คำนำ คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร จัดตั้งขึ้นตามระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่าด้วยคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2548 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทำหน้าที่ประสานงาน สะท้อนปัญหา ให้ข้อเสนอแนะ และเป็นผู้แทนกลุ่มเกษตรกรในคณะต่างๆ คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการประชุม ตามระเบียบของทางราชการ เพื่อให้การจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรบรรลุวัตถุประสงค์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ จึงได้จัดทำคำแนะนำการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตลอดจนผู้สนใจทั่วๆไป กลุ่มพัฒนากลุ่มเกษตรกร กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กันยายน 2565
2 สารบัญ หน้า 1. ความเป็นมา 1 2. วัตถุประสงค์ของการจัดให้มีคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 1 3. ระดับของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 2 4. ตำแหน่งของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 2 5. ที่มาของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 2 6. องค์ประกอบคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 2 7. คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 3 8. คุณสมบัติของประธานและรองประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 3 9. การคัดเลือกบุคคลดำรงตำแหน่ง 3 10. ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 4 11. การพ้นจากตำแหน่ง 4 12. ตำแหน่งว่างก่อนครบวาระ 4 13. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 5 14. หน้าที่เฉพาะตำแหน่งของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 5 15. การประชุม 7 16. ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม 9 17. รายได้ของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 9 18. การเงินและทรัพย์สินของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 9 19. รายงานประจำปี 10 20. การหารือเกี่ยวกับการดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 10 21. คำแนะนำการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับอำเภอและระดับจังหวัด 11
3 ภาคผนวก หน้า - ระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2548 14 - ROAD MAP คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 23 - สำเนาหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.6/ว 104 ลงวันที่ 22 กันยายน 2551 24 เรื่อง การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ที่มิได้เป็นข้าราชการ - ตัวอย่าง การขออนุมัติค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 26 - เอกสารที่ 1 หนังสือแจ้งกำหนดแผนการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 28 - เอกสารที่ 2 แผนการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 29 - เอกสารที่ 3 ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 30 - เอกสารที่ 4 หนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 31 - เอกสารที่ 5 หนังสือมอบฉันทะ 32 - เอกสารที่ 6 สรุปผลการประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 33 - เอกสารที่ 7 แบบรายงานผลการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 37 ประเด็นคำถามที่สำคัญ 38 เอกสารอ้างอิง
1 คำแนะนำ การจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ********************* 1. ความเป็นมา คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร เป็น ผู้แทนองค์กรผู้นำของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งมีลักษณะ เป็นองค์กรเครือข่ายของกลุ่มเกษตรกร ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2518 ตามระเบียบกรมส่งเสริม การเกษตร ว่าด้วยข้อบังคับของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 102 ก ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2545 ตามมาตรา 45 (2) ให้โอนกิจการและอำนาจหน้าที่งานส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล จากกรมส่งเสริมการเกษตรมาเป็นของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 9 กำหนดให้ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศหนึ่งคนเป็นกรรมการ โดยตำแหน่งในคณะกรรมการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ และมาตรา 30 ผู้แทนกลุ่มเกษตรกรหนึ่งคน เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ จึงได้กำหนดระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2548 ขึ้นถือใช้เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2548 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญ ญั ติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2532 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 กรมฯ ได้ดำเนินการเลือกตั้ง และแต่งตั้งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรตามประกาศกรมส่งเสริมสหกรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นครั้งแรก และปี พ.ศ. 2552 เป็นครั้งที่ 2 และกรมฯ จะดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกร ประมาณเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 เป็นครั้งที่ 3 ตามวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 4 ปี 2. วัตถุประสงค์ของการจัดให้มีคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ตามระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2548 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ดังนี้ (1) เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้ เพื่อให้ประธาน คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศหนึ่งคนเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์ แห่งชาติ และผู้แทนกลุ่มเกษตรกรหนึ่งคนเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ตามมาตรา 9 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 (2) เพื่อให้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเกษตรกรทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ทั้งในและนอกประเทศ
2 (3) เพื่อนำปัญหาความต้องการและข้อเสนอแนะของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรไปสู่หน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขและดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี (4) เป็นผู้แทนกลุ่มเกษตรกรทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร 3. ระดับของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรมาจากการเลือกตั้ง แบ่งออกเป็นระดับ คือ (1) คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับอำเภอ (2) คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด (3) คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับภาค (4) คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศ ทั้งนี้ โดยได้รับการแต่งตั้งจากประกาศของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 4. ตำแหน่งของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรประกอบด้วย (1) ประธาน จำนวน 1 คน (2) รองประธาน จำนวนไม่น้อยกว่า 1 คน (3) เลขานุการ จำนวน 1 คน (4) เหรัญญิก จำนวน 1 คน (5) ประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 คน (6) กรรมการ ตามความเหมาะสมของคณะกรรมการกลางแต่ละระดับ 5. ที่มาของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแต่ละคณะ ให้ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการ กลุ่มเกษตรกร ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547 และพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ที่ได้รับการเลือกตั้งมาเป็นกรรมการ 6. องค์ประกอบของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (1) คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับอำเภอ ให้ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกรทุกกลุ่มในอำเภอ (2) คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด ให้ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกรระดับอำเภอทุกอำเภอในจังหวัด (3) คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับภาค ให้ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัดทุกจังหวัดในภาค ภาคกลาง จำนวน 9 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี ชัยนาท อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3 ภาคเหนือ จำนวน 17 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร และจังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออก จำนวน 9 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก และจังหวัดสระแก้ว ภาคตะวันตก จำนวน 8 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี เลย หนองคาย มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และจังหวัดบึงกาฬ ภาคใต้จำนวน 14 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง สุราษฎร์ธานี พัทลุง ระนอง ชุมพร สงขลา สตูล ยะลา นราธิวาส และจังหวัดปัตตานี (4) คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศ หรือคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร แห่งประเทศไทย ให้ประกอบด้วยประธานและรองประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับภาค ภาคละ 3 คน รวมเป็น 18 คน 7. คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร มีดังนี้ (1) เป็นประธานคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรตามองค์ประกอบ ข้อ 6 (2) ไม่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามมาตรา 13 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย กลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547 (3) มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบของอำเภอหรือจังหวัดในเขตนั้น ๆ (4) มีสมาชิกภาพในกลุ่มเกษตรกรและเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี (5) มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต (6) เป็นผู้ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ที่กระทำโดยทุจริต 8. คุณสมบัติของประธานและรองประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรทุกระดับ มีดังนี้ (1) เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ 7 (2) จะต้องเป็นประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการตรวจบัญชีที่ผ่านมา 2 ปี และมีการแสดงความเคลื่อนไหวทางบัญชี 9. การคัดเลือกบุคคลดำรงตำแหน่ง
4 ให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแต่ละระดับคัดเลือกบุคคลในคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรแต่ละระดับกันเองเข้าดำรงตำแหน่ง โดยประธานฯ ในที่ประชุมจะเป็นคนดำเนินการคัดเลือก กรรมการกลางที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ ตามข้อ 4 สำหรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศ ต้องได้รับการ เลือกตั้งจากประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัดทั่วประเทศด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ของที่ประชุม เมื่อได้พิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ แล้ว ให้ประธานคณะกรรมการกลาง เสนอรายชื่อคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด พร้อมทั้งตำแหน่งต่อเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อประกาศแต่งตั้งต่อไป 10. ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง การดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการเลือกตั้ง ให้มีวาระ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง เมื่อครบวาระแล้วให้ดำเนินกิจการต่อไป จนกว่าจะมีการเลือกตั้ง และแต่งตั้งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรชุดใหม่ และให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรชุดเก่าส่งมอบ งานให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรชุดใหม่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีประกาศ แต่งตั้งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรชุดใหม่ กรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการเลือกตั้งอีกได้ ในกรณีที่มีการเลือกตั้งกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ที่ตนแทน 11. การพ้นจากตำแหน่งกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (1) ครบตามวาระ (2) ลาออกโดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ในระดับนั้นๆ (3) ขาดจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร สำหรับประธานกลุ่มเกษตรกร (4) ตาย (5) ที่ประชุมของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรลงมติถอดถอนจากตำแหน่ง ในคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรคณะนั้น ด้วยคะแนนเสียงสองในสาม (6) เมื่อพิจารณาเห็นว่า การดำเนินการขัดต่อวัตถุประสงค์ของระเบียบฉบับนี้ ข้อบังคับ กลุ่มเกษตรกร กฎหมาย หรือมีเจตนาไม่สุจริต แสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดความเสียหาย แก่การดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรและคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (7) กรณีที่กรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ขาดการประชุม 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่แจ้งสาเหตุ ให้พ้นจากตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรชุดนั้น (8) ขาดคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ใน ข้อ 7 และหรือ ข้อ 8
