรา 23 (4) กาหนดให้ประธานเครือข่ายป่าชุมชนระดับจังหวัดเป็น
กรรมการในคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด และมาตรา 23 (5) กาหนดให้ผู้แทนคณะกรรมการจัดการ
ป่าชุมชนในจังหวัด จานวนไม่เกิน 3 คน เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการป่าชุมชนประจาจังหวัด
และระเบียบกรมปา่ ไม้ว่าด้วยการจดแจง้ เปน็ เครือข่ายปา่ ชมุ ชนระดับจงั หวัด พ.ศ. 2562 ไดก้ าหนดหลักเกณฑ์
และวธิ กี ารจดแจ้งการเปน็ เครือขา่ ยป่าชุมชนระดับจังหวัด เพื่อรองรบั สถานะเครือข่ายป่าชุมชนระดับจังหวัดให้
มีความชัดเจนขึ้นในทางกฎหมายก่อให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเรียนรู้
สร้างความเข้าใจ และแลกเปล่ียนประสบการณ์ ในการจัดการป่าชุมชน รวมทั้งช่วยเหลือสนับสนุนการดาเนิน
โครงการ หรอื กจิ กรรมของป่าชุมชนระดบั จงั หวัดอันนาไปสู่การจดั การป่าชมุ ชนร่วมกนั อย่างย่ังยืน แต่เน่ืองด้วย
ปี 2564 มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 รัฐบาลได้ขอความร่วมมือให้หลีกเลี่ยงการ

รวมกลุ่มคนขนาดใหญ่ เพ่ือป้องกันและลดความรุนแรงของโรคระบาดดังกล่าว จึงจัดให้มีโครงการสัมมนาออนไลน์
เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพผู้นาเครือข่ายป่าชุมชน” ผ่านส่ืออิเล็กทรอนิกส์ (Online) ทางแอปพลิเคช่ัน (Zoom)
เพ่อื ให้การขับเคลอ่ื นการทางานของเครือขา่ ยปา่ ชุมชนเปน็ ไปอย่างตอ่ เน่อื ง สาเร็จตามเป้าหมาย อันจะนาไปสู่การ
บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในป่าชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพของ
ประเทศมีความสมบรู ณแ์ ละยงั่ ยนื ต่อไป

2. วตั ถุประสงค์...

-2-

2. วตั ถปุ ระสงค์
2.1 เพ่ือเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้นาเครือข่ายป่าชุมชนในการปฏิบัติงานร่วมกับ

รัฐใหเ้ ป็นไปตามเจตนารมณ์ หลักการ และบทบัญญัติของพระราชบัญญตั ปิ า่ ชุมชน พ.ศ. 2562
2.2 เพื่อให้เกิดการแลกเปล่ียนเรียนรู้พัฒนาไปสู่การจัดการทรัพยากรในพื้นที่ตนเองได้อย่าง

เหมาะสมตามวิถีใหม่ยุค (New Normal) นาไปส่ขู ยายการจัดการจัดต้งั ปา่ ชมุ ชนตามเปา้ หมาย
2.3 เพือ่ ยกระดบั กระบวนการมีสว่ นร่วมกับรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ

ขยายความรว่ มมือไปยงั ภาครัฐ เอกชน องค์กรต่าง ๆ อยา่ งบรู ณาการ

3. ผูเ้ ข้าร่วมสมั มนา
3.1 ประธานและคณะกรรมการเครอื ข่ายป่าชุมชนระดับจังหวัด
3.2 สมาชกิ เครือข่ายปา่ ชมุ ชน
3.3 เจา้ หน้าท่ีทป่ี ฏบิ ัตงิ านดา้ นปา่ ชมุ ชน

4. จานวนผูเ้ ข้าร่วมสมั มนา
รวมทงั้ สิ้น จานวน 500 คน

5. ระยะเวลาดาเนนิ งาน
ระยะเวลา 1 วัน โดยดาเนินการในวันพธุ ท่ี 15 ธนั วาคม 2564

6. สถานทดี่ าเนินงาน
การประชมุ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Online) ทางแอปพลเิ คชั่น (Zoom)

7. วธิ กี ารดาเนนิ การ
- การปาฐกถาพิเศษ : หัวข้อ ปี 2565 เป็นปีแห่งการปรับตัวและฟื้นฟู” (การปรับตัวการทางาน

รูปแบบใหม่ สร้างความเข้มแข็งในระดับพื้นที่ ประชาชนเป็นศูนย์กลางฟ้ืนฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไป
พรอ้ มกับการสรา้ งรายได้ให้ชุมชน เอกชนมสี ว่ นรว่ ม CSR และการแบง่ ปนั คารบ์ อนเครดติ )

- การมอบแนวทางการขบั เคลือ่ นการสง่ เสรมิ และสนับสนนุ เครอื ขา่ ยด้านทรัพยากรธรรมชาติและ
ส่งิ แวดล้อม

- การระดมความคิดเหน็ หัวขอ้ : การขับเคลือ่ นเครอื ข่ายป่าชมุ ชนตามวิถีใหม่ยุค (New Normal)
- ตอบข้อซักถามดา้ นกฎหมายตามพระราชบญั ญตั ปิ ่าชมุ ชน พ.ศ. 2562
8. วทิ ยากร
8.1 เจ้าหน้าทภ่ี าครฐั
8.2 ตวั แทนเครอื ขา่ ยป่าชุมชน

9. งบประมาณ
แผนงานยุทธศาสตร์สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันการทาลาย

ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการป้องกันรักษาป่าพัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียว กิจกรรมหลักส่งเสริมการบริหาร
จัดการปา่ ชมุ ชน กจิ กรรมส่งเสรมิ การจัดการป่าชมุ ชน ประจาปงี บประมาณ พ.ศ. 2565

10. หน่วยงาน...

-3-

-4-

พิธีเปดิ และปาฐกถาพเิ ศษ

“ปี 2565 เปน็ ปแี ห่งการปรับตัวและฟน้ื ฟูทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อม”

วันนี้ผมดีใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาส

ม า พบ ป ะกั บ เ ค รื อ ข่ า ย พ่ี น้ อ ง ป่ า ชุ ม ช น จ า ก ท้ั ง

68 จังหวัดท่ัวประเทศ รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

ด้านป่าชุมชน จากสถานการณ์โควิค-19 มี ข้อดี คือ

การท่ีพวกเราได้มีโอกาสประชุมทางออนไลน์ ทาให้

ประหยัดเวลา งบประมาณ แล้วก็ทาให้ไม่ต้อง

นายวราวุธ ศลิ ปอาชา เสียเวลาในการเดินทาง ส่วนข้อเสีย คือ ไม่เหมือน
รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม เวลาเราน่ังฟังในห้องประชุมท่ีมีการ โต้ตอบกันได้
แบบเหน็ หนา้ กันจรงิ ๆ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักท่ีรับผิดชอบ เร่ืองการอนุรักษ์ คุ้มครอง ฟ้ืนฟูทรัพยากรธรรมชาติ

โดยบูรณาการกับทุก ๆ กระทรวง ทบวง กรม ทั้งท้องถ่ิน ส่วนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพี่น้องประชาชนทุกคน

ที่มีส่วนร่วมในการรักษาความอุดมสมบูรณ์ ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ไว้

ปีนี้ตามนโยบาย ทส. ยกกาลังเอ็กซ์ “การมองไปข้างหน้า อย่างไร้ขีดจากัด” มุ่งสู่วิสัยทัศน์ของการให้ประชาชน

มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามแนววิถีใหม่ ภายใต้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ย้าที่คาว่า “ยั่งยืน”

เรามีเป้าหมายหลัก ๆ อยู่ 2 เป้าหมาย คือ เป้าหมายแรก สร้างเศรษฐกิจครัวเรือนที่มีสังคมมีสุข ชุมชนเข้มแข็ง

โดยการจัดที่ดินทากินภายใต้โครงการ คทช. คู่ไปกับการสร้างป่าชุมชนเพ่ือเป็นการสร้างแหล่งรายได้ และอาชีพ

พัฒนารายได้ให้กับชุมชน รวมไปถึงการจัดท่ีดินท่ีอยู่อาศัย การต้ังป่าชุมชน การปลูกป่า การอนุรักษ์ป่าต้นน้า

ป่าชายเลน ป่าทั้งหลายน้ัน เป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกให้กับประเทศไทย ประเด็นเรื่องการแบ่งปัน

คาร์บอนเครดิตต้องฝากผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นาเครือข่ายป่าชุมชน คาว่า “คาร์บอนเครดิต”

ในอนาคตอันใกล้ 1 ปี หรือ 2 ปีจากน้ี จะเป็นหัวใจสาคัญท่ีสร้างรายได้ให้กับพ่ีน้องประชาชนทุก ๆ คน

ที่เป็นเจ้าของป่าชุมชนและจะเป็นรายได้ทุก ๆ ปี เม่ือก่อนเวลาพูดถึงป่าชุมชน พวกเราจะคิดถึงเพียงแค่เก็บของป่า

มีร่มไม้ให้ความร่มเย็น เป็นต้นน้า เก็บเห็ด ล่าสัตว์ วันน้ีโลกของเรามีการเปล่ียนแปลงมาถึงจุดท่ีต้นไม้หน่ึงต้น

จะมีคาร์บอนเครดิต ท่ีมีศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ป่าชุมชนของเราน้ันจะสร้างรายได้

ให้กับชุมชนของพวกเราทุกปี ๆ ได้อย่างไร ต้องฝากผู้นาเครือข่ายป่าชุมชน ทาความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน

นอกจากนี้ การยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติก็เป็นการเสริมรายได้ให้กับพ่ีน้องประชาชน

ในพ้นื ท่ีในการรองรับนักท่องเที่ยวได้ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าจากท่ีการได้มีการพักฟ้ืนขึ้นมาใช้ระยะเวลามา

2 ปี ช่วงเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทาให้พร้อมท่ีจะรองรับนักท่องเท่ียวเพื่อท่ีจะเข้ามาเป็นกาลังสาคัญ

