เรื่อง E-BOOK ภาษาท่าทางและภาษาท่านาฏศิลป์ จัดทำ โดย นางสาวภัทรทร์ ปวงสุข สำ หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำ นำ ชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิชา นาฏศิลป์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 จัดขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียน รู้ในรายวิชานาฏศิลป์ ผู้จัดทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็น ประโยชน์ต่อผู้เรียน หรือผู้มี ความสนใจ ศึกษาเรียนรู้ผ่าน ชุดการเรียนนี้ได้ ผู้จัดทำ นางสาวภัทรินทร์ ปวงสุข ผู้จัดทำ นางสาวภัทรินทร์ ปวงสุข
วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ 1.อธิบายความหมายของภาษาท่าหรือ ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยได้(K) 2.ปฏิบัติท่าทางหรือภาษาท่าทางนาฏศิลป์ ได้ (P) 3.สามารถทำ กิจกรรมและปฏิบัติภาษาท่า รำ ได้ (A)
ภาษาท่าทาง ความหมาย ภาษาท่าทาง เป็นรูปแบบของการสื่อสาร ที่ใช้แสดงออกทางสีหน้า ความรู้สึก การใช้ท่าทางในการสื่อสารแทนคำ พูด ช่วย เพิ่มความชัดเจนในการสื่อสารให้ดี มากขึ้นเมื่อนำ มาใช้กับการสื่อสารในการ ทำ งานจะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาของผู้พูด ได้ง่ายขึ้น เช่น การประชุม หรือ การนำ เสนอผลงาน
ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ ความหมาย ภาษาท่า เป็นการนําท่าทาง สีหน้าที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ เช่น คําพูด กริยาอาการ อารมณ์ ความรู้สึกมาปฏิบัติ เป็นท่าทาง นาฏศิลป์ไทยที่มีความหมายแทนคําพูด ให้สอดคล้องกับจังหวะเพลงและการขับร้อง การฝึกปฏิบัติ ภาษาท่าจะต้องฝึกให้ถูกต้อง ตามแบบแผนเพื่อจะได้สื่อความหมายได้ อย่างชัดเจน ทําให้ผู้ชมเข้าใจความหมายที่ ผู้ แสดงต้องการส่ือความหมายผ่านกระบวน ท่ารําได้มากขึ้น
ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ ที่มา 1 ภาษาท่าทางที่เกิดจากธรรมชาติ เป็นท่าทางที่ดัดแปลงมาจากท่าทางตามธรรมชาติ ของมนุษย์ แต่ปรับปรุงให้ดูสวยงามอ่อนช้อยมากยิ่งขึ้น โดยใช้ลักษณะการร่ายรําเบื้องต้นมาผสมผสาน เช่น ท่ายิ้ม ท่าเรียก ท่า ปฏิเสธ ท่าร้องไห้ ท่าดีใจ ท่าเสียใจ ท่าโกรธ แบ่งเป็น 2 ประเภท 2 ภาษาท่าที่มาจากการประดิษฐ์โดยตรง เป็นท่าทางที่ประดิษฐ์ ขึ้นเพื่อให้เพียงพอใช้กับคําร้องหรือ คํา บรรยาย ที่จะต้องแสดงออกเป็นท่ารํา เช่น สอดสร้อยมาลา เป็นต้น ภาษาท่าเป็นสิ่งสําคัญที่ใช้ความหมายระหว่าง ผู้ แสดงและผู้ชมในการแสดงนาฏศิลป์ เพราะทําให้ผู้ชมทราบ ว่าผู้แสดงกําลังสื่ออะไรหรือกําลังมีอารมณ์อย่างไร
ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ ประเภท ภาษาท่า ในชีวิตประจําวันทุกวันนี้มนุษย์เราใช้ท่าทาง ประกอบการพูดหรือบางครั้งมีการแสดงสี หน้า ความรู้สึก เพื่อเน้นความหมายด้วยในทางนาฏศิลป์ ภาษาท่าเสมือน เป็นภาษาพูด โดยไม่ต้องเปล่งเสียง ออกมาแต่อาศัยส่วน ประกอบอวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง โดย เลียนแบบท่าทางธรรมชาติ เพื่อให้ ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ การปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์แบ่งออกได้ ภาษาท่าใช้แทนคำ พูด ภาษาท่าใช้แทนกิริยาอาการ ภาษาท่าใช้แทนอารมณ์ภายใน
