The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Colorful Modern Become A Streaming Beginner Book Cover

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by phonnapha9501, 2022-11-04 12:44:23

Colorful Modern Become A Streaming Beginner Book Cover

Colorful Modern Become A Streaming Beginner Book Cover

โ ค ร ง ห น อ ง น า แ ห่ ง น้ำ ใ จ แ ล ะ ค ว า ม ห วั ง

ศาสตร์ แห่ งพระราชา

โ ด ย โ ร ง เ รี ย น น า โ พ ธิ์ พิ ท ย า ค ม

ศาสตร์พระราชาสู่ การพัฒนาอย่างยั่งยืน

1. ที่มาและความสำคัญศาสตร์พระราชา

การสืบสานศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นกระบวนการนำศาสตร์พระราชาไปสู่การ
ปฏิบัติ ให้เกิดผลหรือเรียกง่าย ๆ ว่าการนำความรู้ในศาสตร์ทั้ง ๓ ด้าน หรือ ๓ มิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม สู่การพัฒนาประเทศให้มั่นคง ยั่งยืน ไปสู่การปฏิบัติจริง หรือเดินตาม
รอยเท้าพ่อ ในการ ปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย การนำองค์
ความรู้ ด้านการกำหนด เป้าหมายของการเรียนรู้หรือการพัฒนางาน องค์ความรู้ด้านเนื้อหา ความรู้จาก
โครงการพระราชดำริ และอื่น ๆ รวมทั้งการนำองค์ความรู้ในวิธีทรงงานมาใช้ในการดำเนินชีวิต การ
ทำงานของบุคคล ครอบครัว ชุมชน หรือ ขององค์กร มูลนิธิ หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ
เพื่อการพัฒนาตนเอง พัฒนางานดำเนินชีวิต ดำเนินงานในหน้าที่ความรับผิดชอบด้วยองค์ความรู้ตาม
ศาสตร์พระราชา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เดินตาม รอยเท้าพ่อ สานต่องานที่พ่อทำ”

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นประมุข
แห่ง ประเทศไทยเป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่
ชาวไทย ตลอดพระชนมายุของพระองค์ โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คือ การเสด็จ
พระราชดำเนินเยือน ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศ ดังในปฐมพระบรมราชโองการในระหว่าง
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อ
ประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม” ซึ่งในขณะนั้นสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ยังคงบอบช้ำจาก
สงครามโลกครั้งที่ ๒ ประชาชนเดือดร้อน ชีวิตความเป็นอยู่แย่ลง ฐานะยากจน ดังนั้น เมื่อเสด็จฯ กลับ
จากการไปศึกษาที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี ๒๔๙๓ จึงได้พระราชทานพระราชดำริในการช่วยเหลือ
พสกนิกรให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การทรงงานพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในแต่ละช่วงเวลานั้น
พระองค์ทรงใช้ศาสตร์ความรู้แขนงต่าง ๆ มาบูรณาการหลักการทรงงานของพระองค์เพื่อให้ประชาชน
ของ พระองค์นั้น ได้รับประโยชน์สูงสุด

“ศาสตร์พระราชา คือ การลงไปศึกษาเรียนรู้จากชุมชน ให้ชุมชนบอกว่าปัญหาคืออะไรความ
ต้องการของประชาชนคืออะไร โดยต้องคำนึงถึงความต่อเนื่องและยั่งยืน”

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่าเป้าหมายในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ คือ การ
พัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของคน โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ให้คนมีความสุข โดยต้อง
คำนึงเรื่องสภาพภูมิศาสตร์ ความเชื่อทางศาสนา เชื้อชาติ และภูมิหลังทางเศรษฐกิจ สังคม แม้ว่าวิธีการ
พัฒนา มีหลากหลาย แต่ที่สำคัญ คือ การพัฒนาจะต้องมีความรัก ความห่วงใย ความรับผิดชอบ และการ
เคารพใน เพื่อนมนุษย์จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเกี่ยวข้องกับมนุษยชาติ และเป็นเรื่องของจิตใจ

๒. หลัก ๒๓ ข้อในการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙

หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
ที่เรียบง่ายเน้นการปรับใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นที่ราษฎรสามารถนำไป
ปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์สูงสุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล
ที่ ๙ ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตร่ำและมุ่งมั่น เพื่อแก้ไขปัญหาความ
เดือดร้อนให้แก่พสกนิกรไม่ว่าจะเชื้อชาติใด ศาสนาใด อยู่ห่างไกลสัก
เพียงใด ก็มิทรงย่อท้อ เข้าไปช่วยเหลือราษฎรทั้งด้านสาธารณสุข
การศึกษา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การเกษตร การฟื้ นฟู
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และพลังงาน
หรือแม้กระทั่งการจราจร ทรงคิดค้นหาแนวทางแก้ไข