-5-

ในการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน รวมไปถึงเรื่องการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝ่ัง มาตรการ ขาว เขียว เทา
ท่ีทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝ่ังได้กาหนดข้ึนมา การพัฒนาแหล่งน้า ระบบการกระจายน้าผิวดิน
การทาบ่อบาดาล ในพ้ืนที่ คทช. โดยเฉพาะอย่างย่ิงในพื้นที่โครงการในพระองค์ โครงการพระราชดาริรวมไปถึง
พื้นที่ RAMSAR ส่วนเป้าหมายที่ 2 เรามุ่งสู่วิสัยทัศน์ประชาชนมีคุณภาพชีวิตท่ีดี ตามแนววิถีใหม่ภายใต้
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การมุ่งสู่เศรษฐกิจใหม่เรียกว่า โมเดลเศรษฐกิจ BCG
ซึ่งเป็นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ หรือ Bioeconomy เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular
Economy และเศรษฐกิจสีเขียว Green Economy ไปพร้อม ๆ กัน ซ่ึงเป็นแผนในการขับเคล่ือนประเทศไทย
เป็นหัวใจที่จะทาให้ประเทศไทยฟ้ืนสภาพเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ ภายใต้ความเข้มแข็งของ
ประเทศไทย นอกจากนั้นในส่วนของการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ สมัยท่ี 26 หรือท่ีเรียกส้ัน ๆ ว่า COP26 เม่ือตอนต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 ประเทศไทย
โดยท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แสดงเจตนารมณ์กับพ่ีน้องประชาชนท่ัวโลกว่า
ประเทศไทยเราจะเข้าสู่สถานะความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ภายในปี 2050
ซึ่งเหลือเวลาอีก 29 ปี และภายในปี 2065 ประเทศไทยของเราจะเข้าสู่สถานะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ
เปน็ ศูนย์ หรอื Net Zero Green House Gas Emission ความเป็นกลางทางคาร์บอน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สุทธิเป็นศูนย์ เป็นอย่างไร กระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของพ่ีน้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างย่ิงท่ีอยู่ของป่าชุมชน
อย่างไร และสาคัญที่สุดคือ ป่าชุมชนนั้นจะมีบทบาทต่อพ่ีน้องประชาชนท่ัวโลกอย่างไรต้องฝากทุกท่าน
ทาความเข้าใจในส่วนของมาตรการต่าง ๆ ประเทศไทยเรามีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ท้ังส่งเสริมการปลูก และ
บารุงรกั ษาปา่ สาหรบั องค์กรหรอื บคุ คลภายนอก ปัจจุบันมีส่วนร่วมในการเข้ามาปลูกป่าแล้วก็ฟื้นฟูป่า เพื่อเพ่ิมพ้ืนที่
สีเขียวของประเทศมากข้ึน เป็นไปตามเป้าหมายนโยบายป่าไม้แห่งชาติ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กาหนด
ประเทศไทยจะต้องมีพื้นที่สีเขียวให้ได้ถึง 55% แบ่งเป็นพื้นที่ป่า 40% และอีก 15% เป็นพ้ืนที่สีเขียวในเมือง
สวนสาธารณะ ดังนั้น เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ เราจะต้องมีป่า 40% นั้น เท่ากับว่า 25% เป็นพื้นท่ีของ
ป่าอนุรักษ์ แล้วก็รวมไปถึงป่าเศรษฐกิจอีก 15% ด้วยเช่นกันที่มีการตัดแล้วก็มีการปลูกใหม่ ป่าต่าง ๆ เหล่าน้ี
รวมกันท่ัวประเทศแล้วจะสามารถเพ่ิมศักยภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซ ด์ของประเทศไทยเราได้ถึง
120 ล้านตนั คาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปีพ.ศ. 2580

ดังนั้น การสัมมนาออนไลน์ในคร้ังน้ี เป็นส่ิงสาคัญที่จะเตรียมความพร้อมของพี่น้องเครือข่าย
ป่าชุมชนท่ัวประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ เจ้าหน้าท่ีของทุก ๆ หน่วยงาน ในการท่ีจะฟื้นฟู
และปรับตัวในปี พ.ศ. 2565 หัวใจสาคัญในวันน้ี คือ “ปรับตัว” หลังจากโควิค-19 ผ่านไป ความสาคัญของ
ป่าชุมชนท่ัวประเทศมีความสาคัญมากข้ึน สถานการณ์การแพร่ระบาดของเช้ือโควิค-19 กระทบกับชีวิตและ
ความเปน็ อยู่ของพวกเรามากขึ้น เราทุกคนตอ้ งปรบั ตวั ในการทางานรูปแบบใหม่ ศึกษาว่าโลกเราเปล่ียนไปอย่างไร
กระตุ้นและก็สร้างความเข้มแข็งในทุก ๆ ชุมชนท่ัวประเทศ ผมเองต้องขอขอบคุณและก็ชื่นชมเครือข่าย
ป่าชุมชนทุก ๆ คน ท่านมีความเข้มแข็งจนสามารถรวมตัวกันเป็นเครือข่าย เป็นกาลังสาคัญในการที่จะฟ้ืนฟู
อนุรักษ์ บารุงรักษา และก็ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม และท่ีสาคัญความหลากหลาย
ทางชีวภาพ ความหลากหลายของพรรณไม้ พันธ์ุพืช แมลง สัตว์ท้ังหลายให้สมดุล และหัวใจที่สาคัญคือคาว่า
“ใช้อย่างยั่งยืน” คือ ไม่ใช้ตะบี้ตะบันใช้กันจนหมด ต้องเหลือถึงลูกถึงหลานของพวกเรา ถึงแม้จะเกิดสถานการณ์
โควิค-19 ข้ึนมาหลายคนทางานอย่างยากลาบาก แต่ว่าความเข้มแข็งของเครือข่ายพ่ีน้องป่าชุมชนน้ันยังดาเนิน
ไปอยา่ งตอ่ เนื่อง ผมเองก็ขอเปน็ กาลังใจให้กับเครือข่ายป่าชุมชนท่ัวประเทศ เป็นกาลังใจให้กับเจ้าหน้าท่ีกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท่ีจะทางานเคียงบ่าเคียงไหล่กับพ่ีน้องแล้วก็ผู้นาป่าชุมชน ในการผนึกกาลัง
ดแู ลรกั ษาความอุดมสมบูรณข์ องทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อมของประเทศไทยเพ่ือคนรนุ่ ต่อ ๆ ไปครบั

-6-

ความเป็นมาและวัตถปุ ระสงคโ์ ครงการสมั มนาออนไลน์
เร่ือง “การพฒั นาศักยภาพผูน้ าเครอื ข่ายป่าชมุ ชน”

กรมป่าไม้ ให้ความสาคัญกับการส่งเสริมการ

มีส่วนร่วมของชุมชน เปิดโอกาสให้ชุมชนท่ีอยู่รอบป่า

ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้

ให้ความสาคัญในเร่ืองของการสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วม

นายสรุ ชยั อจลบุญ ของภาคประชาชน ผ่านกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพ

อธบิ ดีกรมปา่ ไม้ เครือข่ายในแต่ละจังหวัดให้สามารถยกระดับการทางาน

ร่วมกันท้ังเจ้าหน้าท่ี กฎหมาย เช่ือมโยงกันในทุกระดับ

ต้ังแต่หมู่บ้าน ตาบล อาเภอ จังหวัด ภาค สู่ระดับประเทศอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่เนื่องด้วยปี 2564

มีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 จึงเป็นที่มาของงานท่ีเราจัดประชุมในรูปแบบ “ออนไลน์” กัน

วนั นีถ้ อื วา่ ป่าชมุ ชนไดก้ า้ วเดินค่อนข้างไกลแลว้ เราจะทายังไงที่จะให้ทั้งประเทศสามารถประกาศเป็นป่าชุมชน

ได้ตามเป้าหมาย ปัจจุบันเรามีป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 กว่า 12,000 ป่าชุมชน

ซึ่งมีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมกว่า 13,000 หมู่บ้าน สมาชิกร่วมกว่า 160,000 ราย ดูแลพื้นท่ีจานวน

6.29 ล้านไร่ ใน 68 จังหวัด เพื่อให้พ่ีน้องเครือข่ายป่าชุมชนขับเคลื่อนงานได้ เพราะว่านอกจากเครือข่าย

ป่าชมุ ชนในการดแู ลปา่ แล้ว พี่นอ้ งท่อี ย่ใู กล้ ๆ ป่าชุมชนสามารถมาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอันนี้ ถือว่าเป็นเร่ืองดี

ได้มีโอกาสไปในหลาย ๆ พ้ืนที่ ก็ได้เห็นความเข้มแข็ง ความต้ังใจของชุมชนบางแห่งมีทิวทัศน์ท่ีสวยงาม

เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งนันทนาการ เป็นแหล่งท่องเท่ียวได้ และชุมชนสามารถบริหารจัดการเองได้ถือว่าเป็น

เรื่องที่ดีในเรื่องของผลิตภัณฑ์ป่าชุมชน ซึ่งแต่ละชุมชนก็มีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ท่ีสามารถสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจ

ให้กับชุมชน เราจะทาแพลตฟอร์มข้ึนมาว่าป่าชุมชนแต่ละแห่งเราอยู่ตรงไหนบ้าง มีลักษณะโดดเด่นอย่างไร

อาจจะเป็นแหล่งท่องเท่ียว มีผลิตภัณฑ์ของพืชสมุนไพร หรือสินค้าจากชุมชน เช่น ไปจังหวัดกาญจนบุรี

ท่านไปทสี่ ะพานข้ามแมน่ า้ แคว แลว้ ทา่ นไปปา่ ชุมชนทน่ี ี่และสามารถไปดูผลิตภัณฑ์จากป่าชุมชนของเมืองกาญ

หรือ ว่า ไ ปดูแ หล่ง ท่อ ง เที่ย วที่บ ริห า รจัด กา ร โ ด ย ป่า ชุมช น แล้ว ไป เ ห็น ส ภ า พ ป่า ชุมช น ที่บ ริหา ร จัด ก า ร

โดยคนของชุมชนเอง เป็นเรื่องท่ีดีที่สามารถจะขยายผลไปได้หลาย ๆ พ้ืนที่ทั่วประเทศ เราอยากจะส่งเสริม

ใหช้ ุมชนท่ีเป็นเครือขา่ ยของป่าชุมชนมคี วามเขม้ แข็ง รวมถงึ หาแหลง่ เงนิ ทุนโดยประสานกับสานักนโยบายและ

แผน ในเร่ืองของกองทุนสิ่งแวดล้อม อยากจะให้เครือข่ายของเราหาแหล่งเงินทุนได้ เขียนโครงการให้ไป

ของบสนบั สนุนกจิ กรรมต่าง ๆ ได้ เพ่ือขบั เคลื่อนการดาเนนิ งานให้ตอ่ เนือ่ ง และสาเร็จตามเป้าหมาย

-7-

การเสวนา

“บทบาทของภาคประชาชน และพลงั เครอื ขา่ ยปา่ ชุมชน”

นายประลอง ดารงไทย
อดตี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

นายภานุเดช เกดิ มะลิ
มลู นิธสิ ืบนาคะเสถยี ร

ผศ.ดร.ขวญั ชัย ดวงสถาพร
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นางนันทนา บุณยานนั ต์
ผู้อานวยการสานกั จดั การป่าชมุ ชน

-8-

สรุปสาระสาคญั การเสวนา
“บทบาทของภาคประชาชน และพลงั เครอื ขา่ ยปา่ ชมุ ชน”

