The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการจำหน่ายผู้ป่วย D-METHOD

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by plaleela, 2021-09-24 08:56:16

แผนการจำหน่ายผู้ป่วย D-METHOD

แผนการจำหน่ายผู้ป่วย D-METHOD

วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ

แผนการจำหน่าย
ผู้ป่วย D-METHOD

โรคกล้ามเนื้ อหัวใจตายเฉียบพลันที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ( NSTMI c CHF)

เสนอ นำเสนอโดย

น.ท.หญิง สินีนุช ศิริวงศ์ นพร. ลีลาวดี พันธุ
น.ท.หญิง อภิญญา รอดรักษ์ นพร. วรัชญา ปานพิมพ์ใหญ่

นพร. วันวิสา อุดถา

แผนการจำหน่ายผู้ป่วย NSTMI c CHF

D iagnosis ๅ

กกลล้้าามมเเนนืื้้ออหหััววใใจจตตาายย//ขขาาดดเเลลืืออดด ((MMyyooccaarrddiiaall iinnffaarrccttiioonn))

โรค

คือภาวะที่หัวใจขาดเลือดและออกซิเจนที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นจนทำให้
กล้ามเนื้อที่หัวใจเสื่อมสภาพและตายลง
- STEMI (ST-segment elevation myocardial) จัดเป็นประเภทที่รุนแรงที่สุด
- NSTEMI กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดเพียงส่วนหนึ่ง

สาเหตุ

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด
หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, ภาวะหลอดเลือดหัวใจหดตัวอย่างรุนแรง (Coronary Artery
Spasm) และภาวะขาดออกซิเจนในเลือด (Hypoxia)

ปัจจัยเสี่ยง

ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลัง
กาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูง ทานอาหารไม่เหมาะสม
และดื่มแอลกอฮอล์มากเกิน เป็นต้น

อาการ

เจ็บอกหรือแน่นหน้าอก ซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง
คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้าย
บางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น
ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ เหงื่อแตก รู้สึกล้า หรือ
หมดสติ

แผนการจำหน่ายผู้ป่วย NSTMI c CHF

Diagnosis 2

ภภาาววะะหหััววใใจจลล้้มมเเหหลลวว ((CCoonnggeessttiivvee HHeeaarrtt FFaaiilluurree))

โรค

เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ
จนส่งผลให้อวัยวะต่างเกิดการขาดออกซิเจน และหัวใจซึ่งทำหน้าที่เหมือนปั๊ มน้ำ เพื่อส่งเลือด
ออกจากห้องหัวใจ เมื่อหัวใจมีความบกพร่องในการสูบฉีดเลือด จะส่งผลให้เกิดภาวะคั่งของ
เลือดหรือน้ำในห้องหัวใจตามมา จนเกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด

สาเหตุ

สาเหตุจากโรคอื่นได้หลายชนิด แต่สาเหตุอันดับหนึ่งเกิดจากผลแทรกซ้อนของ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีสาเหตุอื่นอีก เช่น ไข้หวัดหรือเชื้อ
ไวรัสบางชนิด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภท การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
หรือการที่เคยได้รับเคมีบำบัดหรือการฉายแสงมาก่อน เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยง

- ผู้ที่มีภาวะอ้วน
- มีพฤติกรรมสูบบุหรี่เป็นประจำ
- ขาดการออกกำลังกาย และพักผ่อนไม่เพียงพอ
- มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น

อาการ

เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หน้ามืด ไตวาย ซึ่งเป็นผลจาก
อวัยวะสำคัญขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอาการเหนื่อยจาก
ภาวะน้ำท่วมปอด นอนราบไม่ได้ หน้าบวม ขาบวม ซึ่งเกิด
จากที่มีน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย

แผนการจำหน่ายผู้ป่วย NSTMI c CHF

Medicine 3

วิธีรับประทานยา

- ยาก่อนอาหาร ควรทานในช่วงที่ท้องว่าง ยังไม่ได้ทานอาหาร ซึ่งก็คือก่อนทานอาหารอย่างน้อย
30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ดี
- ยาหลังอาหาร ควรทานหลังอาหารไม่เกิน 15-30 นาที
- ยาหลังอาหารทันที ควรทานหลังอาหารทันที เนื่องจากยามีผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ระคายเคือง
ต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน การทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะ
ช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
- ยาก่อนนอน ให้ทานยาในช่วงก่อนเข้านอนตอนกลางคืนประมาณ 15-30 นาที
- ยารับประทานเวลามีอาการ ควรทานเมื่อมีอาการ หากไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องทานยา ยาใน
กลุ่มนี้ มักระบุในฉลากว่ารับประทานทุกกี่ชั่วโมงเวลามีอาการ เช่น ทุก 8 ชั่วโมง หรือทุก 12
ชั่วโมง เวลามีอาการ เป็นต้น เมื่อมีอาการสามารถทานยาได้เลย ไม่ต้องคำนึงถึงมื้ออาหาร
เนื่องจากไม่ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หลังทานยาแล้วถ้ายังมีอาการอยู่สามารถทานยาซ้ำได้
ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ เมื่อหายแล้วสามารถหยุดยาได้เลย