5 12. ตำแหน่งว่างก่อนครบวาระ (1) ในกรณีที่ตำแหน่งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรว่างลง ให้คณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรที่เหลือดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ (2) ให้มีการเลือกตั้งในตำแหน่งที่ว่างลง และให้ดำรงตำแหน่งตามวาระที่เหลืออยู่ (3) ในกรณีที่ประธานไม่สามารถปฏิบัติงานหรือพ้นตำแหน่ง ให้รองประธานตามลำดับ ทำหน้าที่แทนประธานไปพลางก่อน (4) หากตำแหน่งในคณ ะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรว่างลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง ของจำนวนคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด ให้อยู่ในดุลพินิจของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่จะดำเนินการ แล้วแต่กรณี 13. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรในฐานะผู้แทนองค์กร ผู้นำของกลุ่มเกษตรกร มีอำนาจ หน้าที่ดังนี้ (1) ให้เสนอข้อคิดเห็น รวบรวมปัญหา และดำเนินการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับการบริหาร และการจัดการหรือการประกอบอาชีพของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรเสนอภาครัฐบาลเพื่อแก้ปัญหา (2) ช่วยในการประสานงานนโยบายของรัฐ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ (3) ช่วยกันส่งเสริมงานด้านวิชาการ โดยให้การสนับสนุนและช่วยเหลืองานคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกรคณะอื่นอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้บังเกิดผลดีแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ของสมาชิกลุ่มเกษตรกรและการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร (4) เสริมสร้างสวัสดิการและประสานงานจัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้กู้เงิน เพื่อประกอบอาชีพหรือพัฒนาธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร (5) กำหนดนโยบาย แผนการ วิธีการ ตลอดจนขั้นตอนของการปฏิบัติงานแต่ละปี และในช่วง เวลาที่เห็นว่าเหมาะสม ซึ่งจะก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์และเอกชน เพื่อส่งเสริม และพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร (6) พิจารณาเสนอแก้ไขระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกร หรือการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงอื่นใด เพื่อขอให้กรมส่งเสริมสหกรณ์พิจารณาแก้ไข และประกาศใช้ต่อไป (7) ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หากปฏิบัติงานนอกเหนือจากที่กล่าวมาจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมส่งเสริมสหกรณ์
6 14. หน้าที่เฉพาะตำแหน่งของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (1) ประธานคณะกรรมการกลาง (1.1) เป็นประธานในที่ประชุม (1.2) เป็นผู้กำหนดเรื่องที่จะนำเข้าประชุม ซึ่งเลขานุการได้รวบรวมเรื่องต่างๆ ไว้ (1.3) เป็นผู้กำหนดแผนของการประชุมแต่ละเรื่องที่จะนำเข้าประชุม เพื่อให้ได้มติ นโยบาย แผนการ วิธีการ และขั้นตอนของการปฏิบัติให้ได้ผลดีที่สุด (1.4) ควบคุมรับผิดชอบการปฏิบัติงานของกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไป ตามนโยบาย แผนการ วิธีการ ขั้นตอนและเป้าหมายของการปฏิบัติการในแต่ละเรื่อง ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติ รับรองให้ดำเนินการได้แล้ว เว้นแต่การงานประจำจะต้องปฏิบัติตามปกติหรือกิจการอื่นที่จะต้องทำ เป็นการเร่งด่วน ซึ่งหากละเว้นไม่ทำแล้วกลุ่มเกษตรกรจะได้รับความเสียหายหรือเสียประโยชน์แล้วรายงาน ให้ที่ประชุมทราบในภายหลังทุกครั้ง (1.5) เป็นตัวแทนของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรในการติดต่อประสานงาน ปฏิบัติการและอื่นๆ กับคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับต่างๆ กับหน่วยราชการ สถาบัน หรือบุคคลภายนอกในแต่ละเรื่อง ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติรับรองและมอบหมายให้ดำเนินการ (2) รองประธานคณะกรรมการกลาง (2.1) เป็นประธานในที่ประชุมเมื่อประธานไม่อยู่ (2.2) ปฏิบัติงานแทนประธานเมื่อได้รับมอบหมาย (2.3) ติดต่อประสานงานและร่วมปฏิบัติกับประธานอย่างใกล้ชิด (2.4) ปฏิบัติงานอื่นใดที่ประธานหรือมติที่ประชุมมอบหมายให้ดำเนินการ (3) เลขานุการ (3.1) ดำเนินการติดต่อและบันทึกรวบรวมเก็บเรื่องราวต่างๆ ในการดำเนินงาน ของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (3.2) รวบรวมเรื่องต่างๆ ให้ประธาน เพื่อพิจารณาหรือสั่งการให้นำเข้าที่ประชุม แล้วแต่กรณี (3.3) จดรายงานการประชุมและเสนอรายงานการประชุมให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ ทุกครั้ง (3.4) ออกหนังสือเชิญประชุม ประสานงานและเตรียมสถานที่จัดประชุม (3.5) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ประธานหรือมติที่ประชุมมอบหมายให้ดำเนินการ (4) เหรัญญิก (4.1) จัดทำทะเบียนต่างๆ หลักฐานการรับ-จ่ายของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (4.2) ดำเนินการติดตามและควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการบัญชีของคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกร
7 (4.3) รับผิดชอบเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงินในการดำเนินงานของคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกร (4.4) ปฏิบัติงานอื่นใดที่ประธาน หรือมติที่ประชุมมอบหมายให้ดำเนินการ (5) ประชาสัมพันธ์ (5.1) ติดต่อประสานงานและออกข่าวสารหรือเรื่องราวต่างๆ ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติไว้แล้ว ให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับต่างๆ ผู้เกี่ยวข้องและบุคคลอื่นๆ ได้ทราบโดยทั่วถึงกัน (5.2) ดำเนินการติดต่อประสานงานและออกข่าวสารหรือเรื่องราวต่างๆ ในลักษณะ และวิธีการที่คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรมอบหมาย (5.3) ดำเนินการเพื่อเสริมสร้างให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรด้วยกันกับหน่วยราชการและบุคคลภายนอก (5.4) ปฏิบัติงานอื่นใดที่ประธานหรือมติที่ประชุมมอบหมายให้ดำเนินการ (6) กรรมการ (6.1) รับผิดชอบเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรมหรือในด้านการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้รับผิดชอบเป็นเรื่อง ๆ และแต่ละคนไป (6.2) รวบรวมปัญ หาต่างๆ ให้เลขานุการคณ ะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (6.3) ดำเนินการตามที่ประธานหรือมติที่ประชุมมอบหมายให้ดำเนินการ (6.4) เข้าร่วมประชุมคณ ะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรในคณ ะที่ตนสังกัด เพื่อร่วมพิจารณาให้เป็นไปตามระเบียบและวิธีในการประชุม 15. การประชุม (1) การนัดประชุม (1.1) ให้เลขานุการหรือประธานแล้วแต่กรณี แจ้งเป็นหนังสือกำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วัน และแจ้งให้ ผู้เกี่ยวข้องทราบในโอกาสเดียวกันด้วย ในทางปฏิบัติ กรมฯ จะมีหนังสือยืนยืนการประชุมอีกช่องทางหนึ่งด้วย เพื่อสิทธิเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการประชุม (1.2) การนัดประชุม จะกำหนดเมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็นหรือความเหมาะสม ตามที่ประธานพิจารณาเห็นสมควร กรมส่งเสริมสหกรณ์อาจเรียกประชุมเพื่อปรึกษาหารือข้อราชการต่างๆ หรือประชุมทางวิชาการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
8 (2) องค์ประชุม (2.1) การประชุมของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรครั้งหนึ่งๆ จะต้องมีกรรมการ มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม (2.2) กรรมการจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาประชุมแทนตนก็ได้ แต่ผู้นั้นจะต้องเป็นกรรมการ ในคณะที่กรรมการผู้มอบอำนาจคนนั้นเป็นประธานอยู่เท่านั้น (2.3) การประชุมคราวใด มีกรรมการมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้นัดประชุมอีกครั้ง ภายใน 14 วัน นับแต่วันนัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งนี้หากมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่ง ในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด ให้ถือเป็นองค์ประชุม (3) การลงมติและวินิจฉัยชี้ขาดที่ประชุม การลงมติและวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมากของกรรมการที่มาประชุม โดยใช้กรรมการ หนึ่งคนมีเสียงหนึ่งเสียง ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหรือเป็นเสียง ชี้ขาด ยกเว้นในกรณีดังกล่าวต่อไปนี้ มติของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรจะต้องถือเสียง สองในสามของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด คือ (3.1) การถอดถอนกรรมการ (3.2) การยกเลิกกรรมการกลางทั้งหมด (4) การจัดประชุม (4.1) กำหนดแผนการจัดประชุม หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ ประสานงานกับประธาน คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ตามรายชื่อในประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร เพื่อกำหนดแผนการจัดประชุม ตัวอย่างตามเอกสารที่ 2 และจัดทำหนังสือถึงหน่วยงานราชการที่รับผิดขอบ แจ้งกำหนดแผนการจัดประชุม ตัวอย่างตามเอกสารที่ 1 ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ ของผู้จัดประชุมและการเตรียมตัวของผู้เข้าประชุมและการเบิกจ่ายงบประมาณ (4.2) กำหนดระเบียบวาระการประชุม คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ต้องกำหนด ระเบียบวาระการประชุม ตัวอย่างตามเอกสารที่ 3 ไว้ล่วงหน้าก่อนการประชุม และแจ้งให้ผู้เข้าประชุมทุกคน ทราบล่วงหน้าก่อนการประชุม (4.3) จัดทำหนังสือนัดประชุม หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ จัดทำหนังสือนัดประชุม ตัวอย่างตามเอกสารที่ 4 กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุม แจ้งคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วัน เพื่อให้ผู้เข้าประชุมเตรียมตัวและเตรียมข้อมูลที่จะนำมาใช้ ในการประชุม