นายประลอง ดารงไทย
อดตี อธิบดีกรมควบคมุ มลพิษ

ผมทางานด้านป่าชุมชนมาต้ังแต่ ปี 2551 จนถึง ปี 2557 ผมขอเรียนพี่น้องเครือข่าย
ป่าชุมชนว่า เครือข่ายป่าชุมชนของพวกเราท้ังหมด มีการพัฒนาไปไกลมาก อย่างเช่น สมาชิกเรามีป่า กว่า
100,000 คน โดยประมาณ อธิบดีกรมป่าไม้ได้เสนอนาเรียนตั้งแต่ต้น ก่อนหน้าน้ันเรามีไม่กี่หมื่นคน
วันนี้เราพัฒนาไปไกล แล้วก็เครือข่ายป่าชุมชนของเรามีมากกว่า 13,000 แห่ง ในพื้นท่ี 6.29 ล้านไร่
ความพัฒนาเป็นความภาคภูมิใจท่ีเราได้เร่ิมกันมาตั้งแต่ต้น ๆ และประเด็นสาคัญ คือ พ่ีน้องป่าชุมชนได้ทามา
ตั้งแตส่ มัยเม่อื สัก 30-40 ปมี าแล้ว เครอื ขา่ ยทากจิ กรรมดี ๆ ไว้มากมาย กวา่ 20% ทม่ี กี ารปลูกป่าปลูกต้นไม้
จากจานวนกิจกรรมทั้งหมด ทากิจกรรมแปรรูปสมุนไพร ตระเวนป้องกันไฟป่า พื้นท่ีที่ทากว่า 17-18 %
รวมตัวกันเพื่อพัฒนาป่าชุมชน การประชุมอบรม ท่านทาด้วยตัวของท่านเองหลายแห่ง และที่น่าปล้ืมใจก็คือ
ป่าชุมชนหลายแห่งมีการเพาะชากล้าไม้ไว้สาหรับการซ่อมแซมป่า ต้นไม้ท่ีตายไปในป่าชุมชนของพวกท่าน
รวมทั้งสร้างฝายชะลอน้า มันมีประโยชน์ แล้วก็ส่วนใหญ่เพื่อความอุดมสมบูรณ์เพื่อการดูแลรักษาป่าชุมชน
เพม่ิ และรกั ษาความหลากหลายทางชีวภาพ ส่ิงแวดล้อมก็จะดีตามมา มีการดูแล เก็บขยะ ไม่ให้มีขยะ ไม่นาเข้าขยะ
ขวดพลาสตกิ เข้าไปในป่าชุมชนด้วย อย่างนี้เป็นความงดงามของความสมบูรณ์ของป่าชุมชน และเป็นความย่ังยืน
สมดังเจตนารมณแ์ ละเหตุผลความจาเป็นในการตราพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 พวกเราก็ได้ร่วมกันมา
ตงั้ แตอ่ ดีต เมื่อ 30 ปีท่ีแล้ว สอดคล้องกับเง่ือนไขท่ีบัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เราดีใจและภูมิใจท่ี พ.ร.บ. ป่าชุมชน ได้มีการประกาศราชกิจจานุเบกษา เม่ือวันท่ี 29 พฤษภาคม 2562
พ.ร.บ. ฉบับน้ีมีเจตนารมณ์ที่จะมุ่งหมาย ให้ชุมชนสามารถจัดการป่าชุมชนอย่างเต็มกาลังความสามารถ
กล่าวคอื พ.ร.บ. ฉบบั น้ีได้มกี ารใช้ประโยชน์จริง ๆ มีการทาให้ผ่านการเกิดเจตคติ ก็คือความคิดท่ีดีในการดูแล
รักษาและจัดการร่วมกับภาครัฐกับพวกเรา เจตนารมณ์ท่ีส่งผลดี คือ ท่านก็จะร่วมกันป้องกันคนที่จะบุกรุก
ตดั ไม้ทาลายปา่ ทัง้ รักษา และฟ้ืนฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ ทาให้ป่าอยู่
ในสภาพที่สมบูรณ์ สาคัญที่สุดคือป่าเหล่าน้ีจะคงอยู่เป็นมรดกทางธรรมชาติของประเทศไทย และประชาชน
สืบต่อไป หลายหมวด หลายมาตราอนุบัญญัติ ซ่ึงขณะน้ีมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายโดยเฉพาะ

-9-

ท่านประธานเครือข่ายป่าชุมชน สมาชิกป่าชุมชน และเจ้าหน้าที่ป่าชุมชน 3-4 ประเด็นท่ีท่านเก่ียวข้องโดยตรง
ท่านต้องรับทราบ รับรู้ แล้วก็ติดตาม เรื่องแรกคือระเบียบว่าด้วยการจดแจ้งเป็นเครือข่ายป่าชุมชนระดับจังหวัด
ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชนวา่ ด้วยสมาชิกและคณะกรรมการป่าชุมชน ประเด็นถัดมาคือ ระเบียบ
ว่าดว้ ยการจดั การทรัพย์สินส่วนกลาง อยากให้ตัวท่านประธานเครือข่ายและตัวกรรมการจัดการป่าชุมชนและ
สมาชกิ ตดิ ตาม ศกึ ษาด้วย ประเด็นท่ีเก่ียวข้องต่อมาขับเคลื่อน โดยคณะกรรมการจัดการป่าชุมชน ซึ่งก็คือพวกท่าน
ทั้งหมดเป็นคนขับเคล่ือนดาเนินการภายใต้แผนการจัดการป่าชุมชน แผนดังกล่าวจะผ่านการอนุมัติจาก
คณะกรรมการป่าชุมชนระดับจังหวัด ซ่ึงท่านเป็นคนเสนอ เข้าไปสู่คณะกรรมการป่าชุมชนระดับจังหวัดที่มี
ผูว้ ่าราชการจังหวัดเปน็ ประธาน เมื่อแผนน้ีออกมาแล้วท่านจะต้องดาเนินตามแผน ท่านต้องให้ความสาคัญกับ
การเขียนแผนในการจัดการป่าชุมชน ต้องเอาแผนมาจัดการป่าชุมชนของท่านเอง ประธานต้องช่วยออกแบบ
แผนและชว่ ยคดิ เพราะแผนดงั กลา่ วจะกาหนดทศิ ทางการทางาน กิจกรรมตา่ ง ๆ การบรหิ ารจัดการป่าชมุ ชนของทา่ น
เพื่อนาไปสู่เป้าหมายท่ีเราตั้งไว้ ผมเรียนว่าการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายป่าชุมชนดังท่ีท่านทาผ่านมา
มคี วามสาคญั ยง่ิ เพอื่ การดแู ลรักษาและใช้ประโยชน์ผ่านกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่าง ๆ การดาเนิน
กิจกรรมต่าง ๆ ในการจัดการป่าชุมชนเดินไปข้างหน้า โดยเฉพาะเครือข่ายที่ท่านเป็นอยู่ ระดับจังหวัด
ท่านตอ้ งหาวธิ กี ารต่าง ๆ เพือ่ ให้ได้มาพบเจอกัน แลกเปล่ียนประสบการณ์เรียนรู้ซึ่งกันและกัน อย่างน้อยปีละครั้ง
ก็ยังดี แต่ตอนน้ีสังคมยุค New Normal ถ้าเรารวมตัวกันได้ในระดับจังหวัด 68 แห่ง ยังไม่เกินเกณฑ์ที่จะทาได้
ทางสานักอาจเป็นพี่เลี้ยงและท่านก็อาจมีวิธีการคือ สร้างพลังในตัวท่านเองของบจากจังหวัดหรือขอความ
ร่วมมือจากทางจังหวัดว่ามีการจัด มีแกนนาสัก 2 ท่าน เป็นกลุ่มภาค เครือข่ายใหญ่สัก 1 คร้ัง รูปแบบของ
การใช้ชีวิตมันเปลี่ยนไป ก่อนการทางานป่าชุมชนมันต้องดูแล มีการจัดการวางแผน ปัจจุบันพ่ีน้องเครือข่าย
ต้องออกแบบด้วยตัวท่านเอง ออกแบบทิศทาง ออกแบบการดูแล วิธีการจัดการรักษาป้องกัน สุดท้าย
การใช้ประโยชน์ให้เกิดความย่ังยืน ทาเอง คิดเอง ออกแบบเอง เพ่ืออะไร เพื่อรุ่นต่อ ๆ ไปรับช่วงต่อจากท่าน
สุดทา้ ยผมก็ถือวา่ มันเป็นความงดงามของคาวา่ ป่าชุมชนที่เรารอคอยมา 30 ปี เป็นความภาคภูมิใจของพี่น้อง
ป่าชุมชนอย่างแท้จริง วันนี้เราได้มาถึงเส้นชัยและได้พบกับสิ่งที่เราต้ังความคาดหวัง เป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้นเอง
การมี พ.ร.บ. ใช่ว่าจะเสร็จสมบูรณ์ มันเป็นแค่จุดเร่ิมต้นของการใช้ชีวิตใหม่ การต้องคิดเอง ทาอะไรเอง
ออกแบบเอง สานกั จัดการปา่ ชมุ ชนเองอยา่ งมากกเ็ ปน็ พี่เลย้ี งคอยสนับสนุน ออกแนวทางให้คาปรึกษา หลัก ๆ
ต้องเป็นตัวท่านเอง ส่วนราชการพยายามผลักดันกรอบและนโยบาย เพื่อจะต่อยอดจากหมวด พ.ร.บ.
เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ หากมีอะไรไม่เข้าใจสงสัย สอบถามไปทางผู้แทนของกรมป่าไม้ อย่างเช่น
ศูนย์ป่าไม้ระดับจังหวัด หรือสานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ในระดับพ้ืนท่ีนั้นเอง สานักจัดการป่าชุมชนก็คงจะ
เป็นหน่วยงานหลักที่ออกแบบนโยบายช่วยเร่ืองของกฎหมาย ขึ้นอยู่กับข้ันตอน และเวลาการทางาน
ทั้งนี้ ทั้งนั้น กฎหมายและระเบยี บ จะออกหรือไม่นนั้ เรากต็ อ้ งมีหนา้ ท่ีในการดูแลรักษาป่าท่ีเราภูมิใจที่เราดูแล
มาโดยตลอด ปรับเปลย่ี นในเรื่องของระบบวธิ ีการทางานใหม่เข้ากับยุคของ New Normal ทั้งหมดมันจะส่งต่อไป
ถึงลูกถึงหลานพวกเรา และที่สาคัญที่สุดได้เป็นหน้าเป็นตาให้แก่พวกเราในพื้นที่ ให้แก่จังหวัด ให้แก่
ประเทศชาติ และเราก็ได้ภมู ิใจว่าน่ีคือผลผลิตที่พวกเราช่วยกันดูแลรักษามา นอกจากป่าอนุรักษ์ ทางด้านอุทยาน
เขตรกั ษาพันธสุ์ ัตวป์ ่า กม็ ีปา่ ชุมชนนแี่ หละทีม่ นั เป็นเนอื้ เปน็ หนังให้ในสว่ นของพืน้ ท่สี ว่ นใหญ่ในปา่ สงวนของเรา

- 10 -

การดูแลทรัพยากรธรรมชาตริ ่วมกันในอดีต มีเร่ืองของ

การใช้ประโยชน์เป็นหลัก แล้วก็มาสู่การบริหารจัดการในส่วนชุมชน

คือจุดเริ่มต้นการผลักดัน พ.ร.บ. ป่าชุมชนเพราะเป็นเร่ืองที่

ภาคประชาชนอยากทีจ่ ะมีบทบาทร่วม อยากท่ีจะมีบทบาทท่ีจะดูแล นายภานุเดช เกิดมะลิ

ทรัพยากรธรรมชาติอย่างแท้จริงในพ้ืนที่ พ.ร.บ. ป่าชุมชน มูลนธิ สิ บื นาคะเสถียร

เขา้ ไปเป็นห้นุ สว่ นมีบทบาท รว่ มในการดูแลบริหารจัดการป่าชุมชน

ในพื้นที่ให้อานาจในการบริหารจัดการ เม่ือช่วงเช้าที่ท่านรัฐมนตรีฯ ให้นโยบาย เร่ืองของการท่ีจะต้องรองรับ

ภารกิจสาคัญของประเทศ คือ เรื่องคาร์บอนเครดิต มันเป็นเร่ืองใหม่ที่เพ่ิงจะเข้ามาและก็เป็นประเด็นสาคัญท่ี

ภาคประชาชนเองโดยเฉพาะพ้ืนท่ีป่าชุมชน จะเข้ามามีบทบาทสาคัญในการร่วมกันกู้โลก ในบทบาทการ

ลดคาร์บอนเราจะมีส่วนสาคัญในการท่ีจะฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในพ้ืนที่ เพื่อท่ีจะทาให้เกิดการลดคาร์บอน

และก็ได้รับประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตมาใช้งานในอนาคต นอกจากเรื่องของการจัดต้ังดูแลจัดการป่าชุมชน

อีกประเด็นหนึ่งก็คือ เร่ืองของการท่ีเรามีเพื่อนป่าชุมชนอยู่ในพื้นที่ป่าชายเลน อยู่ในพื้นที่ป่าในเมือง

