The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by prueksachart254949, 2021-09-19 10:43:15

Sukhothai4-6-19 (3)

Sukhothai4-6-19 (3)

อาณาจักรสุโขทัย

เรื่อง พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครอง

จัดทำโดย

น.ส.พฤกษชาติ พฤกษากร
ม.4/6 เลขที่19



คำนำ ก

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
ประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องอาณาจักร
สุโขทัยและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับ การ
เรียนในวิชานี้

ผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่
กำลังหาข้อมูลในเรื่องนี้อยู่หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาด
ประการใดผู้จัดทำข้อน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ผู้จัดทำ
10 ก.ย. 64



สารบัญ ข

เรื่อง หน้า

คำนำ ก
สารบัญ ข
พัฒนาการทางด้านการเมือง 1
การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย 2
การสืบสันตติวงศ์ 8
กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 11
การเสื่อมของอาณาจักร 13
แหล่งอ้างอิง
17



พัฒนาการทางด้านการเมือง 1

เดิมทีสุโขทัยเป็นสถานีการค้าของแคว้นละโว้
ของอาณาจักรขอม อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยม-น่าน
โดยมีการกล่าวถึงในจารึกวัดศรีชุมว่ามีการ
ปกครองก่อนโดยพ่อขุนศรีนาวนำถุม

พ่อขุนนาวนำถุม

ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุมสวรรคต ขอมสบัดโขลญลำพง ซึ่ง
เป็นขุนจากละโว้เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองทั้งหมด ส่งผล
ให้พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมือง
บางยาง ทั้งคู่ตัดสินพระทัยจะยึดดินแดนคืนและสถาปนาเอกราช
ให้กรุงสุโขทัยขึ้นเป็นรัฐอิสระโดยไม่ขึ้นตรงกับรัฐใด

ต่อมาพ่อขุนผาเมืองได้ยกเมืองสุโขทัยให้กับ
พ่อขุนบางกลางหาว โดยมีแนวคิดดังนี้

1.พ่อขุนทั้งสองมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ
2.พ่อขุนบางกลางหาวรวบรวมเมืองสำคัญที่

รายล้อมสุโขทัยได้มากกว่า
3.พ่อขุนผาเมืองพอใจกับการปกครองเมืองเดิม

2 การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยก่อตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ.๑๗๙๒ โดย
พ่อขุนศรีอิทราทิตย์ สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับชนชาติ
ไทยโดยขยายเขตการปกครองออกไปอย่างกว้างขวาง

ลักษณะการปกครอง

แบ่งเป็น2ระยะ พ่อขุนศรีอิทราทิตย์

1.สมัยสุโขทัยตอนต้น

เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จนถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง

2.สมัยสุโขทัยตอนปลาย

เริ่มตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปจนสุโขทัยหมดอำนาจ

สมัยสุโขทัยตอนต้น

มีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ กษัตริย์ปกครอง
ประชาชนในฐานะบิดาปกครองบุตร หรือที่เรียกว่าการปกครอง
แบบปิตุราชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบไทย ๆที่ถือว่า
ประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน

สมัยสุโขทัยตอนต้น 3

ลักษณะสำคัญ

1.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 2.พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ไว้

แขวนกระดิ่งไว้ที่ประตูวังให้ กลางดงตาล ในวันพระจะ

ประชาชนที่เดือดร้อนมาร้อง นิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์และยัง

ทุกข์ เพื่อให้เกิดความสงบสุข อบรมสั่งสอนราษฎรให้รู้บาป

แก่ราษฎร บุญ คุณ โทษ

3.มีรูปแบบการปกครอง 4.กษัตริย์มีความใกล้ชิดกับ
แบบราชาธิปไตย คือกษัตริย์ ประชาชนเสมือนบิดากับบุตร มี
มีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด พระนามนำหน้าว่า พ่อขุน

4

สมัยสุโขทัยตอนต้น

ลักษณะสำคัญ

5.ลักษณะการปกครองลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ

-ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็นชั้นๆซึ่งอยู่ในความดูแลของ
พ่อบ้าน ผู้อยู่ภายใต้การปกรองคือ ลูกบ้าน
-หลายบ้านรวมกันเป็น เมืองผู้ปกครองเรียกว่าพ่อขุน
-เมืองหลายเมืองรวมกันเป็นอาณาจักรอยู่ในการปกครองของพ่อขุน

6.พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหาร
บ้านเมือง

7.มีการปกครองแบบทหารแอบแฝง เนื่องจากในระยะแรก
สุโขทัยเป็นอาณาจักรเล็ก ทุกคนจึงมีหน้าที่ในการป้องกัน
ประเทศเท่ากัน โดยกำหนดว่าเวลาปกติ ประชาชนต่างทำมา
หากินแต่เวลาเกิดศึกสงคราม ผู้ชายทุกคนต้องเป็นทหาร โดยมี