- หลีกเลี่ยงการทานยากับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือ
คาเฟอีน เช่น เหล้า ไวน์ เบียร์ ชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม ควรรทานยา
พร้อมกับน้ำเปล่าที่สะอาดและไม่ควรเป็นน้ำอุ่น
- ควรทานยาตามที่แพทย์สั่งเป็นประจำ สม่ำเสมอ ไม่ปรับเพิ่มหรือลดยา
เองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
- ควรมาพบแพทย์ตามเวลานัด เพื่อติดตามผลการรักษา ปัญหาการใช้
ยาหรือปัญหาข้างเคียงต่างๆที่อาจเกิดได้จากการทานยา

ASA(5mg) ทานวันละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า (เฉพาะจันทร์-เสาร์)

สรรพคุณ : ต้านการแข็งตัวของเลือด มีผลทำให้เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ จึงช่วย
ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในระบบไหลเวียนของเลือดของร่างกาย
ผลข้างเคียง : จ้ำเลือดบริเวณผิวหนัง เลือดกำเดาไหล ไอเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระ/
ปัสสาวะมีเลือดปน แน่นหน้าอกหายใจลำบาก ขาบวมร่วมกับมีอาการปวด ปวดศีรษะ
อย่างรุนแรง ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
ข้อควรปฏิบัติ : ควรพกบัตรที่ระบุว่ามีการใช้ยาวาฟาริน, ควรแจ้งแพทย์ก่อนผ่าตัดและ
ก่อนทำฟันทุกครั้ง, ควรระวังการเกิดอุบัติเหตุ และมาตรวจเลือดตามแพทย์นัด

แผนการจำหน่ายผู้ป่วย NSTMI c CHF

Medicine 4

Metformin(500mg) ทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 เม็ด หลังอาหารเช้าเย็น

Glipizide(5mg)ทานวันละ 1 ครั้งครั้งละ 1 เม็ดครึ่งหลังอาหารเย็น

สรรพคุณ : ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน มีคุณสมบัติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ผลข้างเคียง : อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำผิดปกติได้ อาจมีอาการหน้ามืด เหงื่อออก รู้สึกหิว คลื่นไส้ ปวดหัว
มือสั่น ใจสั่น

Atorvastatin(40mg) ทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอน
สรรพคุณ : รักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูง ,ผลข้างเคียง : ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

Isordil(5mg) ทานครั้งละ 1 เม็ดเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก

สรรพคุณ : ใช้รักษาอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

Ticagrelor (90mg) ทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้าเย็น

สรรพคุณ : ใช้ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด
ผลข้างเคียง : อาจพบได้น้อย เช่น ปวดหลัง ไอ ท้องเสีย หน้าอกบวมหรือเจ็บหน้าอก

Carvedilol (12.5mg) ทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า

สรรพคุณ : รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวและลดความดันโลหิต
ผลข้างเคียง : ทั่วไปที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ อ่อนเพลีย หน้ามืด ตาแห้ง ท้องเสีย น้ำหนักขึ้น

Enalapril (5mg) ทานวันละครั้ง 1 ครั้งละครึ่งเม็ด หลังอาหารเช้า
สรรพคุณ : รักษาความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลว
ผลข้างเคียง : พบบ่อย ได้แก่ มึนงงหรือหน้ามืด รู้สึกเหนื่อย ไอ

Lasix 20 mg ทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละครึ่งเม็ด หลังอาหารเย็น

สรรพคุณ : ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำ , ผลข้างเคียง : อาจเกิดขึ้นได้น้อยกับผู้ป่วย

Senokot ทานวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 เม็ด ก่อนนอน
สรรพคุณ : ใช้เป็นยาระบาย (ยาแก้ท้องผูก)
ผลข้างเคียง : การใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานานและใช้ในขนาดสูงจะทำให้มีอาการปวด
ท้องหรือถ่ายท้องรุนแรงจนเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ได้

แผนการจำหน่ายผู้ป่วย NSTMI c CHF

Envirionment 5
การจัดสิ่งแวดล้อม

บันได ห้องนอน

มีราวบันได จัดวางในตำแหน่งที่
แสงสว่างให้เพียงพอ เข้า-ออกง่าย
ไม่มีสิ่งกีดขวาง
อากาศถ่ายเทสะดวก
สะอาด