อยู่ในพ้ืนที่สาธารณะอื่น ๆ ถ้าเราจะขับเคล่ือนเรื่องของการมีพื้นที่ป่าให้ได้ 55% ตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ

บทบาทของเครอื ขา่ ยป่าชุมชนของเราทาอยา่ งไรถงึ จะเอาประสบการณ์ องคค์ วามรู้ ไปทางานขับเคล่ือนร่วมกับ

พ่ีน้อง ร่วมกับเครือข่ายของเราในพื้นที่ป่าอื่น ๆ ทาอย่างไรพวกเขาเหล่าน้ันจะเข้าถึงบทบาท เข้าถึงการมีสิทธิ

มีหน้าท่ีในการดูแลคุ้มครองการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างย่ังยืนด้วย เป็นความท้าทาย ป่าชุมชนเรา

มคี วามเขม้ แข็ง มี พ.ร.บ. มารองรับ ทาอย่างไรเราถึงจะช่วยกันยกระดับเพื่อนของเราท่ีอยู่ในพื้นท่ีอื่นให้เขาเข้ามา

มีบทบาทร่วมกับเราที่จะขับเคลื่อนเรื่องของการเพิ่มที่ป่าให้กับประเทศตรงน้ีด้วย ภารกิจในเร่ืองของการจัดการ

ปา่ ชุมชนตาม พ.ร.บ. ฉบับใหม่เป็นเรื่องท่ีย่ิงใหญ่เป็นเร่ืองที่เราทุกคนจะต้องให้โอกาสท่ีจะเอาตัวเองไปเรียนรู้

ในแง่ของกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายในมิติต่าง ๆ เราได้สิทธิมาต้องมีหน้าที่ท่ีจะไปจัดการเรื่องนี้

เข้าไปจัดการดูแลตามบทบาท สิทธิท่ีเรามี การเสริมพลังเครือข่ายท่ีจะมีความเข้มแข็ง และก็ขับเคล่ือนไปร่วมกัน

ในเรื่องของการจัดการป่าชุมชน เรามีคณะกรรมการระดับต่าง ๆ มีเพ่ือนป่าชุมชน แลกเปล่ียนประสบการณ์

มีการถอดบทเรียน มีการขับเคล่ือนการทางาน คู่ขนานไปกับการทางานของภาครัฐ ภาคประชาชน อาจจะมีมิติ

มีมุมมองท่ีต่าง หรือมีมิติท่ีเห็นว่าควรจะเป็นแบบน้ี ถ้าเรามีเครือข่ายที่เข้มแข็งเอาบทเรียนเหล่านี้ไปเป็น

ข้อเสนอต่อทางรัฐในการปรับปรุงแก้ไขบริหารจัดการทรัพยากรที่มีร่วมกันให้เกิดประโยชน์ได้ พระราชบัญญัติ

ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 เป็นเหมือนเร่ืองของระยะเวลาในการเรียนรู้เพ่ือท่ีจะ วางรากฐานในเร่ืองของ

การขบั เคลือ่ น พ.ร.บ. ฉบบั นรี้ วมถงึ ออกกฎหมายฉบบั รองต่าง ๆ ท่ีมีอยู่เป็นจานวนมาก ในส่วนเรื่องของการเรียนรู้

เป็นสิ่งท่ีชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชนต้องเข้าหาส่ิงใหม่ ภารกิจใหม่ท่ีเราจะต้องรู้เท่าทัน เราจะต้องพัฒนา

ตัวเองไปสู่เรื่องของการปรับตัวและเรื่องของการเรียนรู้ที่จะทางานให้มีความเข้มแข็ง ความย่ังยืน ส่งต่อเรื่องของ

ป่าชุมชนไปสู่รุ่นลูกหลาน ท่านจะสามารถจัดหลักสูตรเร่ืองของการเรียนรู้เกี่ยวกับภารกิจป่าชุมชนในเร่ืองต่าง ๆ

พนกั งานป่าชมุ ชนไมว่ า่ จะเป็นระดับชุมชนเอง ระดับจังหวัด หรือว่าหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ได้มีโอกาส

เข้ามาเรียนรรู้ ว่ มกนั ในเรอ่ื งของงานป่าชุมชนให้มีความเข้มแข็งแล้วก็สามารถที่จะเข้าใจในเร่ืองของกลไกต่าง ๆ

เพอ่ื พฒั นาการทางานท่จี ะเขา้ มาช่วยเสรมิ การทางานป่าชุมชน

- 11 -

เครือข่ายป่าชุมชนสาคัญอย่างไร ประเด็นแรก

ป่าชุมชนคือความมั่นคงของชาติ เครือข่ายป่าชุมชน

ทวั่ ประเทศมกี ารเคล่ือนไหวอย่างใดอย่างหน่ึง ฝ่ายการเมือง

นาเครือข่ายป่าชุมชนมาใช้เพื่อการใดการหน่ึงจะเกิด

“IMPACT” มหาศาล เพราะฉะนั้น มันคือความม่ันคง

ผศ.ดร.ขวญั ชัย ดวงสถาพร ในเชิงของมิติความมั่นคง ในขณะเดียวกันนั้น คือ

คณะวนศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่ 2

กฎหมายที่เก่ียวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และ

ส่ิงแวดล้อม ทั้งหมด 17 ฉบับ มีกฎหมายใดที่ให้อานาจประชาชนจัดการและใช้ประโยชน์ป่าธรรมชาติ

ที่มีสภาพป่า ถ้าเป็นการจัดการและใช้ประโยชน์ มี พ.ร.บ. เดียว คือ พ.ร.บ. ป่าชุมชน ประเด็นที่ 3

ไม่มีคณะกรรมการใดท่ีมีภาคประชาชนเข้าไปอยู่ แต่มีคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน คณะกรรมการเดียว

ที่มผี ู้แทนประชาชนเข้าไปอยู่ ขอให้ทุกท่านภูมิใจ ท่านคือคณะกรรมการหรือเครือข่ายท่ีมีกฎหมายรองรับเป็น

“BACK UP” มีโอกาสเข้าไปดูนโยบายระดับประเทศ ถ้าพูดถึงเครือข่ายป่าชุมชน ตัวประชาชนท่ีอยู่ในรูปกลุ่มคน

ท่ีมีอานาจตามกฎหมายที่มีระดับพระราชบัญญัติเป็น BACK UP ตัวเดียวอันเดียว ก็คือ พ.ร.บ. ป่าชุมชน

ประเด็นถดั ไป แผนในระดบั ชาติ แบ่งเป็น 3 ระดับ ต้ังแต่ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนระดับท่ี 3

ที่เราเหน็ ผมว่าป่าชุมชน คอื รูปธรรมที่ชัดเจนที่สุดในการถ่ายทอดแผน 3 ระดับ ตามมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่

ยุทธศาสตร์ชาติลงมาจนถึงแผนระดับพ้ืนที่ชัดเจนที่สุด ท่านเอาไปขับเคล่ือนเองและชัดเจนที่สุด ประเด็นที่ 5

ปา่ ชุมชน จะแบ่งเปน็ 2 บริเวณ บรเิ วณใช้ประโยชน์ และบริเวณอนุรักษ์ ท่ีไม่ใช้คาว่า “เขต” เพราะเขตมันจะ

ไปซ้อนทับกับ “เขตอุทยาน” “เขตป่าอนุรักษ์” เลยใช้ “บริเวณ” แต่ข้อสังเกตท่ี 1 คือ ป่าอนุรักษ์ที่เป็น

อุทยานส่วนใหญ่พนกั งานเจ้าหนา้ ท่เี ข้าไปบรหิ ารจัดการแตบ่ ริเวณป่าอนุรักษ์ ในป่าชุมชนจัดการโดยประชาชน

ทเ่ี รียกว่า “สมาชิกป่าชุมชน” และมีลาดับชั้นที่เรียกว่า “Hierarchy” เป็นลาดับชั้นตามหลักการทางนโยบาย

ดังนั้น บรเิ วณอนรุ ักษข์ องป่าชุมชนถ้าสามารถ Identify จาแนกเป็นพ้ืนท่ีอนุรักษ์ตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติได้

ผมถือว่าเป็นพ้ืนที่อนุรักษ์ที่พิเศษและโดยประชาชนได้มีการคุ้มครองรักษา และอนาคตถ้ามีการดูแลอย่างดี

ก็ควรจะขยายพ้ืนที่ไว้ด้วย ข้อสังเกตข้อท่ี 2 ก็คือใน พ.ร.บ. ป่าชุมชนหน้าแรก ถ้าท่านอ่าน พ.ร.บ. ป่าชุมชน

เขาเขยี นว่า พระราชบัญญัติน้ี มีบทบัญญัติ บางประการเก่ียวกับการจากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 26

ประกอบกับมาตรา 8, 37 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พื้นที่ป่าที่ท่านได้รับการจัดสรร

เพ่ือเป็นป่าชุมชนเป็นการจากัดสิทธิของคนกลุ่มหน่ึง ซึ่งมีโอกาสเข้าไปบริหารจัดการป่าชุมชน คือพื้นที่เดียว

ในชุมชนทีม่ ีขนาดใหญ่ทท่ี า่ นสามารถรว่ มกจิ กรรมดาเนินการใด ๆ เก่ียวกับการอนุรักษ์ป่าไม้รวมถึงกิจกรรมอื่นด้วย

ได้มาบริหารจัดการป่าไม้ของชาติร่วมกันและก็เป็นรูปธรรมที่สุด และขอช่ืนชมในสิ่งท่ีทามาทั้งหมดกฎหมาย

บัญญัติให้ท่านใช้ประโยชน์ของป่าได้อย่างเหมาะสม และอยากจะไปเสนอระดับนโยบายว่าเราลองไปดูพ้ืนที่

ป่าชมุ ชนที่ยอดเยยี่ ม เพ่ือวา่ ไปหาวิธีการจัดการของป่า แล้วไปเขียนให้กฎหมายอื่นเป็นต้นแบบให้กฎหมายอ่ืน

ซึ่งผมว่าป่าชุมชนหลายๆแห่ง เป็นต้นแบบท่ีดี ภาษาอังกฤษเรียกว่า Model Forest ขอให้ทุกท่านได้ช่วย

พฒั นาป่าตน้ แบบทเ่ี ป็นปา่ ชมุ ชนของชาตใิ หเ้ ยอะเปน็ คุณูปการต่อประเทศ

- 12 -

ในนามของกรมป่าไม้ ขอขอบคณุ พวกเราทุก ๆ คน

ที่ร่วมกันอนุรักษ์ ฟ้ืนฟู ดูแลป่า ท่ีเราเรียกกันว่า “ป่าชุมชน”

ซึ่งเป็นป่าของรัฐ ให้สิทธิและหน้าที่แก่ประชาชนมาร่วมกัน

ดูแลเปน็ ป่าของเรา ปี 2565 ตอ้ งฟื้นฟูและปรับตัว ต้องนามา

ขับเคล่ือนการปรับตัวของเจ้าหน้าที่ทุกคนท่ีทางานด้าน นางนันทนา บณุ ยานนั ต์

ป่าชุมชนให้ทางานร่วมกับพี่น้องประชาชน ยึดประชาชน

เป็นศูนย์กลาง ทาให้พ่ีน้องประชาชนมีรายได้ เศรษฐกิจที่ดี ผูอ้ านวยการสานกั จัดการปา่ ชมุ ชน

รัฐบาลได้ประกาศกฎหมายป่าชุมชน ประชาชนได้รับสิทธิการ

ดูแลแลว้ เขาตอ้ งได้รับประโยชนจ์ ากปา่ จะต้องมีรายได้ เราจะต้องเพ่ิมศักยภาพให้กับเขามีรายได้ มีชีวิตความ

