The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

E-Book เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนอนุบาลโนนสะอาด ซึ่งอ้างอิงเนื้อหาตามหลัก สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1 ตัวชี้วัดที่ ว 2.1 ป.5/1, ว 2.1 ป.5/2, ว 2.1 ป.5/3 และ ว 2.1 ป.5/4

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thanyaphak.noon2209, 2022-04-09 00:59:19

การเปลี่ยนแปลงของสาร ของสารชั้น ป.5

E-Book เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนอนุบาลโนนสะอาด ซึ่งอ้างอิงเนื้อหาตามหลัก สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1 ตัวชี้วัดที่ ว 2.1 ป.5/1, ว 2.1 ป.5/2, ว 2.1 ป.5/3 และ ว 2.1 ป.5/4

Keywords: วิทย์ ป.5,การเปลี่ยนแปลงของสาร

พื้ น ฐ า น วิท ย า ศ า ส ต ร์

ชั้ น ป ร ะ ถ ม ศึ ก ษ า ปี ที่ 5

สารการเปลี่ยนแปลงของ
โ ด ย ธั ญ ภั ค ส า รี โ ท

คำนำ

E-Book เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร
ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประอบการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถม
ศึกษาปีที่5 โรงเรียนอนุบาลโนนสะอาด ซึ่งอ้างอิง
เนื้อหาตามหลัก สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้น
ฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช
2560) สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1
ตัวชี้วัดที่ ว 2.1 ป.5/1, ว 2.1 ป.5/2, ว 2.1 ป.5/3 และ ว
2.1 ป.5/4

ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า E-Book ฉบับนี้
จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ให้บรรลุวัตถุประสงค์การ
เรียนรู้ตามมาตรฐานตัวชี้วัด เเละเป็นประโยชน์ต่อผู้
ที่สนใจสื่อการสอน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร
หากมีความผิดพลาดประการ

ธัญภัค สารีโท
ผู้จัดทำ

ส า ร บั ญ

01 การเปลี่ยน
สถานะของสาร

การละลาย

06ของสาร

07 การเปลี่ยนแปลง
ทางเคมี

การเปลี่ยนแปลง

09ที่ผันกลับได้

10 การเปลี่ยนแปลง
ที่ผันกลับไม่ได้

มีเเบบฝึกหัดท้ายเล่มด้วยนะ

1

การเปลี่ยนแปลงของสาร

การที่สารมีสมบัติต่างไปจากเดิม เช่น มีสี กลิ่น รส รูปร่าง หรือ
สถานะเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจทำให้มีสารใหม่
เกิดขึ้น หากใช้สมบัติของสารเป็นเกณฑ์ จะสามารถจำแนก
ประเภทของการเปลี่ยนแปลงได้ 2 ประเภท คือ การ
เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง
ทางกายภาพ

เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ ทำให้ลักษณะ
ของสารเปลี่ยนแต่องค์ประกอบของสารยัง
คงเดิม นั่ นคือ สารที่เปลี่ยนแปลงนั้ นยัง
คงเป็นสารเดิมไม่ได้เปลี่ยนเป็นสารใหม่
และการเปลี่ยนแปลงนี้ สามารถเปลี่ยน
กลับสภาพเดิมได้โดยวิธีง่าย ๆ เช่น น้ำ
เปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอ
น้ำ องค์ประกอบก็ยังเป็น H2O และไอน้ำก็
ควบแน่ นกลายเป็นน้ำได้โดยวิธีง่าย ๆ

ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ท า ง เ ค มี

เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ มีสารใหม่เกิด
ขึ้น ซึ่งสารใหม่จะมีสมบัติต่างไปจากสารเดิม
และการทำสารใหม่ให้กลับไปเป็นสารเดิม
ทำได้ยาก เช่น การเผาแก๊สไฮโดรเจนใน
อากาศ แก๊สไฮโดรเจนจะทำปฏิกิริยากับแก๊ส
ออกซิ เจนเกิดเป็นน้ำซึ่ งมีสมบัติต่างจากแก๊ ส
ไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจน และเมื่อ
ต้องการทำให้น้ำเปลี่ยนไปเป็นแก๊ ส
ไฮโดรเจนและแก๊ สออกซิ เจนก็ทำได้ยาก