9 (4.4) การดำเนินการประชุม ผู้เข้าประชุมทุกคนควรยึดหลักการประชุมในการมีส่วนร่วม มีความเสมอภาค และเคารพเสียงข้างมาก ที่สำคัญผู้เข้าประชุมจะต้องทำบทบาทหน้าที่ในการประชุม ให้ถูกต้อง โดย (4.4.1) ประธานในที่ประชุม คือประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร จะต้องดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบวาระการประชุมที่กำหนด และควบคุมการประชุมให้เป็นไป ด้วยความเรียบร้อย โดยต้องเปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และซักถาม ข้อข้องใจได้โดยเปิดเผยและ (4.4.2) ผู้เข้าประชุม จะต้องเตรียมข้อมูลเพื่อนำมาเสนอในที่ประชุม โดยต้องให้อยู่ ในระเบียบวาระการประชุมที่กำหนด และต้องรักษามารยาทในการประชุม กล่าวคือ เมื่อต้องการพูดหรือแสดง ความคิดเห็นให้ยกมือขึ้น เมื่อประธานอนุญาตจึงพูดหรือแสดงความคิดเห็นทีละคน ไม่ควรพูดสอดแทรก ระหว่างที่ประธานหรือผู้เข้าประชุมท่านอื่นกำลังพูดหรือแสดงความคิดเห็นอยู่ (4.5) การจดบันทึกรายงานการประชุม เลขานุการคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร จะต้องจดบันทึกรายงานการประชุมทุกครั้ง ตัวอย่างตามเอกสารที่ 6 และต้องส่งสำเนารายงานการประชุม ให้หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบภายใน 15 วัน หลังเสร็จสิ้นการประชุมในแต่ละครั้ง (4.6) มติที่ประชุม ข้อสรุปในแต่ละเรื่องที่มีการพิจารณา ประธานในที่ประชุมจะต้องควบคุม การประชุม เพื่อให้ได้ข้อยุติในแต่ละเรื่องก่อนที่จะยกเรื่องอื่นๆ ขึ้นมาพิจารณา กรณีที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็อาจหาข้อยุติด้วยการลงมติโดยยึดเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุม ยกเว้นการถอดถอนกรรมการ และการยกเลิกกรรมการกลางทั้งหมด จะต้องถือเสียงสองในสามของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด (4.7) สรุปผลการประชุม หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ สรุปผลการประชุมคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกรในแต่ละครั้ง ตัวอย่างตามเอกสารที่ 7 การจัดทำรายงาน หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ ประเมินผลการประชุมคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกร และรายงานผลตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติงานเกษตรกร ประจำปีงบประมาณต่างๆ ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ภายในวันที่ 10 ของเดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาสพร้อมทั้งส่งไฟล์ทาง E - mail ไปยัง [email protected] ตามเอกสารที่ 7 ตัวชี้วัด คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรได้มาประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละที่กำหนด ในแผนปฏิบัติงานประจำปี ให้พิจารณาจากจำนวนคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรเมื่อเข้าประชุม เทียบกับแผน 16. ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจะนำเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาประชุมของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร
10 โดยเบิกจ่ายได้ตามระเบียบทางราชการ ณ สถานที่จัดประชุม ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.6/ว 104 ลงวันที่ 22 กันยายน 2551 เรื่อง การเทียบตำแหน่ง ตามข้อ 3 การเทียบตำแหน่ง บุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นข้าราชการ และมีตำแหน่งหน้าที่นอกเหนือจากที่กระทรวงการคลังได้เทียบตำแหน่ง ไว้แล้ว ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณในการพิจารณา โดยคำนึงถึงตำแหน่ง หน้าที่ปัจจุบัน คุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้มาช่วยปฏิบัติ ราชการ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและประโยชน์ต่อทางราชการ 17. รายได้ของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ซึ่งได้มามีดังนี้ (1) เงินหรือทรัพย์สินได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือองค์การของรัฐบาล (2) เงินหรือทรัพย์สินได้รับการสนับสนุนจากองค์การเอกชนต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ (3) เงินหรือทรัพย์สินที่กลุ่มเกษตรกรต่างๆ มอบให้ (4) ดอกผลอันเกิดจากเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาตามข้อ (1) (2) (3) 18. การเงินและทรัพย์สินของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (1) การใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินให้ถือตามมติของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (2) การรับจ่ายเงินหรือทรัพย์สินผู้ที่บริจาคได้มอบให้หรือดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น ให้ดำเนินการ ตามวิธีปฏิบัติให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรกำหนดขึ้น โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ (3) เงินของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรต้องนำฝากไว้ที่ธนาคารตามความเหมาะสม ในนามของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรนั้น ๆ โดยผู้ฝากจะเป็นประธานหรือรองประธาน หรือเหรัญญิกก็ได้ (4) การเบิกเงินจากธนาคาร ให้เป็นอำนาจของประธานหรือรองประธานหรือเลขานุการ หรือเหรัญญิก เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมเป็น 2 คน ในนามของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้ให้รวมถึง การจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินอย่างอื่นด้วย 19. รายงานประจำปี (1) ให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร จัดทำรายงานประจำปี แสดงผลการดำเนินงาน ของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรในรอบปี เพื่อรายงานให้ที่ประชุมและกรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ (2) วันสิ้นปีประจำปีให้จัดทำรายงาน โดยถือตามปีงบประมาณของทางราชการเป็นหลัก คือ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป 20. การหารือเกี่ยวกับการดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร การหารือเกี่ยวกับการดำเนินการจัดประชุมรวมทั้งประเด็นที่จะนำเสนอที่ประชุม คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ได้จากกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร กลุ่มพัฒนากลุ่มเกษตรกร โทร. 02 – 2813292 หรือทาง E - Mail : [email protected]
11 คำแนะนำการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับอำเภอ และระดับจังหวัด 1. การนัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับอำเภอ และระดับจังหวัด สามารถนัดประชุมได้ ตามความเหมาะสมที่ประธานพิจารณาเห็นสมควร หรือสำนักงานสหกรณ์จังหวัด สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 อาจเรียกประชุม เพื่อปรึกษาหารือข้อราชการต่างๆ หรือประชุมทางวิชาการได้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม 2. การประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรครั้งหนึ่งๆ จะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม กรรมการจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาประชุมแทนตนก็ได้ แต่ผู้รับมอบอำนาจนั้นจะต้องเป็นกรรมการ ในคณะที่กรรมการผู้มอบอำนาจคนนั้นเป็นประธานอยู่เท่านั้น 3. เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับอำเภอ และระดับจังหวัด เป็นไปตามวัตถุประสงค์ไม่ขัดต่อมาตรการในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID–19) และสอดคล้องกับข้อจำกัดด้านงบประมาณ ให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร พิจารณาจัด ประชุมออนไลน์ได้โดยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเข้าไปช่วยแนะนำ อำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้การดำเนินการจัดประชุมออนไลน์สำเร็จลุล่วง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยควรเตรียมข้อมูลและพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 1) มีฐานข้อมูลในการติดต่อคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ตำแหน่งในคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร สังกัดกลุ่ม 2) ตั้งกลุ่มสื่อสารออนไลน์คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร เพื่อใช้ในการติดต่อ และแจ้งข้อมูลต่างๆ 3) สอบถามประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับอำเภอ หรือระดับจังหวัด เพื่อทราบ ความต้องการในการจัดประชุม และกำหนดวันประชุม 4) ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร แจ้งเลขานุการคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ให้ เตรียมระเบียบวาระการประชุม 5) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบแจ้งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ให้ทราบกำหนด วัน เวลา วิธีการประชุม โดยแจ้งทางไปรษณีย์และผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น โทรศัพท์ , ไลน์ เพื่อยืนยันว่าได้รับทราบเรื่องการประชุม 6) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเตรียมการประชุมออนไลน์ โดยเตรียมระบบที่จะใช้ในการประชุม เช่น ไลน์ , Zoom , หรือระบบอื่นๆ 7) เจ้าหน้าที่แนะนำวิธีการเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ให้กับคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ที่ ไม่มีความชำนาญในการใช้ระบบ โดยควรแนะนำล่วงหน้าก่อนถึงวันประชุม 8) เจ้าหน้าที่เป็น Host เปิดห้องประชุมออนไลน์สำหรับคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร และ/หรือ อาจเดินทางไปอำนวยความสะดวกในการประชุม หรือเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ไว้สำหรับคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรที่ไม่มีอุปกรณ์ในการประชุมออนไลน์ เช่น smartphone , tablet , Notebook
12 9) ถ้าที่ทำการกลุ่มเกษตรกร ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตหรือสัญญาณไม่ชัดเจน ให้ขอใช้สถานที่ของสหกรณ์ ใกล้เคียง หรือสถานที่อื่นๆ ก็ได้ 10) จัดให้มีการยืนยันตัวตน และบันทึกภาพหน้าจอระหว่างการประชุมออนไลน์ เพื่อบันทึกภาพ ผู้เข้าร่วมประชุม 4. การดำเนินการประชุม ผู้เข้าประชุมทุกคนควรยึดหลักการประชุมในการมีส่วนร่วม มีความเสมอภาค และเคารพเสียงข้างมาก ผู้เข้าประชุมจะต้องทำบทบาทหน้าที่ในการประชุมให้ถูกต้อง โดยประธานในที่ประชุม คือประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร จะต้องดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบวาระการประชุม ที่กำหนด และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 5. การจดบันทึกรายงานการประชุม เลขานุการคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ต้องจดบันทึกรายงาน การประชุมทุกครั้ง และส่งสำเนารายงานการประชุมให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ หมายเหตุ คำแนะนำการจัดประชุมในข้อ 3. สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการได้ตามความเหมาะสม โดยให้เป็นไป ตามระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2548 และกฎ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มพัฒนากลุ่มเกษตรกร กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร
13 ภาคผนวก
14 ระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2548 .................................................................... เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ตามพระราชกฤษฎีกา โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 มาตรา 45 (2) ให้โอนกิจการและอำนาจหน้าที่งานส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่ม เกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลจากกรมส่งเสริมการเกษตรมาเป็นของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และตามพระราชบัญญัติ สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 9 กำหนดให้ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศหนึ่งคน เป็นกรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ และมาตรา 30 ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร หนึ่งคนเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จึงสมควรกำหนดระเบียบนี้ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกิจการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้บังเกิดผลดี ต่อการบริหารงานของสถาบันกลุ่มเกษตรกรเองด้วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2532 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงกำหนดระเบียบไว้ดังนี้ ข้อ 1. ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่าด้วยคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2548” ข้อ 2. วัตถุประสงค์ของการจัดให้มีคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร 2.1 เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อให้ประธาน คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศหนึ่งคนเป็นกรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการพัฒนา การสหกรณ์แห่งชาติและผู้แทนกลุ่มเกษตรกรหนึ่งคนเป็นกรรมการ ในคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนา สหกรณ์ตามมาตรา 9 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 2.2 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเกษตรกรทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งในและนอกประเทศ 2.3 เพื่อนำปัญหาความต้องการและข้อเสนอแนะของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรไปสู่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขดำเนินการให้ลุล่วงไปด้วยดี 2.4 เป็นผู้แทนกลุ่มเกษตรกรทำหน้าที่ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร ข้อ 3. คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรมาจากการเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ 3.1 คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับอำเภอ................