เปน็ อยู่ท่ีดีขึ้น วันนี้ท่ีเราได้มีการทดสอบผ่านระบบ ZOOM เป็นการปรับตัวตัวอย่างหน่ึง เข้าสู่ระบบดิจิตอลก็

เพ่ิมประสิทธิภาพผู้นาชุมชนทุก ๆ คน เราจะต้องมีการปรับตัวในระบบดิจิตอลเพ่ิมประสิทธิภาพทุกคนในการ

ทางานรูปแบบใหม่ ๆ แล้วจะต้องมีการส่ือสาร จะทาให้ได้ก็คือการช่วยท่านในการสร้างความรู้ความเข้าใจ

ให้กับทางพ่ีน้องป่าชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองของกฎหมาย ความเข้าใจในการบริหารจัดการป่าชุมชนอย่างไร

ให้สมดุล ย่ังยืน เจ้าหน้าที่ที่ส่งเสริมป่าชุมชนน้ัน ต้องพยายามสร้างความรู้ความเข้าใจ เป็นพี่เลี้ยงให้กับ

คณะกรรมการป่าชุมชนทกุ ๆ จงั หวดั เผยแพร่ความรู้กับเครือข่ายป่าชุมชนทั่วประเทศ ต้องสร้างความเข้มแข็ง

ในระดบั พืน้ ที่ป่าแตล่ ะป่า ยกระดบั จากปา่ ท่อี ยรู่ ะดับต่าหรือป่าชุมชนท่ีอยู่ระดับกลางให้ขึ้นระดับเป็นป่าชุมชน

ที่มีความเข้มแข็ง การสร้างความเข้มแข็งในระดับพ้ืนท่ีโดยการทางานแบบมีปฏิสัมพันธ์กับพ่ีน้องประชาชน

ต้องบูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนเข้ามาช่วยเสริมหนุนเครือข่ายป่าชุมชนของ

พวกเรา เราจะต้องสร้างเศรษฐกิจฐานราก เชิญชวนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ CSR ในเรื่องของ

คาร์บอนเครดิต กรมป่าไม้กาลังออกอนุบัญญัติท่ีจะแบ่งปันคาร์บอนเครดิตให้ภาคเอกชนท่ีเข้ามาเสริมหนุน

การทางานในป่าชุมชน เขาก็จะได้รับการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต ซ่ึงจะอยู่ในอนุบัญญัติมาตรา 18

อยใู่ นกระบวนการผ่านอนุบัญญัติฉบับน้ี การทางานทั้งหมดนี้จะไม่สาเร็จ ถ้าเราไม่สร้างความร่วมมือทั้งพ่ีน้อง

ประชาชน เครือข่ายป่าชุมชน และภาคีภาคส่วนต่าง ๆ ป่าชุมชนนั้นมีประโยชน์ ดังนั้นถ้าเราขยายเพิ่ม

ให้ท่ัวประเทศ ก็จะทาให้พี่ประชาชนได้รับประโยชน์จากป่า ต้องอาศัยความร่วมมือของเครือข่ายป่าชุมชน

เครือข่ายไหนที่ยังไม่ได้รับการจัดตั้งป่าชุมชน แจ้งเรามา เราจะให้เจ้าหน้าท่ีเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุน

จากท่ีท่านผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านพูดกล่าวถึงกฎหมาย พวกเราก็ทากันอย่างเต็มท่ีเพื่อให้ทุกท่านมีการทางาน

โดยมีกฎหมายคุ้มครอง สิทธิ และภารกิจของเราคือเร่งอนุบัญญัติท่ีเหลือให้เสร็จโดยเร็วภายในปีนี้ แสวงหา

ความร่วมมือจากภาคีต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ภาคีที่เข้ามาร่วมกับเราและเข้ามาเสริมพลังให้กับ

พี่น้องเครือข่าย ท่ีเราคุ้นเคยกันมาก็คือ บริษัท ราช กรุ๊ป จากัด มหาชน ในโครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน

เขาก็ร่วมมือกับเรามา 10 กว่าปีแล้ว ปีท่ี 13 แล้วก็อยู่กันไปถึงปีท่ี 15 เพ่ือที่จะให้พลัง ให้กาลังใจพี่น้อง

เครือข่าย ป่าชุมชน และป่าชุมชนใดท่ีมีผลงานดีเด่น เราก็จะมาร่วมให้ กาลังใจ อันท่ีสองก็คือ โครงการภาคี

สนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน คือ องค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่า อ.บ.ก. เปิดโอกาสให้

- 13 -

บริษัทเอกชนเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนป่าชุมชนภายใต้โครงการนี้ ช่วยเราในการเสนอไปกรมสรรพากร
ที่เห็นความสาคัญของพี่น้องป่าชุมชน เห็นความสาคัญของปัญหาประเทศในเรื่องของภาวะโลกร้อน
ให้การลดหย่อนภาษีกับบริษัทเอกชนที่เข้ามาสนับสนุนภายใต้โครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน
โครงการน้ีปี 61-65 การเสนอขอต่ออายุโครงการทีจ่ ะลดหยอ่ นภาษใี ห้กบั ภาคเอกชน ในปี 66 ต่อไปอีก 5 ปี
เรากาลงั ทาอยู่ ตัวชี้วดั ใหเ้ ห็นวา่ ทางกรมต่าง ๆ ให้ความสาคญั เรอื่ งงานป่าชุมชนพรอ้ มที่จะอยากให้ภาคเอกชน
มาสนับสนุนพวกเรา เรื่องของการแบง่ ปันคารบ์ อนเครดิต เราอยากให้ภาคเอกชนได้รับในเรื่องของการแบ่งปัน
คาร์บอนเครดิต ดังนั้น วันนี้ป่าชุมชนที่ยังไม่มีใครมาสนับสนุนอะไร เราได้ทาการประเมินคาร์บอนเครดิต
ก็มีโครงการของแมฟ่ า้ หลวงได้มาชว่ ยกันประเมิน ได้ไปข้ึนทะเบียน T-ver เครดิตท่ีได้มาแบ่งเป็น 90% พี่น้อง
ประชาชน 10% เป็นของรัฐ เนื่องจากกระทรวงการคลังบอกว่า รัฐเป็นเจ้าของพ้ืนที่ ดังน้ันรัฐก็ต้องมีสิทธิ
ในรายได้ น่ีเป็นแค่หลักการ ต้องเก็บไว้ 10% เพ่ือเข้ารัฐ ส่วน 90% จะเป็นของพี่น้องประชาชน ประชาชนก็
สามารถท่ีจะนาไปขายเครดิตให้กับทางภาคเอกชน เพราะว่าปัจจุบันนี้ทุก ๆ ภาคเอกชนเขามีความจาเป็น
ท่ีจะต้องทาให้คาร์บอนของเขาเป็นศูนย์ที่เรียกว่า CARBON NEUTRALITY เพื่อให้เขาเป็นศูนย์ ถึงจะเป็น
GREEN ECONOMY ส่วนในพ้ืนที่ป่าชุมชนท่ียังเป็นสามารถปลูกข้ึนมาได้ใหม่ เราก็จะเชิญชวนภาคเอกชน
มาสนับสนุนให้ทาการปลูก จังหวัดน่าน ป่าบ้านนาหวาย คือพื้นท่ีเขาหัวโล้น ปลูกเข้าไปใหม่โดยมีภาคเอกชน
หลายๆ บริษัทเข้าไปช่วยกันปลูก แบ่งเป็น 90% และก็ 10% ซ่ึง 90% ภาคเอกชนต้องการเครดิต 90%
รัฐบาลได้ 10% แต่พี่น้องประชาชนได้อะไร ได้รับงบประมาณจากภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุน แล้วก็ได้ป่า
แทนทีเ่ ราจะปลูกเองแบบตามมีตามเกิด รอดไม่รอด แต่วันนี้เขามาสนับสนุนยังไงป่าต้องรอด ให้การปลูกและ
ดูแลต่อไปอีก 6 ปี แล้วบ้านเราก็จะกลายเป็นป่า เราก็ได้รับประโยชน์โดยตรง แล้วก็จะให้เครดิตกับ
ภาคเอกชนท่ีมาสนับสนุนการปลูกใหม่น้ัน ได้รับเครดิตจากการประเมินนั้น 90% ป่าผืนไหนที่ไม่ได้เรียกว่า
เป็นการปลูก สนบั สนุนการดูแลรักษา การป้องกนั ไฟ ปลูกเสริมเลก็ ๆ น้อย ๆ 25 ต้นตอ่ ไร่ ภาคเอกชนท่ีสนใจ
สนับสนุนในการปลูก หรือทากิจกรรม การทาฝาย การทาแนวป้องกันไฟต่าง ๆ ช่วยกันดูแลป่ารุ่นสองเติบโต
และดดู ซับคาร์บอน ประเมินได้ ขน้ึ ทะเบียน T-ver ได้ แต่เครดิตเราก็จะแบ่งให้กับภาคเอกชนที่มาสนับสนุนไป
50% ชุมชนได้ไป 40% ของหลวง 10% ช่วยกันบารุงดูแลรักษา เราก็ยังได้เชื่อมโยงกับทาง BEDO
(สานักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)) กรมการแพทย์ กรมพัฒนาชุมชน ให้มาช่วย
ในเรื่องของกิจกรรมการสร้างการตลาด เสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีคุณภาพในเรื่องของวิสาหกิจชุมชน
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เราก็พยายามทาในทุกรูปแบบท่ีจะให้หน่วยงานต่าง ๆ มาช่วยเราเป็นภาคี กองทุน
สิ่งแวดล้อม อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการส่ิงแวดล้อมแห่งชาติ มีสานักงานนโยบายท่ีเรียกว่า ส.พ.
ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฝ่ายเลขาธิการ “คณะกรรมการป่าชุมชน เป็นหนึ่ง
กลุ่มเป้าหมายที่สามารถท่ีจะเสนอเงินจากกองทุนน้ีได้” ยังไม่มีเครือข่ายป่าชุมชน วันนี้ได้เสนอไปแล้ว
พ่ีน้องเครือข่ายป่าชุมชนก็คงไม่นาน ท่านก็คงจะต้องมีกระบวนการในการท่ีจะพิจารณาคณะกรรมการและ
เสนอเพิม่ รายชือ่ คณะกรรมการปา่ ชุมชน ให้พวกเราสามารถเข้าถึงกองทุนอย่างเช่น กรอบนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับเรา
4 ด้าน ในเร่ืองของท่ีหน่ึงก็คือ การป้องกัน คุ้มครอง ฟื้นฟู อนุรักษ์ ป่าต้นน้า ทรัพยากรพรรณไม้และสัตว์ป่า
การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมอิ ากาศ และสง่ เสรมิ การสนบั สนุนงานวิจยั ดา้ นทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราพยายามต่อยอดแล้ว
กส็ นบั สนุนเสริมศักยภาพความเข้มแขง็ ของพน่ี ้องประชาชน

- 14 -

การระดมความคิดเห็นของเครือข่ายปา่ ชมุ ชนตามวถิ ีใหม่ยุค (New Normal)
และตอบข้อซกั ถามด้านกฎหมายตามพระราชบญั ญัตปิ า่ ชุมชน พ.ศ. 2562

ประเด็นสาคัญ ดังน้ี
1. การพจิ ารณาการจัดงานวันปา่ ชุมชนแห่งชาติ ประกอบดว้ ย

1) สถานท่ีจัดงาน
2) องคป์ ระกอบของพิธีเปิดงาน
3) กจิ กรรมการสัมมนา
4) กิจกรรมพเิ ศษ