2

การเปลี่ยนสถานะของสาร



การเปลี่ยนสถานะของสสาร
เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

เ มื่อ เ พิ่ม ค ว า ม ร้อ น ใ ห้ กับ ส ส า ร ถึง ร ะ ดับ ห นึ่ ง จ ะ ทำ ใ ห้ ส ส า ร ที่
เป็นของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว
แ ล ะ เ มื่อ เ พิ่ม ค ว า ม ร้อ น ต่อ ไ ป จ น ถึง อีก ร ะ ดับ ห นึ่ ง ข อ ง เ ห ล ว จ ะ เ ป ลี่ ย น
เป็นแก๊ ส เรียกว่า การกลายเป็นไอ แต่เมื่อลดความร้อนลงถึงระดับ
หนึ่ง แก๊ สจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกว่า การควบแน่ น และ
ถ้า ล ด ค ว า ม ร้อ น ต่อ ไ ป อีก จ น ถึง ร ะ ดับ ห นึ่ ง ข อ ง เ ห ล ว จ ะ เ ป ลี่ ย น ส ถ า น ะ
เป็นของแข็ง เรียกว่า การแข็งตัว สสารบางชนิดสามารถเปลี่ยน
สถานะจากของแข็งเป็นแก๊ สโดยไม่ ผ่านการเป็นของเหลว เรียกว่า
การระเหิด ส่วนแก๊ สบางชนิดสามารถเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งโดย
ไม่ ผ่านการเป็นของเหลว เรียกว่า การระเหิดกลับ

3

การเปลี่ยนสถานะระหว่าง


ของเเข็ง ของเหลว
และ






การหลอมเหลว ( Melting )

กระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อเพิ่มความร้อนให้กับของแข็ง อนุภาคภายในของแข็ง
จะมีพลังงานจลน์ เพิ่มขึ้น อนุภาคเกิดการสั่ นมากขึ้นและมีการถ่ายเทพลังงานให้กับ
อนุภาคข้างเคียงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ งบางอนุภาคเหล่านั้ นมีพลังงานสูงกว่าแรงยึด
เหนี่ยวระหว่างอนุภาค อนุภาคของของแข็งจึงเคลื่อนที่และอยู่ห่างกันมากขึ้น
ของแข็งจึงเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว

สถานะของเเข็ง เป็นการเปลี่ยนสถานะจาก สถานะของเหลว
ของเเข็ง เป็นของเหลว

การหลอมเหลว(เพิ่มความร้อน)

การแข็งตัว(ลดความร้อน)

เป็นการเปลี่ยนสถานะจาก
ของเหลว เป็นของเเข็ง

การแข็งตัว ( Fleezing )
เป็นกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลวเปลี่ยนสถานะ

เป็นของแข็ง ซึ่งจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออกมาในรูปของการคายความร้อน
เช่น น้ำ เปลี่ยนสถานะเป็น น้ำแข็ง มีการคายความร้อนเพื่อลดแรงสั่ นสะเทือนของ
โมเลกุล เพื่อให้พันธะไฮโดรเจนสามารถยึดเหนี่ยวโมเลกุลให้จับตัวกันเป็นโครงสร้าง
ผลึก

4

การเปลี่ยนสถานะระหว่าง


ของเหลว แก๊ส
และ






การกลายเป็นไอ (Evaporation)

เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อเพิ่มความร้อนให้กับของเหลว ทำให้อนุภาคของ
ของเหลวมีพลังงานเพิ่มขึ้น เมื่ออนุภาคเหล่านั้ นมีพลังงานสูงกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง
อนุภาค จะทำให้อนุภาคของของเหลวแยกออกจากกัน ของเหลวจะเปลี่ยนเป็นแก๊สใน
ที่สุด กระบวนการนี้เรียกว่า การกลายเป็นไอ เรียกอุณหภูมิที่ทำให้อนุภาคชนะแรง
ยึดเหนี่ยวของของเหลวได้ว่า จุดเดือด ( boiling point )