15 3.2 คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด................ 3.3 คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับภาค.................... 3.4 คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศ.............. ทั้งนี้ โดยได้รับการแต่งตั้งจากประกาศของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ข้อ 4. ตำแหน่งของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแต่ละคณะมีดังนี้ 4.1 ประธาน จำนวน 1 คน 4.2 รองประธาน จำนวนไม่น้อยกว่า 1 คน 4.3 เลขานุการ จำนวน 1 คน 4.4 เหรัญญิก จำนวน 1 คน 4.5 ประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 คน 4.6 กรรมการ ตามความเหมาะสมของคณะกรรมการกลางแต่ละระดับ ข้อ 5. คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแต่ละคณะให้ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรที่จัดตั้งขึ้น ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547 และพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นกรรมการ ข้อ 6. องค์ประกอบของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (6.1) คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับอำเภอ ให้ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกรทุกกลุ่มในอำเภอ (6.2) คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด ให้ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกรระดับอำเภอทุกอำเภอในจังหวัด (6.3) คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับภาค ให้ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัดทุกจังหวัดในภาค ภาคกลาง 9 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี ชัยนาท อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคเหนือ 17 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร และจังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออก 9 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก และจังหวัดสระแก้ว ภาคตะวันตก 8 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
16 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี เลย หนองคาย มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และจังหวัดบึงกาฬ ภาคใต้14 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง สุราษฎร์ธานี พัทลุง ระนอง ชุมพร สงขลา สตูล ยะลา นราธิวาส และจังหวัดปัตตานี (6.4) คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศ หรือคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร แห่งประเทศไทย ให้ประกอบด้วยประธานและรองประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับภาค ภาคละ 3 คน รวมเป็น 18 คน ข้อ 7. คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร มีดังนี้ (7.1) เป็นประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรตามองค์ประกอบ ตามข้อ 6 (7.2) ไม่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามมาตรา 13 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย กลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547 (7.3) มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบของอำเภอหรือจังหวัดในเขตนั้น ๆ (7.4) มีสมาชิกภาพในกลุ่มเกษตรกรและเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี (7.5) มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต (7.6) เป็นผู้ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ที่กระทำโดยทุจริต ข้อ 8. คุณสมบัติของประธานและรองประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรทุกระดับ มีดังนี้ (8.1) เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ตามข้อ 7 (8.2) จะต้องเป็นประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการตรวจบัญชีที่ผ่านมา 2 ปี และมีการแสดงความเคลื่อนไหวทางบัญชี ข้อ 9. ให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแต่ละระดับคัดเลือกบุคคลในคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรแต่ละระดับกันเองเข้าดำรงตำแหน่ง โดยประธานฯ ในที่ประชุมจะเป็นคนดำเนินการคัดเลือก กรรมการกลางที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ ตามข้อ 4 สำหรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศ ต้องได้รับ การเลือกตั้งจากประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัดทั่วประเทศด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ของที่ประชุม เมื่อได้พิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ แล้ว ให้ประธานคณะกรรมการกลาง เสนอรายชื่อคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด พร้อมทั้งตำแหน่งต่อเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ตามข้อ 19 เพื่อประกาศแต่งตั้งต่อไป
17 ข้อ 10. การดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการเลือกตั้ง ให้มีวาระ อยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง เมื่อครบวาระแล้วให้ดำเนินกิจการต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง และแต่งตั้งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรชุดใหม่ และให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ชุดเก่าส่งมอบ งานให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรชุดใหม่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีประกาศ แต่งตั้งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรชุดใหม่ กรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการเลือกตั้งอีกได้ ในกรณีที่มีการเลือกตั้งกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ที่ตนแทน ข้อ 11. กรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (11.1) ครบตามวาระ (11.2) ลาออกโดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ในระดับนั้นๆ (11.3) ขาดจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร สำหรับประธานกลุ่มเกษตรกร (11.4) ตาย (11.5) ที่ประชุมของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรลงมติถอดถอนจากตำแหน่ง ในคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรคณะนั้น ด้วยคะแนนเสียงสองในสาม (11.6) เมื่อพิจารณาเห็นว่า การดำเนินการขัดต่อวัตถุประสงค์ของระเบียบฉบับนี้ ข้อบังคับ กลุ่มเกษตรกร กฎหมาย หรือมีเจตนาไม่สุจริต แสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดความเสียหาย แก่การดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรและคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (11.7) กรณีที่กรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ขาดการประชุม 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่แจ้งสาเหตุ ให้พ้นจากตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรชุดนั้น (11.8) ขาดคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ใน ข้อ 7 และ/หรือ ข้อ 8 ข้อ 12. ตำแหน่งว่างก่อนครบวาระ (12.1) ในกรณีที่ตำแหน่งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรว่างลง ให้คณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรที่เหลือดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ (12.2) ให้มีการเลือกตั้งในตำแหน่งที่ว่างลง และให้ดำรงตำแหน่งตามวาระที่เหลืออยู่ (12.3) ในกรณีที่ประธานไม่สามารถปฏิบัติงานหรือพ้นตำแหน่ง ให้รองประธานตามลำดับ ทำหน้าที่แทนประธานไปพลางก่อน (12.4) หากตำแหน่งในคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรว่างลงมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวน คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด ให้อยู่ในดุลพินิจของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่จะดำเนินการแล้วแต่กรณี
18 ข้อ 13. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรในฐานะผู้แทนองค์กร ผู้นำของกลุ่มเกษตรกร มีอำนาจ หน้าที่ ดังนี้ (13.1) ให้เสนอข้อคิดเห็น รวบรวมปัญหา และดำเนินการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับการ บริหารและการจัดการหรือการประกอบอาชีพของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรเสนอภาครัฐบาลเพื่อแก้ปัญหา (13.2) ช่วยในการประสานงานนโยบายของรัฐ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ (13.3) ช่วยกันส่งเสริมงานด้านวิชาการ โดยให้การสนับสนุนและช่วยเหลืองานคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกรคณะอื่นอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้บังเกิดผลดีแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ของสมาชิกลุ่มเกษตรกรและการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร (13.4) เสริมสร้างสวัสดิการและประสานงานจัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้กู้เงิน เพื่อประกอบอาชีพหรือพัฒนาธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร (13.5) กำหนดนโยบาย แผนการ วิธีการ ตลอดจนขั้นตอนของการปฏิบัติงานแต่ละปี และในช่วงเวลาที่เห็นว่าเหมาะสม ซึ่งจะก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์และเอกชน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร (13.6) พิจารณาเสนอแก้ไขระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกร หรือการพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงอื่นใด เพื่อขอให้กรมส่งเสริมสหกรณ์พิจารณาแก้ไข และประกาศให้ต่อไป (13.7) ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ ในระเบียบนี้ หากปฏิบัติงานนอกเหนือจากที่กล่าวมาจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ข้อ 14. หน้าที่เฉพาะตำแหน่งของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (14.1) ประธานคณะกรรมการกลาง (14.1.1) เป็นประธานในที่ประชุม (14.1.2) เป็นผู้กำหนดเรื่องที่จะนำเข้าประชุม ซึ่งเลขานุการได้รวบรวมเรื่องต่างๆ ไว้ (14.1.3) เป็นผู้กำหนดแผนของการประชุมแต่ละเรื่องที่จะนำเข้าประชุม เพื่อให้ได้มติ นโยบาย แผนการ วิธีการ และขั้นตอนของการปฏิบัติให้ได้ผลดีที่สุด (14.1.4) ควบคุมรับผิดชอบการปฏิบัติงานของกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไป ตามนโยบาย แผนการ วิธีการ ขั้นตอนและเป้าหมายของการปฏิบัติการในแต่ละเรื่อง ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติ รับรองให้ดำเนินการได้แล้ว เว้นแต่การงานประจำจะต้องปฏิบัติตามปกติหรือกิจการอื่นที่จะต้องทำ เป็นการเร่งด่วน ซึ่งหากละเว้นไม่ทำแล้วกลุ่มเกษตรกรจะได้รับความเสียหายหรือเสียประโยชน์แล้วรายงาน ให้ที่ประชุมทราบในภายหลังทุกครั้ง