ปัญหาได้อย่างแยบยลการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงยึดการดำเนิน
งานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัวและสามารถปฏิบัติได้จริงทรงมีความละเอียด
รอบคอบ และทรงคิดค้นหาแนวทางพัฒนาเพื่อมุ่งประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด มีคุณค่าและควรยึดเป็น
แบบอย่างในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท นำมาปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดผลต่อตนเอง สังคม และ
ประเทศชาติสืบไป หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มีดังต่อไปนี้

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๓
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"การที่จะพระราชทานพระราชดำริเพื่อดำเนินงานโครงการ จะทรงศึกษาข้อมูลรอบด้านจากเอกสาร
แผนที่ สอบถามเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ ให้ได้รายละเอียดที่เป็นประโยชน์ครบถ้วน เพื่อ
พระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ตรงความต้องการของประชาชน"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๔
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"พระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่าว่า ..ต้องระเบิดจากข้างใน.. หมายความว่า ต้อง
สร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึง
ออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญ หรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาสังคมภายใน
หมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๕
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"พระองค์ทรงเปี่ ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพในการแก้ไขปัญหา ทรงมองปัญหาในภาพร่วม (Macro)
ก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาของพระองค์จะเริ่มจากจุดเล็กๆ (Micro) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่คน
มักจะมองข้าม"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๖
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"ในการทรงงานพระองค์ทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ งานด้านสาธารณสุข
เมื่อร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์อื่นๆ ต่อไปได้ จากนั้นด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้น
ฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค ที่เอื้อ
ประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการ - เทคโนโลยี
เน้นปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๗
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"การพัฒนาใด ๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยว
กับลักษณะนิสัยใจคอของคน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๘
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"ทรงมีวิธีคิดอย่างองค์รวม (Holistic) หรือมองอย่างครบวงจรในการที่จะพระราชทานพระราชดำริ
เกี่ยวกับโครงการหนึ่งนั้น จะทรงมองเหตุการณ์ ที่จะเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง ดังเช่น กรณี
ของ (ทฤษฏีใหม่) ที่พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยเป็นแนวทางประกอบอาชีพแนวทางหนึ่ง ที่พระองค์
ทรงมองอย่างองค์รวม ตั้งแต่การถือครองที่ดิน โดยเฉลี่ยของประชาชนชาวไทยประมาณ ๑o - ๑๕ ไร่ การ
บริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำอันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพ เมื่อมีน้ำในการเกษตร
แล้ว จะส่งผลให้ผลิตดีขึ้น และหากมีผลิตมากขึ้น เกษตรกรต้องรู้วิธีการจัดการและการตลาด รวมถึงการ
รวมกลุ่มรวมพลังชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อพร้อมที่จะออกสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกได้
อย่างครบวงจรนั้น คือ ทฤษฏีใหม่ ขั้นที่ ๑ ๒ และ ๓"


ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๙
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"การพัฒนาตามราชดำริของพระองค์ ลักษณะพัฒนาที่อนุโลมและรอมชอมกับสภาพธรรมชาติสิ่ง
แวดล้อม และสภาพของสังคม จิตวิทยาแห่งชุมชน “ไม่ติดตำรา” ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่
ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่แท้จริงของคนไทย"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๑O
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"ได้ประโยชน์สุดในเรื่องของความประหยัดนี้ ประชาชนชาวไทยเคยเห็นว่า หลอดยาสีพระทนต์นั้นทรง
ใช้อย่างคุ้มค่าอย่างไร ฉลองพระองค์แต่ละองค์ทรงใช้อยู่เป็นเวลานาน หรือแม้แต่ฉลองพระบาทหากชำรุด
ก็จะส่งซ่อมและใช้อย่างคุ้มค่า ขณะเดียวกันการพัฒนาช่วยเหลือราษฎร ทรงใช้ความเรียบง่ายและประหยัด
ในการแก้ไขปัญหา ให้ราษฎรสามารถทำได้เอง ประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคมาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้อง
ลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๑๑
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทำให้การคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุงและ
แก้ไข งานพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริดำเนินไปโดยง่าย และสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่
ระบบนิเวศโดยส่วนรวม ตลอดจนสภาพสังคมของชุมชนนั้นๆ ทรงโปรดที่จะทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่าย
ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย อันเป็นการแก้ปัญหาด้วยการใช้กฎธรรมชาติเป็นแนวทางนั้นเอง แต่การ
ทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่ายนั้นเป็นของยาก ดังนั้นคำว่า “ทำให้ง่าย” หรือ “Simplicity” จึงเป็นหลักคิด
สำคัญของการพัฒนาประเทศ ที่มาในรูปแบบของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๑๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"พระองค์ทรงเป็นนักประชาธิปไตย จึงทรงนำ “ประชาพิจารณ์” มาใช้ในการบริหาร เพื่อเปิดโอกาสให้
สาธารณชน ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องที่จะต้อง
คำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชน หรือความต้องการของสาธารณชน"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๑๓
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"การปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และการพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนา และช่วยเหลือพสกนิกร
ของพระองค์ ทรงระลึกถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"การบริการรวมที่จุดเดียว หรือ One Stop Services เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในระบบบริหารราชการ
แผ่นดินของประเทศไทย โดยทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้นแบบในการ
บริการรวมที่จุดเดียว เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนที่ใช้บริการ ให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมีหน่วย
งานราชการต่างๆ มาร่วมดำเนินการและให้บริการประชาชน ณ ที่แห่งเดียว"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติและต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียดถึงปัญหา
ธรรมชาติ หากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติ จะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ เช่น การแก้ไขปัญหาป่า
เสื่อมโทรม ได้พระราชทานพระราชดำริ "การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก" ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้ นฟู
ธรรมชาติ หรือแม้กระทั่ง "การปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"ทรงนำความจริงเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติ และกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการแนว
ปฏิบัติที่สำคัญ ในการแก้ปัญหาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ เช่น การ
ทำน้ำดีขับไล่น้ำเสีย หรือเจือจางน้ำเสียให้กลับเป็นน้ำดีตามจังหวะการขึ้นลงตามธรรมชาติของน้ำ การ
บำบัดน้ำเน่าเสียโดยใช้ผักตบชวา ซึ่งมีตามธรรมชาติให้ดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้ อนในน้ำ ดังพระราชดำรัส
ความว่า ..ใช้อธรรมปราบอธรรม.."

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"ในการทรงงานพระองค์ทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ งานด้านสาธารณสุข
เมื่อร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์อื่นๆ ต่อไปได้ จากนั้นด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้น
ฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค ที่เอื้อ
ประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการ - เทคโนโลยี
เน้นปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"ในการทรงงานพระองค์ทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ งานด้านสาธารณสุข
เมื่อร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์อื่นๆ ต่อไปได้ จากนั้นด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้น
ฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค ที่เอื้อ
ประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการ - เทคโนโลยี
เน้นปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"ในการทรงงานพระองค์ทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ งานด้านสาธารณสุข
เมื่อร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์อื่นๆ ต่อไปได้ จากนั้นด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้น
ฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค ที่เอื้อ
ประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการ - เทคโนโลยี
เน้นปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"ในการทรงงานพระองค์ทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ งานด้านสาธารณสุข
เมื่อร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์อื่นๆ ต่อไปได้ จากนั้นด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้น
ฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค ที่เอื้อ
ประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการ - เทคโนโลยี
เน้นปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"ในการทรงงานพระองค์ทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ งานด้านสาธารณสุข
เมื่อร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์อื่นๆ ต่อไปได้ จากนั้นด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้น
ฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค ที่เอื้อ
ประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการ - เทคโนโลยี
เน้นปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"เป็นการปลูกป่าลงบนแผ่นดิน ด้วยความต้องการของมนุษย์ทำให้ต้องการบริโภคและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างสิ้นเปลือง เพื่อประโยชน์ของตนเองเองและสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อม ไม่รู้จักพอ ปัญหาความไม่
สมดุลจึงบังเกิดขึ้น ดังนั้นในการฟื้ นฟูธรรมชาติให้กลับคืนมา จะต้องปลูกจิตสำนึกในการรักผืนป่าให้แก่คนเสีย
ก่อน"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

