ก า ร นั บ เ ว ล า
เเบบไทย
ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย
คำนำ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การนับเวลาเเบบไทย เป็นส่วนหนึ่งของ
การส่งเสริมความรู้ สติปัญญา เเละความรู้เพิ่มเติม หลักการเเนวคิด
เกี่ยวกับเรื่องเวลาซึ่งปะวัติศาสตร์ให้ความสำคัญกับช่วงเวลาเนื่องจาก
เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมทีความเปลี่ยนเเปลงเเละจะมีผลต่อ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภายหลัง คุณค่าสำคัญของประวัติศาสตร์คือ
การสร้างความตระหนักว่าอดีตเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับปัจจุบันเเละ
อนาคต ดังนั้นผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ต้องมีความรู้พื้นฐานใดเกิดก่อน
เเละเกิดหลังซึ่งจะช่วยให้ทำความเข้าใจเรื่องประวัติศาตร์ได้ดีขึ้น
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัด
ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทำ
ภควัต ชายภักตร์
วีรยา สังฆพรร
อรวี สุขสวัสดิ์
ออมพวรรณ จึ่งวัฒนกุล
อังคณา ชัยสังข์
การนับช่วงเวลาที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นการนับ
ช่วงเวลาแบบกว้าง ๆ ไม่ได้มีการระบุเจาะจงเวลาที่แน่นอน ต่อ
มาสามารถแบ่งการนับช่วงเวลาออกเป็น 2 แบบ คือ การรนับ
ช่วงเวลาแบบจันทรคติ และแบบสุริยคติ เป็นการนับช่วงเวลาที่
มีการระบุเจาะจงเวลา
1. การนับช่วงเวลาแบบจันทรคติ เป็นการนับช่วงเวลาโดยยึด
การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ซึ่งเมื่อดวงจันทร์รอบโลกทำให้
เกิดปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม วันทางจันทรคติจึงเรียกว่า วัน
ขึ้น วันแรม โดยดูจากลักษณะของดวงจันทร์
2. การนับช่วงเวลาแบบสุริยคติ เป็นการนับช่วงเวลาโดยยึดการ
โคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ซึ่งกินเวลาทั้งสิ้นประมาณ
365 วัน หรือ 1 ปี และใน 1 ปี มี 12 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน
มกราคมจนถึงเดือนธันวาคม การนับช่วงเวลาแบบสุริยคติ
เป็นการนับเวลาที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการนับเวลา
ที่นักเรียนใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
การนับเวลา
การนับเวลาในรอบวัน
วิธีการนับ
1.โมง ตีฆ้อง ในเวลากลางวันก้อนเที่ยงวัน
ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมง
เช้า ถึง ๕ โมงเช้า
ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน
ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง
ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า
2.ทุ่ม ตีกลอง 6 ชั่วโมงเเรกของคืน
ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่มถึง ๖ ทุ่ม
๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม
3.ตี ตีเหล็ก เวลากลางคืนหลังเที่ยงคืน
ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกา เรียกว่า ตี ๑ ถึง ตี ๖
ตี ๖ นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง
การนับเวลายามกลางคืน
เป็นการนับเวลาที่มาจากการเปลี่ยนเวรยามทุก 3ชั่วโมง
มี 4 ยาม ยามละ 3 ชั่วโมง
24.00
ยาม2 ยาม3
21.00 3.00
ยาม1 ยาม4
18.00
การบอกวัน เดือน ขึ้นเเรม
เป็นการนับวัน เดือน ปี เเบบจันทรคติ ประกอบด้วยเลข 3 ตำเเหน่ง
1. ตำเเหน่งที่ 1 (ทางซ้าย) วันมี 7 วัน 2. ตำเเหน่งที่ 2
1. วันอาทิตย์ ข้างขึ้น(บน) เขียนไว้
2. วันจันทร์ บนเครื่องหมาย ฯ
3. วันอังคาร ข้างเเรม(ล่าง) เขียน
4. วันพุธ ไว้ล่างเครื่องหมายฯ
5. วันพฤหัสบดี มีตั้งเเต่ 1-15
6. วันศุกร์
7. วันเสาร์
3. ตำเเหน่งที่ 3 (ทางขวา) เดือนทางจันทรคติมีตั้งเเต่ 1-12
1. เดือนอ้าย 7. เดือนเจ็ด
2. เดือนยี่ 8. เดือนเเปด
3. เดือนสาม 9. เดือนเก้า
4. เดือนสี่ 10. เดือนสิบ
5. เดือนห้า 11. เดือนสิบเอ็ด
6. เดือนหก 12. เดือนสิบสอง
ตัวอย่าง
วันอาทิตย์ เดือนหก ขึ้น 15 ค่ำ
การนับปีนักษัตร
การนับเวลาและการเปรียบเทียบศักราช
พุทธศักราช (พ.ศ.)
เป็นการนับเวลาทางศักราชในกลุ่มผู้นับถือพระพุทธศาสนา โดยเริ่มนับตั้งแต่
พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ให้นับเป็นพุทธศักราชที่1 ทั้ง นี้ประเทศไทยจะ
นิยมใช้การนับเวลาแบบนี้ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จน
มาเป็นที่แพร่หลายและระบุใช้กันอย่างเป็นทางการในสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ในปีพุทธศักราช 2455
มหาศักราช (ม.ศ.) การ นับศักราชนี้จะพบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัย
สุโขทัย และอยุธยาตอนต้นโดยคิดขึ้นจากกษัตริย์ของอินเดีย (พระเจ้ากนิษกะ) ซึ่ง
พ่อค้าอินเดียและพวกพราหมณ์นำเข้ามาเผยแพร่ในเวลาติดต่อการค้ากับไทยใน สมัย
โบราณ จะมีปรากฎในศิลาจาลึกเพื่อบันทึกเรื่องราวเหตุกาณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่า
ปีมหาศักราชที่ 1 จะตรงกับปีพุทธศักราช 621
จุลศักราช (จ.ศ.)
จัดตั้งขึ้นโดยสังฆราชมนุโสรหัน แห่งอาณาจักรพุกาม เมื่อปีพุทธศักราช 1181 โดย
ไทยรับเอาวิธ๊การนับเวลานี้มาใช้ในสมัยอยุธยา เพื่อการคำนวณทาง โหราศาสตร์ ใช้
บอกเวลาในจารึก ตำนาน พระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ ต่างๆ จนมาถึงสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5) จึงเลิกใช้
รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ) การนับเวลาแบบนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่5) ทรงตั้งขึ้น
ในปีพุทธศักราช 2432 โดยกำหนดให้กำหนดให้นับปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทะยอด
ฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีพุทธศักราช 2325 เป็น
รัตนโกสินทร์ศกที่ 1 และให้เริ่มใช้ศักราชนี้ในทางราชการตั้งแต่วันที่1 เมษายน
ร.ศ.108 (พ.ศ.2432) เป็นต้นมา
การเปรียบเทียบศักราช
บ
รรณานุกรม
https://cdn.pixabay.com
https://www.sanook.com
http://legacy.orst.go.th/?knowledges
http://legacy.orst.go.th/?knowledges
https://www.blockdit.com
สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2565