พระมหากษัตริย์เป็นจอมทัพ

สมัยสุโขทัยตอนปลาย 5

การปกครองแบบพ่อปกครองลูกเสื่อมลงเพราะสถาบัน
พระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงพระมหาธรรมราชาที่๑ ทรงตระหนักถึง
ความไม่มั่นคงภายในจึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย โดยทรง
ทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาพอดีกับที่ต่อมาสุโขทัยได้รับ
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์จากนครพันและ
นครศรีธรรมราชทำให้รับแนวคิด”ธรรมราชา”มาใช้ในการ
ปกครองเรียกโดยกษัตริย์ว่า"พระมหาธรรมราชา"โดยกษัตริย์
ทรงปกครองตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาคือหลักทศพิธราช
ธรรมและเริ่มมีการและเริ่มมีการนำราชาศัพท์มาใช้ในราชสำนัก
แสดงให้เห็นคติในการปกครองที่กษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพตาม
ความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอีกด้วยการปกครองแบบ
ธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนกระทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

6 สมัยสุโขทัยตอนปลาย

การแบ่งเขตการปกครอง

1.เมืองราชธานี 2.เมืองหน้าด่าน

เป็นศูนย์กลางการปกครอง เป็นเมืองที่บรรดาลูกหลวงออกไป

เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาและ ปกครองทำหน้าที่เป็นเมืองหน้า

วัฒนธรรม มีพระมหากษัตริย์ ด่าน สะสมเสบียงอาหารและกำลัง

เป็นผู้ปกครอง มีสุโขทัยเป็น คนตั้งอยู่รายล้อมราชธานีทั้ง4ทิศ

ราชธานีแต่บางช่วงย้ายเมือง ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดิน

หลวงไปที่เมืองสองแคว เท้า2วัน

เมืองหน้าด่าน

ทางเหนือ

-เมืองศรีสัชนาลัย(สุโขทัย)

ทางใต้

-เมืองสระหลวง(พิจิตร)

3.เมืองพระยามหานคร ทางตะวันออก
-เมืองสองแคว(พิษณุโลก)
ตั้งอยู่ห่างจากเมืองลูกหลวง ทิศตะวันตก
ออกไปกษัตริย์ทรงแต่งตั้ง -เมืองชากังราว(กำแพงเพชร)

ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปปกครองดูแลหรือเป็นเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิม

เมืองพระยามหานครมีอำนาจปกครองตนเองแต่ขึ้นตรงต่อสุโขทัย

เช่น เมืองเชียงทอง(ตาก)

สมัยสุโขทัยตอนปลาย 7

การแบ่งเขตการปกครอง

4.เมืองประเทศราช

ได้แก่เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นชาวต่างชาติให้เจ้านาย
พื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันเองโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการ
ปกครองภายใน(ยกเว้นกรณีจำเป็น) ช่วงปกติเมืองประเทศราชต้องส่ง
เครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุกๆ3ปี ยาม
สงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมาช่วย

เขตการปกครอง

เมืองประเทศราช

ทิศเหนือ-เมืองแพร่ เมืองน่าน
ทิศตะวันตก-เมืองทวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-เมืองเซ่า เมืองเวียงจันทน์
ทิศใต้-เมืองมะละกา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองยะโฮร์

8 การสืบสันตติวงศ์

ราชวงศ์พระร่วงมีพระมหากษัตริย์ทั้งหมด9พระองค์

กมรเตง 1.พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
-พ.ศ.1792-ไม่ปรากฏ
เป็นภาษาขอม -มีพระนามเดิมทั้งหมด10พระนาม คือ บาง
แปลว่า ผู้ยิ่งใหญ่ กลางหาว พ่อขุนบางกลางหาว พ่อขุนศรีอิน
ทราทิตย์ พระร่วง พระอินทราชา อรุณราช
ไสยรังคราช ไสยนรงคราช รังคราช และโรจน
ราช
-มีพระนามเต็มว่า
"กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์"

พ่อขุนบานเมือง
-ไม่ปรากฏ-พ.ศ.1822
-มีอีกพระนามหนึ่ง คือ พญาผาเมืองและ
กมรเตงอัญผาเมือง
-เป็นเจ้าเมืองราด
-มีน้องสาวชื่อ"นางเสือง"
-เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุม

การสืบสันตติวงศ์ 9

พ่อขุนรามคำแหง

-พ.ศ.1822-1841

-มีอีกพระนามหนึ่งว่า"พญา

ร่วง"และ"กมรเตงอัญศรีรามราช"

-เป็นกษัตริย์องค์แรกของไทยที่ได้รับ

การยกย่องเป็นมหาราช




พระยาเลอไทย พระยางั่วนำถุม

-พ.ศ.1842-1866 -พ.ศ.1866-1890

-พระราชโอรสของพ่อขุน -เป็นพระราชโอรสของพ่อขุน
รามคำแหง บานเมือง
-ชื่อมีความหมายว่า"ผู้อยู่เหนือ - คำว่า"งั่ว"เป็นคำนำหน้าที่
หมู่พวกไท" แสดงว่าเป็นบุตรชายคนที่5 คำ

พระมหาธรรมราชที่1(ลิไทย) ว่า"นำถุม" แปลว่าน้ำท่วม

-พ.ศ.19890-1911

-เป็นพระราชโอรสของพระยาลิไทย

และพระราชนัดดาของพ่อขุน

รามคำแหง

10 การสืบสันตติวงศ์

พระมหาธรรมราชาที่2

-พ.ศ.1911-1942
-มีอีกพระนามหนึ่งว่า"สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช"
-เป็นพระราชโอรส ใน พระมหาธรรมราชาที่1กับ สมเด็จพระราช
ชนนีศรีธรรมราชมาดา
- พระอัครมเหสีของพระองค์คือ สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬา
ลักษณ์

พระมหาธรรมราชาที่ 3

-พ.ศ.1943-1962
-มีอีกพระนามหนึ่งว่า"พญาไสลือไทย"
- เป็นพระราชโอรสใน พระมหาธรรมราชาที่ 2 และเป็นพระ
เชษฐาใน พระมหาธรรมราชาที่ 4

พระมหาธรร
มราชาที่ 4

- พ.ศ.1962-1981
- เป็นพระราชโอรสใน พระมหาธรรมราชา กับ แม่นางษาขา
- เป็นพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์พระร่วง
- มีอีกพระนามหนึ่งคือ"บรมปาล"และ"พระยาบาลเมือง"

11

กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

สังคมสุโขทัยเป็นสังคมที่มีระเบียบแบบแผน แบบแผน
เหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับมาพร้อมกับพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เมื่อ
พระพุทธศาสนาแพร่เข่ามานั้น ได้พาลัทธิความเชื่อตามแบบ
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเข้ามาด้วย ซึ่งนอกจากพิธีกรรมต่างๆ
แล้วยังมีศาสตร์ในสาขาต่างๆมีกฎหมายและกระบวนการ
พิจารณาคดีที่จำเป็นแก่กาลสมัย เช่น

กฎหมายอาญาว่าด้วยลักษณะโจร
บัญญัติเกี่ยวกับการลักทรัพย์
การลักพาและการฆ่าสัตว์

กฎหมายแพ่งว่าด้วยครอบครัวมรดก

บัญญัติว่าทรัพย์สินของผู้ใด เมื่อถึงแก่กรรมไปแล้ว
ย่อมตกแก่ลูกหลาน ดังข้อความในจารึกว่า

.......ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้วล้มตายหายกว่า เหย้า
เรือนพ่อเชื้อเสื้อดำมัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้า
ข้าไท ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมันไว้แก่ลูกมันสิ้น.........

12 กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ

บัญญัติให้มีตุลาการ พิจารณาอรรถคดีโดยธรรม ห้ามมิให้รับ
สินบนเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ดังข้อความในจารึกว่า

..........ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิดแลผิดแผกแสกว้างกวัน สวน
ดูแท้แล จึ่งแล่งความแก่ขาด้วยชื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็น

ข้าวทำนบใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด..........



กฎหมายว่าด้วยการถวายฎีกา

บัญญัติว่าผู้ใดต้องการถวายฎีกาแต่พระมหากษัตริย์ก็สามารถ
ทำได้โดยไปสั่นกระดิ่งที่ประตูพระราชวัง พระมหากษัตริย์จะ

ทรงรับฎีกาและตัดสินคดีด้วยพระองค์เอง
ดังข้อความในจารึกว่า

...........ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้นั้น ไพร่ฟ้าหน้า
ปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ มักจัก
กล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุน
รามคำแหงเจ้าเมืองได้ยิน เรียกมือถาม สวนความแก่มั้นด้วย

ชื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม..............