2. การพจิ ารณาคณุ สมบตั ิคณะกรรมการเครือขา่ ยป่าชุมชน ประกอบด้วย
1) คุณสมบัติและข้อห้าม
2) วาระการดารงตาแหนง่
3) การพ้นจากตาแหน่ง
4) การคัดเลือกคณะกรรมการเครือข่ายป่าชุมชน

-1

สรุปสาระสาคญั กา

ประเดน็ /หวั ข้อ ภาคเหนอื ภาคกลา

1. วนั ปา่ ชมุ ชนแห่งชาติ - ส่วนกลาง (จดั งานใหญ)่ - สว่ นกลาง
1) สถานท่ีจัดงาน - สว่ นภูมิภาค (จดั งานยอ่ ย)

2) องค์ประกอบของพธิ ี - การปฏญิ าณตนของ - การมอบรางวัล ป
เปิดงาน เครือข่าย เกยี รตคิ ณุ รางวลั ปา่
- การมอบรางวลั ประกาศ ดีเด่น ใหเ้ ครือขา่ ย
เกยี รตคิ ุณ - มอบรางวลั ใหเ้ จ้าห
ปา่ ชุมชน

3) กจิ กรรมการสัมมนา - การบรรยายใหค้ วามรเู้ รื่อง - ไมเ่ นน้ การบรรยาย
4) กิจกรรมพเิ ศษ ป่าชุมชน
- การเสวนาแลกเปลีย่ น - ตลาดนดั ชุมชน
ความรกู้ นั ระหว่างเครือข่าย (ควรจัดอยา่ งน้อย 3
ปา่ ชมุ ชน - จัดประกวดภาพว
เรียงความเกย่ี วกับป
- ตลาดนดั ชุมชน เยาวชน
(ควรจัดอยา่ งน้อย 3 วนั ) - จดั ประกวดโลโก้ว
- การนาเสนอกจิ กรรมการ
ท่องเท่ียวของป่าชมุ ชน

15 - ภาคใต้

ารระดมความคิดเหน็

รายละเอยี ด
าง ภาคอสี าน

- กรมปา่ ไม้ (เปดิ โอกาสให้เครือขา่ ย - จังหวดั ท่ีต้งั ของเครอื ขา่ ย
ปา่ ชมุ ชนได้พบปะพดู คุยและ เน่ืองจากสถานการณ์โควิด-19
- จัดออนไลน์
แลกเปลีย่ นประสบการณ์

การดาเนินงานด้านปา่ ชมุ ชน)

ประกาศ - การปฏญิ าณตน - ผูว้ า่ ราชการจังหวัด (เปิดงาน)
าชุมชน
หนา้ ที่ด้าน - การมอบรางวลั - การมอบรางวลั ประกาศเกียรติ

ย - การมอบนโยบายดา้ น คุณใหแ้ ก่ปา่ ชุมชนที่ไดร้ บั รางวลั
ทรัพยากรธรรมชาติและ ตา่ ง ๆ

สงิ่ แวดล้อม
- มอบบัตรประจาตวั
คณะกรรมการ สมาชกิ ปา่ ชมุ ชน

เพอ่ื เปน็ ขวัญและกาลังใจ

- บรรยาย - บรรยาย
- เสวนา - เสวนา
- แบง่ กลุ่มระดมความคดิ - แบ่งกล่มุ ระดมความคิด

- ตลาดนดั การแสดงสินคา้ และ - ประกวดเพจ face book ของ
3 วนั ) ผลติ ภัณฑข์ องปา่ ชมุ ชน ป่าชุมชนท่ีมียอดผตู้ ดิ ตามสงู สุด
วาด และ - นิทรรศการแสดงผลงานของ - ประกวดแหล่งท่องเที่ยว
ปา่ ชมุ ชนของ ป่าชมุ ชน ปา่ ชมุ ชน

วันปา่ ชมุ ชน

-1

ประเดน็ /หัวข้อ ภาคเหนอื สรปุ สาระสาคญั กา

2. คณุ สมบัติ - อายุ 20 ปี ขึ้นไป ภาคกลาง
คณะกรรมการเครอื ข่าย - สัญชาตไิ ทย จังหวดั
ปา่ ชุมชน - อายุไมจ่ ากดั
1) คุณสมบตั ิและขอ้ ห้าม - สัญชาตไิ ทย
- บคุ คลลม้ ละลายสาม
รว่ มเปน็ คณะกรรมกา

16 - ภาคใต้

ารระดมความคดิ เหน็

รายละเอียด
ง ภาคอีสาน

มารถเข้า - อายุ ไม่ตา่ กว่า 25 ปี - อายไุ ม่ควรกาหนดเนื่องจาก
ารได้ - สัญชาติไทย มเี ยาวชนเขา้ มามสี ว่ นร่วม
- ไมเ่ ป็นบคุ คลล้มละลาย - สัญชาตไิ ม่อยากใหก้ าหนดวา่ ต้อง
- ไม่เป็นบคุ คลไรค้ วามสามารถ สัญชาติไทยเน่ืองจากภาคใต้
- บุคคลที่เคยมีคดีการกระทาผิด มีความหลากหลายทางสญั ชาตมิ าก
เกยี่ วกับทรัพยากรธรรมชาตแิ ละ เช่น ซาไก ไม่มีสัญชาตแิ ต่ดูแลปา่
สง่ิ แวดล้อมร่วมเป็น ดีมาก แต่ไม่มีสิทธทิ ่ีจะเข้ามาใช้
คณะกรรมการเครือข่าย ประโยชนใ์ นพนื้ ที่ป่าทเ่ี ขาดูแล
ปา่ ชมุ ชนได้ - ไมค่ วรจากัดบุคคลลม้ ละลายเพราะ
อาจเปน็ การปิดกนั้ คนท่ีลม้ ละลาย
ทางธรุ กิจแต่อยากทางานดา้ นป่าไม้
ไมค่ วรมีข้อน้ี
- ไมค่ วรจากัดบุคคลไร้
ความสามารถ คณะกรรมการบางคน
ในภาคใต้เปน็ ผ้พู ิการแต่ยังสามารถ
ทางานด้านป่าชุมชนไดด้ ี

-1

สรปุ สาระสาคญั กา

ประเด็น/หวั ข้อ ภาคเหนอื ภาคกลาง

2. คุณสมบตั ิ - ครั้งละ 5 ปี
- ตามทีจ่ งั หวดั นั้น ๆ เห็น
คณะกรรมการเครือขา่ ย

ป่าชมุ ชน

2) วาระการดารงตาแหน่ง - ครั้งละ 4 ปี

- ตาย

3) การพ้นจากตาแหน่ง - ลาออก - ตาย
- ใหอ้ อกโดยประธาน - ลาออก
คณะกรรมการป่าชุมชน - ใหอ้ อกโดยประธานคณ
จังหวัด ปา่ ชมุ ชนจังหวดั

4) การคดั เลือก - เลือกก่อนครบวาระ - ก่อนครบวาระ 90 วนั
คณะกรรมการเครือข่าย 90 วนั - ใหก้ รรมการทเี่ หลืออยู่ท
ปา่ ชุมชน - ใหก้ รรมการทเี่ หลืออยู่
- กรณีครบวาระ ทาหน้าทีแ่ ทน
- กรณีพ้นจากตาแหนง่

17 - ภาคใต้

ารระดมความคดิ เห็น

รายละเอยี ด
ง ภาคอีสาน

นสมควร - คร้ังละ 4 ปี - เหน็ สมควรตามท่ีกาหนดมา
ณะกรรมการ - ตาย ของเจ้าหน้าที่ดา้ นป่าไม้

- ลาออก - เหน็ สมควรตามที่กาหนดมา
- ใหอ้ อกโดยประธาน ของเจ้าหน้าที่ดา้ นป่าไม้
คณะกรรมการป่าชุมชนประจา
จังหวดั (ใหม้ ีการอทุ ธรณ์)

- กอ่ นครบวาระ 90 วนั - กอ่ นครบวาระ 90 วนั
ทาหนา้ ท่ีแทน - ใหก้ รรมการทเ่ี หลืออยู่ทา - ใหก้ รรมการทีเ่ หลืออยู่ทาหน้าท่ี
แทน
หนา้ ทแี่ ทน

ประเดน็ /หัวข้อ ภาคเหนอื -1
3. ขอ้ เสนอเพิ่มเติม -
สรปุ สาระสาคัญกา

ภาคกลาง
- ให้มกี ารคัดเลือกคณะก
ใหม่ก่อนหมดวาระ 2 เด
เพอื่ ความต่อเน่ืองในการ

18 -

ารระดมความคิดเห็น

รายละเอยี ด

ง ภาคอสี าน ภาคใต้

กรรมการฯ - การจัดประชุมคลินิกป่าชุมชน - ป่าชมุ ชนทกุ ปา่ ควรมแี นวเขต

ดอื น หรือการทาคลปิ วิดีโอเผยแพร่ ทช่ี ัดเจน

รทางาน สาหรบั เครอื ขา่ ยป่าชุมชน - ส่งเสรมิ การเรยี นรู้เรือ่ งกฎหมาย

เพอ่ื สรา้ งความรคู้ วามเขา้ ใจการ ป่าชุมชนใหป้ ระชาชนในพ้ืนท่ี

ดาเนนิ งานด้านป่าชุมชน จัดการเรอื่ งแนวเขตป่าชมุ ชน

- ให้กรมป่าไมช้ ว่ ยเหลอื เรอ่ื งคดี ใหช้ ดั เจน และควรสง่ เสริมการ

ความทางแพ่งและอาญา ท่องเทยี่ วเพ่ือสรา้ งรายได้ใหช้ มุ ชน

- การขอความช่วยเหลอื เงิน - ส่งเสริมใหค้ นในชมุ ชนมีความรู้

สนับสนนุ จากหนว่ ยงานอน่ื ๆ เรือ่ งการกกั เก็บคารบ์ อนเครดิต

- การประชุมเครือขา่ ยป่าชมุ ชน ในปา่ ชุมชน

ออนไลน์ เดือนละ 1 ครง้ั - ควรมีการสง่ เสริมใหป้ ลูกพชื

- จัดการทาแนวเขตป่าชมุ ชน เศรษฐกจิ เช่น กาแฟ ในปา่ ชุมชน

- ส่งเสรมิ ผลติ ภณั ฑ์ อาหาร ทางภาคใต้ สามารถนามาสร้างเป็น

และแหล่งท่องเท่ยี วของป่า จุดเดน่ และสรา้ งรายไดใ้ หช้ มุ ชนได้

ชุมชน

- สนบั สนนุ ให้ความรู้

งบประมาณ และด้านอน่ื ๆ

- ให้หน่วยปอ้ งกันและพฒั นา

ป่าไม้เป็นผู้ประสานและรว่ มมือ

กับเครือขา่ ยปา่ ชมุ ชน

- 19 -

การแสดงปณิธานการมีส่วนรว่ มในการดูแลรกั ษาทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม

นายสีหา มงคลแกว้
ตวั แทนผนู้ าเครอื ข่ายป่าชุมชนระดับประเทศ

กระผมนายสีหา มงคลแกว้ ประธานเครอื ข่ายป่าชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และเป็นประธาน
เครือข่ายป่าชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในนามตัวแทนของพี่น้องเครือข่ายป่าชุมชนท่ัวประเทศ
ขอกราบขอบพระคุณท่านกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมอย่างย่ิง พวกเราเครือข่ายป่าชุมชน
ขอปฏญิ าณตนวา่