เป็นการเปลี่ยนสถานะจาก สถานะแก๊ส
ของเหลว เป็นแก๊ส

สถานะของเหลว

การกลายเป็นไอ(เพิ่มความร้อน)

การควบเเน่น(ลดความร้อน)

เป็นการเปลี่ยนสถานะจาก
แก๊สเป็นของเหลว

การควบแน่ น ( Condensation )
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อลดความอุณหภูมิ และเพิ่มความดันของแก๊ส

จนถึงระดับหนึ่ง อนุภาคของแก๊สจะมีพลังงานจลน์ น้อยลง ทำให้อนุภาคเคลื่อนที่ช้าลง
และเคลื่อนที่เข้าใกล้กันมากขึ้น ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากขึ้น และ
ในที่ สุดจะสามารถทำให้โมเลกุลรวมกันเป็นสารในสถานะของเหลว

5

การเปลี่ยนสถานะระหว่าง


ของเเข็ง แก๊ส
และ






การระเหิด ( Sublimation )

เป็นกระบวนการที่ ของแข็งมีการดูดความร้อนเข้าไปถึงระดับหนึ่งแล้วมีเปลี่ยน
สถานะไปเป็นแก๊สโดยไม่ผ่านการเป็นของเหลวก่อน เรียกว่า การระเหิด ซึ่งสารดัง
กล่าวต้องเป็นสารประกอบที่มีความดันไอสูง สมบัติเฉพาะตัวของสารนี้สามารถนำไป
ใช้แยกสารเนื้อผสมที่เป็นของแข็งออกจากกัน โดยของแข็งชนิดหนึ่งมีสมบัติระเหิด
ได้ เช่น การบูรกับเกลือแกง เมื่อให้ความร้อนการบูรจะกลายเป็นไอแยกออกจาก
เกลือแกง เมื่อดักไอของการบูรด้วยภาชนะที่เย็นจะได้การบูรเป็นของแข็งแยกออกมา

เป็นการเปลี่ยนสถานะจาก ของเเข็ง เป็นแก๊ส

สถานะของเเข็ง โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว สถานะแก๊ส

การหลอมเหลว(เพิ่มความร้อน)

การแข็งตัว(ลดความร้อน)

เป็นการเปลี่ยนสถานะจาก แก๊สเป็นของเเข็ง
โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว

การระเหิดกลับ ( Deposition )
เป็นกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากแก๊ส กลายเป็นของแข็ง

โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว ใช้ความเย็นในการก่อตัว

การละลายของสาร 6



การละลายของสารในน้ำ คือ การนำสารมาผสมกับน้ำ แล้วสาร
ชนิดนั้ นสามารถผสมรวมเป็นสารเนื้อเดียวกันกับน้ำได้ทั่ วทุก
ส่วน เช่น

สารที่สามารถละลายในน้ำได้ เช่น เกลือแกง

เกลือแกง น้ำ น้ำเกลือ (สารละลาย)

สารที่ไม่สามารถละลายในน้ำได้ เช่น ดินทราย

เกลือแกง น้ำ น้ำ + ดินทราย

7

การเปลี่ยนแปลงทางเคมี


การเปลี่ยนแปลงทางเคมี คือ การ
เปลี่ยนแปลงของสารชนิดเดียว
หรือการทำปฏิกิริยาระหว่างสาร 2
ชนิดขึ้นไป แล้วเกิดสารใหม่ขึ้น ซึ่ง
มีสมบัติต่างไปจากสารเดิม และเมื่อ
เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วจะทำให้
กลับมาเป็นสารเดิมได้ยากหรือไม่ได้

การประกอบอาหารเช่นทอดปลา

การเกิดสนิมของเหล็ก เช่นตะปูเกิดสนิม

การสุกของผลไม้ เช่นมะม่วงสุก

8

การเปลี่ยนแปลงทางเคมีสังเกตได้จาก



มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง มีกลิ่นต่างจากสารเดิม

มีฟองแก๊สเกิดขึ้น
อาจมีเเสงหรือเสียงเกิดขึ้น

มีตะกอนเกิดขึ้น มีสีต่างไปจากเดิม

การเปลี่ยนแปลงที่ 9

ผันกลับ
ได้ของสาร


การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ของสารคือเมื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลง

แล้ว สารสามารถเปลี่ยนกลับเป็นสารเดิมได้ เช่น

การหลอมเหลว

การหลอมเหลว การเเข็งตัว
เพิ่มความร้อน ลดความร้อน

น้ำแข็ง นำน้ำแข็งมาตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง นำน้ำไปแช่ในช่องแช่แข็ง
น้ำแข็งจะหลอมเหลวเป็นน้ำ ทำให้น้ำกลับไปเป็นน้ำแข็ง
การกลายเป็นไอ
เหมือนเดิม

การกลายเป็นไอ การควบแน่น

เพิ่มความร้อน ลดความร้อน

น้ำ ต้มน้ำให้เดือด เมื่อปิดไฟและนำฝามาปิด

จนกลายเป็นไอน้ำ(แก๊ส) ไอน้ำจะกลับไปเป็นหยดน้ำ

เกาะที่ฝาหม้อ

การละลายของสารในน้ำ

เกลือแกง นำเกลือแกงมาละลายในน้ำ นำน้ำเกลือมาตากแดด น้ำระเหยจนหมด
เหลือแต่เกล็ดเกลือ

การเปลี่ยนแปลงที่ 10

ผันกลับไ
ม่ได้ของสาร


การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ของสารคือเมื่อสารบางชนิดเกิดการ

เปลี่ยนแปลงแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนกลับเป็นสารเดิมได้ เช่น

การเผาไหม้

ไม้ นำไม้มาเผา ไม้กลายเป็นถ่านไม้

และมีขี้เถ้าเกิดขึ้น

เมื่อไม้ถูกเผา ไม้จะกลายเป็นถ่านไม้ ขี้เถ้า และไม่สามารถทำให้กลับ
ไปเป็นไม้ได้เหมือนเดิม

การเกิดสนิม

เมื่อเก้าอี้เหล็กตากแดดลมและฝนจะค่อยๆเกิดสนิมขึ้นและไม่
สามารถทำให้กลับเป็นเหล็กที่ไม่มีสนิมได้

11

ไปลองทำ

แบบฝึกหัด

กันเลย!!!

12

แบบฝึกหัดที่ 1

นำ ข้ อ ค ว า ม ที่ กำ ห น ด ใ ห้ ไ ป เ ติ ม ล ง ใ น ช่ อ ง ว่ า ง ห น้ า ป ร ะ โ ย ค ที่ เ ห็ น ว่ า
ส อ ด ค ล้ อ ง กั น

ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ท า ง เ ค มี ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ท า ง ก า ย ภ า พ

ก า ร เ ป ลี่ ย น ส ถ า น ะ การละลาย สารละลาย

เ ป็ น ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ท า ง ก า ย ภ า พ เ กิ ด จ า ก ก า ร นำ
ส า ร อ ย่ า ง น้ อ ย 2 ช นิ ด ผ ส ม เ ป็ น เ นื้ อ เ ดี ย ว กั น โ ด ย ไ ม่
เ ป ลี่ ย น เ ป็ น ส า ร ใ ห ม่

ส า ร ที่ เ ป็ น ข อ ง แ ข็ ง ที่ ใ ส่ ล ง ใ น ข อ ง เ ห ล ว แ ล้ ว ส า ร นั้ น
เ กิ ด ก า ร ล ะ ล า ย ร ว ม เ ป็ น เ นื้ อ เ ดี ย ว กั น ทั่ ว ทุ ก ส่ ว น

สั ง เ ก ต ไ ด้ จ า ก ก า ร ที่ ส า ร มี สี มี ก ลิ่ น แ ต ก ต่ า ง จ า ก ส า ร
เ ดิ ม มี ฟ อ ง แ ก๊ ส มี ต ะ ก อ น เ กิ ด ขึ้ น ห รื อ มี อุ ณ ห ภู มิ
เ พิ่ ม ขึ้ น ห รื อ ล ด ล ง