19 (14.1.5) เป็นตัวแทนของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรในการติดต่อประสานงาน ปฏิบัติการและอื่นๆ กับคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับต่างๆ กับหน่วยราชการ สถาบัน หรือบุคคลภายนอกในแต่ละเรื่อง ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติรับรองและมอบหมายให้ดำเนินการ (14.2) รองประธานคณะกรรมการกลาง (14.2.1) เป็นประธานในที่ประชุมเมื่อประธานไม่อยู่ (14.2.2) ปฏิบัติงานแทนประธานเมื่อได้รับมอบหมาย (14.2.3) ติดต่อประสานงานและร่วมปฏิบัติกับประธานอย่างใกล้ชิด (14.2.4) ปฏิบัติงานอื่นใดที่ประธานหรือมติที่ประชุมมอบหมายให้ดำเนินการ (14.3) เลขานุการ (14.3.1) ดำเนินการติดต่อและบันทึกรวบรวมเก็บเรื่องราวต่างๆ ในการดำเนินงาน ของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (14.3.2) รวบรวมเรื่องต่างๆ ให้ประธาน เพื่อพิจารณาหรือสั่งการให้นำเข้าที่ประชุม แล้วแต่กรณี (14.3.3) จดรายงานการประชุมและเสนอรายงานการประชุมให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ ทราบทุกครั้ง (14.3.4) ออกหนังสือเชิญประชุม ประสานงานและเตรียมสถานที่จัดประชุม (14.3.5) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ประธานหรือมติที่ประชุมมอบหมายให้ดำเนินการ (14.4) เหรัญญิก (14.4.1) จัดทำทะเบียนต่างๆ หลักฐานการรับ – จ่ายของคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (14.4.2) ดำเนินการติดตามและควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการบัญ ชี ของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (14.4.3) รับผิดชอบเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงินในการดำเนินงานของคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกร (14.4.4) ปฏิบัติงานอื่นใดที่ประธาน หรือมติที่ประชุมมอบหมายให้ดำเนินการ (14.5) ประชาสัมพันธ์ (14.5.1) ติดต่อประสานงานและออกข่าวสารหรือเรื่องราวต่างๆ ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติ ไว้แล้ว ให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับต่างๆ ผู้เกี่ยวข้องและบุคคลอื่นๆ ได้ทราบโดยทั่วถึงกัน (14.5.2) ดำเนินการติดต่อประสานงานและออกข่าวสารหรือเรื่องราวต่างๆ ในลักษณะและวิธีการที่คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรมอบหมาย (14.5.3) ดำเนินการเพื่อเสริมสร้างให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างคณะกรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกรด้วยกันกับหน่วยราชการและบุคคลภายนอก (14.5.4) ปฏิบัติงานอื่นใดที่ประธานหรือมติที่ประชุมมอบหมายให้ดำเนินการ
20 (14.6) กรรมการ (14.6.1) รับผิดชอบเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรมหรือในด้านการดำเนินงาน ของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้รับผิดชอบเป็นเรื่อง ๆ และแต่ละคนไป (14.6.2) รวบรวมปัญหาต่างๆ ให้เลขานุการคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (14.6.3) ดำเนินการตามที่ประธานหรือมติที่ประชุมมอบหมายให้ดำเนินการ (14.6.4) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรในคณะที่ตนสังกัด เพื่อร่วมพิจารณาให้เป็นไปตามระเบียบและวิธีในการประชุม ข้อ 15. การประชุม (15.1) การนัดประชุม (15.1.1) ให้เลขานุการหรือประธานแล้วแต่กรณี แจ้งเป็นหนังสือกำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วัน และแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบในโอกาสเดียวกันด้วย ในทางปฏิบัติ กรมฯ จะมีหนังสือยืนยันการประชุมอีก ช่องทางหนึ่งด้วย เพื่อสิทธิเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการประชุม (1 5.1.2) ก ารนั ด ป ระชุ ม จะ ก ำห น ด เมื่ อ ใด นั้ น ขึ้ น อ ยู่ กั บ ค ว าม จ ำเป็ น หรือความเหมาะสม ตามที่ประธานพิจารณาเห็นสมควร กรมส่งเสริมสหกรณ์อาจเรียกประชุม เพื่อปรึกษาหารือข้อราชการต่างๆ หรือประชุมทางวิชาการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม (15.2) องค์ประชุม (15.2.1) การประชุมของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรครั้งหนึ่งๆ จะต้อง มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม (15.2.2) กรรมการจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาประชุมแทนตนก็ได้ แต่ผู้นั้นจะต้องเป็น กรรมการในคณะที่กรรมการผู้มอบอำนาจคนนั้นเป็นประธานอยู่เท่านั้น (15.2.3) การประชุมคราวใด มีกรรมการมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้นัดประชุม อีกครั้งภายใน 14 วัน นับแต่วันนัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งนี้หากมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า หนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด ให้ถือเป็นองค์ประชุมได้ (15.3) การลงมติและวินิจฉัยชี้ขาดที่ประชุม การลงมติและวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมากของกรรมการที่มาประชุม โดยใช้กรรมการหนึ่งคนมีเสียงหนึ่งเสียง ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียง หรือเป็นเสียงชี้ขาด
21 ยกเว้นในกรณีดังกล่าวต่อไปนี้ มติของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรจะต้องถือ เสียงสองในสามของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด คือ (15.3.1) การถอดถอนกรรมการ (15.3.2) การยกเลิกกรรมการกลางทั้งหมด ข้อ 16. รายได้ของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ซึ่งได้มามีดังนี้ (16.1) เงินหรือทรัพย์สินได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือองค์การของรัฐบาล (16.2) เงินหรือทรัพย์สินได้รับการสนับสนุนจากองค์การเอกชนต่างๆ ทั้งภายใน และต่างประเทศ (16.3) เงินหรือทรัพย์สินที่กลุ่มเกษตรกรต่างๆ มอบให้ (16.4) ดอกผลอันเกิดจากเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาตามข้อ (16.1) (16.2) (16.3) ข้อ 17. การเงินและทรัพย์สินของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร (17.1) การใช้จ่ายเงิน ห รือท รัพ ย์สิน ให้ ถือตาม ม ติของค ณ ะกรรม การ กลางกลุ่มเกษตรกร (17.2) การรับจ่ายเงินหรือทรัพย์สินผู้ที่บริจาคได้มอบให้หรือดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น ให้ดำเนินการ ตามวิธีปฏิบัติให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรกำหนดขึ้น โดยได้รับความเห็นชอบ จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ (17.3) เงินของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรต้องนำฝากไว้ที่ธนาคาร ตามความเหมาะสมในนามของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรนั้น ๆ โดยผู้ฝากจะเป็นประธาน หรือรองประธานหรือเหรัญญิกก็ได้ (17.4) การเบิกเงินจากธนาคาร ให้เป็นอำนาจของประธานหรือรองประธาน หรือเลขานุการ หรือเหรัญญิก เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมเป็น 2 คน ในนามของคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้ให้รวมถึงการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินอย่างอื่นด้วย ข้อ 18. รายงานประจำปี (18.1) ให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร จัดทำรายงานประจำปี แสดงผลการ ดำเนินงานของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรในรอบปี เพื่อรายงานให้ที่ประชุมและกรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ (18.2) วันสิ้นปีประจำปีให้จัดทำรายงาน โดยถือตามปีงบประมาณของทางราชการ เป็นหลัก คือ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป ข้อ 19. กรมส่งเสริมสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และกำหนดเวลา ในการเลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรเป็นคราวๆ ตามความเหมาะสมหรือจะมอบหมาย ให้ผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติแทนตามข้อกำหนดต่างๆ ได้
22 บทเฉพาะกาล ให้คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนระเบียบนี้ ให้ดำดงตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548 (ลงนาม) บุญมี จันทรวงศ์ (นายบุญมี จันทรวงศ์) อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์
23