“เราจะรว่ มกันอนุรกั ษ์ ดูแลพืน้ ป่าท่ีมีอยู่ทกุ แหง่ ทกุ หมู่บ้าน ใหค้ งอยู่เพ่อื ลกู เพือ่ หลานของเราตอ่ ไป
ขอสบื ทอดเจตนารมณ์เดินตามรอยพอ่ ในการดูแลปา่ ชมุ ชนใหค้ งและอยอู่ ดุ มสมบรู ณ์มากขนึ้ จะผนกึ กาลงั ร่วมกับ

ภาคเี ครอื ข่ายท้ังภาครฐั ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพอ่ื ขยายพน้ื ป่าชุมชนใหม้ ากข้นึ โดยเฉพาะรว่ มกบั
กรมปา่ ไม้ที่ดูแลใหค้ วามรูก้ ับพีน่ อ้ งเครอื ขา่ ย ร่วมคิดร่วมสรา้ ง พี่นอ้ งเครือขา่ ยป่าชมุ ชนขน้ึ มาใหอ้ ยู่ท่วั ประเทศ

ผลักดันพ่ีนอ้ งเครือขา่ ยป่าชุมชนให้เป็นทร่ี ้จู กั และมีความชดั เจนในทางกฎหมาย”

- 20 -

การถ่ายทอดประโยชน์ท่ชี มุ ชนไดร้ ับจากการดแู ลป่าชมุ ชนจากรุน่ สรู่ ุ่น

นางสมพร ปานโต
ผู้แทนจากป่าชุมชนจงั หวัดกาญจนบุรี

จากกรณีศึกษาของป่าชุมชนห้วยสะพานสามัคคี ตาบลห้วยหนองโรง อาเภอพนมทวน
จังหวัดกาญจนบุรี พวกเราได้เข้าไปใช้ประโยชน์ และได้รับประโยชน์จากป่าชุมชน ได้ร่วมกันขับเคล่ือนงาน
เป็นแหล่งต้นน้า เป็นแหล่งอาหาร ในการสร้างอาชีพ ประกอบอาชีพโดยใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนในการ
รวมกลุ่มกันตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนมีการพัฒนาอาชีพข้ึนมา มีการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
แหลง่ เรยี นรทู้ างธรรมชาติ และแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และนามาสู่การสร้างเครือข่ายโดยป่าชุมชนห้วยสะพาน
สามัคคีได้เชื่อมโยงความร่วมมือกับหมู่บ้าน ในระดับตาบล อาเภอ จังหวัด ทาให้เกิดพลัง เป็นการรวมตัวกัน
เขียนโครงการเสนอของบประมาณจากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทาง UNDP สถาบันพัฒนาองค์กร
ชุมชน องค์การมหาชน ของบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมสนับสนุนการทางานของพวกเรา เชื่อมโยง
ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ โดยการที่เรานาประโยชน์จากป่าท่ีเราจัดการเป็นแหล่งท่องเท่ียววิถีชุมชนบ้าน
ห้วยสะพานสามัคคี ร่วมมือกับทางกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา กรมอนามัย กระทรวง
สาธารณสขุ ปัจจบุ ันนเี้ ราผา่ นมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย มาตรฐานโฮมสเตย์อาเซียน ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย
ด้านสุขอนามัย ได้รับเคร่ืองหมาย Sha ผ่านการประเมินไทยสต็อปโควิค เรามีการประเมินมาตรฐานหลายอย่าง
เมอื่ วนั ที่ 9 ธันวาคม 2564 เราก็ผ่านคุณภาพบ้านพักนักเดินทาง (Home Lodge) ของกรมการท่องเที่ยวอีกด้วย
มันสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านหรือป่าชุมชน เกิดกลุ่มอาชีพมากมาย เช่น บ้านเรามีอาชีพทานา เรามีรถอีแต๋น
พอเลิกจากฤดูทานา เราก็นารถอีแต๋นมารับนักท่องเที่ยว เที่ยวชมในป่า ชมวิถีชีวิตในชุมชนเรา เราก็มาจัดตั้ง
กล่มุ กนั กเ็ ป็นการสรา้ งรายได้ใหก้ บั กลุ่มโภชนาการ เรากน็ าพชื ผกั ท่มี ีอยู่ในป่าชุมชนที่ขึ้นชื่อ ใครมาท่ีบ้านห้วยสะพาน
ต้องทานน้าพริกกะสัง ของดีบ้านเรา การันตีโดยครัวคุณต๋อย อันน้ีคือสิ่งท่ีเราได้รับ มีการพัฒนาแห่งท่องเที่ยว
ทีเ่ ป็นป่าชมุ ชน เราใหฉ้ ายาวา่ ปางอุง๋ ไทรโย อยทู่ ี่ป่าชุมชนบ้านสามัคคีธรรม ประโยชน์จากการทาฝายชะลอน้า
แลว้ กกั เก็บน้า ทาให้เกดิ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีภูมิทัศน์สวยงาม อยากจะเชิญชวนพี่น้องทุกท่านที่ได้ฟังในวันนี้
พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเท่ียว เป็นแหล่งที่สามารถจะใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนได้มากกว่าการใช้ประโยชน์
จากสิ่งแวดลอ้ ม เชิญพน่ี ้องของพวกเราทกุ ทา่ นเลยนะคะ

- 21 -

พิธปี ดิ การสมั มนาออนไลน์

นางนันทนา บณุ ยานันต์
ผ้อู านวยการสานกั จดั การปา่ ชมุ ชน

การจดั สัมมนาในวนั นี้ท่ีตง้ั เปา้ หมายไว้ ถอื วา่ สาเรจ็ เปน็ จดุ เร่มิ ตน้ ของรูปแบบใหม่ท่ีเราเจอกันวันน้ี
เราก็ต้องหาทางเจอกันได้ ในรูปแบบ NEW NORMAL ก้าวไปสู่ NEXT NORMAL ในโลกวิถีใหม่ เจอกันในระบบ
ZOOM ในรูปแบบของเครือข่ายที่เครือข่ายเรียกร้องว่าทุก ๆ ปี เราควรจะเจอกันแต่ ปี 64 ที่ผ่านมาน้ัน
มนั หนักหนาสาหสั เราก็เลยพบกันในรูปแบบออนไลน์ สิ่งที่พวกเราทากันอยู่น้ันดีแล้ว เราอยากให้มีการเจอกัน
แบบน้ี แต่เราก็อยากท่ีจะให้มันเล็กลง คือ การพบปะกับพ่ีน้องเครือข่ายป่าชุมชนรายจังหวัด ซ่ึงสานักจัดการ
ปา่ ชมุ ชนก็ได้ทามาระยะหน่งึ แลว้ หากทา่ นประธานเครือข่ายระดับจังหวัดหรือประธานภาคหรือประธานตาบล
มคี วามประสงคอ์ ยากที่จะจดั ประชุมของท่านโดยใชร้ ะบบ ZOOM อยากจะพัฒนาและอยากจะใช้ระบบ ZOOM
ท่านไม่ต้องไปซ้ือ Package ท่านแค่ประสานมาท่ีเราแล้ว เราจะเปิดระบบห้อง ZOOM ให้ ท่านใดที่อยากใช้
บริการแจ้งมาได้ เพ่ือให้ท่านได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันในระดับภาค ระดับจังหวัด หรืออาเภอ ตาบล ระดับ
หมบู่ ้านกไ็ ด้ ถา้ ระบบมีข้อจากัดที่หลายๆ ท่านอาจจะใชง้ านไมเ่ ป็นอันต้องค่อยหัดและพัฒนากันไป ถือว่าเราได้
ปรับตัวและพัฒนาใหเ้ ท่าทันเทคโนโลยีก็ถือว่าเปน็ ความสาเร็จอยา่ งนงึ วันนี้ที่สาคัญเลย แต่ละห้องได้เสนอแนะ
ขอ้ เสนอแนะดี ๆ เร่อื งของวันปา่ ชมุ ชนในรปู แบบคณะกรรมการ น้อมรับทุก ๆ ข้อเสนอแนะแล้วมาหาทางสรุป
กาหนดเป็นรูปแบบหรือกาหนดเป็นรายคุณสมบัติของคณะกรรมการป่าชุมชนต่อไป เราจะต้องเร่งออก
อนุบญั ญัติ สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับพ่ีน้องประชาชน ท้ังเครือข่ายหลายๆ ท่านท่ีเสนอแนะมาว่า เราสร้าง
การรับรู้ ในความพยายามของเรา เราทาท้ังคลิป ท้ัง VTR ท้ังเอกสารเป็นเล่มบ้าง E-Book บ้าง ส่งทางไลน์กันได้
ต้องอาศัยคณะกรรมการเครือข่ายท่ัวประเทศ ท่านได้ข้อมูลองค์ความรู้ดี ๆ ในห้องเครือข่ายระดับประเทศ
ท่านก็ช่วยเอาไปส่งในห้องระดับภาค ระดับจังหวัด หรือในระดับหมู่บ้าน เพ่ือให้สิ่งท่ีเราพยายามทาไปถึง
มือสองเม่ืออ่านแลว้ ยังไม่เข้าใจหรอื ยงั ตีความไมถ่ ูก เราก็พร้อมที่จะตอบคาถาม ดังน้ัน ที่มีใครเสนอว่า อยากได้
คลินิกป่าชุมชนเราจะช่วยทาตรงนี้ได้มากน้อยแค่ไหนเป็นหน้าท่ีของพวกเรานะคะ แล้วก็พร้อม ๆ กับ

- 22 -

เมื่อเกิดไปเจอประเด็นที่ท่านจะทา ทาได้รึไม่ได้ ท่านก็ถามมาได้เลย ว่าจะถามช่องทางไหน เราก็พร้อมที่จะ
สรา้ งการรับรู้ไปด้วยกัน กรมป่าไม้รบั ปากว่าจะสนับสนนุ เรอื่ งของงบประมาณไม่ว่าจะเป็นงบของกรมป่าไม้เอง
ก็จะหามาให้งบของภาคีภาคส่วนต่าง ๆ อยากให้มีสานักงานของเครือข่ายป่าชุมชน ต้องอาศัยรูปแบบของ
มหาดไทยไปก่อนว่าท่ีทาการกานัน ผู้ใหญ่บ้าน อาศัยบ้านท่านประธานแต่ละบ้านเป็นท่ีทาการป่าชุนชน
ที่ทาการเครือข่ายป่าชุมชน ไปพลางก่อนได้ม้ัย ตัวอย่างท่ีจังหวัดกาญจนบุรี บ้านท่านประธาน มะยง แก้วประดิษฐ์
ที่ทาการเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี เราจะสนับสนุนป้ายให้ไปติดต้ัง ถอดบทเรียนได้ อย่างเช่น
บ้านปากหมัน กาฬสินธุ์ สร้างอาคารที่ทาการป่าชุมชน ต้องมาถอดบทเรียนว่าที่ป่าชุมชนน้ี ที่กาฬสินธ์ุ
เขาสามารถมีที่ทาการป่าชุมชนได้อย่างไร เขาเอางบประมาณมาจากไหน ทาอย่างไรเพื่อจะถอดบทเรียน
บ้านท่านเพ่ือเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวป่าชุมชนไปก่อนนะคะ และอีกบ้านนึงอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ที่น่ีก็มี
ที่ทาการปา่ ชุมชนเป็นอาคารเฉพาะของป่าชุมชนก็จะให้เจ้าหน้าท่ีไปถอดบทเรียนที่นั้นเป็นตัวอย่าง ถ้าทุก ๆ ที่
เข้มแขง็ มกี ิจกรรมต่อเนือ่ ง ภาคเอกชน ภาคสว่ นตา่ ง ๆ เขาก็เชื่อมั่นและให้การสนับสนุน ก็หวังเป็นอย่างย่ิงว่า
วันนี้หลาย ๆ ชุมชนก็อาจจะได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ภาคเอกชนงบประมาณไม่ได้มีปัญหาสาหรับเขา
แต่เป็นความเช่ือมั่นต่างหาก ท่ีเขามาเห็นชุมชน เห็นพลังของชุมชน เห็นความต้ังใจในการทางานของชุมชน
เป็นตัวดึงดูดงบประมาณมาช่วยพวกเรา พวกเราชาวป่าชุมชนก็จะได้รับการพัฒนา การสนับสนุน การต่อยอด
ในโอกาสตอ่ ๆ ไป กรมป่าไมพ้ รอ้ มท่จี ะเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ใหก้ บั พวกทา่ น