การเสื่อมของอาณาจักร 13

นับตั้งแต่สิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรสุโขทัยเริ่ม
อ่อนแอ พระมหาธรรมราชา ที่ 1 (พญาลิไท) ทรงใช้พระพุทธ
ศาสนาเป็นเครื่องมือช่วยเสริมสร้างเพื่อให้อาณาจักรสุโขทัยมี
ความมั่นคงขึ้นบ้าง ระยะต่อมาสถานการณ์ทรุดหนักลง เป็นเหตุ
ทำให้อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมสิ้นสุดลงโดยถูกรวมเข้ากับ
อาณาจักรอยุธยา ด้วยสาเหตุสำคัญดังนี้

1. ข้อเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ

อาณาจักรสุโขทัยมีที่ตั้งอยู่ห่างจากทะเลมาก ทำให้ไม่มีเมืองท่า
เป็นของตนเอง และไม่สามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
โดยตรงได้ ต้องอาศัยผ่านเมืองมอญ และไปทางใต้ทางเมือง
เพชรบุรี และนครศรีธรรมราช นอกจากนั้นอาณาจักรสุโขทัย ยังถูก
อาณาจักรอยุธยาปิดกั้น โดยสิ้นเชิงด้วยการให้เมืองเหล่านั้น
ประกาศเอกราชหรือถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยา ทำให้เศรษฐกิจ
สุโขทัยทรุดโทรม ขาดรายได้ทั้งการค้ากับต่างประเทศ และการค้า
ระหว่างเมืองต่างๆ เมื่อเศรษฐกิจทรุดโทรมย่อมนำมาซึ่งความ

เสื่อมโทรมทางการปกครองด้วย

14 การเสื่อมของอาณาจักร

2. ความแตกแยกทางการเมือง
อันเป็นปัญหาสืบเนื่องจากการขาดความสามัคคีภายใน

อาณาจักรมีการแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างเจ้านาย
ภายในราชวงศ์สุโขทัยด้วยกันเอง ประกอบกับแนว
ความคิดการปกครองจากพ่อปกครองลูกได้แปรเปลี่ยน
เป็นธรรมราชา เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางการเมือง
นอกจากนั้นวัฒนธรรมอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพล ทำให้
เกิดความห่างเหินมีมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นแยกกันอยู่
คนละส่วน อำนาจในการตัดสินเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นอยู่

กับพระมหากษัตริย์เพียงผู้เดียว

การเสื่อมของอาณาจักร 15

3. การปกครองแบบกระจายอำนาจ

อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจอย่างรวดเร็ว มาจากจุด
อ่อนรูปแบบการปกครองที่มีโครงสร้างค่อนข้างเป็นการ
กระจายอำนาจที่หละหลวม เจ้าเมืองต่างๆ มีอำนาจใน
การบริหารและการควบคุมกำลังคนภายในเมืองของตน
เกือบจะเต็มที่ ราชธานีไม่สามารถควบคุมหัวเมืองได้
อย่างรัดกุม จึงเปิดโอกาสให้หัวเมืองเหล่านั้นแยกตัวเป็น

อิสระได้โดยง่าย

16 การเสื่อมของอาณาจักร

4. ปัญหาทางการเมืองภายนอก

อาณาจักรอยุธยาได้เข้ามารุกรานชายแดนสุโขทัยหลายครั้ง
จนถึงสมัยของ พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งอาณาจักร
สุโขทัย ต้องออกมาอ่อนน้อมยินยอมเป็นเมืองประเทศราศ
ของอาณาจักรอยุธยา เมื่ออาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมือง
ประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา พระมหากษัตริย์ของ
อาณาจักรสุโขทัย เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว จนถึง
ปีพ.ศ.1962 พระมหาธรรมราชาที่ 3 เสด็จสวรรคตที่เมือง

สองแคว ได้เกิดจราจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่าง พญาบาน
เมืองกับพญารามคำแหง โดยสมเด็จพระนครินทราธิราช
แห่งอาณาจักรอยุธยา ได้เสด็จขึ้นมาระงับเหตุการณ์ ทั้ง

สองพระองค์ต้องออกมาถวายบังคม จึงโปรดเกล้าฯ
ให้พญาบานเมืองเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองเมือง
สองแคว เมื่อสิ้นรัชกาลนี้แล้วไม่ปรากฏผู้จะปกครองต่อไป
อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองหลวงอยู่ที่ เมืองสองแคว จึงรวมเข้า
กับอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1981 โดยมีสมเด็จพระราเม
ศวร (พระบรมไตรโลกนาถ) ขึ้นมาปกครองดูแล อาณาจักร

สุโขทัยจึงนับว่าได้สิ้นสุดลง

แหล่งอ้างอิง 17

https://bit.ly/3ClVu5B
https://bit.ly/3tP2R2q
https://bit.ly/39fIy4P
https://bit.ly/3Er69hj


Click to View FlipBook Version