24 (สำเนา) ที่ กค ๐๕๑๔/๕๘๑๑๖ กระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ ๖ กทม. ๑๐๔๐๐ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๔ เรื่อง การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ที่มิได้เป็นข้าราชการ เรียน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อ้างถึง ๑. หนังสือกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ กษ ๑๐๐๙/๓๓๘๔๕ ลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๔ ๒. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค ๑๕๕๓/๑๓๗๓ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๓๑ ๓. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค ๐๕๑๔/๓๑๕๒๔ลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๔ ตามที่แจ้งว่า กระทรวงการคลังได้อนุมัติเป็นหลักการให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางของบุคคล ที่ไม่ใช่ข้าราชการตามหนังสือที่อ้างถึง ๒ และ ๓ กรมส่งเสริมการเกษตร พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การ ดำเนินงานสถาบันเกษตรกรเป็นไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุวัตถุประสงค์ของทางราชการ และสอดคล้อง กับสภาพเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันที่มีค่าครองชีพสูงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีก จึงขออนุมัติ เทียบบุคคลที่ไม่ใช่ข้าราชการเท่ากับข้าราชการเพื่อสิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ได้แก่ การประชุม สัมมนา อภิปราย ประชุมปฏิบัติการ ทัศนศึกษา ดูงาน อบรม ฝึกอบรม ฝึกงาน ชุมนุม เข้าค่าย หรือติดต่อประสานงานกับหน่วยต่างๆ ดังนี้ ๑. ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทยและกรรมการในอัตราเทียบเท่า ข้าราชการระดับ ๖ ๒. ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับภาคและกรรมการ ในอัตราเทียบเท่า ข้าราชการระดับ ๕ ๓. ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัดและกรรมการ ในอัตราเทียบเท่า ข้าราชการระดับ ๔ ๔. ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรและกรรมการ ในอัตราเทียบเท่าข้าราชการระดับ ๓ ๕. สมาชิกกลุ่มเกษตรกร ผู้แทนกลุ่มเกษตรกรและเกษตรกรทั่วไป ได้แก่ เกษตรกร แม่บ้าน เกษตรกร เกษตรกรก้าวหน้า ยุวเกษตรกร และที่ปรึกษายุวเกษตรกร ในอัตราเทียบเท่าข้าราชการระดับ ๑ - ๒ ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว ขอเรียนดังนี้ ๑. ให้ยกเลิกหนังสือกระทรวงการคลังที่อ้างถึง ๓ ๒. เห็นสมควรเทียบตำแหน่งให้แก่บุคคลดังกล่าว ดังนี้ ๒.๑ ประธานและคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทยเทียบเท่าข้าราชการระดับ ๕ ๒.๒ ประธานและคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับภาคเทียบเท่าข้าราชการระดับ ๔ ๒.๓ ประธานและคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัดเทียบเท่าข้าราชการระดับ ๓ ๒. ๔ ประธานและคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกร เทียบเท่าข้าราชการระดับ ๒
25 ๒.๕ สมาชิก และผู้แทนกลุ่มเกษตรกรและเกษตรกรทั่วไป ได้แก่ เกษตรกร แม่บ้านเกษตรกร เกษตรกรก้าวหน้า ยุวเกษตรกร และที่ปรึกษา ยุวเกษตรกร เทียบเท่าข้าราชการระดับ 1 เพื่อประโยชน์ ในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุมหรือติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ตามนัยพระราช กฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๐ ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม ๓. อนุมัติให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสัมมนา อภิปราย ฝึกอบรม ฝึกงาน ดูงาน ชุมนุมเข้าค่าย ให้แก่บุคคลดังกล่าวได้เท่าที่จ่ายจริง ดังนี้ 3.1 ค่าอาหารสำหรับบุคคลตามข้อ ๑ - ๓ ในอัตราคนละ ๑๕๐ บาทต่อวัน ๓.๒ ค่าอาหารสำหรับบุคคลตามข้อ ๔ - ๕ ในอัตราคนละ ๑๐๐ บาทต่อวัน ๓.๓ ค่าเช่าที่พัก ในอัตราคนละ ๓๐๐ บาทต่อวัน ๓.๔ ค่าพาหนะในอัตราตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๒ ทั้งนี้ สำหรับการจัดฝึกอบรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จนกว่าหลักเกณฑ์เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการฝึกอบรมผู้ที่มิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างจะประกาศใช้ ขอแสดงความนับถือ (ลงนาม) ทวีเกียรติ กฤษฎามระ รองปลัดกระทรวงฯ ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง กองอนุมัติจ่าย ๓ โทร. ๐ – ๒๒๗๓ - ๙๐๒๔ ต่อ ๔๔๖๓ สำเนาถูกต้อง วิลาวัณย์ รังศรัณย์ (นางวิลาวัณย์ รังศรัณย์) เจ้าหน้าที่ธุรการ ๓ อรศรี/คัด/ทาน
26 ตัวอย่าง ส่วนราชการ กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร กลุ่มพัฒนากลุ่มเกษตรกร โทร. 218 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : [email protected] ท ี่ กษ ๑๑07/ วันท ี่ 2555 เรื่อง ขออนุมัติค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรระดับภาค เรียน อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ๑. ต้นเรื่อง ตามปฏิทินการประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับภาคประจำเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการกลางฯ ระดับภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ระหว่างวันท ี่ ๒๔ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒ (เอกสาร ๑) ๒. ข้อเท็จจริง ๒.๑ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รับงบประมาณ ประจำปีพ.ศ.๒๕๕๕ ตามแผนปฏิบัติงาน และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ แผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร (คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร) โดยจัดให้จังหวัดต่าง ๆ จัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ อำเภอ และระดับจังหวัด ๗๖ หน่วยงาน และกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร ได้รับงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับภาค และระดับประเทศ (เอกสาร ๒) ๒.๒ คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามหนังสือกระทรวงการคลัง ท ี่ กค ๐๔๐๖.๖/ว ๑๐๔ ลงวันท ี่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๑ เร ื่ อง การเทียบตำแหน่ง ตามข้อ ๓ การเทียบตำแหน่งบุคคลภายนอกซ ึ่ งมิได้เป็นข้าราชการ และมีตำแหน่ง หน้าท ี่ นอกเหนือจากท ี่ กระทรวงการคลังได้เทียบตำแหน่งไว้แล้ว ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณในการพิจารณา โดยคำนึงถึงตำแหน่งหน้าท ี่ปัจจุบัน คุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ การทำงาน และภารกิจท ี่ได้รับมอบหมายให้มาช่วยปฏิบัติราชการ เพ ื่ อให้เกิดความเหมาะสมและประโยชน์ ต่อทางราชการ (เอกสาร ๓) ๓. ข้อพิจารณา กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรพิจารณาแล้ว เห็นควรดำเนินการประชุม คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร ระดับภาคเหนือ ตามข้อ ๑ มีรายละเอียดค่าใช้จ่าย คือ การประชุม คณะกรรมการกลางฯ ระดับภาคเหนือ จำนวน ๑๗ คน ข้าราชการและลูกจ้างผู้ดำเนินการประชุม จำนวน ๔ คน รวมเป็นเงินงบประมาณ ๖๖,๑๗๐.-บาท (หกหม ื่ นหกพันหน ึ่ งร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน) แยกรายการได้ ดังน ี้ บันทึกข้อความ
27 ค่าเบี้ยเลี้ยง (๑๗ x ๓ x ๒๔๐) + (๔ x ๓ x ๒๔o) ๑๕,๑๒๐ บาท ค่าที่พัก (๑๗) x ๒ x ๖oo) + (๔ x ๒ x ๘oo) ๒๕,๒๐๐ บาท ค่าพาหนะ (๑๗ x ๗๐๐) + (๔ x ๗๐๐) ๑๔,๗๐๐ บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (๑๗ x ๓ x ๕0) + (๔ x ๓ x ๕0) ๓,๑๕๐ บาท ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ๘,๐๐๐ บาท (ค่าใช้จ่ายสำหรับคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรฯ เป็นค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน ๑๗ คน ๆ ละ ๓ วัน ๆ ละ ๒๔0 บาท ค่าที่พัก จำนวน ๑๗ คน ๆ ละ ๒ วันๆ ละ ๖๐๐ บาท ค่าพาหนะ จำนวน ๑๗ คน ๆ ละ ๗00 บาท พร้อมทั้งข้าราชการและลูกจ้าง เป็นค่าเบี้ยเลี้ยง ๔ คน ๆ ละ ๔ วัน ๆ ละ ๒๔๐ บาท ค่าที่พัก ๔ คน ๆ ละ ๓ วัน ๆ ละ ๘๐๐ บาท ค่าพาหนะ ๔ คน ๆ ละ ๕๐๐ บาท และค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มของคณะกรรมการฯ ข้าราชการและลูกจ้าง ๑๘ คน ๆ ละ ๓ มื้อ ๆ ละ ๕๐ บาท และค่าน้ำมัน เชื้อเพลิงและหล่อลื่น ๘,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายสามารถถัวจ่ายกันได้) ๔. ข้อเสนอแนะ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติจัดประชุม และค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมตามข้อ ๓
28 เอกสารที่ 1 ที่........../.......... (ระบุ) หน่วยงาน .......... วันที่ ...... เดือน .............. พ.ศ. .......... เรื่อง กำหนดแผนการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ………………… เรียน ……………………………………………….. สิ่งที่ส่งมาด้วย แผนการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ………………… ด้วยคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ…………………………ได้กำหนดแผนการจัดประชุม คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ……………………………ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25.....ขึ้น จำนวน..........ครั้ง รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ในการนี้ ขอให้หน่วยงานของท่านสนับสนุนงบประมาณในการจัดประชุมดังกล่าวด้วย จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไป ขอแสดงความนับถือ (นาย/นาง/นางสาว…………………………) ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ...................... โทร. ................. โทรสาร ............
29 เอกสารที่ 2 แผนการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ…………………………… ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25..... ครั้งที่ วัน เดือน ปี ที่จัดประชุม เวลา สถานที่จัดประชุม หมายเหตุ 1 2 3 4 (ลงชื่อ).................................ผู้กำหนดแผนการประชุม (นาย/นาง/นางสาว............................................) ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ......................