“..ขาดทุน คือ กำไร our loss is our gain การเสีย คือ การได้ ประเทศชาติก็จะก้าวหน้า และการที่
คนอยู่ดีมีสุข เป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้..” จากพระราชดำรัสดังกล่าว คือหลักการที่พระองค์ ทรงมี
ต่อพสกนิกรไทยด้วย “การให้” และ “การเสียสละ” เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือความอยู่ดี มีสุขของ
ราษฎร ซึ่งสามารถสะท้อนเป็นรูปธรรมชัดเจนได้

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"การพัฒนาตามแนวพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อ
ให้ประชาชนแข็งแรง พอที่จะดำรงชีวิตต่อไป แล้วขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้ตาม
สภาพแวดล้อม และ “พึ่งตนเองได้”

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

การพัฒนาเพื่อให้พสกนิกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เริ่มจากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร
ในทุกภาคของประเทศ และพระองค์ได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระองค์เอง จึงทรงเข้า
พระราชหฤทัยสภาพปัญหาอย่างลึกซึ้ง ในการพัฒนานั้น หากมองในภาพรวมของประเทศมิใช่งานเล็กน้อย
แต่ต้องใช้ความคิดและกำลังของคนทั้งชาติจึงจะบรรลุผลสำเร็จด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์จึงทำให้
คนทั้งหลายได้ประจักษ์ว่า แนวทางพระราชดำริในพระองค์นั้น “เรียบง่าย ปฏิบัติได้ผล” เป็นที่ยอมรับโดย
ทั่วกัน

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่ทรงพระราชทานชี้แนวทางดำเนินชีวิต แก่พสกนิกรมานานกว่า
30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น
และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดัง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้พระราชทานไว้ดังนี้

"ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบ
ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อมามีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการ
วางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน"

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

“คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่
สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์
แท้จริงได้สำเร็จ”

- พระราชดำรัสฯ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒

“ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้ มากกว่าผู้มี
ความรู้มากแต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ”

- พระราชดำรัสฯ เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๓๓

“ผู้ว่า CEO ต้องเป็นคนที่สุจริต ทุจริตไม่ได้ ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียวก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป ข้าราชการ
หรือประชาชนที่มีการทุจริต ถ้ามีทุจริตแล้วบ้านเมืองพัง ที่เมืองไทยพังมาเพร่าะมีการทุจริต”

- พระราชดำรัสฯ เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๖

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

พระองค์ทรงพระเกษมสำราญ และทรงมีความสุขทุกคราที่จะช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเคยมีพระราช
ดำรัสครั้งหนึ่งความว่า “ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำ
ประโยชน์ให้กับผู้อื่น”

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

พระองค์ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ในระยะแรกไม่ได้มีความพร้อมมากนัก และทรงใช้พระราชทรัพย์
ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น แต่พระองค์ก็มิได้ท้อพระราชหฤทัย ทรงอดทนและมุ่งมั่นดำเนินงานนั้น ให้สำเร็จลุล่วง
ดังเช่นพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" ซึ่งพระองค์ทรงใช้เวลาค่อนข้างนานในการคิดประดิษฐ์ถ้อยคำให้
เข้าใจง่าย และปรับให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทยปฏิบัติตามรอยพระมหาชนก
กษัตริย์ผู้เพียรพยายามแม้จะไม่เห็นฝั่ งก็จะว่ายน้ำต่อไป เพราะถ้าไม่เพียรว่ายก็จะตกเป็นอาหารปู ปลา และ
ไม่ได้พบกับเทวดาที่ช่วยเหลือมิให้จมน้ำ

เช่นเดียวกับพระองค์ทรงริเริ่มทำโครงการต่าง ๆ ในระยะแรกที่ไม่มีความพร้อมในการทำงานมากนัก
และทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้นแต่พระองค์ก็มิได้ท้อพระราชหฤทัย มุ่งพัฒนาบ้านเมืองให้
บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสในเรื่อง "รู้ รัก สามัคคี" อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีคุณค่า
และมีความหมายลึกซึ้ง สามารถปรับใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย

รู้ : การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา

รัก : คือ ความรัก เมื่อเรารู้ครบถ้วนกระบวนความแล้วจะต้องมีความรัก การพิจารณาที่จะเข้าไป
ลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้นๆ คือ การสร้างฉันทะ

สามัคคี : การที่จะลงมือปฏิบัติควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกันเป็น
องค์กร เป็นหมู่คณะจึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์



ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หน้า ๒
จัดทำโดย โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

A BEST SELLING SCI-FI NOVEL SERIES

THE

BLACK
UNIVERSE

WRITTEN BY

GRETA MAE EVANS


Click to View FlipBook Version