ภาษาท่าทางใช้แทนคำ พูด เป็นการทำ มือซ้ายตั้งวงหน้าแล้วพลิกข้อมือ เปลี่ยนเป็นจีบหันเข้าหาตัวระหว่างอกมือขวา เท้าสะเอว หรือจีบหลังก็ได้ ท่าตัวเรา มือขวาหรือมือซ้าย ตั้งปลายนิ้วขึ้น หันฝ่ามือ ออกนอกตัวระดับห่าง จากอกเล็กน้อย แขนงอ แล้วสั่นปลายนิ้ว ท่าพวกเรา ท่าปฏิเสธ กำ ปลายนิ้วรวมที่นิ้วหัวแม่มือ ยกลำ แขน ระดับอก ส่วนนิ้วชี้ตึงนิ้วม้วนเข้าหาลำ ตัวแล้ว ค่อย ๆ เคลื่อนนิ้วชี้กวาดไปข้างหน้า
ภาษาท่าทางแสดงกิริยาอาการ ตัวพระ :เท้าขวายืนเต็มเท้า เท้าซ้ายวางเหลื่อมห่างจากเท้าขวา จมูกเท้าซ้ายวางจรดพื้น เท้าซ้ายเปิดส้นเท้าเล็กน้อย มือขวาเท้าสะเอว มือซ้ายทอดลำ แขนตึง คว่ำ มือลงที่หน้าขา ตัวนาง :เท้าขวายืนเต็มเท้า เท้าซ้ายวางเหลื่อมเท้าขวา เชิดปลายเท้า ขึ้น ส้นเท้าซ้ายจะอยู่กึ่งกลางเท้าขวา งอเข่าเล็กน้อย มือขวาจีบระดับ หัวเข็มขัด มือซ้ายทอดลำ แขนตึงที่หน้าขา ท่ายืน
ภาษาท่าทางแสดงกิริยาอาการ ตัวพระ :เท้าขวายืนเต็มเท้า เท้าซ้ายวางเหลื่อมห่างจากเท้าขวา จมูกเท้าซ้ายวางจรดพื้น เท้าซ้ายเปิดส้นเท้าเล็กน้อย มือขวาเท้าสะเอว มือซ้ายทอดลำ แขนตึง คว่ำ มือลงที่หน้าขา ตัวนาง :เท้าขวายืนเต็มเท้า เท้าซ้ายวางเหลื่อมเท้าขวา เชิดปลายเท้า ขึ้น ส้นเท้าซ้ายจะอยู่กึ่งกลางเท้าขวา งอเข่าเล็กน้อย มือขวาจีบระดับ หัวเข็มขัด มือซ้ายทอดลำ แขนตึงที่หน้าขา ท่าเดิน
ภาษาท่าทางแสดงกิริยาอาการ ตัวพระ : นั่งพับเพียบราบกับพื้น หันเท้าไปด้านขวา เท้าซ้ายวาง ราบกับพื้นฝ่าเท้าแนบขาหน้าขาขวาเท้าขวาพับเชิดปลายนิ้ว มือขวา วางทาบหน้าขาขวา มือซ้ายเหยียดออกไปจรดเข่า ศีรษะเอียงข้างขวา ตัวนาง :นั่งพับเพียบราบกับพื้น พับขาไปด้านขวา เท้าขวาวางซ้อน เท้าซ้าย แต่ลดลงไปอยู่หลังเท้าซ้าย เชิดปลายเท้าทั้งสองข้าง ศีรษะ เอียงข้างขวา มือขวาวางชิดต้นขา มือซ้ายวางตรงเข่าขวา ท่านังพับเพียบ
ภาษาท่าทางแสดง ความรู้สึกภายใน ท่าดีใจ ยินดียิ้มแย้ม มือซ้ายกรีดจีบ ให้ปลายนิ้วอยู่ใกล้มุมปาก ท่ายิ้ม ท่าดีใจ
ภาษาท่าทางแสดงความรู้สึกภายใน ท่าเสียใจ ร้องไห้ มือซ้ายแตะระดับหน้าผาก แสดงถึงอาการเสียใจ แล้วกรีดนิ้วกลาง ที่ใต้ตาแสดงอาการเช็ดน้ำ ตา ท่าเสียใจ ร้องไห้
ภาษาท่าทางแสดงความรู้สึกภายใน มือซ้ายหันฝ่ามือชิดที่แก้ม เชิดปลายนิ้วขึ้นเล็กน้อย ศีรษะเอียงข้าง เดียวกับ มือที่แนบแก้ม ท่าเขินอาย
สรุป สรุปท้ายบท ภาษาท่ารำ ทางนาฏศิลป์ ภาษาท่ารำ ทางนาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการแสดงที่ใช้ในการ สื่อสาร การเคลื่อนไหวท่าทางตามแบบนาฏศิลป์ไทย ด้วยท่าทาง ลีลาเป็นภาษาพูดโดยที่ไม่ต้องเปล่งเสียงออกมาแต่อาศัยอวัยวะส่วน ต่างๆของร่างกายแสดงอารมณ์ความรู้สึกภายใน อาจใช้แทนคำ พูด เช่น แสดงท่า ฉัน เธอ ไป มา แสดงอารมณ์และความรู้สึก ภายใน เช่น ดีใจ เสียใจ รัก คิดถึง แสดงกิริยาอาการหรือ อิริยาบถต่าง ๆ เช่น นั่ง นอน ไหว้ แปลงกาย แสดงอาการสื่อ ความหมายโดยเฉพาะ เช่น ยิ่งใหญ่ กล้าหาญ เชื้อเชิญ และ ภาษาท่ารำ ทางนาฏศิลป์ที่แสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบถต่างๆ เช่น นั่ง นอน ยืน เดิน วิ่ง กระโดด ไหว้ ทั้งนี้เพื่อสื่อความหมาย โดยเฉพาะ ทำ ให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเกิดความ สนใจในนาฏศิลป์มากขึ้น
ขอบคุณค่ะ