30 เอกสารที่ 3 ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ................ ครั้งที่………… / ………… วันที่........ เดือน............ พ.ศ. ............. ณ ....................................................... ระเบียบวาระที่ 1 เรื่อง ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ระเบียบวาระที่ 2 เรื่อง รับรองรายงานการประชุมครั้งที่……./…….. ระเบียบวาระที่ 3 เรื่อง สืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่……./…….. 3.1 เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………… 3.2 เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………… 3.3 เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………… ฯลฯ ระเบียบวาระที่ 4 เรื่อง เพื่อทราบ 4.1 เรื่อง รายงานผลการรับ - จ่ายเงินของคณะกรรมการกลาง กลุ่มเกษตรกรระดับ……….. 4.2 เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………… 4.3 เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………… ฯลฯ ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา 5.1 เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………… 5.2 เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………… 5.3 เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………… ฯลฯ ระเบียบวาระที่ 6 เรื่อง หน่วยงานราชการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 6.1 เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………… 6.2 เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………… 6.3 เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………………… ฯลฯ ระเบียบวาระที่ 7 เรื่อง อื่นๆ (ถ้ามี)
31 เอกสารที่ 4 ที่ กษ ........../ .......... (ระบุ) หน่วยงาน วันที่ ............ เดือน................. พ.ศ. ................. เรื่อง เชิญประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ................................. เรียน ……………………………………………………………………………………………………. อ้างถึง หนังสือคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ……….. ท.ี่......./.......ลงวันท…ี่ .เดือน...........พ.ศ. ............ สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ.................. 2. หนังสือมอบฉันทะ ตามหนังสือที่อ้างถึง ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ........ในวันท ี่……………… ได้กำหนดจัดประชุม ครั้งที่.......เดือน................พ.ศ. ...........โดยกำหนดลงทะเบียนวันแรกเวลา.....................น. ณ..............................................ในการน ี้ ขอเรียนเชิญ ท่านหรือกรรมการอ ื่ นท ี่ได้รับมอบฉันทะ เข้าร่วมประชุม ตามวัน เวลา สถานที่ดังกล่าว หากท่านหรือตัวแทนมีเหตุจำเป็นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ให้ท่านเขียนใบลา และระบุสาเหตุ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เลขานุการจะได้จดบันทึกในรายงาน การประชุมทุกครั้ง อนึ่ง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุมเบิกได้ตามระเบียบของทางราชการณ สถานที่ประชุม จึงเรียนมาเพื่อเข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ขอแสดงความนับถือ ………………………………………….. (นาย/นาง/นางสาว……………………………) (..............................……………………………) หน่วยงาน (ระบุ) โทร. ……………………….. โทรสาร ………………….. สารบรรณอิเลคโทรนิคส์ (ระบุ)
32 เอกสารที่ 5 หนังสือมอบฉันทะ เขียนที่………………………………………………………. วันที่ ............ เดือน................. พ.ศ. ................. โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้า นาย.................................................ตำแหน่ง........................................ อยู่บ้านเลขที่……………………..อำเภอ...................................จังหวัด...............................โทร.................................. ได้มอบหมายให้นาย/นาง/นางสาว......................................................อายุ...........ปี ตำแหน่ง............................... อยู่บ้านเลขที่……………………..อำเภอ...................................จังหวัด...............................โทร.................................. ตำบล...........................อำเภอ........................จังหวัด.............................โทร…………………………………………………. เป็นผู้แทนข้าพเจ้าในการเข้าประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแทนข้าพเจ้าจนเสร็จการ ………………………………………… ผู้มอบฉันทะ (…………………………………………) ………………………………………… ………………………………………… ผู้มอบฉันทะ (…………………………………………) ………………………………………… ………………………………………… พยาน (…………………………………………) ………………………………………… ………………………………………… พยาน (…………………………………………) …………………………………………
33 เอกสารที่ 6 สรุปผลการประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ…………………… ครั้งที่ ………./………. วันที่……..… เดือน.......................พ.ศ. ………………….. ณ ................................................................................... ผู้เข้าประชุม ที่ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง ลายมือชื่อ 1. ………………………………………………………… …………………………….. …………………………….. 2. ………………………………………………………… ………………………………. …………………………….. 3. ………………………………………………………… ………………………………. …………………………….. 4. ………………………………………………………… ………………………………. …………………………….. 5. ………………………………………………………… ………………………………. …………………………….. ฯลๆ ผู้เข้าร่วมประชุม ที่ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง ลายมือชื่อ 1. ………………………………………………………… ………………………………. …………………………….. 2. ………………………………………………………… ………………………………. …………………………….. 3. ………………………………………………………… ………………………………. …………………………….. ฯลฯ ผู้ขาดประชุม 1. ………………………………. …………………………….. (ให้ระบุสาเหตุทุกครั้งในรายงานการประชุม) 2. ………………………………. …………………………….. (ให้ระบุสาเหตุทุกครั้งในรายงานการประชุม) 3. ………………………………. …………………………….. (ให้ระบุสาเหตุทุกครั้งในรายงานการประชุม) ฯลฯ เริ่มประชุมเวลา ................. น. เมื่อกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ.....................ครบองค์ประชุมแล้ว ประธานในที่ประชุมได้ กล่าวเปิดประชุมและคำเนินการตามระเบียบวาระดังต่อไปนี้
34 ระเบียบวาระที่ 1 เรื่อง ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ 1.2 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ 1.3 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ ฯลฯ ระเบียบวาระที่ 2 เรื่อง รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ ........../.......... ป ระ ธาน ได้ ให้ ที่ ป ระชุ ม พิ จ ารณ าราย งาน ก ารป ระชุ ม ค ณ ะ ก รรม ก ารก ล าง กลุ่มเกษตรกรระดับ ครั้งที่ ........../.......... เมื่อวันที่..............เดือน...................... .พ.ศ. .................ซึ่งที่ประชุมได้ พิจารณาโดยละเอียดและรอบคอบแล้ว มติที่ประชุม รับรอง (กรณีมีรายการแก้ไขให้ระบุ) ระเบียบวาระที่ 3 เรื่อง สืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ ........../.......... 3.1 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ 3.2 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ 3.3 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ ฯลฯ ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อทราบ 4.1 เรื่อง รายงานผลการรับ – จ่ายเงินของคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรระดับ…………… ประธานได้มอบให้ นาย/นาง/นางสาว………………………………………….. ตำแหน่ง เหรัญญิก รายงานผลการรับ -จ่ายเงินของคณะกรรมการกลางกลุ่มระดับ…………………ให้ที่ประชุม รับทราบ ดังนี้
35 (1) เงินคงเหลือยกมา จำนวน …………………………………. บาท - เงินฝากธนาคาร จำนวน …………………………………. บาท - เงินสด จำนวน …………………………………. บาท (2) รายรับ จำนวน …………………………………. บาท - .................................. จำนวน …………………………… บาท - .................................. จำนวน …………………………… บาท - .................................. จำนวน …………………………… บาท (3) เงินคงเหลือยกไป จำนวน …………………………… บาท - เงินฝากธนาคาร จำนวน …………………………………. บาท - เงินสด จำนวน …………………………………. บาท ซึ่งที่ประชุมได้ซักถามจนเป็นที่เข้าใจโดยตลอดทุกรายการแล้ว มติที่ประชุม รับรอง (กรณีมีรายการแก้ไขให้ระบุ) 4.1 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ 4.2 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ 4.3 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ ฯลฯ ระเบียบวาระที่ 5 เรื่อง เพื่อพิจารณา 5.1 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ 5.2 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ 5.3 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ ฯลฯ มติที่ประชุม รับรอง (กรณีมีรายการแก้ไขให้ระบุ)
36 ระเบียบวาระที่ 6 เรื่อง หน่วยงานราชการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 6.1 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ 6.2 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ 6.3 เรื่อง ……………………………………. ฯลฯ มติที่ประชุม รับทราบ ฯลฯ ระเบียบวาระที่ 7 เรื่อง อื่นๆ (ถ้ามี) เรื่อง ……………………………………………. ฯลฯ เลิกประชุมเวลา ...................... น. (ลงชื่อ) ................................................. ประธานในที่ประชุม (ลงชื่อ) ................................................. ผู้จดบันทึกรายงานการประชุม (นาย/นาง/นางสาว................................)
แบบรายงานผลการจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับ……สรุปผลการประชุม หัวข้อสำคัญของการประชุม ครั้งที่ 1 ....................................................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................ .ครั้งที่ 2 ....................................................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................ .ครั้งที่ วัน เดือน ปี ที่จัดประชุม ผู้เข้าประชุม จำนวน คณะกรรมการ กลาง (คน) จำนวน ผู้เข้าประชุม (คน) ร้อยลของผู้เข้าป1 2 3 4 รวม
37 ……………………ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ................................................. .... ........................................................................................................................ ....................................................................................................................................... ............................................................................................................................. .... ........................................................................................................................ .................................................................................................................... ................... ............................................................................................................. ................. งบประมาณ ตัวชี้วัด ละ ประชุม งบประมาณ ที่ได้รับในการ จัดประชุม (บาท) งบประมาณ ที่ได้รับในการ จัดประชุม (บาท) ร้อยละของ งบประมาณที่ใช้ ตัวชี้วัดความสำเร็จของ แผนกำหนดว่ากรรมการ กลางกลุ่มเกษตรกรระดับ อำเภอเข้าประชุมไม่น้อย กว่าร้อยละ 80
38 ประเด็นคำถามที่สำคัญ 1. การจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร มีลักษณะอย่างไร คำตอบ การจัดประชุมคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรมี 2 ลักษณะ กล่าวคือ เป็นการจัดประชุม ตามระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2548 ซึ่งการนัดประชุมให้ เลขานุการหรือประธานแจ้งเป็นหนังสือกำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมให้ คณะกรรมการทราบ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวันกับแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบในโอกาสเดียวกันด้วยในทางปฏิบัติ หน่วยงานรับผิดชอบจะมีหนังสือยืนยันการประชุมอีกช่องทางหนึ่งด้วยเพื่อสิทธิเบิกจ่ายค่าเบี้ยประชุมตาม ระเบียบของทางราชการ และกรมส่งเสริมสหกรณ์นัดประชุมเพื่อหารือข้อราชการต่างๆ หรือประชุม ทางวิชาการได้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม 2. การดำเนินการของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร มีขอบเขตเพียงใด คำตอบ คณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร เป็นผู้แทนองค์กรผู้นำของกลุ่มเกษตรกรไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นองค์กรอิสระตามกฎหมาย ไม่เป็นองค์กร NGO แต่เป็นองค์คณะที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบของกรมส่งเสริม สหกรณ์ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเกษตรกรทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อนำปัญหาความต้องการและข้อเสนอแนะของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรไป ยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นผู้แทนกลุ่มเกษตรกรทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร อีกทั้งยังมีอำนาจหน้าที่เสริมสร้างงานด้านวิชาการ ด้านสวัสดิการ จัดหาแหล่งทุน กำหนดนโยบาย แผนการ วิธีการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานเชื่อมโยงกลุ่มเกษตรกรกับกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์และองค์กรเอกชน พิจารณาเสนอแก้ไขระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่าด้วยคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร เสนอรายงาน การประชุมทุกครั้งและแสดงผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรในรอบปีหากปฏิบัติงาน นอกเหนือจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ดังนั้น ขอบเขตการกระทำของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรจะทำหน้าที่ประสานงาน สะท้อนปัญหา ให้ข้อเสนอแนะ และเป็นผู้แทนกลุ่มเกษตรกรในคณะต่างๆ ฯลฯ หากการกระทำ ขัดต่อวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ หากกรมฯพิจารณาแล้วกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรหลุดพ้น จากตำแหน่งได้
39 3. การดำเนินการของเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ มีขอบเขตเพียงใด คำตอบ บทบาทของเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ (1) มิใช่เป็นตัวกระทำการในการจัดประชุม ด้วยเหตุผลที่ว่าการนัดประชุมระเบียบวาระการประชุม การคำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ การลงมติและวินิจฉัยชี้ขาด การจัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย รายงานประจำปี เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกร เว้นแต่กรมส่งเสริมสหกรณ์นัดประชุม เพื่อหารือข้อราชการต่างๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม (2) ทำหน้าที่อำนวยการและสนับสนุน เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นผู้เข้าร่วมประชุมในฐานะ ตัวแทนของต้นสังกัด มีบทบาทหน้าที่ตามระเบียบวาระการประชุมที่หน่วยงานราชการแจ้งให้ที่ประชุมทราบ เช่น ผลการจัดมาตรฐานกลุ่มเกษตรกร ความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบฯ การสนับสนุน ช่วยเหลือของรัฐบาล เป็นต้น ตลอดจนทำหน้าที่เบิก – จ่ายค่าเบี้ยประชุมตามระเบียบของทางราชการ (3) ทำหน้าที่รายงานผลการประชุม เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นผู้รายงานผลการประชุม ตามแบบรายงานที่กรมๆ กำหนด ตามตัวชี้วัด ได้แก่ ร้อยละของผู้เข้าประชุม ร้อยละของงบประมาณ ที่ใช้และสรุปหัวข้อสำคัญของการประชุม 4. ปัญหาที่สำคัญ คำตอบ รูปแบบการคำเนินงานขององค์กรเกษตรกรอาศัยเวทีการจัดประชุมคณะกรรมการของแต่ละองค์กร เป็นหลักในการคำเนินกิจกรรม การจัดประชุมองค์กรมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการบริหารจัดการองค์กร เกษตรกร ในอดีตที่ผ่านมาการจัดประชุมของบางองค์กรยังขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถใช้เวทีในการประชุม ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรได้อย่างแท้จริง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งเวลาและงบประมาณ สาเหตุที่ทำให้ การประชุมไม่บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการจัดประชุม มีดังนี้ (1) ขาดการวางแผนการจัดประชุม การกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการจัดประชุมแต่ละครั้ง ไม่มีการกำหนดแผนไว้ถ่วงหน้า แต่มักจะกำหนดจัดเป็นการเฉพาะกิจตามสถานการณ์ หรือสภาพปัญหา เป็นครั้งคราว การกำหนดแบบนี้มีข้อดี คือ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา แต่ข้อจำกัด คือ ทำให้ยุ่งยากในการจัดการทั้งในเรื่องของสถานที่ การนัดหมาย ตลอดจนการดำเนินการของส่วนราชการ ในการขออนุมัติ และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตลอดจนการจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็น ได้ไม่ครบถ้วน (2) การกำหนดระเบียบวาระการประชุม ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนทำให้การประชุมต้องใช้เวลา ค่อนข้างมาก มักนำเอาวาระจรหรือเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ได้กำหนดไว้มาเป็นประเด็นสำคัญในการประชุม
40 ทำให้การประชุมไม่เป็นไปตามระเบียบวาระไม่สามารถหาข้อสรุปหรือข้อยุติได้ และต้องนำเรื่องเดิมๆ เข้ามาประชุมทุกครั้งทำให้ผู้เข้าประชุมบางส่วนเกิดความเบื่อหน่าย และไม่อยากเข้าร่วมประชุม (3) ขาดข้อมูล การจัดประชุมในหลายๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการหรือองค์กรต่างๆ พบว่าผู้เข้าร่วม ประชุมไม่มีการเตรียมข้อมูลที่เพียงพอที่จะนำมาใช้ในการประชุม โดยหวังว่าผู้จัดหรือผู้ดำเนินการประชุม จะต้องเป็นผู้จัดเตรียมให้ ซึ่งในบางครั้งข้อมูลต่างๆ ที่ผู้จัดประชุมจัดเตรียมไว้มีไม่เพียงพอหรือไม่ตรงกับ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความต้องการขององค์กรและสมาชิกองค์กรได้ (4) จิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อองค์กร พบว่าในหลายกรณีที่มีการจัดประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม บางส่วนมาร่วมประชุมเพราะขัดไม่ได้หรือมาตามหน้าที่ขาดจิตสำนึกเชิงสร้างสรรค์ต่อองค์กร มักสร้างปัญหา หรือความยุ่งยากในการประชุมในรูปแบบต่างๆ เช่น ชวนคนอื่นพูดคุยขณะมีการประชุม พูดคุยโทรศัพท์ เดินเข้าออกบ่อยครั้ง หรือแสดงความคิดเห็นของตัวเองในเรื่องที่ไม่ตรงหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลัง มีการพิจารณา มาประชุมทีหลังขอกลับก่อน เรียกร้องสิทธิประโยชน์ส่วนตัว ฯลฯ (5) ขาดการจดบันทึกรายงานผลการประชุม ในการประชุมใดๆ ก็ตามหากไม่มีการจดบันทึกข้อตกลง หรือมติต่างๆ ของที่ประชุม ก็ยากที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้ โดยเฉพาะถ้าเรื่องนั้นๆ มีระยะเวลายาวนาน ในการปฏิบัติ จะถูกละเลยหรือลืมไปในที่สุด และการบันทึกรายงานการประชุมจะเป็นการบันทึกเรื่องราว การทำงานต่างๆ ขององค์กร หรืออาจใช้เป็นหลักฐานในการแสดงถึงงานหรือกิจกรรม (6) การขาดเงินทุนขององค์กรเกษตรกร หรือมีแต่ไม่เพียงพอต่อการใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรให้ต่อเนื่องได้ จำเป็นต้องอาศัยการพึ่งพาเงินงบประมาณของทางราชการ ซึ่งต้องเบิกจ่าย ผ่านหน่วยงานราชการ มีระเบียบกฎเกณฑ์ในการเบิกจ่าย ทำให้ขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ขององค์กร โดยเฉพาะกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องมีการจัดประชุม ในบางครั้งจึงไม่สามารถทำได้เพราะติดขัด ระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินการและเบิกจ่ายงบประมาณตามขั้นตอนของทางราชการ ฉะนั้น หากองค์กร เกษตรกรใดมีเงินทุนของตัวเองก็สามารถดำเนินการโดยใช้งบประมาณของตัวเองในการจัดประชุมเร่งด่วนได้ แต่ในกรณีองค์กรใดไม่มีทุนของตัวเองก็ไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้น การที่จะพัฒนาองค์กรไปสู่ ความเข้มแข็งได้ เงินหรือทุนขององค์กรจึงมีความจำเป็น (7) งบประมาณของทางราชการมีจำกัดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคณะกรรมการ กลุ่มเกษตรกรได้ ซึ่งเดิมเคยประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ปัจจุบันประชุม 3 - 4 เดือน/ครั้ง ทำให้ขาดความต่อเนื่อง ในการประชุม (8) การเบิก - จ่าย ค่าเบี้ยประชุมตามระเบียบของทางราชการเช่น ค่าพาหนะเจ้าหน้าที่หน่วยงาน ที่รับผิดชอบจ่ายน้อยเกินไป