เ ป็ น ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ที่ ทำ ใ ห้ ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ส า ร เ ป ลี่ ย น
แ ต่ อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง ส า ร ยั ง ค ง เ ดิ ม

เ กิ ด ขึ้ น เ มื่ อ ส า ร ไ ด้ รั บ ค ว า ม ร้ อ น แ ล ะ ร้ อ น ขึ้ น ห รื อ
ส า ร สู ญ เ สี ย ค ว า ม ร้ อ น แ ล ะ เ ย็ น ล ง

แบบฝึกหัดที่ 2 13

จากภาพที่กำหนดให้ เป็นการเปลี่ยนแปลงของสารในรูปแบบใดระหว่าง
การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ หรือ การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้

ตะปูเป็นสนิม สารที่เกิดตะกอน

เผาไม้ ย่างเนื้อ น้ำแข็งละลาย

น้ำกลายเป็นไอ มะม่วงสุก

14

แบบทดสอบท้ายเรื่อง

ใ ห้ นั ก เ รี ย น เ ลื อ ก คำ ต อ บ ที่ ถู ก ที่ สุ ด เ พี ย ง ตั ว เ ลื อ ก เ ดี ย ว

1. สารมีกี่สถานะ

ก. 2 สถานะ ข. 3 สถานะ ค. 4 สถานะ ง. 5 สถานะ

2. การเปลี่ยนแปลงในข้อใดทำให้เกิดสารใหม่

ก. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ข. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ค. การละลาย ง. การเปลี่ยนสถานะ

3. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

ก. การเกิดสนิม ข. น้ำอัญชัญเปลี่ยนสีเมื่อใส่มะนาว
ค. น้ำเเข็งละลาย ง. ผลไม้สุก

4. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางเคมี

ก. น้ำเเข็งละลาย ข. ผลไม้สุก
ค. น้ำอัญชัญเปลี่ยนสีเมื่อใส่มะนาว ง. การเกิดสนิม

5. เมื่อสารสูญเสียความร้อนจะเปลี่ยนสถานะ
ทำให้เกิดปรากฏการใด

ก. การระเหิด ข. การหลอมเหลว

ค. การเเข็งตัว ง. การกลายเป็นไอ

15

ลองตรวจกันดู

เฉลยแบบฝึกหัดที่ 1 16

ตอบ การละลาย
ตอบ สารละลาย
ตอบ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ตอบ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
ตอบ การเปลี่ยนสถานะของสาร

เฉลยแบบฝึกหัดที่ 2 การเปลี่ยนแปลงที่
ผันกลับได้
การเปลี่ยนแปลงที่
ผันกลับไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงที่ การเปลี่ยนแปลงที่
ผันกลับไม่ได้ ผันกลับได้

การเปลี่ยนแปลงที่ การเปลี่ยนแปลงที่
ผันกลับไม่ได้ ผันกลับไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงที่
ผันกลับไม่ได้

เฉลยแบบทดสอบท้ายเรือ่ ง 5. ค

1.ข 2. ข 3. ค 4. ก

17

อ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ.(2560).ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐานพุทธศักราช 2551.สํานักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวง
ศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทยจํากัด.

กระทรวงศึกษาธิการ.บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิทยาศาสตร์ป.5เทอม1.สืบค้นเมื่อวันที่ 6
เมษายน2565.จากhttp://www.mcp.ac.th/e-learning456.php

สิทธิโชคศิริ.สารและการเปลี่ยนแปลง.สืบค้นเมื่อ6เมษายน2565. จาก
https://sittichok2890.wordpress.com/

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์.การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ.
สืบค้นเมื่อ 6เมษายน2565.จากhttp://www.lesa.biz/earth/atmosphere/state-
of-water

ประวัติ

ผู้จัดทำ

นางสาวธัญภัค สารีโท

ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ (ค.ศ.1)
โรงเรียนอนุบาลโนนสะอาด

IG : NOON2209

ติดต่อ
To. 098-6131231
[email protected]

SCIENCE BY T'NOON


Click to View FlipBook Version