ภายในบ้าน ห้องน้ำ อุปกรณ์

พื้นไม่ควรขัดมัน พื้นแห้งไม่มีน้ำขังมี อยู่ในตำแหน่งที่หยิบจับง่าย
เพราะอาจลื่นล้ม ราวจับที่แข็งแรง น้ำหนักเบา ไม่แตกง่าย
อากาศถ่ายเทสะดวก สะอาด
แสงสว่างให้เพียงพอ แสงสว่างเพียงพอ
อากาศถ่ายเท โถส้วมแบบโถนั่ง

แผนการจำหน่ายผู้ป่วย NSTMI c CHF

Treatment 6

การสังเกตและเฝ้าระวังตน

1. อาการเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนถูกบีบรัด หรือกดทับ
2. อาการเจ็บหน้าอกที่ร้าวไปกราม สะบักหลัง แขนซ้าย หัวไหล่
3. อาการอื่นๆร่วม เช่น เหงื่อแตก ใจสั่น คลื่นไส้ จะเป็นลม หน้าซีด
4. อาการใจสั่น หรือเหนื่อยผิดปกติ

ใจสั่น เหงื่อแตก

เจ็บหน้าอก

ร้าวไปแขนซ้าย เป็นลม

แผนการจำหน่ายผู้ป่วย NSTMI c CHF

Health 7

คือ การส่งเสริม ฟื้ นฟู สภาพทางร่างกายและจิตใจ

ตลอดจนการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

การออกกำลังกาย

ชนิดของการออกกำลังกาย ความหนักของการออกกำลังกาย

ควรเป็นกิจกรรมที่สนใจ มีความ ต้องไม่รุนแรงเหมาะสมกับสุขภาพ
สนุกสนานและไม่ก่อให้เกิดการบาด โดยทั่วไปควรออกกำลังกาย
เจ็บ ได้แก่ การบริหารร่างกายทั่วไป ให้ได้ ร้อยละ 60 ของอัตราการเต้น
ของหัวใจสูงสุดของอายุนั้นๆ
การเดิน การรำไทเก๊ก เป็นต้น

30 -60 นาที อาจแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ระยะเวลา ความถี่ของการออกกำลังกาย

อบอุ่นร่างกาย 5-10 นาที ยืดกล้ามเนื้อ ลดการบาดเจ็บของ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และสามารถเพิ่มขึ้นได้
ถึง 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือวันเว้นวัน
กระดูก เนื้อเยื่อ
ให้ความรู้ญาติ
ออกกำลัง ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 12 นาที
โรคและการดําเนินของโรค
ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย 5-10 นาทีเพราะ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อ
หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
เป็นช่วงเวลาที่ระบบต่างๆในร่างกายปรับเข้าสู่ภาวะปกติ การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ
อาการและอาการแสดง
คำแนะนำการออกกำลังกายที่บ้าน วิธีแก้ไขในภาวะฉุกเฉิน

คือ การเดิน โดยพยายามเดินให้ครบตามเวลาที่กำหนด
โดยต้องมีการอบอุ่นร่างกาย โดยการบริหาร แขน ขา ลำตัว
(Calisthenics exercise) ทำช้าๆ อย่างต่อเนื่อง โดยพยายาม
อย่าเกร็งค้าง โดยทำท่าละ 10 ครั้ง คำแนะนำ ดังนี้

1. อย่าหยุดเดินเร็วทันที เนื่องจากการไหลเวียนกลับของโลหิต
น้อยลง ควรให้เดินต่อไปช้าๆหรืออย่างน้อย แกว่งแขน ย่ำเท้า
อยู่กับที่อีกอย่างน้อย 2-3 นาที
2. หากผู้ป่วยจับชีพจรเป็นหลังการเดินครบกำหนดให้จับชีพจร
ทันที
3. ระหว่างหรือหลังการเดินออกกำลังกายถ้ามีอาการเจ็บแน่น
หน้าอก ให้หยุดพักทันทีถ้าภายใน 5 นาที อาการแน่นไม่หาย
หากมียาอมใต้สิ้นเพื่อขยายเส้นเลือดหัวใจให้ใช้ทันที
4. ไม่ควรออกกำลังกายก่อนอาหารหรือหลังอาหารทันที ควร
ออกกำลังกายก่อนหรือหลังอาหารเกิน 1 ชั่วโมง

Out patient แผนการจำหน่ายผู้ป่วย NSTMI c CHF

8

แนะนำมาตรวจตามนัด

ก่อนกลับจะได้บัตรนัด ผู้ป่วยควรมาตรวจตามวันเวลาที่
กำหนด เพื่อประเมินอาการและรับยากลับบ้าน
หากไม่สามารถมาตามนัดได้ ให้โทร.แจ้งก่อนวันนัดตาม
เบอร์ในบัตรนัดตรวจ

ติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาล

การขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน

ให้ผู้ป่วยนังพัก อมยาใต้ลิ้น 1 เม็ด หากอาการยังไม่หายให้อมซํ้าได้ทีละเม็ด

โดยไม่เกิน 3 เม็ด ห่างกันทุก 5 นาที หากอาการไม่ทุเลารีบมาพบ แพทย์หรือ

โทร. 1669 เมื่อฉุกเฉิน

เช่น อาการเจ็บแน่นหน้าอกรุนแรง

อาการหอบเหนื่อยหรือหายใจลำบาก

อาการสั่นจากมีภาวะหัวใจเต้นเร็วและแรงผิดปกติ 1 669
อาการหน้ามืดหรือหมดสติ

Diet แผนการจำหน่ายผู้ป่วย NSTMI c CHF

ห่างไกล โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน 9

หลีกเลี่ยงอาหารมั
น รสหวาน รสเค็ม



เน้นผักใบเขียว เช่น อาหารรสเค็ม
บล้อคเคอรี่ เครื่องปรุงต่างๆ เช่น เกลือ
คะน้า ผงชูรส น้ำตาล
มะเขือเทศ
ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง อาหารกระป๋อง
ถั่วเขียว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ขิง ข่า ตะไคร้ อาหารแปรรูป เช่น
เนื้อแดดเดียว
กระเทียม ผลไม้แปรรูป
ของหมักดอง
เช่น
อะโวคาโด ชา ชานมไข่มุก
ชมพู่ กาแฟ
ส้มเขียวหวาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แอปเปิ้ ล น้ำหวาน
ฝรั่ง น้ำอัดลม
เบอรี่
มะละกอ

เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น อาหารรสหวาน
เนื้อปลา เนื้อหมูไม่ติด เค้ก ไอศครีม
มัน ขนมที่มีกะทิ
คุ้กกี้
ไข่ขาว ขนมปังที่ใส่ผงฟู
เต้าหู้ ขนมขบเคี้ยว
นมรสจืด ของทอด เช่น กล้วยทอด ไก่
โยเกิร์ตรส ทอด
ธรรมชาติ อาหารฟาสฟู้ด
เนื้อสัตว์ติดมัน

แผนการจำหน่ายผู้ป่วย NSTMI c CHF

10

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. (2561). งานคัดกรองศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช
กุมารี. http://med.swu.ac.th/msmc/screen/index.php/77-latest-news/150-2018-01-17-07-26-27

ขจรศักดิ์ เทพเสน. (2562, 19 สิงหาคม). ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) .Bangkokhospital
Phuket. https://www.phukethospital.com/th/healthy-articles/congestive-heart-failure/

ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช, รุ้งนภา ชัยรัตน และ วรพรรณ มหาศรานนท์. (2562). ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบ
สนับสนุนและให้ความรู้มีผลต่อการดูแลตนเองและ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด. พยาบาล
โรคหัวใจและทรวงอก, 30(1), 102-116. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/
article/download/200453/140842/

ดวงกมล วัตราดุลย์, เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และ นวรัตน์ สุทธิพงศ. (2560). การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับ
การรักษา โรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน: มุมมองของผู้ป่วยสูงอายุโรคหัวใจขาดเลือด และญาติผู้
ดูแล. พยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 28(1), 142-153. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/
journalthaicvtnurse/article/download/101628/78724/

ดวภัทรสิริ พจมานพงศ์. (2562). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพการฟื้ นฟูสมรรถภาพหัวใจผู้ป่วย สูงอายุ
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจในระยะ ผู้ป่วยนอก. TJPHS, 2(1), 63-72.
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/article/download/159814/130648/

พรชนก สายเชื้อ. (2561, 25 พฤษภาคม). ยาแอสไพริน ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง. RAMACHANNEL.
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ยาแอสไพริน-ช่วยป้องกันโ/

โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง. (ม.ป.ป.). สัญญาณเตือนโรคหัวใจขาดเลือด. https://www.thonburibam
rungmuang.com/index.phpnews/detail/131/สัญญาณเตือนโรคหัวใจขาดเลือด

วิธีรับประทานยา. (2561). คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ฝ่ายเภสัชกรรม.
https://med.mahidol.ac.th/ramapharmacy/th/howtotakemedicines

วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง. (2562, 11 พฤษภาคม). Praram 9 hospital.https://www.praram9.com/
วิธีการรับประทานยาที่ถ/

สันติ จันทวรรณ. (ม.ป.ป.). การจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน สำหรับผู้สูงอายุ. โรงพยาบาลมนารมย์.
https://www.manarom.com/blog/home_safety_tips_for_seniors.html


Click to View FlipBook Version