- 23 -

สรปุ แบบประเมนิ ความพงึ พอใจ
การสมั มนาออนไลน์ เรอื่ ง “การพฒั นาศกั ยภาพผู้นาเครือข่ายปา่ ชุมชน”

ตารางที่ 1 ขอ้ มูลท่ัวไป

ข้อมูลท่ัวไป จานวน (คน) รอ้ ยละ

เพศ 351 70.2
ชาย 149 29.8
หญงิ 500 100

รวม 68 13.6
สถานะ 50 10
ประธานเครอื ขา่ ยป่าชุมชน 150 30
คณะกรรมการเครือขา่ ยป่าชุมชน 113 22.6
สมาชกิ เครือข่ายปา่ ชมุ ชน 28 5.6
เจ้าหนา้ ท่ปี ฏบิ ตั งิ านดา้ นป่าชุมชน 68 13.6
เจ้าหนา้ ที่ส่วนกลาง
ผอู้ านวยการศนู ยป์ า่ ไม้ 23 4.6
ผู้อานวยการส่วนจดั การป่าชุมชน สานกั จดั การทรัพยากรป่า
ไม้ 500 100

รวม

จากตารางท่ี 1 พบว่า ผู้เข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ เร่ือง “การพัฒนาศักยภาพผู้นา
เครือข่ายป่าชุมชน” จานวนท้ังส้ิน 500 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 70.2 และเป็นเพศหญิง ร้อยละ 29.8
ประกอบด้วย ประธานเครอื ขา่ ยป่าชุมชน รอ้ ยละ 13.6 คณะกรรมการเครือข่ายป่าชุมชน ร้อยละ 10 สมาชิก
เครือข่ายปา่ ชมุ ชน ร้อยละ 30 เจา้ หน้าทีป่ ฏบิ ตั ิงานดา้ นป่าชุมชน ร้อยละ 22.6 เจ้าหน้าท่ีส่วนกลาง ร้อยละ 5.6
ผู้อานวยการศูนย์ป่าไม้ ร้อยละ 13.6 และผู้อานวยการส่วนจัดการป่าชุมชน สานักจัดการทรัพยากรป่าไม้
รอ้ ยละ 4.6

- 24 -

ตารางที่ 2 การประเมนิ ภาพรวมการสัมมนาฯ

รายการ นอ้ ยทีส่ ุด ระดับความพึงพอใจ (ร้อยละ) มากทสี่ ดุ คา่ เฉล่ยี
(1) (5)
นอ้ ย ปานกลาง มาก 4.53
(2) (3) (4) 55.4 4.56
4.50
ด้านการอานวยความสะดวก และระยะเวลา - - 1.6 43 59.2 3.88
1. ความพึงต่อระบบการประชุมผ่านสอ่ื 53.8
อิเลก็ ทรอนกิ ส์ (ออนไลน์) - - 2.8 38
2. การอานวยความสะดวกและการส่อื สาร - 0.4 2.8 43 24.4

3. ความเหมาะสมของระยะเวลาจัดสมั มนา

ด้านองคค์ วามรู้ - 2 32.2 41.4

1. ก่อนเขา้ รว่ มสัมมนาท่านมีความรคู้ วามเข้าใจ
เกยี่ วกับการจัดการปา่ ชุมชนมากน้อยเพียงใด

2. หลังเข้ารว่ มสมั มนาท่านมีความรูค้ วามเข้าใจ - - 2.2 38.6 59.2 4.57

เกย่ี วกับการจดั การปา่ ชุมชนมากน้อยเพยี งใด

3. เน้อื หามีประโยชนต์ อ่ การปฏบิ ตั งิ านดา้ นปา่ - - 2.4 37.4 60.2 4.73

ชุมชนตามวิถใี หม่ยคุ (New Normal) มากน้อย

เพยี งใด

ดา้ นรปู แบบการจดั สัมมนาผ่านสอ่ื ออนไลน์

1. ความสะดวกในการเข้าร่วมการสมั มนา - - 3.2 44.8 52 4.48

ออนไลน์

2. ระบบสญั ญาณอินเตอรเ์ น็ต - 0.6 7.6 48.4 43.4 4.34

3. ระยะเวลาในการเชอ่ื มตอ่ เขา้ ห้องสัมมนา - 0.2 4 47.8 48 4.43

ออนไลน์

รวม 4.45

จากตารางท่ี 2 สรุปความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ เร่ือง “การพัฒนาศักยภาพผู้นา
เครือขา่ ยป่าชมุ ชน” มคี า่ เฉลีย่ เทา่ กบั 4.45 หรอื คิดเปน็ ร้อยละ 89 ซ่ึงอยู่ในระดับมากที่สุด ในภาพรวม ๓ ด้าน
ได้แก่ ด้านการอานวยความสะดวก และระยะเวลา ด้านองค์ความรู้ และด้านรูปแบบการจัดสัมมนาผ่านส่ือ
ออนไลน์ ดงั นี้

- 25 -

1. ด้านสถานที่ และระยะเวลา
1) ความพึงต่อระบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์) พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจ

ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 55.4 รองลงมา คือ ระดับมาก และระดับปานกลาง ร้อยละ 43 และ
ร้อยละ 1.6 ตามลาดับ

2) การอานวยความสะดวกและการส่ือสาร พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับ
มากท่สี ดุ ร้อยละ 59.2 รองลงมา คือ ระดับมาก และระดบั ปานกลาง รอ้ ยละ 38 และร้อยละ 2.8 ตามลาดับ

3) ความเหมาะสมของระยะเวลาจัดสัมมนา พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับ
มากที่สุด ร้อยละ 53.8 รองลงมา คือ ระดับมาก ระดับปานกลาง และระดับน้อย ร้อยละ 43 ร้อยละ 2.8
และรอ้ ยละ 0.4 ตามลาดับ

2. ด้านองคค์ วามรู้
1) ก่อนเข้าร่วมสัมมนาท่านมีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับการจัดการป่าชุมชนมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่

อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 41.4 รองลงมา คือ ระดับปานกลาง ระดับมากที่สุด และระดับน้อย ร้อยละ 32.2
ร้อยละ 24.4 และร้อยละ 2 ตามลาดบั

2) หลังเข้าร่วมสัมมนาท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่
อยใู่ นระดับมากทสี่ ดุ รอ้ ยละ 59.2 รองลงมา คอื ระดบั มาก และระดับปานกลาง ร้อยละ 38.6 และร้อยละ 2.2
ตามลาดับ

3) เน้ือหามีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานด้านป่าชุมชนตามวิถีใหม่ยุค(New Normal) มากน้อยเพียงใด
พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากท่ีสุด ร้อยละ 60.2 รองลงมา คือ ระดับมาก
และระดับปานกลาง รอ้ ยละ 37.4 และรอ้ ยละ 2.4 ตามลาดับ

3. ด้านรปู แบบการจัดสมั มนาผ่านสื่อออนไลน์
1) ความสะดวกในการเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจ ส่วนใหญ่

อยู่ในระดับมากท่ีสุด ร้อยละ 52 รองลงมา คือ ระดับมาก และระดับปานกลาง ร้อยละ 44.8 และร้อยละ 3.2
ตามลาดบั

2) ระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ต พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก
ร้อยละ 48.4 รองลงมา คือ ระดับมากท่ีสุด ระดับปานกลาง และระดับน้อย ร้อยละ 43.4 ร้อยละ 7.6 และ
ร้อยละ 0.6 ตามลาดบั

3) ระยะเวลาในการเชอ่ื มต่อเขา้ หอ้ งสัมมนาออนไลน์ พบว่าผู้เข้าร่วมสัมมนามีความพึงพอใจส่วนใหญ่
อยู่ในระดับมากท่ีสุด ร้อยละ 48 รองลงมา คือ ระดับมาก ระดับปานกลาง และระดับน้อย ร้อยละ 47.8
รอ้ ยละ 4 และร้อยละ 0.2 ตามลาดบั

- 26 -

ข้อเสนอแนะเพ่ิมเติม

1. ในชว่ งสถานการณ์โรคระบาดติดเช้ือไวรัสโคโรน่า COVID -19 ส่งผลให้การติดต่อประสานงานของ
เครือข่ายป่าชุมชนไม่ต่อเนื่อง และทาให้ความกังวลของพ่ีน้องเครือข่ายเกิดข้ึน ภายใต้ พ.ร.บ.ป่าชุมชน ฉบับใหม่
การขับเคลื่อนในด้านการพัฒนาป่าชุมชนก็ยังดาเนินการต่อไม่ได้ เพราะคณะกรรมการป่าชุมชนระดับจังหวัด
สรรหาตาแหน่งยังไม่ครบกระบวนการ แต่ในการประชุมผ่าน zoom ถือว่าเป็นเคร่ืองมือในการทางาน
ประสานงานกันในเครือข่ายได้ดีมากในยุค โควิด-19 ขอให้มีการจัดเวทีพูดคุยกันบ่อย ๆ เพราะเครือข่าย
ปา่ ชมุ ชนบางแห่งก็ยังไมม่ ีแนวทางการพูดคุยถือว่าเป็นการแกไ้ ขปญั หาไดด้ ีทีส่ ุด

2. ควรมกี ารจดั ประชมุ ผ่านระบบ Zoom ท้ังในระดบั ภาค และระดบั จังหวัด
3. ควรจัดสัมมนาเพ่ือแลกเปลี่ยนข้อมูล ปัญหา และแนวทางจดั การป่าชุมชนระดับประเทศ ปลี ะสามครง้ั
4. อยากให้เพิม่ เวลาการนาเสนอและมกี ารระดมความคดิ ให้มากข้นึ
5. กระบวนการขับเคลื่อนแต่ละพ้ืนท่ี ควรจะมีงบประมาณมาสนับสนุนในการจัดประชุมของแต่ละ
จังหวดั เพื่อเสรมิ สร้างความรู้ความเขา้ ใจใหถ้ ูกตอ้ งตามเป้าหมายในการขับเคลอ่ื นต่อไป
6. อยากให้เครือข่ายทุกคนเสนอปัญหา อุปสรรค ในการบริหารจัดการป่าชุมชนของแต่ละป่า เช่น
ปญั หาไฟปา่ และหมอกควันทีเ่ กิดขึน้ ในพ้ืนที่
7. อยากใหม้ ีการแลกเปล่ียนเรยี นรู้ในการทาเรอ่ื งท่องเที่ยวแบบภาคีเครือข่ายโซนภาคหรือท้ังประเทศ
ตอ่ ไป
8. อยากให้ป่าชุมชนแต่ละแห่งได้นาเสนอผลงานของแต่ละป่าในแต่ละปีท่ีผ่านมาให้กับทางกรมป่าไม้
ได้รับทราบดว้ ยครับ


Click to View FlipBook Version